SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  88
[object Object]
... ทำไม ??   สะพานข้ามแม่น้ำแคว จึงเป็นชื่อ ที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก มันมิใช่เพราะความอลังการ หรืองดงามตระการตาใด ๆ    หากแต่   คำตอบแท้จริง มันคือความโหดร้ายทารุณ ที่เกิดขึ้นในอดีต อันขมขื่น  ณ ที่แห่งนั้นต่างหาก    ที่เป็นเสน่ห์อันเร้าใจไม่มีวันจบสิ้น ...
แต่ถ้าหากจะย้อนมองให้ลึกซึ้งลงไปอีก ความเศร้าสลดสยดสยองที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นประวัติศาสตร์ ยากที่จะหาใดเสมอเหมือนได้นั้น แท้จริง มันอยู่บนเส้นทางรถไฟ ที่ทอดผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้
ซึ่งมีระยะทางยาวไม่กี่ร้อยกิโลเมตร ที่ใช้เวลาสร้างอันรวดเร็ว และสำคัญที่สุด ก็คือ ต้องสูญเสียชีวิตคนไปถึงหนึ่งแสนคน เจ็บป่วย และพิการ อีกหลายหมื่นคน เพราะความโหดร้ายทารุณ จนทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า  " ทางรถไฟสายมรณะ "
... ประวัติทางรถไฟสายมรณะ ...
ทางรถไฟสายมรณะหรือ ทางรถไฟสายพม่า ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดย สะพานข้ามแม่น้ำแคว  ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองทันบูซายัด ประเทศพม่าทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานี ตันบูซายัดรวม  415   กิโลเมตร
เป็นทางรถไฟอยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ  303.95   กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า  111.05   กิโลเมตร มีสถานีจำนวน  37   สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2   โดยใช้แรงงานเชลยศึกของสัมพันธมิตรที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า
ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ  77   กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ  -  น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะหรือถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำแควน้อยยาวประมาณ  400   เมตร
ทางรถไฟสายมรณะ   สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2   โดยรัฐบาลญี่ปุ่นขอยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน  4   ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง  1   ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ . ศ .  2485   ถึงเดือนตุลาคม พ . ศ .  2486  เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้ง
บางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา
เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2   โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกันออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ  61,700   คนและกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดีย อีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์
เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่  25   ต . ค .  พ . ศ .  2486   และเปิดใช้ เมื่อวันที่  25   ธันวาคม พ . ศ .  2486   หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยต้องจ่ายเงินจำนวน  50   ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้ จากอังกฤษ เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่  2   และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย
ก่อนที่จะเป็นทางรถไฟสายมรณะวันที่   1 ธันวาคม พ . ศ . 2484  ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับ สหรัฐอเมริกา   อังกฤษ   เนเธอร์แลนด์ และจีน หลังจากนั้นกองทัพอันมหาศาลของพระจักรพรรดิ ก็เคลื่อนพลแบบสายฟ้าแลบบนน่านน้ำแปซิฟิกกำลังทางอากาศจากเรือบรรทุก เครื่องบิน ได้บินขึ้นถล่มฐานทัพเรือใหญ่ของสหรัฐฯ    ที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ เกาะฮาวาย จนแหลกลาญ
ขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่น ก็บุกขึ้นเกาะต่างๆอีกหลายแห่งทั้งชวาฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มลายู   และอินโดจีน   ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย    สำหรับไทย ญี่ปุ่น ได้ยื่นบันทึกต่อรัฐบาล เพื่อขอเดินทัพผ่าน เพื่อไปโจมตีนอังกฤษ ที่ตั้งฐานทัพ อยู่ที่มลายูและพม่า จึงขออย่าให้ไทยขัดวาง    โดยญี่ปุ่น ให้การรับรองว่า จะไม่ทำลายอธิปไตยของไทย
แต่ในระหว่างเจรจาหาข้อตกลงกองเรือรบญี่ปุ่น ได้เคลื่อนเข้าอ่าวไทยแล้วในคืนวันที่   7   ธันวาคมพ . ศ . 2484   และส่งหน่วยรบขึ้นบก ตลอดแนวฝั่งทะเล ด้านตะวันออกของไทย  
การบุกรุกดินแดนแบบจู่โจม ทำให้เกิดการต่อสู้กัน อย่างนองเลือด ระหว่างหน่วยทหารตำรวจและยุวชนทหารกับกองทัพทหารญี่ปุ่น ทุกจุดที่บุกขึ้นมา    มีการปะทะกันอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ ปัตตานีสงขลา นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์  ทำให้บาดเจ็บล้มตายกันมากมายทั้งสองฝ่าย
จนถึงเวลา  6.50   น .  ของวันที่   8 ธันวาคม   พ . ศ .  2484  ญี่ปุ่น ก็ได้ยื่นบันทึก ถึงรัฐบาลไทยอีก ซึ่งเป็นคำแถลงในสภาพิเศษของนายพลโตโจ   แม่ทัพญี่ปุ่น มีอยู่ทั้งหมด   3   ข้อ    ในข้อที่    3   นั้นเกี่ยวโยงกับไทยโดยตรง คือ
" รัฐบาลญี่ปุ่น ได้พยายามที่จะกระทำทุกทางแล้ว ด้วยสันติวิธี ในการเจรจา ที่กรุงวอชิงตัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องทำสงครามกัน และนอกจากนั้น ถ้าจะมองดูสงครามทางด้านยุโรปแล้ว จะเห็นได้ว่า สงครามได้ใกล้เข้ามา จะถึงอิรัก และอิหร่านอยู่แล้ว
น่ากลัวว่าอาจลุกลามมาถึงประเทศไทยได้ เพราะฉะนั้น พวกเราชาวเอเชีย จะต้องร่วมมือกัน เพื่อทำให้เอเชีย เป็นของคนเอเชีย บัดนี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้เตรียมสู้รบกับข้าศึกของเราแล้ว    ไม่ใช่จะมาต่อสู้กับคนไทยเลย ถึงแม้จะมีการต่อสู้กัน และกองทัพญี่ปุ่น ได้ผ่านประเทศไทยไปแล้ว
ญี่ปุ่น ก็จะไม่ถือว่า ไทยเป็นข้าศึก แต่ถ้าหาว่า ไทยจะร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับญี่ปุ่นแล้ว   คำว่า เอเชียเป็นของคนเอเชีย ก็จะเป็นอันสำเร็จผลแน่ และประเทศไทย อันเป็นประเทศเอกราชอยู่แล้วนั้น ก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นของจากไทยคือ ขอให้กองทัพของญี่ปุ่น ผ่านผืนแผ่นดินไทยไป เท่านั้น  
ทั้งนี้ ก็ด้วยความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้น จึงใคร่ของความสะดวก โดยขออย่าให้กองทัพทั้งสองต้องมารบกันเองเลย เพราะญี่ปุ่น ไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรู    จึงหวังว่า ไทยจะมีความสามัคคีร่วมมือกับญี่ปุ่น ในความจำเป็นครั้งนี้ กับขอให้จัดกำลังตำรวจ ระวังรักษาชาวญี่ปุ่น ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยทั่วไปด้วย "
