SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  35
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่ ๒
หลักคําสอนเรื่องสังขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังขารในพระพุทธศาสนา ในบทนี้จะได้ศึกษา
ความหมาย ลักษณะ ประเภท และบทบาทของสังขารที่มีต่อการดําเนินชีวิตของมนุษย์ที่ปรากฏ
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ซึ่งจะได้ศึกษาในรายละเอียดของแต่ละสังขารเป็นลําดับไป
๒.๑ ความหมายและลักษณะของสังขาร
สังขารในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้ ๓ อย่าง คือ สังขารในไตรลักษณ์ สังขารใน
ขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารในไตรลักษณ์ มีสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ใน
สภาพเดิมไม่ได้ สังขารในขันธ์ ๕ คือ ความคิดปรุงแต่งดีและไม่ดีที่เป็นนามธรรม ส่วนสังขาร
ในปฏิจจสมุปบาทมีสภาวะที่อาศัยปัจจัยอื่นเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสังขารเหล่านี้ก็ตกอยู่ภายใต้กฎ
ของไตรลักษณ์ ก่อนที่จะทราบรายละเอียด ผู้วิจัยจะได้ศึกษาความหมายของสังขาร ดังนี้
๒.๑.๑ ความหมายของสังขารตามสัททศาสตร์
ในด้านสัททศาสตร์คําว่า “สังขาร” สําเร็จรูปมาจาก สํ บทหน้า + กร ธาตุ + ณ ปัจจัย สํ
อุปสรรคมีอรรถว่า “ประชุม” ส่วน กร ธาตุมีอรรถว่า “กระทํา ปรุงแต่ง” คําว่า สังขาร จึงมี
ความหมายว่า ธรรมที่มาประชุมกันแล้วปรุงแต่ง0
๑
โดยสามารถวิเคราะห์รูปศัพท์ได้ดังนี้
สงฺขตํสงฺขโรนฺติ อภิสงฺขโรนฺตีติ สงฺขารา ธรรมเหล่าใดย่อมปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็น
ผลโดยตรง เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังขาร
สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺมํ อภิสงฺขโรนฺติ เอเตหีติ สงฺขารา สัตว์ทั้งหลายย่อมปรุงแต่ง
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรมโดยเจตนาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เจตนาที่เป็นเหตุ
แห่งการปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร1
๒
๑
พระญาณธชะ(แลดีสยาดอ), “ปรมัตถทีปนี”,ใน อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย พระ
คันธสาราภิวงศ์,พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมราชานุวัตร(กมล โกวิโท
ป.ธ.๖), (กรุงเทพมหานคร : หจก. ไทยรายวัน กราฟฟิค เพลท, ๒๕๔๖), หน้า ๖๗๖.
๒
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปฏิจจสมุปบาททีปนี, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : โรง
พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หน้า ๓๖.
๑๓
ในปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ให้ความหมายของสังขารไว้๕ นัย คือ ๑)
สังขารในความหมายว่า สํขต (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) ๒) สังขารในความหมายว่า ปุ�ฺญาภิสงฺขาราทิ
(สภาพที่ปรุงแต่งในปัจจยาการ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) ๓) สังขาร
ในความหมายว่า ปโยค (พยายาม) ๔) สังขารในความหมายว่า กายสงฺขาราทิ (สิ่งที่ปรุงแต่งหรือ
ปรนปรือกาย คือ ลมหายใจ เป็นต้น) ๕) อภิสํขรณ (การปรุงแต่ง)2
๓
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)3
∗
ได้ให้ความหมายของสังขารไว้ว่า ๑) สิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,
๒) สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การ
กระทํา มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆ เป็นอัพยากฤตได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือเจตสิก
ทั้งปวงเว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว4
๔
บรรจบ บรรณรุจิ ให้ความหมายของสังขารว่า คําว่า “สังขาร” ประกอบด้วยคํา สํ
(พร้อม, ต่อเนื่อง, ติดต่อ) กรฺ (ทํา, แต่ง, สร้าง) ณ ปัจจัย อ การันต์สําเร็จรูปเป็น สงฺขาร ไทยนํามาใช้
ในรูปคําว่า “สังขาร” หมายถึง ทําพร้อม ทําต่อเนื่อง ทําติดต่อ ทําเสมอ หรือปรุงแต่ง ปรุงแต่ง
ต่อเนื่อง ปรุงแต่งติดต่อ ปรุงแต่งเสมอ5
๕
จากความหมายของสังขารที่ได้ศึกษามา พอสรุปได้ว่า คําว่า “สังขาร” มีความหมายอยู่
๒ อย่าง คือ ๑) สังขารที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และ ๒) สังขารที่เป็นตัวปรุงแต่งเอง สังขารที่หมายถึงสิ่ง
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ สังขตธรรมหรือสังขตธาตุทุกอย่างที่มีอยู่ในจักรวาลทั้งสิ่งที่มีชีวิตและ
สิ่งไม่มีชีวิต ส่วนสังขารที่ทําหน้าปรุงแต่งเป็นสังขารฝ่ายนามธรรม ได้แก่สังขารในขันธ์ ๕
ทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์ สังขารเหล่านี้นอกจากจะถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ยังทําหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งอื่นด้วย ในขณะเดียวกันก็ปรุงแต่งกันเองด้วย จะได้อธิบายรายละเอียดของ
สังขารแต่ละอย่างเป็นลําดับไป
๓
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ, ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต,
(กรุงเทพมหานคร : หจก.ศิวพร, ๒๕๑๓), หน้า ๗๕๖-๗๕๗. ปัจจุบันเป็นพระพรหมคุณาภรณ์
∗
ปัจจุบันเป็นพระพรหมคุณาภรณ์
๔
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๗,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๓๐๙.
๕
บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙), หน้า ๒๐.
๑๔
๒.๑.๒ ความหมายและลักษณะของสังขารในไตรลักษณ์
คําว่า “ไตรลักษณ์”หมายถึงลักษณะ๓ประการได้แก่ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ความ
ไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ความมิใช่ตัวตน6
๖
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัญลักษณะได้แก่ ลักษณะที่มีเสมอ
กันแก่สังขารทั้งปวง มี ๓ประการดังกล่าวนั้น7
๗
สังขารในไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุง
แต่งขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิต
หรือไม่มีชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือ
ทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน8
๘
สังขารในไตรลักษณ์ครอบคลุมสังขารทั้งหมด คือ ทั้งสังขารใน
ขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท มีลักษณะผันแปรเปลี่ยนแปลงไม่คงที่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งให้
เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่จํากัดกาลเวลาและสถานที่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่เรามอง
ไม่เห็นด้วยตาเปล่าเพราะถูกปิดไว้ด้วยสันตติ ความสืบต่อที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลง
ของอิริยาบถที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไม่ยอมหยุดนิ่ง เพราะความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สิ่งที่เป็น
รูปธรรมทั้งมีใจครองและไม่มีใจครอง ที่มีใจครอง นับตั้งแต่สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
มนุษย์ เทวดา จนถึง พรหมทุกชั้น ล้วนแต่เป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ตกอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน
ต่างกันแต่ความหมายความละเอียดของรูปขันธ์ และกาลเวลาของสัตว์แต่ละจําพวกเท่านั้น เช่น
บางจําพวกมีขันธ์ไม่ครบ ๕ ขันธ์ ได้แก่อรูปพรหม มีเพียง ๔ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ บางพวกมีครบแต่มีรูปขันธ์ละเอียดและอยู่คนละมิติจึงไม่สามารถมองเห็นกันได้ เช่น สัตว์
นรก เปรต อสุรกาย เทวดา และรูปพรหมทั้งหมด สัตว์เหล่านี้มีรูปลักษณะแตกต่างกันตามชาติพันธุ์
สิ่งแวดล้อม และสถานที่ เช่น มนุษย์พวกที่เกิดแถบเมืองหนาวโดยมากจะมีผิวขาว ตัวสูงใหญ่ พวก
ที่เกิดแถบเมืองร้อนจะมีผิวคลํ้า ตัวเล็ก เป็นต้น ศักยภาพของสมองและร่างกายก็แตกต่างกัน ตาม
ขนาดของรูปร่างและบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาแยกตามลักษณะของกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา
อนัตตตา
จากข้อความดังกล่าว พอสรุปได้ว่า สังขารในไตรลักษณ์ คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทุกสิ่ง
ทุกอย่างทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต คือเป็ นทั้งรูปและนาม เป็ นสภาวะที่ไม่คงทนถาวรมีการ
๖
องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๑๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๑๔๐.
๗
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๓๓๔.
๘
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๗๐/๔-๕.
๑๕
เปลี่ยนแปลงและแตกสลายไปตามเหตุปัจจัยและกาลเวลา เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่ไม่มีใคร
สร้างหรือบันดาลขึ้น จะมีคนรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ธรรมชาติเหล่านี้ก็มีอยู่ตามธรรมดาของมัน มีคุณค่า
อยู่ในตัว ไม่มีใครเป็นผู้กําหนดคุณค่าให้ได้แม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ไม่ได้บอกว่า กฏธรรมชาติ
เหล่านี้เป็นของพระองค์ เพียงแต่พระองค์เป็นผู้ค้นพบแล้วนํามาบอกกล่าวให้คนอื่นรู้ตาม และ
อธิบายให้ง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจแล้วนําไปพิจารณาไตร่ตรองให้เห็นตามความเป็นจริง
ก. ลักษณะที่เป็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง) ของสังขาร
ลักษณะที่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงของสังขาร ได้แก่สิ่งที่มีความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป9
๙
อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ความเป็นของสิ้นไป (ขยฏฺเฐน)1 0
๑๐
หมายความว่า เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใด ก็ดับไปที่นั้นเมื่อนั้น เช่น รูปธรรมในอดีต ก็ดับไปในอดีต ไม่
มาถึงขณะนี้ รูปในขณะนี้ ก็ดับไปที่นี่ ไม่ไปถึงข้างหน้า รูปในอนาคตจะเกิดถัดต่อไป ก็จะดับ ณ
ที่นั่นเองไม่ยืนอยู่ถึงเวลาต่อไปอีก11
๑๑
ยกตัวอย่างเช่น เราซื้อรถยนต์มาหนึ่งคันตอนซื้อใหม่ๆมีสีสดสวย
อุปกรณ์ทุกอย่างเป็นของใหม่ แต่พอเราใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ความเป็นรถใหม่เริ่มหายไปสีหมอง
คลํ้า เครื่องยนต์เริ่มทํางานช้าลง อุปกรณ์อย่างอื่น เช่น เบรค พวงมาลัย เป็นต้น เริ่มฝืดลงใช้ งานไม่
คล่องเหมือนตอนซื้อมาใหม่ๆ ลักษณะเหล่านี้บ่งบอกถึงความไม่เที่ยงของสังขารคือรถยนต์ที่ถูก
ปรุงแต่งขึ้น จากส่วนต่างๆที่เอามาประกอบกันเข้าเพื่อให้สําเร็จเป็นรถตามความประสงค์ของนายช่าง
ข. ลักษณะที่เป็นทุกข์ของสังขาร
ลักษณะที่เป็นทุกข์ของสังขาร ได้แก่ สิ่งที่มีภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและ
สลายตัวมีภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น
เปลี่ยนแปลงไปจะทําให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้
ความสมอยากอย่างแท้จริง หรือไม่ได้ให้ความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้ต้องการด้วยตัณหา และก่อให้เกิด
ทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน ดังที่พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ว่า “ทุกฺขเมว หิ
สมฺโภติทุกฺขํติฏฺฐติเวติจ.ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่และย่อมดับไป นา�ฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ
นา�ฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ. นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”๑๒
๙
องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๑๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕.
๑๐
ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๗๙/๕๓.
๑๑
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๗๐/๘.
๑๒
สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๑๗๑/๑๙๙-๑๐๐, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๑๗๑/๑๔๒.
๑๖
ยกตัวอย่างสิ่งที่มีชีวิตเช่น มนุษย์ ซึ่งมีความทุกข์ติดตามอยู่ตลอดเวลา ว่าเฉพาะทุกข์
ประจําสังขารคือร่างกายก่อน มนุษย์ต้องคอยเลี้ยงดูรับประทานอาหารอย่างน้อยวันละ ๓ ครั้ง เพื่อ
หล่อเลี้ยงร่างกายให้แข็งแรงดํารงชีพอยู่ได้ มนุษย์ต้องคอยหมั่นทําความสะอาดร่างกายไม่ให้
สกปรกส่งกลิ่นเหม็นรบกวนตัวเองและคนอื่นอย่างน้อยวันละ ๑ ถึง ๒ ครั้ง นอกจากนี้ยังมีทุกข์จร
เข้ามาอีกหลายอย่าง ทั้งที่เกิดขึ้นในภายในร่างกายและทั้งที่เกิดจากภายนอก เช่น โรคภัยต่างๆ ใน
ร่างกาย เพราะตามปรกติแล้วร่างกายของเราเป็นเหมือนรังของโรคเป็นบ่อเกิดของตัวพยาธิหลาย
ชนิด ส่วนทุกข์ที่มาจากภายนอกย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายอย่าง คือจากตัวเราเอง จากคนอื่น
ด้วย จากสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีอาหาร อากาศ เป็นต้น
ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นเพียงสังขารทุกข์ คือ เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
ต้องเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิมไปตามกาลเวลา จากของใหม่สภาพแข็งแรง กลายเป็นของเก่า และ
แตกสลายไปในที่สุด เช่น รถยนต์บ้านเรือน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น การดํารงอยู่ของสังขารเหล่านี้ขึ้นอยู่
กับปัจจัยอื่น เช่น อุปกรณ์ที่นํามาปรุงแต่งขึ้น และการบํารุงรักษา
ค. ลักษณะที่เป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตน) ของสังขาร
ลักษณะที่เป็นอนัตตาของสังขารนั้น หมายเอาสังขารที่เป็นอนิจจังไม่เที่ยง และทุกขัง
เป็นสิ่งที่ทนอยู่ในสภาพเดิมของตนไม่ได้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่มีความไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตนที่แท้จริง
ของมันเอง
ในส่วนของอนัตตานี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ทัศนะไว้ว่า สิ่งทั้งหลาย
หากจะกล่าวว่ามีก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อันสัมพันธ์เนื่องอาศัย
กันเกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่ และ
เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่
สมบูรณ์อยู่ในตัว และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้
ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนแท้จริงไม่ได้13
๑๓
อย่างไรก็ตามลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกันไม่สามารถแยกออกจากกัน
ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย มนุษย์ถือว่าได้เปรียบกว่าเขา
ทั้งหมด เพราะมีโอกาสได้พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นและหลุดพ้นไปจากกฎดังกล่าวได้ หมายถึงผู้พัฒนา
ตัวเองจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเหล่านั้นถึงร่างกายสังขารจะตกอยู่ภายใต้กฎของ
ไตรลักษณ์แต่จิตที่ปรินิพพานแล้วจะไม่เกิดอีกพ้นจากกฏนี้
๑๓
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หน้า ๖๘-๖๙.
๑๗
๒.๑.๓ ความหมายและลักษณะของสังขารในขันธ์ ๕
ก. ความหมายของสังขารในขันธ์ ๕
คําว่า “สังขาร” ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่
คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนํา ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออก
ทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทํากรรม เรียกง่ายๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น
ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็น
นามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ14
๑๔
ตามแนวอภิธรรม สังขารในขันธ์ ๕ คือ ธรรมที่มาประชุมกันแล้วปรุงแต่ง หมายถึง
ผัสสะและเจตนาเป็นต้น ธรรม เหล่านั้นมาประชุมร่วมกันในอุปปัตติทวาร ๖ (ทวารที่เกิดของวิถีจิต
มีจักขุทวารเป็นต้น) หรือในกรรมทวาร ๓ (ทวารที่ก่อให้เกิดกรรมมีกายทวารเป็นต้น) ย่อมปรุง
แต่งกิจทั้งหมดมีการเห็นและการได้ยินเป็นต้นซึ่งเป็นกิจทั่วไป หรือกิจทางกาย วาจา ใจ หรือการ
นอน การนั่ง การยืน การเดิน การพูดและการนึกคิดเป็นต้นด้วยหน้าที่ของตนๆซึ่งมีการสัมผัสและ
ความตั้งใจเป็นต้น15
๑๕
สังขารขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ดํารงอยู่ในฐานะเป็นดุจผู้ปรุงอาหารเพราะเป็นตัวปรุงแต่ง
อารมณ์ คือ เพราะทําให้วิญญาณได้ความยินดี16
๑๖
จากข้อความดังกล่าวนี้พอสรุปได้ว่า สังขารในขันธ์ ๕ คือธรรมชาติที่ทําหน้าที่ปรุงแต่ง
สังขตธรรม ที่เป็นนามธรรมมีความเกี่ยวเนื่องกันกับวิญญาณ ในพระอภิธรรม ท่านเรียกสังขาร
เหล่านี้ ว่า เจตสิก มี ๕๐ ประการ รวมกับ เวทนา และสัญญา เป็นเจตสิก ๕๒ ประการ วิญญาณ
ได้แก่ จิต ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน ๔ ประการ คือ เอกุปปาทะ เกิดพร้อมกัน เอกนิโรธะ ดับพร้อมกัน
เอกาลัมพนะ มีอารมณ์อย่างเดียวกัน คือ จิตรับอารมณ์อย่างไรเจตสิกก็รับอารมณ์อย่างนั้น เช่น สี
