SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  12
Télécharger pour lire hors ligne
1


รายงานข้อเท็จจริง
กรณี มาตรการควบคุมยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซูล สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของซูโดอีเฟดรีน 3 สูตร
                  --------------------------------------------------------------------------------------------
                                                                           สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สภาพปัญหา
           นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 พบปัญหาการกว้านซื้อยาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน
จากโรงงานผลิ ตยา ร้านขายยา คลินิกเวชกรรมในวงกว้าง เพื่อนําไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ ดําเนินการมาตรการป้องปราม ปราบปราม เพื่อควบคุมการผลิตและ
จําหน่ายยายาดังกล่าวอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามยังพบการลักลอบนํายาแก้หวัดสูตรผสมที่มี
ส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน ไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี
พ.ศ. 2551 มีปริมาณที่จับกุมทั้งปี 707,450 เม็ดและ 192.2 กก. ปี พ.ศ. 2552 ปริมาณที่จับกุมได้ทั้งปี 1.91
ล้านเม็ด ในปีพ.ศ. 2553 จับกุมได้เพิ่มขึ้นถึง 33.32 ล้านเม็ด ในขณะที่ 6 เดือนแรกของ ปี พศ. 2554 จับกุม
ได้กว่า 7.62 ล้านเม็ดแล้ว สรุปโดยภาพรวม สถิติการจับกุมยาแก้หวัดฯในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึง
ปัจจุบัน มีการจับกุมได้รวม 36 คดี พบของกลางที่เป็นยาแก้หวัด สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน
ทั้งที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยและมาจากต่างประเทศรวมถึง 43.62 ล้านเม็ด และจากการสืบสวน สอบสวน
ขยายผลการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตํารวจและสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)
พบว่า ผู้ต้องหาได้ให้ปากคําว่าได้กว้านซื้อจากร้านขายยาจํานวนหลายแห่ง หลายพื้นที่ เป็นบริเวณกว้าง
สอดคล้องกับวัตถุพยานที่มีหลากหลายรุ่นการผลิตและหลายชื่อการค้า นอกจากนั้นจากข้อมูลการสอบสวน
และพยานหลักฐานเพิ่มเติม พบว่ายังมีผู้แทนขายยา ร้านขายยา และคลินิก บางแห่ง มีพฤติกรรมในการจัดหา
รวบรวม ยาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีนในฐานะ “แหล่งพักยา” ก่อนส่งให้กับกลุ่มผู้ค้า
สารตั้งต้น เพื่อนําไปผลิตยาเสพติด เนื่องจากทํารายได้อย่างมหาศาล สอดคล้องกับข้อมูลจาก (ป.ป.ส.) ที่ระบุ
ว่า ยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน 1 เม็ด สามารถผลิตเป็น ยาบ้าได้ จํานวน 3 เม็ด (มูลค่าเพิ่มจาก 3-5 บาท
เป็น 500-600 บาท)
      ที่สําคัญ ร้านขายยา คลินิกเวชกรรม ยังเป็นแหล่งสะสมยาที่มีความเสี่ยงสูงง่ายต่อการรั่วไหลออกนอก
ระบบมาก
2

การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ
          สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดตั้งคณะทํางานเฉพาะกิจ เพื่อติดตาม กํากับ ดูแล
Pseudoephedrine ขึ้น เพื่อติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์สภาพปัญหา และเสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหา
โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมประชุมและเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะทํางาน เช่น สํานักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( DSI ) กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด ซึ่ง
มีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหาอย่างใกล้ชิดสม่ําเสมอ และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
โดยพิจารณาผลกระทบจากภัยของยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาสําคัญในการทําลายความมั่นคงของชาติ ร่วมกับ
ประเด็นการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ซึ่งการดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

มาตรการระยะที่ 1 (ช่วง พ.ศ.2548-2553)
    ยังคงสถานภาพเป็น ยาอันตราย เหมือนเดิมแต่เพิ่มความเข้มงวดการขาย / วัตถุดิบ ดังนี้
        - แจ้ ง เตื อ นสถานการณ์ ปั ญ หาไปยั ง ผู้ ป ระกอบการผลิ ต นํ า เข้ า และจํ า หน่ า ยยาสู ต รผสมที่ มี
           ซูโดอีเฟดรีน องค์กรวิชาชีพ และพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค (จัดประชุม &
           เขียนบทความลงวารสารองค์กรร้านยา)
        - ขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาไปยังผู้ประกอบการผลิต นําเข้า ขายส่ง ขายปลีก ยาสูตรผสม
           ที่มี Pseudoephedrine
                   • ห้ามขายส่งยาให้กับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้รับอนุญาตขายยาหรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
                         ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล สัตวแพทย์
                   • ห้ามการขายปลีกยาปริมาณมากๆ(เกินกว่า ๖๐ เม็ด) ให้กับผู้ป่วยหนึ่งราย
                   • ห้ามการขายปลีกยาให้กับบุคคลลักษณะดังนี้ ขอซื้อปริมาณมากๆ (เกินกว่า ๖๐
                         เม็ด) / ขอรับยาที่ซื้ อไปด้วยตนเอง / ขอชําระเป็น เงินสด / มาซื้อนอกเวลา
                         ราชการ / ปฏิเสธการยื่นหลักฐานแสดงตน เช่น บัตรประจําตัวต่างๆที่ราชการ
                         ออกให้
                   • จัดทําบัญชีการซื้อและการขาย ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย พร้อมให้พนักงาน
                         เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ
                   • หากพบเห็ นบุค คลที่มีพฤติกรรมผิดสังเกตให้รีบ แจ้งสํานั กงานคณะกรรมการ
                         อาหารและยา
        - เข้าตรวจสอบการขาย การทําบัญชีซื้อ ขาย ใน “ร้านขายยาที่มีความเสี่ยง และดําเนินการตาม
           กฎหมายอย่างเคร่งครัด”โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการขายยา ซึ่งจะสามารถระบุร้านขาย
           ยาที่มีการซื้อจํานวนมาก
           - จํากัดจํานวนวัตถุดิบที่ใช้ในประเทศโดยกําหนดเพดานการขาย Pseudoephedrine Powder
             ให้ผู้ประกอบการ จํานวน 35,000 กิโลกรัมเบสต่อปี รวมทั้ง พิจารณาการเพิ่ม ลด โควตา
             การขายวัตถุดิบให้ผู้ประกอบการแต่ละราย โดยพิจารณาจากประวัติการกระทําผิดหรือการฝ่า
             ฝืนกฎหมาย
           - ตรวจสอบข้อมูลผู้ซื้อในต่างประเทศก่อนพิจารณาขายวัตถุดิบเพื่อผลิตสําหรับส่งออก
3

           - เข้มงวดในการตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ และรายงานการรับ-จ่าย วัตถุดิบ (บจ.9)
             ของสถานที่ผลิต Pseudoephedrine ทั้งสูตรตํารับเดี่ยว และสูตรตํารับผสม ทุกแห่ง
           - ตัดโควตาวัตถุดิบในกรณีที่พบยาแก้หวัดสูตรผสมในของกลางที่จับกุมได้ และหากพบของกลาง
             ที่จับกุมได้ เป็นของผู้ผลิตรายเดิมซ้ําหลายครั้ง จะพิจารณาระงับขายวัตถุดิบ
           - ประสานงานกั บ หน่ ว ยงานด้ า นปราบปรามทั้ ง ในประเทศและต่ า งประเทศ เพื่ อ ติ ด ตาม
             สถานการณ์การลักลอบนําเข้าที่ผิดกฎหมายอย่างใกล้ชิด
           - ดําเนินการตามคําสั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ ๑๓/๒๕๕๓ ที่กําหนด
             แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนํายาแก้หวัดฯ ไปใช้ในการผลิตยาเสพติด โดยให้
             กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มมาตรการในการกํากับ ตรวจสอบ และควบคุม อย่างเข้มงวดในทุก
             ขั้นตอน ตลอดจนพิจารณาปรับแก้บัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับเงื่อนไขการ
             ยกเว้นซูโดอีเฟดรีน โดยการเพิ่มเติมเงื่อนไข “เพื่อการบําบัดรักษา” และในระหว่างดําเนินการ
             หากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามจับกุมผู้กระทําความผิดที่มียาสูตรผสมและมีพฤติการณ์อันควร
             สงสัยว่าจะนํายาไปใช้ในวัตถุประสงค์เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด ไม่ได้มีเจตนาใช้อย่าง
             ยา ให้ดําเนินคดีตาม พรบ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และให้นํามาตรการ
             ทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานสมคบและการยึดอายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับด้วย

มาตรการระยะที่ 2 (มกราคม –มิถุนายน 2554 )
จํากัดปริมาณการกระจายยา
             เนื่ อ งจากยั ง ปรากฏพบการลั ก ลอบนํ า ยาแก้ ห วั ด สู ต รผสมฯออกนอกประเทศเพื่ อ ผลิ ต เป็ น
ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่
อาจจะได้ผลกระทบต่อมาตรการในการแก้ไขปัญหา ในวันที่ 19 มกราคม 2554 และ วันที่ 28 มีนาคม 2544
หลังจากนําข้อคิดเห็นจากที่ประชุมมาพิจารณา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงเลือกใช้มาตรการ
จํากัดปริมาณการจําหน่าย โดย
             1) สํ า นั ก งานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกประกาศ ฉบั บ ที่ 154/2554 ลงวั นที่ 11
พฤษภาคม 2554 เรื่องการควบคุมการจําหน่ายยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีฟรีดีนโดยให้ผู้รับอนุญาตผลิต
ยา นําเข้าฯยา จํากัดการจําหน่ายให้กับร้านขายยา คลินิกเวชกรรม สถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้
ค้างคืน ในจํานวนรวมกันของยาทั้ง 3 สูตร ได้ไม่เกิน 5,000 เม็ด (ห้าพันเม็ด) ต่อแห่งต่อเดือน
             2) แก้ไขบัญชีท้ายประกาศวัตถุออกฤทธิ์ เพื่อควบคุมให้ยาแก้หวัดสูตรผสมที่ประสงค์จะนําผ่าน
และส่ ง ออกให้ เ ป็ น ไปตามกฎหมายวั ต ถุ อ อกฤทธิ์ ฯ ซึ่ ง ขณะนี้ อ ยู่ ร ะหว่ า งการพิ จ ารณาของสํ า นั ก งาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา
4