รัฐบาลไทย ได้เปิดประชุมด่วนอย่างเคร่งเครียด พิจารณาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนอกประเทศ และภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสู้รบตามแนวฝั่งทะเล ไทยมีแต่เสียเปรียบ
ในที่สุด จอมพล ป .  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงตัดสินใจสั่งให้หยุดยิง และระงับการต่อสู้ทุกด้าน ยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านได้ เมื่อเวลา  7.30   น .  ของวันที่   8  ธันวาคมพ . ศ . 2484    ถึงรุ่งขึ้นกลางปี พ . ศ .  2485   ญี่ปุ่นก็ประสบชัยชนะในแปซิฟิก และเอเชียอาคเนย์ โดยสิ้นเชิง
ระยะแรก ๆ    นั้น    ญี่ปุ่น ได้ลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงต่าง ๆ    จากสิงคโปร์ ผ่านช่องแคบมะละกา ไปยังเมาะละแหม่ง และร่างกุ้ง ประเทศพม่า แต่การลำเลียงทางทะเล ถูกโจมตีจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร อยู่ตลอดเวลา ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงเป็นทางบก โดยการสร้างทางรถไฟ ให้เชื่อมต่อกัน จากสิงคโปร์ขึ้นมาทางสงขลา ถึงกรุงเทพฯ และผ่านไปกาญจนบุรี เพื่อเข้าพม่าทาง  เมาะละแหม่ง และร่างกุ้ง
เป็นที่เปิดเผยต่อมาภายหลังว่า ญี่ปุ่นได้วางแผนไว้แล้วอย่างรอบคอบ และแยบยล ก่อนประกาศสงครามกับพันธมิตร เกี่ยวกับภูมิประเทศในแถบนี้ โดยญี่ปุ่นส่งสายลับ ปลอมตัวเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในลักษณะของ ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ    รวมทั้งเป็นพรานเบ็ด ในแม่น้ำแคว เพื่อวัดระดับ ความลึกของน้ำ
และเป็นนักนิยมไพร เพื่อสำรวจเส้นทางวางรางรถไฟ พร้อมกับคำนวณ ตัวเลข จำนวนเงินที่จะใช้จ่ายในการสร้าง ปรากฏว่า สูงมากจึงชะลอไว้ก่อน แต่เมื่อมีความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจสร้าง
ทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งกลายเป็นชื่อที่ควบคู่ไปกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่เลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วโลก    จึงเริ่มต้นขึ้นในปี พ . ศ .  2485   นั่นเอง    ก่อนลงมือสร้าง ญี่ปุ่นได้เสนอแผนการสร้างทางรถไฟ เริ่มจากชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี แล้วต่อไปยังประเทศพม่า ทางด้านเมาะละแหม่ง ดังกล่าว ต่อรัฐบาลไทย
ทางหัวหน้า คณะรัฐบาล คือ จอมพล ป .  พิบูลสงคราม จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผสม ขึ้นมาพิจารณาเรื่องต่าง ๆ    ตามที่ฝ่ายกองทัพญี่ปุ่นเสนอมา ซึ่งคณะกรรมการ ประกอบด้วย
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
คณะกรรมการฝ่ายไทย และฝ่ายกองทัพญี่ปุ่น ได้เปิดประชุมกัน ครั้งแรก ในวันที่   8   สิงหาคม   พ . ศ .  2485   ผลสรุปออกมา กองทัพญี่ปุ่น ของสร้างทางรถไฟเอง ขอให้ไทยอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร    แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า ขอเป็นฝ่ายสร้างเอง โดยให้ญี่ปุ่นส่งวัสดุที่จะใช้ในการสร้างให้ไทย และมีข้อแม้ว่า ภายหลังการวางรางเสร็จแล้ว ขอมิให้กองทัพญี่ปุ่นเรียกคืนไป