เขียวสีแดงเป็นต้น และสุดท้าย เอกวัตถุกะ มีที่อาศัยอย่างเดียวกัน หมายความว่า จิตเกิดจากจักษุ
เจตสิกก็เกิดจากจักษุเหมือนกัน อีกนัยหนึ่ง สังขารเปรียบเหมือนเงา วิญญาณเปรียบเหมือนเจ้าของ
เงา เมื่อเจ้าของตื่น เงาก็ตื่นด้วย เมื่อเจ้าของเงาหลับ เงาก็หลับด้วย เมื่อเจ้าของกินข้าว เงาก็กินด้วย
เมื่อเจ้าของเข้าบ้าน เงาก็เข้าด้วย
๑๔
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หน้า ๗๐/๔.
๑๕
พระญาณธชะ (แลดีสยาดอ), “ปรมัตถทีปนี”, ใน อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย
พระคันธสาราภิวงศ์, หน้า ๖๗๕.
๑๖
พระสุมังคลเถระ,“อภิธัมมัตถวิภาวินี”,ในฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ชื่อว่าอภิธัมมัตถวิภาวินีแปล, แปล
โดย พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙), เอกสารประกอบการเรียนการสอน, รวบรวมโดย พระ
มหาชะลอ ปิยาจาโร และคณะ, หน้า ๑๕๐.
๑๘
ข. ลักษณะของสังขารในขันธ์ ๕
สังขารในขันธ์ ๕ มีการประสม (ปรุงแต่ง) เป็นลักษณะ17
๑๗
ได้แก่ ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ
ปรุงแต่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มีลักษณะเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็น
สังขาร และวิญญาณ ตามที่ตนได้กะเกณฑ์ไว้แต่แรก เปรียบเหมือนนายช่างผู้ออกแบบบ้านไว้แล้ว
ลงมือทําบ้านให้มีรูปลักษณะตามที่ออกแบบไว้ในข้อนี้มีพระพุทธพจน์ในขัชชนียสูตรว่า
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขต
ธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนาโดยความเป็นเวทนา สัญญา
โดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขารวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ เพราะปรุง
แต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า สังขาร18
๑๘
จากพระพุทธพจน์นี้ คําว่า สังขารปรุงแต่งสังขตธรรม คือรูปโดยความเป็นรูปก่อน เมื่อ
พิจารณาดูแล้วเหมือนกับว่า ในเหตุการณ์นี้มีองค์ประกอบหลักอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑) ผู้สร้าง ๒) สิ่งที่
จะสร้าง (แผนผัง หรือแบบที่จะก่อสร้าง) และ ๓) ผลของสิ่งที่สร้าง (ได้รูปแบบตามแผนผัง หรือ
ตามแบบที่ได้ออกแบบไว้) จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเหลือองค์ประกอบอยู่ ๒
อย่างตรงกับพระพุทธพจน์ที่ว่า ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม ในกรณีนี้ ผู้สร้าง ได้แก่
สังขาร สิ่งที่จะสร้างและผลของสิ่งที่สร้างเสร็จแล้ว ได้แก่ สังขตธรรม ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น
เช่น วิศวกร ออกแบบบ้านไว้หนึ่งหลัง จากนั้นก็ลงมือสร้างบ้านตามที่ตนเองออกแบบไว้เมื่อสร้าง
เสร็จแล้ว เขาก็ได้บ้านตามแบบที่ออกแบบไว้ ในเหตุการณ์นี้ เบื้องต้นมีองค์ประกอบหลักอยู่ ๓
อย่าง คือ ๑) วิศวกร ผู้ออกแบบ ๒) แบบบ้านที่วิศวกรออกแบบไว้ ๓) ผลที่คาดว่าจะได้คือบ้านที่
สําเร็จรูปตามแบบที่วางไว้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เหลือองค์ประกอบอยู่ ๒ อย่าง คือ วิศวกร กับบ้านที่
สร้างเสร็จแล้ว ในที่นี้ สังขาร คือวิศวกร สังขตธรรม คือบ้าน พร้อมทั้งอุปกรณ์ทุกอย่างที่นํามา
สร้างบ้าน
สําหรับสังขตธรรมทั้ง ๔ ที่เหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ยากกว่าการ
อธิบายรูปอีกเพราะสังขตธรรมทั้ง ๔ นี้เป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างให้เห็นเหมือนรูป คัมภีร์ในชั้น
อรรถกถาก็ไม่ได้อธิบายไว้ท่านบอกแต่เพียงว่า สังขตธรรมที่เหลือก็มีอธิบายเหมือนกันกับรูป คือ
ในอรรถกถาท่านอธิบายคําว่าสังขารปรุงแต่งรูปโดยความเป็นรูปโดยยกตัวอย่างว่า
แม่ครัว หุงต้มยาคู ก็เพื่อให้เป็นยาคู ปรุงขนมก็เพื่อให้เป็นขนมนั่นเอง ฉันใด สังขาร
๑๗
วิสุทฺธิ. (ไทย) ๔๕๘/๗๔๙.
๑๘
สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๗๙/๑๒๑.
๑๙
ทั้งหลายก็ฉันนั้น ปรุงแต่ง คือประมวลมา ได้แก่ รวบรวมไว้อธิบายว่า ให้สําเร็จซึ่งรูปนั้นเอง
ที่ได้นามว่าสังขตะ เพราะปัจจัยทั้งหลายมาประชุมกันปรุงแต่ง เพื่อความเป็นรูป คือเพื่อความ
เป็นรูปนั้น โดยประการที่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง จะชื่อว่าเป็นรูปได้ แม้ในเวทนาทั้งหลาย ก็มีนัย
(ความหมายอย่างเดียวกัน)นี้แล19
๑๙
ในกรณีของเวทนาถ้าจะแยกองค์ประกอบออกเหมือนตอนอธิบายรูป ก็สามารถทําได้
คือ ๑) ผู้ปรุงแต่ง (สังขาร) ๒) ความรู้สึกที่จะปรุงแต่ง (เวทนาที่จะปรุงแต่ง) ๓) ความรู้สึกที่ปรุงแต่ง
เสร็จแล้ว (เวทนาที่ปรุงแต่งเสร็จแล้ว) ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. อยากมีความสุขที่เกิดจากการทําวัตร
สวดมนต์ เขาก็จะออกแบบรูปแบบของการทําวัตร สวดมนต์ขึ้นมาชุดหนึ่ง จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติ
ตาม ผลที่ได้คือมีความสุขจากการทําวัตรสวดมนต์
ส่วนเวทนาที่เป็นความทุกข์เป็นสิ่งที่อธิบายยากกว่าเวทนาที่เป็นความสุขเพราะคนเรา
โดยธรรมชาติไม่ชอบความทุกข์และจะไม่พยายามปรุงแต่งความทุกข์อยู่แล้วนอกจากจะประสบกับ
ความทุกข์แล้วหาวิธีแก้ไขความทุกข์ให้น้อยลงและหมดไปในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. นั่ง
กรรมฐานนานๆ เกิดอาการปวดขา แล้วก็ภาวนาว่า ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ ไปเรื่อยๆ
ในขณะที่เขาภาวนาว่า ปวดหนอ ปวดหนออยู่นั้น เขาคงไม่มีความคิดว่า อยากให้ทุกข์จากอาการ
ปวดนั้นกลายเป็นความปวดอีกแบบหนึ่งตามที่เขาต้องการ ตรงกันข้ามเขาคงคิดอยากจะให้อาการ
ปวดนั้นหายไปมากกว่า ถ้าเขากําหนดอยู่อย่างนั้นอาการปวดหายไป ก็จะกลายเป็นความสุขแทน
หรือถ้าไม่หายเขาทนอยู่ในท่านั่งต่อไปไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นอาการปวดก็จะ
หายไป ถ้าเป็นไปตามตัวอย่างนี้จะว่านาย ก. ปรุงแต่งทุกข์โดยความเป็นทุกข์ก็ไม่ได้เพราะเวทนา
มันเปลี่ยนจากความทุกข์เป็นความสุข หรือเป็นความรู้สึกเฉยๆ แล้ว เพื่อให้เข้าใจง่ายผู้วิจัยจะ
อธิบายโดยรวม คือ ผู้ปรุงแต่ง คือสังขารนั้น อยากได้เวทนาอะไรก็ปรุงแต่งเอาตามที่ตนต้องการ
ส่วนสัญญา ความจําได้ ก็คงอธิบายเหมือนกับรูปและเวทนาที่ได้อธิบายมาแล้ว
ที่น่าสนใจคือสังขารเพราะสังขารมีหลายอย่างและตัวที่ปรุงแต่งก็คือสังขารด้วย สังขารจะปรุงแต่ง
สังขารโดยความเป็นสังขารอย่างไรเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากผู้วิจัยขออธิบายโดยยกตัวอย่าง สมมติว่า
นาย ก. มีสัทธาในพระรัตนตรัยอยู่แล้ว แต่ยังเป็นสัทธาที่อ่อนคือเป็นจลสัทธา ศรัทธาที่หวั่นไหวอยู่
นาย ก. ต้องการให้สัทธาของเขากลายเป็นอจลสัทธา ศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว เขาก็จะพัฒนาหรือปรุง
แต่งสัทธาของเขาให้ยิ่งขึ้นจนกว่าจะได้อจลสัทธาตามที่เขาต้องการ หรือนาย ก. มีสติอยู่แล้วแต่ยัง
ไม่เข้มแข็งพอที่จะกําหนดกั้นกระแสอารมณ์ต่างๆ ที่ไหลเข้ามาสู่จิตใจได้ เขาต้องการให้สติของเขา
๑๙
สํ.ข.อ. (ไทย) ๒/๒๓๔.
๒๐
เข้มแข็งขึ้น ก็ต้องปรุงแต่งสติให้เข้มแข็ง มีกําลังกลายเป็นมหาสติตามที่ต้องการเช่นเดียวกับการปรุง
แต่งสัทธานั่นเอง
คําว่าวิญญาณก็คือ จิตนั่นเอง จิตของมนุษย์เป็นธรรมชาติคิดอารมณ์ เที่ยวไปในที่ต่างๆ
คือหลงไปในอารมณ์ต่างๆ ทั้งไกลและใกล้ ทั้งที่ควรไปและไม่ควรไป ที่ควรไปเช่น สถานที่ทาง
ศาสนา ที่ที่ไม่ควรไปเช่น สถานที่เริงรมย์ซึ่งเป็นที่อโคจร ตามธรรมดาจิตที่ยังไม่ได้ฝึกก็จะเที่ยวไป
ในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ถ้าได้รับการฝึกฝนอบรมอยู่บ่อยๆ จิตก็จะรู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรและไม่
ควร จากตัวอย่างนี้ คําว่าปรุงแต่งวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณก็คือปรุงแต่งวิญญาณหรือจิตที่ยัง
อ่อนไม่รู้แยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ควรให้กลายเป็นวิญญาณหรือจิตที่เข้มแข็งสามารถแยกแยะสิ่งที่
ควรและไม่ควรได้
เนื่องจากขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่อยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ สังขารจึงมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง
และอนัตตา ดังพุทธพจน์ในอนัตตลักขณสูตรตรัสถึงความเป็นอนัตตาของสังขารไว้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขาร
เหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า ‘สังขารทั้งหลายของเราจง
เป็นอย่างนี้ สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’”๒๐
ในอภิธรรมปิฎกจัดให้สังขารมีลักษณะเป็นสังขตธรรมคือธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง2 1
๒๑
ในอภิธรรมมัตถสังคหะ พระอนุรุทธาจารย์ จําแนกลักษณะของเจตสิกที่รวมถึงสังขารไว้ ๔
ประการ คือ ๑) เกิดขึ้นขณะเดียวกันกับจิต ๒) ดับขณะเดียวกันกับจิต ๓) มีอารมณ์เดียวกันกับจิต
๔) มีที่ตั้งอาศัยที่เดียวกับจิต22
๒๒
จากเนื้อความตรงนี้แสดงว่า สังขารกับวิญญาณหรือจิตอาศัยกันอยู่
ชนิดที่แยกกันไม่ออกเหมือนนํ้ากับสีที่ผสมกันแยกออกจากกันไม่ได้
ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ อธิบายไว้สั้นๆ ว่า สังขารมีการประสม (ปรุงแต่ง)๒๓
แต่ง)๒๓
เป็นลักษณะ ท่านขยายความต่อไปว่า ปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ2 4
๒๔
ท่านอ้างพระพุทธพจน์
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมเหล่านั้นย่อมปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะแล จึงได้ชื่อว่า สังขาร ดังนี้”๒๕
๒๐
สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๕๙/๙๔.
๒๑
อภิ.สํ. (ไทย) ๓๔/๑๔๕๕/๑๓๕.
๒๒
สงฺคห (บาลี) ๗, พระอนุรุทธาจารย์, “อภิธัมมัตถสังคหะ”, ใน อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถ
ทีปนีแปล, หน้า ๑๗.
๒๓
คําว่า ประสม ถ้ายึดตามศัพท์บาลี คือ อภิสงฺขโรนฺติ ก็แปลว่า การปรุงแต่ง ดังนั้น เพื่อให้เข้ากับ
ความหมายของศัพท์ผู้วิจัยจึงแปลว่า การปรุงแต่ง ในงานวิจัยนี้
๒๔
ดูรายละเอียดในวิสุทฺธิ.(ไทย)๓/๗๔๘-๗๖๖.
๒๑
จากเนื้อความที่ได้ศึกษามานี้พอสรุปลักษณะของสังขารในขันธ์ ๕ ได้ดังนี้ คือ สังขารมี
ลักษณะใหญ่สองประการ ได้แก่ ลักษณะโดยรวมคือเป็นสังขตธรรมถูกปัจจัยอื่นปรุงแต่ง ส่วน
ลักษณะเฉพาะตนคือ เป็นตัวปรุงแต่งสังขตธรรมเสียเอง ซึ่งขันธ์อื่นไม่สามารถปรุงแต่งได้จะถูก
ปัจจัยอื่นปรุงแต่งฝ่ายเดียว และมีลักษณะเหมือนกันกับขันธ์อื่นคือ ถูกปัจจัยอื่นปรุงแต่งด้วย
๒.๑.๔ ความหมายและลักษณะของสังขารในปฏิจจสมุปบาท
ก. ความหมายของสังขารในปฏิจจสมุปบาท
สังขารในปฏิจจสมุปบาท เป็นส่วนหนึ่งของสังขารในขันธ์ ๕ หมายถึง ความจงใจ หรือ
เจตนา มีรูปวิเคราะห์ว่า
สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺมํ อภิสงฺขโรนฺติ เอเตหีติ สงฺขารา สัตว์ทั้งหลายย่อมปรุงแต่ง
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรมโดยเจตนาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เจตนาที่เป็นเหตุ
แห่งการปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร26
๒๖
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต) ได้อธิบายสังขารในปฏิจจสมุปบาทตามแนวพระ
อภิธรรมสรุปใจความได้ว่า สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ความจงใจ หรือ เจตนา ความจงใจ
ทางกาย เรียกว่า กายสังขาร หรือ กายสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ประการที่เป็นไปทางกายทวาร
ในพระอภิธรรม คือ กามาวจรกุศล ๘ ประการ อกุศล ๑๒ ประการ ความจงใจทางวาจา เรียกว่า
วจีสังขาร หรือ วจีสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ประการที่เป็นไปทางวจีทวาร คือ กามาวจรกุศล ๘
ประการ อกุศล ๑๒ ประการ ความจงใจทางใจ เรียกว่า จิตตสังขาร หรือ มโนสัญเจตนา ได้แก่
เจตนา ๒๙ ประการ ในมโนทวารที่ยังไม่แสดงออกเป็นกายวิญญัติ และวจีวิญญัติ อีกนัยหนึ่ง
สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปุญญาภิสังขาร ความดีที่ปรุงแต่งชีวิต ได้แก่ กุศลเจตนาฝ่าย
กามาวจรและฝ่ายรูปาวจร ๑๓ ประการ คือ กามาวจรกุศล ๘ ประการ รูปาวจรกุศล ๕ ประการ
อปุญญาภิสังขาร ความชั่วที่ปรุงแต่งชีวิต ได้แก่ อกุศลเจตนาฝ่ายกามาวจรทั้ง ๑๒ ประการ
อาเนญชาภิสังขาร ภาวะมั่นคงที่ปรุงแต่งชีวิต ได้แก่ กุศลเจตนาฝ่ายอรูปาวจรทั้ง ๔ ประการ27
๒๗
๒๕
สงฺขตมภิสงฺขโรนฺตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา สงฺขารา วุจฺจนฺตีติ; สํ.ข. (บาลี) ๑๗/๑๕๙/๑๐๖; ดู
เพิ่มเติมใน วิสุทฺธิ. (บาลี) ๓/๓๖.
๒๖
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปฏิจจสมุปบาททีปนี, หน้า ๓๖.
๒๗
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๙๗-๙๘.
๒๒
บรรจบ บรรณรุจิ ได้ให้ความหมายสังขารในปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า สังขารที่เป็นตัวปรุง
แต่ง หมายถึง สังขารที่ปรุงแต่งจิตหรือวิญญาณให้เกิดการรับรู้อารมณ์อยู่เสมออย่างต่อเนื่อง คือ
เจตนานั่นเอง28
๒๘
วัชระ งามจิตรเจริญ ได้ให้ความหมายของสังขารในปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า สังขาร คือ
เจตนาอันได้แก่ความจงใจหรือความตั้งใจ ซึ่งเป็นอันเดียวกับกรรม29
๒๙
จากเนื้อความที่ได้ศึกษามานี้พอสรุปได้ว่า ความหมายของสังขารในปฏิจสมุปบาท
ได้แก่ เจตนา ความตั้งใจ ความจงใจ หรือกรรม คือผลของการทํากรรมอย่างใดหนึ่ง ทางทวารใด
ทวารหนึ่ง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร การกระทําทางกายทวาร เรียกว่า กายกรรม การ
กระทําทางวจีทวาร เรียกว่า วจีกรรม การกระทําทางมโนทวาร เรียกว่า มโนกรรม
ข. ลักษณะของสังขารในปฏิจจสมุปบาท
ลักษณะของสังขารในปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ สภาวะที่ปรุงแต่ง กาย วาจา ใจ สภาวะที่
ปรุงแต่งกาย เรียกว่า กายสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา เรียกว่า วจีสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งใจ
เรียกว่า จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร ปรุงแต่งในทางดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งในทางไม่ดี
เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งกลาง ๆ เรียกว่า อเนญชาภิสังขาร
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค3 0
๓๐
พระพุทธโสฆเถระ อธิบายสังขารในปฏิจจสมุปบาทสรุป
ใจความได้ว่า สังขาร หมายถึง ธรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น สังขารมี ๒ อย่าง คือ
สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยกับสังขารที่มาโดยสังขารศัพท์ สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัย ได้แก่
สังขาร ๒ กลุ่มๆ ละ ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร และกายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาฝ่าย
โลกิยะ ส่วนสังขารที่มาโดยสังขารศัพท์มีอยู่ ๔ อย่าง คือ สังขตสังขาร (สังขารคือสิ่งที่ปัจจัยของ
ตนๆ แต่งขึ้น) อภิสังขตสังขาร (สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น) อภิสังขรณกสังขาร (สังขารคือตัว
กรรมผู้เป็นเจ้าหน้าที่แต่ง) ปโยคาภิสังขาร (สังขารคือความเพียรพยายาม)
บรรจบ บรรณรุจิ ได้อธิบายลักษณะของสังขารที่เป็น เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจไว้
ว่า เจตนา มีทั้งที่เป็นฝ่ายดี (กุศล) และฝ่ายชั่ว (อกุศล) ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากอวิชชา เพราะอวิชชา
๒๘
บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๒๓.
๒๙
วัชระ งามจิตรเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), หน้า ๑๒๙.
๓๐
วิสุทฺธิ.(ไทย) ๕๘๗/๘๕๕.
๒๓
มิได้หมายความว่าไม่รู้ดีไม่รู้ชั่วอย่างเดียว แต่รวมไปถึงความหมายว่า รู้ดีรู้ชั่วด้วย เสียแต่ว่า ความรู้
ดีรู้ชั่วนั้นยังไม่สามารถมีผลถึงขั้นเปลี่ยนแปลงความคิด รวมทั้งพฤติกรรมให้เป็นไปในทางดีฝ่าย
เดียวได้ตลอดเวลา กุศลเจตนา ความตั้งใจฝ่ายดี ความจงใจฝ่ายดี อันเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมทาง
กายที่ดี (ทําดี) อาทิ การให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น จัดเป็นกายสัญเจตนาฝ่ายดี อันเป็นเหตุให้เกิด
พฤติกรรมทางวาจา (พูดดี) อาทิ การพูดคําจริง การพูดคําอ่อนหวาน จัดเป็นวจีสัญเจตนาฝ่ายดี อัน
เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมทางใจที่ดี (คิดดี) อาทิ คิดเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คิดเมตตา จัดเป็นมโน
สัญเจตนาฝ่ายดี ส่วนอกุศลเจตนา มีความหมายตรงกันข้ามกับกุศลเจตนา กายสัญเจตนา วจี
สัญเจตนา และมโนสัญเจตนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร เหตุที่เรียก
เช่นนั้น เพราะมุ่งถึงประเด็นที่ว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง31
๓๑
วัชระ งามจิตรเจริญ ได้อธิบายสังขารในปฏิจจสมุปบาทสรุปใจความได้ว่า สังขาร คือ
ปุญญาภิสังขาร (กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร) อปุญญาภิสังขาร (อกุศลเจตนาที่เป็น
กามาวจร) อาเนญชาภิสังขาร (กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและอรูปาวจร) จําแนกตามสภาพที่เป็น
กุศลหรืออกุศล ปุญญาภิสังขารกับอาเนญชาภิสังขาร จัดเป็นสังขารฝ่ายกุศล อปุญญาภิสังขาร
จัดเป็นสังขารฝ่ายอกุศล ส่วนกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร จําแนกตามทวารที่เกี่ยวข้อง
กล่าวคือสังขารหรือเจตนาที่ทําให้เกิดการกระทําทางกายเรียกว่า “กายสังขาร” ที่ทําให้เกิดการ
กระทําทางวาจาเรียกว่า “วจีสังขาร” และที่ทําให้เกิดการกระทําทางใจเรียกว่า “จิตตสังขาร”3 2
๓๒
สังขารคือเจตนาหรือความจงใจที่จะทํากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งทางทวารทั้ง ๓ ทวารใดทวารหนึ่ง
ได้แก่ความจงใจหรือความตั้งใจซึ่งเป็นตัวเดียวกับกรรม33
๓๓
จากข้อความที่ได้ศึกษามานี้พอสรุปได้ว่า สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง เจตนาที่
ก่อให้เกิดการกระทําหรือคือกรรมนั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ต้องได้รับผลของการกระทําที่เกิด
จากเจตนาตามสมควรแก่การกระทํา เจตนาในที่นี้เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล เจตนาที่เป็นกุศลจะ
นําไปสู่การกระทําที่ดีมีผลหรือวิบากดีตามมา เจตนาที่เป็นอกุศลจะนําไปสู่การกระทําที่ไม่ดีมีผล
หรือวิบากชั่วตามมา เจตนาที่เป็นอกุศลเกิดได้ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ คือ เกิดจากโลภะ ความ
โลภ เกิดจากโทสะ ความโกรธ และเกิดจากโมหะ ความหลง อกุศลเจตนานี้จัดเป็นอปุญญาภิสังขาร
เจตนาที่เป็นกุศลมีทางเกิดได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจเช่นเดียวกัน ได้แก่ กามาวจรกุศล คือ
กุศลเจตนาที่ทําให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามาวจรภูมิ คือ สวรรค์ ๖ ชั้น และรูปาวจรกุศล คือ
กุศลเจตนาที่ทําให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในรูปาวจรภูมิหรือรูปพรหม
๓๑
บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๒๑.
๓๒
วัชระ งามจิตรเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, หน้า ๑๒๓.
๓๓
เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๙.
๒๔
๒.๒ ประเภทของสังขาร
สังขารที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
สังขารที่ปรากฏในพระไตรปิฎก มี ๑ ประเภท แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ แบ่ง
ตามทวารที่เกิดได้แก่กายสังขารวจีสังขาร จิตตสังขาร34
๓๔
กลุ่มที่๒ แบ่งตามคุณค่า ได้แก่ ปุญญาภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายไม่ดี อเนญชาภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่งภพอันไม่หวั่นไหว35
๓๕
สังขารที่ปรากฏในอรรถกถา มี ๑ ประเภท แบ่งตามสังขารที่มีกรรมและกิเลสไม่ยึด
ครอง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครอง หรือสังขารที่มีใจครอง และอนุปา
ทินนกสังขาร สังขารที่กรรมและกิเลสไม่ยึดครอง หรือสังขารที่ไม่มีใจครอง36
๓๖
อีกนัยหนึ่งสังขารที่กล่าวมานี้ยังสามารถจําแนกออกเป็น ๒ ประเภท ได้อีกคือ สังขารที่
เป็นรูปธรรม และสังขารที่เป็นนามธรรม ดังนี้
๑) สังขารที่เป็นรูปธรรม
สังขารที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครองและไม่ยึดครอง หรือตาม
สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต คือ อุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนกสังขาร แต่ละประเภทมี
รายละเอียดพอสังเขปดังนี้
(๑) อุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารที่มีกรรมและกิเลสยึดครองหรือเกาะกุมหรือ
เรียกว่าสังขารที่มีใจครอง ได้แก่ ร่างกายมนุษย์เทวดา มาร พรหม สัตว์ ทั้งหลาย เป็นประเภทที่มี
ตัวรับรู้อารมณ์มากระทบให้ปรุงแต่งเกิดการกระทําต่างๆ เป็นกรรมที่ยึดครองต่อไป
(๒) อนุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารที่กรรมและกิเลสไม่ยึดครองหรือเกาะกุม
ทั้งหมด ยกเว้นแต่อสังขตธาตุคือนิพพาน ได้แก่ สิ่งต่างๆ บนโลก เช่น ต้นไม้ ภูเขา อาคารบ้าน
เรือน เป็นต้น สังขารเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างประจวบกัน เช่น ต้นไม้ เกิดจากมีเมล็ดพืชที่
เหมาะสม มีนํ้าที่พอเหมาะ อากาศที่พอเหมาะ ดินที่พอเหมาะกับต้นไม้นั้น ก็เจริญงอกงามเป็น
ต้นไม้ หรือ ไฮโดรเจน ๒ ตัว (H2) กับออกซิเจน ๑ ตัว (O) ปรุงแต่งผสมกันเกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกิด
เป็นนํ้า (H2O) เป็นต้น
๓๔
ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๒/๙๗, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๕๗/๔๙๕, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๖๓/๕๐๓-๕๐๕.
๓๕
ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕/๑๔, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๕/๒๖๘, สํ.นิ. (ไทย) ๑๖/๕๑/๑๐๑.
๓๖
ม.มู.อ. (บาลี) ๑/๔๓๑, ม.มู.อ. (ไทย) ๑/๖๙๕.
๒๕
๒) สังขารที่เป็นนามธรรม
สังขารที่เป็นนามธรรม ได้แก่ สังขารที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทางกาย วาจา
ใจ เรียกตามชื่อฐานที่เกิดว่า กายสังขาร วจีสังขาร และ จิตตสังขาร3 7
๓๗
และสังขารที่จําแนกตาม
คุณค่า คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร3 8
๓๘
สังขารแต่ละประเภทมี
รายละเอียดโดยสังเขปดังนี้
กายสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งการกระทําทางกาย วจีสังขาร หมายถึง สภาพที่
ปรุงแต่งการกระทําทางวาจา และ จิตตสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งการกระทําทางใจ หรือ
กายสังขาร หมายถึง ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก วจีสังขาร หมายถึง
สภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก วิจาร และ จิตตสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งจิต ได้แก่สัญญาและ
เวทนา39
๓๙
ปุญญาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี อปุญญาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่
ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว และอาเนญชาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว4 0
๔๐
สังขารทั้ง ๓ ประเภทนี้ จะมีที่แสดงออกมาทางทวารทั้ง ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั่นเอง
ต่อไปนี้จะได้นําเอาสังขารแต่ละประเภทที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้นไปจัดเข้าใน
สังขารในไตรลักษณ์ สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาทตามลําดับ
๒.๒.๑. ประเภทของสังขารในไตรลักษณ์
เมื่อว่าโดยประเภทของสังขารในไตรลักษณ์จะมีอยู่ประเภทเดียวคือสังขารที่เป็นสังขตธรรม
รวมเอาสังขารทั้งหมด ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ลักษณะที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งของสังขตธรรมมี ๓ ประการ คือ ปรากฏความเกิด ปรากฏความดับ ขณะที่ดํารงอยู่
ปรากฏความเปลี่ยนแปลง41
๔๑
ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี พระพุทธโฆสเถระ ได้อธิบายสังขตธาตุทั้งสอง
๓๗
ม.มู.(บาลี) ๑๒/๑๐๒/๗๓, ม.มู.(ไทย) ๑๒/๑๐๒/๙๗, ขุ.ป.อ.(ไทย) ๗/๑/๘๘๒, สํ.นิ.(ไทย) ๑๖/๒/๘.
๓๘
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๘.
๓๙
สํ.ส. (ไทย) ๑๘/๓๔๘/๓๘๒, อภิ.ย. (ไทย) ๓๘/๑/๔๔๖.
๔๐
ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต ๘ และรูปาวจรกุศลจิต ๕,
อปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นบาป ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒, อาเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอาเนญชา
สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ อรูปาวจรกุศลจิต ๔; ขุ.ม.อ. (ไทย) ๕/๑/๕๓๕. ขุ.ป.อ.(ไทย)
๗/๑/๙๐๙,๙๘๕.
๔๑
องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙.
๒๖
ด้วยคําว่า “สังขตธรรม” ได้แก่ อันปัจจัยทั้งหลายประชุมกันทําขึ้น คําว่า “สังขตธรรม” นี้เป็นชื่อ
ของขันธ์ ๕42
๔๒
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายว่า สังขตธรรม หมายถึง ธรรมที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้า
หรือสิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร ซึ่งมีรากศัพท์และ
คําแปลเหมือนกัน หมายถึง สภาวะทุกอย่างทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ ทั้งที่ดีที่ชั่วและที่เป็นกลางๆ ทั้งหมดเว้นแต่นิพพาน43
๔๓
จากความหมายของสังขตธรรมในที่นี้ทําให้ทราบว่า สังขารในไตรลักษณ์ คลอบคลุม
หมดทุกอย่าง คือทั้งสภาวะที่ปรุงแต่ง ทั้งสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เช่น เจตนา (กรรม) เป็นตัวปรุง
แต่งสภาวธรรมอื่นๆ แต่เจตนาก็ถูกปัจจัยอื่นปรุงแต่งเช่นกัน ดังนั้น จึงกล่าวอย่างรวบรัดว่า สังขาร
หรือสังขตธรรมครอบคลุมทุกสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็น
ร่างกายหรือจิตใจ มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอก รวมทั้งบุญ บาป หรือกุศล
อกุศล ก็จัดเป็นสังขตธรรมเพราะถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเหมือนกัน สมกับเนื้อความในอังคุตตรนิกาย
ทุกนิบาต สนิมิตตวรรคว่า ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มี
สังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นจึงไม่มี4 4
๔๔
บทสนทนาระหว่างวิสาขะอุบาสกกับพระธัมมทินนาเถรี ที่ปรากฏในจูฬเวทัลล
สูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ตอนหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม4 5
๔๕
จากตัวอย่างที่
ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งสองแห่งนี้เป็นสังขตธรรมที่เป็นนามธรรม ส่วนที่เป็นรูปธรรม เช่น
สิ่งมีชีวิต ได้แก่ สัตว์ทุกประเภท มีมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน สิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ภูเขา ป่ าไม้ อาคาร
บ้านเรือน เป็นต้น
จากหลักฐานที่ได้ศึกษามานี้สามารถนํามาตีความและแยกประเภทของสังขารใน
ไตรลักษณ์ได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
๑) แบ่งตามทวารที่เกิดมี ๓ อย่าง คือ
กายสังขาร ได้แก่ สภาพปรุงแต่งกาย คือลมหายใจเข้าลมหายใจออก
วจีสังขาร ได้แก่ สภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก ความนึกคิด วิจาร ความไตร่ตรอง
๔๒
ม.อุ.อ. (ไทย) ๔/๑๒๕/๖๔.
๔๓
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),พุทธธรรม,(ฉบับปรับปรุงและขยายความ),หน้า๗๐/๑-๗๐/๒.
๔๔
องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๘๗/๑๐๖.
๔๕
ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๖๒/๒๙๘.
๒๗
จิตตสังขาร ได้แก่ สภาพปรุงแต่งจิต คือ สัญญาและเวทนาซึ่งปรุงแต่งจิตให้เป็นไปใน
อารมณ์ต่างๆ46
๔๖
๒) แบ่งตามคุณค่ามี ๓ อย่าง คือ
ปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งที่เป็นบุญ
อปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งที่เป็นบาป
อเนญชาภิสังขาร การปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่อรูปฌาน ๔47
๔๗
๓) แบ่งตามอาการมี ๒ อย่าง คือ
สังขารประเภทที่สามนี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่มีปรากฏในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
คือ สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครองหรือสังขารที่มีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) ได้แก่ มนุษย์สัตว์
เดรัจฉา เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น ซึ่งสังขารเหล่านี้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน
วัฏฏสงสารต่อไปจนกว่าจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
สังขารที่กรรมและกิเลสไม่ยึดครอง หรือสังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร)
ได้แก่ แผ่นดิน ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ และอากาศ สังขารเหล่านี้ไม่มีวิญญาณ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
เหมือนสังขารอย่างแรก แต่ตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือต้องเปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลาไม่
สามารถทรงสภาพเดิมอยู่ได้48
๔๘
สรุปได้ว่า สังขารในไตรลักษณ์ว่าโดยองค์รวมมีอยู่ประเภทเดียว คือ สังขารที่เป็น
สังขตธรรม หรือสังขารที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่วนที่เป็นรูปธรรมคือ
รูปขันธ์ในขันธ์ ๕ ได้แก่ ร่างกายของมนุษย์สัตว์ประเภทต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏเป็นรูปร่าง
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น หรือหมายถึงสิ่งที่ปัจจุบันวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เรียกว่า “สสารและพลังงาน”
ทั้งหมด ส่วนที่เป็นนามธรรมคือ วิญญาณหรือจิต และเวทนา สัญญา สังขาร ในขันธ์ ๕ ที่ฝ่าย
อภิธรรมเรียกรวมกันว่าเจตสิกที่มาคู่กับวิญญาณ อันได้แก่อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ
ของเราและอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนอื่น สัตว์อื่น และสภาพที่ทําให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นวัตถุอื่นๆ ด้วย แต่เนื่องจากเป็นสังขารที่คลอบคลุมทุกอย่างจึงสามารถ
นํามาแยกย่อยได้อีกเป็น ๓ กลุ่มหรือ ๓ ประเภท ดังที่ได้แยกไว้แล้วนั้น ซึ่งสังขารทั้ง ๓ กลุ่มนั้น
สามารถจัดเข้าในประเภทของสังขารในไตรลักษณ์ได้ทั้งหมด เหตุผลเพราะว่า สังขารเหล่านั้นตก
๔๖
ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๐๒/๔๒, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๒/๖๐.
๔๗
ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕/๑๔, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๕/๒๖๘.
๔๘
ม.มู.อ. (ไทย) ๑/๒๖๖.
๒๘
อยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ สังขารในไตรลักษณ์เป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม คือ สังขารที่เป็น
รูปธรรมได้แก่ ๑) อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครอง หรือสังขารที่มีใจครอง
ได้แก่ มนุษย์และสัตว์ต่างๆ รวมถึง เทวดา และรูปพรหมด้วย ๒) อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่
กรรมและกิเลสไม่ยึดครอง หรือสังขารที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ แผ่นดิน ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ และ
อากาศ ส่วนสังขารที่เป็นนามธรรม ได้แก่สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาททั้งหมด
๒.๒.๒ ประเภทของสังขารในขันธ์ ๕ กับเจตสิกในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม
สังขารในขันธ์ ๕ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เจตสิก มี ๕๐ อย่าง (เว้นเวทนาและสัญญา)
ในพระไตรปิฎก หมวดพระอภิธรรม ได้กล่าวถึงสังขารขันธ์ไว้ทั้งหมด ดังนี้ คือ ผัสสะ เจตนา
วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ
สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท
สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ
สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกัน
เกิดขึ้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์49
๔๙
ประเภทของสังขารในขันธ์ ๕ มีการแบ่งประเภทไว้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกามีการ
แบ่งประเภทแตกต่างกันไปบ้าง เช่นในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ ผู้จรนาคัมภีร์ได้แบ่ง
ประเภทของสังขารในขันธ์ ๕ ไว้เป็น ๓ หมวด คือ สังขารที่ประกอบกับกุศลจิต สังขารที่ประกอบ
กับอกุศลจิต และสังขารที่ประกอบกับอัพยากฤตจิต (เป็นกลางๆ)5 0
๕๐
ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ
พระอนุรุทธาจารย์เรียกชื่อว่าเจตสิกแบ่งเป็น๓หมวดเช่นกันต่างกันแต่ชื่อหมวด ดังนี้ โสภณเจตสิก
๒๕ อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนาและสัญญา) และ อกุศลเจตสิก ๑๔5 1
๕๑
ส่วนคัมภีร์ฎีกา เช่น
อภิธัมมัตถวิภาวินี ซึ่งเป็นคัมภีร์ฎีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้แยกประเภทออกเป็นอย่างอื่น เป็น
การอธิบายเนื้อความเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์อรรกถกถาดังกล่าว52
๕๒
๔๙
อภิ.สงฺ. (ไทย) ๓๔/๖๒/๓๘, ๑๑๔/๔๘.
๕๐
ดูรายละเอียดใน วิสุทฺธิ. (ไทย) ๔๕๙-๔๗๐/๗๔๙-๗๕๖.
๕๑
ดูรายละเอียดใน สงฺคห(บาลี) ๘.
๕๒
ดูรายละเอียดใน สงฺคห (บาลี) ๗-๑๐, พระอนุรุทธาจารย์ “อภิธัมมัตถสังคหะ”, ใน อภิธัมมัตถ-
สังคหะและปรัมัตถทีปนี, แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์, พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทาน
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่

Contenu connexe

Tendances

บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานOnpa Akaradech
 
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏพุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏCUPress
 
บทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติบทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติOnpa Akaradech
 
ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์Padvee Academy
 
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานpop Jaturong
 
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดPadvee Academy
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกAnchalee BuddhaBucha
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาPadvee Academy
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานpop Jaturong
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1saoBenz
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธNopporn Thepsithar
 
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนาบทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนาPadvee Academy
 

Tendances (20)

บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
 
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏพุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
 
บทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติบทที่ 3 วิมุตติ
บทที่ 3 วิมุตติ
 
ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์
 
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
 
อริยสัจ 4
อริยสัจ 4อริยสัจ 4
อริยสัจ 4
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
 
ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
 
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎกถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
มงคล38
มงคล38มงคล38
มงคล38
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
2014-07-04 การบริหารงานแนวพุทธ
 
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนาบทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
บทที่ 3 ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 

En vedette

Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)adamoa4
 
Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.KUMAR LANG
 
Hergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatieHergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatieArjan Fassed
 
ประเภทของกฏหมาย
ประเภทของกฏหมายประเภทของกฏหมาย
ประเภทของกฏหมายnongnoon
 
Simple present presentation
Simple present presentationSimple present presentation
Simple present presentationFlavio Barba
 
vBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas Rosland
vBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas RoslandvBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas Rosland
vBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas RoslandJonas Rosland
 
Open data en hergebruik
Open data en hergebruikOpen data en hergebruik
Open data en hergebruikArjan Fassed
 
Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.KUMAR LANG
 
Activity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de ActivityActivity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de ActivityMessias Batista
 
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...Jonas Rosland
 
Using punctuation marks
Using punctuation marksUsing punctuation marks
Using punctuation marksEric Cruz
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

En vedette (20)

ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑
ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑
ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑
 
Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)Don orione nel mondo in italiano (1)
Don orione nel mondo in italiano (1)
 
Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.Gatekeepers - How to get pass them.
Gatekeepers - How to get pass them.
 
บทคัดย่อ (พฤติกรรม)1
บทคัดย่อ (พฤติกรรม)1บทคัดย่อ (พฤติกรรม)1
บทคัดย่อ (พฤติกรรม)1
 
Hergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatieHergebruik overheidsinformatie
Hergebruik overheidsinformatie
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
ประเภทของกฏหมาย
ประเภทของกฏหมายประเภทของกฏหมาย
ประเภทของกฏหมาย
 
Simple present presentation
Simple present presentationSimple present presentation
Simple present presentation
 
พระพุทธศาสนาในสหรัฐ
พระพุทธศาสนาในสหรัฐพระพุทธศาสนาในสหรัฐ
พระพุทธศาสนาในสหรัฐ
 
vBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas Rosland
vBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas RoslandvBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas Rosland
vBrownbag 2013 June 4th - Puppet and Razor - Jonas Rosland
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
Open data en hergebruik
Open data en hergebruikOpen data en hergebruik
Open data en hergebruik
 
Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.
 
Activity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de ActivityActivity e Ciclo de Vida de Activity
Activity e Ciclo de Vida de Activity
 
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
PuppetCamp London 2013 - Automated OS and App deployment using Puppet and Raz...
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
Simple Present
Simple PresentSimple Present
Simple Present
 
Using punctuation marks
Using punctuation marksUsing punctuation marks
Using punctuation marks
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
 

Similaire à บทที่ ๒ ใหม่

สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาสสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาPunya Benja
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตfreelance
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะPadvee Academy
 
ประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGms
ประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGmsประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGms
ประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGmspyopyo
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานPadvee Academy
 
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปดสำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปดTongsamut vorasan
 
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์boomlove
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Similaire à บทที่ ๒ ใหม่ (20)

บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
 
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาสสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
 
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
 
ประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGms
ประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGmsประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGms
ประเพณีไทยและการฝังศพของชุมชนโบราณในGms
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปดสำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
ภาษาไทย คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
 

Plus de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Plus de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
แนวข้อสอบของนิสิต ครั้งที่ ๒
 
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
 

บทที่ ๒ ใหม่

  • 1. บทที่ ๒ หลักคําสอนเรื่องสังขารในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังขารในพระพุทธศาสนา ในบทนี้จะได้ศึกษา ความหมาย ลักษณะ ประเภท และบทบาทของสังขารที่มีต่อการดําเนินชีวิตของมนุษย์ที่ปรากฏ ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ซึ่งจะได้ศึกษาในรายละเอียดของแต่ละสังขารเป็นลําดับไป ๒.๑ ความหมายและลักษณะของสังขาร สังขารในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้ ๓ อย่าง คือ สังขารในไตรลักษณ์ สังขารใน ขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารในไตรลักษณ์ มีสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ สังขารในขันธ์ ๕ คือ ความคิดปรุงแต่งดีและไม่ดีที่เป็นนามธรรม ส่วนสังขาร ในปฏิจจสมุปบาทมีสภาวะที่อาศัยปัจจัยอื่นเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสังขารเหล่านี้ก็ตกอยู่ภายใต้กฎ ของไตรลักษณ์ ก่อนที่จะทราบรายละเอียด ผู้วิจัยจะได้ศึกษาความหมายของสังขาร ดังนี้ ๒.๑.๑ ความหมายของสังขารตามสัททศาสตร์ ในด้านสัททศาสตร์คําว่า “สังขาร” สําเร็จรูปมาจาก สํ บทหน้า + กร ธาตุ + ณ ปัจจัย สํ อุปสรรคมีอรรถว่า “ประชุม” ส่วน กร ธาตุมีอรรถว่า “กระทํา ปรุงแต่ง” คําว่า สังขาร จึงมี ความหมายว่า ธรรมที่มาประชุมกันแล้วปรุงแต่ง0 ๑ โดยสามารถวิเคราะห์รูปศัพท์ได้ดังนี้ สงฺขตํสงฺขโรนฺติ อภิสงฺขโรนฺตีติ สงฺขารา ธรรมเหล่าใดย่อมปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็น ผลโดยตรง เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังขาร สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺมํ อภิสงฺขโรนฺติ เอเตหีติ สงฺขารา สัตว์ทั้งหลายย่อมปรุงแต่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรมโดยเจตนาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เจตนาที่เป็นเหตุ แห่งการปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร1 ๒ ๑ พระญาณธชะ(แลดีสยาดอ), “ปรมัตถทีปนี”,ใน อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย พระ คันธสาราภิวงศ์,พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมราชานุวัตร(กมล โกวิโท ป.ธ.๖), (กรุงเทพมหานคร : หจก. ไทยรายวัน กราฟฟิค เพลท, ๒๕๔๖), หน้า ๖๗๖. ๒ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปฏิจจสมุปบาททีปนี, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘), หน้า ๓๖.
  • 2. ๑๓ ในปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ให้ความหมายของสังขารไว้๕ นัย คือ ๑) สังขารในความหมายว่า สํขต (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) ๒) สังขารในความหมายว่า ปุ�ฺญาภิสงฺขาราทิ (สภาพที่ปรุงแต่งในปัจจยาการ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) ๓) สังขาร ในความหมายว่า ปโยค (พยายาม) ๔) สังขารในความหมายว่า กายสงฺขาราทิ (สิ่งที่ปรุงแต่งหรือ ปรนปรือกาย คือ ลมหายใจ เป็นต้น) ๕) อภิสํขรณ (การปรุงแต่ง)2 ๓ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)3 ∗ ได้ให้ความหมายของสังขารไว้ว่า ๑) สิ่งที่ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ๒) สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การ กระทํา มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆ เป็นอัพยากฤตได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือเจตสิก ทั้งปวงเว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว4 ๔ บรรจบ บรรณรุจิ ให้ความหมายของสังขารว่า คําว่า “สังขาร” ประกอบด้วยคํา สํ (พร้อม, ต่อเนื่อง, ติดต่อ) กรฺ (ทํา, แต่ง, สร้าง) ณ ปัจจัย อ การันต์สําเร็จรูปเป็น สงฺขาร ไทยนํามาใช้ ในรูปคําว่า “สังขาร” หมายถึง ทําพร้อม ทําต่อเนื่อง ทําติดต่อ ทําเสมอ หรือปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ต่อเนื่อง ปรุงแต่งติดต่อ ปรุงแต่งเสมอ5 ๕ จากความหมายของสังขารที่ได้ศึกษามา พอสรุปได้ว่า คําว่า “สังขาร” มีความหมายอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑) สังขารที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และ ๒) สังขารที่เป็นตัวปรุงแต่งเอง สังขารที่หมายถึงสิ่ง ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ สังขตธรรมหรือสังขตธาตุทุกอย่างที่มีอยู่ในจักรวาลทั้งสิ่งที่มีชีวิตและ สิ่งไม่มีชีวิต ส่วนสังขารที่ทําหน้าปรุงแต่งเป็นสังขารฝ่ายนามธรรม ได้แก่สังขารในขันธ์ ๕ ทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์ สังขารเหล่านี้นอกจากจะถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ยังทําหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งอื่นด้วย ในขณะเดียวกันก็ปรุงแต่งกันเองด้วย จะได้อธิบายรายละเอียดของ สังขารแต่ละอย่างเป็นลําดับไป ๓ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ, ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต, (กรุงเทพมหานคร : หจก.ศิวพร, ๒๕๑๓), หน้า ๗๕๖-๗๕๗. ปัจจุบันเป็นพระพรหมคุณาภรณ์ ∗ ปัจจุบันเป็นพระพรหมคุณาภรณ์ ๔ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๓๐๙. ๕ บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙), หน้า ๒๐.
  • 3. ๑๔ ๒.๑.๒ ความหมายและลักษณะของสังขารในไตรลักษณ์ คําว่า “ไตรลักษณ์”หมายถึงลักษณะ๓ประการได้แก่ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ความ ไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ความมิใช่ตัวตน6 ๖ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัญลักษณะได้แก่ ลักษณะที่มีเสมอ กันแก่สังขารทั้งปวง มี ๓ประการดังกล่าวนั้น7 ๗ สังขารในไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุง แต่งขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน8 ๘ สังขารในไตรลักษณ์ครอบคลุมสังขารทั้งหมด คือ ทั้งสังขารใน ขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท มีลักษณะผันแปรเปลี่ยนแปลงไม่คงที่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งให้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่จํากัดกาลเวลาและสถานที่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่เรามอง ไม่เห็นด้วยตาเปล่าเพราะถูกปิดไว้ด้วยสันตติ ความสืบต่อที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลง ของอิริยาบถที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไม่ยอมหยุดนิ่ง เพราะความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สิ่งที่เป็น รูปธรรมทั้งมีใจครองและไม่มีใจครอง ที่มีใจครอง นับตั้งแต่สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา จนถึง พรหมทุกชั้น ล้วนแต่เป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ตกอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน ต่างกันแต่ความหมายความละเอียดของรูปขันธ์ และกาลเวลาของสัตว์แต่ละจําพวกเท่านั้น เช่น บางจําพวกมีขันธ์ไม่ครบ ๕ ขันธ์ ได้แก่อรูปพรหม มีเพียง ๔ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ บางพวกมีครบแต่มีรูปขันธ์ละเอียดและอยู่คนละมิติจึงไม่สามารถมองเห็นกันได้ เช่น สัตว์ นรก เปรต อสุรกาย เทวดา และรูปพรหมทั้งหมด สัตว์เหล่านี้มีรูปลักษณะแตกต่างกันตามชาติพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และสถานที่ เช่น มนุษย์พวกที่เกิดแถบเมืองหนาวโดยมากจะมีผิวขาว ตัวสูงใหญ่ พวก ที่เกิดแถบเมืองร้อนจะมีผิวคลํ้า ตัวเล็ก เป็นต้น ศักยภาพของสมองและร่างกายก็แตกต่างกัน ตาม ขนาดของรูปร่างและบุญบารมีที่ได้สั่งสมมาแยกตามลักษณะของกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา จากข้อความดังกล่าว พอสรุปได้ว่า สังขารในไตรลักษณ์ คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทุกสิ่ง ทุกอย่างทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต คือเป็ นทั้งรูปและนาม เป็ นสภาวะที่ไม่คงทนถาวรมีการ ๖ องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๑๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๑๔๐. ๗ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๓๓๔. ๘ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๗๐/๔-๕.
  • 4. ๑๕ เปลี่ยนแปลงและแตกสลายไปตามเหตุปัจจัยและกาลเวลา เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่ไม่มีใคร สร้างหรือบันดาลขึ้น จะมีคนรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ธรรมชาติเหล่านี้ก็มีอยู่ตามธรรมดาของมัน มีคุณค่า อยู่ในตัว ไม่มีใครเป็นผู้กําหนดคุณค่าให้ได้แม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ไม่ได้บอกว่า กฏธรรมชาติ เหล่านี้เป็นของพระองค์ เพียงแต่พระองค์เป็นผู้ค้นพบแล้วนํามาบอกกล่าวให้คนอื่นรู้ตาม และ อธิบายให้ง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจแล้วนําไปพิจารณาไตร่ตรองให้เห็นตามความเป็นจริง ก. ลักษณะที่เป็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง) ของสังขาร ลักษณะที่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงของสังขาร ได้แก่สิ่งที่มีความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป9 ๙ อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ความเป็นของสิ้นไป (ขยฏฺเฐน)1 0 ๑๐ หมายความว่า เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใด ก็ดับไปที่นั้นเมื่อนั้น เช่น รูปธรรมในอดีต ก็ดับไปในอดีต ไม่ มาถึงขณะนี้ รูปในขณะนี้ ก็ดับไปที่นี่ ไม่ไปถึงข้างหน้า รูปในอนาคตจะเกิดถัดต่อไป ก็จะดับ ณ ที่นั่นเองไม่ยืนอยู่ถึงเวลาต่อไปอีก11 ๑๑ ยกตัวอย่างเช่น เราซื้อรถยนต์มาหนึ่งคันตอนซื้อใหม่ๆมีสีสดสวย อุปกรณ์ทุกอย่างเป็นของใหม่ แต่พอเราใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ความเป็นรถใหม่เริ่มหายไปสีหมอง คลํ้า เครื่องยนต์เริ่มทํางานช้าลง อุปกรณ์อย่างอื่น เช่น เบรค พวงมาลัย เป็นต้น เริ่มฝืดลงใช้ งานไม่ คล่องเหมือนตอนซื้อมาใหม่ๆ ลักษณะเหล่านี้บ่งบอกถึงความไม่เที่ยงของสังขารคือรถยนต์ที่ถูก ปรุงแต่งขึ้น จากส่วนต่างๆที่เอามาประกอบกันเข้าเพื่อให้สําเร็จเป็นรถตามความประสงค์ของนายช่าง ข. ลักษณะที่เป็นทุกข์ของสังขาร ลักษณะที่เป็นทุกข์ของสังขาร ได้แก่ สิ่งที่มีภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและ สลายตัวมีภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไปจะทําให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ ความสมอยากอย่างแท้จริง หรือไม่ได้ให้ความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้ต้องการด้วยตัณหา และก่อให้เกิด ทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน ดังที่พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ว่า “ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติทุกฺขํติฏฺฐติเวติจ.ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่และย่อมดับไป นา�ฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นา�ฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ. นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”๑๒ ๙ องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๑๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕. ๑๐ ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๗๙/๕๓. ๑๑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๗๐/๘. ๑๒ สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๑๗๑/๑๙๙-๑๐๐, สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๑๗๑/๑๔๒.
  • 5. ๑๖ ยกตัวอย่างสิ่งที่มีชีวิตเช่น มนุษย์ ซึ่งมีความทุกข์ติดตามอยู่ตลอดเวลา ว่าเฉพาะทุกข์ ประจําสังขารคือร่างกายก่อน มนุษย์ต้องคอยเลี้ยงดูรับประทานอาหารอย่างน้อยวันละ ๓ ครั้ง เพื่อ หล่อเลี้ยงร่างกายให้แข็งแรงดํารงชีพอยู่ได้ มนุษย์ต้องคอยหมั่นทําความสะอาดร่างกายไม่ให้ สกปรกส่งกลิ่นเหม็นรบกวนตัวเองและคนอื่นอย่างน้อยวันละ ๑ ถึง ๒ ครั้ง นอกจากนี้ยังมีทุกข์จร เข้ามาอีกหลายอย่าง ทั้งที่เกิดขึ้นในภายในร่างกายและทั้งที่เกิดจากภายนอก เช่น โรคภัยต่างๆ ใน ร่างกาย เพราะตามปรกติแล้วร่างกายของเราเป็นเหมือนรังของโรคเป็นบ่อเกิดของตัวพยาธิหลาย ชนิด ส่วนทุกข์ที่มาจากภายนอกย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายอย่าง คือจากตัวเราเอง จากคนอื่น ด้วย จากสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีอาหาร อากาศ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นเพียงสังขารทุกข์ คือ เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิมไปตามกาลเวลา จากของใหม่สภาพแข็งแรง กลายเป็นของเก่า และ แตกสลายไปในที่สุด เช่น รถยนต์บ้านเรือน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น การดํารงอยู่ของสังขารเหล่านี้ขึ้นอยู่ กับปัจจัยอื่น เช่น อุปกรณ์ที่นํามาปรุงแต่งขึ้น และการบํารุงรักษา ค. ลักษณะที่เป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตน) ของสังขาร ลักษณะที่เป็นอนัตตาของสังขารนั้น หมายเอาสังขารที่เป็นอนิจจังไม่เที่ยง และทุกขัง เป็นสิ่งที่ทนอยู่ในสภาพเดิมของตนไม่ได้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่มีความไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ของมันเอง ในส่วนของอนัตตานี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ทัศนะไว้ว่า สิ่งทั้งหลาย หากจะกล่าวว่ามีก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อันสัมพันธ์เนื่องอาศัย กันเกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่ และ เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่ สมบูรณ์อยู่ในตัว และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้ ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนแท้จริงไม่ได้13 ๑๓ อย่างไรก็ตามลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกันไม่สามารถแยกออกจากกัน ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย มนุษย์ถือว่าได้เปรียบกว่าเขา ทั้งหมด เพราะมีโอกาสได้พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นและหลุดพ้นไปจากกฎดังกล่าวได้ หมายถึงผู้พัฒนา ตัวเองจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเหล่านั้นถึงร่างกายสังขารจะตกอยู่ภายใต้กฎของ ไตรลักษณ์แต่จิตที่ปรินิพพานแล้วจะไม่เกิดอีกพ้นจากกฏนี้ ๑๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หน้า ๖๘-๖๙.
  • 6. ๑๗ ๒.๑.๓ ความหมายและลักษณะของสังขารในขันธ์ ๕ ก. ความหมายของสังขารในขันธ์ ๕ คําว่า “สังขาร” ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนํา ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออก ทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทํากรรม เรียกง่ายๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็น นามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ14 ๑๔ ตามแนวอภิธรรม สังขารในขันธ์ ๕ คือ ธรรมที่มาประชุมกันแล้วปรุงแต่ง หมายถึง ผัสสะและเจตนาเป็นต้น ธรรม เหล่านั้นมาประชุมร่วมกันในอุปปัตติทวาร ๖ (ทวารที่เกิดของวิถีจิต มีจักขุทวารเป็นต้น) หรือในกรรมทวาร ๓ (ทวารที่ก่อให้เกิดกรรมมีกายทวารเป็นต้น) ย่อมปรุง แต่งกิจทั้งหมดมีการเห็นและการได้ยินเป็นต้นซึ่งเป็นกิจทั่วไป หรือกิจทางกาย วาจา ใจ หรือการ นอน การนั่ง การยืน การเดิน การพูดและการนึกคิดเป็นต้นด้วยหน้าที่ของตนๆซึ่งมีการสัมผัสและ ความตั้งใจเป็นต้น15 ๑๕ สังขารขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ดํารงอยู่ในฐานะเป็นดุจผู้ปรุงอาหารเพราะเป็นตัวปรุงแต่ง อารมณ์ คือ เพราะทําให้วิญญาณได้ความยินดี16 ๑๖ จากข้อความดังกล่าวนี้พอสรุปได้ว่า สังขารในขันธ์ ๕ คือธรรมชาติที่ทําหน้าที่ปรุงแต่ง สังขตธรรม ที่เป็นนามธรรมมีความเกี่ยวเนื่องกันกับวิญญาณ ในพระอภิธรรม ท่านเรียกสังขาร เหล่านี้ ว่า เจตสิก มี ๕๐ ประการ รวมกับ เวทนา และสัญญา เป็นเจตสิก ๕๒ ประการ วิญญาณ ได้แก่ จิต ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน ๔ ประการ คือ เอกุปปาทะ เกิดพร้อมกัน เอกนิโรธะ ดับพร้อมกัน เอกาลัมพนะ มีอารมณ์อย่างเดียวกัน คือ จิตรับอารมณ์อย่างไรเจตสิกก็รับอารมณ์อย่างนั้น เช่น สี เขียวสีแดงเป็นต้น และสุดท้าย เอกวัตถุกะ มีที่อาศัยอย่างเดียวกัน หมายความว่า จิตเกิดจากจักษุ เจตสิกก็เกิดจากจักษุเหมือนกัน อีกนัยหนึ่ง สังขารเปรียบเหมือนเงา วิญญาณเปรียบเหมือนเจ้าของ เงา เมื่อเจ้าของตื่น เงาก็ตื่นด้วย เมื่อเจ้าของเงาหลับ เงาก็หลับด้วย เมื่อเจ้าของกินข้าว เงาก็กินด้วย เมื่อเจ้าของเข้าบ้าน เงาก็เข้าด้วย ๑๔ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), หน้า ๗๐/๔. ๑๕ พระญาณธชะ (แลดีสยาดอ), “ปรมัตถทีปนี”, ใน อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์, หน้า ๖๗๕. ๑๖ พระสุมังคลเถระ,“อภิธัมมัตถวิภาวินี”,ในฎีกาอภิธัมมัตถสังคหะ ชื่อว่าอภิธัมมัตถวิภาวินีแปล, แปล โดย พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ. ๙), เอกสารประกอบการเรียนการสอน, รวบรวมโดย พระ มหาชะลอ ปิยาจาโร และคณะ, หน้า ๑๕๐.
  • 7. ๑๘ ข. ลักษณะของสังขารในขันธ์ ๕ สังขารในขันธ์ ๕ มีการประสม (ปรุงแต่ง) เป็นลักษณะ17 ๑๗ ได้แก่ ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ ปรุงแต่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มีลักษณะเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็น สังขาร และวิญญาณ ตามที่ตนได้กะเกณฑ์ไว้แต่แรก เปรียบเหมือนนายช่างผู้ออกแบบบ้านไว้แล้ว ลงมือทําบ้านให้มีรูปลักษณะตามที่ออกแบบไว้ในข้อนี้มีพระพุทธพจน์ในขัชชนียสูตรว่า เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขต ธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนาโดยความเป็นเวทนา สัญญา โดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขารวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ เพราะปรุง แต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า สังขาร18 ๑๘ จากพระพุทธพจน์นี้ คําว่า สังขารปรุงแต่งสังขตธรรม คือรูปโดยความเป็นรูปก่อน เมื่อ พิจารณาดูแล้วเหมือนกับว่า ในเหตุการณ์นี้มีองค์ประกอบหลักอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑) ผู้สร้าง ๒) สิ่งที่ จะสร้าง (แผนผัง หรือแบบที่จะก่อสร้าง) และ ๓) ผลของสิ่งที่สร้าง (ได้รูปแบบตามแผนผัง หรือ ตามแบบที่ได้ออกแบบไว้) จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเหลือองค์ประกอบอยู่ ๒ อย่างตรงกับพระพุทธพจน์ที่ว่า ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม ในกรณีนี้ ผู้สร้าง ได้แก่ สังขาร สิ่งที่จะสร้างและผลของสิ่งที่สร้างเสร็จแล้ว ได้แก่ สังขตธรรม ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น วิศวกร ออกแบบบ้านไว้หนึ่งหลัง จากนั้นก็ลงมือสร้างบ้านตามที่ตนเองออกแบบไว้เมื่อสร้าง เสร็จแล้ว เขาก็ได้บ้านตามแบบที่ออกแบบไว้ ในเหตุการณ์นี้ เบื้องต้นมีองค์ประกอบหลักอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑) วิศวกร ผู้ออกแบบ ๒) แบบบ้านที่วิศวกรออกแบบไว้ ๓) ผลที่คาดว่าจะได้คือบ้านที่ สําเร็จรูปตามแบบที่วางไว้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เหลือองค์ประกอบอยู่ ๒ อย่าง คือ วิศวกร กับบ้านที่ สร้างเสร็จแล้ว ในที่นี้ สังขาร คือวิศวกร สังขตธรรม คือบ้าน พร้อมทั้งอุปกรณ์ทุกอย่างที่นํามา สร้างบ้าน สําหรับสังขตธรรมทั้ง ๔ ที่เหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ยากกว่าการ อธิบายรูปอีกเพราะสังขตธรรมทั้ง ๔ นี้เป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างให้เห็นเหมือนรูป คัมภีร์ในชั้น อรรถกถาก็ไม่ได้อธิบายไว้ท่านบอกแต่เพียงว่า สังขตธรรมที่เหลือก็มีอธิบายเหมือนกันกับรูป คือ ในอรรถกถาท่านอธิบายคําว่าสังขารปรุงแต่งรูปโดยความเป็นรูปโดยยกตัวอย่างว่า แม่ครัว หุงต้มยาคู ก็เพื่อให้เป็นยาคู ปรุงขนมก็เพื่อให้เป็นขนมนั่นเอง ฉันใด สังขาร ๑๗ วิสุทฺธิ. (ไทย) ๔๕๘/๗๔๙. ๑๘ สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๗๙/๑๒๑.
  • 8. ๑๙ ทั้งหลายก็ฉันนั้น ปรุงแต่ง คือประมวลมา ได้แก่ รวบรวมไว้อธิบายว่า ให้สําเร็จซึ่งรูปนั้นเอง ที่ได้นามว่าสังขตะ เพราะปัจจัยทั้งหลายมาประชุมกันปรุงแต่ง เพื่อความเป็นรูป คือเพื่อความ เป็นรูปนั้น โดยประการที่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง จะชื่อว่าเป็นรูปได้ แม้ในเวทนาทั้งหลาย ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน)นี้แล19 ๑๙ ในกรณีของเวทนาถ้าจะแยกองค์ประกอบออกเหมือนตอนอธิบายรูป ก็สามารถทําได้ คือ ๑) ผู้ปรุงแต่ง (สังขาร) ๒) ความรู้สึกที่จะปรุงแต่ง (เวทนาที่จะปรุงแต่ง) ๓) ความรู้สึกที่ปรุงแต่ง เสร็จแล้ว (เวทนาที่ปรุงแต่งเสร็จแล้ว) ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. อยากมีความสุขที่เกิดจากการทําวัตร สวดมนต์ เขาก็จะออกแบบรูปแบบของการทําวัตร สวดมนต์ขึ้นมาชุดหนึ่ง จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติ ตาม ผลที่ได้คือมีความสุขจากการทําวัตรสวดมนต์ ส่วนเวทนาที่เป็นความทุกข์เป็นสิ่งที่อธิบายยากกว่าเวทนาที่เป็นความสุขเพราะคนเรา โดยธรรมชาติไม่ชอบความทุกข์และจะไม่พยายามปรุงแต่งความทุกข์อยู่แล้วนอกจากจะประสบกับ ความทุกข์แล้วหาวิธีแก้ไขความทุกข์ให้น้อยลงและหมดไปในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. นั่ง กรรมฐานนานๆ เกิดอาการปวดขา แล้วก็ภาวนาว่า ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่เขาภาวนาว่า ปวดหนอ ปวดหนออยู่นั้น เขาคงไม่มีความคิดว่า อยากให้ทุกข์จากอาการ ปวดนั้นกลายเป็นความปวดอีกแบบหนึ่งตามที่เขาต้องการ ตรงกันข้ามเขาคงคิดอยากจะให้อาการ ปวดนั้นหายไปมากกว่า ถ้าเขากําหนดอยู่อย่างนั้นอาการปวดหายไป ก็จะกลายเป็นความสุขแทน หรือถ้าไม่หายเขาทนอยู่ในท่านั่งต่อไปไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นอาการปวดก็จะ หายไป ถ้าเป็นไปตามตัวอย่างนี้จะว่านาย ก. ปรุงแต่งทุกข์โดยความเป็นทุกข์ก็ไม่ได้เพราะเวทนา มันเปลี่ยนจากความทุกข์เป็นความสุข หรือเป็นความรู้สึกเฉยๆ แล้ว เพื่อให้เข้าใจง่ายผู้วิจัยจะ อธิบายโดยรวม คือ ผู้ปรุงแต่ง คือสังขารนั้น อยากได้เวทนาอะไรก็ปรุงแต่งเอาตามที่ตนต้องการ ส่วนสัญญา ความจําได้ ก็คงอธิบายเหมือนกับรูปและเวทนาที่ได้อธิบายมาแล้ว ที่น่าสนใจคือสังขารเพราะสังขารมีหลายอย่างและตัวที่ปรุงแต่งก็คือสังขารด้วย สังขารจะปรุงแต่ง สังขารโดยความเป็นสังขารอย่างไรเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากผู้วิจัยขออธิบายโดยยกตัวอย่าง สมมติว่า นาย ก. มีสัทธาในพระรัตนตรัยอยู่แล้ว แต่ยังเป็นสัทธาที่อ่อนคือเป็นจลสัทธา ศรัทธาที่หวั่นไหวอยู่ นาย ก. ต้องการให้สัทธาของเขากลายเป็นอจลสัทธา ศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว เขาก็จะพัฒนาหรือปรุง แต่งสัทธาของเขาให้ยิ่งขึ้นจนกว่าจะได้อจลสัทธาตามที่เขาต้องการ หรือนาย ก. มีสติอยู่แล้วแต่ยัง ไม่เข้มแข็งพอที่จะกําหนดกั้นกระแสอารมณ์ต่างๆ ที่ไหลเข้ามาสู่จิตใจได้ เขาต้องการให้สติของเขา ๑๙ สํ.ข.อ. (ไทย) ๒/๒๓๔.
  • 9. ๒๐ เข้มแข็งขึ้น ก็ต้องปรุงแต่งสติให้เข้มแข็ง มีกําลังกลายเป็นมหาสติตามที่ต้องการเช่นเดียวกับการปรุง แต่งสัทธานั่นเอง คําว่าวิญญาณก็คือ จิตนั่นเอง จิตของมนุษย์เป็นธรรมชาติคิดอารมณ์ เที่ยวไปในที่ต่างๆ คือหลงไปในอารมณ์ต่างๆ ทั้งไกลและใกล้ ทั้งที่ควรไปและไม่ควรไป ที่ควรไปเช่น สถานที่ทาง ศาสนา ที่ที่ไม่ควรไปเช่น สถานที่เริงรมย์ซึ่งเป็นที่อโคจร ตามธรรมดาจิตที่ยังไม่ได้ฝึกก็จะเที่ยวไป ในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ถ้าได้รับการฝึกฝนอบรมอยู่บ่อยๆ จิตก็จะรู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ ควร จากตัวอย่างนี้ คําว่าปรุงแต่งวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณก็คือปรุงแต่งวิญญาณหรือจิตที่ยัง อ่อนไม่รู้แยกแยะสิ่งที่ควรและไม่ควรให้กลายเป็นวิญญาณหรือจิตที่เข้มแข็งสามารถแยกแยะสิ่งที่ ควรและไม่ควรได้ เนื่องจากขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่อยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ สังขารจึงมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ดังพุทธพจน์ในอนัตตลักขณสูตรตรัสถึงความเป็นอนัตตาของสังขารไว้ว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขาร เหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า ‘สังขารทั้งหลายของเราจง เป็นอย่างนี้ สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’”๒๐ ในอภิธรรมปิฎกจัดให้สังขารมีลักษณะเป็นสังขตธรรมคือธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง2 1 ๒๑ ในอภิธรรมมัตถสังคหะ พระอนุรุทธาจารย์ จําแนกลักษณะของเจตสิกที่รวมถึงสังขารไว้ ๔ ประการ คือ ๑) เกิดขึ้นขณะเดียวกันกับจิต ๒) ดับขณะเดียวกันกับจิต ๓) มีอารมณ์เดียวกันกับจิต ๔) มีที่ตั้งอาศัยที่เดียวกับจิต22 ๒๒ จากเนื้อความตรงนี้แสดงว่า สังขารกับวิญญาณหรือจิตอาศัยกันอยู่ ชนิดที่แยกกันไม่ออกเหมือนนํ้ากับสีที่ผสมกันแยกออกจากกันไม่ได้ ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ อธิบายไว้สั้นๆ ว่า สังขารมีการประสม (ปรุงแต่ง)๒๓ แต่ง)๒๓ เป็นลักษณะ ท่านขยายความต่อไปว่า ปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ2 4 ๒๔ ท่านอ้างพระพุทธพจน์ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมเหล่านั้นย่อมปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะแล จึงได้ชื่อว่า สังขาร ดังนี้”๒๕ ๒๐ สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๕๙/๙๔. ๒๑ อภิ.สํ. (ไทย) ๓๔/๑๔๕๕/๑๓๕. ๒๒ สงฺคห (บาลี) ๗, พระอนุรุทธาจารย์, “อภิธัมมัตถสังคหะ”, ใน อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถ ทีปนีแปล, หน้า ๑๗. ๒๓ คําว่า ประสม ถ้ายึดตามศัพท์บาลี คือ อภิสงฺขโรนฺติ ก็แปลว่า การปรุงแต่ง ดังนั้น เพื่อให้เข้ากับ ความหมายของศัพท์ผู้วิจัยจึงแปลว่า การปรุงแต่ง ในงานวิจัยนี้ ๒๔ ดูรายละเอียดในวิสุทฺธิ.(ไทย)๓/๗๔๘-๗๖๖.
  • 10. ๒๑ จากเนื้อความที่ได้ศึกษามานี้พอสรุปลักษณะของสังขารในขันธ์ ๕ ได้ดังนี้ คือ สังขารมี ลักษณะใหญ่สองประการ ได้แก่ ลักษณะโดยรวมคือเป็นสังขตธรรมถูกปัจจัยอื่นปรุงแต่ง ส่วน ลักษณะเฉพาะตนคือ เป็นตัวปรุงแต่งสังขตธรรมเสียเอง ซึ่งขันธ์อื่นไม่สามารถปรุงแต่งได้จะถูก ปัจจัยอื่นปรุงแต่งฝ่ายเดียว และมีลักษณะเหมือนกันกับขันธ์อื่นคือ ถูกปัจจัยอื่นปรุงแต่งด้วย ๒.๑.๔ ความหมายและลักษณะของสังขารในปฏิจจสมุปบาท ก. ความหมายของสังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารในปฏิจจสมุปบาท เป็นส่วนหนึ่งของสังขารในขันธ์ ๕ หมายถึง ความจงใจ หรือ เจตนา มีรูปวิเคราะห์ว่า สงฺขตํ กายวจีมโนกมฺมํ อภิสงฺขโรนฺติ เอเตหีติ สงฺขารา สัตว์ทั้งหลายย่อมปรุงแต่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสังขตธรรมโดยเจตนาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เจตนาที่เป็นเหตุ แห่งการปรุงแต่งเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร26 ๒๖ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต) ได้อธิบายสังขารในปฏิจจสมุปบาทตามแนวพระ อภิธรรมสรุปใจความได้ว่า สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ความจงใจ หรือ เจตนา ความจงใจ ทางกาย เรียกว่า กายสังขาร หรือ กายสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ประการที่เป็นไปทางกายทวาร ในพระอภิธรรม คือ กามาวจรกุศล ๘ ประการ อกุศล ๑๒ ประการ ความจงใจทางวาจา เรียกว่า วจีสังขาร หรือ วจีสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ประการที่เป็นไปทางวจีทวาร คือ กามาวจรกุศล ๘ ประการ อกุศล ๑๒ ประการ ความจงใจทางใจ เรียกว่า จิตตสังขาร หรือ มโนสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๙ ประการ ในมโนทวารที่ยังไม่แสดงออกเป็นกายวิญญัติ และวจีวิญญัติ อีกนัยหนึ่ง สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปุญญาภิสังขาร ความดีที่ปรุงแต่งชีวิต ได้แก่ กุศลเจตนาฝ่าย กามาวจรและฝ่ายรูปาวจร ๑๓ ประการ คือ กามาวจรกุศล ๘ ประการ รูปาวจรกุศล ๕ ประการ อปุญญาภิสังขาร ความชั่วที่ปรุงแต่งชีวิต ได้แก่ อกุศลเจตนาฝ่ายกามาวจรทั้ง ๑๒ ประการ อาเนญชาภิสังขาร ภาวะมั่นคงที่ปรุงแต่งชีวิต ได้แก่ กุศลเจตนาฝ่ายอรูปาวจรทั้ง ๔ ประการ27 ๒๗ ๒๕ สงฺขตมภิสงฺขโรนฺตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา สงฺขารา วุจฺจนฺตีติ; สํ.ข. (บาลี) ๑๗/๑๕๙/๑๐๖; ดู เพิ่มเติมใน วิสุทฺธิ. (บาลี) ๓/๓๖. ๒๖ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปฏิจจสมุปบาททีปนี, หน้า ๓๖. ๒๗ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),พุทธธรรม, (ฉบับปรับปรุงและขยายความ), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จํากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๙๗-๙๘.
  • 11. ๒๒ บรรจบ บรรณรุจิ ได้ให้ความหมายสังขารในปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า สังขารที่เป็นตัวปรุง แต่ง หมายถึง สังขารที่ปรุงแต่งจิตหรือวิญญาณให้เกิดการรับรู้อารมณ์อยู่เสมออย่างต่อเนื่อง คือ เจตนานั่นเอง28 ๒๘ วัชระ งามจิตรเจริญ ได้ให้ความหมายของสังขารในปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า สังขาร คือ เจตนาอันได้แก่ความจงใจหรือความตั้งใจ ซึ่งเป็นอันเดียวกับกรรม29 ๒๙ จากเนื้อความที่ได้ศึกษามานี้พอสรุปได้ว่า ความหมายของสังขารในปฏิจสมุปบาท ได้แก่ เจตนา ความตั้งใจ ความจงใจ หรือกรรม คือผลของการทํากรรมอย่างใดหนึ่ง ทางทวารใด ทวารหนึ่ง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร การกระทําทางกายทวาร เรียกว่า กายกรรม การ กระทําทางวจีทวาร เรียกว่า วจีกรรม การกระทําทางมโนทวาร เรียกว่า มโนกรรม ข. ลักษณะของสังขารในปฏิจจสมุปบาท ลักษณะของสังขารในปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ สภาวะที่ปรุงแต่ง กาย วาจา ใจ สภาวะที่ ปรุงแต่งกาย เรียกว่า กายสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา เรียกว่า วจีสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งใจ เรียกว่า จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร ปรุงแต่งในทางดี เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งในทางไม่ดี เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งกลาง ๆ เรียกว่า อเนญชาภิสังขาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค3 0 ๓๐ พระพุทธโสฆเถระ อธิบายสังขารในปฏิจจสมุปบาทสรุป ใจความได้ว่า สังขาร หมายถึง ธรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น สังขารมี ๒ อย่าง คือ สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยกับสังขารที่มาโดยสังขารศัพท์ สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัย ได้แก่ สังขาร ๒ กลุ่มๆ ละ ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร และกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาฝ่าย โลกิยะ ส่วนสังขารที่มาโดยสังขารศัพท์มีอยู่ ๔ อย่าง คือ สังขตสังขาร (สังขารคือสิ่งที่ปัจจัยของ ตนๆ แต่งขึ้น) อภิสังขตสังขาร (สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น) อภิสังขรณกสังขาร (สังขารคือตัว กรรมผู้เป็นเจ้าหน้าที่แต่ง) ปโยคาภิสังขาร (สังขารคือความเพียรพยายาม) บรรจบ บรรณรุจิ ได้อธิบายลักษณะของสังขารที่เป็น เจตนา ความจงใจ ความตั้งใจไว้ ว่า เจตนา มีทั้งที่เป็นฝ่ายดี (กุศล) และฝ่ายชั่ว (อกุศล) ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากอวิชชา เพราะอวิชชา ๒๘ บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๒๓. ๒๙ วัชระ งามจิตรเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), หน้า ๑๒๙. ๓๐ วิสุทฺธิ.(ไทย) ๕๘๗/๘๕๕.
  • 12. ๒๓ มิได้หมายความว่าไม่รู้ดีไม่รู้ชั่วอย่างเดียว แต่รวมไปถึงความหมายว่า รู้ดีรู้ชั่วด้วย เสียแต่ว่า ความรู้ ดีรู้ชั่วนั้นยังไม่สามารถมีผลถึงขั้นเปลี่ยนแปลงความคิด รวมทั้งพฤติกรรมให้เป็นไปในทางดีฝ่าย เดียวได้ตลอดเวลา กุศลเจตนา ความตั้งใจฝ่ายดี ความจงใจฝ่ายดี อันเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมทาง กายที่ดี (ทําดี) อาทิ การให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น จัดเป็นกายสัญเจตนาฝ่ายดี อันเป็นเหตุให้เกิด พฤติกรรมทางวาจา (พูดดี) อาทิ การพูดคําจริง การพูดคําอ่อนหวาน จัดเป็นวจีสัญเจตนาฝ่ายดี อัน เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมทางใจที่ดี (คิดดี) อาทิ คิดเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คิดเมตตา จัดเป็นมโน สัญเจตนาฝ่ายดี ส่วนอกุศลเจตนา มีความหมายตรงกันข้ามกับกุศลเจตนา กายสัญเจตนา วจี สัญเจตนา และมโนสัญเจตนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร เหตุที่เรียก เช่นนั้น เพราะมุ่งถึงประเด็นที่ว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง31 ๓๑ วัชระ งามจิตรเจริญ ได้อธิบายสังขารในปฏิจจสมุปบาทสรุปใจความได้ว่า สังขาร คือ ปุญญาภิสังขาร (กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร) อปุญญาภิสังขาร (อกุศลเจตนาที่เป็น กามาวจร) อาเนญชาภิสังขาร (กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและอรูปาวจร) จําแนกตามสภาพที่เป็น กุศลหรืออกุศล ปุญญาภิสังขารกับอาเนญชาภิสังขาร จัดเป็นสังขารฝ่ายกุศล อปุญญาภิสังขาร จัดเป็นสังขารฝ่ายอกุศล ส่วนกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร จําแนกตามทวารที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือสังขารหรือเจตนาที่ทําให้เกิดการกระทําทางกายเรียกว่า “กายสังขาร” ที่ทําให้เกิดการ กระทําทางวาจาเรียกว่า “วจีสังขาร” และที่ทําให้เกิดการกระทําทางใจเรียกว่า “จิตตสังขาร”3 2 ๓๒ สังขารคือเจตนาหรือความจงใจที่จะทํากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งทางทวารทั้ง ๓ ทวารใดทวารหนึ่ง ได้แก่ความจงใจหรือความตั้งใจซึ่งเป็นตัวเดียวกับกรรม33 ๓๓ จากข้อความที่ได้ศึกษามานี้พอสรุปได้ว่า สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง เจตนาที่ ก่อให้เกิดการกระทําหรือคือกรรมนั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ต้องได้รับผลของการกระทําที่เกิด จากเจตนาตามสมควรแก่การกระทํา เจตนาในที่นี้เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล เจตนาที่เป็นกุศลจะ นําไปสู่การกระทําที่ดีมีผลหรือวิบากดีตามมา เจตนาที่เป็นอกุศลจะนําไปสู่การกระทําที่ไม่ดีมีผล หรือวิบากชั่วตามมา เจตนาที่เป็นอกุศลเกิดได้ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ คือ เกิดจากโลภะ ความ โลภ เกิดจากโทสะ ความโกรธ และเกิดจากโมหะ ความหลง อกุศลเจตนานี้จัดเป็นอปุญญาภิสังขาร เจตนาที่เป็นกุศลมีทางเกิดได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจเช่นเดียวกัน ได้แก่ กามาวจรกุศล คือ กุศลเจตนาที่ทําให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามาวจรภูมิ คือ สวรรค์ ๖ ชั้น และรูปาวจรกุศล คือ กุศลเจตนาที่ทําให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในรูปาวจรภูมิหรือรูปพรหม ๓๑ บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๒๑. ๓๒ วัชระ งามจิตรเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, หน้า ๑๒๓. ๓๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๙.
  • 13. ๒๔ ๒.๒ ประเภทของสังขาร สังขารที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ สังขารที่ปรากฏในพระไตรปิฎก มี ๑ ประเภท แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ แบ่ง ตามทวารที่เกิดได้แก่กายสังขารวจีสังขาร จิตตสังขาร34 ๓๔ กลุ่มที่๒ แบ่งตามคุณค่า ได้แก่ ปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายไม่ดี อเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันไม่หวั่นไหว35 ๓๕ สังขารที่ปรากฏในอรรถกถา มี ๑ ประเภท แบ่งตามสังขารที่มีกรรมและกิเลสไม่ยึด ครอง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครอง หรือสังขารที่มีใจครอง และอนุปา ทินนกสังขาร สังขารที่กรรมและกิเลสไม่ยึดครอง หรือสังขารที่ไม่มีใจครอง36 ๓๖ อีกนัยหนึ่งสังขารที่กล่าวมานี้ยังสามารถจําแนกออกเป็น ๒ ประเภท ได้อีกคือ สังขารที่ เป็นรูปธรรม และสังขารที่เป็นนามธรรม ดังนี้ ๑) สังขารที่เป็นรูปธรรม สังขารที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครองและไม่ยึดครอง หรือตาม สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต คือ อุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนกสังขาร แต่ละประเภทมี รายละเอียดพอสังเขปดังนี้ (๑) อุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารที่มีกรรมและกิเลสยึดครองหรือเกาะกุมหรือ เรียกว่าสังขารที่มีใจครอง ได้แก่ ร่างกายมนุษย์เทวดา มาร พรหม สัตว์ ทั้งหลาย เป็นประเภทที่มี ตัวรับรู้อารมณ์มากระทบให้ปรุงแต่งเกิดการกระทําต่างๆ เป็นกรรมที่ยึดครองต่อไป (๒) อนุปาทินนกสังขาร หมายถึง สังขารที่กรรมและกิเลสไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ทั้งหมด ยกเว้นแต่อสังขตธาตุคือนิพพาน ได้แก่ สิ่งต่างๆ บนโลก เช่น ต้นไม้ ภูเขา อาคารบ้าน เรือน เป็นต้น สังขารเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างประจวบกัน เช่น ต้นไม้ เกิดจากมีเมล็ดพืชที่ เหมาะสม มีนํ้าที่พอเหมาะ อากาศที่พอเหมาะ ดินที่พอเหมาะกับต้นไม้นั้น ก็เจริญงอกงามเป็น ต้นไม้ หรือ ไฮโดรเจน ๒ ตัว (H2) กับออกซิเจน ๑ ตัว (O) ปรุงแต่งผสมกันเกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกิด เป็นนํ้า (H2O) เป็นต้น ๓๔ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๒/๙๗, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๕๗/๔๙๕, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๖๓/๕๐๓-๕๐๕. ๓๕ ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕/๑๔, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๕/๒๖๘, สํ.นิ. (ไทย) ๑๖/๕๑/๑๐๑. ๓๖ ม.มู.อ. (บาลี) ๑/๔๓๑, ม.มู.อ. (ไทย) ๑/๖๙๕.
  • 14. ๒๕ ๒) สังขารที่เป็นนามธรรม สังขารที่เป็นนามธรรม ได้แก่ สังขารที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทางกาย วาจา ใจ เรียกตามชื่อฐานที่เกิดว่า กายสังขาร วจีสังขาร และ จิตตสังขาร3 7 ๓๗ และสังขารที่จําแนกตาม คุณค่า คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร3 8 ๓๘ สังขารแต่ละประเภทมี รายละเอียดโดยสังเขปดังนี้ กายสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งการกระทําทางกาย วจีสังขาร หมายถึง สภาพที่ ปรุงแต่งการกระทําทางวาจา และ จิตตสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งการกระทําทางใจ หรือ กายสังขาร หมายถึง ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก วจีสังขาร หมายถึง สภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก วิจาร และ จิตตสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งจิต ได้แก่สัญญาและ เวทนา39 ๓๙ ปุญญาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี อปุญญาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว และอาเนญชาภิสังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว4 0 ๔๐ สังขารทั้ง ๓ ประเภทนี้ จะมีที่แสดงออกมาทางทวารทั้ง ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั่นเอง ต่อไปนี้จะได้นําเอาสังขารแต่ละประเภทที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้นไปจัดเข้าใน สังขารในไตรลักษณ์ สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาทตามลําดับ ๒.๒.๑. ประเภทของสังขารในไตรลักษณ์ เมื่อว่าโดยประเภทของสังขารในไตรลักษณ์จะมีอยู่ประเภทเดียวคือสังขารที่เป็นสังขตธรรม รวมเอาสังขารทั้งหมด ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ลักษณะที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งของสังขตธรรมมี ๓ ประการ คือ ปรากฏความเกิด ปรากฏความดับ ขณะที่ดํารงอยู่ ปรากฏความเปลี่ยนแปลง41 ๔๑ ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี พระพุทธโฆสเถระ ได้อธิบายสังขตธาตุทั้งสอง ๓๗ ม.มู.(บาลี) ๑๒/๑๐๒/๗๓, ม.มู.(ไทย) ๑๒/๑๐๒/๙๗, ขุ.ป.อ.(ไทย) ๗/๑/๘๘๒, สํ.นิ.(ไทย) ๑๖/๒/๘. ๓๘ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๘. ๓๙ สํ.ส. (ไทย) ๑๘/๓๔๘/๓๘๒, อภิ.ย. (ไทย) ๓๘/๑/๔๔๖. ๔๐ ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต ๘ และรูปาวจรกุศลจิต ๕, อปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นบาป ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒, อาเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอาเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ อรูปาวจรกุศลจิต ๔; ขุ.ม.อ. (ไทย) ๕/๑/๕๓๕. ขุ.ป.อ.(ไทย) ๗/๑/๙๐๙,๙๘๕. ๔๑ องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙.
  • 15. ๒๖ ด้วยคําว่า “สังขตธรรม” ได้แก่ อันปัจจัยทั้งหลายประชุมกันทําขึ้น คําว่า “สังขตธรรม” นี้เป็นชื่อ ของขันธ์ ๕42 ๔๒ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายว่า สังขตธรรม หมายถึง ธรรมที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้า หรือสิ่งที่ปรากฏและเป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร ซึ่งมีรากศัพท์และ คําแปลเหมือนกัน หมายถึง สภาวะทุกอย่างทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ ทั้งที่ดีที่ชั่วและที่เป็นกลางๆ ทั้งหมดเว้นแต่นิพพาน43 ๔๓ จากความหมายของสังขตธรรมในที่นี้ทําให้ทราบว่า สังขารในไตรลักษณ์ คลอบคลุม หมดทุกอย่าง คือทั้งสภาวะที่ปรุงแต่ง ทั้งสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เช่น เจตนา (กรรม) เป็นตัวปรุง แต่งสภาวธรรมอื่นๆ แต่เจตนาก็ถูกปัจจัยอื่นปรุงแต่งเช่นกัน ดังนั้น จึงกล่าวอย่างรวบรัดว่า สังขาร หรือสังขตธรรมครอบคลุมทุกสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็น ร่างกายหรือจิตใจ มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอก รวมทั้งบุญ บาป หรือกุศล อกุศล ก็จัดเป็นสังขตธรรมเพราะถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเหมือนกัน สมกับเนื้อความในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต สนิมิตตวรรคว่า ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มี สังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้นจึงไม่มี4 4 ๔๔ บทสนทนาระหว่างวิสาขะอุบาสกกับพระธัมมทินนาเถรี ที่ปรากฏในจูฬเวทัลล สูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ตอนหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม4 5 ๔๕ จากตัวอย่างที่ ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งสองแห่งนี้เป็นสังขตธรรมที่เป็นนามธรรม ส่วนที่เป็นรูปธรรม เช่น สิ่งมีชีวิต ได้แก่ สัตว์ทุกประเภท มีมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน สิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ ภูเขา ป่ าไม้ อาคาร บ้านเรือน เป็นต้น จากหลักฐานที่ได้ศึกษามานี้สามารถนํามาตีความและแยกประเภทของสังขารใน ไตรลักษณ์ได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ๑) แบ่งตามทวารที่เกิดมี ๓ อย่าง คือ กายสังขาร ได้แก่ สภาพปรุงแต่งกาย คือลมหายใจเข้าลมหายใจออก วจีสังขาร ได้แก่ สภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก ความนึกคิด วิจาร ความไตร่ตรอง ๔๒ ม.อุ.อ. (ไทย) ๔/๑๒๕/๖๔. ๔๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต),พุทธธรรม,(ฉบับปรับปรุงและขยายความ),หน้า๗๐/๑-๗๐/๒. ๔๔ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๘๗/๑๐๖. ๔๕ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๖๒/๒๙๘.
  • 16. ๒๗ จิตตสังขาร ได้แก่ สภาพปรุงแต่งจิต คือ สัญญาและเวทนาซึ่งปรุงแต่งจิตให้เป็นไปใน อารมณ์ต่างๆ46 ๔๖ ๒) แบ่งตามคุณค่ามี ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งที่เป็นบุญ อปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร การปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่อรูปฌาน ๔47 ๔๗ ๓) แบ่งตามอาการมี ๒ อย่าง คือ สังขารประเภทที่สามนี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แต่มีปรากฏในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา คือ สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครองหรือสังขารที่มีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) ได้แก่ มนุษย์สัตว์ เดรัจฉา เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น ซึ่งสังขารเหล่านี้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน วัฏฏสงสารต่อไปจนกว่าจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารที่กรรมและกิเลสไม่ยึดครอง หรือสังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) ได้แก่ แผ่นดิน ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ และอากาศ สังขารเหล่านี้ไม่มีวิญญาณ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด เหมือนสังขารอย่างแรก แต่ตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือต้องเปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลาไม่ สามารถทรงสภาพเดิมอยู่ได้48 ๔๘ สรุปได้ว่า สังขารในไตรลักษณ์ว่าโดยองค์รวมมีอยู่ประเภทเดียว คือ สังขารที่เป็น สังขตธรรม หรือสังขารที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่วนที่เป็นรูปธรรมคือ รูปขันธ์ในขันธ์ ๕ ได้แก่ ร่างกายของมนุษย์สัตว์ประเภทต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏเป็นรูปร่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น หรือหมายถึงสิ่งที่ปัจจุบันวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เรียกว่า “สสารและพลังงาน” ทั้งหมด ส่วนที่เป็นนามธรรมคือ วิญญาณหรือจิต และเวทนา สัญญา สังขาร ในขันธ์ ๕ ที่ฝ่าย อภิธรรมเรียกรวมกันว่าเจตสิกที่มาคู่กับวิญญาณ อันได้แก่อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจ ของเราและอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนอื่น สัตว์อื่น และสภาพที่ทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นวัตถุอื่นๆ ด้วย แต่เนื่องจากเป็นสังขารที่คลอบคลุมทุกอย่างจึงสามารถ นํามาแยกย่อยได้อีกเป็น ๓ กลุ่มหรือ ๓ ประเภท ดังที่ได้แยกไว้แล้วนั้น ซึ่งสังขารทั้ง ๓ กลุ่มนั้น สามารถจัดเข้าในประเภทของสังขารในไตรลักษณ์ได้ทั้งหมด เหตุผลเพราะว่า สังขารเหล่านั้นตก ๔๖ ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๐๒/๔๒, ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๒/๖๐. ๔๗ ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕/๑๔, ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๕/๒๖๘. ๔๘ ม.มู.อ. (ไทย) ๑/๒๖๖.
  • 17. ๒๘ อยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ สังขารในไตรลักษณ์เป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม คือ สังขารที่เป็น รูปธรรมได้แก่ ๑) อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมและกิเลสยึดครอง หรือสังขารที่มีใจครอง ได้แก่ มนุษย์และสัตว์ต่างๆ รวมถึง เทวดา และรูปพรหมด้วย ๒) อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ กรรมและกิเลสไม่ยึดครอง หรือสังขารที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ แผ่นดิน ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ และ อากาศ ส่วนสังขารที่เป็นนามธรรม ได้แก่สังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาททั้งหมด ๒.๒.๒ ประเภทของสังขารในขันธ์ ๕ กับเจตสิกในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม สังขารในขันธ์ ๕ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เจตสิก มี ๕๐ อย่าง (เว้นเวทนาและสัญญา) ในพระไตรปิฎก หมวดพระอภิธรรม ได้กล่าวถึงสังขารขันธ์ไว้ทั้งหมด ดังนี้ คือ ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกัน เกิดขึ้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์49 ๔๙ ประเภทของสังขารในขันธ์ ๕ มีการแบ่งประเภทไว้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกามีการ แบ่งประเภทแตกต่างกันไปบ้าง เช่นในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ ผู้จรนาคัมภีร์ได้แบ่ง ประเภทของสังขารในขันธ์ ๕ ไว้เป็น ๓ หมวด คือ สังขารที่ประกอบกับกุศลจิต สังขารที่ประกอบ กับอกุศลจิต และสังขารที่ประกอบกับอัพยากฤตจิต (เป็นกลางๆ)5 0 ๕๐ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ พระอนุรุทธาจารย์เรียกชื่อว่าเจตสิกแบ่งเป็น๓หมวดเช่นกันต่างกันแต่ชื่อหมวด ดังนี้ โสภณเจตสิก ๒๕ อัญญสมานเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนาและสัญญา) และ อกุศลเจตสิก ๑๔5 1 ๕๑ ส่วนคัมภีร์ฎีกา เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี ซึ่งเป็นคัมภีร์ฎีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้แยกประเภทออกเป็นอย่างอื่น เป็น การอธิบายเนื้อความเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์อรรกถกถาดังกล่าว52 ๕๒ ๔๙ อภิ.สงฺ. (ไทย) ๓๔/๖๒/๓๘, ๑๑๔/๔๘. ๕๐ ดูรายละเอียดใน วิสุทฺธิ. (ไทย) ๔๕๙-๔๗๐/๗๔๙-๗๕๖. ๕๑ ดูรายละเอียดใน สงฺคห(บาลี) ๘. ๕๒ ดูรายละเอียดใน สงฺคห (บาลี) ๗-๑๐, พระอนุรุทธาจารย์ “อภิธัมมัตถสังคหะ”, ใน อภิธัมมัตถ- สังคหะและปรัมัตถทีปนี, แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์, พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทาน