SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  9
การบริห ารงานตามหลัก สัง คหวัต ถุใ นพระพุท ธศาสนา

๑. บทนำา
          งานวิจัยในโลกนี้มีผลเป็นจริงอยู่ในระยะหนึ่งสมัยหนึ่งก็
ต้องเปลี่ยนแปลงเพราะกาลเวลาผ่านไปมีทฤษฎีใหม่มาล้มล้าง
ทฤษฎีเก่าหรือความเชื่อเก่าก็ตกไป เช่น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
ของอริสโตเติลที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในขณะที่โค
เปอร์นิคัสเห็นว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
จักรวาล ต่อมา กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ยุคใหม่
ชาวอีตาลี ได้ค้นพบแล้วสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัส
          กาลิเลโอ ได้ค้นพบทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการตกลงของวัตถุ
ที่มีนำ้าหนัก ไม่เท่ากันแต่จะ ลงถึงพื้นดินพร้อมกัน ซึ่งแตกต่างจาก
ทฤษฎีที่อริสโตเติลเคยอธิบายไว้ว่า “การ ที่สิ่งของตกลงสู่พื้นดิน
นั้น เป็นเรื่องของการเคลื่อนที่ตามธรรมชาติ มิได้มีเรื่องของแรง
มาเกี่ยวข้อง หากเป็นเพราะโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทุกสิ่ง
จึงต้องเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก” หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย
ก็คือ วัตถุที่มีมวลต่างกัน เมื่อปล่อยให้ตกลงมา วัตถุที่หนักจะตก
ถึงพื้นก่อน
          กาลิเลโอได้ทำาการทดลอง ณ หอเอนแห่งเมืองปิซา
(Piza) โดยพิสูจน์ให้เห็นว่า วัตถุต่างชนิดตกลงสู่พื้นโลก ด้วย
ความเร่งที่เท่ากัน แนวความคิดนี้ถูกนำาไปพัฒนาต่อโดย เซอร์ไอ
แซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษในยุคต่อมา กาลิเลโอได้
ทำาการปล่อยวัตถุที่มีมวลต่างกัน ๒ ชิ้น ในเวลาพร้อมกัน ซึ่งวัตถุ
ดังกล่าว ได้ตกลงมาภายใต้แรงโน้มถ่วงโลก และถึงพื้นเกือบจะ


         สำานักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร, อ้างใน
http://www.space.mict.go.th/astronomer.php?name=galileo
(23 สิงหาคม 2555).
         สำานักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม, อ้างใน
http://www.vcharkarn.com/varticle/40783 (23 สิงหาคม
2555).
         สำานักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร, อ้างแล้ว.
         สำานักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม, อ้างแล้ว.
พร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าความคิดของอริสโตเติลนั้นไม่ถูก
ต้อง
          จากข้อความข้างต้นนี้จะเห็นว่าความรู้ทางด้าน
วิทยาศาสตร์ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่หลักธรรมที่
พระพุทธองค์ทรงค้นพบแล้วนำามาสอนสาวกยังคงให้ผลตามที่
พระองค์ตรัสไว้ทุกประการไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทนต่อการพิสูจน์
เช่น หลักสังคหวัตถุนี้ ซึ่งเป็นหลักคำาสอนที่พระพุทธองค์วางไว้
เพื่อเป็นแนวทางแก่การปฏิบัติต่อกันของสาวกให้เกิดความไมตรี
ต่อกันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกันและกัน หลักสังคหวัตถุ
การสงเคราะห์กันและกันเป็นหลักที่จำาเป็นต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน
โดยเฉพาะ ทาน การให้สิ่งของแก่ผู้ร่วมงาน เป็นการให้กำาลังใจ
แก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งการให้กำาลังใจแก่ผู้ร่วมงานมีหลายวิธี การใช้
วาจาไพเราะ สุภาพอ่อนโยนก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ร่วมงานเกิด
ความประทับใจ มีกำาลังใจที่จะทำางานอย่างมีความสุข การช่วย
เหลือซึ่งกันและกัน การวางตนให้เสมอต้นเสมอปลายหรือการเอา
ตนเข้าไปเชื่อมประสานกับเพื่อนร่วมงานคือการเอาใจเขามาใส่ใจ
เรา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในองค์กร
หลักธรรมนี้ยังไม่มีทฤษฎีสมัยใหม่ของใครมาล้มล้างได้จนเวลา
ล่วงมาสองพันปีเศษแล้ว
          ในบทความนี้ผู้เขียนจะได้อธิบายให้เห็นว่าหลักสังคหวัตถุ
สามารถนำามาใช้ในการบริหารงานได้ผลจริง และเพื่อให้ทราบว่า
พระพุทธเจ้าได้วางหลักการนี้ไว้อย่างไร มีอะไรบ้าง ถ้าปฏิบัติ
ตามแล้วจะมีผลจะเป็นอย่างไร จึงทำาให้หลักการนี้ให้ผลสำาเร็จแก่
ผู้ปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบัน
๒. ความหมายของสัง คหวัต ถุ
         สังคหวัตถุ หมายถึง เรื่องที่จะสงเคราะห์กัน, คุณเป็น
เครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือช่วย
เหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือ
สังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ดุจสลักยึดรถที่กำาลังแล่นไปให้คงเป็นรถและ
วิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
ปิยวาจา พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ อัตถจริยา การบำาเพ็ญ
ประโยชน์ สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือ ทำาตัวให้เข้ากันได้
เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน

         สำานักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร, อ้างแล้ว.
๓. วิเ คราะห์ก ารบริห ารตามหลัก สัง คหวัต ถุ ๔
         ๓.๑ การบริห ารตามหลัก ทาน
         หลักของทาน การให้สิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้
สถาบันครอบครัวการให้สิ่งของเป็นสิ่งที่หัวหน้าครอบครัวต้อง
เรียนรู้ คือต้องรู้จักการให้โดยเฉพาะการแบ่งปันทรัพย์สินหรือ
มรดกให้แก่สมาชิกในครอบครัวต้องทำาด้วยความยุติธรรม
ปราศจากอคติ ทานในทางพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ อามิส
ทาน การให้สิ่งของ และธรรมทาน การให้ธรรมะ ทานเป็นหลัก
พื้นฐานการบำาเพ็ญบุญของชาวพุทธ คือหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓
ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา การให้ทานตามหลักพุทธศาสนาเป็นการ
จำากัดกิเลสอย่างหยาบ คือ กำาจัดความตระหนี่ออกจากจิตใจของ
ตน นอกจากนี้ผู้ที่ชอบให้ทานยังเป็นที่รักของผู้รับอีก ดังพระพุทธ
พจน์ว่า ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก” หรือ “ททำ มิตตาฺ
นิ คนฺถติ ผู้ให้ย่อมผูกใจหมู่มิตรไว้ได้” เนื้อความคาถาในคัมภีร์วิ
สุทธิมรรคกล่าวถึงอานิสงส์ของการให้ว่า
           การให้ ปราบคนที่ใคร ๆ ปราบไม่ได้
           (ก็ได้) การให้ ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้
           สำาเร็จ (ก็ได้) ด้วย การให้กับการเจรจา
           ไพเราะ (ประกอบกันทำาให้) คนทั้งหลาย
           เงยก็มี ก้มก็มี
       การให้วัตถุสิ่งของสามารถผูกสัมพันธไมตรีของคนที่เป็น
บริวารไว้ชั่วนิรันดร เช่น เรื่องของนายปุณณะ คนใช้หรือทาส
ของเมณฑกเศรษฐี ปู่ของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ด้วยความ
ผูกพันในเจ้านายทำาให้นายปุณณะอธิษฐานขอให้เกิดมาเป็นทาส
           พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุก รมพุท ธศาสน์
ฉบับ ประมวลศัพ ท์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๖, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท
สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๕๔), หน้า ๔๑๒.
           องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๔๒/๑๒๐. ดูเพิ่มเติมใน พระธรรมปิฎก
(ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุก รมพุท ธศาสตร์ ฉบับ ประมวลธรรม, พิมพ์
ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๔๖), หน้า ๖๒.
           ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๙.
           องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๓๕/๓๕, องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๓๕/๕๖.
           สำ.ส. (บาลี) ๑๕/๒๔๖/๑๕๘, สำ.ส. (ไทย)
๑๕/๒๔๖/๓๕๓.อง.ปญฺจก. (ไทย) ๒๕/๑๘๙/๕๔๔.
           พระพุทธโฆสเถระ, วิส ุท ธิม รรค, ภาค ๒, แปลโดย สภาวิชาการ
มหามกุฏราชวิทยาลัย.         วิสุทฺธิ. (ไทย) ๒/๖๘.
ของเจ้านายทุกภพทุกชาติ นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เพื่อนร่วม
งานของนายชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ ความเป็น
ผู้ให้ของนายชิน ทำาให้นายประสิทธิ์ ซาบซึงนำ้าใจของเพือนจึงไม่
                                                 ้         ่
ยอมไปทำางานทีอน นายประสิทธ์กล่าวว่าบางครั้งนายชินซื้อหุ้น
                     ่ ื่
แล้วแบ่งให้โดยที่นายประสิทธิ์ไม่ได้ลงทุนร่วมเลย แต่นายชินก็
แบ่งให้ เป็นนำ้าใจที่ทำา ให้นายประสิทธิ์ประทับใจอยู่ตลอดและเป็น
เหตุให้เขาอยู่ช่วยนายชินตลอดมา
          การให้มีหลายอย่างหลายวิธีไม่ได้หมายถึงการให้วัตถุ
สิ่งของอย่างเดียว การช่วยงานตามสมควรแก่โอกาส การมีนำ้าใจ
ต่อกันบนท้องถนนของผู้ขับขี่ยานพาหนะ การลุกให้คนแก่หรือ
สตรีนั่งขณะอยู่บนรถโดยสารประจำาทาง การแนะนำาสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ต่อการดำาเนินชีวิต การให้อภัยแก่ผู้ทำาความผิดที่กลับ
ตัวแล้ว หรือการให้อภัยแก่กันและกันไม่ผูกอาฆาตปองร้ายกันกับ
ผู้ที่มีกรณีทะเลาะวิวาทกัน ก็ถือว่าเป็นการให้เหมือนกัน โดย
เฉพาะการให้อภัยนั้น ถือว่าเป็นการให้ที่ประเสริฐ ทำาให้ไม่ต้องมี
เวรต่อกันและกันต่อไปอันเป็นเรื่องที่ทนทุกข์ทรมานไปนานแสน
นาน มีผลเทียบเท่ากับการให้ทานซึ่งถือว่าชนะการให้ทุกอย่าง ดัง
พระพุทธพจน์ว่า “สพฺพาทานำ ธรรมทานำ ชินาติ การให้ทานชนะ
การให้ทั้งปวง”
          การผูกพยาบาทอาฆาตต่อกันก็เป็นการก่อเวรไม่มีที่สิ้นสุด
ดังพระพุทธพจน์ว่า
          “อกฺโกจฺฉิ มำ อวธิ มำ อหาสิ เม
          เย จ ตำ อุปนยฺหนฺติ เวรำ เตสำ น สมฺมติ
          ผู้ที่เข้าไปผูกเวรว่า ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
          ได้เบียดเบียนเรา เวรของพวกเขาย่อมไม่ระงับ”
         จากพระพุทธพจน์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การผูกพยาบาท
อาฆาตต่อกันไม่สามารถทำาให้เวรกรรมสิ้นสุดได้ และไม่สามารถ
ทำาศัตรูให้เป็นมิตรได้ การให้อภัยแก่กันเป็นแนวทางในการตัดเวร
ตัดกรรมกับเจ้ากรรมนายเวรที่ดีสุด มีคุณค่ามากเปรียบเสมือนการ
ให้ธรรมทาน เพราะฉะนั้นผู้บริหารจึงไม่ควรผูกเวรกับใครเพราะ
นอกจากจะทำาให้เสียเพื่อนร่วมงานร่วมธุรกิจแล้วยังเป็นการสร้าง
เจ้ากรรมนายเวรใหม่ให้กับตัวเองด้วย

        ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๖/๒๐๕-๒๑๑.
        http://www.gotomanager.com (22 สิงหาคม 2555).
        ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๓๕๔/๓๕, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๕๔/๑๔๔.
        ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๓/๘, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓/ ๒๔.
๓.๒ การบริห ารตามหลัก ปิย วาจา
        คำาพูดไพเราะ หรือการใช้วาจาสุภาพอ่อนโยนกับเพื่อน
ร่วมงานกับคนในครอบครัว จะทำาให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจและมี
กำาลังในการทำางาน การใช้คำาพูดมีประโยชน์ต่อการบริหารงาน
หรือต่อการดำาเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง สุนทรภู่ นักกวีเอกของโลกได้
ประพันธ์บทกลอนเกี่ยวกับการใช้วาจาไว้หลายสำานวน เช่น ว่า
        อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
        แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
        แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
        เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ
       อีกบทหนึ่งว่า
       ถึงบางพูด พูดดีเป็นศรีศักดิ์
       มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
       แม้นพูดชั่วตัวตายทำาลายมิตร
       จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
         ในชาดกมีเรื่องโคนันทิิวิสาล เป็นตัวอย่าง โคนันทิวิสาล
เป็นสัตว์กตัญญูต่อเจ้าของเป็นวัวมีกำาลังพิเศษสามาราถลาก
เกวียนร้อยเล่มได้ อยู่มาวันหนึ่งโคนันทิวิสาลคิดสงสารเจ้าของที่
ลำาบากทำางานหนักเพราะฐานะยากจน จึงบอกพราหมณ์ผู้เป็น
เจ้าของว่าให้ไปท้าพนันแข่งขันลากเกวียนที่บรรทุกของเต็มทุก
เล่มจำานวนหนึ่งร้อยเล่มกับเศรษฐีว่า วัวของเขาสามารถลาก
เกวียนให้เคลื่อนที่จากเกวียนเล่มสุดท้ายไปถึงที่ที่เกวียนเล่มแรก
จอดอยู่ได้ เจ้าของก็ไปท้าพนันแต่พอถึงวันแข่งขันเจ้าของกลับใช้
วาจาไม่สุภาพกับโคตัวเองทั้งๆ ที่โคไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน คือ
ใช้คำาว่า เจ้าโคโกงจงลากเกวียนไป โคได้ฟังแล้วก็หมดกำาลังใจ
จึงยืนอยู่กับที่ไม่ยอมลากเกวียนไป ทำาให้เจ้าของแพ้การพนัน
พอกลับมาถึงบ้านเจ้าของเสียใจมากนั่งซึมเศร้าอยู่ โคนันทิวิสาล
เห็นเจ้าของนั่งคอตกด้วยความเสียใจ จึงเข้าไปปลอบว่า พ่อไม่
ต้องเสียใจให้ไปท้าพนันใหม่ แต่คราวนี้พ่อต้องใช้คำาพูดดีๆ ไม่ให้
พูดว่า โคโกง เพราะเขาไม่ชอบ เจ้าของฟังแล้วจึงไปท้าพนันใหม่
คราวนี้เจ้าของพูดกับโคด้วยคำาไพเราะ ทำาให้โคมีกำาลังใจ ลาก
เกวียนไปได้รับชัยชนะ