จากนั้น ก็มีการประชุมกันอีก   ซึ่งการเจรจา ได้พูดถึงรายละเอียดมากมาย พลตรี เซจิ   โมริยานายทหารหัวหน้าผู้แทนฝ่ายกองทัพญี่ปุ่น ได้กล่าวเน้นว่า ญี่ปุ่น มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการรบต่อไปอีก ดังนั้น การสร้างทางรถไฟไทย  -  พม่า จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยืนยันจะขอสร้างเอง เพื่อให้รวดเร็ว เพราะญี่ปุ่น มีวิศวกรที่ชำนาญกว่า และให้สัจจะว่า ทางสายนี้ กองทัพพระจักรพรรดิ จะสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลา    1   ปี
      แต่ปัญหาที่ติดตามมาก็คือ การสร้างทางรถไฟ จะต้องกระทบกระเทือน ต่อประชาชน ที่ทางรถไฟพาดผ่านไป เพราะญี่ปุ่นทำโดยความรวดเร็ว อาจไม่คำนึง ถึงผลกระทบต่อคนไทยที่รัฐบาลรับผิดชอบ เรื่องนี้ญี่ปุ่นยอมรับ และบอกว่า เมื่อจำเป็น ก็ต้องจ่ายเงินให้เป็นการตอบแทน
การเจรจายังหาข้อยุติไม่ได้ ฝ่ายไทยจึงเสนอให้แบ่งตอนกันสร้าง โดยไทย จะเริ่มสร้างจากชุมทางหนองปลาดุก ไปถึงกาญจนบุรี จากนั้น ต่อไปถึง เจดีย์สามองค์ ให้ญี่ปุ่นสร้าง ญี่ปุ่นแย้งว่า การแบ่งตอนกันสร้างนั้น ถ้าได้ลงมือทำงานกันจริง ๆ   แล้วจะลำบากและขลุกขลักมาก
ไทยจึงไม่จำเป็น ต้องสร้างก็ได้ เป็นแต่ช่วยเหลือในการเวนคืนที่ดิน เครื่องมือและอุปกรณ์ก็พอ เรียกว่าร่วมมือกัน ไทยตอบว่า หาญี่ปุ่นทำเกรงว่า จะพูดกับทางงานฝ่ายช่าง ไม่รู้เรื่อง ดังนั้น ให้ไทยทำช่วยตอนที่ง่าย ๆ   ส่วนตอนยาก ๆ   ก็ให้ญี่ปุ่นทำไป
ญี่ปุ่นอ้างว่า ที่จะไปทำนั้น มีทหารญี่ปุ่นมาก เชลยก็มาก เกรงกว่า จะมีเรื่องกัน ไทยว่า เรื่องนี้ จะคอยดูแลราษฎรไม่ให้ไปเกิดการโต้เถียงกัน แต่เรื่องที่ญี่ปุ่น จะไปเที่ยวขุดดินในที่ของเขาเหล่านั้นไปถมทางรถไฟ ปัญหาใหญ่ต้องเกิดขึ้นแน่ เพราะเป็นทั้งที่นาและบ้าน จึงควรจะให้ไทยทำตั้งแต่หนองปลาดุก ถึงกาญจนบุรี ตามที่เสนอไปแล้ว จากนั้นให้ญี่ปุ่นสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว และทำทางรถไฟ ต่อไป ก็น่าจะหมดปัญหา
ญี่ปุ่นยังไม่แน่ใจถามว่า แล้วไทยจะสร้างเสร็จภายใน  1   ปี หรือ    ไทย ... รับรองเสร็จแน่   ญี่ปุ่น .. 60   กิโลเมตร ที่จะรับไปทำนั้น ขอให้อยู่ภายใต้ บังคับบัญชาของญี่ปุ่นได้หรือไม่   ไทย ...  ขอให้ยอมรับในหลักการก่อนว่าจะยินยอม หรือไม่ ส่วนการบังคับบัญชานันเราจะจัดการต่อให้เรียบร้อย    ญี่ปุ่น .. อยากรู้ว่า จะให้ใครสร้างไทย ...  เอาใครสร้างนั้น ไม่ต้องถาม สร้างให้เสร็จก็แล้วกัน
การเจรจา ญี่ปุ่นตกลงยอมรับข้อเสนอของไทย โดยตกลงว่างานที่ฝ่ายไทยทำ คือ พูนดินแนวทางที่จะวางรางรถไฟจากชุมทางหนองปลาดุกถึงแม่น้ำแควใหญ่ ส่วนการวางรางเหล็กนั้นเป็นของญี่ปุ่น   ภายหลังตกลงกันได้ จึงมีการสำรวจร่วมกัน ระหว่างวิศวกรไทย และญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมีนายชาติชาย   จันทรโปรย นายช่างทางสาย กาญจนบุรี และ ม . ร . ว .  ปราณเนาวศรี เนาวรัตน์ นายช่างผู้ช่วยกองแบบแผน ส่วนฝ่ายญี่ปุ่น มีร้อยตรี คาวาซากิ    เป็นหัวหน้าคณะ
เริ่มออกเดินทางสำรวจ ในวันที่   20 เมษายนพ . ศ .  2485  ด้วยขบวนรถไฟจากหัวลำโพง เวลา  7.40   น .  ไปลงที่ สถานีบ้านโป่ง แล้วใช้รถยนต์ต่อไปจนถึงกาญจนบุรี จากนั้น ก็ทำการสำรวจ ไปจนถึงไทรโยค ต้นแม่น้ำแม่กลอง