มาตรการระยะที่ 3
ลดช่องทางการจําหน่าย
        ปลายเดือนมิถุนายน –กรกฎาคม 2554 มีการจับกุมการลักลอบนํายาแก้หวัดสูตรผสมฯ ออกนอก
ระบบไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอีก โดยยังคงมีรูปแบบการกว้านซื้อจากร้านขายยา
หลายแห่ง โดยมีผู้ประกอบการบางรายไม่ให้ความร่วมมือตามมาตรการระยะที่ 2
        อย. จึ ง ได้ จั ด ประชุ ม เฉพาะกิ จ เร่ ง ด่ ว น เมื่ อ วั น ที่ 11 กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยหารื อ ร่ ว มหน่ ว ย
ปราบปราม ได้แก่ สํานักงาน ป.ป.ส. กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด
โดยที่ประชุมมีมติให้จํากัดช่องทางการจําหน่ายยา ดังกล่าว
        สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เสนอคณะกรรมการยาในวันที่ 21 กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่
ประชุมได้ให้ความเห็นชอบ 2 มาตรการสําคัญในการแก้ปัญหา คือ
        1) ปรับสถานะยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซูล ที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน 3 สูตร ได้แก่
                  o สูตร Pseudoephedrineและ Triprolidine
                  o สูตร Pseudoephedrine และBrompheniramine
                  o สูตร Pseudoephedrine และ Chlorpheniramine
            จากยาอันตรายให้เป็น“ยาควบคุมพิเศษ” โดยมีเงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของ
รัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
            โดยมาตรการปรั บ สถานะยาแก้ ห วั ด ที่ เ จาะจงเฉพาะ 3 สู ต รดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นั้ น ทํ า ให้ ยั ง มี
ทางเลือกสําหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการสั่งจ่ายยา Pseudoephedrine สูตรตํารับเดี่ยว ที่เป็นวัตถุออก
ฤทธิ์ในประเภท 2 และยาสูตรผสม Pseudoephedrine สูตรตํารับอื่น เช่น ที่มีตัวยา Paracetamol เป็น
ส่วนผสม ซึ่งยาสูตรผสม Pseudoephedrine สูตรตํารับอื่นนอกเหนือจาก 3 สูตรดังกล่าวข้างต้นนั้น จัดเป็น
ยาอันตรายที่สามารถขายได้ใ นร้านขายยา และคลิ นิกเวชกรรม ทําให้ผลกระทบด้านการเข้ าถึ งยาของ
ประชาชนมีไม่มากนัก

         2) ปรับสถานะของยาที่มียาเฟนิลเอฟริน ( Phenylephrine ) เป็นส่วนประกอบ (ยาทดแทน) ให้
            เป็นยาที่ได้รับการยกเว้น “ไม่เป็นยาอันตราย” ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน
            (ขย.1) และร้านขายยาบรรจุเสร็จฯ (ขย.2) ทําให้ผู้บริโภคเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น
             เนื่ อ งจากยาดั ง กล่ า วมี ค วามปลอดภั ย และยากต่ อ การนํ า ไปเปลี่ ย นเป็ น ยาเสพติ ด การให้
ประชาชนเข้าถึงยาทดแทนดังกล่าวมากขึ้น ก็จะสามารถบรรเทาผลกระทบจากนโยบายจํากัดการจําหน่ายยา
แก้หวัดซูอีเฟดรีน ดังนั้น จึงมีมาตรการปรับสถานะยาสูตรผสมชนิดเม็ดและแคปซูลบรรเทาอาการคัดจมูก
น้ํามูกไหล เนื่องจากหวัดเฉพาะที่มี Phenylephrine และ Chlorpheniramine หรือ Brompheniramine
เป็นส่วนประกอบและยาสูตรผสมชนิดเม็ดและแคปซูลบรรเทาอาการไข้คัดจมูก น้ํามูกไหล เนื่องจากหวัด
เฉพาะที่มี Phenylephrine, Paracetamol และ Chlorpheniramine หรือ Brompheniramine เป็น
ส่วนประกอบ จาก ยาอันตราย เป็นยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ซึ่งจะทําให้สามารถ
จําหน่ายได้ในร้านขายยาบรรจุเสร็จฯ (ขย 2) เพิ่มขึ้น และ สามารถโฆษณาสรรพคุณได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต
และตรวจสอบข้อความโฆษณา ให้เป็นไปตามกฎหมายที่กําหนด จาก อย.
5

            จากการทบทวนข้อมูลวิชาการ พบว่า Phenylephrine (PE) ออกฤทธิ์ผ่าน α 1-adrenoceptor
โดย Phenylephrine ไม่มีผลต่อการทํางานต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต ๒.๐-๓.๐ ชั่วโมง
(Eccles, ๒๐๐๖) โดยพบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๐-๒๕ มิลลิกรัม สามารถลดอาการ Nasal airway
resistance ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Cohen, ๑๙๗๒) นอกจากนี้ Kollar และคณะ (๒๐๐๗) ได้
ทําการศึกษาแบบ Meta-analysis ถึงประสิทธิผลของ Phenylephrine ขนาด ๑๐ มิลลิกรัมโดยเทียบกับยา
หลอกพบว่ายามีประสิทธิผลในการบรรเทาอาการคัดจมูกที่เกิดขึ้นร่วมกับการเป็นหวัด สอดคล้องกับการศึกษา
ของ Cohen (๑๙๗๕) พบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๐ มิลลิกรัม มีประสิทธิภาพในการลดอาการคัดจมูกได้
นอกจากนี้ในกรณีของความปลอดภัยมีการศึกษาแบบ systematic review and meta-analysis พบว่า
Phenylephrine ขนาด ๑๕ มิลลิกรัม สามารถเพิ่มความดันโลหิต ชนิด systolic ได้เล็กน้อย (๒.๗ mm Hg)
อีกทั้งพบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๐ mg ไม่มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติต่ออัตราเต้นของหัวใจและ
ความดันโลหิตอย่างมีนัยสําคัญ (Hatton et al.,2007; Kollar et al., ๒๐๐๗) ซึ่งไม่มีรายงานของอาการไม่พึง
ประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่ความดันปกติ แต่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีความความดันโลหิต
สูง, hyperthyroidism หรือโรคหัวใจ และ ผู้ป่วย Raynaud’s syndrome หรือ ได้รับยา MAOI ควรปรึกษา
แพทย์ก่อนใช้ยา Phenylephrine เนื่องจากผลของการเป็น vasoconstriction ฉะนั้นยา Phenylephrine มี
ความปลอดภัยในผู้ป่วยความดันปกติและผู้ป่วย controlled hypertension (Eccles, ๒๐๐๖)
       เนื่องจาก phenylephrine เป็น selective α 1-adrenoceptor ซึ่ง α 1-adrenoceptor โดย
ส่วนมากพบที่ หลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vessel) นอกจากนี้ทั้ง phenylephrine และ Reduced
phenylephrine ไม่มีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (Drug Information Handbook, ๒๐๐๕; US
DEA, ๒๐๐๕)
        นอกจากนั้น Phenylephrine ยังได้ข้ึนทะเบียนเป็นยา OTC ในประเทศต่างๆดังนี้ Argentina,
Australia, Canada, China, Japan, Korea, Mexico, New Zealand, Philippines, Singapore, Belgium,
France, Greece, Ireland, Italy, Portugal, UK, Bulgaria, Croatia, Czech Republic, Hungary,
Poland, Slovak Republic, Slovenia, Switzerland (AESGP, ๓๑ January ๒๐๑๑) จึงยืนยันถึงความ
ปลอดภัยของยาดังกล่าวได้ดี
         ในประเด็นที่เกี่ยวความกังวล ว่าจะมีการนํา phenylephrineมาทําเป็นยาเสพติดนั้น จากการ
ทบทวนงานวิชาการ พบว่าการที่จะนํา phenylephrine-containing OTC products มาสังเคราะห์เป็น
methamphetamine                ทํ าได้ ยากเนื่องจากการสังเคราะห์ methamphetamine        จะต้ องสกัด
phenylephrine จาก phenylephrine-containing OTC products จากนั้นจะต้องเปลี่ยน
phenylephrine ที่สกัดได้เปลี่ยนให้เป็น Reduced phenylephrine ก่อนที่จะทําการสังเคราะห์
methamphetamine (ดังรูปด้านล่าง) ซึ่งจะมีการสูญเสีย yield ของ Reduced phenylephrine ในช่วงการ
Extraction และเป็นการยากที่จะ Extraction เนื่องจากการสกัด Reduced phenylephrine จะต้องสกัดที่
ช่วง pH ที่แคบ(ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุม pH ให้ได้เท่ากับ pH ๑๑) (US DEA, ๒๐๐๕)
6




        (Ref: U. S. Department of Justice Drug Enforcement Administration (US DEA)
        Resources, Microgram Journal, Volume ๓, July-December ๒๐๐๕)
          สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา คํานึงถึงปัญหาการเข้าถึงยาของผู้บริโภคเป็นสําคัญ ในขณะที่
ต้องควบคุมกํากับ มิให้มีการนํายาดังกล่าวไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติด บั่นทําลายสังคมด้วย สํานักงานฯ จึง
กําหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาออกเป็นระยะ จากเบาไปหาหนัก และประเมินสถานการณ์ปัญหาอย่าง
ต่อเนื่อง
       อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่คํานึงถึงภัยของชาติ ให้ความร่วมมือกับเครือข่าย
ค้ายาเสพติด ทําให้ยาดังกล่าวรั่วไหลออกนอกระบบฯอย่างต่อเนื่อง ยากที่จะควบคุมสถานการณ์ จึงใคร่ขอ
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมช่วยกัน ขจัดภัยยาเสพติดออกจากสังคมไทย โดยให้ความร่วมมือกับ
มาตรการภาครัฐ ช่วยกันเฝ้าระวัง แจ้งเบาะแส เพื่อประโยชน์ของสังคมไทย และ หากยังไม่สามารถควบคุม
สถานการณ์ได้อก อย. อาจจําเป็นต้องยกระดับยาให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือห้ามจําหน่ายยา
              ี
สูตรผสม Pseudoephedrine ในประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเม็กซิโก และประเทศกัวเตมาลา ต่อไป
7