        กลอนสุนทรภู่ รวมกลอนสุนทรภู่ อ้างใน
http://www.zoneza.com (23 สิงหาคม 2555).
        ขุ.ชา.อ. (บาลี) ๑/๑๓๗-๑๓๙. ขุ.ชา.อ. (ไทย) ๑/๕๐-๕๒.
จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้วาจาสุภาพอ่อนโยน
ทำาให้ผู้ฟังเกิดสบายใจมีกำาลังใจพร้อมที่จะทำางานทุกอย่างแม้จะ
ยากลำาบากก็ไม่ยอมย่อท้อ ไม่ว่าแต่การใช้คำาสุภาพอ่อนโยนกับ
มนุษย์เท่านั้นแม้แต่สัตว์เดรัจฉานยังต้องการคำาพูดไพเราะ สุภาพ
อ่อนโยน
         การที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอบปฏิเสธเมื่อพระเจ้า
หลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศสส่งศาสนทูตมาเชิญให้เข้ารีตคือเข้า
นับถือศาสนาคริสต์ด้วยพระองค์ทรงใช้วาจาที่ไพเราะว่า ถ้าเป็น
พระประสงค์ของพระเจ้า พระองค์คงจะดลใจให้เข้านับถือเอง
การที่พระเจ้าไม่ทรงดลใจอย่างนั้นคงเป็นเพราะพระประสงค์ของ
พระเจ้าที่ไม่ต้องการให้เข้ารีตด้วย การตอบปฏิเสธของสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราชในครั้งนั้นไม่ทำาให้ฝรั่งเศสเสียใจอะไร ไม่ได้
ทำาให้ความสัมพันธ์ต่อกันลดน้อยลง ลักษณะอย่างนีถอว่าเป็นการ
                                                   ้ ื
ใช้ปยวาจาในการบริหารทีประสบความสำาเร็จอย่างยิง
      ิ                    ่                        ่
         ปิยวาจา ไม่ได้หมายความว่า วาจาอ่อนหวานเป็นที่รักแก่
ผู้ฟังอย่างเดียว วาจาที่เปล่งออกไปแล้วทำาให้ผู้ฟังได้สติ ได้ข้อคิด
สะกิดใจสามารถเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความคิดผิดเป็นความคิดถูก
ก็ถือว่า ปิยวาจา เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างที่พระองค์ทรงใช้วาจา
โต้ตอบข้อกล่าวหาของเวรัญชพราหมณ์ที่ไปกล่าวหาพระองค์
ต่างๆ เช่น ว่าพระองค์เป็นคนชอบกำาจัด คือทำาลายประเพณีเดิมๆ
ของพวกพราหมณ์ พระองค์ทรงยอมรับว่าพระองค์ชอบกำาจัด แต่
ทรงกำาจัดในความหมายของพระองค์คือชอบกำาจัดกิเลส กำาจัด
ความแข็งกระด้าง ความก้าวร้าว ด้วยการวางหลักพระวินัยให้พระ
สาวกได้ใช้เป็นเครื่องฝึกหัดปรับปรุงพฤติกรรมให้ดีงามน่าเลื่อมใส
ลีลาการใช้วาจาตอบโต้ในลักษณะอย่างนี้ของพระองค์ทำาให้เวรั
ญชพราหมณ์ยอมรับนับถือและยอมมอบตัวเป็นสาวก รับเอาพระ
รัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดไป
       ๓.๓ การบริห ารตามหลัก อัต ถจริย า
         อัตถจริยา คือ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ทั้งฝ่าย
ตนเองและคนอื่น หมายความว่า ต้องไม่ให้เสียประโยชน์ทั้งสอง
ฝ่าย ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองหรือสร้างฐานะของตนให้มั่นคง
เสียก่อน และในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยประโยชน์ของเพื่อนร่วม
งานหรือของคนรอบข้างหรือประโยชน์ที่เป็นสาธารณชนทั่วไป
เช่น เข้าร่วมกิจกรรมส่วนรวมอย่างสมำ่าเสมอ ตามโอกาส อันควร
        http://th.wikipedia.org/wiki (22 สิงหาคม 2555)
        วิ.ม.อ. (ไทย) ๑/๑๐๐.
ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว การทำาอย่างนี้จะทำาให้เพื่อน
ร่วมงานและคนรอบข้างเกิดความประทับใจ แสดงถึงความมีนำ้าใจ
ของผู้บริหาร หรือผู้นำาองค์กร ผู้นำาครอบครัว เมื่อถึง คราวต้องทำา
ประโยชน์ตนบ้างที่ต้องใช้คนช่วยเป็นจำานวนมาก ก็สามารถที่จะ
ขอกำาลังความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างได้ และ
คนเหล่านั้นก็พร้อมที่จะช่วยเหลืออย่างภูมิใจอย่างเต็มใจ หรือถึง
แม้ว่าการทำาเพื่อประโยชน์ของคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ
ก็เป็นการประพฤติประโยชน์ในความหมายนี้เหมือนกัน
         ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงทำาเป็นตัวอย่างมาแล้วตอนที่
พระองค์ทรงบำารุงภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง พระองค์เห็นภิกษุอาพาธถูก
พวกภิกษุทอดทิ้งให้อยู่ตามลำาพังจึงเสด็จไปช่วยทำาชำาระร่างกาย
แล้วแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟัง หลังจากนั้นพระองค์จึงตรัสพระ
ดำารัสว่า ใครต้องการหรือปรารถนาจะอุปัฏฐากพระองค์ขอให้
อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ แล้วรับสั่งให้ภิกษุดูแลกันและกันเพราะว่า
พวกเราได้สละครอบครัวญาติพี่น้องมาแล้ว ถ้าเราไม่ดูแลกันใคร
จะมาดูแล
        ๓.๔ การบริห ารตามหลัก สมานัต ตตา
        สมานัตตตา คือ การนำาตนเข้าไปเชื่อสมานกับคนอื่น หรือ
การวางตนให้เสมอต้นเสมอปลายกับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนใน
ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ร่วมสถาบันต่างๆ ในอาฬวกสูตร ตอนที่
พระองค์ไปทรมานอาฬวกยักษ์ดุร้าย พระองค์ทรงทำาตามที่ยักษ์สั่ง
คือ ยักษ์สั่งให้ทำาอะไรพระองค์ก็ทำาตาม คือ ตอนแรกพระองค์
ประทับอยู่ในที่พักของยักษ์ ยักษ์จึงสั่งให้พระองค์ออกมาจากที่พัก
พระองค์ก็เสด็จออกมา ยักษ์สั่งให้พระองค์เข้าไป พระองค์ก็เสด็จ
เข้าไป ทำาอย่างนี้ถึงสามครั้ง ครั้งที่สี่ยักษ์สั่งพระองค์เหมือนเดิมแต่
พระองค์ไม่ยอมทำาตามแล้วบอกกับยักษ์ว่า เธอจะทำาอะไรก็ทำาฉัน
จะไม่ออกไปอีกแล้ว ยักษ์พูดว่า เขาจะจับพระองค์ที่เท้าแล้วขว้าง
ไปฟากฝั่งมหาสมุทรด้านโน้น พระองค์ตรัสว่า ในโลกนี้พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก พระองค์ยังไม่เห็นใครที่จะทำากับ
พระองค์ได้อย่างนั้น ว่าแล้วจึงสั่งให้ยักษ์ทำาในสิ่งที่อยากทำา ยักษ์
เห็นว่าคงทำาอะไรพระพุทธเจ้าไม่ได้จึงถามปัญหากับพระองค์
พระองค์แก้ปัญหาได้จนทำาให้อาฬวกยักษ์พอใจและยอมเป็นสาวก