การสำรวจครั้งที่    2  โดยคณะสำรวจชุดเดิม ตั้งแต่วันที่    28   เมษายน    พ . ศ .  2485   ครั้งนี้ได้เดินทางไปจนถึงชายแดนไทย  -  พม่า และต่อมาอีกหลายครั้ง ได้มีการนัดหมายพบกัน ระหว่างฝ่ายไทยกับทหารญี่ปุ่น ซึ่งสร้างทางรถไฟ ในเขนพม่า   โดยเดินทางเข้ามาทางเมืองเมาะละแหม่งถึง สังขละซึ่งการเดินทาง ครั้งนี้ ญี่ปุ่นทางพม่ามีนายทหาร  5   นาย ใช้ช้าง  5   เชือก ควาญประจำช้างอีก  8   คน และมีคนนำทางเป็นคนไทย
      เมื่อการสำรวจเป็นที่เรียบร้อย ทางรถไฟสายมรณะ ก็เริ่มขึ้น ในเดือนตุลาคม พ . ศ .  2485   โดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายวางรางเหล็กไปตามแนวบนพูนดิน ที่ไทยสร้างจาก สถานีชุมทางหนองปลาดุก ถึงท่ามะขาม    อำเภอเมือง    กาญจนบุรี ระยะทาง    55   กิโลเมตร  
ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำ สร้างทั้งสะพานไม้และสะพานเหล็กไปพร้อม ๆ    กัน ทั้งรางและสะพานไม้ใช้เวลาสร้าง  4   เดือน สามารถให้รถไฟเดินทางเป็นครั้งแรก ในเดือนกุมภาพันธ์พ . ศ . 2486  จนถึงเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน สะพานที่เป็นเหล็ก จึงสร้างเสร็จ
ทางรถไฟสายมรณะ นับจากสะพานข้ามแม่น้ำแคว ญี่ปุ่นสร้างต่อไปที่เขาปูน  2   กิโลเมตร ต่อไปยังบ้านเก่า ระยะทาง  31   กิโลเมตร ไปท่ากิเลน  8   กิโลเมตร ไปวังสิงห์  12   กิโลเมตร ไปลุ่มสุ่ม  2   กิโลเมตร ไปวังโพ  4   กิโลเมตร ไปช่องแคบ  7   กิโลเมตร ไปท่าเสา  ( ซึ่งเป็นแคมป์เชลยศึก เรียกแคมป์ท่าเสา ต่อมาเรียกสถานีน้ำตก )  9   กิโลเมตร ไปไทยโยคใหญ่  38   กิโลเมตร ไปลิ่นถิ่น  13   กิโลเมตร ไปบ่อน้ำร้อน หินดาด  17   กิโลเมตร
ไปท่าขนุน  ( ทองผาภูมิ )  20   กิโลเมตร ไปเกริงไกร  32   กิโลเมตร ไปกุงกุย  12   กิโลเมตร ไปแก่งกล้วย  32   กิโลเมตร แล้วไปเชื่อมต่อกับ ทางรถไฟจากเมาะละแหม่ง ที่บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ รวมเส้นทางที่ญี่ปุ่น เป็นฝ่ายสร้าง  239   กิโลเมตร    ถ้ารวมทั้งหมดของทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งแต่ หนองปลาดุก ถึงสุดปลายทาง มีความยาว  294   กิโลเมตร
ภาพถ่ายทางอากาศทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายมรณะ
ขบวนรถไฟลำเลียงยุทธปัจจัย กำลังข้ามสะพานไม้ ซึ่งอยู่ใต้สะพานเหล็กลงมา จะเห็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นสะพานเหล็กอยู่ทางด้านขวามือ ของภาพ และเป็นสะพาน ที่เหลือยู่ในทุกวันนี้  เชลยศึกออสเตรเลีย แบกไม้หมอนมาวางเรียงโดยมีทหารญี่ปุ่นยืนคุม
ทางรถไฟนี้ เดิมญี่ปุ่น มีเป้าหมายจะให้เสร็จสมบูรณ์ ในเดือนพฤศจิกายน แต่ปรากฏว่า ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้เสร็จก่อนกำหนด  1   เดือน ในวันที่  25   ตุลาคม    พ . ศ .  2486   จึงเป็นวันฉลองความสำเร็จ ของทหารพระจักรพรรดิ     
การที่ทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า เป็นทางรถไฟสายมรณะ โดยเฉพาะ นับตั้งแต่ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปตามแนวลำแม่น้ำแควน้อย จรดชายแดน ที่  " นีก้า "  ซึ่งอยู่ตอนใต้ของเมืองเมาละแหม่ง
  เนื่องจากว่าบรรดาเชลยศึกประเทศพันธมิตร ที่ญี่ปุ่นกวาดต้อนมาจากฟิลิปปินส์   อินโดนีเซียสิงคโปร์   มลายูและกรรมกรทั้งไทย   จีน   แขก   ซึ่งมีจำนวนรวมประมาณ  170,000   คน ส่วนหนึ่ง ต้องเสียชีวิตลง เพราะความโหดร้ายทารุณ ทั้งจากทหารญี่ปุ่น และจากภัยธรรมชาติถึงแสนคน ยังที่ต้องพิกลพิการอีกนับหมื่น เพียงเพื่อสร้างทางรถไฟสายเดียวที่ยาว ไม่กี่ร้อยกิโลเมตร