                                             Q&A
ข้อสงสัยจากผู้ได้รบผลกระทบจากมาตรการปรับสถานะยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน 3 สูตรนี้
                  ั
Q : การที่ อย.เสนอให้ยาสูตรผสมเฟนิลเอฟรีน เป็นยาอันตรายที่ได้รับการยกเว้นให้เป็นยาแผนปัจจุบันบรรจุ
เสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตราย ขายใน ขย.๒ และสามารถโฆษณาได้นั้นเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทหรือไม่
A : การดําเนินมาตรการดังกล่าว ไม่ได้เอื้อประโยชน์บริษัทใดบริษัทหนึ่ง เนื่องจาก มียาสูตรผสม
Phenylephrine เป็นทะเบียนยาสูตรผสมจํานวนทั้งสิ้น ๒๔๓ ตํารับ โดยมีทะเบียนผลิต              จํานวน 239
ตํารับ (จากผู้ผลิต 69 ราย) / ทะเบียนนําเข้าจํานวน 4 ตํารับ (จากผู้นําเข้า 3 ราย) : ข้อมูลการขึ้นทะเบียน
ยาสูตรแก้หวัดไอที่มี Phenylephrine เป็นส่วนประกอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554
Q : ปริมาณยาแก้หวัดที่ร่ัวไหลจากระบบสาธารณสุขในประเทศ ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อย เทียบกับปริมาณยา
แก้หวัดที่ลักลอบนําเข้า ดังนั้น การจํากัดช่องทางการจําหน่ายไม่ให้อยู่ในร้านยา หรือคลินิก เป็นการแก้ปัญหา
ที่ถูกต้องหรือไม่ ? เหตุใดจึงไม่เพ่งการแก้ปัญหาไปที่การลักลอบนําเข้า ยืดระยะเวลามาตรการควบคุม 5,000
เม็ด เพื่อลดผลกระทบกับคนไข้ที่จําเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้
A : การลักลอบนํายาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน ไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต
ยาเสพติด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2551 มีปริมาณที่จับกุม เฉพาะยาที่ผลิตในประเทศไทย
ทั้งปี 707,450 เม็ดและ 192.2 กก. ปี พ.ศ. 2552 ปริมาณที่จับกุมได้ทั้งปี 1,908,700 เม็ด ในปีพ.ศ. 2553
จับกุมได้เพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านเม็ด ในขณะที่ 6 เดือนแรกของ ปี พ.ศ. 2554 จับกุมได้กว่า 1 ล้านเม็ดแล้ว สรุป
โดยภาพรวม สถิติการจับกุมยาแก้หวัดฯในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีการจับกุมได้รวม 36 คดี
พบของกลางที่เป็นยาแก้หวัด สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีนถึง 43.78 ล้านเม็ด ในจํานวนนี้เป็น
ยาที่ผลิตในประเทศไทยจํานวน 7.8 ล้านเม็ด
        ข้อมูลจาก สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบุว่า ยาแก้หวัดสูตรผสมซูโด
อีเฟดรีน 1 เม็ด สามารถผลิตเป็น ยาบ้าได้ จํานวน 3 เม็ด ในราคาเม็ดละ 200 บาท ดังนั้น จํานวนยาแก้หวัด
สูตรผสมซูโดอีเฟดรีน มากกว่า 7.8 ล้านเม็ดกําลังจะรั่วไหลออกนอกระบบ สามารถผลิตเป็นยาบ้าจํานวน
มหาศาลกว่า 23.4 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 4,680 ล้านบาท !!! เช่นนี้ เป็นสถานการณ์ที่ยอมรับไม่ได้ นอกจากนั้น
ตัวเลขการจับกุม 7.8 ล้านเม็ดนั้น เป็นเพียงจํานวนยาที่จับกุมได้ เท่านั้น ยังมียาอีกจํานวนหนึ่งที่หลุดรอดการ
จับกุมของเจ้าหน้าที่ฯโดยไม่อาจประมาณการได้
         กรณีมาตรการจํากัดจํานวนขายให้ร้านขายยาและคลินิกเวชกรรม (5000 เม็ด/แห่ง/เดือน) นั้น
ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการรั่วออกนอกระบบฯจํานวนมากๆ ในขณะที่ ข้อมูลจากการจับกุมล่าสุด เมื่อ
มิถนายน 2554 ยังคงพบเห็นพฤติกรรมการกว้านซื้อจากร้านขายยาในลักษณะ “กองทัพมด” ซึ่งทาง อย. เคย
   ุ
ขอความร่วมมือกับร้านขายยาแล้ว แต่ไม่เป็นผล
8

Q : คนไข้ยังคงเข้าถึงยาแก้หวัดฯ ชนิดน้ําเชื่อม แทนได้อยู่หรือไม่
A :        มาตรการควบคุมการเปลี่ยนประเภทยาเป็นยาควบคุมพิเศษโดยมีเงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะใน
สถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จะบังคับใช้เฉพาะกับยาแก้หวัด
ชนิดเม็ดและ/หรือแคปซูล สูตรผสม เฉพาะ 3 สูตร ดังต่อไปนี้
                 1. Pseudoephedrine ผสมกับ Triprolidine
                 2. Pseudoephedrine ผสมกับ Brompheniramine
                 3. Pseudoephedrine ผสมกับ Chlorpheniramine
            เนื่องจากเป็นสูตรตํารับที่เป็นของกลางจากการจับกุมและเป็นยาตํารับเป้าหมายของขบวนการค้า
ยาเสพติด เนื่องจากง่ายต่อการสกัดเอายาซูโดอีเฟดรีน ออกจากส่วนผสมอื่น ดังนั้น ยาในสูตรอื่น รวมทั้งใน
รูปแบบ ยาน้ํา ยังสามารถจําหน่ายได้ปกติ ตามหลักวิชาการ

Q : ยา Phenylephrine และยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน อีก ๔ สูตร ก็สามารถนํามาใช้ในการผลิตสารตั้งต้น
ยาบ้าได้เช่นกัน ในเมื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงยังไม่ชัดเจน สมควรหรือไม่ที่ อย.จะใช้สูตรสําเร็จในการตัดยา
ออกจากร้านยา เหตุใดจึงไม่จํากัดยาสูตรที่เหลือด้วย

A : ภาพรวม สถิติการจับกุมยาแก้หวัดฯในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีการจับกุมได้รวม 36 คดี
พบของกลางที่เป็นยาแก้หวัด สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน เพียง 3 สูตรตํารับเท่านั้น เนื่องจาก
ง่ายต่อการสกัดเอายาซูโดอีเฟดรีน ออกจากส่วนผสมอื่น ในขณะที่สูตรตํารับอื่นนั้น กระบวนการทางเคมีใน
การสกัดให้ได้ ซูโดอีเฟดรีน เดี่ยวๆนั้น มีข้นตอนที่ยุ่งยากกว่าจะได้สารที่บริสุทธิ์ และ ยาที่อยู่ในรูปแบบยาน้ําก็
                                           ั
ยากต่อการขนถ่ายสินค้า ดังนั้น เพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยยังคํานึงถึงการเข้าถึงยา
ของประชาชน อย.จึงมีมาตรการเฉพาะกับยาที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
            แต่อย่างไรก็ตาม ยาที่มีความเสี่ยงต่ําฯ อย. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะกําหนด
มาตรการให้เหมาะสมกับความเสี่ยงต่อไป
            ส่วนใน การนํา phenylephrineมาทําเป็นยาเสพติดนั้น จากการทบทวนงานวิชาการ พบว่าการ
ที่จะนํา phenylephrine-containing OTC products มาสังเคราะห์เป็น methamphetamine ทําได้ยาก
เนื่องจากการสังเคราะห์ methamphetamine จะต้องสกัด phenylephrine จาก phenylephrine-
containing OTC products จากนั้นจะต้องเปลี่ยน phenylephrine ที่สกัดได้เปลี่ยนให้เป็น Reduced
phenylephrine ก่อนที่จะทําการสังเคราะห์ methamphetamine (ดังรูปด้านล่าง) ซึ่งจะมีการสูญเสีย yield
ของ Reduced phenylephrine ในช่วงการ Extraction และเป็นการยากที่จะ Extraction เนื่องจากการ
สกัด Reduced phenylephrine จะต้องสกัดที่ช่วง pH ที่แคบ(ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุม pH ให้ได้
เท่ากับ pH ๑๑) (US DEA, ๒๐๐๕)
9




       (Ref: U. S. Department of Justice Drug Enforcement Administration (US DEA)
       Resources, Microgram Journal, Volume ๓, July-December ๒๐๐๕)

Q : โรงพยาบาลขายยาให้แพทย์ตามคลินิกได้หรือไม่ มีมาตรการดูแลการสั่งซื้อของแพทย์ตามคลินิกหรือไม่
A : การขายยาให้แพทย์ตามคลินิกได้นั้น ของโรงพยาบาลนั้นไม่สามารถกระทําได้ เนื่องจากเข้าข่ายฝ่าฝืน
มาตรา 34 แห่ง พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่ให้ผู้ดําเนินกิจการสถานพยาบาลมีหน้าที่และความ
รับผิดชอบในการดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขา ชั้น หรือ แผน
ที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาต ดังนั้นการขายยาจึงถือว่าเป็นการดําเนินการที่ผิดไปจาก
ใบอนุญาตประกอบกิจการ/ดําเนินกิจการ สถานพยาบาล
10

         สําหรับกลไกการกํากับดูแลนั้น หากมาตรการควบคุมการเปลี่ยนประเภทยาเป็นยาควบคุมพิเศษโดยมี
เงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนมีผล
บังคับใช้แล้ว อย. ได้ออกแบบกลไกในการกํากับดูแล ดังนี้
         ผู้ผลิต ผู้นําเข้ายาดังกล่าว ต้องรายงานการขายยาเข้าสู่ระบบที่ อย. จัดเตรียมไว้อย่างสม่ําเสมอ โด
ยอย. จะดําเนินการ 1) สอบทานกับจํานวนวัตถุดิบที่ได้รับ เพื่อให้เกิดการรายงานต่ํากว่าความเป็นจริง
2) สอบทานกับผู้ซื้อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะไม่มีการแอบอ้างชื่อผู้ซื้อ
         หลังจากที่ยาถูกส่งมายังสถานพยาบาลของรัฐจะพบว่า ในระบบราชการมีกลไกมีระเบียบและโทษทาง
วินัยราชการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของยาออกนอกระบบ โดยจะยาจะกระจายต่อไปยังผู้ป่วยเฉพาะรายและ
การสนับสนุนหน่วยบริการของรัฐในระดับรอง เช่น สถานีอนามัย เท่านั้น ระเบียบเหล่านี้ และ รูปแบบการ
บริหารราชการที่มีระบบตรวจสอบภายใน ทําให้มั่นใจได้ว่า การรั่วไหลจากหน่วยงานของรัฐจะมีโอกาสน้อย
อย่างไรก็ดี อย.จะได้มีหนังสือไปกําชับหัวหน้าหน่วยงานราชการอีกชั้นหนึ่ง
         ส่วนกรณีของ สถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีระบบการบริหารจัดการทํานอง
เดียวกับโรงพยาบาลรัฐและ อย. จัดการให้มีความเสี่ยงต่ํา โดยจํากัดจํานวนการครอบครองไว้ในระดับ 5000
เม็ด/แห่ง/เดือน

Q : การรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ก่อนออกมาตรการจํากัดการจําหน่ายไปยังร้านยา
คลินิก และรพ.เอกชนไม่เกิน 5,000 เม็ด/แห่ง/เดือน นั้น ได้รับฟังความคิดเห็นจากสสจ. ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้
กฎหมาย รวมทั้ง เภสัชกรในสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชอุตสาหกรรม หรือ สภาเภสัชกรรม หรือไม่ และ
เหตุใดจึงรีบออกมาตรการปรับสถานะยากลุ่มนี้เป็นยาควบคุมพิเศษแบบมีเงื่อนไข ทั้งที่เพิ่งออกมาตรการก่อน
หน้าเพียงแค่ 2 เดือน

A : กระบวนการจัดทํานโยบายและมาตรการดังกล่าว อย. ได้จัดตั้ง คณะทํางานเฉพาะกิจฯขึ้น เพื่อวิเคราะห์
สถานการณ์ปัจจุบัน และเสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหา โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมประชุมและ
เสนอข้อคิดเห็นต่อคณะทํางาน เช่น สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสอบสวนคดี
พิเศษ (DSI) กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด โดยในส่วนข้อมูลทางด้านวิชาการนั้นได้ปรึกษากับ
ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนดําเนินการออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของยาแก้หวัดที่เกิดขึ้น
           ส่วนกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ได้เชิญ ผู้แทนจาก สมาคมไทยผู้ผลิตยา
แผนปัจจุบัน (TPMA) ผู้ประกอบการผลิต นําเข้าทุกราย สมาคมร้านขายยา ชมรมร้านขายยา และ สมาคม
เภสัชกรรมชุมชนประเทศไทย สภาเภสัชกรรม และ แพทยสภา สําหรับส่วนของ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
นั้น ได้มีการนําเสนอสถานการณ์ปัญหาและแนวโน้มมาตรการในการประชุมเพื่อให้ทราบสถานการณ์ร่วมกัน
ในโอกาสต่างๆ เช่น ช่วงวันที่ 16-17 มกราคม /วันที่ 3 มีนาคม / 8-9 มีนาคม และ 28 เมษายน 2554) ที่
สําคัญ มาตรการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย คณบดีคณะเภสัชศาสตร์
นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้เกิดความรอบคอบอีกชั้นหนึ่งแล้ว
11

