SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  115
Télécharger pour lire hors ligne
คำนำ
หลังจากสอบได้นักธรรมชั้นเอก ปี ๒๕๔๕ ได้เริ่มทำหน้าที่สอนนักธรรมชั้นตรีเป็นปีแรก จาก
การได้สอนนักธรรม การอบรมก่อนธรรมสนามหลวง และเป็นกรรมการคุมสอบนักธรรม ทำให้ได้พบปัญหา
การศึกษานักธรรม ปัญหาสำคัญของการศึกษานักธรรมมีอยู่ ๒ ประการ คือเรื่องของเวลา และเนื้อหา
ในแต่ละรายวิชาที่มีมาก ปัญหาการเรียนนักธรรมกับเวลาคือเรื่องกิจนิมนต์ ต้องฉลองศรัทธาของญาติโยม บาง
วันมีกิจมนต์ตั้งแต่ภาคเช้าภาคบ่าย และภาคค่ำ เวลาเรียนมีน้อยแต่เนื้อหารายวิชามีมาก พระภิกษุสามเณร
บางรูปเรียนนักธรรม บาลี สายสามัญ หรือเรียนในมหาวิทยาลัย สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุดของ
การศึกษานักธรรม จึงต้องบริหารเวลาและมีวินัยในการศึกษา
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี เป็นการกำหนดขอบเขตการศึกษานักธรรม เพื่อให้
เหมาะสมกับเวลาเรียน ไม่ได้เน้นในเรื่องการอธิบาย เป็นเพียงแนวข้อสอบ ทำให้เห็นความสำคัญในการศึกษา
ในแต่ละรายวิชา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนการสอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะ
เกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาทุกรูป
พระมหามนตรี กตปุญฺโ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๕
สารบัญ
หน้า
ทุกะ หมวด ๒ ๑
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ ๑
ธรรมเป็นโลกบาล ๒ ๒
ธรรมอันทำให้งาม ๒ ๓
บุคคลหาได้ยาก ๒ ๔
ติกะ หมวด ๓ ๖
รตนะ ๓ ๖
คุณของรตนะ ๓ ๗
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ๗
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ๗
ทุจริต ๓ ๘
สุจริต ๓ ๙
อกุศลมูล ๓ ๙
กุศลมูล ๓ ๙
บุญกิริยาวัตถุ ๓ ๑๐
สามัญลักษณะ ๓ ๑๐
จตุกกะ หมวด ๔ ๑๑
วุฑฒิ ๔ ๑๑
จักร ๔ ๑๑
อคติ ๔ ๑๑
อันตรายของพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ ๑๒
ปธาน ๔ ๑๒
อิทธิบาท ๔ ๑๓
ปาริสุทธิศีล ๔ ๑๔
พรหมวิหาร ๔ ๑๕
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ ๑๕
อริยสัจ ๔ ๑๕
ปญจกะ หมวด ๕ ๑๗
อนันตริยกรรม ๕ ๑๗
อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ ๑๘
เวสารัชชกรณธรรม ๕ ๑๙
องค์แห่งธรรมกถึก ๕ ๑๙
ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕ ๑๙
พละ ๕ ๑๙
นิวรณ์ ๕ ๒๐
ขันธ์ ๕ ๒๑
ฉักกะ หมวด ๖ ๒๑
คารวะ ๖ ๒๑
สาราณิยธรรม ๖ ๒๒
อายตนะภายใน ๖ ๒๒
อายตนะภายนอก ๖ ๒๒
สัตตกะ หมวด ๗ ๒๓
อปริหานิยธรรม ๗ ๒๓
อริยทรัพย์ ๗ ๒๓
สัปปุริสธรรม ๗ ๒๔
อัฏฐกะ หมวด ๘ ๒๔
โลกธรรม ๘ ๒๔
มรรค ๘ ๒๕
นวกะ หมวด ๙ ๒๖
มละ ๙ ๒๖
ทสกะ หมวด ๑๐ ๒๗
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ ๒๗
นาถกรณธรรม ๑๐ ๒๗
คิหิปฏิบัติ ๒๘
จตุกกะ หมวด ๔ ๒๘
อบายมุข ๔ ๒๘
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ๒๘
มิตรปฏิรูป ๔ ๒๙
มิตรแท้ ๔ ๓๐
สังคหวัตถุ ๔ ๓๑
สุขของคฤหัสถ์ ๔ ๓๒
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ๔ ๓๒
ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔ ๓๒
ฆราวาสธรรม ๔ ๓๒
ปัญจกะ หมวด ๕ ๓๓
ประโยชน์แต่การถือโภคทรัพย์ ๕ ๓๓
ศีล ๕ ๓๔
มิจฉาวณิชชา ๕ ๓๔
สมบัติของอุบาสก ๕ ๓๕
ฉักกะ หมวด ๖ ๓๖
ทิศ ๖ ๓๖
อบายมุข ๖ ๓๗
วิชาพุทธประวัติ ๔๐
ปริเฉทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน ๔๑
ชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ เขต ๔๑
วรรณะ ๔ ๔๑
ศาสนาพื้นเมือง ๔๓
ปริเฉทที่ ๒ สักกชนบทและศากยวงศ์ ๔๓
ศากยวงศ์ ๔๓
ปริเฉทที่ ๓ พระศาสดาประสูติ ๔๔
วันประสูติ ๔๔
ประสูติได้ ๓ วัน ๔๕
ประสูติได้ ๕ วัน ๔๖
ประสูติได้ ๗ วัน ๔๖
พระชนมายุได้ ๗ ปี ๔๖
ปริเฉทที่ ๔ เสด็จออกบรรพชา ๔๘
เสด็จออกบวช ๔๘
ปริเฉทที่ ๕ ตรัสรู้ ๔๙
ศึกษาลัทธิของสองพระดาบส ๕๐
ปัญจวัคคีย์ออกบวช ๕๐
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ๕๐
ตรัสรู้ ๕๑
ชนะมารด้วยบารมี ๑๐ ๕๑
บรรลุญาณ ๓ ๕๑
ปริเฉทที่ ๖ ปฐมเทศนาและปฐมสาวก ๕๒
เสวยวิมุตติสุข ๕๒
บุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ๕๒
ทรงพิจารณาผู้สมควรจะรับฟงปฐมเทศนา ๕๓
โปรดปัญจวัคคีย์ ๕๓
ทรงแสดงปฐมเทศนา ๕๔
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ๕๕
ปริเฉทที่ ๗ ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา ๕๖
โปรดยสกุลบุตร ๕๖
อนุปุพพิกถา ๕๗
โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง ๕๗
ปริเฉทที่ ๘ เสด็จกรุงราชคฤห์ ๕๗
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ๕๗
ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร ๕๘
พระอัครสาวกได้ดวงตาเห็นธรรม ๕๘
ปริเฉทที่ ๙ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในแคว้นมคธ ๕๙
โอวาทปาฏิโมกข์ ๕๙
ปริเฉทที่ ๑๑ เสด็จแคว้นโกศล ๖๐
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ๖๐
ปริเฉทที่ ๑๒ ปรินิพพาน ๖๐
ทรงปลงอายุสังขาร ๖๐
เหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว ๖๑
บิณฑบาตมีอานิสงส์มาก ๒ ครั้ง ๖๑
ทรงปรารภสักการบูชา ๖๑
สังเวชนียสถาน ๖๒
อาการที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติในสตรี ๖๒
ถูปารหบุคคล ๖๒
สาวกองค์สุดท้าย ๖๓
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ๖๓
ปัจฉิมโอวาท ๖๓
ปรินิพพาน ๖๔
ปริเฉทที่ ๑๓ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ๖๔
ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ๖๔
แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ๖๕
เจดีย์ ๔ ประเภท ๖๕
การทำสังคายนา ๖๕
ศาสนพิธี ๖๖
หมวดที่ ๑ กุศลพิธี ๖๗
พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ๖๗
พิธีรักษาอุโบสถศีล ๖๗
พิธีเวียนเทียนในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา ๖๘
คำลากลับบ้าน ๖๙
หมวดที่ ๒ บุญพิธี ๖๙
การประกอบพิธีทำบุญงานมงคล ๖๙
หมวดที่ ๓ ทานพิธี ๗๐
การถวายทานมี ๒ อย่าง ๗๐
ระเบียบพิธีถวายสังฆทาน ๗๑
หมวดที่ ๔ ปกิณกพิธี ๗๒
วิธีแสดงความเคารพ ๗๒
วิธีประเคนของพระ ๗๓
การอาราธนาพระปริตร ๗๓
การกรวดน้ำ ๗๔
วิชาวินัย ๗๕
กัณฑ์ที่ ๑ อุปสัมปทา ๗๕
วิธีอุปสมบท ๓ อย่าง ๗๕
อนุศาสน์ ๘ อย่าง ๗๕
นิสสัย ๔ ๗๕
อกรณียกิจ ๔ ๗๖
สิกขา ๓ ๗๗
กัณฑ์ที่ ๒ พระวินัย ๗๘
พระวินัย ๗๘
การบัญญัติพระวินัย ๘๐
อาบัติ ๘๐
ประเภทของอาบัติ ๘๒
อาบัติว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง ๘๒
อาบัติเพ่งโดยเจตนา ๒ อย่าง ๘๒
โทษของอาบัติ ๘๓
อาการต้องอาบัติ ๖ อย่าง ๘๓
อานิสงส์พระวินัย ๘๔
กัณฑ์ที่ ๓ สิกขาบท ๘๔
สิกขาบท ๘๔
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ ๘๔
กัณฑ์ที่ ๔ ปาราชิก ๔ ๘๕
กัณฑ์ที่ ๕ สังฆาทิเสส ๑๓ ๘๘
อนิยต ๒ สิกขาบท ๙๒
กัณฑ์ที่ ๖ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ๙๒
จีวรวรรคที่ ๑ ๙๓
ปัตตวรรคที่ ๓ ๙๓
กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์ ๙๒ ๙๗
มุสาวาทวรรคที่ ๑ ๙๗
ภูตคามวรรคที่ ๒ ๙๙
โภชนวรรคที่ ๔ ๙๙
อเจลกวรรคที่ ๕ ๑๐๐
สุราปานวรรคที่ ๖ ๑๐๑
สหธรรมิกวรรคที่ ๘ ๑๐๒
รตนวรรคที่ ๙ ๑๐๒
เสขิยวัตร ๗๕ ๑๐๓
สารูปที่ ๑ ๑๐๔
โภชนปฏิสังยุตที่ ๒ ๑๐๕
กัณฑ์ที่ ๙ อธิกรณสมถะ ๗ ๑๐๖
อธิกรณ์ ๔ ๑๐๖
อธิกรณสมถะ ๗ ๑๐๗
กัณฑ์ที่ ๑๐ มาตรา ๑๐๗
ฤดู ๓ ๑๐๗
วิชาธรรมวิภาค
ทุกะ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒
๑. ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง ? บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
จะเป็นคนหลงลืม จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ
๒. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ? ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ มีสติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ
๓. ธรรมที่ได้ชื่อว่ามีอุปการะมาก คือธรรมอะไร ? เพราะเหตุไรจึงจัดว่ามีอุปการะมาก ? (๒๕๕๗)
ตอบ คือ สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
เพราะเป็นคุณธรรมอุดหนุนให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลในกิจทั้งปวง ฯ
๔. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในขณะทำ ฯ
๕. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๔๕, ๒๕๖๒)
ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในขณะทำ ฯ
๖. สติ แปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ? (๒๕๖๐)
ตอบ สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ
เพราะช่วยให้สำเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
๗. สติแปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ? (๒๕๖๓)
ตอบ สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ
เพราะอุดหนุนให้สําเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
ธรรมเป็นโลกบาล ๒
๑. ธรรมคุ้มครองโลกมีอะไรบ้าง ? ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร ? (๒๕๔๔)
ตอบ มี ๒ อย่าง คือ
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ฯ
ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้ เนื่องจากปัจจุบันโลกที่เกิดวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนั้น
เป็นพราะชาวโลกละทิ้งธรรม คือ หิริ และโอตตัปปะ ไม่ละอายแก่ใจ ไม่เกรงกลัวต่อผลแห่งความชั่ว
ขาดเมตตากรุณา เป็นคนเห็นแก่ตัวจัด มีการเบียดเบียนกระทำทุจริต โดยวิธีการต่าง ๆ หากชาวโลก
มีธรรมคู่นี้ตั้งมั่นในใจแล้ว ก็จะช่วยคุ้มครองโลกให้พ้นจากภาวะวิกฤตในปัจจุบันได้ ฯ
๒. ธรรมคุ้มครองโลก มีกี่อย่าง ? (๒๕๖๑)
ตอบ มี ๒ อย่าง ฯ
๑. หิริ ความละอายบาป
๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ
๓. ธรรมคุ้มครองโลกมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๖๔)
ตอบ มี ๒ อย่าง ฯ
คือ ๑. หิริ ความละอายต่อบาป
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
๔. โลกเดือดร้อนวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๔๖)
ตอบ เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ฯ
๕. พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมอะไรไว้สำหรับคุ้มครองโลก ? (๒๕๕๕)
ตอบ ทรงสอนธรรมไว้ ๒ ข้อ คือ
๑. หิริ ความละอายต่อบาป
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลบาป ฯ
๖. สังคมทุกวันนี้เกิดความวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไรบ้าง ? (๒๕๖๐)
ตอบ เพราะขาดธรรมเป็นโลกบาล ๒ อย่าง คือ
๑. หิริ ความละอายแก่ใจในการประพฤติชั่ว
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของการประพฤติชั่ว ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๓
๗. โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๖๒)
ตอบ เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ
๑. หิริ ความละอายบาป
๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ
๘. หิริ และโอตตัปปะ ได้ชื่อว่าธรรมเป็นโลกบาล เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ เพราะเป็นคุณธรรมทำบุคคลให้รังเกียจ และเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับ
และที่แจ้ง ฯ
๙. หิริ กับ โอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือ ความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่ว
ส่วนโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ
๑๐. การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
(๒๕๕๑)
ตอบ ไม่ได้ ฯ
เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
๑๑. พบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัด จัดเป็นโอตตัปปะได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? (๒๕๖๓)
ตอบ ไม่ได้ ฯ
เพราะโอตตัปปะ หมายความว่าความเกรงกลัวต่อบาป ฯ
ธรรมอันทำให้งาม ๒
๑. บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงาม เพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? (๒๕๔๖)
ตอบ เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง คือ
๑. ขันติ ความอดทน
๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม ฯ
๒. ในทางโลก ดูคนงามกันที่รูปร่างหน้าตา ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่ไหน ? (๒๕๕๐)
ตอบ ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ ขันติ ความ
อดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ
๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๓. ในทางโลก ดูคนงามที่รูปร่างหน้าตา ส่วนในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามที่ไหน ? (๒๕๕๙)
ตอบ ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ
๑. ขันติ ความอดทน
๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม ฯ
๔. ขันติ กับ โสรัจจะ เป็นธรรมทำให้งามได้อย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ ขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความเสงี่ยม ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีใจหนักแน่น ไม่
แสดงความวิการออกมาให้ปรากฏ แม้จะประสบความดีใจ เสียใจ ก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจ
ให้สุภาพ สงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้ จึงทำให้งาม ฯ
บุคคลหาได้ยาก ๒
๑. บุพพการี และกตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลเช่นไร ? (๒๕๕๘)
ตอบ บุพพการี หมายถึงบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
๒. บุพพการี และกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? (๒๕๕๔, ๒๕๖๒)
ตอบ บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
๓. บุพพการี และกตัญญูกตเวที คือบุคคลเช่นไร ? จัดเป็นคู่ไว้อย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๘)
ตอบ บุพพการี คือบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที คือบุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้ บิดามารดา กับ บุตรธิดา, ครูอาจารย์ กับ ศิษย์, พระมหากษัตริย์ กับ
ประชาราษฎร์, พระพุทธเจ้า กับ พุทธบริษัท เป็นต้น ฯ
๔. บุพพการี และกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่ (๒๕๕๒)
ตอบ บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรธิดา
คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์
คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร
คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๕
๕. ในโลกนี้ มีบุคคลประเภทใดบ้างที่หาได้ยาก ? (๒๕๕๙)
ตอบ มีบุคคลที่หาได้ยาก ๒ ประเภท คือ
๑. บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทน ฯ
๖. ในโลกนี้ มีบุคคลประเภทใดบ้างที่พระพุทธศาสนาสอนว่าหาได้ยาก ? (๒๕๖๔)
ตอบ มี ๒ ประเภท คือ
บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทนท่าน ฯ
๗. บุพพการี ได้แก่บุคคลเช่นไร ? พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ?
(๒๕๔๗)
ตอบ ได้แก่ บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ฯ
พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงนะนำสั่งสอนให้รู้ดี รู้ชอบตาม
พระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์
อย่างยิ่งคือพระนิพพาน จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ
๘. พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๖๑)
ตอบ พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชอบตาม
พระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ ในโลกหน้า และ
ประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ
๙. ผู้ได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวทีบุคคล เพราะปฏิบัติตนอย่างไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ เพราะเป็นผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ
๑๐. คำต่อไปนี้ มีความหมายว่าอย่างไร ? (๒๕๕๕)
๑. สัมปชัญญะ ๒. กตัญญูกตเวที ๓. กายทุจริต
๔. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ๕. ปุพเพกตปุญญตา
ตอบ ๑. สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว
๒. กตัญญูกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน
๓. กายทุจริต หมายถึง ความประพฤติชั่วทางกาย
๔. มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายถึง การบำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
๕. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในกาลก่อน ฯ
๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
ติกะ หมวด ๓
รัตนะ ๓
๑. พระรัตนตรัยมีอะไรบ้าง ? รัตนะที่ ๑ หมายถึงใคร ? จงอธิบาย (๒๕๔๕)
ตอบ มีพระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ
หมายถึงพระพุทธเจ้า ฯ
ได้แก่ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัยที่ท่านเรียกว่า
พระพุทธศาสนา ฯ
๒. รัตนะ ๓ มีอะไรบ้าง ? รัตนะ ๓ นั้น มีคุณอย่างไร ? (๒๕๔๖, ๒๕๖๒)
ตอบ มีพระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ
มีคุณอย่างนี้ คือ
๑. พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม
๒. พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตาม ฯ
๓. รัตนะ ๓ อย่าง คืออะไรบ้าง ? รัตนะที่ ๒ มีคุณอย่างไร ? (๒๕๕๗, ๒๕๖๔)
ตอบ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ฯ
ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๔. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๘, ๒๕๖๐)
ตอบ เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก นำประโยชน์และความสุข
มาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ
๕. คำว่า พระธรรม ในรัตนะ ๓ คืออะไร ? มีคุณอย่างไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
มีคุณ คือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๖. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ? ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ ได้แก่ พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๗
๗. พระธรรม คืออะไร ? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๘, ๒๕๖๓)
ตอบ พระธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
มีคุณ คือย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
๘. พระรัตนตรัย กับ ไตรสรณคมน์ เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกันอย่างไร ? การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๓
เป็นที่พึ่ง จัดเป็นอย่างไหน ใน ๒ อย่างนั้น ? (๒๕๔๔, ๒๕๕๙)
ตอบ ต่างกัน คือ พระรัตนตรัย หมายถึง สิ่งที่เป็นที่พึ่ง ๓ ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์
ส่วนไตรสรณคมน์ หมายถึง การยอมรับนับถือพระรัตนตรัยไว้เป็นที่พึงของตน ฯ
จัดเป็นไตรสรณคมน์ ฯ
คุณของรตนะ ๓
๑. พระพุทธเจ้าคือใคร ? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ คือ ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ฯ
ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ
๒. พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ ท่านปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ฯ
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓
๑. อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ? ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ
คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓
๑. โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕, ๒๕๕๑)
ตอบ ๑. เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ
๒. โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๔๙)
ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ
๑. เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
๓. กระทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลงเป็นต้น ฯ
๓. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
ตอบ มี ๓ ข้อ ฯ
คือ ๑. เว้นจากทุกจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ
๔. เพราะเหตุไร หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้า
หมอง ? (๒๕๔๗)
ตอบ เพราะใจเป็นธรรมชาติสำคัญ ถ้าใจเศร้าหมอง ก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว การทำชั่วมีผลเป็นความทุกข์
ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ
ทุจริต ๓
๑. ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน
(๒๕๕๓)
ตอบ คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯ
จัดเป็นมโนทุจริต ฯ
๒. ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๖๑)
ตอบ ทุจริต คือ ความประพฤติชั่ว ฯ
จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ
๓. ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๖๔)
ตอบ ทุจริต คือ ประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย ฯ
จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ
๔. เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไร ? จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๕๔)
ตอบ คือ เห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีพระคุณ เป็นต้น ฯ
จัดเข้าในมโนทุจริต ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๙
สุจริต ๓
๑. มโนสุจริตคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
ตอบ คือ การประพฤติชอบด้วยใจ ฯ
มี ๑. ไม่โลภอยากได้ของเขา
๒. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๓. เห็นชอบตามคลองธรรม ฯ
อกุศลมูล ๓
๑. รากเหง้าของอกุศลเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เพราะเหตุใดจึงควรละเสีย ? (๒๕๕๔)
ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล ฯ
มีโลภะ โทสะ โมหะ ฯ
เพราะเมื่ออกุศลมูลเหล่านี้มีอยู่ อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น ฯ
๒. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ?
(๒๕๕๒)
ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล ฯ
มี ๑. โลภะ อยากได้
๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ
เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสีย ด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ
๓. มูลเหตุที่ทําให้บุคคลทําความชั่วเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๓)
ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าของอกุศล ฯ
มี ๓ คือ ๑. โลภะ อยากได้
๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ
กุศลมูล ๓
๑. คนเราจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากอะไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ คนประพฤติดีมีมูลเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ ส่วนคนประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากโลภะ
โทสะ โมหะ ฯ
๑๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
บุญกิริยาวัตถุ ๓
๑. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ? ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั้น ข้อไหนกำจัดความโลภ ความโกรธ และความหลง ?
(๒๕๔๗)
ตอบ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ
ทานมัย กำจัดความโลภ
สีลมัย กำจัดความโกรธ
ภาวนามัย กำจัดความหลง ฯ
๒. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๘)
ตอบ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ
มี ๓ ฯ
คือ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ
๓. สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๒)
ตอบ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ฯ
โดยย่อมี ๓ คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ
๔. การทำบุญโดยย่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ
ทาน ศีล ภาวนา ฯ
สามัญลักษณะ ๓
๑. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓, ๒๕๖๐)
ตอบ ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตนฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๑
จตุกกะ หมวด ๔
วุฑฒิ ๔
๑. บุคคลผู้หวังความเจริญ ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕)
ตอบ ควรตั้งอยู่ในวุฑฒิธรรม ฯ
มี ๑. คบสัตบุรุษ
๒. ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ
๓. ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
๔. ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว ฯ
จักร ๔
๑. ธรรมเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? ปุพฺเพกตปุญฺ ตา หมายความว่าอย่างไร ?
(๒๕๔๖)
ตอบ เรียกว่า จักรธรรม ฯ
หมายความว่า ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ
๒. ธรรมดุจล้อรถนาไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? จงบอกมาสัก ๒ ข้อ (๒๕๕๘)
ตอบ เรียกว่า จักร ฯ
ได้แก่ ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ (เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ)
๓. ธรรม ๔ อย่าง ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ ข้อว่า “คบสัตบุรุษ คือคนดี” นั้น จะนำไปสู่ความเจริญ
ได้อย่างไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ เมื่อคบสัตบุรุษแล้วย่อมเป็นเหตุให้คิดดีพูดดีทำดี อันก่อให้เกิดความสุขความเจริญ ทั้งแก่ตนเอง
และผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งยังให้ถึงความเจริญอย่างที่สุดคือพระนิพพานได้ ฯ
อคติ ๔
๑. ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
ตอบ ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง ฯ
มี ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน
๑๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว ฯ
๒. ผู้จะดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ต้องประพฤติอย่างไร ? (๒๕๕๕)
ตอบ ต้องประพฤติดังนี้ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน อันเรียกว่า ฉันทาคติ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน อันเรียกว่า โทสาคติ
๓. ไม่ลำเอียงเพราะเขลา อันเรียกว่า โมหาคติ
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว อันเรียกว่า ภยาคติ ฯ
๓. บุคคลผู้รักษาความยุติธรรมไว้ได้ ควรเว้นจากธรรมอะไร ? ธรรมนั้นมีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๘)
ตอบ ควรเว้นจากอคติ ๔ ฯ
มี ๑. ความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ
๒. ความลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกว่า โทสาคติ
๓. ความลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ
๔. ความลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ ฯ
อันตรายของพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔
๑. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ควรเว้นอันตราย ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง ? (๒๕๕๙)
ตอบ ควรเว้น อันตราย ๔ อย่าง คือ
๑. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสอน ขี้เกียจทำตาม
๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง อดทนต่อความอยากไม่ได้
๓. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๔. รักผู้หญิง ฯ
ปธาน ๔
๑. ปธาน ๔ มีอะไรบ้าง ? คนเสพยาเสพย์ติด เพียรพยายามจะเลิกให้ได้ ชื่อว่าตั้งอยู่ในปธานข้อไหน ?
(๒๕๔๔)
ตอบ มี ๑. สังวรปธานเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธานเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธานเพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธานเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
ตั้งอยู่ในปหานปธาน ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๓
๒. ปธาน ๔ มีอะไรบ้าง ? เพียรระวังตนให้ห่างไกลจากสิ่งเสพติด จัดเข้าในปธานข้อไหน ? (๒๕๔๖)
ตอบ มี ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ฯ
จัดเข้าในสังวรปธาน ฯ
๓. ปธานคือความเพียร ๔ มีอะไรบ้าง ? งดเหล้าเข้าพรรษาอนุโลมเข้าในปธานข้อไหน ? (๒๕๔๙)
ตอบ มี ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม ฯ
อนุโลมเข้าในปหานปธาน ฯ
อิทธิบาท ๔
๑. ผู้ประกอบกิจการงานสำเร็จตามความประสงค์เพราะประพฤติธรรมอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕)
ตอบ เพราะประพฤติอิทธิบาท ๔ ฯ
มี ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๒. คุณธรรมเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๗)
ตอบ คือ อิทธิบาท ๔ ฯ
มี ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๓. ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ? (๒๕๖๐, ๒๕๖๒)
ตอบ เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง คือ
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๑๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ
๔. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อมีความพอใจ จะเป็น
เหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะและเกิดความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ
และเมื่อเรียนรู้แล้วก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้องที่เรียกว่า
วิมังสา ดังนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ
ปาริสุทธิศีล ๔
๑. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องมีอินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ สำรวมอินทรีย์นั้น คืออย่างไร ?
(๒๕๕๐)
ตอบ คือ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง
ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ ฯ
๒. อินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
ตอบ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ
๓. การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่การกระทำอย่างไร ? เมื่อกระทำเช่นนั้นแล้ว จะได้รับประโยชน์อะไร ?
(๒๕๕๕)
ตอบ ได้แก่ การระวังอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น
ลิ้มรส ถูกโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ฯ
ได้รับประโยชน์ คือ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น ฯ
๔. ปัจจยปัจจเวกขณะ หมายความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ หมายความว่า พิจารณา (ถึงคุณและโทษของปัจจัย ๔) ก่อน จึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ
๕. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ? (๒๕๔๖)
ก. ปัจจยปัจจเวกขณะ ข. อภิณหปัจจเวกขณะ
ตอบ ก. ปัจจยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ
ข. อภิณหปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาทุก ๆ วันว่า เรามีความแก่ มีความเจ็บมีความตายเป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ เจ็บ ตายไปได้ เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เรามีกรรม