นับว่าเป็นโศกนาฏกรรม อันใหญ่หลวงของมนุษย์โลก ที่ใคร ๆ    ก็ไม่สามารถลบ ออกไปจากความทรงจำได้ และที่กล่าวกันว่า  " ทางรถไฟสายนี้ ฝ่ายพันธมิตร ต้องสูญเสียไป  1   ศพ ต่อ  1   ไม้หมอนที่รองรางรถไฟ "  นั้น ไม่เกินไปจากความจริงเลย
ทางรถไฟสายมรณะ ไต่ไปตามหน้าผา ริมแม่น้ำแควใหญ่ อย่างหวาดเสียว   หลายแห่งของทางรถไฟ ต้องข้ามเหวไป ในสภาพที่เห็นในภาพนี้
ดังบันทึกของ  George  Voges  อดีตเชลยศึก เขียนไว้ใน  THAILAN  -  BURMA RAIL ROAD  ตอนหนึ่งว่า ...        เราต้องรับผิดชอบในการสร้างสะพาน สองสะพาน ซึ่งห่างประมาณ  1   ไมล์จากค่าย หลังอาหารเช้า แล้วเราก็เดินแถวเรียงหนึ่ง เพื่อไปทำงาน เอาอาหารกลางวันติดตัวไปด้วย และทำงานจนถึง  6   โมงเย็นทุกวัน
บ่ายวันนั้น เราถือเหล็กแหลม ไม้ เชือก ไปยัง ที่สร้างสะพาน สะพานหนึ่งยาว  40   หลา อีกสะพานหนึ่ง สั้นกว่าเล็กน้อย ข้ามแนว  2   แห่ง ซึ่งลึกเกินไป หากจะคิดถมดิน มันไม่ใช่งานของผู้มีความรู้ ด้านวิศวกรรม เราต้องเป็นกรรมกร  -  กุลี แต่วิธีการสร้าง แบบของญี่ปุ่นนั้นง่าย และอายุการใช้งานเพียงชั่วคราว   
ครั้งแรก ตั้งเสาเอาตะลุมพุก กระแทกเข็มลงในดิน ใช้คนสองชุด สำหรับดึงเชือกหลายเส้น แล้วปล่อยลูกตุ้ม กระแทกให้เข็มใหญ่ลึกลงไปในดิน เมื่อเข็มเหล่านี้ หยั่งลึก และได้ระดับดีแล้ว ก็สร้างสะพานไม้ บนฐานไม้เหล่านั้น เชลยสงครามบางคน นั่งถาก แต่เสาเข็มให้แหลม บางคนาดึงเชือกลากลูกรอก เอาไม้สักขึ้นจากแม่น้ำระยะ  30   ฟุต จากเบื้องล่าง
อะไรก็พอทน แต่แสงแดดในยามบ่าย แผดเผาผิวหนังพวกเรา จนไหม้เกรียม แถมกางเกง ซึ่งไม่มีจะนุ่งด้วย เอาเศษผ้ามาทำเป็นผ้าเตี่ยว ปกปิดบัง เครื่องเพศไว้เพียงนิดเดียว เหงื่อไหลโทรมกาย ไหลเข้าตาแสบ การฉุดดึงไม้ใหญ่ให้เข้าที่ ดังทาสฟาโรห์ สร้างปิระมิดในอียิปต์สมัยโบราณ นั่งร้านสูง มีทหารญี่ปุ่นคนหนึ่ง คอยบอกให้สัญญาณ ปล่อยลูกตุ้ม ลงบนเข็ม แล้วก็เริ่มลากชักไปใหม่
เสียงนับ  1  -  2   ดังตลอดเวลาบ่าย มือพอง เลือดไหล แสดงแดดในยามบ่าย ไม่เคยเวทนาปรานีใคร   พอ  6   โมงเย็น เราก็ลงอาบน้ำพร้อม ๆกับพลทหารงานทำสะพานร้ายทารุณกว่าพูนดินทำถนน รอรับรางรถไฟ เรารู้ทุกคนว่า ทะระโมโต้ เกลียดนายทหารมากกว่าพลทหารและนายสิบสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นงานประจำวันของชุดเชลยสงคราม ระดับนายทหารสัญญาบัตร จนสะพาน  2   แห่งนี้ แล้วเสร็จ และเราออกจากค่ายชนไก่
ด้วยเวลาเพียงวันเดียว เราเอาซุงขนาดใหญ่ขึ้นจาก แม่น้ำ  88   ตัน ด้วยมือและเรี่ยวแรงของมนุษย์ แล้วแบกต่อไปอีก  60   หลา วางซ้อนไว้ ทำไปจนกว่า จะหมดแรงหรือเจ็บป่วย ....
สภาพเชลยศึกในค่ายกักกัน ตู้รถไฟที่ใช้คุมขังเชลยศึก ในสงคราม
ได้กล่าวถึงการสร้างทางที่ท่าขนุน  ( ทองผาภูมิ ในปัจจุบัน )  ว่า ...  เป็นช่วงที่พวกเราจะต้องรับผิดชอบ ทำดิน พูนดิน และทำสะพาน    ภูมิประเทศช่วงนี้ สุดลำเค็ญ ด้านหนึ่งของขอบถนน เป็นเขาชั้นหนึ่งในสาม สูงหลายร้อยฟุต ยอดเขาปกคลุมด้วยไผ่ และป่าสูง และด้านข้าง ๆ    มีสภาพเป็นเหว หวาดเสียว ไม่น่าดูเลย สำหรับความลึก     
ตรงที่เป็นเหวลึกนี้ พวกเชลย จะต้องขุดเจาะ ทำทางรถไฟเลาะไปตลอด และขนดิน หิน ไม่ให้ขวางทาง และจะต้องยืนทำงานตัวตรง ทำมุมกับหน้าผาก  60   องศา และหุบเขาแห่งหนึ่งๆ    ก็หมายถึงสะพานหรือท่อน้ำลอด       ถ้าไม่ถูกบีบบังคับที่เช่นว่านี้ ทำเองก็คงต้องใช้เวลา หลายปี ...