        กรณี มาตรการจํ ากัดจํ านวนขายให้ร้ านขายยาและคลินิกเวชกรรม (5000 เม็ด/แห่ ง/เดื อน) นั้น
ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการรั่วออกนอกระบบฯจํานวนครั้งละมากๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของเครือข่ายผู้ค้ายาใน
ระยะหลัง ซึ่งมีการติดต่อกับร้านขายยาบางแห่งในการให้ความร่วมมือ และใช้ร้านขายยาเป็นแหล่งพักยา
ก่อนนําส่งไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดต่อไป ในขณะที่ ข้อมูลจากการจับกุมล่าสุด เมื่อมิถุนายน 2554 ยัง
คบพบเห็นพฤติกรรมการกว้านซื้อจากร้านขายยาในลักษณะ “กองทัพมด” ซึ่งทาง อย. เคยขอความร่วมมือกับ
ร้านขายยาแล้ว แต่ไม่เป็นผล ดังนั้นการยืดระยะมาตรการจํากัดจํานวนขาย จึงไม่สามารถตอบสนองปัญหา
จากการกว้านซื้อในลักษณะกองทัพมดได้ จึงต้องออกมาตรการใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้ทันสถานการณ์

Q : เหตุใด อย.ไม่แก้ไขปัญหายากลุ่มเสี่ยงนี้ ด้วยการให้ไปอยู่ในร้านยาคุณภาพ เพื่อจูงใจให้ร้านยามี เภสัช
กรอยู่ประจําการ (Full time)
A : ปัจจุบันมีโครงการให้ร้านยาคุณภาพได้สิทธิในการจ่ายยาควบคุมพิเศษที่มีเงื่อนไขการจําหน่ายได้ โดยนํา
ร่องในกลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินผลโครงการฯ หากผลประเมิน
ออกมาดี อาจจะมีการปรับมาตรการดังกล่าวในอนาคต

Q : เหตุใด อย.จึงไม่กําหนดมาตรการบังคับใช้กฎหมายในการจัดระเบียบร้านยา ทั้งที่กฎหมายกําหนดให้มี
เภสัชกรอยู่ประจําการ (Full time) ตั้งแต่ ๑ ตค.๒๕๒๙ แล้ว

A : ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การตรวจสอบบังคับใช้กฎหมายกับร้านขายยาตั้งแต่ กันยายน 2553 ถึง
มิถุนายน 2554 อย. ได้ตรวจเฝ้าระวังการจําหน่ายยาอันตรายในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบติหน้าที่ การทําบัญชี
                                                                                ั
ซื้อ ขายยา ในร้านยา โดยสามารถดําเนินคดีร้านขายยาไปจํานวน 135 ราย จะเห็นว่า อย. มิได้นิ่งนอนใจใน
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว สําหรับในส่วนภูมิภาค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด บางจังหวัดก็ได้เริ่มดําเนิน
มาตรการต่างๆตาม Compliance Policy แล้ว

Q : ตรรกะทางกฎหมาย มาตรการที่ปรับใหม่เป็นเพียงยาควบคุมพิเศษ (จ่ายได้เฉพาะสถานพยาบาลที่รับ
ผู้ป่วยค้างคืนเท่านั้น) แต่กลับมีมาตรการควบคุมการขายที่สูงกว่าวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2
(ซึ่งสามารถจ่ายได้ทั้งสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยค้างคืนและไม่ค้างคืน สมควรหรือไม่

A : หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของช่องทางการจําหน่าย อาจจะรู้สึกว่ายาควบคุมพิเศษที่มีเงื่อนไขให้จําหน่าย
ถูกควบคุมมากกว่า วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 แต่หากพิจารณาตลอดทั้งวงจรในการควบคุมกํากับ อย่างรอบ
ด้าน จะพบว่า มาตรการในการควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 จะมีความเข้มงวดกว่า ยาควบคุมพิเศษที่มี
เงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ดัง
ตาราง
12

วงจรการควบคุมกํากับ                                           ยาควบคุ ม พิ เ ศษที่ มี วั ต ถุ อ อ ก ฤ ท ธิ์
                                                              เงื่อนไขให้จําหน่าย ประเภท 2
การควบคุมปริมาณและ การจัดการ ด้านวัตถุดิบ                     +                         +++
การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิตมิให้เกิดความรั่วไหล             +                         +++
การควบคุมช่องทางการจําหน่าย/ครอบครอง                          +++                       ++
การกระบวนการควบคุมการสั่งใช้                                  +                         +++
การรายงาน และ เก็บหลักฐานการใช้ยา                             +                         +++

บทกําหนดโทษ                                                   +                         +++


                         ----------------------------------

Contenu connexe

Tendances

ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
adriamycin
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
Utai Sukviwatsirikul
 
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
Utai Sukviwatsirikul
 

Tendances (17)

คู่มือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ Guideline edit-traditio...
คู่มือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ Guideline edit-traditio...คู่มือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ Guideline edit-traditio...
คู่มือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ Guideline edit-traditio...
 
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
 
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการขายยา ตาม พรบ.ยา 2510
 
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการ...
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการ...ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการ...
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการ...
 
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicinesWho guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
Who guidelines on good manufacturing practices for herbal medicines
 
แนวทางการจัดการสู่ Gpp sep 2015
แนวทางการจัดการสู่ Gpp sep 2015แนวทางการจัดการสู่ Gpp sep 2015
แนวทางการจัดการสู่ Gpp sep 2015
 
คู่มือแนวทางการพัฒนาแบบแปลนยาแผนโบราณ 2560 Development guideline for traditio...
คู่มือแนวทางการพัฒนาแบบแปลนยาแผนโบราณ 2560 Development guideline for traditio...คู่มือแนวทางการพัฒนาแบบแปลนยาแผนโบราณ 2560 Development guideline for traditio...
คู่มือแนวทางการพัฒนาแบบแปลนยาแผนโบราณ 2560 Development guideline for traditio...
 
Japan
JapanJapan
Japan
 
กฎกระทรวง GPP
กฎกระทรวง GPPกฎกระทรวง GPP
กฎกระทรวง GPP
 
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
 
AEC: ภาวะคุกคามหรือโอกาสของวิชาชีพ เภสัชกรรม
AEC: ภาวะคุกคามหรือโอกาสของวิชาชีพ  เภสัชกรรมAEC: ภาวะคุกคามหรือโอกาสของวิชาชีพ  เภสัชกรรม
AEC: ภาวะคุกคามหรือโอกาสของวิชาชีพ เภสัชกรรม
 
ทิศทางของระบบยาในระบบประกันสุขภาพไทย
ทิศทางของระบบยาในระบบประกันสุขภาพไทยทิศทางของระบบยาในระบบประกันสุขภาพไทย
ทิศทางของระบบยาในระบบประกันสุขภาพไทย
 
รายงานการสำรวจความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาต่อการเป็นร้านยาคุณภาพตาม ประกาศ(...
รายงานการสำรวจความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาต่อการเป็นร้านยาคุณภาพตาม ประกาศ(...รายงานการสำรวจความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาต่อการเป็นร้านยาคุณภาพตาม ประกาศ(...
รายงานการสำรวจความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาต่อการเป็นร้านยาคุณภาพตาม ประกาศ(...
 
กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 โดย นส.ภ.พร...
กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 โดย นส.ภ.พร...กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 โดย นส.ภ.พร...
กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 โดย นส.ภ.พร...
 
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
 
ภาพรวมระบบยาของประเทศไทย 2545
ภาพรวมระบบยาของประเทศไทย 2545ภาพรวมระบบยาของประเทศไทย 2545
ภาพรวมระบบยาของประเทศไทย 2545
 
การทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gppการทำร้านยาสู่ Gpp
การทำร้านยาสู่ Gpp
 

En vedette

Sin eng-26 - change your attitude revision tips
Sin eng-26 - change your attitude revision tipsSin eng-26 - change your attitude revision tips
Sin eng-26 - change your attitude revision tips
sochinaction
 
Neni LEROS jako LEROS (2011)
Neni LEROS jako LEROS (2011)Neni LEROS jako LEROS (2011)
Neni LEROS jako LEROS (2011)
Marcela D
 
Dbs ks4 options book 2011
Dbs ks4 options book 2011Dbs ks4 options book 2011
Dbs ks4 options book 2011
emmasurma
 
единая диспетчерская служба
единая диспетчерская службаединая диспетчерская служба
единая диспетчерская служба
Cadets Chuvashiya
 
Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011
Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011
Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011
HelsinkiMissio-Henna
 
Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”
Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”
Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”
OLEtark
 
молодой пользователь в библиотеке а5-1
молодой пользователь в библиотеке а5-1молодой пользователь в библиотеке а5-1
молодой пользователь в библиотеке а5-1
PDA Ekniga
 
02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版
02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版
02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版
孔子 无敌
 
别告诉我你懂运动时尚 Final
别告诉我你懂运动时尚 Final别告诉我你懂运动时尚 Final
别告诉我你懂运动时尚 Final
孔子 无敌
 

En vedette (20)

靜思語
靜思語靜思語
靜思語
 
Sin eng-26 - change your attitude revision tips
Sin eng-26 - change your attitude revision tipsSin eng-26 - change your attitude revision tips
Sin eng-26 - change your attitude revision tips
 
12092011schoolbased training
12092011schoolbased training12092011schoolbased training
12092011schoolbased training
 
Neni LEROS jako LEROS (2011)
Neni LEROS jako LEROS (2011)Neni LEROS jako LEROS (2011)
Neni LEROS jako LEROS (2011)
 
Pacific Cigar Company Presentation to NFS
Pacific Cigar Company Presentation to NFSPacific Cigar Company Presentation to NFS
Pacific Cigar Company Presentation to NFS
 
1111
11111111
1111
 
Análisis de tendencias pedagógicas
Análisis de tendencias pedagógicasAnálisis de tendencias pedagógicas
Análisis de tendencias pedagógicas
 
Determining an accurate picture of energy usage with variable tariffs
Determining an accurate picture of energy usage with variable tariffsDetermining an accurate picture of energy usage with variable tariffs
Determining an accurate picture of energy usage with variable tariffs
 
Dbs ks4 options book 2011
Dbs ks4 options book 2011Dbs ks4 options book 2011
Dbs ks4 options book 2011
 
единая диспетчерская служба
единая диспетчерская службаединая диспетчерская служба
единая диспетчерская служба
 
BLOC 1: DINS I FORA
BLOC 1: DINS I FORABLOC 1: DINS I FORA
BLOC 1: DINS I FORA
 
Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011
Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011
Mikä motivoi vapaaehtoistyöhön-HelsinkiMission kysely vapaaehtoisilleen 5/2011
 
Google sketchup
Google sketchupGoogle sketchup
Google sketchup
 
Ppt h&m
Ppt h&mPpt h&m
Ppt h&m
 
Considerazioni sui mercati 31.08.11
Considerazioni sui mercati 31.08.11Considerazioni sui mercati 31.08.11
Considerazioni sui mercati 31.08.11
 
Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”
Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”
Questionnaire intercultural dimension in Europe “Italian contribution”
 
молодой пользователь в библиотеке а5-1
молодой пользователь в библиотеке а5-1молодой пользователь в библиотеке а5-1
молодой пользователь в библиотеке а5-1
 
Organisasjonskart mai2011a
Organisasjonskart mai2011aOrganisasjonskart mai2011a
Organisasjonskart mai2011a
 
02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版
02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版
02 说服力,工作型ppt该这样做(文字篇)-2011版
 
别告诉我你懂运动时尚 Final
别告诉我你懂运动时尚 Final别告诉我你懂运动时尚 Final
别告诉我你懂运动时尚 Final
 

Similaire à News 2011 Pseudo/tripro tablets

นวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า
นวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้านวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า
นวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า
แผนงาน นสธ.
 