        พระภิกษุรูปนั้นชื่อว่า พระปูติคัตตติสสะ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ.
(ไทย) ๒/๑๗๗-๑๘๐.
        ดูรายละเอียดใน ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๑๙๑/๕๔๕.
จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า การลดความต้องการใน
ส่วนของตนแล้วไปเพิ่มให้คนรอบข้างสามารถทำาให้คนไม่ดีกลาย
เป็นคนดีได้ ถึงแม้ว่าผู้ที่เราจะเพิ่มให้นั้นมีเจตนาไม่ดีก็ตาม การทำา
อย่างนั้นประสบความสำาเร็จอย่างยิ่งใหญ่ดังอาฬวกยักษ์นี้
          การเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นเรื่องสำาคัญในการผูก
มิตรไมตรีกับผู้อื่นหรือกับคนรัก ตัวอย่างการนำาตนเข้าไปสมานกับ
คนอื่น เช่น ภรรยากับสามี ภรรยาควรคอยสอบถามเอาใจใส่สามี
และคอยให้กำาลังใจ อาทิ ถ้าสามีกลับจากที่ทำางาน ภรรยาเห็นก็
ควรจะเข้ามาทักทายด้วยถ้อยคำาที่แสดงถึงความเป็นห่วง เช่นว่า
งานเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้เหนื่อยไหม งานหนักไหม มาเหนื่อยๆ
ดื่มนำ้าเย็นๆ สักแก้วก่อนนะ ว่าแล้วก็นำานำ้าดื่มมาให้สามี ลักษณะ
อย่างนี้ เรียกว่าภรรยาเอาตัวเข้าไปสมานกับสามี หรือ กรณีบุตร
ธิดากับบิดามารดา เช่น ลูกกลับจากโรงเรียนก่อนบิดามารดา ก็
ช่วยทำางานบ้านรอ ถ้าเห็นบิดามารดากลับจากที่ทำางานก็วางงาน
ของตนไว้ก่อนเข้าไปไหว้และถามบิดามารดาด้วยถ้อยคำาสุภาพ
อ่อนโยน อาทิ หวัดดีครับหวัดดีคะพ่อ แม่ วันนี้ทำางานเหนื่อยไหม
ดื่มนำ้าก่อนนะหรือทานของว่างก่อนนะ หนูจะจัดให้ หรือถามว่า
พ่อ แม่ ปวดเมื่อยตรงไหน หนูจะนวดให้ อย่างนี้ถือว่า ลูกได้เอา
ตัวเองเข้าไปสมานกับพ่อแม่
         ถ้าครอบครัวใดปฏิบัติอย่างนี้จะทำาให้คนในครอบครัวมี
ความสุข อยู่ด้วยกันด้วยความรักความเมตตาต่อกัน แต่ละคนก็จะ
มีกำาลังในการทำาหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ และงานก็จะประสบ
ความสำาเร็จ
         ตัวอย่างเรื่องสามีเอาตัวเองไปเชื่อมสมานกับภรรยา ลด
ประโยชน์หรือความต้องการของตนเพื่อความสุขของภรรยา เช่น
เรื่องนางพญาปลาดุก ตอนที่พระนางพิมพาเถรี จะเสด็จ
ปรินิพพาน พระนางได้ไปทูลลาพระผู้มีพระภาค แล้วขอขมาโทษ
ล่วงเกินเผื่อว่าจะมีอยู่บ้างด้วยความพลั้งพลาด ทั้งในอดีตชาติและ
ในชาติปัจจุบัน พระนางได้พูดถึงอดีตชาติตอนที่เป็นปลาดุก ขณะ
ที่นางตั้งครรภ์ นางคิดอยากกินหญ้าอ่อน เพื่อบำารุงร่างกาย นาง
ปลาดุกจึงบอกปลาดุกผู้สามีให้ไปคาบเอาหญ้าอ่อนมาให้ ด้วย
ความรักที่มีต่อภรรยา สามีก็ไป ไปถึงทุ่งนาแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมี
พวกเด็กเลี้ยงวัวยืนอยู่เป็นจำานวนมาก ปลาดุกพระโพธิสัตว์ก็หา
จังหวะอยู่ พอพวกเด็กเผลอ ปลาดุกก็กระโดดกัดเอาหญ้าอ่อน พอ
พวกเด็กเห็นเท่านั้น ก็พากันรุมจับปลาดุกอย่างชุลมุน เอาไม้ตีที่
หางปลาดุกจนหางขาด ปลาดุกพยายามหนีจนรอดชีวิตมาได้แต่
ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส พอไปถึงก็คลายหญ้าอ่อนออกให้ภรรยาแล้ว
นอนหันหางให้ภรรยาดูบาดแผล ไม่นานนักก็สลบไปเพราะทนพิษ
บาดแผลไม่ไหว พระนางพิมพาเถรีเล่าเรื่องนี้เพื่อจะขอขมาสมเด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าในชาตินั้นพระนางได้ทำาให้พระองค์ลำาบาก
เพราะความอยากของนาง ขอให้พระองค์ผู้เคยเป็นพระสวามีอด
โทษให้ ขออย่าได้เป็นเวรภัยต่อนาง และชาตินี้ก็เป็นชาติสุดท้าย
แล้ว ต่อไปจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว
         จากตัวอย่างนี้เป็นการใช้สมานัตตตาคือการเอาตนเข้าไป
เชื่อมสมานกับคนรอบข้างเป็นการลดความต้องการในส่วนของตน
แล้วไปเพิ่มให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสามีกับภรรยา หรือบิดา
มารดากับบุตรธิดา เป็นต้น ถ้าครอบครัวใดหรือองค์กรใดปฏิบัติ
อย่างนี้ จะนำาความสุขความเจริญรุ่งเรืองมาสู่องค์กรและครอบครัว
ตลอดไป
๔. บทสรุป
        การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนาเป็น
หลักการยึดเหนี่ยวจิตใจของกันและกันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ใน
การผูกมิตรไมตรีต่อกัน ผู้บริหารควรยึดเอาเป็นแนวทางในการ
บริหารงานในครอบครัวและในองค์กรที่รับผิดชอบอยู่หลักการนี้
พระพุทธองค์ทรงรับรองหรือเป็นพุทธพจน์ที่ไม่มีความหมาย ๒ นัย
หมายความว่าพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ไม่มีนัยเป็นอย่างอื่นจากที่
ทรงพยากรณ์ไว้ ความสำาเร็จของงานคือจุดหมายสูงสุดของการ
บริหาร การที่มีศัตรูเพียงหนึ่งคนก็ถือว่ามาก การที่เรารู้จักคน
เพียงคนเดียวก็ถือว่าน้อยมาก การที่จะไม่มีศัตรูและการที่จะรู้จัก
คนหลายคน มีหลักการและวิธีการที่พระพุทธองค์ได้วางไว้แล้วชื่อ
ว่า หลักสังคหวัตถุ เป็นหลักคำาสอนที่ให้ประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้
ปฏิบัติตามตั้งแต่อดีตเมื่อสองพันกว่าปีจนถึงปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎี
ใดมาล้มล้างได้




           พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ. ๙), วิม ุต ติร ตนมาลี,
อ้างใน เว็บบล็อกบ้านพี่พลอย, http://bannpeeploy.exteen.com/
(๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕).