และอีกตอนหนึ่ง บรรยายถึงสภาพความโหดร้ายว่า       วันวานนี้เสียชีวิต  9   คน และก่อน  11   โมงเช้าวันนี้ ตายไปอีก  2   คน บรรดากุลีเหล่านี้  ( หมายถึง พวกทมิฬ คนงานที่กวาดต้อนมาจากมลายู )  ได้เข้ามาอยู่ใน ประเทศไทย ประมาณ  4   เดือน    แพทย์สองคนได้บอกว่า อย่างน้อย ๆ    ตายไปแล้วถึงแสนคน    พวกเขา ตายอย่างไร      
ที่ตำบลท้องช้าง วันแรก ๆ    นายทหารผู้หนึ่ง ถูกโบยตีอย่างหนัก เพราะไม่ยอมสังหารคนป่วยทมิฬ ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นอหิวาตกโรคใกล้ตาย เขาออกไปพบกับ นายทหารอังกฤษคนอื่น ๆ    ทุกวัน เพื่อไปเก็บศพกุลี เหล่านั้น ซึ่งคลานไปตายในป่า นำมาเผาเสีย    
ครั้งหนึ่ง ชาวทมิฬชราผู้หนึ่ง ยันตัวขึ้น ขณะอยู่ในเปล ซึ่งวางระหว่างศพ กำลังจะลงในหลุม ที่ฝังรวมกัน ทหารญี่ปุ่นที่ควบคุม ก็ฟาดศีรษะทมิฬผู้นั้น ด้วยพลั่ว ร่างของเหลื่อเซถลาลงไปกองสุมรวมกันศพ เหล่านั้น ก่อนที่จะถูกดินกลบ
วิธีกำจัดศพพวกทมิฬ โดยทั่วไป ก็คือ โยนศพลงไปในแม่น้ำ ส่วนมากจะถูกทิ้งให้ตายในที่แจ้ง ก่อนจะตาย ก็ปล่อยให้นั่งจมอยู่ในบ่อส้วม  ( เพราะเป็นอหิวาตก์ฯ ถ่ายไม่หยุด )  แมลงวันตอมเต็มตัว       ศพหนึ่งนั่งพิงต้นไม้ ถูกสัตว์ประเภทหนู  -  เม่น มาแทะ เหลือแต่กระดูกขาวโพลน ภายใน  48   ชั่วโมง โครงกระดูกก็ยังอยู่ในลักษณะเดิม คือท่านั่งถ่าย ...
มีคนตายมาก ๆ    เสียจนเวลาที่กลบดิน เกลี่ยดิน ปิดหลุมฝังศพหมู่ มือศพยังโผล่พ้นดินที่ถมขึ้นมา คนเหล่านี้ต้องพบกับการตายอย่างทารุณ และทรมาน ทุกรูปแบบที่โลกนี้จะพึงมี ....       ทั้งหมดเป็นเพียงแค่บางเสี้ยวของเรื่องราว ที่  George  Voges  เขียนเล่าไว้ในบันทึกดังกล่าวของเขา
ทางรถไฟสายมรณะ ที่กลืนชีวิตเชลยศึก และกุลีชาวเอเชียที่ถูกบังคับไปนับแสนคน ได้สร้างเสร็จ และสามารถลำเลียงเสบียง และยุทโธปกรณ์ ได้วันละ  3,000   ตัน มีเวลาอยู่ได้ไม่ถึง  3   ปี ในปี พ . ศ .  2488   เครื่องบินของฝ่ายพันธมิตร ได้มาทิ้งระเบิดสะพานข้าม แม่น้ำเสียหาย แต่เชลยศึก ก็ต้องเสียชีวิตไปด้วยมากมาย เช่นกัน เพราะการทิ้งระเบิด ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่า แคมป์เชลยศึก ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง     
จนกระทั่ง ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในปีเดียวกัน เพราะระเบิดปรมาณู  2   ลูก ที่สหรัฐฯ หย่อนลงในเมือง ฮิโรชิมา และนางาซากิ ครั้นเมื่อสงครามปิดฉากลง ทุกสิ่งทุกอย่าง จึงกลายเป็นอดีตอันเศร้าสลด ให้กล่าวถึง ความโหดร้าย อันเป็นอมตะจนทุกวันนี้
หัวรถจักรที่เคยใช้บนเส้นทางสายมรณะในระหว่างสงคราม
... สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายมรณะ ...   สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก ช่องเขาขาด สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่
สะพานข้ามแม่น้ำแคว  (  The Bridge of the River Kwai )   ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข  323   ประมาณ  4   กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ  400   เมตร มีป้ายบอกทางชัดเจน
ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว  เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่  2  โดยกองทัพญี่ปุ่น ได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ  61,700   คน และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า
ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบากความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสะพานข้ามแม่น้ำแควเดิมได้รับความเสียหาย และรัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง เมื่อปี พ . ศ .  2489   จนสามารถใช้งานได้ดังเดิม ปัจจุบัน มีการยกย่องให้สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
เดิมที  สะพานข้ามแม่น้ำแคว  ไม่เคยมีจริงในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากทางอเมริกาได้ทำเป็นหนัง ดังนั้นทางจังหวัดจึงมีความเห็นให้ตั้งชื่อสะพานที่ท่ามะขามให้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว เพื่อให้เหมือนในหนัง และได้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาตามหาจริงๆ สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น สะพานเดิมนั้นจะเป็นเหล็กโค้ง ส่วนที่เป็น 4 เหลี่ยมเป็นการซ่อมแซม สะพานเหล่านี้เดิมทีมีมากมายหลายแห่งในประเทศไทยและลาวพม่าแต่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ ในไทยมีที่ทำจากเหล็กไม่ถึง  15   สะพาน
สะพานข้ามแม่น้ำแควในอดีต สะพานข้ามแม่น้ำแควในปัจจุบัน
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก  ( Kanchanaburi War Cemetery )   เนื่องจากการเกณฑ์ทหารสัมพันธมิตรมาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ ผ่านกาญจนบุรีไปเมียนมาร์ของกองทัพญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่  2   เป็นเหตุให้เชลยศึกพันธมิตรเสียชีวิตที่กาญจนบุรีเป็นจำนวนมาก สุสานแห่งนี้บรรจุกระดูกของทหารสัมพันธมิตร จำนวน  6,982   หลุม
สุสานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ  17   ไร่ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟกาญจนบุรี ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ  2   กิโลเมตร ในเขตบ้านดอนรัก ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภายในมีการตกแต่งสวยงาม ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมจำนวนมากเพราะเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกาญจนบุรีเพียง  300   เมตร เท่านั้น
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
ช่องเขาขาด กาญจนบุรี หรือ ช่องไฟนรก  (  Hellfire Pass ) ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี  80   กิโลเมตร เป็นช่องเปิดที่เกิดจากการขุดเจาะภูเขา อยู่บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพล เพื่อไปโจมตีพม่าและอินเดีย ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ
ก่อสร้างโดยทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยใช้แรงงานจากเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลีย ช่องเขาขาดมีความยาวกว่า  110   เมตร สูงชัน  17   เมตร เป็นช่องเปิดที่ใหญ่ที่สุดของทางรถไฟสายนี้ การขุดเจาะเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน พ . ศ .  2486   แต่งานล่าช้ากว่ากำหนดจึงต้องเร่งงาน โดยแรงงานแต่ละกะจะต้องทำงาน  18   ชั่วโมง
ในการทำงานเวลากลางคืนจะต้องใช้แสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิง ซึ่งเงาสะท้อนของเชลยศึกและผู้คุมที่กระทบวูบวาบบนผนังช่องเขา ทำให้ช่องเขานี้ได้รับการขนานนามว่า  " ช่องไฟนรก " ( Hellfire Pass )  ทหารญี่ปุ่นเรียกช่องเขานี้ว่า ช่องเขา  " โคเนียว " ( Konyu cutting )
สำนักงานสุสานทหารแห่งกระทรวงการทหารผ่านศึกออสเตรเลีย ร่วมกับกองทัพบกไทย ได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นบริเวณเชิงผาเหนือช่องเขาขาด จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง เปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่  24   เมษายน พ . ศ .  2539   และในวันที่  25   เมษายนของทุกปี จะมีการประกอบพิธีรำลึกเชลยศึกผู้เสียชีวิต ณ บริเวณช่องเขาขาดแห่งนี้
ช่องเขาขาดในอดีต
ช่องเขาขาดในปัจจุบัน
สุสานทหารสัมพันธมิตรเขาปูนหรือสุสานช่องไก่   (  Chong - Kai War Cemetery  )   เคยเป็นที่ตั้งค่ายเชลยศึกขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อยฝั่งตะวันออกในตำบลเกาะสำโรงอำเภอเมืองกาญจนบุรีห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร ขนาดเล็กกว่าสุสานกาญจนบุรี ( ดอนรัก ) มีพื้นที่ประมาณ  7   ไร่ บรรจุศพเชลยศึกรวม  1,750   หลุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารอังกฤษ
ภายในมีการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างร่มรื่น การเดินทางไปสุสานเขาปูน ทางรถยนต์ไปตามถนนลาดยางประมาณ  2   กิโลเมตร และอาจเดินทางโดยเรือที่หน้าเมืองกาญจนบุรี ตามลำน้ำแควน้อยอีกประมาณ  2   กิโลเมตร
สุสานทหารสัมพันธมิตรเขาปูน หรือสุสานช่องไก่
 

Contenu connexe

En vedette

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...DevGAMM Conference
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationErica Santiago
 

En vedette (20)

PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
Ride the Storm: Navigating Through Unstable Periods / Katerina Rudko (Belka G...
 
Barbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy PresentationBarbie - Brand Strategy Presentation
Barbie - Brand Strategy Presentation
 

ทางรถไฟสายมรณะ2