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
Utai Sukviwatsirikul
 

Similaire à News 2011 Pseudo/tripro tablets (20)

12.คู่มือการบริหารยาชัยบาดาล
12.คู่มือการบริหารยาชัยบาดาล12.คู่มือการบริหารยาชัยบาดาล
12.คู่มือการบริหารยาชัยบาดาล
 
Goverment gazette 2555
Goverment gazette 2555Goverment gazette 2555
Goverment gazette 2555
 
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
 
แนวทางการจัดการสู่Gpp sep 2015
แนวทางการจัดการสู่Gpp sep 2015แนวทางการจัดการสู่Gpp sep 2015
แนวทางการจัดการสู่Gpp sep 2015
 
GPP for community pharmacist
GPP for community pharmacistGPP for community pharmacist
GPP for community pharmacist
 
บทที่ 10 serratiopeptidase
บทที่ 10 serratiopeptidaseบทที่ 10 serratiopeptidase
บทที่ 10 serratiopeptidase
 
นวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า
นวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้านวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า
นวลศรี รักอริยะธรรม ระบบเฝ้าระวังอาหารนำเข้า
 
Gpp drugstore2014
Gpp drugstore2014Gpp drugstore2014
Gpp drugstore2014
 
Gpp drugstore2014
Gpp drugstore2014Gpp drugstore2014
Gpp drugstore2014
 
พฤติกรรมการซื้อยา จากร้านขายยาของผู้บริโ ภคในอําเภอพระประแดง สมทุรปราการ
พฤติกรรมการซื้อยา จากร้านขายยาของผู้บริโ ภคในอําเภอพระประแดง สมทุรปราการพฤติกรรมการซื้อยา จากร้านขายยาของผู้บริโ ภคในอําเภอพระประแดง สมทุรปราการ
พฤติกรรมการซื้อยา จากร้านขายยาของผู้บริโ ภคในอําเภอพระประแดง สมทุรปราการ
 
Medication reconciliation slide
Medication reconciliation slideMedication reconciliation slide
Medication reconciliation slide
 
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
ร่าง กฎหมาย Gpp สถานที่ และอุปกรณ์
 
Cpg and care map alcohol
Cpg and care map alcoholCpg and care map alcohol
Cpg and care map alcohol
 
การให้บริการในร้านยาที่เชื่อมต่อกับสถานพยาบาลหลัก
การให้บริการในร้านยาที่เชื่อมต่อกับสถานพยาบาลหลักการให้บริการในร้านยาที่เชื่อมต่อกับสถานพยาบาลหลัก
การให้บริการในร้านยาที่เชื่อมต่อกับสถานพยาบาลหลัก
 
มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 1
มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 1มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 1
มูลค่าการบริโภคยาในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2544 ตอน 1
 
คู่มือการใช้งานระบบคลังยา
คู่มือการใช้งานระบบคลังยาคู่มือการใช้งานระบบคลังยา
คู่มือการใช้งานระบบคลังยา
 
antidote y57
antidote y57antidote y57
antidote y57
 
Pharmcare in TB/HIV patient
Pharmcare in TB/HIV patientPharmcare in TB/HIV patient
Pharmcare in TB/HIV patient
 
ระบบยา
ระบบยาระบบยา
ระบบยา
 
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
ใบความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
 

Plus de Surang Judistprasert

ประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Surang Judistprasert
 
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
Surang Judistprasert
 
ความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrine
ความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrineความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrine
ความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrine
Surang Judistprasert
 
TFDA : Omeprazole quality improvement
TFDA : Omeprazole quality improvementTFDA : Omeprazole quality improvement
TFDA : Omeprazole quality improvement
Surang Judistprasert
 

Plus de Surang Judistprasert (19)

Application of biopharmaceutics classification system in formulation developm...
Application of biopharmaceutics classification system in formulation developm...Application of biopharmaceutics classification system in formulation developm...
Application of biopharmaceutics classification system in formulation developm...
 
7 qcdoe
7 qcdoe7 qcdoe
7 qcdoe
 
Quality by design vs control strategy
Quality by design vs control strategyQuality by design vs control strategy
Quality by design vs control strategy
 
Introduction to innovation management
Introduction to innovation managementIntroduction to innovation management
Introduction to innovation management
 
Culture of-quality
Culture of-qualityCulture of-quality
Culture of-quality
 
Import be 5 55
Import be 5 55Import be 5 55
Import be 5 55
 
ประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ประกาศกระทรวง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่4
 
ความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrine
ความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrineความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrine
ความเห็นคณะกฤษฎีกา กรณ๊ ประกาศ Pseudoephedrine
 
2011 drug system_report
2011 drug system_report2011 drug system_report
2011 drug system_report
 
TFDA : Omeprazole quality improvement
TFDA : Omeprazole quality improvementTFDA : Omeprazole quality improvement
TFDA : Omeprazole quality improvement
 
Program roadmap14 final
Program roadmap14 finalProgram roadmap14 final
Program roadmap14 final
 
Soft gelatin capsule
Soft gelatin capsuleSoft gelatin capsule
Soft gelatin capsule
 
Ketoconazole and hepatotoxic
Ketoconazole and hepatotoxicKetoconazole and hepatotoxic
Ketoconazole and hepatotoxic
 
TQM & Pharma industry
TQM & Pharma industryTQM & Pharma industry
TQM & Pharma industry
 
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
 
IVIVC topical dosage form
IVIVC topical dosage formIVIVC topical dosage form
IVIVC topical dosage form
 
Bioequivalence in adv.
Bioequivalence in adv.Bioequivalence in adv.
Bioequivalence in adv.
 
Basic bioequivalence
Basic bioequivalenceBasic bioequivalence
Basic bioequivalence
 

News 2011 Pseudo/tripro tablets

  • 1. 1 รายงานข้อเท็จจริง กรณี มาตรการควบคุมยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซูล สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของซูโดอีเฟดรีน 3 สูตร -------------------------------------------------------------------------------------------- สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สภาพปัญหา นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 พบปัญหาการกว้านซื้อยาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน จากโรงงานผลิ ตยา ร้านขายยา คลินิกเวชกรรมในวงกว้าง เพื่อนําไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ ดําเนินการมาตรการป้องปราม ปราบปราม เพื่อควบคุมการผลิตและ จําหน่ายยายาดังกล่าวอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามยังพบการลักลอบนํายาแก้หวัดสูตรผสมที่มี ส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน ไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2551 มีปริมาณที่จับกุมทั้งปี 707,450 เม็ดและ 192.2 กก. ปี พ.ศ. 2552 ปริมาณที่จับกุมได้ทั้งปี 1.91 ล้านเม็ด ในปีพ.ศ. 2553 จับกุมได้เพิ่มขึ้นถึง 33.32 ล้านเม็ด ในขณะที่ 6 เดือนแรกของ ปี พศ. 2554 จับกุม ได้กว่า 7.62 ล้านเม็ดแล้ว สรุปโดยภาพรวม สถิติการจับกุมยาแก้หวัดฯในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึง ปัจจุบัน มีการจับกุมได้รวม 36 คดี พบของกลางที่เป็นยาแก้หวัด สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน ทั้งที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยและมาจากต่างประเทศรวมถึง 43.62 ล้านเม็ด และจากการสืบสวน สอบสวน ขยายผลการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตํารวจและสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) พบว่า ผู้ต้องหาได้ให้ปากคําว่าได้กว้านซื้อจากร้านขายยาจํานวนหลายแห่ง หลายพื้นที่ เป็นบริเวณกว้าง สอดคล้องกับวัตถุพยานที่มีหลากหลายรุ่นการผลิตและหลายชื่อการค้า นอกจากนั้นจากข้อมูลการสอบสวน และพยานหลักฐานเพิ่มเติม พบว่ายังมีผู้แทนขายยา ร้านขายยา และคลินิก บางแห่ง มีพฤติกรรมในการจัดหา รวบรวม ยาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีนในฐานะ “แหล่งพักยา” ก่อนส่งให้กับกลุ่มผู้ค้า สารตั้งต้น เพื่อนําไปผลิตยาเสพติด เนื่องจากทํารายได้อย่างมหาศาล สอดคล้องกับข้อมูลจาก (ป.ป.ส.) ที่ระบุ ว่า ยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน 1 เม็ด สามารถผลิตเป็น ยาบ้าได้ จํานวน 3 เม็ด (มูลค่าเพิ่มจาก 3-5 บาท เป็น 500-600 บาท) ที่สําคัญ ร้านขายยา คลินิกเวชกรรม ยังเป็นแหล่งสะสมยาที่มีความเสี่ยงสูงง่ายต่อการรั่วไหลออกนอก ระบบมาก
  • 2. 2 การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดตั้งคณะทํางานเฉพาะกิจ เพื่อติดตาม กํากับ ดูแล Pseudoephedrine ขึ้น เพื่อติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์สภาพปัญหา และเสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหา โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมประชุมและเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะทํางาน เช่น สํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( DSI ) กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด ซึ่ง มีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหาอย่างใกล้ชิดสม่ําเสมอ และมีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยพิจารณาผลกระทบจากภัยของยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาสําคัญในการทําลายความมั่นคงของชาติ ร่วมกับ ประเด็นการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ซึ่งการดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ มาตรการระยะที่ 1 (ช่วง พ.ศ.2548-2553) ยังคงสถานภาพเป็น ยาอันตราย เหมือนเดิมแต่เพิ่มความเข้มงวดการขาย / วัตถุดิบ ดังนี้ - แจ้ ง เตื อ นสถานการณ์ ปั ญ หาไปยั ง ผู้ ป ระกอบการผลิ ต นํ า เข้ า และจํ า หน่ า ยยาสู ต รผสมที่ มี ซูโดอีเฟดรีน องค์กรวิชาชีพ และพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค (จัดประชุม & เขียนบทความลงวารสารองค์กรร้านยา) - ขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาไปยังผู้ประกอบการผลิต นําเข้า ขายส่ง ขายปลีก ยาสูตรผสม ที่มี Pseudoephedrine • ห้ามขายส่งยาให้กับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้รับอนุญาตขายยาหรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล สัตวแพทย์ • ห้ามการขายปลีกยาปริมาณมากๆ(เกินกว่า ๖๐ เม็ด) ให้กับผู้ป่วยหนึ่งราย • ห้ามการขายปลีกยาให้กับบุคคลลักษณะดังนี้ ขอซื้อปริมาณมากๆ (เกินกว่า ๖๐ เม็ด) / ขอรับยาที่ซื้ อไปด้วยตนเอง / ขอชําระเป็น เงินสด / มาซื้อนอกเวลา ราชการ / ปฏิเสธการยื่นหลักฐานแสดงตน เช่น บัตรประจําตัวต่างๆที่ราชการ ออกให้ • จัดทําบัญชีการซื้อและการขาย ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย พร้อมให้พนักงาน เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ • หากพบเห็ นบุค คลที่มีพฤติกรรมผิดสังเกตให้รีบ แจ้งสํานั กงานคณะกรรมการ อาหารและยา - เข้าตรวจสอบการขาย การทําบัญชีซื้อ ขาย ใน “ร้านขายยาที่มีความเสี่ยง และดําเนินการตาม กฎหมายอย่างเคร่งครัด”โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการขายยา ซึ่งจะสามารถระบุร้านขาย ยาที่มีการซื้อจํานวนมาก - จํากัดจํานวนวัตถุดิบที่ใช้ในประเทศโดยกําหนดเพดานการขาย Pseudoephedrine Powder ให้ผู้ประกอบการ จํานวน 35,000 กิโลกรัมเบสต่อปี รวมทั้ง พิจารณาการเพิ่ม ลด โควตา การขายวัตถุดิบให้ผู้ประกอบการแต่ละราย โดยพิจารณาจากประวัติการกระทําผิดหรือการฝ่า ฝืนกฎหมาย - ตรวจสอบข้อมูลผู้ซื้อในต่างประเทศก่อนพิจารณาขายวัตถุดิบเพื่อผลิตสําหรับส่งออก
  • 3. 3 - เข้มงวดในการตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ และรายงานการรับ-จ่าย วัตถุดิบ (บจ.9) ของสถานที่ผลิต Pseudoephedrine ทั้งสูตรตํารับเดี่ยว และสูตรตํารับผสม ทุกแห่ง - ตัดโควตาวัตถุดิบในกรณีที่พบยาแก้หวัดสูตรผสมในของกลางที่จับกุมได้ และหากพบของกลาง ที่จับกุมได้ เป็นของผู้ผลิตรายเดิมซ้ําหลายครั้ง จะพิจารณาระงับขายวัตถุดิบ - ประสานงานกั บ หน่ ว ยงานด้ า นปราบปรามทั้ ง ในประเทศและต่ า งประเทศ เพื่ อ ติ ด ตาม สถานการณ์การลักลอบนําเข้าที่ผิดกฎหมายอย่างใกล้ชิด - ดําเนินการตามคําสั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ ๑๓/๒๕๕๓ ที่กําหนด แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการลักลอบนํายาแก้หวัดฯ ไปใช้ในการผลิตยาเสพติด โดยให้ กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มมาตรการในการกํากับ ตรวจสอบ และควบคุม อย่างเข้มงวดในทุก ขั้นตอน ตลอดจนพิจารณาปรับแก้บัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับเงื่อนไขการ ยกเว้นซูโดอีเฟดรีน โดยการเพิ่มเติมเงื่อนไข “เพื่อการบําบัดรักษา” และในระหว่างดําเนินการ หากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามจับกุมผู้กระทําความผิดที่มียาสูตรผสมและมีพฤติการณ์อันควร สงสัยว่าจะนํายาไปใช้ในวัตถุประสงค์เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด ไม่ได้มีเจตนาใช้อย่าง ยา ให้ดําเนินคดีตาม พรบ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และให้นํามาตรการ ทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานสมคบและการยึดอายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับด้วย มาตรการระยะที่ 2 (มกราคม –มิถุนายน 2554 ) จํากัดปริมาณการกระจายยา เนื่ อ งจากยั ง ปรากฏพบการลั ก ลอบนํ า ยาแก้ ห วั ด สู ต รผสมฯออกนอกประเทศเพื่ อ ผลิ ต เป็ น ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่ อาจจะได้ผลกระทบต่อมาตรการในการแก้ไขปัญหา ในวันที่ 19 มกราคม 2554 และ วันที่ 28 มีนาคม 2544 หลังจากนําข้อคิดเห็นจากที่ประชุมมาพิจารณา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงเลือกใช้มาตรการ จํากัดปริมาณการจําหน่าย โดย 1) สํ า นั ก งานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกประกาศ ฉบั บ ที่ 154/2554 ลงวั นที่ 11 พฤษภาคม 2554 เรื่องการควบคุมการจําหน่ายยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีฟรีดีนโดยให้ผู้รับอนุญาตผลิต ยา นําเข้าฯยา จํากัดการจําหน่ายให้กับร้านขายยา คลินิกเวชกรรม สถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ ค้างคืน ในจํานวนรวมกันของยาทั้ง 3 สูตร ได้ไม่เกิน 5,000 เม็ด (ห้าพันเม็ด) ต่อแห่งต่อเดือน 2) แก้ไขบัญชีท้ายประกาศวัตถุออกฤทธิ์ เพื่อควบคุมให้ยาแก้หวัดสูตรผสมที่ประสงค์จะนําผ่าน และส่ ง ออกให้ เ ป็ น ไปตามกฎหมายวั ต ถุ อ อกฤทธิ์ ฯ ซึ่ ง ขณะนี้ อ ยู่ ร ะหว่ า งการพิ จ ารณาของสํ า นั ก งาน คณะกรรมการกฤษฎีกา