Contenu connexe

Tendances

ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
Padvee Academy
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
Padvee Academy
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
Padvee Academy
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
Padvee Academy
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาแนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
Padvee Academy
 

Tendances (18)

590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
 
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
ชีวิตและผลงานของพระอนุรุทธะ
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษาปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
 
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
 
พุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทยพุทธศาสนามหายานในไทย
พุทธศาสนามหายานในไทย
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
 
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาแนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
 

En vedette

พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
Anchalee BuddhaBucha
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
หลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
หลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทยหลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
หลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
Padvee Academy
 
หลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาหลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนา
kruudompcccr
 
New งานนำเสนอ microsoft office power point
New งานนำเสนอ microsoft office power pointNew งานนำเสนอ microsoft office power point
New งานนำเสนอ microsoft office power point
Pim Chainamon Puri
 
การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
kroobannakakok
 
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
jeabjeabloei
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
kroobannakakok
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Hasil Sementara PPDB SMAN 1 Randublatung
Hasil Sementara PPDB SMAN 1 RandublatungHasil Sementara PPDB SMAN 1 Randublatung
Hasil Sementara PPDB SMAN 1 Randublatung
Raden Asmoro
 

En vedette (20)

พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
 
หลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
หลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทยหลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
หลักปฏิรูปเทสในพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
 
หลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารหลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหาร
 
Edu9
Edu9Edu9
Edu9
 
หลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาหลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนา
 
New งานนำเสนอ microsoft office power point
New งานนำเสนอ microsoft office power pointNew งานนำเสนอ microsoft office power point
New งานนำเสนอ microsoft office power point
 
การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
 
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
 
sumunod kay Jesus
sumunod kay Jesussumunod kay Jesus
sumunod kay Jesus
 
E-readness in Latin America
E-readness in Latin AmericaE-readness in Latin America
E-readness in Latin America
 
Hasil Sementara PPDB SMAN 1 Randublatung
Hasil Sementara PPDB SMAN 1 RandublatungHasil Sementara PPDB SMAN 1 Randublatung
Hasil Sementara PPDB SMAN 1 Randublatung
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
Flowchar
FlowcharFlowchar
Flowchar
 
Abf medborgarlon-150506023929-conversion-gate01
Abf medborgarlon-150506023929-conversion-gate01Abf medborgarlon-150506023929-conversion-gate01
Abf medborgarlon-150506023929-conversion-gate01
 
Commitment to a life of faith
Commitment to a life of faithCommitment to a life of faith
Commitment to a life of faith
 
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิดการเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
 
Three dangerous sins
Three dangerous sinsThree dangerous sins
Three dangerous sins
 

Similaire à การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา

บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
Ziro Anu
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
Tongsamut vorasan
 
เวสสันดรวิเคราะห์
เวสสันดรวิเคราะห์เวสสันดรวิเคราะห์
เวสสันดรวิเคราะห์
Tongsamut vorasan
 

Similaire à การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา (20)

บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
 
Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
เวสสันดรวิเคราะห์
เวสสันดรวิเคราะห์เวสสันดรวิเคราะห์
เวสสันดรวิเคราะห์
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร
 
พระพุทธม.6 SW603
พระพุทธม.6 SW603พระพุทธม.6 SW603
พระพุทธม.6 SW603
 

Plus de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

Plus de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 

การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา

  • 1. การบริห ารงานตามหลัก สัง คหวัต ถุใ นพระพุท ธศาสนา ๑. บทนำา งานวิจัยในโลกนี้มีผลเป็นจริงอยู่ในระยะหนึ่งสมัยหนึ่งก็ ต้องเปลี่ยนแปลงเพราะกาลเวลาผ่านไปมีทฤษฎีใหม่มาล้มล้าง ทฤษฎีเก่าหรือความเชื่อเก่าก็ตกไป เช่น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ของอริสโตเติลที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในขณะที่โค เปอร์นิคัสเห็นว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ จักรวาล ต่อมา กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ยุคใหม่ ชาวอีตาลี ได้ค้นพบแล้วสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัส กาลิเลโอ ได้ค้นพบทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการตกลงของวัตถุ ที่มีนำ้าหนัก ไม่เท่ากันแต่จะ ลงถึงพื้นดินพร้อมกัน ซึ่งแตกต่างจาก ทฤษฎีที่อริสโตเติลเคยอธิบายไว้ว่า “การ ที่สิ่งของตกลงสู่พื้นดิน นั้น เป็นเรื่องของการเคลื่อนที่ตามธรรมชาติ มิได้มีเรื่องของแรง มาเกี่ยวข้อง หากเป็นเพราะโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทุกสิ่ง จึงต้องเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก” หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ก็คือ วัตถุที่มีมวลต่างกัน เมื่อปล่อยให้ตกลงมา วัตถุที่หนักจะตก ถึงพื้นก่อน กาลิเลโอได้ทำาการทดลอง ณ หอเอนแห่งเมืองปิซา (Piza) โดยพิสูจน์ให้เห็นว่า วัตถุต่างชนิดตกลงสู่พื้นโลก ด้วย ความเร่งที่เท่ากัน แนวความคิดนี้ถูกนำาไปพัฒนาต่อโดย เซอร์ไอ แซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษในยุคต่อมา กาลิเลโอได้ ทำาการปล่อยวัตถุที่มีมวลต่างกัน ๒ ชิ้น ในเวลาพร้อมกัน ซึ่งวัตถุ ดังกล่าว ได้ตกลงมาภายใต้แรงโน้มถ่วงโลก และถึงพื้นเกือบจะ สำานักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร, อ้างใน http://www.space.mict.go.th/astronomer.php?name=galileo (23 สิงหาคม 2555). สำานักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม, อ้างใน http://www.vcharkarn.com/varticle/40783 (23 สิงหาคม 2555). สำานักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร, อ้างแล้ว. สำานักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม, อ้างแล้ว.
  • 2. พร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าความคิดของอริสโตเติลนั้นไม่ถูก ต้อง จากข้อความข้างต้นนี้จะเห็นว่าความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่หลักธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงค้นพบแล้วนำามาสอนสาวกยังคงให้ผลตามที่ พระองค์ตรัสไว้ทุกประการไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทนต่อการพิสูจน์ เช่น หลักสังคหวัตถุนี้ ซึ่งเป็นหลักคำาสอนที่พระพุทธองค์วางไว้ เพื่อเป็นแนวทางแก่การปฏิบัติต่อกันของสาวกให้เกิดความไมตรี ต่อกันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกันและกัน หลักสังคหวัตถุ การสงเคราะห์กันและกันเป็นหลักที่จำาเป็นต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะ ทาน การให้สิ่งของแก่ผู้ร่วมงาน เป็นการให้กำาลังใจ แก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งการให้กำาลังใจแก่ผู้ร่วมงานมีหลายวิธี การใช้ วาจาไพเราะ สุภาพอ่อนโยนก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ร่วมงานเกิด ความประทับใจ มีกำาลังใจที่จะทำางานอย่างมีความสุข การช่วย เหลือซึ่งกันและกัน การวางตนให้เสมอต้นเสมอปลายหรือการเอา ตนเข้าไปเชื่อมประสานกับเพื่อนร่วมงานคือการเอาใจเขามาใส่ใจ เรา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในองค์กร หลักธรรมนี้ยังไม่มีทฤษฎีสมัยใหม่ของใครมาล้มล้างได้จนเวลา ล่วงมาสองพันปีเศษแล้ว ในบทความนี้ผู้เขียนจะได้อธิบายให้เห็นว่าหลักสังคหวัตถุ สามารถนำามาใช้ในการบริหารงานได้ผลจริง และเพื่อให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้วางหลักการนี้ไว้อย่างไร มีอะไรบ้าง ถ้าปฏิบัติ ตามแล้วจะมีผลจะเป็นอย่างไร จึงทำาให้หลักการนี้ให้ผลสำาเร็จแก่ ผู้ปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบัน ๒. ความหมายของสัง คหวัต ถุ สังคหวัตถุ หมายถึง เรื่องที่จะสงเคราะห์กัน, คุณเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือช่วย เหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือ สังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ดุจสลักยึดรถที่กำาลังแล่นไปให้คงเป็นรถและ วิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ปิยวาจา พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ อัตถจริยา การบำาเพ็ญ ประโยชน์ สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือ ทำาตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน สำานักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร, อ้างแล้ว.
  • 3. ๓. วิเ คราะห์ก ารบริห ารตามหลัก สัง คหวัต ถุ ๔ ๓.๑ การบริห ารตามหลัก ทาน หลักของทาน การให้สิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ สถาบันครอบครัวการให้สิ่งของเป็นสิ่งที่หัวหน้าครอบครัวต้อง เรียนรู้ คือต้องรู้จักการให้โดยเฉพาะการแบ่งปันทรัพย์สินหรือ มรดกให้แก่สมาชิกในครอบครัวต้องทำาด้วยความยุติธรรม ปราศจากอคติ ทานในทางพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ อามิส ทาน การให้สิ่งของ และธรรมทาน การให้ธรรมะ ทานเป็นหลัก พื้นฐานการบำาเพ็ญบุญของชาวพุทธ คือหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา การให้ทานตามหลักพุทธศาสนาเป็นการ จำากัดกิเลสอย่างหยาบ คือ กำาจัดความตระหนี่ออกจากจิตใจของ ตน นอกจากนี้ผู้ที่ชอบให้ทานยังเป็นที่รักของผู้รับอีก ดังพระพุทธ พจน์ว่า ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก” หรือ “ททำ มิตตาฺ นิ คนฺถติ ผู้ให้ย่อมผูกใจหมู่มิตรไว้ได้” เนื้อความคาถาในคัมภีร์วิ สุทธิมรรคกล่าวถึงอานิสงส์ของการให้ว่า การให้ ปราบคนที่ใคร ๆ ปราบไม่ได้ (ก็ได้) การให้ ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้ สำาเร็จ (ก็ได้) ด้วย การให้กับการเจรจา ไพเราะ (ประกอบกันทำาให้) คนทั้งหลาย เงยก็มี ก้มก็มี การให้วัตถุสิ่งของสามารถผูกสัมพันธไมตรีของคนที่เป็น บริวารไว้ชั่วนิรันดร เช่น เรื่องของนายปุณณะ คนใช้หรือทาส ของเมณฑกเศรษฐี ปู่ของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ด้วยความ ผูกพันในเจ้านายทำาให้นายปุณณะอธิษฐานขอให้เกิดมาเป็นทาส พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุก รมพุท ธศาสน์ ฉบับ ประมวลศัพ ท์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๖, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๕๔), หน้า ๔๑๒. องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๔๒/๑๒๐. ดูเพิ่มเติมใน พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุก รมพุท ธศาสตร์ ฉบับ ประมวลธรรม, พิมพ์ ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๖๒. ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๙. องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๓๕/๓๕, องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๓๕/๕๖. สำ.ส. (บาลี) ๑๕/๒๔๖/๑๕๘, สำ.ส. (ไทย) ๑๕/๒๔๖/๓๕๓.อง.ปญฺจก. (ไทย) ๒๕/๑๘๙/๕๔๔. พระพุทธโฆสเถระ, วิส ุท ธิม รรค, ภาค ๒, แปลโดย สภาวิชาการ มหามกุฏราชวิทยาลัย. วิสุทฺธิ. (ไทย) ๒/๖๘.