เป็นของ ๆ ตน เราทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๕
พรหมวิหาร ๔
๑. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
ตอบ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯ
เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ
๒. เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตำแหน่ง ไม่คิดริษยา พลอยยินดีกับเขาด้วย ชื่อว่าปฏิบัติตามพรหม
วิหารธรรมข้อใด ? (๒๕๕๗, ๒๕๖๔)
ตอบ มุทิตา ฯ
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔
๑. ธาตุกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? กำหนดพิจารณาอย่างไร เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ? (๒๕๔๖)
ตอบ มี ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ
กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่
เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ฯ
๒. ธาตุ ๔ มีธาตุอะไรบ้าง ? ธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง คือธาตุอะไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ
คือ ธาตุดิน ฯ
๓. ธาตุ ๔ คืออะไรบ้าง ? ฟันจัดเป็นธาตุอะไร ? (๒๕๖๓)
ตอบ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ
เป็นธาตุดิน ฯ
อริยสัจ ๔
๑. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ? (๒๕๔๔)
ตอบ มี ๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
จัดเป็นทุกข์ ฯ
๑๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๒. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจ ข้อไหน ? (๒๕๖๑)
ตอบ มี ๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
จัดเป็นทุกข์ ฯ
๓. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ? (๒๕๖๔)
ตอบ มี ๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
จัดเป็นข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ฯ
๔. คำว่าทุกข์ได้แก่อะไร ? มีสาเหตุมาจากอะไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ ได้แก่ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ฯ
มีสาเหตุมาจากตัณหา ความทะยานอยาก ฯ
๕. ทุกข์ในอริยสัจ ๔ คืออะไร ? เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ฯ
คือ ตัณหาความทะยานอยาก ฯ
๖. เหตุให้เกิดทุกข์ในอริยสัจ คืออะไร ? (๒๕๕๖, ๒๕๕๗)
ตอบ คือ ตัณหา ความทะยานอยาก ฯ
๗. ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับ
ทุกข์ ได้ชื่อว่ามรรค ฯ
เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๗
ปัญจกะ หมวด ๕
อนันตริยกรรม ๕
๑. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุไรจึงเป็นกรรมที่เป็นบาปหนัก
ที่สุด ? (๒๕๔๔)
ตอบ มีชื่อเรียกว่า อนันตริยกรรม ฯ
คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ
เพราะห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำ
เป็นเด็ดขาด ฯ
๒. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คืออะไรบ้าง ? (๒๕๖๒)
ตอบ มีชื่อเรียกว่า อนันตริยกรรม ฯ
คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ
๓. กรรมอันเป็นบาปหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน คือกรรมอะไร ? จงยกตัวอย่างสัก ๓ ข้อ
(๒๕๕๘)
ตอบ คือ อนันตริยกรรม ฯ
มี ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
๑๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๔. ในพระพุทธศาสนา บุคคลผู้ฆ่ามารดาบิดา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม จะได้รับโทษอย่างไร ?
(๒๕๔๗)
ตอบ จะได้รับโทษ คือ ต้องไปสู่ทุคติ ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ฯ
อภิณหปัจจเวกขณะ ๕
๑. อภิณหปัจจเวกขณ์ คือข้อที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ อย่าง ทรงสอนให้พิจารณาอะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
ตอบ ทรงสอนให้พิจารณา
๑. ความแก่ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ความเจ็บไข้ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓. ความตาย ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ความพลัดพราก ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. กรรม ว่าเรามีกรรมเป็นของตัวเราทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ
๒. สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาเนื่อง ๆ มีอะไรบ้าง ? ทรงให้พิจารณาอย่างไร ? (๒๕๖๑)
ตอบ มีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความพลัดพราก และกรรม ฯ
ทรงสอนให้พิจารณาว่า
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. เรามีกรรมเป็นของตัวเรา ทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ
๓. ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ข้อความนี้อยู่ในหมวด
ธรรมอะไร ? ท่านให้พิจารณาอย่างนี้เพื่ออะไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ อยู่ในธรรมหมวดอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ฯ
เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้น คนนั้น เป็นที่รักของเรา จักไม่ต้องเสียใจในเมื่อต้อง
พลัดพรากจากสิ่งนั้น คนนั้น จริง ๆ ฯ
๔. อภิณหปัจจเวกณ์ข้อว่า ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
ดังนี้ ผู้พิจารณาได้รับประโยชน์อย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๕๔)
ตอบ ได้รับประโยชน์ คือสามารถบรรเทาความพอใจรักใคร่ของรักของชอบใจ และป้องกันความทุกข์
โทมนัส ในเวลาเมื่อตนต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๙
เวสารัชชกรณธรรม ๕
๑. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ (๒๕๕๖)
ก. พาหุสัจจะ ข. อกุสลมูล ค. อินทรียสังวร ฆ. อนัตตตา ง. กามฉันท์
ตอบ ก. ความเป็นผู้ศึกษามาก
ข. รากเหง้าของอกุศล
ค. ความสำรวมอินทรีย์
ฆ. ความเป็นของไม่ใช่ตน
ง. ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูป เป็นต้น ฯ
องค์แห่งธรรมกถึก ๕
๑. การจะเป็นนักเทศน์ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? จงตอบมาสัก ๓ ข้อ (๒๕๕๗)
ตอบ ๑. แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น ฯ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕
๑. อานิสงส์แห่งการฟังธรรม มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๘)
ตอบ มี ๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ฯ
พละ ๕
๑. ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง คืออะไรบ้าง ? ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ คือ ๑. สัทธา ความเชื่อ
๒. วิริยะ ความเพียร
๓. สติ ความระลึกได้
๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๕. ปัญญา ความรอบรู้ ฯ
เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ
๒๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
นิวรณ์ ๕
๑. ธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๐)
ตอบ คือนิวรณ์ ๕ ฯ
มี ๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและราคาญ
๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงใจ ฯ
๒. ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกว่าอะไร ? ความดีที่ถูกกั้นไว้ไม่ให้บรรลุ หมายถึง ความดีย่าง
ไหน ? (๒๕๔๗)
ตอบ เรียกว่า นิวรณ์ ฯ
หมายถึงความดีทุก ๆ อย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยตรง ได้แก่สมาธิ คือการทำจิตใจให้สงบ ฯ
๓. อิทธิบาท คือ ธรรมเป็นคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ของบุคคล ส่วนธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้
บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
ตอบ คือ นิวรณ์ ๕ ฯ
มี ๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงได้ ฯ
๔. คิดอย่างไรเรียกว่าพยาบาท ? คิดอย่างนั้นเกิดโทษอะไร ? (๒๕๕๕)
ตอบ คิดปองร้ายผู้อื่น ฯ
เกิดโทษ คือปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี ฯ
๕. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ จัดเข้าในขันธ์ไหนในขันธ์ ๕ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ จัดเข้าในสังขารขันธ์ ฯ
เพราะความฟุ้งซ่านและรำคาญ เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นกับใจ ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๒๑
ขันธ์ ๕
๑. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ย่อเป็น ๒ ได้อย่างไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ
รูปขันธ์จัดเป็นรูป ที่เหลือจัดเป็นนาม ฯ
๒. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? โดยย่อเรียกว่าอะไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ
เรียกว่า นามรูป ฯ
๓. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? สังขารขันธ์จัดเป็นรูปหรือนาม ? (๒๕๖๓)
ตอบ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ
จัดเป็นนาม ฯ
๔. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ย่อเป็น ๒ อย่างไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ
อย่างนี้คือ รูปขันธ์คงเป็นรูป
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ๔ ขันธ์นี้เป็นนาม ฯ
๕. กายกับใจของเรานี้แบ่งออกเป็นกี่กอง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๙)
ตอบ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่า ขันธ์ ฯ
คือ ๑. รูป ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ ฯ
ฉักกะ หมวด ๖
คารวะ ๖
๑. คารวะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? ข้อว่า คารวะในความศึกษา หมายถึงอะไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ
มี ๖ อย่าง ฯ
หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ
๒๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
สาราณิยธรรม ๖
๑. สาราณิยธรรม แปลว่าอะไร ? ธรรมข้อนี้ย่อมอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯ
ทำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไป
เพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
๒. “รู้รักสามัคคี” เกิดขึ้นเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ สาราณิยธรรม ฯ
อายตนะภายใน ๖
๑. อายตนะภายใน ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๔)
ตอบ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ
อายตนะภายนอก ๖
๑. อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๖๑)
ตอบ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย ธรรม คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ ฯ
๒. อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? (๒๕๕๙)
ตอบ มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้ คือ
๑. อาศัยรูปกระทบนัยน์ตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกจักขุวิญญาณ
๒. อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกโสตวิญญาณ
๓. อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกฆานวิญญาณ
๔. อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกชิวหาวิญญาณ
๕. อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกกายวิญญาณ
๖. อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกมโนวิญญาณ ฯ
วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๒๓
สัตตกะ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม ๗
๑. อปริหานิยธรรม คืออะไร ? มีกี่ข้อ ? จงแสดงมา ๑ ข้อ (๒๕๔๕)
ตอบ คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มี ๗ ข้อ ฯ
(ตอบข้อใดข้อหนึ่ง) คือ
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกัน
ช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่
เป็นสุข ฯ
๒. อปริหานิยธรรม คืออะไร ? ข้อที่ ๔ ความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ฯ
ข้อที่ ๔ ความว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟัง
ถ้อยคำของท่าน ฯ
อริยทรัพย์ ๗
๑. ทรัพย์ประเภทไหนเรียกว่าอริยทรัพย์ ? อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร ? (๒๕๔๔)
ตอบ ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกว่า อริยทรัพย์ มีศรัทธา ศีล เป็นต้น ฯ
ดีกว่า เพราะอริยทรัพย์เป็นคุณธรรม เครื่องบำรุงจิตใจให้ปลื้มให้อบอุ่น มีแล้วไม่ต้องเป็นทุกข์
กังวลในการคุ้มครองป้องกันโจรภัยเป็นต้น ใครแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น ไม่ต้อง
เสี่ยงภัยในการแสวงหา เป็นต้น ทั้งสามารถติดตามเป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ
๒. อริยทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ? เมื่อเทียบกับทรัพย์สินมีเงินทอง เป็นต้นดีกว่ากันอย่างไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ คือ คุณงามความดีอย่างประเสริฐที่เกิดมีขึ้นในสันดาน มีศรัทธา ศีล เป็นต้น ฯ
ดีกว่ากัน เพราะเป็นคุณธรรมเครื่องบำรุงจิตให้อบอุ่น ไม่ต้องกังวลเดือดร้อน ใครจะแย่งชิงไป
ไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น ทั้งสามารถติดตามไปได้ถึงชาติหน้า เป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ
๒๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา
๓. พาหุสัจจะ หมายความว่าอย่างไร ? พาหุสัจจะ เป็นอริยทรัพย์อย่างหนึ่งนั้น อธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๖)
ตอบ หมายความว่า ความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามาก ฯ
อธิบายว่า พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามากนั้น ได้ชื่อว่าอริยทรัพย์ เพราะ
เป็นเหตุให้ได้อิฏฐผล มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และไมตรี เป็นต้น ทั้งไม่เป็นภาระแก่เจ้าของ และ
ที่ดีพิเศษกว่าทรัพย์สินเงินทองทั่วไป คือยิ่งใช้ยิ่งมี ฯ
สัปปุริสธรรม ๗
๑. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในสัปปุริสธรรม มีอธิบายไว้อย่างไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการ
บริโภคแต่พอควร ฯ
๒. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ? (๒๕๕๗)
๑. ธัมมัญญุตา ๒. มัตตัญญุตา ๓. กาลัญญุตา
ตอบ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
๒. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้
ประมาณในการบริโภคแต่พอสมควร
๓. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้น ๆ ฯ
อัฏฐกะ หมวด ๘
โลกธรรม ๘
๑. โลกธรรม คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรพิจารณาอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ คือ ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น ฯ
ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็
แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้
คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา ฯ
๒. โลกธรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ท่านสอนให้ปฏิบัติต่อโลกธรรมอย่างไร ? (๒๕๔๔)
ตอบ มี ๘ อย่าง ฯ
คือ มีลาภ ๑ ไม่มีลาภ ๑ มียศ ๑ ไม่มียศ ๑ สรรเสริญ ๑ นินทา ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ฯ
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf

Contenu connexe

Tendances

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
Anchalee BuddhaBucha
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
พัน พัน
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
Padvee Academy
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
Kiat Chaloemkiat
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
Padvee Academy
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
Onpa Akaradech
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
Padvee Academy
 
มงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถามงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถา
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 

Tendances (20)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
 
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdfแบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
 
สรุปนักธรรมตรี_V2565.pdf
สรุปนักธรรมตรี_V2565.pdfสรุปนักธรรมตรี_V2565.pdf
สรุปนักธรรมตรี_V2565.pdf
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ
บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ
บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
มงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถามงคลวิเสสกถา
มงคลวิเสสกถา
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
พุทธในออสเตรเลีย2
พุทธในออสเตรเลีย2พุทธในออสเตรเลีย2
พุทธในออสเตรเลีย2
 
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบทคู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
คู่มือพระกรรมวาจาจารย์บรรพชาอุปสมบท
 
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
 

Similaire à ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf

โควตา มช สังคมศึกษา
โควตา มช  สังคมศึกษาโควตา มช  สังคมศึกษา
โควตา มช สังคมศึกษา
Chalinee Tonsing
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
jyppy
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
Justmin PocoYo
 
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550
Ging Kanok-on
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
Faralee Benahmad
 
สังคมศึกษา โควต้า มช.
สังคมศึกษา โควต้า มช.สังคมศึกษา โควต้า มช.
สังคมศึกษา โควต้า มช.
Maya NNcuhmmy
 
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551
Faralee Benahmad
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
Faralee Benahmad
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
Justmin PocoYo
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ruttanaphareenoon
 

Similaire à ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf (20)

แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
 
โควตา มช สังคมศึกษา
โควตา มช  สังคมศึกษาโควตา มช  สังคมศึกษา
โควตา มช สังคมศึกษา
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
หน่วยที่๙
หน่วยที่๙หน่วยที่๙
หน่วยที่๙
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2550
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
สังคมศึกษา โควต้า มช.
สังคมศึกษา โควต้า มช.สังคมศึกษา โควต้า มช.
สังคมศึกษา โควต้า มช.
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551
ข้อสอบโควตาสังคมศึกษา 2551
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา02 สังคมศึกษา
02 สังคมศึกษา
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
 

Plus de สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)

Plus de สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral) (20)

ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Buildingทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
 
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdfประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
 
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdfประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
 
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลีการใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
 
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลีการสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
 
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdfประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
 
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Wordsการแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
 
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdfคําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
 
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocabประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
 
การแปล อนฺต, มาน, ต, ตฺวา ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
การแปล  อนฺต,  มาน,  ต,  ตฺวา  ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translationการแปล  อนฺต,  มาน,  ต,  ตฺวา  ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
การแปล อนฺต, มาน, ต, ตฺวา ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
 
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
 
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
 
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการหลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
 
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม ฉบับภาษาบาลี
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม  ฉบับภาษาบาลีธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม  ฉบับภาษาบาลี
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม ฉบับภาษาบาลี
 
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
 
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ  สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdfสำนวนแต่งไทยเป็นมคธ  สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
 
จูฬธาตุปัจจยโชติกา _ พจนานุกรมบาลี-บาลี
จูฬธาตุปัจจยโชติกา  _  พจนานุกรมบาลี-บาลีจูฬธาตุปัจจยโชติกา  _  พจนานุกรมบาลี-บาลี
จูฬธาตุปัจจยโชติกา _ พจนานุกรมบาลี-บาลี
 
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 

ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf

  • 1.
  • 2. คำนำ หลังจากสอบได้นักธรรมชั้นเอก ปี ๒๕๔๕ ได้เริ่มทำหน้าที่สอนนักธรรมชั้นตรีเป็นปีแรก จาก การได้สอนนักธรรม การอบรมก่อนธรรมสนามหลวง และเป็นกรรมการคุมสอบนักธรรม ทำให้ได้พบปัญหา การศึกษานักธรรม ปัญหาสำคัญของการศึกษานักธรรมมีอยู่ ๒ ประการ คือเรื่องของเวลา และเนื้อหา ในแต่ละรายวิชาที่มีมาก ปัญหาการเรียนนักธรรมกับเวลาคือเรื่องกิจนิมนต์ ต้องฉลองศรัทธาของญาติโยม บาง วันมีกิจมนต์ตั้งแต่ภาคเช้าภาคบ่าย และภาคค่ำ เวลาเรียนมีน้อยแต่เนื้อหารายวิชามีมาก พระภิกษุสามเณร บางรูปเรียนนักธรรม บาลี สายสามัญ หรือเรียนในมหาวิทยาลัย สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุดของ การศึกษานักธรรม จึงต้องบริหารเวลาและมีวินัยในการศึกษา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี เป็นการกำหนดขอบเขตการศึกษานักธรรม เพื่อให้ เหมาะสมกับเวลาเรียน ไม่ได้เน้นในเรื่องการอธิบาย เป็นเพียงแนวข้อสอบ ทำให้เห็นความสำคัญในการศึกษา ในแต่ละรายวิชา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนการสอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะ เกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาทุกรูป พระมหามนตรี กตปุญฺโ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๕
  • 3. สารบัญ หน้า ทุกะ หมวด ๒ ๑ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ ๑ ธรรมเป็นโลกบาล ๒ ๒ ธรรมอันทำให้งาม ๒ ๓ บุคคลหาได้ยาก ๒ ๔ ติกะ หมวด ๓ ๖ รตนะ ๓ ๖ คุณของรตนะ ๓ ๗ อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ๗ โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ๗ ทุจริต ๓ ๘ สุจริต ๓ ๙ อกุศลมูล ๓ ๙ กุศลมูล ๓ ๙ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ๑๐ สามัญลักษณะ ๓ ๑๐ จตุกกะ หมวด ๔ ๑๑ วุฑฒิ ๔ ๑๑ จักร ๔ ๑๑ อคติ ๔ ๑๑ อันตรายของพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ ๑๒ ปธาน ๔ ๑๒ อิทธิบาท ๔ ๑๓ ปาริสุทธิศีล ๔ ๑๔ พรหมวิหาร ๔ ๑๕ ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ ๑๕ อริยสัจ ๔ ๑๕ ปญจกะ หมวด ๕ ๑๗ อนันตริยกรรม ๕ ๑๗
  • 4. อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ ๑๘ เวสารัชชกรณธรรม ๕ ๑๙ องค์แห่งธรรมกถึก ๕ ๑๙ ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕ ๑๙ พละ ๕ ๑๙ นิวรณ์ ๕ ๒๐ ขันธ์ ๕ ๒๑ ฉักกะ หมวด ๖ ๒๑ คารวะ ๖ ๒๑ สาราณิยธรรม ๖ ๒๒ อายตนะภายใน ๖ ๒๒ อายตนะภายนอก ๖ ๒๒ สัตตกะ หมวด ๗ ๒๓ อปริหานิยธรรม ๗ ๒๓ อริยทรัพย์ ๗ ๒๓ สัปปุริสธรรม ๗ ๒๔ อัฏฐกะ หมวด ๘ ๒๔ โลกธรรม ๘ ๒๔ มรรค ๘ ๒๕ นวกะ หมวด ๙ ๒๖ มละ ๙ ๒๖ ทสกะ หมวด ๑๐ ๒๗ ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ ๒๗ นาถกรณธรรม ๑๐ ๒๗ คิหิปฏิบัติ ๒๘ จตุกกะ หมวด ๔ ๒๘ อบายมุข ๔ ๒๘ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ๒๘ มิตรปฏิรูป ๔ ๒๙ มิตรแท้ ๔ ๓๐ สังคหวัตถุ ๔ ๓๑ สุขของคฤหัสถ์ ๔ ๓๒
  • 5. ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ๔ ๓๒ ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔ ๓๒ ฆราวาสธรรม ๔ ๓๒ ปัญจกะ หมวด ๕ ๓๓ ประโยชน์แต่การถือโภคทรัพย์ ๕ ๓๓ ศีล ๕ ๓๔ มิจฉาวณิชชา ๕ ๓๔ สมบัติของอุบาสก ๕ ๓๕ ฉักกะ หมวด ๖ ๓๖ ทิศ ๖ ๓๖ อบายมุข ๖ ๓๗ วิชาพุทธประวัติ ๔๐ ปริเฉทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน ๔๑ ชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ เขต ๔๑ วรรณะ ๔ ๔๑ ศาสนาพื้นเมือง ๔๓ ปริเฉทที่ ๒ สักกชนบทและศากยวงศ์ ๔๓ ศากยวงศ์ ๔๓ ปริเฉทที่ ๓ พระศาสดาประสูติ ๔๔ วันประสูติ ๔๔ ประสูติได้ ๓ วัน ๔๕ ประสูติได้ ๕ วัน ๔๖ ประสูติได้ ๗ วัน ๔๖ พระชนมายุได้ ๗ ปี ๔๖ ปริเฉทที่ ๔ เสด็จออกบรรพชา ๔๘ เสด็จออกบวช ๔๘ ปริเฉทที่ ๕ ตรัสรู้ ๔๙ ศึกษาลัทธิของสองพระดาบส ๕๐ ปัญจวัคคีย์ออกบวช ๕๐ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ๕๐ ตรัสรู้ ๕๑ ชนะมารด้วยบารมี ๑๐ ๕๑
  • 6. บรรลุญาณ ๓ ๕๑ ปริเฉทที่ ๖ ปฐมเทศนาและปฐมสาวก ๕๒ เสวยวิมุตติสุข ๕๒ บุคคลเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ๕๒ ทรงพิจารณาผู้สมควรจะรับฟงปฐมเทศนา ๕๓ โปรดปัญจวัคคีย์ ๕๓ ทรงแสดงปฐมเทศนา ๕๔ ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ๕๕ ปริเฉทที่ ๗ ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา ๕๖ โปรดยสกุลบุตร ๕๖ อนุปุพพิกถา ๕๗ โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง ๕๗ ปริเฉทที่ ๘ เสด็จกรุงราชคฤห์ ๕๗ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ๕๗ ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร ๕๘ พระอัครสาวกได้ดวงตาเห็นธรรม ๕๘ ปริเฉทที่ ๙ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในแคว้นมคธ ๕๙ โอวาทปาฏิโมกข์ ๕๙ ปริเฉทที่ ๑๑ เสด็จแคว้นโกศล ๖๐ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ๖๐ ปริเฉทที่ ๑๒ ปรินิพพาน ๖๐ ทรงปลงอายุสังขาร ๖๐ เหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว ๖๑ บิณฑบาตมีอานิสงส์มาก ๒ ครั้ง ๖๑ ทรงปรารภสักการบูชา ๖๑ สังเวชนียสถาน ๖๒ อาการที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติในสตรี ๖๒ ถูปารหบุคคล ๖๒ สาวกองค์สุดท้าย ๖๓ ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ ๖๓ ปัจฉิมโอวาท ๖๓ ปรินิพพาน ๖๔
  • 7. ปริเฉทที่ ๑๓ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ๖๔ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ๖๔ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ๖๕ เจดีย์ ๔ ประเภท ๖๕ การทำสังคายนา ๖๕ ศาสนพิธี ๖๖ หมวดที่ ๑ กุศลพิธี ๖๗ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ๖๗ พิธีรักษาอุโบสถศีล ๖๗ พิธีเวียนเทียนในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา ๖๘ คำลากลับบ้าน ๖๙ หมวดที่ ๒ บุญพิธี ๖๙ การประกอบพิธีทำบุญงานมงคล ๖๙ หมวดที่ ๓ ทานพิธี ๗๐ การถวายทานมี ๒ อย่าง ๗๐ ระเบียบพิธีถวายสังฆทาน ๗๑ หมวดที่ ๔ ปกิณกพิธี ๗๒ วิธีแสดงความเคารพ ๗๒ วิธีประเคนของพระ ๗๓ การอาราธนาพระปริตร ๗๓ การกรวดน้ำ ๗๔ วิชาวินัย ๗๕ กัณฑ์ที่ ๑ อุปสัมปทา ๗๕ วิธีอุปสมบท ๓ อย่าง ๗๕ อนุศาสน์ ๘ อย่าง ๗๕ นิสสัย ๔ ๗๕ อกรณียกิจ ๔ ๗๖ สิกขา ๓ ๗๗ กัณฑ์ที่ ๒ พระวินัย ๗๘ พระวินัย ๗๘ การบัญญัติพระวินัย ๘๐
  • 8. อาบัติ ๘๐ ประเภทของอาบัติ ๘๒ อาบัติว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง ๘๒ อาบัติเพ่งโดยเจตนา ๒ อย่าง ๘๒ โทษของอาบัติ ๘๓ อาการต้องอาบัติ ๖ อย่าง ๘๓ อานิสงส์พระวินัย ๘๔ กัณฑ์ที่ ๓ สิกขาบท ๘๔ สิกขาบท ๘๔ สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ ๘๔ กัณฑ์ที่ ๔ ปาราชิก ๔ ๘๕ กัณฑ์ที่ ๕ สังฆาทิเสส ๑๓ ๘๘ อนิยต ๒ สิกขาบท ๙๒ กัณฑ์ที่ ๖ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ๙๒ จีวรวรรคที่ ๑ ๙๓ ปัตตวรรคที่ ๓ ๙๓ กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์ ๙๒ ๙๗ มุสาวาทวรรคที่ ๑ ๙๗ ภูตคามวรรคที่ ๒ ๙๙ โภชนวรรคที่ ๔ ๙๙ อเจลกวรรคที่ ๕ ๑๐๐ สุราปานวรรคที่ ๖ ๑๐๑ สหธรรมิกวรรคที่ ๘ ๑๐๒ รตนวรรคที่ ๙ ๑๐๒ เสขิยวัตร ๗๕ ๑๐๓ สารูปที่ ๑ ๑๐๔ โภชนปฏิสังยุตที่ ๒ ๑๐๕ กัณฑ์ที่ ๙ อธิกรณสมถะ ๗ ๑๐๖ อธิกรณ์ ๔ ๑๐๖ อธิกรณสมถะ ๗ ๑๐๗ กัณฑ์ที่ ๑๐ มาตรา ๑๐๗ ฤดู ๓ ๑๐๗
  • 9. วิชาธรรมวิภาค ทุกะ หมวด ๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ ๑. ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง ? บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร ? (๒๕๔๘) ตอบ ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ จะเป็นคนหลงลืม จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ ๒. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ? ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ? (๒๕๕๓) ตอบ มีสติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ ๓. ธรรมที่ได้ชื่อว่ามีอุปการะมาก คือธรรมอะไร ? เพราะเหตุไรจึงจัดว่ามีอุปการะมาก ? (๒๕๕๗) ตอบ คือ สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ เพราะเป็นคุณธรรมอุดหนุนให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลในกิจทั้งปวง ฯ ๔. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๔๕) ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในขณะทำ ฯ ๕. คนที่ทำอะไรมักพลั้งพลาด เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๔๕, ๒๕๖๒) ตอบ เพราะขาดสติ ความระลึกได้ก่อนแต่จะทำ และขาดสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในขณะทำ ฯ ๖. สติ แปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ? (๒๕๖๐) ตอบ สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ เพราะช่วยให้สำเร็จกิจในทางที่ดี ฯ ๗. สติแปลว่าอะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก ? (๒๕๖๓) ตอบ สติ แปลว่า ความระลึกได้ ฯ เพราะอุดหนุนให้สําเร็จกิจในทางที่ดี ฯ
  • 10. ๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ธรรมเป็นโลกบาล ๒ ๑. ธรรมคุ้มครองโลกมีอะไรบ้าง ? ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร ? (๒๕๔๔) ตอบ มี ๒ อย่าง คือ ๑. หิริ ความละอายแก่ใจ ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ฯ ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้ เนื่องจากปัจจุบันโลกที่เกิดวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนั้น เป็นพราะชาวโลกละทิ้งธรรม คือ หิริ และโอตตัปปะ ไม่ละอายแก่ใจ ไม่เกรงกลัวต่อผลแห่งความชั่ว ขาดเมตตากรุณา เป็นคนเห็นแก่ตัวจัด มีการเบียดเบียนกระทำทุจริต โดยวิธีการต่าง ๆ หากชาวโลก มีธรรมคู่นี้ตั้งมั่นในใจแล้ว ก็จะช่วยคุ้มครองโลกให้พ้นจากภาวะวิกฤตในปัจจุบันได้ ฯ ๒. ธรรมคุ้มครองโลก มีกี่อย่าง ? (๒๕๖๑) ตอบ มี ๒ อย่าง ฯ ๑. หิริ ความละอายบาป ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ ๓. ธรรมคุ้มครองโลกมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๖๔) ตอบ มี ๒ อย่าง ฯ คือ ๑. หิริ ความละอายต่อบาป ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ ๔. โลกเดือดร้อนวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๔๖) ตอบ เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ ๑. หิริ ความละอายแก่ใจ ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ฯ ๕. พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมอะไรไว้สำหรับคุ้มครองโลก ? (๒๕๕๕) ตอบ ทรงสอนธรรมไว้ ๒ ข้อ คือ ๑. หิริ ความละอายต่อบาป ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลบาป ฯ ๖. สังคมทุกวันนี้เกิดความวุ่นวาย เพราะขาดธรรมอะไรบ้าง ? (๒๕๖๐) ตอบ เพราะขาดธรรมเป็นโลกบาล ๒ อย่าง คือ ๑. หิริ ความละอายแก่ใจในการประพฤติชั่ว ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของการประพฤติชั่ว ฯ
  • 11. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๓ ๗. โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ? (๒๕๖๒) ตอบ เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง คือ ๑. หิริ ความละอายบาป ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ฯ ๘. หิริ และโอตตัปปะ ได้ชื่อว่าธรรมเป็นโลกบาล เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๖) ตอบ เพราะเป็นคุณธรรมทำบุคคลให้รังเกียจ และเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง ฯ ๙. หิริ กับ โอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๙) ตอบ ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือ ความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่ว ส่วนโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ ๑๐. การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? (๒๕๕๑) ตอบ ไม่ได้ ฯ เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ ๑๑. พบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัด จัดเป็นโอตตัปปะได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? (๒๕๖๓) ตอบ ไม่ได้ ฯ เพราะโอตตัปปะ หมายความว่าความเกรงกลัวต่อบาป ฯ ธรรมอันทำให้งาม ๒ ๑. บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงาม เพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? (๒๕๔๖) ตอบ เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง คือ ๑. ขันติ ความอดทน ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม ฯ ๒. ในทางโลก ดูคนงามกันที่รูปร่างหน้าตา ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่ไหน ? (๒๕๕๐) ตอบ ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ ขันติ ความ อดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ
  • 12. ๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๓. ในทางโลก ดูคนงามที่รูปร่างหน้าตา ส่วนในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามที่ไหน ? (๒๕๕๙) ตอบ ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ คือ ๑. ขันติ ความอดทน ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม ฯ ๔. ขันติ กับ โสรัจจะ เป็นธรรมทำให้งามได้อย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ ขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความเสงี่ยม ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีใจหนักแน่น ไม่ แสดงความวิการออกมาให้ปรากฏ แม้จะประสบความดีใจ เสียใจ ก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจ ให้สุภาพ สงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้ จึงทำให้งาม ฯ บุคคลหาได้ยาก ๒ ๑. บุพพการี และกตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลเช่นไร ? (๒๕๕๘) ตอบ บุพพการี หมายถึงบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที หมายถึงบุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ ๒. บุพพการี และกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? (๒๕๕๔, ๒๕๖๒) ตอบ บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ ๓. บุพพการี และกตัญญูกตเวที คือบุคคลเช่นไร ? จัดเป็นคู่ไว้อย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๘) ตอบ บุพพการี คือบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที คือบุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้ บิดามารดา กับ บุตรธิดา, ครูอาจารย์ กับ ศิษย์, พระมหากษัตริย์ กับ ประชาราษฎร์, พระพุทธเจ้า กับ พุทธบริษัท เป็นต้น ฯ ๔. บุพพการี และกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่ (๒๕๕๒) ตอบ บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรธิดา คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์ คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ
  • 13. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๕ ๕. ในโลกนี้ มีบุคคลประเภทใดบ้างที่หาได้ยาก ? (๒๕๕๙) ตอบ มีบุคคลที่หาได้ยาก ๒ ประเภท คือ ๑. บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทน ฯ ๖. ในโลกนี้ มีบุคคลประเภทใดบ้างที่พระพุทธศาสนาสอนว่าหาได้ยาก ? (๒๕๖๔) ตอบ มี ๒ ประเภท คือ บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทนท่าน ฯ ๗. บุพพการี ได้แก่บุคคลเช่นไร ? พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ ได้แก่ บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ฯ พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงนะนำสั่งสอนให้รู้ดี รู้ชอบตาม พระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์ อย่างยิ่งคือพระนิพพาน จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ ๘. พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๖๑) ตอบ พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชอบตาม พระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ ในโลกหน้า และ ประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ ๙. ผู้ได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวทีบุคคล เพราะปฏิบัติตนอย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ เพราะเป็นผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ ๑๐. คำต่อไปนี้ มีความหมายว่าอย่างไร ? (๒๕๕๕) ๑. สัมปชัญญะ ๒. กตัญญูกตเวที ๓. กายทุจริต ๔. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ๕. ปุพเพกตปุญญตา ตอบ ๑. สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว ๒. กตัญญูกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ๓. กายทุจริต หมายถึง ความประพฤติชั่วทางกาย ๔. มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายถึง การบำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข ๕. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในกาลก่อน ฯ
  • 14. ๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ติกะ หมวด ๓ รัตนะ ๓ ๑. พระรัตนตรัยมีอะไรบ้าง ? รัตนะที่ ๑ หมายถึงใคร ? จงอธิบาย (๒๕๔๕) ตอบ มีพระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ หมายถึงพระพุทธเจ้า ฯ ได้แก่ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัยที่ท่านเรียกว่า พระพุทธศาสนา ฯ ๒. รัตนะ ๓ มีอะไรบ้าง ? รัตนะ ๓ นั้น มีคุณอย่างไร ? (๒๕๔๖, ๒๕๖๒) ตอบ มีพระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑ ฯ มีคุณอย่างนี้ คือ ๑. พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๒. พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ๓. พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตาม ฯ ๓. รัตนะ ๓ อย่าง คืออะไรบ้าง ? รัตนะที่ ๒ มีคุณอย่างไร ? (๒๕๕๗, ๒๕๖๔) ตอบ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ฯ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ ๔. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๘, ๒๕๖๐) ตอบ เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก นำประโยชน์และความสุข มาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ ๕. คำว่า พระธรรม ในรัตนะ ๓ คืออะไร ? มีคุณอย่างไร ? (๒๕๔๙) ตอบ คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ มีคุณ คือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ ๖. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ? ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ? (๒๕๕๓) ตอบ ได้แก่ พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ
  • 15. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๗ ๗. พระธรรม คืออะไร ? มีคุณต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๘, ๒๕๖๓) ตอบ พระธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ มีคุณ คือย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ ๘. พระรัตนตรัย กับ ไตรสรณคมน์ เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกันอย่างไร ? การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๓ เป็นที่พึ่ง จัดเป็นอย่างไหน ใน ๒ อย่างนั้น ? (๒๕๔๔, ๒๕๕๙) ตอบ ต่างกัน คือ พระรัตนตรัย หมายถึง สิ่งที่เป็นที่พึ่ง ๓ ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนไตรสรณคมน์ หมายถึง การยอมรับนับถือพระรัตนตรัยไว้เป็นที่พึงของตน ฯ จัดเป็นไตรสรณคมน์ ฯ คุณของรตนะ ๓ ๑. พระพุทธเจ้าคือใคร ? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ? (๒๕๕๔) ตอบ คือ ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ฯ ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ ๒. พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร ? (๒๕๕๑) ตอบ ท่านปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ฯ อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ๑. อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ? ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร ? (๒๕๕๒) ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ๑. โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕, ๒๕๕๑) ตอบ ๑. เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ ๒. โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๔๙) ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ ๑. เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
  • 16. ๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ๓. กระทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลงเป็นต้น ฯ ๓. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓) ตอบ มี ๓ ข้อ ฯ คือ ๑. เว้นจากทุกจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ฯ ๔. เพราะเหตุไร หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้า หมอง ? (๒๕๔๗) ตอบ เพราะใจเป็นธรรมชาติสำคัญ ถ้าใจเศร้าหมอง ก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว การทำชั่วมีผลเป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ ทุจริต ๓ ๑. ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน (๒๕๕๓) ตอบ คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯ จัดเป็นมโนทุจริต ฯ ๒. ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๖๑) ตอบ ทุจริต คือ ความประพฤติชั่ว ฯ จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ ๓. ทุจริต คืออะไร ? พูดใส่ร้ายผู้อื่น จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๖๔) ตอบ ทุจริต คือ ประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย ฯ จัดเข้าในวจีทุจริต ฯ ๔. เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไร ? จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๕๔) ตอบ คือ เห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีพระคุณ เป็นต้น ฯ จัดเข้าในมโนทุจริต ฯ
  • 17. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๙ สุจริต ๓ ๑. มโนสุจริตคืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐) ตอบ คือ การประพฤติชอบด้วยใจ ฯ มี ๑. ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓. เห็นชอบตามคลองธรรม ฯ อกุศลมูล ๓ ๑. รากเหง้าของอกุศลเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เพราะเหตุใดจึงควรละเสีย ? (๒๕๕๔) ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล ฯ มีโลภะ โทสะ โมหะ ฯ เพราะเมื่ออกุศลมูลเหล่านี้มีอยู่ อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น ฯ ๒. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๒) ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล ฯ มี ๑. โลภะ อยากได้ ๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสีย ด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ ๓. มูลเหตุที่ทําให้บุคคลทําความชั่วเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๓) ตอบ เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าของอกุศล ฯ มี ๓ คือ ๑. โลภะ อยากได้ ๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ กุศลมูล ๓ ๑. คนเราจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากอะไร ? (๒๕๔๙) ตอบ คนประพฤติดีมีมูลเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ ส่วนคนประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ ฯ
  • 18. ๑๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา บุญกิริยาวัตถุ ๓ ๑. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ? ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั้น ข้อไหนกำจัดความโลภ ความโกรธ และความหลง ? (๒๕๔๗) ตอบ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ ทานมัย กำจัดความโลภ สีลมัย กำจัดความโกรธ ภาวนามัย กำจัดความหลง ฯ ๒. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๘) ตอบ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ มี ๓ ฯ คือ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ ๓. สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๒) ตอบ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ฯ โดยย่อมี ๓ คือ ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ ๔. การทำบุญโดยย่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๖) ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ ทาน ศีล ภาวนา ฯ สามัญลักษณะ ๓ ๑. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓, ๒๕๖๐) ตอบ ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตนฯ
  • 19. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๑ จตุกกะ หมวด ๔ วุฑฒิ ๔ ๑. บุคคลผู้หวังความเจริญ ควรตั้งอยู่ในธรรมอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕) ตอบ ควรตั้งอยู่ในวุฑฒิธรรม ฯ มี ๑. คบสัตบุรุษ ๒. ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ ๓. ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ ๔. ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว ฯ จักร ๔ ๑. ธรรมเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? ปุพฺเพกตปุญฺ ตา หมายความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๖) ตอบ เรียกว่า จักรธรรม ฯ หมายความว่า ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ ๒. ธรรมดุจล้อรถนาไปสู่ความเจริญ เรียกว่าอะไร ? จงบอกมาสัก ๒ ข้อ (๒๕๕๘) ตอบ เรียกว่า จักร ฯ ได้แก่ ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร ๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน ฯ (เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ) ๓. ธรรม ๔ อย่าง ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ ข้อว่า “คบสัตบุรุษ คือคนดี” นั้น จะนำไปสู่ความเจริญ ได้อย่างไร ? (๒๕๔๘) ตอบ เมื่อคบสัตบุรุษแล้วย่อมเป็นเหตุให้คิดดีพูดดีทำดี อันก่อให้เกิดความสุขความเจริญ ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งยังให้ถึงความเจริญอย่างที่สุดคือพระนิพพานได้ ฯ อคติ ๔ ๑. ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑) ตอบ ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง ฯ มี ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน
  • 20. ๑๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว ฯ ๒. ผู้จะดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ต้องประพฤติอย่างไร ? (๒๕๕๕) ตอบ ต้องประพฤติดังนี้ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน อันเรียกว่า ฉันทาคติ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน อันเรียกว่า โทสาคติ ๓. ไม่ลำเอียงเพราะเขลา อันเรียกว่า โมหาคติ ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว อันเรียกว่า ภยาคติ ฯ ๓. บุคคลผู้รักษาความยุติธรรมไว้ได้ ควรเว้นจากธรรมอะไร ? ธรรมนั้นมีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๘) ตอบ ควรเว้นจากอคติ ๔ ฯ มี ๑. ความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ ๒. ความลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกว่า โทสาคติ ๓. ความลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ ๔. ความลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ ฯ อันตรายของพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ ๑. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ควรเว้นอันตราย ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง ? (๒๕๕๙) ตอบ ควรเว้น อันตราย ๔ อย่าง คือ ๑. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสอน ขี้เกียจทำตาม ๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง อดทนต่อความอยากไม่ได้ ๓. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๔. รักผู้หญิง ฯ ปธาน ๔ ๑. ปธาน ๔ มีอะไรบ้าง ? คนเสพยาเสพย์ติด เพียรพยายามจะเลิกให้ได้ ชื่อว่าตั้งอยู่ในปธานข้อไหน ? (๒๕๔๔) ตอบ มี ๑. สังวรปธานเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานปธานเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธานเพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนาปธานเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ตั้งอยู่ในปหานปธาน ฯ
  • 21. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๓ ๒. ปธาน ๔ มีอะไรบ้าง ? เพียรระวังตนให้ห่างไกลจากสิ่งเสพติด จัดเข้าในปธานข้อไหน ? (๒๕๔๖) ตอบ มี ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ฯ จัดเข้าในสังวรปธาน ฯ ๓. ปธานคือความเพียร ๔ มีอะไรบ้าง ? งดเหล้าเข้าพรรษาอนุโลมเข้าในปธานข้อไหน ? (๒๕๔๙) ตอบ มี ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม ฯ อนุโลมเข้าในปหานปธาน ฯ อิทธิบาท ๔ ๑. ผู้ประกอบกิจการงานสำเร็จตามความประสงค์เพราะประพฤติธรรมอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕) ตอบ เพราะประพฤติอิทธิบาท ๔ ฯ มี ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ ๒. คุณธรรมเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๗) ตอบ คือ อิทธิบาท ๔ ฯ มี ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ ๓. ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ? (๒๕๖๐, ๒๕๖๒) ตอบ เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง คือ ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
  • 22. ๑๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น ฯ ๔. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ? (๒๕๕๓) ตอบ ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อมีความพอใจ จะเป็น เหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะและเกิดความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ และเมื่อเรียนรู้แล้วก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้องที่เรียกว่า วิมังสา ดังนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ ปาริสุทธิศีล ๔ ๑. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องมีอินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ สำรวมอินทรีย์นั้น คืออย่างไร ? (๒๕๕๐) ตอบ คือ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ ฯ ๒. อินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๑) ตอบ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ ๓. การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่การกระทำอย่างไร ? เมื่อกระทำเช่นนั้นแล้ว จะได้รับประโยชน์อะไร ? (๒๕๕๕) ตอบ ได้แก่ การระวังอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ฯ ได้รับประโยชน์ คือ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น ฯ ๔. ปัจจยปัจจเวกขณะ หมายความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๘) ตอบ หมายความว่า พิจารณา (ถึงคุณและโทษของปัจจัย ๔) ก่อน จึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ ๕. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ? (๒๕๔๖) ก. ปัจจยปัจจเวกขณะ ข. อภิณหปัจจเวกขณะ ตอบ ก. ปัจจยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ ข. อภิณหปัจจเวกขณะ คือ พิจารณาทุก ๆ วันว่า เรามีความแก่ มีความเจ็บมีความตายเป็น ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ เจ็บ ตายไปได้ เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เรามีกรรม เป็นของ ๆ ตน เราทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว ฯ
  • 23. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๕ พรหมวิหาร ๔ ๑. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๓) ตอบ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯ เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ ๒. เมื่อเพื่อนร่วมงานได้เลื่อนตำแหน่ง ไม่คิดริษยา พลอยยินดีกับเขาด้วย ชื่อว่าปฏิบัติตามพรหม วิหารธรรมข้อใด ? (๒๕๕๗, ๒๕๖๔) ตอบ มุทิตา ฯ ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ ๑. ธาตุกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? กำหนดพิจารณาอย่างไร เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ? (๒๕๔๖) ตอบ มี ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน ฯ ๒. ธาตุ ๔ มีธาตุอะไรบ้าง ? ธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง คือธาตุอะไร ? (๒๕๕๑) ตอบ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ คือ ธาตุดิน ฯ ๓. ธาตุ ๔ คืออะไรบ้าง ? ฟันจัดเป็นธาตุอะไร ? (๒๕๖๓) ตอบ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ เป็นธาตุดิน ฯ อริยสัจ ๔ ๑. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ? (๒๕๔๔) ตอบ มี ๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ๒. สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด ๓. นิโรธ คือความดับทุกข์ ๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ จัดเป็นทุกข์ ฯ
  • 24. ๑๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๒. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจ ข้อไหน ? (๒๕๖๑) ตอบ มี ๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ๒. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ๓. นิโรธ คือความดับทุกข์ ๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ จัดเป็นทุกข์ ฯ ๓. อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ความไม่สบายกายไม่สบายใจ จัดเป็นอริยสัจข้อไหน ? (๒๕๖๔) ตอบ มี ๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ๒. สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด ๓. นิโรธ คือความดับทุกข์ ๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ จัดเป็นข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ฯ ๔. คำว่าทุกข์ได้แก่อะไร ? มีสาเหตุมาจากอะไร ? (๒๕๔๕) ตอบ ได้แก่ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ฯ มีสาเหตุมาจากตัณหา ความทะยานอยาก ฯ ๕. ทุกข์ในอริยสัจ ๔ คืออะไร ? เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไร ? (๒๕๕๔) ตอบ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ฯ คือ ตัณหาความทะยานอยาก ฯ ๖. เหตุให้เกิดทุกข์ในอริยสัจ คืออะไร ? (๒๕๕๖, ๒๕๕๗) ตอบ คือ ตัณหา ความทะยานอยาก ฯ ๗. ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒) ตอบ ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับ ทุกข์ ได้ชื่อว่ามรรค ฯ เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ
  • 25. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๗ ปัญจกะ หมวด ๕ อนันตริยกรรม ๕ ๑. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุไรจึงเป็นกรรมที่เป็นบาปหนัก ที่สุด ? (๒๕๔๔) ตอบ มีชื่อเรียกว่า อนันตริยกรรม ฯ คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ เพราะห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำ เป็นเด็ดขาด ฯ ๒. กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มีชื่อเรียกว่าอะไร ? คืออะไรบ้าง ? (๒๕๖๒) ตอบ มีชื่อเรียกว่า อนันตริยกรรม ฯ คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ ๓. กรรมอันเป็นบาปหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน คือกรรมอะไร ? จงยกตัวอย่างสัก ๓ ข้อ (๒๕๕๘) ตอบ คือ อนันตริยกรรม ฯ มี ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
  • 26. ๑๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๔. ในพระพุทธศาสนา บุคคลผู้ฆ่ามารดาบิดา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม จะได้รับโทษอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ จะได้รับโทษ คือ ต้องไปสู่ทุคติ ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ฯ อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ ๑. อภิณหปัจจเวกขณ์ คือข้อที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ อย่าง ทรงสอนให้พิจารณาอะไรบ้าง ? (๒๕๕๖) ตอบ ทรงสอนให้พิจารณา ๑. ความแก่ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. ความเจ็บไข้ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓. ความตาย ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. ความพลัดพราก ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕. กรรม ว่าเรามีกรรมเป็นของตัวเราทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ ๒. สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาเนื่อง ๆ มีอะไรบ้าง ? ทรงให้พิจารณาอย่างไร ? (๒๕๖๑) ตอบ มีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความพลัดพราก และกรรม ฯ ทรงสอนให้พิจารณาว่า ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕. เรามีกรรมเป็นของตัวเรา ทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว ฯ ๓. ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ข้อความนี้อยู่ในหมวด ธรรมอะไร ? ท่านให้พิจารณาอย่างนี้เพื่ออะไร ? (๒๕๕๐) ตอบ อยู่ในธรรมหมวดอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ฯ เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้น คนนั้น เป็นที่รักของเรา จักไม่ต้องเสียใจในเมื่อต้อง พลัดพรากจากสิ่งนั้น คนนั้น จริง ๆ ฯ ๔. อภิณหปัจจเวกณ์ข้อว่า ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดังนี้ ผู้พิจารณาได้รับประโยชน์อย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๕๔) ตอบ ได้รับประโยชน์ คือสามารถบรรเทาความพอใจรักใคร่ของรักของชอบใจ และป้องกันความทุกข์ โทมนัส ในเวลาเมื่อตนต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ฯ
  • 27. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๑๙ เวสารัชชกรณธรรม ๕ ๑. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ (๒๕๕๖) ก. พาหุสัจจะ ข. อกุสลมูล ค. อินทรียสังวร ฆ. อนัตตตา ง. กามฉันท์ ตอบ ก. ความเป็นผู้ศึกษามาก ข. รากเหง้าของอกุศล ค. ความสำรวมอินทรีย์ ฆ. ความเป็นของไม่ใช่ตน ง. ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูป เป็นต้น ฯ องค์แห่งธรรมกถึก ๕ ๑. การจะเป็นนักเทศน์ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? จงตอบมาสัก ๓ ข้อ (๒๕๕๗) ตอบ ๑. แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น ฯ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ) ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕ ๑. อานิสงส์แห่งการฟังธรรม มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๘) ตอบ มี ๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้ ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ฯ พละ ๕ ๑. ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง คืออะไรบ้าง ? ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒) ตอบ คือ ๑. สัทธา ความเชื่อ ๒. วิริยะ ความเพียร ๓. สติ ความระลึกได้ ๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๕. ปัญญา ความรอบรู้ ฯ เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ
  • 28. ๒๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา นิวรณ์ ๕ ๑. ธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๐) ตอบ คือนิวรณ์ ๕ ฯ มี ๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น ๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและราคาญ ๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงใจ ฯ ๒. ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกว่าอะไร ? ความดีที่ถูกกั้นไว้ไม่ให้บรรลุ หมายถึง ความดีย่าง ไหน ? (๒๕๔๗) ตอบ เรียกว่า นิวรณ์ ฯ หมายถึงความดีทุก ๆ อย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยตรง ได้แก่สมาธิ คือการทำจิตใจให้สงบ ฯ ๓. อิทธิบาท คือ ธรรมเป็นคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ของบุคคล ส่วนธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้ บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐) ตอบ คือ นิวรณ์ ๕ ฯ มี ๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น ๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงได้ ฯ ๔. คิดอย่างไรเรียกว่าพยาบาท ? คิดอย่างนั้นเกิดโทษอะไร ? (๒๕๕๕) ตอบ คิดปองร้ายผู้อื่น ฯ เกิดโทษ คือปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี ฯ ๕. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ จัดเข้าในขันธ์ไหนในขันธ์ ๕ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๙) ตอบ จัดเข้าในสังขารขันธ์ ฯ เพราะความฟุ้งซ่านและรำคาญ เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นกับใจ ฯ
  • 29. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๒๑ ขันธ์ ๕ ๑. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ย่อเป็น ๒ ได้อย่างไร ? (๒๕๔๘) ตอบ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ รูปขันธ์จัดเป็นรูป ที่เหลือจัดเป็นนาม ฯ ๒. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? โดยย่อเรียกว่าอะไร ? (๒๕๕๑) ตอบ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ เรียกว่า นามรูป ฯ ๓. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? สังขารขันธ์จัดเป็นรูปหรือนาม ? (๒๕๖๓) ตอบ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ จัดเป็นนาม ฯ ๔. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ย่อเป็น ๒ อย่างไร ? (๒๕๕๖) ตอบ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ฯ อย่างนี้คือ รูปขันธ์คงเป็นรูป เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ๔ ขันธ์นี้เป็นนาม ฯ ๕. กายกับใจของเรานี้แบ่งออกเป็นกี่กอง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๙) ตอบ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่า ขันธ์ ฯ คือ ๑. รูป ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ ฯ ฉักกะ หมวด ๖ คารวะ ๖ ๑. คารวะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? ข้อว่า คารวะในความศึกษา หมายถึงอะไร ? (๒๕๕๒) ตอบ คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ มี ๖ อย่าง ฯ หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ
  • 30. ๒๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา สาราณิยธรรม ๖ ๑. สาราณิยธรรม แปลว่าอะไร ? ธรรมข้อนี้ย่อมอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯ ทำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไป เพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๒. “รู้รักสามัคคี” เกิดขึ้นเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ? (๒๕๔๕) ตอบ สาราณิยธรรม ฯ อายตนะภายใน ๖ ๑. อายตนะภายใน ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๔) ตอบ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ อายตนะภายนอก ๖ ๑. อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๖๑) ตอบ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย ธรรม คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ ฯ ๒. อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ? (๒๕๕๙) ตอบ มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้ คือ ๑. อาศัยรูปกระทบนัยน์ตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกจักขุวิญญาณ ๒. อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกโสตวิญญาณ ๓. อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกฆานวิญญาณ ๔. อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกชิวหาวิญญาณ ๕. อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกกายวิญญาณ ๖. อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกมโนวิญญาณ ฯ
  • 31. วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี } ๒๓ สัตตกะ หมวด ๗ อปริหานิยธรรม ๗ ๑. อปริหานิยธรรม คืออะไร ? มีกี่ข้อ ? จงแสดงมา ๑ ข้อ (๒๕๔๕) ตอบ คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มี ๗ ข้อ ฯ (ตอบข้อใดข้อหนึ่ง) คือ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกัน ช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า ๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่ เป็นสุข ฯ ๒. อปริหานิยธรรม คืออะไร ? ข้อที่ ๔ ความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๘) ตอบ คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ฯ ข้อที่ ๔ ความว่า ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟัง ถ้อยคำของท่าน ฯ อริยทรัพย์ ๗ ๑. ทรัพย์ประเภทไหนเรียกว่าอริยทรัพย์ ? อริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะเหตุไร ? (๒๕๔๔) ตอบ ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกว่า อริยทรัพย์ มีศรัทธา ศีล เป็นต้น ฯ ดีกว่า เพราะอริยทรัพย์เป็นคุณธรรม เครื่องบำรุงจิตใจให้ปลื้มให้อบอุ่น มีแล้วไม่ต้องเป็นทุกข์ กังวลในการคุ้มครองป้องกันโจรภัยเป็นต้น ใครแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น ไม่ต้อง เสี่ยงภัยในการแสวงหา เป็นต้น ทั้งสามารถติดตามเป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ ๒. อริยทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ? เมื่อเทียบกับทรัพย์สินมีเงินทอง เป็นต้นดีกว่ากันอย่างไร ? (๒๕๔๙) ตอบ คือ คุณงามความดีอย่างประเสริฐที่เกิดมีขึ้นในสันดาน มีศรัทธา ศีล เป็นต้น ฯ ดีกว่ากัน เพราะเป็นคุณธรรมเครื่องบำรุงจิตให้อบอุ่น ไม่ต้องกังวลเดือดร้อน ใครจะแย่งชิงไป ไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น ทั้งสามารถติดตามไปได้ถึงชาติหน้า เป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ
  • 32. ๒๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี วัดหงษ์ประดิษฐาราม จังหวัดสงขลา ๓. พาหุสัจจะ หมายความว่าอย่างไร ? พาหุสัจจะ เป็นอริยทรัพย์อย่างหนึ่งนั้น อธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๖) ตอบ หมายความว่า ความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามาก ฯ อธิบายว่า พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้เคยได้ยินได้ฟังมามากนั้น ได้ชื่อว่าอริยทรัพย์ เพราะ เป็นเหตุให้ได้อิฏฐผล มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และไมตรี เป็นต้น ทั้งไม่เป็นภาระแก่เจ้าของ และ ที่ดีพิเศษกว่าทรัพย์สินเงินทองทั่วไป คือยิ่งใช้ยิ่งมี ฯ สัปปุริสธรรม ๗ ๑. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในสัปปุริสธรรม มีอธิบายไว้อย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการ บริโภคแต่พอควร ฯ ๒. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ? (๒๕๕๗) ๑. ธัมมัญญุตา ๒. มัตตัญญุตา ๓. กาลัญญุตา ตอบ ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ ๒. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ และรู้ ประมาณในการบริโภคแต่พอสมควร ๓. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้น ๆ ฯ อัฏฐกะ หมวด ๘ โลกธรรม ๘ ๑. โลกธรรม คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรพิจารณาอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ คือ ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น ฯ ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา ฯ ๒. โลกธรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? ท่านสอนให้ปฏิบัติต่อโลกธรรมอย่างไร ? (๒๕๔๔) ตอบ มี ๘ อย่าง ฯ คือ มีลาภ ๑ ไม่มีลาภ ๑ มียศ ๑ ไม่มียศ ๑ สรรเสริญ ๑ นินทา ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ฯ