  • 4. 4 มาตรการระยะที่ 3 ลดช่องทางการจําหน่าย ปลายเดือนมิถุนายน –กรกฎาคม 2554 มีการจับกุมการลักลอบนํายาแก้หวัดสูตรผสมฯ ออกนอก ระบบไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอีก โดยยังคงมีรูปแบบการกว้านซื้อจากร้านขายยา หลายแห่ง โดยมีผู้ประกอบการบางรายไม่ให้ความร่วมมือตามมาตรการระยะที่ 2 อย. จึ ง ได้ จั ด ประชุ ม เฉพาะกิ จ เร่ ง ด่ ว น เมื่ อ วั น ที่ 11 กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยหารื อ ร่ ว มหน่ ว ย ปราบปราม ได้แก่ สํานักงาน ป.ป.ส. กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด โดยที่ประชุมมีมติให้จํากัดช่องทางการจําหน่ายยา ดังกล่าว สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เสนอคณะกรรมการยาในวันที่ 21 กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่ ประชุมได้ให้ความเห็นชอบ 2 มาตรการสําคัญในการแก้ปัญหา คือ 1) ปรับสถานะยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซูล ที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน 3 สูตร ได้แก่ o สูตร Pseudoephedrineและ Triprolidine o สูตร Pseudoephedrine และBrompheniramine o สูตร Pseudoephedrine และ Chlorpheniramine จากยาอันตรายให้เป็น“ยาควบคุมพิเศษ” โดยมีเงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของ รัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน โดยมาตรการปรั บ สถานะยาแก้ ห วั ด ที่ เ จาะจงเฉพาะ 3 สู ต รดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นั้ น ทํ า ให้ ยั ง มี ทางเลือกสําหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการสั่งจ่ายยา Pseudoephedrine สูตรตํารับเดี่ยว ที่เป็นวัตถุออก ฤทธิ์ในประเภท 2 และยาสูตรผสม Pseudoephedrine สูตรตํารับอื่น เช่น ที่มีตัวยา Paracetamol เป็น ส่วนผสม ซึ่งยาสูตรผสม Pseudoephedrine สูตรตํารับอื่นนอกเหนือจาก 3 สูตรดังกล่าวข้างต้นนั้น จัดเป็น ยาอันตรายที่สามารถขายได้ใ นร้านขายยา และคลิ นิกเวชกรรม ทําให้ผลกระทบด้านการเข้ าถึ งยาของ ประชาชนมีไม่มากนัก 2) ปรับสถานะของยาที่มียาเฟนิลเอฟริน ( Phenylephrine ) เป็นส่วนประกอบ (ยาทดแทน) ให้ เป็นยาที่ได้รับการยกเว้น “ไม่เป็นยาอันตราย” ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) และร้านขายยาบรรจุเสร็จฯ (ขย.2) ทําให้ผู้บริโภคเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น เนื่ อ งจากยาดั ง กล่ า วมี ค วามปลอดภั ย และยากต่ อ การนํ า ไปเปลี่ ย นเป็ น ยาเสพติ ด การให้ ประชาชนเข้าถึงยาทดแทนดังกล่าวมากขึ้น ก็จะสามารถบรรเทาผลกระทบจากนโยบายจํากัดการจําหน่ายยา แก้หวัดซูอีเฟดรีน ดังนั้น จึงมีมาตรการปรับสถานะยาสูตรผสมชนิดเม็ดและแคปซูลบรรเทาอาการคัดจมูก น้ํามูกไหล เนื่องจากหวัดเฉพาะที่มี Phenylephrine และ Chlorpheniramine หรือ Brompheniramine เป็นส่วนประกอบและยาสูตรผสมชนิดเม็ดและแคปซูลบรรเทาอาการไข้คัดจมูก น้ํามูกไหล เนื่องจากหวัด เฉพาะที่มี Phenylephrine, Paracetamol และ Chlorpheniramine หรือ Brompheniramine เป็น ส่วนประกอบ จาก ยาอันตราย เป็นยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ซึ่งจะทําให้สามารถ จําหน่ายได้ในร้านขายยาบรรจุเสร็จฯ (ขย 2) เพิ่มขึ้น และ สามารถโฆษณาสรรพคุณได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต และตรวจสอบข้อความโฆษณา ให้เป็นไปตามกฎหมายที่กําหนด จาก อย.
  • 5. 5 จากการทบทวนข้อมูลวิชาการ พบว่า Phenylephrine (PE) ออกฤทธิ์ผ่าน α 1-adrenoceptor โดย Phenylephrine ไม่มีผลต่อการทํางานต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต ๒.๐-๓.๐ ชั่วโมง (Eccles, ๒๐๐๖) โดยพบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๐-๒๕ มิลลิกรัม สามารถลดอาการ Nasal airway resistance ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Cohen, ๑๙๗๒) นอกจากนี้ Kollar และคณะ (๒๐๐๗) ได้ ทําการศึกษาแบบ Meta-analysis ถึงประสิทธิผลของ Phenylephrine ขนาด ๑๐ มิลลิกรัมโดยเทียบกับยา หลอกพบว่ายามีประสิทธิผลในการบรรเทาอาการคัดจมูกที่เกิดขึ้นร่วมกับการเป็นหวัด สอดคล้องกับการศึกษา ของ Cohen (๑๙๗๕) พบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๐ มิลลิกรัม มีประสิทธิภาพในการลดอาการคัดจมูกได้ นอกจากนี้ในกรณีของความปลอดภัยมีการศึกษาแบบ systematic review and meta-analysis พบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๕ มิลลิกรัม สามารถเพิ่มความดันโลหิต ชนิด systolic ได้เล็กน้อย (๒.๗ mm Hg) อีกทั้งพบว่า Phenylephrine ขนาด ๑๐ mg ไม่มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติต่ออัตราเต้นของหัวใจและ ความดันโลหิตอย่างมีนัยสําคัญ (Hatton et al.,2007; Kollar et al., ๒๐๐๗) ซึ่งไม่มีรายงานของอาการไม่พึง ประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่ความดันปกติ แต่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีความความดันโลหิต สูง, hyperthyroidism หรือโรคหัวใจ และ ผู้ป่วย Raynaud’s syndrome หรือ ได้รับยา MAOI ควรปรึกษา แพทย์ก่อนใช้ยา Phenylephrine เนื่องจากผลของการเป็น vasoconstriction ฉะนั้นยา Phenylephrine มี ความปลอดภัยในผู้ป่วยความดันปกติและผู้ป่วย controlled hypertension (Eccles, ๒๐๐๖) เนื่องจาก phenylephrine เป็น selective α 1-adrenoceptor ซึ่ง α 1-adrenoceptor โดย ส่วนมากพบที่ หลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vessel) นอกจากนี้ทั้ง phenylephrine และ Reduced phenylephrine ไม่มีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (Drug Information Handbook, ๒๐๐๕; US DEA, ๒๐๐๕) นอกจากนั้น Phenylephrine ยังได้ข้ึนทะเบียนเป็นยา OTC ในประเทศต่างๆดังนี้ Argentina, Australia, Canada, China, Japan, Korea, Mexico, New Zealand, Philippines, Singapore, Belgium, France, Greece, Ireland, Italy, Portugal, UK, Bulgaria, Croatia, Czech Republic, Hungary, Poland, Slovak Republic, Slovenia, Switzerland (AESGP, ๓๑ January ๒๐๑๑) จึงยืนยันถึงความ ปลอดภัยของยาดังกล่าวได้ดี ในประเด็นที่เกี่ยวความกังวล ว่าจะมีการนํา phenylephrineมาทําเป็นยาเสพติดนั้น จากการ ทบทวนงานวิชาการ พบว่าการที่จะนํา phenylephrine-containing OTC products มาสังเคราะห์เป็น methamphetamine ทํ าได้ ยากเนื่องจากการสังเคราะห์ methamphetamine จะต้ องสกัด phenylephrine จาก phenylephrine-containing OTC products จากนั้นจะต้องเปลี่ยน phenylephrine ที่สกัดได้เปลี่ยนให้เป็น Reduced phenylephrine ก่อนที่จะทําการสังเคราะห์ methamphetamine (ดังรูปด้านล่าง) ซึ่งจะมีการสูญเสีย yield ของ Reduced phenylephrine ในช่วงการ Extraction และเป็นการยากที่จะ Extraction เนื่องจากการสกัด Reduced phenylephrine จะต้องสกัดที่ ช่วง pH ที่แคบ(ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุม pH ให้ได้เท่ากับ pH ๑๑) (US DEA, ๒๐๐๕)
  • 6. 6 (Ref: U. S. Department of Justice Drug Enforcement Administration (US DEA) Resources, Microgram Journal, Volume ๓, July-December ๒๐๐๕) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา คํานึงถึงปัญหาการเข้าถึงยาของผู้บริโภคเป็นสําคัญ ในขณะที่ ต้องควบคุมกํากับ มิให้มีการนํายาดังกล่าวไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติด บั่นทําลายสังคมด้วย สํานักงานฯ จึง กําหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาออกเป็นระยะ จากเบาไปหาหนัก และประเมินสถานการณ์ปัญหาอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่คํานึงถึงภัยของชาติ ให้ความร่วมมือกับเครือข่าย ค้ายาเสพติด ทําให้ยาดังกล่าวรั่วไหลออกนอกระบบฯอย่างต่อเนื่อง ยากที่จะควบคุมสถานการณ์ จึงใคร่ขอ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมช่วยกัน ขจัดภัยยาเสพติดออกจากสังคมไทย โดยให้ความร่วมมือกับ มาตรการภาครัฐ ช่วยกันเฝ้าระวัง แจ้งเบาะแส เพื่อประโยชน์ของสังคมไทย และ หากยังไม่สามารถควบคุม สถานการณ์ได้อก อย. อาจจําเป็นต้องยกระดับยาให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือห้ามจําหน่ายยา ี สูตรผสม Pseudoephedrine ในประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเม็กซิโก และประเทศกัวเตมาลา ต่อไป
  • 7. 7 Q&A ข้อสงสัยจากผู้ได้รบผลกระทบจากมาตรการปรับสถานะยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน 3 สูตรนี้ ั Q : การที่ อย.เสนอให้ยาสูตรผสมเฟนิลเอฟรีน เป็นยาอันตรายที่ได้รับการยกเว้นให้เป็นยาแผนปัจจุบันบรรจุ เสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตราย ขายใน ขย.๒ และสามารถโฆษณาได้นั้นเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทหรือไม่ A : การดําเนินมาตรการดังกล่าว ไม่ได้เอื้อประโยชน์บริษัทใดบริษัทหนึ่ง เนื่องจาก มียาสูตรผสม Phenylephrine เป็นทะเบียนยาสูตรผสมจํานวนทั้งสิ้น ๒๔๓ ตํารับ โดยมีทะเบียนผลิต จํานวน 239 ตํารับ (จากผู้ผลิต 69 ราย) / ทะเบียนนําเข้าจํานวน 4 ตํารับ (จากผู้นําเข้า 3 ราย) : ข้อมูลการขึ้นทะเบียน ยาสูตรแก้หวัดไอที่มี Phenylephrine เป็นส่วนประกอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 Q : ปริมาณยาแก้หวัดที่ร่ัวไหลจากระบบสาธารณสุขในประเทศ ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อย เทียบกับปริมาณยา แก้หวัดที่ลักลอบนําเข้า ดังนั้น การจํากัดช่องทางการจําหน่ายไม่ให้อยู่ในร้านยา หรือคลินิก เป็นการแก้ปัญหา ที่ถูกต้องหรือไม่ ? เหตุใดจึงไม่เพ่งการแก้ปัญหาไปที่การลักลอบนําเข้า ยืดระยะเวลามาตรการควบคุม 5,000 เม็ด เพื่อลดผลกระทบกับคนไข้ที่จําเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ A : การลักลอบนํายาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน ไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต ยาเสพติด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2551 มีปริมาณที่จับกุม เฉพาะยาที่ผลิตในประเทศไทย ทั้งปี 707,450 เม็ดและ 192.2 กก. ปี พ.ศ. 2552 ปริมาณที่จับกุมได้ทั้งปี 1,908,700 เม็ด ในปีพ.ศ. 2553 จับกุมได้เพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านเม็ด ในขณะที่ 6 เดือนแรกของ ปี พ.ศ. 2554 จับกุมได้กว่า 1 ล้านเม็ดแล้ว สรุป โดยภาพรวม สถิติการจับกุมยาแก้หวัดฯในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีการจับกุมได้รวม 36 คดี พบของกลางที่เป็นยาแก้หวัด สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีนถึง 43.78 ล้านเม็ด ในจํานวนนี้เป็น ยาที่ผลิตในประเทศไทยจํานวน 7.8 ล้านเม็ด ข้อมูลจาก สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบุว่า ยาแก้หวัดสูตรผสมซูโด อีเฟดรีน 1 เม็ด สามารถผลิตเป็น ยาบ้าได้ จํานวน 3 เม็ด ในราคาเม็ดละ 200 บาท ดังนั้น จํานวนยาแก้หวัด สูตรผสมซูโดอีเฟดรีน มากกว่า 7.8 ล้านเม็ดกําลังจะรั่วไหลออกนอกระบบ สามารถผลิตเป็นยาบ้าจํานวน มหาศาลกว่า 23.4 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 4,680 ล้านบาท !!! เช่นนี้ เป็นสถานการณ์ที่ยอมรับไม่ได้ นอกจากนั้น ตัวเลขการจับกุม 7.8 ล้านเม็ดนั้น เป็นเพียงจํานวนยาที่จับกุมได้ เท่านั้น ยังมียาอีกจํานวนหนึ่งที่หลุดรอดการ จับกุมของเจ้าหน้าที่ฯโดยไม่อาจประมาณการได้ กรณีมาตรการจํากัดจํานวนขายให้ร้านขายยาและคลินิกเวชกรรม (5000 เม็ด/แห่ง/เดือน) นั้น ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการรั่วออกนอกระบบฯจํานวนมากๆ ในขณะที่ ข้อมูลจากการจับกุมล่าสุด เมื่อ มิถนายน 2554 ยังคงพบเห็นพฤติกรรมการกว้านซื้อจากร้านขายยาในลักษณะ “กองทัพมด” ซึ่งทาง อย. เคย ุ ขอความร่วมมือกับร้านขายยาแล้ว แต่ไม่เป็นผล
  • 8. 8 Q : คนไข้ยังคงเข้าถึงยาแก้หวัดฯ ชนิดน้ําเชื่อม แทนได้อยู่หรือไม่ A : มาตรการควบคุมการเปลี่ยนประเภทยาเป็นยาควบคุมพิเศษโดยมีเงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะใน สถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จะบังคับใช้เฉพาะกับยาแก้หวัด ชนิดเม็ดและ/หรือแคปซูล สูตรผสม เฉพาะ 3 สูตร ดังต่อไปนี้ 1. Pseudoephedrine ผสมกับ Triprolidine 2. Pseudoephedrine ผสมกับ Brompheniramine 3. Pseudoephedrine ผสมกับ Chlorpheniramine เนื่องจากเป็นสูตรตํารับที่เป็นของกลางจากการจับกุมและเป็นยาตํารับเป้าหมายของขบวนการค้า ยาเสพติด เนื่องจากง่ายต่อการสกัดเอายาซูโดอีเฟดรีน ออกจากส่วนผสมอื่น ดังนั้น ยาในสูตรอื่น รวมทั้งใน รูปแบบ ยาน้ํา ยังสามารถจําหน่ายได้ปกติ ตามหลักวิชาการ Q : ยา Phenylephrine และยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน อีก ๔ สูตร ก็สามารถนํามาใช้ในการผลิตสารตั้งต้น ยาบ้าได้เช่นกัน ในเมื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงยังไม่ชัดเจน สมควรหรือไม่ที่ อย.จะใช้สูตรสําเร็จในการตัดยา ออกจากร้านยา เหตุใดจึงไม่จํากัดยาสูตรที่เหลือด้วย A : ภาพรวม สถิติการจับกุมยาแก้หวัดฯในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีการจับกุมได้รวม 36 คดี พบของกลางที่เป็นยาแก้หวัด สูตรผสมที่มีส่วนประกอบของ ซูโดอีเฟดรีน เพียง 3 สูตรตํารับเท่านั้น เนื่องจาก ง่ายต่อการสกัดเอายาซูโดอีเฟดรีน ออกจากส่วนผสมอื่น ในขณะที่สูตรตํารับอื่นนั้น กระบวนการทางเคมีใน การสกัดให้ได้ ซูโดอีเฟดรีน เดี่ยวๆนั้น มีข้นตอนที่ยุ่งยากกว่าจะได้สารที่บริสุทธิ์ และ ยาที่อยู่ในรูปแบบยาน้ําก็ ั ยากต่อการขนถ่ายสินค้า ดังนั้น เพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยยังคํานึงถึงการเข้าถึงยา ของประชาชน อย.จึงมีมาตรการเฉพาะกับยาที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ยาที่มีความเสี่ยงต่ําฯ อย. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะกําหนด มาตรการให้เหมาะสมกับความเสี่ยงต่อไป ส่วนใน การนํา phenylephrineมาทําเป็นยาเสพติดนั้น จากการทบทวนงานวิชาการ พบว่าการ ที่จะนํา phenylephrine-containing OTC products มาสังเคราะห์เป็น methamphetamine ทําได้ยาก เนื่องจากการสังเคราะห์ methamphetamine จะต้องสกัด phenylephrine จาก phenylephrine- containing OTC products จากนั้นจะต้องเปลี่ยน phenylephrine ที่สกัดได้เปลี่ยนให้เป็น Reduced phenylephrine ก่อนที่จะทําการสังเคราะห์ methamphetamine (ดังรูปด้านล่าง) ซึ่งจะมีการสูญเสีย yield ของ Reduced phenylephrine ในช่วงการ Extraction และเป็นการยากที่จะ Extraction เนื่องจากการ สกัด Reduced phenylephrine จะต้องสกัดที่ช่วง pH ที่แคบ(ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุม pH ให้ได้ เท่ากับ pH ๑๑) (US DEA, ๒๐๐๕)
  • 9. 9 (Ref: U. S. Department of Justice Drug Enforcement Administration (US DEA) Resources, Microgram Journal, Volume ๓, July-December ๒๐๐๕) Q : โรงพยาบาลขายยาให้แพทย์ตามคลินิกได้หรือไม่ มีมาตรการดูแลการสั่งซื้อของแพทย์ตามคลินิกหรือไม่ A : การขายยาให้แพทย์ตามคลินิกได้นั้น ของโรงพยาบาลนั้นไม่สามารถกระทําได้ เนื่องจากเข้าข่ายฝ่าฝืน มาตรา 34 แห่ง พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่ให้ผู้ดําเนินกิจการสถานพยาบาลมีหน้าที่และความ รับผิดชอบในการดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขา ชั้น หรือ แผน ที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาต ดังนั้นการขายยาจึงถือว่าเป็นการดําเนินการที่ผิดไปจาก ใบอนุญาตประกอบกิจการ/ดําเนินกิจการ สถานพยาบาล
  • 10. 10 สําหรับกลไกการกํากับดูแลนั้น หากมาตรการควบคุมการเปลี่ยนประเภทยาเป็นยาควบคุมพิเศษโดยมี เงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนมีผล บังคับใช้แล้ว อย. ได้ออกแบบกลไกในการกํากับดูแล ดังนี้ ผู้ผลิต ผู้นําเข้ายาดังกล่าว ต้องรายงานการขายยาเข้าสู่ระบบที่ อย. จัดเตรียมไว้อย่างสม่ําเสมอ โด ยอย. จะดําเนินการ 1) สอบทานกับจํานวนวัตถุดิบที่ได้รับ เพื่อให้เกิดการรายงานต่ํากว่าความเป็นจริง 2) สอบทานกับผู้ซื้อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า จะไม่มีการแอบอ้างชื่อผู้ซื้อ หลังจากที่ยาถูกส่งมายังสถานพยาบาลของรัฐจะพบว่า ในระบบราชการมีกลไกมีระเบียบและโทษทาง วินัยราชการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของยาออกนอกระบบ โดยจะยาจะกระจายต่อไปยังผู้ป่วยเฉพาะรายและ การสนับสนุนหน่วยบริการของรัฐในระดับรอง เช่น สถานีอนามัย เท่านั้น ระเบียบเหล่านี้ และ รูปแบบการ บริหารราชการที่มีระบบตรวจสอบภายใน ทําให้มั่นใจได้ว่า การรั่วไหลจากหน่วยงานของรัฐจะมีโอกาสน้อย อย่างไรก็ดี อย.จะได้มีหนังสือไปกําชับหัวหน้าหน่วยงานราชการอีกชั้นหนึ่ง ส่วนกรณีของ สถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีระบบการบริหารจัดการทํานอง เดียวกับโรงพยาบาลรัฐและ อย. จัดการให้มีความเสี่ยงต่ํา โดยจํากัดจํานวนการครอบครองไว้ในระดับ 5000 เม็ด/แห่ง/เดือน Q : การรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ก่อนออกมาตรการจํากัดการจําหน่ายไปยังร้านยา คลินิก และรพ.เอกชนไม่เกิน 5,000 เม็ด/แห่ง/เดือน นั้น ได้รับฟังความคิดเห็นจากสสจ. ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้ กฎหมาย รวมทั้ง เภสัชกรในสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชอุตสาหกรรม หรือ สภาเภสัชกรรม หรือไม่ และ เหตุใดจึงรีบออกมาตรการปรับสถานะยากลุ่มนี้เป็นยาควบคุมพิเศษแบบมีเงื่อนไข ทั้งที่เพิ่งออกมาตรการก่อน หน้าเพียงแค่ 2 เดือน A : กระบวนการจัดทํานโยบายและมาตรการดังกล่าว อย. ได้จัดตั้ง คณะทํางานเฉพาะกิจฯขึ้น เพื่อวิเคราะห์ สถานการณ์ปัจจุบัน และเสนอมาตรการในการแก้ไขปัญหา โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมประชุมและ เสนอข้อคิดเห็นต่อคณะทํางาน เช่น สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสอบสวนคดี พิเศษ (DSI) กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด โดยในส่วนข้อมูลทางด้านวิชาการนั้นได้ปรึกษากับ ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนดําเนินการออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของยาแก้หวัดที่เกิดขึ้น ส่วนกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ได้เชิญ ผู้แทนจาก สมาคมไทยผู้ผลิตยา แผนปัจจุบัน (TPMA) ผู้ประกอบการผลิต นําเข้าทุกราย สมาคมร้านขายยา ชมรมร้านขายยา และ สมาคม เภสัชกรรมชุมชนประเทศไทย สภาเภสัชกรรม และ แพทยสภา สําหรับส่วนของ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด นั้น ได้มีการนําเสนอสถานการณ์ปัญหาและแนวโน้มมาตรการในการประชุมเพื่อให้ทราบสถานการณ์ร่วมกัน ในโอกาสต่างๆ เช่น ช่วงวันที่ 16-17 มกราคม /วันที่ 3 มีนาคม / 8-9 มีนาคม และ 28 เมษายน 2554) ที่ สําคัญ มาตรการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้เกิดความรอบคอบอีกชั้นหนึ่งแล้ว
  • 11. 11 กรณี มาตรการจํ ากัดจํ านวนขายให้ร้ านขายยาและคลินิกเวชกรรม (5000 เม็ด/แห่ ง/เดื อน) นั้น ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการรั่วออกนอกระบบฯจํานวนครั้งละมากๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของเครือข่ายผู้ค้ายาใน ระยะหลัง ซึ่งมีการติดต่อกับร้านขายยาบางแห่งในการให้ความร่วมมือ และใช้ร้านขายยาเป็นแหล่งพักยา ก่อนนําส่งไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดต่อไป ในขณะที่ ข้อมูลจากการจับกุมล่าสุด เมื่อมิถุนายน 2554 ยัง คบพบเห็นพฤติกรรมการกว้านซื้อจากร้านขายยาในลักษณะ “กองทัพมด” ซึ่งทาง อย. เคยขอความร่วมมือกับ ร้านขายยาแล้ว แต่ไม่เป็นผล ดังนั้นการยืดระยะมาตรการจํากัดจํานวนขาย จึงไม่สามารถตอบสนองปัญหา จากการกว้านซื้อในลักษณะกองทัพมดได้ จึงต้องออกมาตรการใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้ทันสถานการณ์ Q : เหตุใด อย.ไม่แก้ไขปัญหายากลุ่มเสี่ยงนี้ ด้วยการให้ไปอยู่ในร้านยาคุณภาพ เพื่อจูงใจให้ร้านยามี เภสัช กรอยู่ประจําการ (Full time) A : ปัจจุบันมีโครงการให้ร้านยาคุณภาพได้สิทธิในการจ่ายยาควบคุมพิเศษที่มีเงื่อนไขการจําหน่ายได้ โดยนํา ร่องในกลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินผลโครงการฯ หากผลประเมิน ออกมาดี อาจจะมีการปรับมาตรการดังกล่าวในอนาคต Q : เหตุใด อย.จึงไม่กําหนดมาตรการบังคับใช้กฎหมายในการจัดระเบียบร้านยา ทั้งที่กฎหมายกําหนดให้มี เภสัชกรอยู่ประจําการ (Full time) ตั้งแต่ ๑ ตค.๒๕๒๙ แล้ว A : ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การตรวจสอบบังคับใช้กฎหมายกับร้านขายยาตั้งแต่ กันยายน 2553 ถึง มิถุนายน 2554 อย. ได้ตรวจเฝ้าระวังการจําหน่ายยาอันตรายในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบติหน้าที่ การทําบัญชี ั ซื้อ ขายยา ในร้านยา โดยสามารถดําเนินคดีร้านขายยาไปจํานวน 135 ราย จะเห็นว่า อย. มิได้นิ่งนอนใจใน การแก้ไขปัญหาดังกล่าว สําหรับในส่วนภูมิภาค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด บางจังหวัดก็ได้เริ่มดําเนิน มาตรการต่างๆตาม Compliance Policy แล้ว Q : ตรรกะทางกฎหมาย มาตรการที่ปรับใหม่เป็นเพียงยาควบคุมพิเศษ (จ่ายได้เฉพาะสถานพยาบาลที่รับ ผู้ป่วยค้างคืนเท่านั้น) แต่กลับมีมาตรการควบคุมการขายที่สูงกว่าวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 (ซึ่งสามารถจ่ายได้ทั้งสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยค้างคืนและไม่ค้างคืน สมควรหรือไม่ A : หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของช่องทางการจําหน่าย อาจจะรู้สึกว่ายาควบคุมพิเศษที่มีเงื่อนไขให้จําหน่าย ถูกควบคุมมากกว่า วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 แต่หากพิจารณาตลอดทั้งวงจรในการควบคุมกํากับ อย่างรอบ ด้าน จะพบว่า มาตรการในการควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 จะมีความเข้มงวดกว่า ยาควบคุมพิเศษที่มี เงื่อนไขให้จําหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ดัง ตาราง
  • 12. 12 วงจรการควบคุมกํากับ ยาควบคุ ม พิ เ ศษที่ มี วั ต ถุ อ อ ก ฤ ท ธิ์ เงื่อนไขให้จําหน่าย ประเภท 2 การควบคุมปริมาณและ การจัดการ ด้านวัตถุดิบ + +++ การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิตมิให้เกิดความรั่วไหล + +++ การควบคุมช่องทางการจําหน่าย/ครอบครอง +++ ++ การกระบวนการควบคุมการสั่งใช้ + +++ การรายงาน และ เก็บหลักฐานการใช้ยา + +++ บทกําหนดโทษ + +++ ----------------------------------