  • 4. ของเจ้านายทุกภพทุกชาติ นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เพื่อนร่วม งานของนายชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ ความเป็น ผู้ให้ของนายชิน ทำาให้นายประสิทธิ์ ซาบซึงนำ้าใจของเพือนจึงไม่ ้ ่ ยอมไปทำางานทีอน นายประสิทธ์กล่าวว่าบางครั้งนายชินซื้อหุ้น ่ ื่ แล้วแบ่งให้โดยที่นายประสิทธิ์ไม่ได้ลงทุนร่วมเลย แต่นายชินก็ แบ่งให้ เป็นนำ้าใจที่ทำา ให้นายประสิทธิ์ประทับใจอยู่ตลอดและเป็น เหตุให้เขาอยู่ช่วยนายชินตลอดมา การให้มีหลายอย่างหลายวิธีไม่ได้หมายถึงการให้วัตถุ สิ่งของอย่างเดียว การช่วยงานตามสมควรแก่โอกาส การมีนำ้าใจ ต่อกันบนท้องถนนของผู้ขับขี่ยานพาหนะ การลุกให้คนแก่หรือ สตรีนั่งขณะอยู่บนรถโดยสารประจำาทาง การแนะนำาสิ่งที่เป็น ประโยชน์ต่อการดำาเนินชีวิต การให้อภัยแก่ผู้ทำาความผิดที่กลับ ตัวแล้ว หรือการให้อภัยแก่กันและกันไม่ผูกอาฆาตปองร้ายกันกับ ผู้ที่มีกรณีทะเลาะวิวาทกัน ก็ถือว่าเป็นการให้เหมือนกัน โดย เฉพาะการให้อภัยนั้น ถือว่าเป็นการให้ที่ประเสริฐ ทำาให้ไม่ต้องมี เวรต่อกันและกันต่อไปอันเป็นเรื่องที่ทนทุกข์ทรมานไปนานแสน นาน มีผลเทียบเท่ากับการให้ทานซึ่งถือว่าชนะการให้ทุกอย่าง ดัง พระพุทธพจน์ว่า “สพฺพาทานำ ธรรมทานำ ชินาติ การให้ทานชนะ การให้ทั้งปวง” การผูกพยาบาทอาฆาตต่อกันก็เป็นการก่อเวรไม่มีที่สิ้นสุด ดังพระพุทธพจน์ว่า “อกฺโกจฺฉิ มำ อวธิ มำ อหาสิ เม เย จ ตำ อุปนยฺหนฺติ เวรำ เตสำ น สมฺมติ ผู้ที่เข้าไปผูกเวรว่า ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้เบียดเบียนเรา เวรของพวกเขาย่อมไม่ระงับ” จากพระพุทธพจน์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การผูกพยาบาท อาฆาตต่อกันไม่สามารถทำาให้เวรกรรมสิ้นสุดได้ และไม่สามารถ ทำาศัตรูให้เป็นมิตรได้ การให้อภัยแก่กันเป็นแนวทางในการตัดเวร ตัดกรรมกับเจ้ากรรมนายเวรที่ดีสุด มีคุณค่ามากเปรียบเสมือนการ ให้ธรรมทาน เพราะฉะนั้นผู้บริหารจึงไม่ควรผูกเวรกับใครเพราะ นอกจากจะทำาให้เสียเพื่อนร่วมงานร่วมธุรกิจแล้วยังเป็นการสร้าง เจ้ากรรมนายเวรใหม่ให้กับตัวเองด้วย ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๖/๒๐๕-๒๑๑. http://www.gotomanager.com (22 สิงหาคม 2555). ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๓๕๔/๓๕, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๕๔/๑๔๔. ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๓/๘, ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓/ ๒๔.
  • 5. ๓.๒ การบริห ารตามหลัก ปิย วาจา คำาพูดไพเราะ หรือการใช้วาจาสุภาพอ่อนโยนกับเพื่อน ร่วมงานกับคนในครอบครัว จะทำาให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจและมี กำาลังในการทำางาน การใช้คำาพูดมีประโยชน์ต่อการบริหารงาน หรือต่อการดำาเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง สุนทรภู่ นักกวีเอกของโลกได้ ประพันธ์บทกลอนเกี่ยวกับการใช้วาจาไว้หลายสำานวน เช่น ว่า อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ อีกบทหนึ่งว่า ถึงบางพูด พูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำาลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา ในชาดกมีเรื่องโคนันทิิวิสาล เป็นตัวอย่าง โคนันทิวิสาล เป็นสัตว์กตัญญูต่อเจ้าของเป็นวัวมีกำาลังพิเศษสามาราถลาก เกวียนร้อยเล่มได้ อยู่มาวันหนึ่งโคนันทิวิสาลคิดสงสารเจ้าของที่ ลำาบากทำางานหนักเพราะฐานะยากจน จึงบอกพราหมณ์ผู้เป็น เจ้าของว่าให้ไปท้าพนันแข่งขันลากเกวียนที่บรรทุกของเต็มทุก เล่มจำานวนหนึ่งร้อยเล่มกับเศรษฐีว่า วัวของเขาสามารถลาก เกวียนให้เคลื่อนที่จากเกวียนเล่มสุดท้ายไปถึงที่ที่เกวียนเล่มแรก จอดอยู่ได้ เจ้าของก็ไปท้าพนันแต่พอถึงวันแข่งขันเจ้าของกลับใช้ วาจาไม่สุภาพกับโคตัวเองทั้งๆ ที่โคไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน คือ ใช้คำาว่า เจ้าโคโกงจงลากเกวียนไป โคได้ฟังแล้วก็หมดกำาลังใจ จึงยืนอยู่กับที่ไม่ยอมลากเกวียนไป ทำาให้เจ้าของแพ้การพนัน พอกลับมาถึงบ้านเจ้าของเสียใจมากนั่งซึมเศร้าอยู่ โคนันทิวิสาล เห็นเจ้าของนั่งคอตกด้วยความเสียใจ จึงเข้าไปปลอบว่า พ่อไม่ ต้องเสียใจให้ไปท้าพนันใหม่ แต่คราวนี้พ่อต้องใช้คำาพูดดีๆ ไม่ให้ พูดว่า โคโกง เพราะเขาไม่ชอบ เจ้าของฟังแล้วจึงไปท้าพนันใหม่ คราวนี้เจ้าของพูดกับโคด้วยคำาไพเราะ ทำาให้โคมีกำาลังใจ ลาก เกวียนไปได้รับชัยชนะ กลอนสุนทรภู่ รวมกลอนสุนทรภู่ อ้างใน http://www.zoneza.com (23 สิงหาคม 2555). ขุ.ชา.อ. (บาลี) ๑/๑๓๗-๑๓๙. ขุ.ชา.อ. (ไทย) ๑/๕๐-๕๒.
  • 6. จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้วาจาสุภาพอ่อนโยน ทำาให้ผู้ฟังเกิดสบายใจมีกำาลังใจพร้อมที่จะทำางานทุกอย่างแม้จะ ยากลำาบากก็ไม่ยอมย่อท้อ ไม่ว่าแต่การใช้คำาสุภาพอ่อนโยนกับ มนุษย์เท่านั้นแม้แต่สัตว์เดรัจฉานยังต้องการคำาพูดไพเราะ สุภาพ อ่อนโยน การที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอบปฏิเสธเมื่อพระเจ้า หลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศสส่งศาสนทูตมาเชิญให้เข้ารีตคือเข้า นับถือศาสนาคริสต์ด้วยพระองค์ทรงใช้วาจาที่ไพเราะว่า ถ้าเป็น พระประสงค์ของพระเจ้า พระองค์คงจะดลใจให้เข้านับถือเอง การที่พระเจ้าไม่ทรงดลใจอย่างนั้นคงเป็นเพราะพระประสงค์ของ พระเจ้าที่ไม่ต้องการให้เข้ารีตด้วย การตอบปฏิเสธของสมเด็จพระ นารายณ์มหาราชในครั้งนั้นไม่ทำาให้ฝรั่งเศสเสียใจอะไร ไม่ได้ ทำาให้ความสัมพันธ์ต่อกันลดน้อยลง ลักษณะอย่างนีถอว่าเป็นการ ้ ื ใช้ปยวาจาในการบริหารทีประสบความสำาเร็จอย่างยิง ิ ่ ่ ปิยวาจา ไม่ได้หมายความว่า วาจาอ่อนหวานเป็นที่รักแก่ ผู้ฟังอย่างเดียว วาจาที่เปล่งออกไปแล้วทำาให้ผู้ฟังได้สติ ได้ข้อคิด สะกิดใจสามารถเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความคิดผิดเป็นความคิดถูก ก็ถือว่า ปิยวาจา เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างที่พระองค์ทรงใช้วาจา โต้ตอบข้อกล่าวหาของเวรัญชพราหมณ์ที่ไปกล่าวหาพระองค์ ต่างๆ เช่น ว่าพระองค์เป็นคนชอบกำาจัด คือทำาลายประเพณีเดิมๆ ของพวกพราหมณ์ พระองค์ทรงยอมรับว่าพระองค์ชอบกำาจัด แต่ ทรงกำาจัดในความหมายของพระองค์คือชอบกำาจัดกิเลส กำาจัด ความแข็งกระด้าง ความก้าวร้าว ด้วยการวางหลักพระวินัยให้พระ สาวกได้ใช้เป็นเครื่องฝึกหัดปรับปรุงพฤติกรรมให้ดีงามน่าเลื่อมใส ลีลาการใช้วาจาตอบโต้ในลักษณะอย่างนี้ของพระองค์ทำาให้เวรั ญชพราหมณ์ยอมรับนับถือและยอมมอบตัวเป็นสาวก รับเอาพระ รัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดไป ๓.๓ การบริห ารตามหลัก อัต ถจริย า อัตถจริยา คือ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ทั้งฝ่าย ตนเองและคนอื่น หมายความว่า ต้องไม่ให้เสียประโยชน์ทั้งสอง ฝ่าย ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองหรือสร้างฐานะของตนให้มั่นคง เสียก่อน และในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยประโยชน์ของเพื่อนร่วม งานหรือของคนรอบข้างหรือประโยชน์ที่เป็นสาธารณชนทั่วไป เช่น เข้าร่วมกิจกรรมส่วนรวมอย่างสมำ่าเสมอ ตามโอกาส อันควร http://th.wikipedia.org/wiki (22 สิงหาคม 2555) วิ.ม.อ. (ไทย) ๑/๑๐๐.
  • 7. ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว การทำาอย่างนี้จะทำาให้เพื่อน ร่วมงานและคนรอบข้างเกิดความประทับใจ แสดงถึงความมีนำ้าใจ ของผู้บริหาร หรือผู้นำาองค์กร ผู้นำาครอบครัว เมื่อถึง คราวต้องทำา ประโยชน์ตนบ้างที่ต้องใช้คนช่วยเป็นจำานวนมาก ก็สามารถที่จะ ขอกำาลังความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างได้ และ คนเหล่านั้นก็พร้อมที่จะช่วยเหลืออย่างภูมิใจอย่างเต็มใจ หรือถึง แม้ว่าการทำาเพื่อประโยชน์ของคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ก็เป็นการประพฤติประโยชน์ในความหมายนี้เหมือนกัน ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงทำาเป็นตัวอย่างมาแล้วตอนที่ พระองค์ทรงบำารุงภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง พระองค์เห็นภิกษุอาพาธถูก พวกภิกษุทอดทิ้งให้อยู่ตามลำาพังจึงเสด็จไปช่วยทำาชำาระร่างกาย แล้วแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟัง หลังจากนั้นพระองค์จึงตรัสพระ ดำารัสว่า ใครต้องการหรือปรารถนาจะอุปัฏฐากพระองค์ขอให้ อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ แล้วรับสั่งให้ภิกษุดูแลกันและกันเพราะว่า พวกเราได้สละครอบครัวญาติพี่น้องมาแล้ว ถ้าเราไม่ดูแลกันใคร จะมาดูแล ๓.๔ การบริห ารตามหลัก สมานัต ตตา สมานัตตตา คือ การนำาตนเข้าไปเชื่อสมานกับคนอื่น หรือ การวางตนให้เสมอต้นเสมอปลายกับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนใน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ร่วมสถาบันต่างๆ ในอาฬวกสูตร ตอนที่ พระองค์ไปทรมานอาฬวกยักษ์ดุร้าย พระองค์ทรงทำาตามที่ยักษ์สั่ง คือ ยักษ์สั่งให้ทำาอะไรพระองค์ก็ทำาตาม คือ ตอนแรกพระองค์ ประทับอยู่ในที่พักของยักษ์ ยักษ์จึงสั่งให้พระองค์ออกมาจากที่พัก พระองค์ก็เสด็จออกมา ยักษ์สั่งให้พระองค์เข้าไป พระองค์ก็เสด็จ เข้าไป ทำาอย่างนี้ถึงสามครั้ง ครั้งที่สี่ยักษ์สั่งพระองค์เหมือนเดิมแต่ พระองค์ไม่ยอมทำาตามแล้วบอกกับยักษ์ว่า เธอจะทำาอะไรก็ทำาฉัน จะไม่ออกไปอีกแล้ว ยักษ์พูดว่า เขาจะจับพระองค์ที่เท้าแล้วขว้าง ไปฟากฝั่งมหาสมุทรด้านโน้น พระองค์ตรัสว่า ในโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก พระองค์ยังไม่เห็นใครที่จะทำากับ พระองค์ได้อย่างนั้น ว่าแล้วจึงสั่งให้ยักษ์ทำาในสิ่งที่อยากทำา ยักษ์ เห็นว่าคงทำาอะไรพระพุทธเจ้าไม่ได้จึงถามปัญหากับพระองค์ พระองค์แก้ปัญหาได้จนทำาให้อาฬวกยักษ์พอใจและยอมเป็นสาวก พระภิกษุรูปนั้นชื่อว่า พระปูติคัตตติสสะ ดูรายละเอียดใน ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๒/๑๗๗-๑๘๐. ดูรายละเอียดใน ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๑๙๑/๕๔๕.
  • 8. จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า การลดความต้องการใน ส่วนของตนแล้วไปเพิ่มให้คนรอบข้างสามารถทำาให้คนไม่ดีกลาย เป็นคนดีได้ ถึงแม้ว่าผู้ที่เราจะเพิ่มให้นั้นมีเจตนาไม่ดีก็ตาม การทำา อย่างนั้นประสบความสำาเร็จอย่างยิ่งใหญ่ดังอาฬวกยักษ์นี้ การเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นเรื่องสำาคัญในการผูก มิตรไมตรีกับผู้อื่นหรือกับคนรัก ตัวอย่างการนำาตนเข้าไปสมานกับ คนอื่น เช่น ภรรยากับสามี ภรรยาควรคอยสอบถามเอาใจใส่สามี และคอยให้กำาลังใจ อาทิ ถ้าสามีกลับจากที่ทำางาน ภรรยาเห็นก็ ควรจะเข้ามาทักทายด้วยถ้อยคำาที่แสดงถึงความเป็นห่วง เช่นว่า งานเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้เหนื่อยไหม งานหนักไหม มาเหนื่อยๆ ดื่มนำ้าเย็นๆ สักแก้วก่อนนะ ว่าแล้วก็นำานำ้าดื่มมาให้สามี ลักษณะ อย่างนี้ เรียกว่าภรรยาเอาตัวเข้าไปสมานกับสามี หรือ กรณีบุตร ธิดากับบิดามารดา เช่น ลูกกลับจากโรงเรียนก่อนบิดามารดา ก็ ช่วยทำางานบ้านรอ ถ้าเห็นบิดามารดากลับจากที่ทำางานก็วางงาน ของตนไว้ก่อนเข้าไปไหว้และถามบิดามารดาด้วยถ้อยคำาสุภาพ อ่อนโยน อาทิ หวัดดีครับหวัดดีคะพ่อ แม่ วันนี้ทำางานเหนื่อยไหม ดื่มนำ้าก่อนนะหรือทานของว่างก่อนนะ หนูจะจัดให้ หรือถามว่า พ่อ แม่ ปวดเมื่อยตรงไหน หนูจะนวดให้ อย่างนี้ถือว่า ลูกได้เอา ตัวเองเข้าไปสมานกับพ่อแม่ ถ้าครอบครัวใดปฏิบัติอย่างนี้จะทำาให้คนในครอบครัวมี ความสุข อยู่ด้วยกันด้วยความรักความเมตตาต่อกัน แต่ละคนก็จะ มีกำาลังในการทำาหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ และงานก็จะประสบ ความสำาเร็จ ตัวอย่างเรื่องสามีเอาตัวเองไปเชื่อมสมานกับภรรยา ลด ประโยชน์หรือความต้องการของตนเพื่อความสุขของภรรยา เช่น เรื่องนางพญาปลาดุก ตอนที่พระนางพิมพาเถรี จะเสด็จ ปรินิพพาน พระนางได้ไปทูลลาพระผู้มีพระภาค แล้วขอขมาโทษ ล่วงเกินเผื่อว่าจะมีอยู่บ้างด้วยความพลั้งพลาด ทั้งในอดีตชาติและ ในชาติปัจจุบัน พระนางได้พูดถึงอดีตชาติตอนที่เป็นปลาดุก ขณะ ที่นางตั้งครรภ์ นางคิดอยากกินหญ้าอ่อน เพื่อบำารุงร่างกาย นาง ปลาดุกจึงบอกปลาดุกผู้สามีให้ไปคาบเอาหญ้าอ่อนมาให้ ด้วย ความรักที่มีต่อภรรยา สามีก็ไป ไปถึงทุ่งนาแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมี พวกเด็กเลี้ยงวัวยืนอยู่เป็นจำานวนมาก ปลาดุกพระโพธิสัตว์ก็หา จังหวะอยู่ พอพวกเด็กเผลอ ปลาดุกก็กระโดดกัดเอาหญ้าอ่อน พอ พวกเด็กเห็นเท่านั้น ก็พากันรุมจับปลาดุกอย่างชุลมุน เอาไม้ตีที่ หางปลาดุกจนหางขาด ปลาดุกพยายามหนีจนรอดชีวิตมาได้แต่
  • 9. ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส พอไปถึงก็คลายหญ้าอ่อนออกให้ภรรยาแล้ว นอนหันหางให้ภรรยาดูบาดแผล ไม่นานนักก็สลบไปเพราะทนพิษ บาดแผลไม่ไหว พระนางพิมพาเถรีเล่าเรื่องนี้เพื่อจะขอขมาสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าในชาตินั้นพระนางได้ทำาให้พระองค์ลำาบาก เพราะความอยากของนาง ขอให้พระองค์ผู้เคยเป็นพระสวามีอด โทษให้ ขออย่าได้เป็นเวรภัยต่อนาง และชาตินี้ก็เป็นชาติสุดท้าย แล้ว ต่อไปจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว จากตัวอย่างนี้เป็นการใช้สมานัตตตาคือการเอาตนเข้าไป เชื่อมสมานกับคนรอบข้างเป็นการลดความต้องการในส่วนของตน แล้วไปเพิ่มให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสามีกับภรรยา หรือบิดา มารดากับบุตรธิดา เป็นต้น ถ้าครอบครัวใดหรือองค์กรใดปฏิบัติ อย่างนี้ จะนำาความสุขความเจริญรุ่งเรืองมาสู่องค์กรและครอบครัว ตลอดไป ๔. บทสรุป การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนาเป็น หลักการยึดเหนี่ยวจิตใจของกันและกันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ใน การผูกมิตรไมตรีต่อกัน ผู้บริหารควรยึดเอาเป็นแนวทางในการ บริหารงานในครอบครัวและในองค์กรที่รับผิดชอบอยู่หลักการนี้ พระพุทธองค์ทรงรับรองหรือเป็นพุทธพจน์ที่ไม่มีความหมาย ๒ นัย หมายความว่าพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ไม่มีนัยเป็นอย่างอื่นจากที่ ทรงพยากรณ์ไว้ ความสำาเร็จของงานคือจุดหมายสูงสุดของการ บริหาร การที่มีศัตรูเพียงหนึ่งคนก็ถือว่ามาก การที่เรารู้จักคน เพียงคนเดียวก็ถือว่าน้อยมาก การที่จะไม่มีศัตรูและการที่จะรู้จัก คนหลายคน มีหลักการและวิธีการที่พระพุทธองค์ได้วางไว้แล้วชื่อ ว่า หลักสังคหวัตถุ เป็นหลักคำาสอนที่ให้ประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้ ปฏิบัติตามตั้งแต่อดีตเมื่อสองพันกว่าปีจนถึงปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎี ใดมาล้มล้างได้ พระพรหมโมลี (วิลาส ญาณวโร ป.ธ. ๙), วิม ุต ติร ตนมาลี, อ้างใน เว็บบล็อกบ้านพี่พลอย, http://bannpeeploy.exteen.com/ (๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕).