SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  18
Télécharger pour lire hors ligne
อิสราเอล –ปาเลสไตน์ สงคราม ความขัดแย้ง การสร้างรัฐชาติในพื้นที่จินตนาการ
ธนชาติ ธรรมโชติ
เครือข่ายเสริมสร้างสังคมสันติสุข
1)บทนา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรัฐชาติทั้งที่ล่มสลายและเกิดใหม่ หนึ่งในประเทศเกิด ใหม่ ที่จะกล่าวถึง นั่นคือ
ประเทศอิสราเอล อันมีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ที่มักเรียกกันว่า “ยิว” การสร้างรัฐชาติอิสราเอลเป็น
ข้อบ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐชาติมิได้เป็นหน่วยทางการเมืองที่กาเนิดตามธรรมชาติหรืออุบัติพร้อมกับมนุษย์โลก
หากเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตาม แนวคิดของ Henry
Lefebvre ที่มองว่ารัฐชาติเป็นหน่วยทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่สองประเภท คือ หนึ่งพื้นที่ทาง
ดินแดน (territorial space)ซึ่งเป็นพื้นที่กายภาพ (physical space) หรือพื้นที่การรับรู้นั่นคือมีลักษณะเป็น
วัตถุจับต้องได้ มีการผลิตทางสังคมเชิงประจักษ์ สามารถสัมผัส หรือรับรู้ได้ และสองพื้นที่ในจินตนาการ
(figurative space) เป็นพื้นที่ทางความคิด(mental space) เกิดจากการออกแบบ สัญลักษณ์ รหัส และ
วาทกรรมเกี่ยวกับพื้นที่ เป็นพื้นที่ทางความคิดที่บรรจุไปด้วยการนาเสนออุดมการณ์1
การนาเสนอเรื่องการสร้างรัฐชาติอิสราเอลจะสะท้อนให้เห็นความเกี่ยวข้องของกระบวนการสร้างรัฐชาติกับ
พื้นที่ดินแดนและพื้นที่จินตนาการ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จึงถูกขับเคลื่อนร่วมกันในการสร้างรัฐชาติ
อิสราเอล รวมทั้งนาเสนอให้เห็นว่าการเกิดขึ้น และดารงอยู่ของรัฐชาติทั้งในพื้นที่ดินแดนและในพื้นที่
จินตนาการนั้นมักจะเกิดขึ้นภายใต้พลวัตสังคมการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศ 2
ซึ่งหลีกหนีไม่พ้น
เรื่องของอานาจ ที่เน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางสังคมของอานาจที่ไม่เท่าเทียมกันเพราะความสัมพันธ์ทาง
สังคมเป็นรากฐานของอานาจทางการเมือง กล่าวคือรัฐที่มีอานาจทางเศรษฐกิจจะมีอิทธิพลในการกาหนด
เนื้อหาและรูปแบบของโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างรัฐ มีผลต่อการครอบงาระบบ
การเมือง กฎหมายและวัฒนธรรมของรัฐที่อานาจด้อยกว่า และที่สาคัญความสัมพันธ์ระหว่างรัฐถูกกาหนด
โดยความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมเป็นต้นเหตุหนึ่งของความขัดแย้ง การสร้างรัฐชาติของอิสราเอล
จาเป็นจะต้องผนวกความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอานาจภายในสังคม และความเป็นมาเป็นไปด้าน
ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เข้ามาประกอบกัน
1
Lefebvre, Henry. 1991. The Production of Space. Wiley-Blackwell
2
มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ .แผ่นดินพ่อที่รัก พักผ่อนให้สบาย” รัฐชาติ ดินแดน จินตนาการและความขัดแย้งระหว่างเยอรมนี-ฝรั่งเศสกรณีอัล
ซาส-ลอร์เรน. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 17 มิถุนายน 2556- พฤษภคม 2557
การสถาปนารัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ สาเหตุหลักที่สาคัญที่ทาให้เกิดแนวความคิดชาวยิวจะต้อง
มีรัฐเป็นของตัวเองนั้นต้องย้อนกลับไปดูความเป็นมาดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์ โดยชาวยิวมองว่าเป็นผลอัน
เนื่องมาจากการกดขี่ข่มเหงของชนชาติอื่นนับตั้งแต่ในสมัยโบราณในยุคของโมเซที่ได้พาชาวยิวหนีออกจาก
อียิปต์เพราะถูกกดขี่ข่มเหง และในยุคต่อมาชาวยิวก็ยังอยู่อย่างลาบากและถูกกดขี่ข่มเหงตลอดภายใต้
อานาจของชาวเปอร์เซีย กรีก และโรมัน กระทั่งการโจมตีของอาหรับและสงครามครูเสดส่งผลให้ชาวยิว
ต้องอพยพกระจัดกระจายไปอยู่ตามดินแดนต่าง ๆไปทั่ว จนชนชาติดั้งเดิมของเหล่าประเทศนั้นๆต้อง
หาทางขับไล่เสมอมา เป็นต้นว่า ในปี ค.ศ. 1290 อังกฤษประกาศขับไล่ยิวทุกคนให้ออกจาก
ประเทศ จากนั้นในปี ค.ศ. 1392 ฝรั่งเศสก็กระทาเช่นเดียวกัน ตามด้วยสเปนในปี ค.ศ. 1492 โปรตุเกสใน
ปี ค.ศ. 1497 ชาวยิวต้องหลบหนีเอาตัวรอด หากไม่หนีจะถูกกักขังไว้ในที่เดียวกันในนิคมชาวยิว เรียกว่า
Ghetto แรก ๆ สร้างขึ้นในสเปนและโปรตุเกส มีกาแพงสูงล้อมรอบแน่นหนาชาวยิวจานวนมากต้องอยู่
รวมกันอย่างแออัด ต่อมาหลายประเทศในยุโรปพากันสร้าง Ghetto ควบคุมชาวยิว เพื่อจากัดเวลาและ
สถานที่ไม่ให้ชาวยิวไปอยู่ปะปนกับประชาชนทั่วไปด้วยเหตุผลที่ว่า “ยิวจะสร้างความเสื่อมและความ
อัปมงคลให้แก่ศาสนาคริสต์” และรุนแรงสุดคือการกาจัดชาวยิวในสมัยนาซี ซึ่งเป็นความทรงจาของชาวยิว
และสังคมโลก
การสร้างรัฐชาติอิสราเอลมีความสลับซับซ้อนจากพื้นที่ทางความคิดพันธสัญญาของพระเจ้าเรื่องดินแดน
เพราะชาวอิสราเอลคือบุตรของพระผู้เป็นเจ้าและเป็นชนชาติที่จงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าที่พระผู้เป็นเจ้า
เลือกสรรแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจึงได้ประทานดินแดนให้กับกลุ่มชนที่เป็นบุตรของตนสืบพงศ์พันธุ์ต่อไปใน
พื้นที่ “คะนาอัน” ส่งผลให้พื้นที่กลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาในความหมายของชาติพันธ์ยิว การสร้าง
รัฐชาติจึงได้รวมแนวคิดเรื่องพื้นที่ดินแดน(territorial space)ซึ่งเป็นพื้นที่กายภาพ(physical space) และ
แนวคิดพื้นที่ในจินตนาการซึ่งเป็นพื้นที่ทางความคิด(mental space)ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมหรืออุดมการณ์
เกี่ยวกับพื้นที่ ร้อยเรียงเข้าด้วยกันเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างรัฐชาติภายใต้ความเป็นคนชาติพันธุ์
เดียวกันไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดของโลกใบนี้ต้องร่วมกันสร้างรัฐชาติอิสราเอล ซึ่งท้ายสุดได้นาไปสู่ความ
ขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่หยั่งรากลึกมาอย่างยาวนาน และยังขยายความขัดแย้งไปยังชาติ
อาหรับอื่นๆ
2)แนวคิดและจินตนาการในการสร้างรัฐชาติอิสราเอล
เมื่อ 6,500 ปีมาแล้ว มีอารยธรรมเกิดขึ้นพร้อมๆกันสองแห่ง แห่งแรกเกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของ
อิสราเอล เป็นอารยธรรมของแคว้นเมโสโปเตเมีย อีกแห่งหนึ่งเกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิสราเอลเป็น
อารยธรรมอียิปต์โบราณ สองอารยธรรมขัดแย้งสู้รบทาสงครามกันเรื่อยมา ในแคว้นเมโสโปเตเมียมีชายคน
หนึ่งชื่อเตราห์พักอาศยอยู่ ต่อมาเตราห์ได้นา อะบราฮามบุตรชาย ซาราห์บุตรสะใภ้ และ Isaac หลานชาย
เดินทางข้ามแม่น้ายูเฟรตีสอีกฝั่งหนึ่งแล้วเดินทางไปทางเหนือทาให้เตราห์และครอบครัวได้ชื่อว่า “อิวริม”
แปลว่าผู้มาจากฟากโน้น ต่อมาเพี้ยนเป็นคาว่า “ฮีบรูว์” (Hebrew ) เมื่อเตราห์เสียชีวิตลง คงเหลืออะบรา
ฮามเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป
ต่อมาอะบราฮามได้พบกับพระผู้เป็นเจ้า และได้ทาสัญญากันบนภูเขาแห่งหนึ่ง โดยพระผู้เป็นเจ้ารับเอา
อะบราฮามและคณาญาติลูกๆหลานๆไว้เป็นชนในอุปการะ และให้ชนในอุปการะที่เป็นผู้ชายต้องทาสุหนัต
คือการตัดหนังหุ้มปลายองชาตเมื่อมีอายุได้แปดวัน หรือมิฉะนั้นต้องตัดเมื่อเข้ารีตนับถือศาสนาเดียวกัน
ส่วนพระผู้เป็นเจ้าจะยกดินแดนให้เป็นสิ่งตอบแทน ดังที่พระเจ้าตรัสกับอะบราฮามว่า
“จงเงยหน้าแลดูสถานที่นี้ ตั้งแต่เจ้าอยู่นี้ไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ดินแดนทั้งหมด
ที่เจ้าแลเห็นนี้ เรายกให้เจ้าและพงศ์พันธุ์ของเจ้าตลอดไป เราจะทาให้เชื้อสายของเจ้ามากเหมือนผงคลีดิน
...จงลุกขึ้นเดินเที่ยวไปตลอดดินแดนนี้ ให้ทั่วทั้งด้านยาวและด้านกว้างเถิด ด้วยว่าเรายกดินแดนนี้ให้เจ้า”
ต่อมาดินแดนที่ว่านั่นก็คือ “คะนาอัน” ที่ชาวอิสราเอลยึดถือกันมา ว่าเป็น“ดินแดนแห่งพันธสัญญา” ของ
พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่ชนชาติอิสราเอล ภายใต้จินตนาการ “ชนชาติ ที่พระผู้เป็นเจ้าเลือกสรร”
อะบราฮามและครอบครัวได้ออกเดินทางไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา ที่พระองค์จะประทานให้ จึงเป็น
จุดเริ่มต้นของชาติพันธุ์อิสราเอล3
ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าที่ได้พบกับอะบราฮาม นั้นเป็นพระผู้เป็นเจ้าพระองค์
เดียวบนโลกใบนี้ที่ได้สร้างโลกมนุษย์ สุริยจักรวาล และสรรพสิ่ง ทาให้ความคิดเรื่องพันธสัญญา เรื่องชาติ
พันธุ์ที่พระผู้เป็นเจ้าเลือกสรรแล้วได้ฝังในความรู้สึกนึกคิดของชาติพันธุ์ยิวตลอดมา ขณะนั้นเมืองต่างๆ มี
การนับถือรูปเคารพ และเทพเจ้าของตนแต่ละชาติพันธ์ต่างกันหลากหลายองค์ลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่
เคารพเทวดาหลายองค์ย่อมยุ่งยากในด้านพิธีกรรม แต่อะบราฮามคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริงจะมีเพียงพระองค์
เดียว เน้นไปในแนวทางที่จะทาให้จิตใจสูงขึ้นโดยไม่ให้ความสาคัญกับวัตถุรูปร่าง จึงง่ายในการปฏิบัติ ไป
ไหนๆจึงนาพระผู้เป็นเจ้าของตนไปได้ทุกๆที่
Isaac บุตรของอะบราฮามกาเนิดกับนางซาร่า ซึ่งต่อมา Isaac มีบุตร 2 คนหนึ่งในนั้นคือ Jacob โดย
Jacob ได้พบชายไม่ทราบชื่อ ไม่เห็นใบหน้าแต่ปล้าต่อสู้กันจนเกือบสว่าง Jacob ถามชื่อแต่ชายผู้นั้นไม่
ตอบ เพียงแต่บอกว่าต่อแต่นี้ต่อไปเจ้าได้ชื่อใหม่ว่า “อิสราเอล” ก่อนที่จะแยกออกจากกันชายผู้นั้นได้อวย
พรให้ ซึ่ง Jacob มั่นใจว่าเขาพบกับพระผู้เป็นเจ้า4
เชื้อสาย Jacob มี 12คน หนึ่งในนั้นคือโยเซฟ
3
คึกฤทธิ์ ปราโมช.ยิว.2547.เดอะบุ๊คส์ เลิฟเวอร์ จากัด.
จรัญ มะลูลีม รศ.ดร. (แปล) อัลเบิร์ตฮูรานีม, มาลิส รูทเวน. 2550.ประวัติศาสตร์ของชนชาติอาหรับ.โครงการตาราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4
มัสลัน มาหะมะ .ปาเลสไตน์ แผ่นดินที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน. www.islammore.com.
ต่อมาโยเซฟได้นาผู้คนเดินทางออกจากคะนาอัน ไปสู่อียิปต์ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าได้ตั้งรกรากทา
มาหากินที่นั่น กระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองฟาโรห์ผู้ปกครององค์ต่อมาได้ประกาสให้ยิวเตก
เป็นทาสของหลวง แต่นั้นมาชาวยิวต้องทางานหนักตลอดจนถูกกดขี่ปราศจากเสรีภาพจนหาความสุขแทบ
ไม่ได้ชาวยิวตกระการาบากในอียิปต์ถึง 400 ปี ชาวยิวอยู่ที่ไหนก็ได้ขยายเผ่าพันธุ์อย่างต่อเนื่อง จนพระ
เจ้ากรุงอียิปต์ได้ออกประกาศให้จับเด็กผู้ชายที่เกิดใหญ่ชาวยิวไปฆ่าเสียให้สิ้น จึงมีครอบครัวชาวยิว
ครอบครัวหนึ่ง บิดากับมารดาทารกเกิดใหม่เกรงว่าบุตรชายของตนจะจบชีวิตลงจึงได้เอาไปแอบไว้เป็น
เวลาสามเดือน แต่ก็เกรงว่าจะถูกจับจึงได้นาบุตรของตนนาบุตรของตนใส่กระจาดสานด้วยกกลอยน้าแล้ว
ปล่อยลงให้ไหลไปกับกระแสน้าไนล์ ด้วยความบังเอิญพระราชธิดาพระเจ้ากรุงอียิปต์เสด็จลงมาสรงน้าจึง
นาไปเลี้ยงในฐานะราชบุตรบุญธรรมและให้ชื่อว่า “โมเซ”
เมื่อเติบโตขึ้นโมเซได้เห็นชาวยิวถูกผู้คุมชาวอียิปต์ทุบตีทาร้ายอย่างทารุณ จึงเข้าช่วยเหลือและฆ่าผู้คุมทาส
ตายจึงได้หลบหนีไปจนได้ไปพบกับพระผู้เป็นเจ้า และพระผู้เป็นเจ้าตรัสกับ โมเซ ว่า “ให้กลับไปอียิปต์เพื่อ
นาชาวยิวออกมาสู่ความเป็นไท”
เมื่อได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้ปลดปล่อยชาวยิวในอียิปต์ โมเซจึงกลับไปอียิปต์และเป็นผู้นาชาวยิวออก
เดินทางไปยังปาเลสไตน์แผ่นดินแห่งพันธสัญญาในฐานะชาวยิวโมเซได้เข้าพิธีทาสุหนัตแบบยิวเพื่อเป็นชน
ในอุปการะของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเดินทางแม้จะถูกกองทัพแห่งอียิปต์ขัดขวาง แต่พระเจ้าได้เปิดทะเลแดง
ให้ชาวยิวผ่านไปได้ และกลับไหลท่วมทหารอียิปต์ที่ตามมา จากนั้นระหว่างทางที่โมเซ พาชาวอียิปต์
กลับไปยังแผ่นดินแดนแห่งพันธสัญญา แต่เนื่องจากชาวอิสราเอลไม่ปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระเจ้า จึง
ถูกลงโทษให้หลงทางในทะเลทรายซีนายเป็นเวลา 40 ปี
หลังจากที่เดินทางเข้าสู่คานาอันดินแดนแห่งพันธสัญญาแล้ว โมเซได้เสียชีวิตลง แต่ลูกหลานของชาวฮีบรูก็
ได้อาศัยอยู่ในเมืองคะนาอันจนสร้างชาติจากชนเผ่าเชื้อสายของ Jacob จากทั้ง12 เผ่า5
และที่สาคัญได้มี
การตราประมวลกฎหมาย โมเซ ขึ้นมาเป็นประมวลกฎหมาย แบ่งเป็นสามภาค โดยภาคแรกเป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ภาคสองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐ และภาคสามเป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า เมื่อมีการตรากฎหมายทาให้ชาวยิวกลายเป็นชนชาติขึ้นมา
ทันที
กษัตริย์พระองค์แรกของชาวยิวคือพระเจ้าซอล หลังจากนั้นเป็นพระเจ้าเดวิดซึ่งเป็นนักรบเมื่อได้ขึ้น
ครองราชย์ พระองค์ได้สร้าง “เยรูซาเร็ม” เป็นเมืองหลวง เยรูซาเร็มจึงกลายเป็นนิมิตรหมายแห่งความเป็น
5
ปริยานุช ปัญจวงศ์. 2543. อิสราเอล. เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นันทนา เตชะวณิชย์..ปรวัติศาสตร์ตะวันออกลางสมัยใหม่.2545. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
ชาติยิว นอกจากนั้นพระองค์ได้เตรียมสร้างสถานที่บูชาพระผู้เป็นเจ้าของชาวยิวกลางกรุงเยรูซาเร็มแต่สิ้น
รัชกาลไปก่อน พระเจ้าโซโลมอนจึงได้สร้างมหาวิหารยิ่งใหญ่จนกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายู
ดาย จนกระทั่งกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของทั้งศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามในเวลาต่อมา
ดินแดนคานาอันถูกเปลี่ยนมือหลายครั้ง ทั้งจากอาณาจักรโรมัน อาณาจักรคอนสแตนติน และกองทัพ
มุสลิมเข้ายึดครอง สงครามแย่งชิงแผ่นดินชาวยิวตกเป็นเหยื่อเสมอ ตกไปเป็นเชลย ต้องถูกฆ่า และอพยพ
กระจัดกระจายไปทั้งในยุโรป เอเซีย และทวีปอเมริกา ชาวยิวจึงทุกข์ทรมานจากสงครามมานับครั้งไม่ถ้วน
และครั้งที่สาคัญคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนาซี ยิวถูกฆ่าไปประมาณหลาย
ล้านคน แต่ชาวยิวก็ยังยึดมั่นในพันธสัญญาระหว่างพวกเขากับพระเจ้า ที่ว่าพระเจ้าจะนาพวกเขากลับไป
ยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่พระเจ้าเลือกไว้สาหรับชาวยิวเสมอมา นั่นคือ6
อิสราเอล
จินตนาการความเป็นรัฐชาติที่มีการผูกโยงกับพื้นที่ดินแดนและพื้นที่จินตนาการ ได้มีการร้อยเรียงให้เป็น
ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ เผยแพร่ให้กลายเป็นอุดมการณ์ร่วมของสังคม จนเป็นพลังสาคัญใน
กระบวนการสร้างรัฐชาติ ดังที่ Elston กล่าวว่า “สาหรับชาวยิวนั้นแน่นอนต้องมีความต่อเนื่องทางจิตที่ไม่
ขาดตอนมาตั้งแต่ชนชาวยิวกระจัดกระจายไป ความต่อเนื่องทางจิตใจนี่เองที่รักษาชาวยิวไว้ให้เป็นชาติ
เดียวกันอยู่ได้ ถึงแม้ว่าจะได้กระจัดกระจายไปอยู่ในดินแดนต่างๆ แต่ทาให้รัฐอิสราเอลอันเป็นเอกราชได้
เกิดขึ้นมาใหม่อีก” รวมทั้ง ออเบรย์ ซี.ดาส กล่าวว่า “อิสราเอลเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกบันทึกมา
ตั้ง 4,000 กว่าปี คือตั้งแต่สมัยไบเบิลมาถึงสมัยที่ชาวโรมันทาลายกรุงเยรูซาเล็ม และสรุปว่านับตั้งแต่นั้น
มา ว่าอิสราเอลก็ไม่ได้มีเอกราชเลยจนถึงการกาเนิดใหม่ของประเทศอิสราเอล เมื่อปี ค.ศ. 1948” เป็นการ
ยืนยันความเชื่อระหว่างประวัติศาสตร์บอกเล่าโบราณเกี่ยวกับชาติพันธุ์อิสราเอลได้อย่างดี นี่คือการร้อย
เรียงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ให้สอดรับกับจินตนาการสร้างรัฐ7
โดยนาพื้นที่ดินแดนและพื้นที่
จินตนาการมาขับเคลื่อนด้วยกัน
ในที่สุดความพยายามของชาวยิวที่จะก่อตั้งรัฐก็สาเร็จเมื่อรัฐบาลอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลในดินแดนปาเลส์ไตน์
อนุญาตให้ชาวยิวให้กลับเข้าไปในปาเลสไตน์อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก็คือประเทศอิสราเอลใน
ปัจจุบัน ชาวยิวได้ใช้เงื่อนไขข้อความในพระคัมภีร์ จุดประกายอ้างความเป็นเจ้าของดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้า
ประทานให้ นั่นคือดินแดนแห่งพันธสัญญา
3) การสร้างรัฐชาติอิสราเอล
6
ปริยานุช ปัญจวงศ์. 2543. อิสราเอล. เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
7
Elston . Israel : The Making of a nation และ ออเบรย์ ซี.ดาส. Israel,A Young State in Asia อ้างใน กิติมา อมรทัต.2532. วิกฤติการณ์ใน
ตะวันออกกลาง: กรณีพิพาทปาเลสไตน์-อิสราเอล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
การกดขี่ข่มเหงชาวยิวที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษ สเปนและเยอรมนี ทาให้
ชาวยิวตกอยู่ท่ามกลางแรงเสียดทานจากสังคมมาตลอด ประกอบกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์ในหลายยุค
สมัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษก็พบว่าชาวยิวในยุคก่อนก็ถูกปกครองอย่างไม่เป็นธรรมจาก
อาณาจักรเปอร์เซีย กรีกและโรมัน เป็นต้น กระทั่งชาวยิวในอดีตที่เคยมีดินแดนดั้งเดิมล่มสลาย กระจัด
กระจายไปอาศัยในหลายประเทศ จากการรับรู้ความปวดร้าวที่ได้รับตลอดประวัติศาสตร์จึงทาให้ยิวรุ่น
หลังเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มปัญญาชนของชาวยิวและได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การยิวสากลขึ้นมา
3.1 องค์การยิวสากล ไซออนิสม์ (Zionist)
ในปี ค.ศ.1897 ไซออนิสม์ (Zionist) ก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นสถาบันเรียกร้องความเป็นธรรมและสิทธิในด้าน
ต่างๆให้กับชาวยิว ได้รับการสนับสนุนจากชาวยิวทั่วโลก ภายใต้การนาของ Theodor Herzl8
โดยมีแนวคิด
ว่าการที่จะแก้ปัญหาให้กับชาวยิวได้อย่างถาวรนั้นก็คือการที่ชาวยิวจะต้องมีรัฐเป็นของตน Zionist ทา
หน้าที่รวบรวมและนาชาวยิวกลับถิ่นฐานเพื่อสร้างรัฐชาติยิวขึ้นใหม่ในดินแดนที่ชาวอาหรับอาศัยอยู่นั่นคือ
ปาเลสไตน์
การเคลื่อนไหวของไซออนิสต์ มีทั้งการโฆษณาชวนเชื่อให้ชาวยิวอพยพเข้ามาจะได้รับที่ดินซึ่งจะมอบให้
ชาวยิวเท่านั้น ไม่สามารถมอบหรือโอนให้ผู้อื่นได้หากไม่ใช่“ประชาชนยิว” สิ่งนี้เป็นการป้องกันชนพื้นเมือง
ชาวอาหรับมิให้ครอบครองพื้นที่ โดยนัยหนึ่งก็คือกีดกันการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ การเคลื่อนไหวของไซออ
นิสต์ ไม่ใช่แค่เพียงการกีดกันหรือเอาเปรียบประชาชนชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ต้องการขับไล่ออกไปจาก
พื้นที่ แล้วนาชาวยิวเข้ามาครอบครองดินแดนแทนคนพื้นเมืองดั้งเดิม รวมทั้งการกาจัดชาวนา ช่างฝีมือ
และผู้อยู่อาศัยในเมืองของปาเลสไตน์ให้หมดสิ้น และแทนที่ด้วยแรงงานใหม่ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ
ประชากรผู้มาตั้งรกรากใหม่ชาวยิว มันคือการสร้างสังคมขึ้นใหม่แทนสังคมเดิม
ทั้งนี้ Theodore Herzl ได้บันทึกไว้ว่า “เราต้องทาการยึดทรัพย์สินส่วนตัวในดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้ามอบ
ให้กับเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราต้องพยายามนาประชากรที่หมดเนื้อหมดตัวข้ามเขตแดนไป โดยจัดหา
การจ้างงานเพื่อที่มันจะเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ขณะที่มีการปฏิเสธการจ้างงานในประเทศของเรา
กระบวนการของการยึดครองและการเคลื่อนย้ายคนจนต้องทาให้สาเร็จโดยสิ้นเชิงและทาอย่างรอบคอบ”
ชาวยิวเริ่มเดินทางกลับเข้าปาเลสไตน์อย่างมีแผนยุคแรกระหว่าง ค.ศ.1880 ถึง 1900 ชาวยิวที่เป็นชาวไร่
ชาวนากลับมาเพื่อสร้างไร่นา ในยุคที่สองระหว่าง ค.ศ.1900 ถึง 1914 กลุ่มที่มีความรู้และคนงานได้เข้ามา
เพื่อดาเนินงานด้านกสิกรรมให้ถูกหลักวิชา ยุคทีสามระหว่าง ค.ศ.1914 ถึง 1924 คนหนุ่มคนสาว พ่อค้า
8
http://answerup.wordpress.com. Zionism Facts and Myths book.
และธุรกิจเข้ามาสร้างเมือง ตั้งอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และกาลังทหาร ยุคที่สี่ ระหว่าง ค.ศ. 1925
ถึง 1939 ปัญญาชนอาชีพต่างๆเช่น แพทย์ ทนายความ ฯลฯ และนักบริหารได้มาถึงเพื่อวางแผนในการ
ก่อตั้งรัฐและในยุคที่ห้าคือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวทุกชั้นทุกวัยและทุกอาชีพทุกฐานะ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 19
กองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จาเป็นต้องใช้วัตถุดิบ
สาคัญคือ อาซีโทน (Acetone) สั่งเข้าจากเยอรมนีคู่สงคราม กระทั่งดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิว
สมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ได้คิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูงซึ่งสามารถผลิต
ได้เองโดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย อังกฤษได้รับความร่วมมือจากดร.คาอิม จึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบใน
สงครามโลกต่อไป ทาให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ได้ตอบแทนด้วยการ
มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พานักถาวรแก่ชาวยิว โดย Lord. Arthur James Balfour รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามข้อตกลง “Balfour” ในปี ค.ศ.1917 10
เป็น
การมอบที่นาไปสู่ปัญหาใหม่ เพราะผู้มอบไม่ใช่เจ้าของ ผู้รับมอบก็ไม่มีสิทธิ ปาเลสไตน์เจ้าของดินแดนที่
แท้จริงไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ ทั้งนี้ Arthur James Balfour เขียนแถลงการณ์ถึงผู้นาชาวยิว Rothshild
เพื่อให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลของอังกฤษจะสนับสนุนความคิดในการจัดหาถิ่นฐานบ้านเกิดให้กับชาวยิว
ความว่า
“สานักงานการต่างประเทศ วันที่ 2 พฤษจิกายน 1917 ลอร์ดโรทชิลที่รัก:ฉันมีความยินดีที่เป็นตัวแทนของ
รัฐบาลสูงสุดในการที่จะแจ้งให้ทราบว่า คาแถลงการณ์แสดงความเห็นใจต่อความมุ่งปรารถนาของชาวยิว
ไซออนิสต์ได้รับการยอมรับและอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี:มีความเห็นชอบสนับสนุนการสร้างชาติของ
ประชาชนชาวยิวในปาเลสไตน์ และจะใช้ความพยายามที่ดีที่สุดในการอานวยความสะดวกต่อวัตถุประสงค์
นี้ เป็นที่เข้าใจโดยชัดเจนว่า ไม่มีสิ่งใดจะเป็นผลเสียต่อสิทธิพลเมืองและศาสนาของสังคมคนที่ไม่ใช่ยิวใน
ปาเลสไตน์ หรือสิทธิและสถานภาพทางการเมืองของชาวยิวในประเทศอื่นๆฉันจะสานึกในบุญคุณ ถ้าคุณ
จะนาแถลงการณ์นี้ไปบอกให้รับทราบกันในสหภาพไซออนิสต์”
ทั้งนี้อังกฤษหวังว่า ด้วยวิธีการดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากยิวในสงครามโลกครั้งที่ 1 แถลงการณ์
บัลฟอร์ กลายเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดของการสนับสนุนจากนานาชาติเพื่อสถาปนาอิสราเอลในเวลาต่อมา
นอกจากนั้นข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ก็ได้ทาสัญญากับชาวอาหรับอีกฉบับ นัยว่าหากอาหรับช่วย
อังกฤษรบกับเยอรมัน อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ ท้ายสุดเมื่อสิ้น
9
ปรีชา ศรีวาลัย. 2549. กรณีพิพาทตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
10
มัสลัน มาหะมะ . ฟิลัสฏีนดินแดนที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน.
สงคราม อังกฤษมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะทั้งยิวและอาหรับต่างก็อ้างข้อตกลงคนละฉบับใน
การครอบครองดินแดน11
ไซออนิสต์วางนโยบายจัดหาที่ดินในปาเลสไตน์มาเป็นของตนหลากหลายวิธี ส่วนวิธีที่ชอบธรรมที่สุดให้
เพื่อให้สังคมโลกรับรู้คือการจัดซื้อจากเจ้าของที่ดินทั้งชาวอาหรับและตุรกี ชาวยิวกล่าวว่าที่ดินที่ได้มาส่วน
ใหญ่ด้วยการซื้อจากเจ้าของเดิม มิใช่เอามาด้วยกาลังทหารหรือด้วยการดาเนินการทางการเมือง แต่ดู
เหมือนว่าสังคมจะไม่เชื่อเท่าใดนัก ไม่มีใครรู้ ว่าเมื่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นใน ค.ศ. 1948 นั้น ยิวได้จ่ายเงิน
ไปแล้วจานวนเท่าใด
ไซออนิสต์ให้การสนับสนุนการก่อตั้ง “รัฐชาติยิว”12
ไม่ใช่เพียงในดินแดนปาเลสไตน์ แต่รวมถึงในจอร์แดน
ทางใต้ของเลบานอน และ พื้นที่บริเวณที่ราบสูงโกลัน(Golan Height) ซึ่งอยู่ระหว่างทางใต้ของเลบานอน
และทางใต้ของซีเรีย13
และที่สาคัญมีกระบวนการให้นิยามเกี่ยวกับชุมชนยิวว่าพื้นที่นี้ว่า “เป็นส่วนหนึ่ง
ของกาแพงป้องกันสาหรับยุโรปในเอเชียเป็นด่านหน้า ที่ความศิวิไลซ์ปะทะกับความป่าเถื่อน.. …ดังนั้น
การตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์เป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันกระแสแห่งประชาธิปไตย
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป อิสราเอลจึงเปรียบเสมือนเป็นอู่หรือป้อมปราการแห่งประชาธิปไตยท่ามกลางรัฐ
และประเทศอาหรับทั้งหลายที่มีนักเผด็จการปกครองที่เต็มไปด้วยความล้าหลังและกดขี่ข่มเหง” การอ้าง
เป็นรัฐกันชนในการสถาปนารัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ทาให้ให้มหาอานาจตะวันตกเห็นด้วยกับความ
จาเป็น โดยเฉพาะอังกฤษ กับสหรัฐอเมริกา ความขัดแย้งบนดินแดนแห่งนี้มันเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง
ระหว่างประเทศไปโดยสมบูรณ์ มหาอานาจได้ประโยชน์ แต่ผู้เสียประโยชน์คือประชาชนปาเลสไตน์
แบนกูเรียน(ผู้สถาปนารัฐอิสราเอล และนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล) บรรยายในปี 1918 ถึงอาณา
เขตของรัฐในอนาคตว่า “ทางเหนือ มีแม่น้าลิทาเนีย(ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน) ทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณทะลเลทรายเอาญา (Owja ) จนถึง 20 ไมล์ทางใต้ของดามัสกัส ขอบทางใต้
เข้า ไปในซีนายเป็นอย่างต่า จนถึงทะเลทรายอัลอะริช(al-Arish) ทางตะวันออก ไปถึงทะเลทรายซีเรีย
รวมถึงบริเวณทรานจอร์แดน”ไซออนิสต์ ได้ปลุกระดมเรื่องการนับถือศาสนา(ยูดาย) ของตน และปลุกระดม
ความคิดชาตินิยม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างรัฐ
11
กิติมา อมรทัต.2532. วิกฤติการณ์ในตะวันออกกลาง: กรณีพิพาทปาเลสไตน์-อิสราเอล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
12
บันฑิตย์ สะมะอุน. 2546. อิสราเอล. เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
_________. 2547. อิสราเอล, เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
13
จรัญ มะลูลีม, อิมรอน มะลูลีม, กิติมา อมรทัต, และศิระ นวนมี. 2534. บทนาแห่งตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชีย
ศึกษา.
ทั้งนี้การสร้างรัฐจาเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภายนอก เพื่อที่จะให้มีการตรากฎหมายรองรับใน
เวทีนานาชาติ สามารถป้องกันตนเองทางทหาร ซึ่งอังกฤษในขณะนั้นได้ยึดครองปาเลสไตน์ ได้เข้ามามี
บทบาทในช่วงปี 1920และ1930 อังกฤษได้ตรา กฎหมายการกลับเข้ามา(Law of return)ให้สิทธิความเป็น
พลเมืองอย่างอัตโนมัติแก่ชาวยิวที่อยู่ในทุกๆมุมทั่วโลก กลับถิ่นฐาน ขณะที่สิทธิเหล่านี้ไม่มีผลบังคับใช้กับ
ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่อพยพหนีภัยสงคราม ที่มีมากจานวน750,000 คน กฎหมายฉบับนี้ส่งผลให้มีการ
อพยพชาวยิวเข้าปาเลสไตน์ได้ปีละ 16,500 คน แล้วค่อยๆสร้างชุมชนในพื้นที่ปาเลสไตน์ เป็นการสร้าง
ความเข้มแข็งให้ชาวยิว นอกจากนั้นยังมีการตรากฎหมายให้ชาวยิวควบคุมกิจการสาธารณูปโภค ทั้งระบบ
ไฟฟ้าระบบชลประทานรวมทั้งให้ชาวยิวใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่
จึงกล่าวกันว่า ไซออนิสต์ เป็นโครงการขับไล่ประชาชนชาวปาเลสไตน์เพื่อการยึดครองทรัพย์สินและ
ดินแดนของปาเลสไตน์ เมื่อพลเมืองชาวปาเลสไตน์ในอิสราเอล ต้องการให้รัฐของพวกเขาเป็นรัฐของ
พลเมืองทุกคนที่เป็นประชาธิปไตย พวกก็เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นอันตรายต่อรัฐ กฎหมายจึงเป็น
ประชาธิปไตยของชาวยิวเท่านั้นทั้งๆที่ 24% ของประชากรไม่ใช่ยิว ทั้งนี้อิสราเอลให้คาจากัดความตนเอง
ว่าเป็นรัฐของยิวซึ่งรวมถึงชาวยิวทั่วโลกที่ไม่จาเป็นต้องเป็นพลเมืองในรัฐยิวในดินแดน รัฐยิวไม่ใช่รัฐของ
พลเมืองที่อาศัยอยู่ในเวลานี้หากเขาไม่ใช่ยิว ที่ดินส่วนมากของอิสราเอลเป็นทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของชาว
อิสราเอล แต่เป็นของชาวยิวทั่วโลก คนที่ไม่ใช่ยิวอย่างพลเมืองชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล จึงถูกกีดกันใน
การถือครองกรรมสิทธิ์ทุกรูปแบบ ทั้งนี้โดยมีกองทุน JNF เป็นเครื่องมือ คนนับล้านๆคนที่ไม่ใช่ยิวถูกกีดกัน
แยกเขาแยกเราให้กลายเป็นคนอื่นแม้จะอยู่อาศัยในดินแดนเดียวกัน
3.2 กองทุนแห่งชาติยิว (Jewish National Fund : JNF)
กลุ่มไซออนิสต์ รุ่นแรกๆได้ตั้ง "กองทุนแห่งชาติยิว" (The Jewish National Fund, JNF) เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้น
เพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนในการก่อตั้งอาณานิคมชาวยิวในปาเลสไตน์ มีวัตถุประสงค์แรกคือ การซื้อหรือเช่า
หรือแลกเปลี่ยนหรือวิธีการอื่นๆที่จะได้มาซึ่งดินแดน ป่าไม้ และสิทธิในความเป็นเจ้าของและสิทธิอื่นๆ…
เพื่อวัตถุประสงค์ของการเข้ามาอาศัยอยู่ของชาวยิวในดินแดนนั้น กองทุนแห่งชาติยิว (JNF) มีอานาจใน
การพัฒนาที่ดินไม่ใช่เพื่อขาย กองทุนสามารถให้เช่าที่ดินที่ได้มาแก่ชาวยิวคนใดคนหนึ่งหรือบริษัทใดๆที่อยู่
ภายใต้การควบคุมของยิว ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วง ทายาท ลูกจ้างหรือใครก็ตามที่ทาสัญญาเช่า แม้ถูกโอนหรือ
นาไปจานองจะต้องเป็นยิวเท่านั้น ชาวอาหรับและคนที่ไม่ใช่ยิวถูกห้ามไม่ให้อาศัยหรือทางานในแผ่นดิน
ของJNF ทั้งนี้กองทุนประจาชาติยิว(JNF) ถือครองที่ดินเพื่อเป็นตัวแทนของ “กรรมสิทธิ์ของประชาชน
ชาวยิว”โดยรวม
JNF รวบรวมเงินเพื่อใช้ในการสร้างรัฐ โดยสนับสนุนจากชาวยิวทั่วทุกมุมโลก มีการส่งกล่องรับบริจาคทา
ด้วยดีบุกหรือที่เรียกกันว่า “กล่องเงิน” ไปทั่วโลก ยิวที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวจะเอาเงินมาใส่กล่องนี้ พ่อ
แม่ก็สร้างสานึกสอนลูกๆให้แบ่งค่าขนมใส่กล่อง เพื่อเอาไปกว้านซื้อที่ดินในปาเลสไตน์สร้างรัฐ จน
กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการต่อสู้ในการสร้างรัฐ
ที่ดินเกือบ 20 %ของแผ่นดินอิสเราเอลเป็นของกองทุน JNF ที่ได้จากการซื้อส่วนอีกประมาณ 80% ได้มา
จากการยึดครองกรณีที่ชาวปาเลสไตน์อพยพหนีสงคราม แต่ชาวยิวมองว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ได้มาจากการ
จัดการของกองทุน JNF ซึ่งยังเป็นความเห็นและข้อเท็จจริงที่ต่างกัน ซึ่งที่ดินทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการ
โดยคณะบริหารที่ดินของรัฐบาลอิสราเอล(Israel Lands Administration : ILA) และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่
กองทุน JNF กาหนด
ไซออนิสต์ มักถูกอ้างถึงเสมอว่าเป็น “การเคลื่อนไหวปลดปล่อยชาติยิว” ซึ่งการเคลื่อนไหวปลดปล่อยรัฐ
ชาติเป็นสิ่งดี หากเป็นความพยายามของชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ต่อสู้เพื่อเคลื่อนย้ายอานาจการยึดครอง
ออกไปและนาสิทธิเสรีภาพกลับคืนมา ในทางกลับกัน ไซออนิสต์กลายเป็นโครงการล่าอาณานิคมที่ตั้งอยู่
บนพื้นฐานของการขับไล่ประชาชนชาวปาเลสไตน์และการแย่งชิงทรัพย์สินที่ดินของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งการ
ขับไล่สังหารคนพื้นเมืองดั้งเดิมจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวปลดปล่อยเพื่อสร้างรัฐชาติ แต่มันเป็น
การทาอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติเท่านั้น แต่สิ่งนี้ก็ถูกมองข้ามไป
3.3 รัฐชาติภายใต้การสนับสนุนนานาชาติ
ความพยายามสร้างรัฐ ของไซออนิสต์ ประสบผลสาเร็จอย่างต่อเนื่อง ต่อมาได้เปลี่ยนสถานภาพตัวเองเป็น
รัฐบาลเคียงคู่กับรัฐบาลอังกฤษในการปกครองปาเลสไตน์ มีการจัดตั้งระบบการศึกษาและระบบสุขาภิบาล
และที่สาคัญได้มีการจัดตั้งกองทัพใต้ดินที่เข้มแข็งขึ้นมา เรียกกันว่า “ฮานากาห์” โดยได้รับการสนับสนุน
จากอเมริกา จนชาวยิวหลั่งไหลเข้ามาจานวนมาก ชาวปาเลสไตน์เริ่มแสดงความไม่พอใจ ดังนั้นอังกฤษจึง
เริ่มจากัดจานวนชาวยิวที่จะอพยพเข้าปาเลสไตน์ ซึ่งนาไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกองทัพฮานากาห์
กับอังกฤษ หลังจากนั้นฮานากาห์ มีการก่อการร้ายในปาเลสไตน์ อย่างต่อเนื่อง อังกฤษจึงถอนตัว และส่ง
มอบความดูแลปาเลสไตน์ให้องค์การสหประชาชาติ
ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ 14
ปี ค.ศ. 1947 จึงลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว
โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย การแบ่งดินแดน ทาให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น
14
ไซออนิสต์ไม่ยอมรับแผนแบ่งเขตของ UN จากปลายปี 1947 ถึง พฤษภาคม 1948 ไซออนิสต์ได้โจมตีและรุกรานอาหรับ และผลักดันให้คนที่
ไม่ใช่ยิว 300,000 คนละทิ้งถิ่นฐานของตนเอง รวมทั้งขยายขนาดดินแดนไกลออกไปจากขอบเขตของรัฐยิวที่กาหนดในแผนแบ่งเขตUN มีนาคม
1948 ถึง พฤษภาคม 1948 ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 300,000 คน ถูกสังหารหมู่หลายเมือง ทั้ง Deir Yasin ทางตะวันตกของเยรูซาเลม Tiberias
Haifa Jafa และ Beishan
ระหว่างการสร้างรัฐอิสราเอลชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้ลี้ภัยมากกว่า 4.3 ล้านคน ลงทะเบียนกับ UN มากกว่า 1.7 ล้านคน ส่วนใหญ่
ไม่ได้ลงทะเบียน และหนึ่งในสามของผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนจะอาศัยอยู่ใน 59 ค่ายผู้ลี้ภัยของ UN ในประเทศรอบๆพื้นที่ของเขตเวสแบงค์และ
2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวมุสลิมอาหรับเป็นการกระทาที่
ไม่เคยได้รับความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับในพื้นที่ นาไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่าง
ชาวยิว กับชาวอาหรับในหลายพื้นที่ นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 1947 จนในที่สุดก็ถึงจุดแตกหัก เมื่อ
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษถอนออกจากปาเลสไตน์โดยสิ้นเชิงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.
1948 ในวันนั้นชาวยิวได้ประกาศเอกราชของอิสราเอลทันที มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบน
ดินแดนปาเลสไตน์ โดยมีนายเดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นาคนแรก โดยตั้งชื่อว่า “ รัฐ
อิสราเอล” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างชาวอาหรับกับชาวยิว
เพราะในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 หลังจากการก่อตั้งรัฐชาติอิสราเอลเพียง 1 วัน สงครามกลางเมือง
ระหว่างชาวยิว กับชาวอาหรับ ได้ทวีความรุนแรงจากที่เคยเป็นเพียงสงครามกลางเมืองขยายเป็นสงคราม
ระหว่างประเทศ เนื่องจากอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อีรัก เลบานอนและกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ รวมมือกัน
จัดตั้งเป็นกองทัพอาหรับ(Arab League) ได้เคลื่อนพลเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์ และโจมตีกองกาลังชาวยิว
ซึ่งขณะนั้นอิสราเอลยังไม่มีการจัดตั้งกองทัพอย่างเป็นทางการ มีเพียงการจัดตั้งกองกาลัง“ฮานากาห์”ที่
เข้มแข็งเพื่อสร้างรัฐเท่านั้น สงครามครั้งนี้เรียกว่า “สงครามอาหรับ-อิสราเอล” ส่วนชาวอิสราเอลเรียกว่า
“สงครามแห่งการประกาศอิสรภาพ”(War of Independence )
สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานถึงเกือบ 10 เดือน ระหว่างสู้รบอิสราเอลได้ประกาศจัดตั้งกองทัพของตน
ขึ้นมา และจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล มีการลงนามข้อตกลง Armistice ระหว่างอิสราเอลและกองทัพ
อาหรับ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินแดนในภูมิภาคนี้ตามมา กล่าวคือกลุ่มประเทศอาหรับกับ
ปาเลสไตน์สูญเสียดินแดนจากสงครามโดยอียิปต์ต้องถอยออกจากดินแดนปาเลสไตน์ แต่ยังได้ครอบครอง
ฉนวนกาซา(Gaza Strip) จอร์แดนต้องถอยออกจากดินแดนปาเลสไตน์และเสียดินแดนบางส่วนของเขต
West Bank ให้แก่อิสราเอล แต่ยังคงครอบครองเขต West Bank บางส่วน และเยรูซาเล็มตะวันออก ครั้งนี้
ทาให้อิสราเอลสามารถยึดดินแดนอาหรับได้เพิ่มถึง 60% ของพื้นที่ที่ชาวอาหรับครอบครองก่อนสงครามซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ คือเมือง Jaffa, Lydda, Ramle, Galilee พื้นที่ของเมือง Tel-Aviv รวมถึง
เยรูซาเล็มตะวันตกทั้งหมด และบางส่วนของ West Bank
การที่สหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์ โดย
สนับสนุนด้านการเงินและด้านอาวุธ ไม่นานอิสราเอลจึงกลายเป็นกองทัพที่เข้มแข็ง นับแต่นั้นมา อิสราเอล
ก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มประเทศอาหรับตามมา แต่
ฉนวนกาซาและประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยจะถูกบังคับโดยกฎหมายที่ตราโดยอิสราเอลให้เป็น “ผู้ที่ไม่มาปรากฏตัว”ดังนั้น 4 ล้านกว่าคนของผู้ลี้
ภัย ทั้งที่ดินและทรัพย์สินของพวกเขาในอิสราเอลถูกโอนสิทธิไปยังประชาชนชาวอิสราเอลโดย JNS
การสร้างรัฐอิสราเอลไม่ได้สร้างสันติภาพอย่างที่คิด เพราะอิสราเอลพยายามขยายพื้นที่และพรมแดนจึง
ทาสงครามกับชาวปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง หลังจากสงคราม อิสราเอลและอาหรับก็ยังคงมีสงครามย่อยๆ
ระหว่างกันตลอดช่วงเวลานับสิบปี โดยเป็นการโจมตี การสังหารชาวยิวของชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับการ
สนับสนุนจากอียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย ซึ่งชาวยิวเรียกการกระทาเหล่านี้ว่า “ปฏิบัติการแก้แค้น” (Reprisal
Operation) แม้จะไม่มีสงครามขนาดใหญ่แต่ก็มีความรุนแรงอยู่ตลอดเวลาตลอดมา
โดยเฉพาะ "สงคราม 6 วัน"(Six Day War) ในปี ค.ศ. 1967 ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล
ประธานาธิบดีนัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกาลังทหารกว่า 7 แสนนาย จากความร่วมมือของ 7 ชาติอาหรับ
เข้าทาสงครามกับอิสราเอลผลของสงครามยิวเป็นฝ่ายชนะจึงได้ยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของ
ตน ทั้งในเขตกาซาตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้าจอร์แดน (เขต
เวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก สงครามจบลงเพียง 6 วัน กับชัยชนะครั้ง
ยิ่งใหญ่ของอิสราเอลที่สามารถยึดและขยายดินแดนออกไปจากเดิมได้ถึง 4 เท่าตัว ซึ่งดินแดนเหล่านี้
อิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทาการขับไล่ชาวอาหรับออก
จากจากดินแดนของตนเป็นจานวนมาก ประธานาธิบดี นัสเซอร์ ของอียิปต์ถูกลดทอนความเป็นผู้นาชาติ
อาหรับลง "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น
ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ มีการเลือกผู้นาคนใหม่ขึ้น นั่นคือนายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat)
สงครามอาหรับอิสราเอลนาความสูญเสียมาสู่ชาวปาเลสไตน์ ราว 726,000 คน กลายเป็นผู้ลี้ภัยที่ไร้ที่อยู่
อาศัย รัฐอิสราเอลได้ครอบครองดินแดนเพิ่มร้อยละ 78 เป็นของปาเลสไตน์เป็นของตน ผู้ลี้ภัยชาว
ปาเลสไตน์ 247,000 คน ได้ข้ามแม่น้าจอร์แดนเข้ามาสู่อาณาจักรฮาชิไมต์ของจอร์แดน ในขณะที่
ประชาชน 11,000 คน ลี้ภัยอยู่ในกาซา สิ่งที่สาคัญก็คือชาวปาเลสไตน์ได้รับบทเรียนจากการเมือง
ดินแดนที่เคยเป็นดินแดนแห่งบรรพบุรุษของพวกเขาได้ถูกเปลี่ยนมือไปพวกเขากลายเป็นสังคมของผู้อยู่
อาศัย ภายใน 3 สัปดาห์ ศักยภาพทางทหารของอิสราเอลได้ผนวกเยรูซาเล็มเข้าไว้เป็นของตน และให้ส่วน
ที่เหลือของชายฝั่งตะวันตกและกาซาตกอยู่ภายใต้การครอบครองของอิสราเอล15
ภายใต้การยึดครองดินแดนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อิสราเอลได้ตรากฎหมายห้ามพลเมืองชาวปาเลสไตน์ใน
อิสราเอลแต่งงานและหรืออาศัยอยู่อย่างสามีภรรยากับชาวอิสราเอล โดยได้รับการรับรองจากศาลสูงของ
15
จรัญ มะลูลีม, อิมรอน มะลูลีม, กิติมา อมรทัต, และศิระ นวนมี. 2534. บทนาแห่งตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชีย
ศึกษา.
อิสราเอลในปี 2006 เป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า “บุคคลใดที่ไม่ยอมรับอิสราเอลว่าเป็นรัฐของยิวจะไม่
สามารถเป็นพลเมืองในประเทศนี้ได้”
ปัจจัยสาคัญที่ทาให้ชาวยิวสามารถสถาปนารัฐได้ในครั้งนี้ก็เพราะการวางแผนการอย่างฉลาดและแยบยล
เพราะก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนารัฐชาตินั้น มีทั้งการร้อยเรียงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์สร้างความเป็นหนึ่ง
เดียวทางอุดมการณ์ ไซออนิสต์ก็ได้วางแผนซื้อที่ดินในปาเลสไตน์ เพื่อเป็นการปูทางให้ชาวยิวสามารถ
ทยอยเข้าไปอาศัยอยู่ก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการสถาปนารัฐชาติ และที่สาคัญการได้รับแรงสนับสนุนจาก
มหาอานาจ เพราะการสู้รบจนได้ชัยชนะกองทัพที่มีกองกาลังมากกว่าถึง10 เท่าและเข้ายึดพื้นที่ได้จานวน
มาก แสดงถึงแสนยานุภาพทางการทหารของอิสราเอลอย่างชัดเจนทั้งกาลังพลที่เข้มแข็ง อาวุธที่ทันสมัยมี
อานุภาพรุนแรงทาลายล้างสูง สิ่งเหล่านี้คือการสนับสนุนจากมหาอานาจตะวันตก
การเมืองระหว่างประเทศจึงเป็นปัจจัยสาคัญจนสามารถสถาปนารัฐชาติอิสราเอลได้สาเร็จและเข้มแข็ง
อย่างต่อเนื่อง นี่คือวิธีการสร้างรัฐชาติอิสราเอลของชาวยิว พื้นที่พันธสัญญาแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยความ
ขัดแย้ง ความรุนแรง และสงคราม
4) สภาพปัญหาความขัดแย้งภายหลังการสร้างรัฐชาติอิสราเอล
หลังจากการเข้ามาสร้างรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ แล้ว ชาวปาเลสไตน์เองเริ่มตระหนักถึงดินแดน
และอธิปไตยของตน จึงมีการต่อต้านโดยวิธีการต่าง ๆที่หลากหลาย ทั้งทางการเมือง ทางทหาร รวมทั้งการ
ใช้ความรุนแรง เพื่อปลดปล่อยดินแดนของตนจากการถูกยึดครอง จนนาไปสู่การต่อสู้กันอย่างยืดเยื้อ และ
รุนแรง หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติการด้วยความรุนแรงทั้งเปิดเผยและลับ ต่างก็พบว่าการใช้ความรุนแรง
ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาจึงยอมหันหน้าเจรจากันผ่านสหประชาชาติ และเป็นที่มาของการลงนามใน
"ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1" ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเอง
ที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า สันติภาพจึงเกิดขึ้นจากข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว และ
ส่งผลให้อาราฟัต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ16
ในปี 1994 และได้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดี
ปาเลสไตน์ในปี 1995ชาวปาเลสไตน์เริ่มเข้าใจว่า เสรีภาพที่ได้มาเป็นเพียงละครเพราะอาราฟัต
ประธานาธิบดี ไม่มีอานาจใดๆ แม้กระทั่งจะเดินทางออกนอกประเทศก็ต้องขอวีซ่าจากรัฐบาล
อิสราเอล ความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์จึงสวนทางกับแนวทางการสร้างสันติภาพ เพราะหลังจากนั้น
ขบวนการใหม่ของชาวปาเลสไตน์โดยการนาของขบวนการ”ฮามาส”จึงเกิดขึ้นตามมา
16
อาราฟัต รับรางวัลร่วมกับ Yitzhak Rabin และ Shimon Peres) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลใน
สมัยนั้น
เมื่อต้นปี ค.ศ. 2006 พรรคฮามาส ชนะเลือกตั้งจนเป็นแกนนาในการจัดตั้งรัฐบาล ยังความไม่พอใจให้แก่
กลุ่มฟาตาห์ นับจากนั้นเป็นต้นมากระบวนการโค่นล้มรัฐบาลฮามาสจึงเริ่มต้นขึ้นเป็นความขัดแย้งกัน
ภายในของรัฐปาเลสไตน์ เป็นความขัดแย้งทั้งจากภายในและภายนอกโดยมีสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล
เป็นร่วมรับรู้ แม้รัฐบาลฮามาสจะพยายามประนีประนอม โดยยอมแบ่งสรรอานาจให้กลุ่มฟาตาห์ แต่ไม่
เป็นผล สุดท้ายเหตุการณ์จบลงด้วยสงครามกลางเมืองภายในของกลุ่มฮามาสกลุ่มฟาตาห์ อันนาไปสู่การ
ยึดอานาจในฉนวนกาซาโดยพรรคฮามาส ในขณะที่กลุ่มฟาตาห์ก็หันไปยึดครองเขตเวสต์แบงค์ และจัดตั้ง
รัฐบาลขึ้นใหม่ที่นั่นเมื่อช่วงกลางปี 2007 ซึ่งก็เท่ากับว่าดินแดนปาเลสไตน์ในอดีตถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรกคือคือ รัฐชาติอิสราเอล ส่วนที่สองคือฉนวนกาซาภายใต้การนาของรัฐบาลฮามาส17
และ ส่วนที่
สามคือเขตเวสต์แบงค์ภายใต้การนาของรัฐบาลฟาตาห์
จากความขัดแย้งทางการเมืองภายในปาเลสไตน์ กลุ่มฮามาสกับกลุ่มฟาตาห์ ปะทะกันใกล้เมืองกาซา เมื่อ
วันที่ 1 ม.ค 2007 มีผู้บาดเจ็บ กลุ่มฮามาส 18 คน กลุ่มฟาตาห์ 4 คน ได้ถูกลักพาตัวไป ภายหลังมีการ
ปล่อยตัวบางคนออกมา การเผชิญหน้าระหว่างฮามาสกับฟาตาห์ เกิดขึ้นจากการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล
เอกภาพแห่งปาเลสไตน์ร่วมกันล้มเหลวทาให้ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส ขู่จัดการเลือกตั้งเร็วขึ้น แต่
กลุ่มฮามาสปฏิเสธและกล่าวหาว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหาร หลังจากนั้นวันที่ 25 ม.ค. 2007 เมือง
กาซามีการปะทะกันขึ้นมาสามวันต่อเนื่องจนถึงวันที่ 28 ม.ค ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิต 20 คน บาดเจ็บ
66 ราย กลุ่ม ฮามาส ในฐานะรัฐบาลปาเลสไตน์ ประกาศงดการเจรจากับกลุ่มฟาตาห์ในการจัดตั้งรัฐบาล
เอกภาพเนื่องจากความรุนแรงได้ขยายตัวมากขึ้นทาให้การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพปาเลสไตน์ต้อง
หยุดชะงัก ส่วนนาย Tawfiq Abu Khoussa โฆษกฟาตาห์กล่าวว่า “การเจรจาจะดาเนินไปได้อย่างไร ถ้า
หากยังมีระเบิดอยู่ใต้โต๊ะ”18
ปัญหาปาเลสไตน์นับเป็นประเด็นความขัดแย้งที่สาคัญยิ่งของโลก เพราะมีมหาอานาจหลายฝ่ายเข้ามา
เกี่ยวข้องด้วย แม้ที่ผ่านมาได้มีความพยายามแล้วหลายครั้งที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งผ่านกระบวนการ
เจรจาแบบสันติวิธี แต่ท้ายที่สุดความพยายามเหล่านั้นก็ล้มเหลวตลอดมา เพราะดูเสมือนว่ามหาอานาจ
มิได้ต้องการให้ความขัดแย้งยุติลงอย่างแท้จริง
17
ฉนวนกาซา มีดินแดนเพียง 370 ตารางกิโลเมตร ติดกับอียิปต์ เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์ในยุคที่ตกอยู่ภายใต้ปกครองของ
อังกฤษ มีสถานะเป็นเขตปกครองตนเอง ถูกอิสราเอลยึดครอง ในปี1967 ทาให้ชาวปาเรสไตน์ลุกขึ้นมาใช้กาลังต่อต้าน แต่ท้ายที่สุดถูกปราบ
ปราบอย่างหนัก จนต้องหยุดการต่อสู้ กระทั่ง กลุ่มฮามาส (Hamas)ก่อตั้งขึ้นปี 1987 เพื่อช่วยเหลือมุสลิมในปาเลสไตน์ต่อสู้กับอิสราเอล ฮามาส
สร้างความนิยมด้วยการจัดหาความจาเป็นพื้นฐานต่างๆ ทั้งสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และศาสนสถาน เชื่อกันว่าเงินทุนในการดาเนินการของ
กลุ่มฮามาส ได้มาจากการบริจาคของชาวปาเลสไตน์ทั้งใน และนอกประเทศ นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนจากประเทศอาหรับอื่น ๆ และ
รัฐบาลอิหร่าน
18
เดลินิวส์3-1-2007 Aljazeera.com 28-1-2007 และ เดลินิวส์ 29-1-2007
อิสราเอล  ปาเลสไตน์
อิสราเอล  ปาเลสไตน์
อิสราเอล  ปาเลสไตน์
อิสราเอล  ปาเลสไตน์

Contenu connexe

Tendances

ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
บทความ วิเคราะห์ เพลง
บทความ   วิเคราะห์ เพลงบทความ   วิเคราะห์ เพลง
บทความ วิเคราะห์ เพลงNiran Dankasai
 
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ FURD_RSU
 
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่thnaporn999
 
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารpptapple_clubx
 
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศPannaray Kaewmarueang
 
สงครามโลก Ohm
สงครามโลก Ohmสงครามโลก Ohm
สงครามโลก OhmTaraya Srivilas
 
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มkkrunuch
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียDe'Icejoong Ice
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพOrnkapat Bualom
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Sp'z Puifai
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21Pannaray Kaewmarueang
 
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคบทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคOrnkapat Bualom
 
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง Sherry Srwchrp
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายSantichon Islamic School
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาfriend209
 
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาYaowaluk Chaobanpho
 
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1Taraya Srivilas
 

Tendances (20)

ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
บทความ วิเคราะห์ เพลง
บทความ   วิเคราะห์ เพลงบทความ   วิเคราะห์ เพลง
บทความ วิเคราะห์ เพลง
 
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
 
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
 
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
Power point รวมกลุ่มเศรษฐกิจ แก้ใหม่
 
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
 
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
 
สงครามโลก Ohm
สงครามโลก Ohmสงครามโลก Ohm
สงครามโลก Ohm
 
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชียผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของทวีปยุโรปต่อทวีปเอเชีย
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
 
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคบทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
 
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
 
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา
 
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1
 

En vedette

9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59Taraya Srivilas
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานีTaraya Srivilas
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1Taraya Srivilas
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นTaraya Srivilas
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์Taraya Srivilas
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันTaraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Taraya Srivilas
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมTaraya Srivilas
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-NewTaraya Srivilas
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือTaraya Srivilas
 
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองTaraya Srivilas
 
iร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญiร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญTaraya Srivilas
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงTaraya Srivilas
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Taraya Srivilas
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีTaraya Srivilas
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)Taraya Srivilas
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองTaraya Srivilas
 

En vedette (20)

9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
 
Framework 4ส6
Framework 4ส6Framework 4ส6
Framework 4ส6
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
 
iร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญiร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญ
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
 

Plus de Taraya Srivilas

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกTaraya Srivilas
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกTaraya Srivilas
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมTaraya Srivilas
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6Taraya Srivilas
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานTaraya Srivilas
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนTaraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจกTaraya Srivilas
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69Taraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 Taraya Srivilas
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้Taraya Srivilas
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขTaraya Srivilas
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่Taraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 

Plus de Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

อิสราเอล ปาเลสไตน์

  • 1. อิสราเอล –ปาเลสไตน์ สงคราม ความขัดแย้ง การสร้างรัฐชาติในพื้นที่จินตนาการ ธนชาติ ธรรมโชติ เครือข่ายเสริมสร้างสังคมสันติสุข 1)บทนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรัฐชาติทั้งที่ล่มสลายและเกิดใหม่ หนึ่งในประเทศเกิด ใหม่ ที่จะกล่าวถึง นั่นคือ ประเทศอิสราเอล อันมีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ที่มักเรียกกันว่า “ยิว” การสร้างรัฐชาติอิสราเอลเป็น ข้อบ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐชาติมิได้เป็นหน่วยทางการเมืองที่กาเนิดตามธรรมชาติหรืออุบัติพร้อมกับมนุษย์โลก หากเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตาม แนวคิดของ Henry Lefebvre ที่มองว่ารัฐชาติเป็นหน่วยทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่สองประเภท คือ หนึ่งพื้นที่ทาง ดินแดน (territorial space)ซึ่งเป็นพื้นที่กายภาพ (physical space) หรือพื้นที่การรับรู้นั่นคือมีลักษณะเป็น วัตถุจับต้องได้ มีการผลิตทางสังคมเชิงประจักษ์ สามารถสัมผัส หรือรับรู้ได้ และสองพื้นที่ในจินตนาการ (figurative space) เป็นพื้นที่ทางความคิด(mental space) เกิดจากการออกแบบ สัญลักษณ์ รหัส และ วาทกรรมเกี่ยวกับพื้นที่ เป็นพื้นที่ทางความคิดที่บรรจุไปด้วยการนาเสนออุดมการณ์1 การนาเสนอเรื่องการสร้างรัฐชาติอิสราเอลจะสะท้อนให้เห็นความเกี่ยวข้องของกระบวนการสร้างรัฐชาติกับ พื้นที่ดินแดนและพื้นที่จินตนาการ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จึงถูกขับเคลื่อนร่วมกันในการสร้างรัฐชาติ อิสราเอล รวมทั้งนาเสนอให้เห็นว่าการเกิดขึ้น และดารงอยู่ของรัฐชาติทั้งในพื้นที่ดินแดนและในพื้นที่ จินตนาการนั้นมักจะเกิดขึ้นภายใต้พลวัตสังคมการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศ 2 ซึ่งหลีกหนีไม่พ้น เรื่องของอานาจ ที่เน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางสังคมของอานาจที่ไม่เท่าเทียมกันเพราะความสัมพันธ์ทาง สังคมเป็นรากฐานของอานาจทางการเมือง กล่าวคือรัฐที่มีอานาจทางเศรษฐกิจจะมีอิทธิพลในการกาหนด เนื้อหาและรูปแบบของโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างรัฐ มีผลต่อการครอบงาระบบ การเมือง กฎหมายและวัฒนธรรมของรัฐที่อานาจด้อยกว่า และที่สาคัญความสัมพันธ์ระหว่างรัฐถูกกาหนด โดยความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมเป็นต้นเหตุหนึ่งของความขัดแย้ง การสร้างรัฐชาติของอิสราเอล จาเป็นจะต้องผนวกความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอานาจภายในสังคม และความเป็นมาเป็นไปด้าน ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เข้ามาประกอบกัน 1 Lefebvre, Henry. 1991. The Production of Space. Wiley-Blackwell 2 มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ .แผ่นดินพ่อที่รัก พักผ่อนให้สบาย” รัฐชาติ ดินแดน จินตนาการและความขัดแย้งระหว่างเยอรมนี-ฝรั่งเศสกรณีอัล ซาส-ลอร์เรน. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 17 มิถุนายน 2556- พฤษภคม 2557
  • 2. การสถาปนารัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ สาเหตุหลักที่สาคัญที่ทาให้เกิดแนวความคิดชาวยิวจะต้อง มีรัฐเป็นของตัวเองนั้นต้องย้อนกลับไปดูความเป็นมาดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์ โดยชาวยิวมองว่าเป็นผลอัน เนื่องมาจากการกดขี่ข่มเหงของชนชาติอื่นนับตั้งแต่ในสมัยโบราณในยุคของโมเซที่ได้พาชาวยิวหนีออกจาก อียิปต์เพราะถูกกดขี่ข่มเหง และในยุคต่อมาชาวยิวก็ยังอยู่อย่างลาบากและถูกกดขี่ข่มเหงตลอดภายใต้ อานาจของชาวเปอร์เซีย กรีก และโรมัน กระทั่งการโจมตีของอาหรับและสงครามครูเสดส่งผลให้ชาวยิว ต้องอพยพกระจัดกระจายไปอยู่ตามดินแดนต่าง ๆไปทั่ว จนชนชาติดั้งเดิมของเหล่าประเทศนั้นๆต้อง หาทางขับไล่เสมอมา เป็นต้นว่า ในปี ค.ศ. 1290 อังกฤษประกาศขับไล่ยิวทุกคนให้ออกจาก ประเทศ จากนั้นในปี ค.ศ. 1392 ฝรั่งเศสก็กระทาเช่นเดียวกัน ตามด้วยสเปนในปี ค.ศ. 1492 โปรตุเกสใน ปี ค.ศ. 1497 ชาวยิวต้องหลบหนีเอาตัวรอด หากไม่หนีจะถูกกักขังไว้ในที่เดียวกันในนิคมชาวยิว เรียกว่า Ghetto แรก ๆ สร้างขึ้นในสเปนและโปรตุเกส มีกาแพงสูงล้อมรอบแน่นหนาชาวยิวจานวนมากต้องอยู่ รวมกันอย่างแออัด ต่อมาหลายประเทศในยุโรปพากันสร้าง Ghetto ควบคุมชาวยิว เพื่อจากัดเวลาและ สถานที่ไม่ให้ชาวยิวไปอยู่ปะปนกับประชาชนทั่วไปด้วยเหตุผลที่ว่า “ยิวจะสร้างความเสื่อมและความ อัปมงคลให้แก่ศาสนาคริสต์” และรุนแรงสุดคือการกาจัดชาวยิวในสมัยนาซี ซึ่งเป็นความทรงจาของชาวยิว และสังคมโลก การสร้างรัฐชาติอิสราเอลมีความสลับซับซ้อนจากพื้นที่ทางความคิดพันธสัญญาของพระเจ้าเรื่องดินแดน เพราะชาวอิสราเอลคือบุตรของพระผู้เป็นเจ้าและเป็นชนชาติที่จงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าที่พระผู้เป็นเจ้า เลือกสรรแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจึงได้ประทานดินแดนให้กับกลุ่มชนที่เป็นบุตรของตนสืบพงศ์พันธุ์ต่อไปใน พื้นที่ “คะนาอัน” ส่งผลให้พื้นที่กลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาในความหมายของชาติพันธ์ยิว การสร้าง รัฐชาติจึงได้รวมแนวคิดเรื่องพื้นที่ดินแดน(territorial space)ซึ่งเป็นพื้นที่กายภาพ(physical space) และ แนวคิดพื้นที่ในจินตนาการซึ่งเป็นพื้นที่ทางความคิด(mental space)ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมหรืออุดมการณ์ เกี่ยวกับพื้นที่ ร้อยเรียงเข้าด้วยกันเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างรัฐชาติภายใต้ความเป็นคนชาติพันธุ์ เดียวกันไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดของโลกใบนี้ต้องร่วมกันสร้างรัฐชาติอิสราเอล ซึ่งท้ายสุดได้นาไปสู่ความ ขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่หยั่งรากลึกมาอย่างยาวนาน และยังขยายความขัดแย้งไปยังชาติ อาหรับอื่นๆ 2)แนวคิดและจินตนาการในการสร้างรัฐชาติอิสราเอล เมื่อ 6,500 ปีมาแล้ว มีอารยธรรมเกิดขึ้นพร้อมๆกันสองแห่ง แห่งแรกเกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของ อิสราเอล เป็นอารยธรรมของแคว้นเมโสโปเตเมีย อีกแห่งหนึ่งเกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิสราเอลเป็น อารยธรรมอียิปต์โบราณ สองอารยธรรมขัดแย้งสู้รบทาสงครามกันเรื่อยมา ในแคว้นเมโสโปเตเมียมีชายคน หนึ่งชื่อเตราห์พักอาศยอยู่ ต่อมาเตราห์ได้นา อะบราฮามบุตรชาย ซาราห์บุตรสะใภ้ และ Isaac หลานชาย
  • 3. เดินทางข้ามแม่น้ายูเฟรตีสอีกฝั่งหนึ่งแล้วเดินทางไปทางเหนือทาให้เตราห์และครอบครัวได้ชื่อว่า “อิวริม” แปลว่าผู้มาจากฟากโน้น ต่อมาเพี้ยนเป็นคาว่า “ฮีบรูว์” (Hebrew ) เมื่อเตราห์เสียชีวิตลง คงเหลืออะบรา ฮามเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ต่อมาอะบราฮามได้พบกับพระผู้เป็นเจ้า และได้ทาสัญญากันบนภูเขาแห่งหนึ่ง โดยพระผู้เป็นเจ้ารับเอา อะบราฮามและคณาญาติลูกๆหลานๆไว้เป็นชนในอุปการะ และให้ชนในอุปการะที่เป็นผู้ชายต้องทาสุหนัต คือการตัดหนังหุ้มปลายองชาตเมื่อมีอายุได้แปดวัน หรือมิฉะนั้นต้องตัดเมื่อเข้ารีตนับถือศาสนาเดียวกัน ส่วนพระผู้เป็นเจ้าจะยกดินแดนให้เป็นสิ่งตอบแทน ดังที่พระเจ้าตรัสกับอะบราฮามว่า “จงเงยหน้าแลดูสถานที่นี้ ตั้งแต่เจ้าอยู่นี้ไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ดินแดนทั้งหมด ที่เจ้าแลเห็นนี้ เรายกให้เจ้าและพงศ์พันธุ์ของเจ้าตลอดไป เราจะทาให้เชื้อสายของเจ้ามากเหมือนผงคลีดิน ...จงลุกขึ้นเดินเที่ยวไปตลอดดินแดนนี้ ให้ทั่วทั้งด้านยาวและด้านกว้างเถิด ด้วยว่าเรายกดินแดนนี้ให้เจ้า” ต่อมาดินแดนที่ว่านั่นก็คือ “คะนาอัน” ที่ชาวอิสราเอลยึดถือกันมา ว่าเป็น“ดินแดนแห่งพันธสัญญา” ของ พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่ชนชาติอิสราเอล ภายใต้จินตนาการ “ชนชาติ ที่พระผู้เป็นเจ้าเลือกสรร” อะบราฮามและครอบครัวได้ออกเดินทางไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา ที่พระองค์จะประทานให้ จึงเป็น จุดเริ่มต้นของชาติพันธุ์อิสราเอล3 ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าที่ได้พบกับอะบราฮาม นั้นเป็นพระผู้เป็นเจ้าพระองค์ เดียวบนโลกใบนี้ที่ได้สร้างโลกมนุษย์ สุริยจักรวาล และสรรพสิ่ง ทาให้ความคิดเรื่องพันธสัญญา เรื่องชาติ พันธุ์ที่พระผู้เป็นเจ้าเลือกสรรแล้วได้ฝังในความรู้สึกนึกคิดของชาติพันธุ์ยิวตลอดมา ขณะนั้นเมืองต่างๆ มี การนับถือรูปเคารพ และเทพเจ้าของตนแต่ละชาติพันธ์ต่างกันหลากหลายองค์ลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่ เคารพเทวดาหลายองค์ย่อมยุ่งยากในด้านพิธีกรรม แต่อะบราฮามคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริงจะมีเพียงพระองค์ เดียว เน้นไปในแนวทางที่จะทาให้จิตใจสูงขึ้นโดยไม่ให้ความสาคัญกับวัตถุรูปร่าง จึงง่ายในการปฏิบัติ ไป ไหนๆจึงนาพระผู้เป็นเจ้าของตนไปได้ทุกๆที่ Isaac บุตรของอะบราฮามกาเนิดกับนางซาร่า ซึ่งต่อมา Isaac มีบุตร 2 คนหนึ่งในนั้นคือ Jacob โดย Jacob ได้พบชายไม่ทราบชื่อ ไม่เห็นใบหน้าแต่ปล้าต่อสู้กันจนเกือบสว่าง Jacob ถามชื่อแต่ชายผู้นั้นไม่ ตอบ เพียงแต่บอกว่าต่อแต่นี้ต่อไปเจ้าได้ชื่อใหม่ว่า “อิสราเอล” ก่อนที่จะแยกออกจากกันชายผู้นั้นได้อวย พรให้ ซึ่ง Jacob มั่นใจว่าเขาพบกับพระผู้เป็นเจ้า4 เชื้อสาย Jacob มี 12คน หนึ่งในนั้นคือโยเซฟ 3 คึกฤทธิ์ ปราโมช.ยิว.2547.เดอะบุ๊คส์ เลิฟเวอร์ จากัด. จรัญ มะลูลีม รศ.ดร. (แปล) อัลเบิร์ตฮูรานีม, มาลิส รูทเวน. 2550.ประวัติศาสตร์ของชนชาติอาหรับ.โครงการตาราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 4 มัสลัน มาหะมะ .ปาเลสไตน์ แผ่นดินที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน. www.islammore.com.
  • 4. ต่อมาโยเซฟได้นาผู้คนเดินทางออกจากคะนาอัน ไปสู่อียิปต์ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าได้ตั้งรกรากทา มาหากินที่นั่น กระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองฟาโรห์ผู้ปกครององค์ต่อมาได้ประกาสให้ยิวเตก เป็นทาสของหลวง แต่นั้นมาชาวยิวต้องทางานหนักตลอดจนถูกกดขี่ปราศจากเสรีภาพจนหาความสุขแทบ ไม่ได้ชาวยิวตกระการาบากในอียิปต์ถึง 400 ปี ชาวยิวอยู่ที่ไหนก็ได้ขยายเผ่าพันธุ์อย่างต่อเนื่อง จนพระ เจ้ากรุงอียิปต์ได้ออกประกาศให้จับเด็กผู้ชายที่เกิดใหญ่ชาวยิวไปฆ่าเสียให้สิ้น จึงมีครอบครัวชาวยิว ครอบครัวหนึ่ง บิดากับมารดาทารกเกิดใหม่เกรงว่าบุตรชายของตนจะจบชีวิตลงจึงได้เอาไปแอบไว้เป็น เวลาสามเดือน แต่ก็เกรงว่าจะถูกจับจึงได้นาบุตรของตนนาบุตรของตนใส่กระจาดสานด้วยกกลอยน้าแล้ว ปล่อยลงให้ไหลไปกับกระแสน้าไนล์ ด้วยความบังเอิญพระราชธิดาพระเจ้ากรุงอียิปต์เสด็จลงมาสรงน้าจึง นาไปเลี้ยงในฐานะราชบุตรบุญธรรมและให้ชื่อว่า “โมเซ” เมื่อเติบโตขึ้นโมเซได้เห็นชาวยิวถูกผู้คุมชาวอียิปต์ทุบตีทาร้ายอย่างทารุณ จึงเข้าช่วยเหลือและฆ่าผู้คุมทาส ตายจึงได้หลบหนีไปจนได้ไปพบกับพระผู้เป็นเจ้า และพระผู้เป็นเจ้าตรัสกับ โมเซ ว่า “ให้กลับไปอียิปต์เพื่อ นาชาวยิวออกมาสู่ความเป็นไท” เมื่อได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้ปลดปล่อยชาวยิวในอียิปต์ โมเซจึงกลับไปอียิปต์และเป็นผู้นาชาวยิวออก เดินทางไปยังปาเลสไตน์แผ่นดินแห่งพันธสัญญาในฐานะชาวยิวโมเซได้เข้าพิธีทาสุหนัตแบบยิวเพื่อเป็นชน ในอุปการะของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเดินทางแม้จะถูกกองทัพแห่งอียิปต์ขัดขวาง แต่พระเจ้าได้เปิดทะเลแดง ให้ชาวยิวผ่านไปได้ และกลับไหลท่วมทหารอียิปต์ที่ตามมา จากนั้นระหว่างทางที่โมเซ พาชาวอียิปต์ กลับไปยังแผ่นดินแดนแห่งพันธสัญญา แต่เนื่องจากชาวอิสราเอลไม่ปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระเจ้า จึง ถูกลงโทษให้หลงทางในทะเลทรายซีนายเป็นเวลา 40 ปี หลังจากที่เดินทางเข้าสู่คานาอันดินแดนแห่งพันธสัญญาแล้ว โมเซได้เสียชีวิตลง แต่ลูกหลานของชาวฮีบรูก็ ได้อาศัยอยู่ในเมืองคะนาอันจนสร้างชาติจากชนเผ่าเชื้อสายของ Jacob จากทั้ง12 เผ่า5 และที่สาคัญได้มี การตราประมวลกฎหมาย โมเซ ขึ้นมาเป็นประมวลกฎหมาย แบ่งเป็นสามภาค โดยภาคแรกเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ภาคสองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐ และภาคสามเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า เมื่อมีการตรากฎหมายทาให้ชาวยิวกลายเป็นชนชาติขึ้นมา ทันที กษัตริย์พระองค์แรกของชาวยิวคือพระเจ้าซอล หลังจากนั้นเป็นพระเจ้าเดวิดซึ่งเป็นนักรบเมื่อได้ขึ้น ครองราชย์ พระองค์ได้สร้าง “เยรูซาเร็ม” เป็นเมืองหลวง เยรูซาเร็มจึงกลายเป็นนิมิตรหมายแห่งความเป็น 5 ปริยานุช ปัญจวงศ์. 2543. อิสราเอล. เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. นันทนา เตชะวณิชย์..ปรวัติศาสตร์ตะวันออกลางสมัยใหม่.2545. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
  • 5. ชาติยิว นอกจากนั้นพระองค์ได้เตรียมสร้างสถานที่บูชาพระผู้เป็นเจ้าของชาวยิวกลางกรุงเยรูซาเร็มแต่สิ้น รัชกาลไปก่อน พระเจ้าโซโลมอนจึงได้สร้างมหาวิหารยิ่งใหญ่จนกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายู ดาย จนกระทั่งกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของทั้งศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามในเวลาต่อมา ดินแดนคานาอันถูกเปลี่ยนมือหลายครั้ง ทั้งจากอาณาจักรโรมัน อาณาจักรคอนสแตนติน และกองทัพ มุสลิมเข้ายึดครอง สงครามแย่งชิงแผ่นดินชาวยิวตกเป็นเหยื่อเสมอ ตกไปเป็นเชลย ต้องถูกฆ่า และอพยพ กระจัดกระจายไปทั้งในยุโรป เอเซีย และทวีปอเมริกา ชาวยิวจึงทุกข์ทรมานจากสงครามมานับครั้งไม่ถ้วน และครั้งที่สาคัญคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนาซี ยิวถูกฆ่าไปประมาณหลาย ล้านคน แต่ชาวยิวก็ยังยึดมั่นในพันธสัญญาระหว่างพวกเขากับพระเจ้า ที่ว่าพระเจ้าจะนาพวกเขากลับไป ยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่พระเจ้าเลือกไว้สาหรับชาวยิวเสมอมา นั่นคือ6 อิสราเอล จินตนาการความเป็นรัฐชาติที่มีการผูกโยงกับพื้นที่ดินแดนและพื้นที่จินตนาการ ได้มีการร้อยเรียงให้เป็น ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ เผยแพร่ให้กลายเป็นอุดมการณ์ร่วมของสังคม จนเป็นพลังสาคัญใน กระบวนการสร้างรัฐชาติ ดังที่ Elston กล่าวว่า “สาหรับชาวยิวนั้นแน่นอนต้องมีความต่อเนื่องทางจิตที่ไม่ ขาดตอนมาตั้งแต่ชนชาวยิวกระจัดกระจายไป ความต่อเนื่องทางจิตใจนี่เองที่รักษาชาวยิวไว้ให้เป็นชาติ เดียวกันอยู่ได้ ถึงแม้ว่าจะได้กระจัดกระจายไปอยู่ในดินแดนต่างๆ แต่ทาให้รัฐอิสราเอลอันเป็นเอกราชได้ เกิดขึ้นมาใหม่อีก” รวมทั้ง ออเบรย์ ซี.ดาส กล่าวว่า “อิสราเอลเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกบันทึกมา ตั้ง 4,000 กว่าปี คือตั้งแต่สมัยไบเบิลมาถึงสมัยที่ชาวโรมันทาลายกรุงเยรูซาเล็ม และสรุปว่านับตั้งแต่นั้น มา ว่าอิสราเอลก็ไม่ได้มีเอกราชเลยจนถึงการกาเนิดใหม่ของประเทศอิสราเอล เมื่อปี ค.ศ. 1948” เป็นการ ยืนยันความเชื่อระหว่างประวัติศาสตร์บอกเล่าโบราณเกี่ยวกับชาติพันธุ์อิสราเอลได้อย่างดี นี่คือการร้อย เรียงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ให้สอดรับกับจินตนาการสร้างรัฐ7 โดยนาพื้นที่ดินแดนและพื้นที่ จินตนาการมาขับเคลื่อนด้วยกัน ในที่สุดความพยายามของชาวยิวที่จะก่อตั้งรัฐก็สาเร็จเมื่อรัฐบาลอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลในดินแดนปาเลส์ไตน์ อนุญาตให้ชาวยิวให้กลับเข้าไปในปาเลสไตน์อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก็คือประเทศอิสราเอลใน ปัจจุบัน ชาวยิวได้ใช้เงื่อนไขข้อความในพระคัมภีร์ จุดประกายอ้างความเป็นเจ้าของดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้า ประทานให้ นั่นคือดินแดนแห่งพันธสัญญา 3) การสร้างรัฐชาติอิสราเอล 6 ปริยานุช ปัญจวงศ์. 2543. อิสราเอล. เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 7 Elston . Israel : The Making of a nation และ ออเบรย์ ซี.ดาส. Israel,A Young State in Asia อ้างใน กิติมา อมรทัต.2532. วิกฤติการณ์ใน ตะวันออกกลาง: กรณีพิพาทปาเลสไตน์-อิสราเอล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
  • 6. การกดขี่ข่มเหงชาวยิวที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษ สเปนและเยอรมนี ทาให้ ชาวยิวตกอยู่ท่ามกลางแรงเสียดทานจากสังคมมาตลอด ประกอบกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์ในหลายยุค สมัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษก็พบว่าชาวยิวในยุคก่อนก็ถูกปกครองอย่างไม่เป็นธรรมจาก อาณาจักรเปอร์เซีย กรีกและโรมัน เป็นต้น กระทั่งชาวยิวในอดีตที่เคยมีดินแดนดั้งเดิมล่มสลาย กระจัด กระจายไปอาศัยในหลายประเทศ จากการรับรู้ความปวดร้าวที่ได้รับตลอดประวัติศาสตร์จึงทาให้ยิวรุ่น หลังเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มปัญญาชนของชาวยิวและได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การยิวสากลขึ้นมา 3.1 องค์การยิวสากล ไซออนิสม์ (Zionist) ในปี ค.ศ.1897 ไซออนิสม์ (Zionist) ก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นสถาบันเรียกร้องความเป็นธรรมและสิทธิในด้าน ต่างๆให้กับชาวยิว ได้รับการสนับสนุนจากชาวยิวทั่วโลก ภายใต้การนาของ Theodor Herzl8 โดยมีแนวคิด ว่าการที่จะแก้ปัญหาให้กับชาวยิวได้อย่างถาวรนั้นก็คือการที่ชาวยิวจะต้องมีรัฐเป็นของตน Zionist ทา หน้าที่รวบรวมและนาชาวยิวกลับถิ่นฐานเพื่อสร้างรัฐชาติยิวขึ้นใหม่ในดินแดนที่ชาวอาหรับอาศัยอยู่นั่นคือ ปาเลสไตน์ การเคลื่อนไหวของไซออนิสต์ มีทั้งการโฆษณาชวนเชื่อให้ชาวยิวอพยพเข้ามาจะได้รับที่ดินซึ่งจะมอบให้ ชาวยิวเท่านั้น ไม่สามารถมอบหรือโอนให้ผู้อื่นได้หากไม่ใช่“ประชาชนยิว” สิ่งนี้เป็นการป้องกันชนพื้นเมือง ชาวอาหรับมิให้ครอบครองพื้นที่ โดยนัยหนึ่งก็คือกีดกันการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ การเคลื่อนไหวของไซออ นิสต์ ไม่ใช่แค่เพียงการกีดกันหรือเอาเปรียบประชาชนชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ต้องการขับไล่ออกไปจาก พื้นที่ แล้วนาชาวยิวเข้ามาครอบครองดินแดนแทนคนพื้นเมืองดั้งเดิม รวมทั้งการกาจัดชาวนา ช่างฝีมือ และผู้อยู่อาศัยในเมืองของปาเลสไตน์ให้หมดสิ้น และแทนที่ด้วยแรงงานใหม่ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ ประชากรผู้มาตั้งรกรากใหม่ชาวยิว มันคือการสร้างสังคมขึ้นใหม่แทนสังคมเดิม ทั้งนี้ Theodore Herzl ได้บันทึกไว้ว่า “เราต้องทาการยึดทรัพย์สินส่วนตัวในดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้ามอบ ให้กับเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราต้องพยายามนาประชากรที่หมดเนื้อหมดตัวข้ามเขตแดนไป โดยจัดหา การจ้างงานเพื่อที่มันจะเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ขณะที่มีการปฏิเสธการจ้างงานในประเทศของเรา กระบวนการของการยึดครองและการเคลื่อนย้ายคนจนต้องทาให้สาเร็จโดยสิ้นเชิงและทาอย่างรอบคอบ” ชาวยิวเริ่มเดินทางกลับเข้าปาเลสไตน์อย่างมีแผนยุคแรกระหว่าง ค.ศ.1880 ถึง 1900 ชาวยิวที่เป็นชาวไร่ ชาวนากลับมาเพื่อสร้างไร่นา ในยุคที่สองระหว่าง ค.ศ.1900 ถึง 1914 กลุ่มที่มีความรู้และคนงานได้เข้ามา เพื่อดาเนินงานด้านกสิกรรมให้ถูกหลักวิชา ยุคทีสามระหว่าง ค.ศ.1914 ถึง 1924 คนหนุ่มคนสาว พ่อค้า 8 http://answerup.wordpress.com. Zionism Facts and Myths book.
  • 7. และธุรกิจเข้ามาสร้างเมือง ตั้งอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และกาลังทหาร ยุคที่สี่ ระหว่าง ค.ศ. 1925 ถึง 1939 ปัญญาชนอาชีพต่างๆเช่น แพทย์ ทนายความ ฯลฯ และนักบริหารได้มาถึงเพื่อวางแผนในการ ก่อตั้งรัฐและในยุคที่ห้าคือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวทุกชั้นทุกวัยและทุกอาชีพทุกฐานะ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 19 กองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จาเป็นต้องใช้วัตถุดิบ สาคัญคือ อาซีโทน (Acetone) สั่งเข้าจากเยอรมนีคู่สงคราม กระทั่งดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิว สมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ได้คิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูงซึ่งสามารถผลิต ได้เองโดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย อังกฤษได้รับความร่วมมือจากดร.คาอิม จึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบใน สงครามโลกต่อไป ทาให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ได้ตอบแทนด้วยการ มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พานักถาวรแก่ชาวยิว โดย Lord. Arthur James Balfour รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามข้อตกลง “Balfour” ในปี ค.ศ.1917 10 เป็น การมอบที่นาไปสู่ปัญหาใหม่ เพราะผู้มอบไม่ใช่เจ้าของ ผู้รับมอบก็ไม่มีสิทธิ ปาเลสไตน์เจ้าของดินแดนที่ แท้จริงไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ ทั้งนี้ Arthur James Balfour เขียนแถลงการณ์ถึงผู้นาชาวยิว Rothshild เพื่อให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลของอังกฤษจะสนับสนุนความคิดในการจัดหาถิ่นฐานบ้านเกิดให้กับชาวยิว ความว่า “สานักงานการต่างประเทศ วันที่ 2 พฤษจิกายน 1917 ลอร์ดโรทชิลที่รัก:ฉันมีความยินดีที่เป็นตัวแทนของ รัฐบาลสูงสุดในการที่จะแจ้งให้ทราบว่า คาแถลงการณ์แสดงความเห็นใจต่อความมุ่งปรารถนาของชาวยิว ไซออนิสต์ได้รับการยอมรับและอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี:มีความเห็นชอบสนับสนุนการสร้างชาติของ ประชาชนชาวยิวในปาเลสไตน์ และจะใช้ความพยายามที่ดีที่สุดในการอานวยความสะดวกต่อวัตถุประสงค์ นี้ เป็นที่เข้าใจโดยชัดเจนว่า ไม่มีสิ่งใดจะเป็นผลเสียต่อสิทธิพลเมืองและศาสนาของสังคมคนที่ไม่ใช่ยิวใน ปาเลสไตน์ หรือสิทธิและสถานภาพทางการเมืองของชาวยิวในประเทศอื่นๆฉันจะสานึกในบุญคุณ ถ้าคุณ จะนาแถลงการณ์นี้ไปบอกให้รับทราบกันในสหภาพไซออนิสต์” ทั้งนี้อังกฤษหวังว่า ด้วยวิธีการดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากยิวในสงครามโลกครั้งที่ 1 แถลงการณ์ บัลฟอร์ กลายเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดของการสนับสนุนจากนานาชาติเพื่อสถาปนาอิสราเอลในเวลาต่อมา นอกจากนั้นข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ก็ได้ทาสัญญากับชาวอาหรับอีกฉบับ นัยว่าหากอาหรับช่วย อังกฤษรบกับเยอรมัน อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ ท้ายสุดเมื่อสิ้น 9 ปรีชา ศรีวาลัย. 2549. กรณีพิพาทตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 10 มัสลัน มาหะมะ . ฟิลัสฏีนดินแดนที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน.
  • 8. สงคราม อังกฤษมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะทั้งยิวและอาหรับต่างก็อ้างข้อตกลงคนละฉบับใน การครอบครองดินแดน11 ไซออนิสต์วางนโยบายจัดหาที่ดินในปาเลสไตน์มาเป็นของตนหลากหลายวิธี ส่วนวิธีที่ชอบธรรมที่สุดให้ เพื่อให้สังคมโลกรับรู้คือการจัดซื้อจากเจ้าของที่ดินทั้งชาวอาหรับและตุรกี ชาวยิวกล่าวว่าที่ดินที่ได้มาส่วน ใหญ่ด้วยการซื้อจากเจ้าของเดิม มิใช่เอามาด้วยกาลังทหารหรือด้วยการดาเนินการทางการเมือง แต่ดู เหมือนว่าสังคมจะไม่เชื่อเท่าใดนัก ไม่มีใครรู้ ว่าเมื่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นใน ค.ศ. 1948 นั้น ยิวได้จ่ายเงิน ไปแล้วจานวนเท่าใด ไซออนิสต์ให้การสนับสนุนการก่อตั้ง “รัฐชาติยิว”12 ไม่ใช่เพียงในดินแดนปาเลสไตน์ แต่รวมถึงในจอร์แดน ทางใต้ของเลบานอน และ พื้นที่บริเวณที่ราบสูงโกลัน(Golan Height) ซึ่งอยู่ระหว่างทางใต้ของเลบานอน และทางใต้ของซีเรีย13 และที่สาคัญมีกระบวนการให้นิยามเกี่ยวกับชุมชนยิวว่าพื้นที่นี้ว่า “เป็นส่วนหนึ่ง ของกาแพงป้องกันสาหรับยุโรปในเอเชียเป็นด่านหน้า ที่ความศิวิไลซ์ปะทะกับความป่าเถื่อน.. …ดังนั้น การตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์เป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันกระแสแห่งประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป อิสราเอลจึงเปรียบเสมือนเป็นอู่หรือป้อมปราการแห่งประชาธิปไตยท่ามกลางรัฐ และประเทศอาหรับทั้งหลายที่มีนักเผด็จการปกครองที่เต็มไปด้วยความล้าหลังและกดขี่ข่มเหง” การอ้าง เป็นรัฐกันชนในการสถาปนารัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ทาให้ให้มหาอานาจตะวันตกเห็นด้วยกับความ จาเป็น โดยเฉพาะอังกฤษ กับสหรัฐอเมริกา ความขัดแย้งบนดินแดนแห่งนี้มันเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง ระหว่างประเทศไปโดยสมบูรณ์ มหาอานาจได้ประโยชน์ แต่ผู้เสียประโยชน์คือประชาชนปาเลสไตน์ แบนกูเรียน(ผู้สถาปนารัฐอิสราเอล และนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล) บรรยายในปี 1918 ถึงอาณา เขตของรัฐในอนาคตว่า “ทางเหนือ มีแม่น้าลิทาเนีย(ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน) ทาง ตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณทะลเลทรายเอาญา (Owja ) จนถึง 20 ไมล์ทางใต้ของดามัสกัส ขอบทางใต้ เข้า ไปในซีนายเป็นอย่างต่า จนถึงทะเลทรายอัลอะริช(al-Arish) ทางตะวันออก ไปถึงทะเลทรายซีเรีย รวมถึงบริเวณทรานจอร์แดน”ไซออนิสต์ ได้ปลุกระดมเรื่องการนับถือศาสนา(ยูดาย) ของตน และปลุกระดม ความคิดชาตินิยม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างรัฐ 11 กิติมา อมรทัต.2532. วิกฤติการณ์ในตะวันออกกลาง: กรณีพิพาทปาเลสไตน์-อิสราเอล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 12 บันฑิตย์ สะมะอุน. 2546. อิสราเอล. เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. _________. 2547. อิสราเอล, เอเชียรายปี. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 13 จรัญ มะลูลีม, อิมรอน มะลูลีม, กิติมา อมรทัต, และศิระ นวนมี. 2534. บทนาแห่งตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชีย ศึกษา.
  • 9. ทั้งนี้การสร้างรัฐจาเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภายนอก เพื่อที่จะให้มีการตรากฎหมายรองรับใน เวทีนานาชาติ สามารถป้องกันตนเองทางทหาร ซึ่งอังกฤษในขณะนั้นได้ยึดครองปาเลสไตน์ ได้เข้ามามี บทบาทในช่วงปี 1920และ1930 อังกฤษได้ตรา กฎหมายการกลับเข้ามา(Law of return)ให้สิทธิความเป็น พลเมืองอย่างอัตโนมัติแก่ชาวยิวที่อยู่ในทุกๆมุมทั่วโลก กลับถิ่นฐาน ขณะที่สิทธิเหล่านี้ไม่มีผลบังคับใช้กับ ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่อพยพหนีภัยสงคราม ที่มีมากจานวน750,000 คน กฎหมายฉบับนี้ส่งผลให้มีการ อพยพชาวยิวเข้าปาเลสไตน์ได้ปีละ 16,500 คน แล้วค่อยๆสร้างชุมชนในพื้นที่ปาเลสไตน์ เป็นการสร้าง ความเข้มแข็งให้ชาวยิว นอกจากนั้นยังมีการตรากฎหมายให้ชาวยิวควบคุมกิจการสาธารณูปโภค ทั้งระบบ ไฟฟ้าระบบชลประทานรวมทั้งให้ชาวยิวใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ จึงกล่าวกันว่า ไซออนิสต์ เป็นโครงการขับไล่ประชาชนชาวปาเลสไตน์เพื่อการยึดครองทรัพย์สินและ ดินแดนของปาเลสไตน์ เมื่อพลเมืองชาวปาเลสไตน์ในอิสราเอล ต้องการให้รัฐของพวกเขาเป็นรัฐของ พลเมืองทุกคนที่เป็นประชาธิปไตย พวกก็เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นอันตรายต่อรัฐ กฎหมายจึงเป็น ประชาธิปไตยของชาวยิวเท่านั้นทั้งๆที่ 24% ของประชากรไม่ใช่ยิว ทั้งนี้อิสราเอลให้คาจากัดความตนเอง ว่าเป็นรัฐของยิวซึ่งรวมถึงชาวยิวทั่วโลกที่ไม่จาเป็นต้องเป็นพลเมืองในรัฐยิวในดินแดน รัฐยิวไม่ใช่รัฐของ พลเมืองที่อาศัยอยู่ในเวลานี้หากเขาไม่ใช่ยิว ที่ดินส่วนมากของอิสราเอลเป็นทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของชาว อิสราเอล แต่เป็นของชาวยิวทั่วโลก คนที่ไม่ใช่ยิวอย่างพลเมืองชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล จึงถูกกีดกันใน การถือครองกรรมสิทธิ์ทุกรูปแบบ ทั้งนี้โดยมีกองทุน JNF เป็นเครื่องมือ คนนับล้านๆคนที่ไม่ใช่ยิวถูกกีดกัน แยกเขาแยกเราให้กลายเป็นคนอื่นแม้จะอยู่อาศัยในดินแดนเดียวกัน 3.2 กองทุนแห่งชาติยิว (Jewish National Fund : JNF) กลุ่มไซออนิสต์ รุ่นแรกๆได้ตั้ง "กองทุนแห่งชาติยิว" (The Jewish National Fund, JNF) เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนในการก่อตั้งอาณานิคมชาวยิวในปาเลสไตน์ มีวัตถุประสงค์แรกคือ การซื้อหรือเช่า หรือแลกเปลี่ยนหรือวิธีการอื่นๆที่จะได้มาซึ่งดินแดน ป่าไม้ และสิทธิในความเป็นเจ้าของและสิทธิอื่นๆ… เพื่อวัตถุประสงค์ของการเข้ามาอาศัยอยู่ของชาวยิวในดินแดนนั้น กองทุนแห่งชาติยิว (JNF) มีอานาจใน การพัฒนาที่ดินไม่ใช่เพื่อขาย กองทุนสามารถให้เช่าที่ดินที่ได้มาแก่ชาวยิวคนใดคนหนึ่งหรือบริษัทใดๆที่อยู่ ภายใต้การควบคุมของยิว ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วง ทายาท ลูกจ้างหรือใครก็ตามที่ทาสัญญาเช่า แม้ถูกโอนหรือ นาไปจานองจะต้องเป็นยิวเท่านั้น ชาวอาหรับและคนที่ไม่ใช่ยิวถูกห้ามไม่ให้อาศัยหรือทางานในแผ่นดิน ของJNF ทั้งนี้กองทุนประจาชาติยิว(JNF) ถือครองที่ดินเพื่อเป็นตัวแทนของ “กรรมสิทธิ์ของประชาชน ชาวยิว”โดยรวม JNF รวบรวมเงินเพื่อใช้ในการสร้างรัฐ โดยสนับสนุนจากชาวยิวทั่วทุกมุมโลก มีการส่งกล่องรับบริจาคทา ด้วยดีบุกหรือที่เรียกกันว่า “กล่องเงิน” ไปทั่วโลก ยิวที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวจะเอาเงินมาใส่กล่องนี้ พ่อ
  • 10. แม่ก็สร้างสานึกสอนลูกๆให้แบ่งค่าขนมใส่กล่อง เพื่อเอาไปกว้านซื้อที่ดินในปาเลสไตน์สร้างรัฐ จน กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการต่อสู้ในการสร้างรัฐ ที่ดินเกือบ 20 %ของแผ่นดินอิสเราเอลเป็นของกองทุน JNF ที่ได้จากการซื้อส่วนอีกประมาณ 80% ได้มา จากการยึดครองกรณีที่ชาวปาเลสไตน์อพยพหนีสงคราม แต่ชาวยิวมองว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ได้มาจากการ จัดการของกองทุน JNF ซึ่งยังเป็นความเห็นและข้อเท็จจริงที่ต่างกัน ซึ่งที่ดินทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการ โดยคณะบริหารที่ดินของรัฐบาลอิสราเอล(Israel Lands Administration : ILA) และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ กองทุน JNF กาหนด ไซออนิสต์ มักถูกอ้างถึงเสมอว่าเป็น “การเคลื่อนไหวปลดปล่อยชาติยิว” ซึ่งการเคลื่อนไหวปลดปล่อยรัฐ ชาติเป็นสิ่งดี หากเป็นความพยายามของชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ต่อสู้เพื่อเคลื่อนย้ายอานาจการยึดครอง ออกไปและนาสิทธิเสรีภาพกลับคืนมา ในทางกลับกัน ไซออนิสต์กลายเป็นโครงการล่าอาณานิคมที่ตั้งอยู่ บนพื้นฐานของการขับไล่ประชาชนชาวปาเลสไตน์และการแย่งชิงทรัพย์สินที่ดินของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งการ ขับไล่สังหารคนพื้นเมืองดั้งเดิมจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวปลดปล่อยเพื่อสร้างรัฐชาติ แต่มันเป็น การทาอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติเท่านั้น แต่สิ่งนี้ก็ถูกมองข้ามไป 3.3 รัฐชาติภายใต้การสนับสนุนนานาชาติ ความพยายามสร้างรัฐ ของไซออนิสต์ ประสบผลสาเร็จอย่างต่อเนื่อง ต่อมาได้เปลี่ยนสถานภาพตัวเองเป็น รัฐบาลเคียงคู่กับรัฐบาลอังกฤษในการปกครองปาเลสไตน์ มีการจัดตั้งระบบการศึกษาและระบบสุขาภิบาล และที่สาคัญได้มีการจัดตั้งกองทัพใต้ดินที่เข้มแข็งขึ้นมา เรียกกันว่า “ฮานากาห์” โดยได้รับการสนับสนุน จากอเมริกา จนชาวยิวหลั่งไหลเข้ามาจานวนมาก ชาวปาเลสไตน์เริ่มแสดงความไม่พอใจ ดังนั้นอังกฤษจึง เริ่มจากัดจานวนชาวยิวที่จะอพยพเข้าปาเลสไตน์ ซึ่งนาไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกองทัพฮานากาห์ กับอังกฤษ หลังจากนั้นฮานากาห์ มีการก่อการร้ายในปาเลสไตน์ อย่างต่อเนื่อง อังกฤษจึงถอนตัว และส่ง มอบความดูแลปาเลสไตน์ให้องค์การสหประชาชาติ ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ 14 ปี ค.ศ. 1947 จึงลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย การแบ่งดินแดน ทาให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น 14 ไซออนิสต์ไม่ยอมรับแผนแบ่งเขตของ UN จากปลายปี 1947 ถึง พฤษภาคม 1948 ไซออนิสต์ได้โจมตีและรุกรานอาหรับ และผลักดันให้คนที่ ไม่ใช่ยิว 300,000 คนละทิ้งถิ่นฐานของตนเอง รวมทั้งขยายขนาดดินแดนไกลออกไปจากขอบเขตของรัฐยิวที่กาหนดในแผนแบ่งเขตUN มีนาคม 1948 ถึง พฤษภาคม 1948 ชาวปาเลสไตน์มากกว่า 300,000 คน ถูกสังหารหมู่หลายเมือง ทั้ง Deir Yasin ทางตะวันตกของเยรูซาเลม Tiberias Haifa Jafa และ Beishan ระหว่างการสร้างรัฐอิสราเอลชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้ลี้ภัยมากกว่า 4.3 ล้านคน ลงทะเบียนกับ UN มากกว่า 1.7 ล้านคน ส่วนใหญ่ ไม่ได้ลงทะเบียน และหนึ่งในสามของผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนจะอาศัยอยู่ใน 59 ค่ายผู้ลี้ภัยของ UN ในประเทศรอบๆพื้นที่ของเขตเวสแบงค์และ
  • 11. 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวมุสลิมอาหรับเป็นการกระทาที่ ไม่เคยได้รับความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับในพื้นที่ นาไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่าง ชาวยิว กับชาวอาหรับในหลายพื้นที่ นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 1947 จนในที่สุดก็ถึงจุดแตกหัก เมื่อ สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษถอนออกจากปาเลสไตน์โดยสิ้นเชิงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 ในวันนั้นชาวยิวได้ประกาศเอกราชของอิสราเอลทันที มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบน ดินแดนปาเลสไตน์ โดยมีนายเดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นาคนแรก โดยตั้งชื่อว่า “ รัฐ อิสราเอล” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างชาวอาหรับกับชาวยิว เพราะในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 หลังจากการก่อตั้งรัฐชาติอิสราเอลเพียง 1 วัน สงครามกลางเมือง ระหว่างชาวยิว กับชาวอาหรับ ได้ทวีความรุนแรงจากที่เคยเป็นเพียงสงครามกลางเมืองขยายเป็นสงคราม ระหว่างประเทศ เนื่องจากอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อีรัก เลบานอนและกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ รวมมือกัน จัดตั้งเป็นกองทัพอาหรับ(Arab League) ได้เคลื่อนพลเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์ และโจมตีกองกาลังชาวยิว ซึ่งขณะนั้นอิสราเอลยังไม่มีการจัดตั้งกองทัพอย่างเป็นทางการ มีเพียงการจัดตั้งกองกาลัง“ฮานากาห์”ที่ เข้มแข็งเพื่อสร้างรัฐเท่านั้น สงครามครั้งนี้เรียกว่า “สงครามอาหรับ-อิสราเอล” ส่วนชาวอิสราเอลเรียกว่า “สงครามแห่งการประกาศอิสรภาพ”(War of Independence ) สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานถึงเกือบ 10 เดือน ระหว่างสู้รบอิสราเอลได้ประกาศจัดตั้งกองทัพของตน ขึ้นมา และจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล มีการลงนามข้อตกลง Armistice ระหว่างอิสราเอลและกองทัพ อาหรับ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินแดนในภูมิภาคนี้ตามมา กล่าวคือกลุ่มประเทศอาหรับกับ ปาเลสไตน์สูญเสียดินแดนจากสงครามโดยอียิปต์ต้องถอยออกจากดินแดนปาเลสไตน์ แต่ยังได้ครอบครอง ฉนวนกาซา(Gaza Strip) จอร์แดนต้องถอยออกจากดินแดนปาเลสไตน์และเสียดินแดนบางส่วนของเขต West Bank ให้แก่อิสราเอล แต่ยังคงครอบครองเขต West Bank บางส่วน และเยรูซาเล็มตะวันออก ครั้งนี้ ทาให้อิสราเอลสามารถยึดดินแดนอาหรับได้เพิ่มถึง 60% ของพื้นที่ที่ชาวอาหรับครอบครองก่อนสงครามซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ คือเมือง Jaffa, Lydda, Ramle, Galilee พื้นที่ของเมือง Tel-Aviv รวมถึง เยรูซาเล็มตะวันตกทั้งหมด และบางส่วนของ West Bank การที่สหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์ โดย สนับสนุนด้านการเงินและด้านอาวุธ ไม่นานอิสราเอลจึงกลายเป็นกองทัพที่เข้มแข็ง นับแต่นั้นมา อิสราเอล ก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มประเทศอาหรับตามมา แต่ ฉนวนกาซาและประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยจะถูกบังคับโดยกฎหมายที่ตราโดยอิสราเอลให้เป็น “ผู้ที่ไม่มาปรากฏตัว”ดังนั้น 4 ล้านกว่าคนของผู้ลี้ ภัย ทั้งที่ดินและทรัพย์สินของพวกเขาในอิสราเอลถูกโอนสิทธิไปยังประชาชนชาวอิสราเอลโดย JNS
  • 12. การสร้างรัฐอิสราเอลไม่ได้สร้างสันติภาพอย่างที่คิด เพราะอิสราเอลพยายามขยายพื้นที่และพรมแดนจึง ทาสงครามกับชาวปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง หลังจากสงคราม อิสราเอลและอาหรับก็ยังคงมีสงครามย่อยๆ ระหว่างกันตลอดช่วงเวลานับสิบปี โดยเป็นการโจมตี การสังหารชาวยิวของชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับการ สนับสนุนจากอียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย ซึ่งชาวยิวเรียกการกระทาเหล่านี้ว่า “ปฏิบัติการแก้แค้น” (Reprisal Operation) แม้จะไม่มีสงครามขนาดใหญ่แต่ก็มีความรุนแรงอยู่ตลอดเวลาตลอดมา โดยเฉพาะ "สงคราม 6 วัน"(Six Day War) ในปี ค.ศ. 1967 ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล ประธานาธิบดีนัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกาลังทหารกว่า 7 แสนนาย จากความร่วมมือของ 7 ชาติอาหรับ เข้าทาสงครามกับอิสราเอลผลของสงครามยิวเป็นฝ่ายชนะจึงได้ยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของ ตน ทั้งในเขตกาซาตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้าจอร์แดน (เขต เวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก สงครามจบลงเพียง 6 วัน กับชัยชนะครั้ง ยิ่งใหญ่ของอิสราเอลที่สามารถยึดและขยายดินแดนออกไปจากเดิมได้ถึง 4 เท่าตัว ซึ่งดินแดนเหล่านี้ อิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทาการขับไล่ชาวอาหรับออก จากจากดินแดนของตนเป็นจานวนมาก ประธานาธิบดี นัสเซอร์ ของอียิปต์ถูกลดทอนความเป็นผู้นาชาติ อาหรับลง "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ มีการเลือกผู้นาคนใหม่ขึ้น นั่นคือนายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) สงครามอาหรับอิสราเอลนาความสูญเสียมาสู่ชาวปาเลสไตน์ ราว 726,000 คน กลายเป็นผู้ลี้ภัยที่ไร้ที่อยู่ อาศัย รัฐอิสราเอลได้ครอบครองดินแดนเพิ่มร้อยละ 78 เป็นของปาเลสไตน์เป็นของตน ผู้ลี้ภัยชาว ปาเลสไตน์ 247,000 คน ได้ข้ามแม่น้าจอร์แดนเข้ามาสู่อาณาจักรฮาชิไมต์ของจอร์แดน ในขณะที่ ประชาชน 11,000 คน ลี้ภัยอยู่ในกาซา สิ่งที่สาคัญก็คือชาวปาเลสไตน์ได้รับบทเรียนจากการเมือง ดินแดนที่เคยเป็นดินแดนแห่งบรรพบุรุษของพวกเขาได้ถูกเปลี่ยนมือไปพวกเขากลายเป็นสังคมของผู้อยู่ อาศัย ภายใน 3 สัปดาห์ ศักยภาพทางทหารของอิสราเอลได้ผนวกเยรูซาเล็มเข้าไว้เป็นของตน และให้ส่วน ที่เหลือของชายฝั่งตะวันตกและกาซาตกอยู่ภายใต้การครอบครองของอิสราเอล15 ภายใต้การยึดครองดินแดนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อิสราเอลได้ตรากฎหมายห้ามพลเมืองชาวปาเลสไตน์ใน อิสราเอลแต่งงานและหรืออาศัยอยู่อย่างสามีภรรยากับชาวอิสราเอล โดยได้รับการรับรองจากศาลสูงของ 15 จรัญ มะลูลีม, อิมรอน มะลูลีม, กิติมา อมรทัต, และศิระ นวนมี. 2534. บทนาแห่งตะวันออกกลาง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สถาบันเอเชีย ศึกษา.
  • 13. อิสราเอลในปี 2006 เป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า “บุคคลใดที่ไม่ยอมรับอิสราเอลว่าเป็นรัฐของยิวจะไม่ สามารถเป็นพลเมืองในประเทศนี้ได้” ปัจจัยสาคัญที่ทาให้ชาวยิวสามารถสถาปนารัฐได้ในครั้งนี้ก็เพราะการวางแผนการอย่างฉลาดและแยบยล เพราะก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนารัฐชาตินั้น มีทั้งการร้อยเรียงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์สร้างความเป็นหนึ่ง เดียวทางอุดมการณ์ ไซออนิสต์ก็ได้วางแผนซื้อที่ดินในปาเลสไตน์ เพื่อเป็นการปูทางให้ชาวยิวสามารถ ทยอยเข้าไปอาศัยอยู่ก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการสถาปนารัฐชาติ และที่สาคัญการได้รับแรงสนับสนุนจาก มหาอานาจ เพราะการสู้รบจนได้ชัยชนะกองทัพที่มีกองกาลังมากกว่าถึง10 เท่าและเข้ายึดพื้นที่ได้จานวน มาก แสดงถึงแสนยานุภาพทางการทหารของอิสราเอลอย่างชัดเจนทั้งกาลังพลที่เข้มแข็ง อาวุธที่ทันสมัยมี อานุภาพรุนแรงทาลายล้างสูง สิ่งเหล่านี้คือการสนับสนุนจากมหาอานาจตะวันตก การเมืองระหว่างประเทศจึงเป็นปัจจัยสาคัญจนสามารถสถาปนารัฐชาติอิสราเอลได้สาเร็จและเข้มแข็ง อย่างต่อเนื่อง นี่คือวิธีการสร้างรัฐชาติอิสราเอลของชาวยิว พื้นที่พันธสัญญาแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยความ ขัดแย้ง ความรุนแรง และสงคราม 4) สภาพปัญหาความขัดแย้งภายหลังการสร้างรัฐชาติอิสราเอล หลังจากการเข้ามาสร้างรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ แล้ว ชาวปาเลสไตน์เองเริ่มตระหนักถึงดินแดน และอธิปไตยของตน จึงมีการต่อต้านโดยวิธีการต่าง ๆที่หลากหลาย ทั้งทางการเมือง ทางทหาร รวมทั้งการ ใช้ความรุนแรง เพื่อปลดปล่อยดินแดนของตนจากการถูกยึดครอง จนนาไปสู่การต่อสู้กันอย่างยืดเยื้อ และ รุนแรง หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติการด้วยความรุนแรงทั้งเปิดเผยและลับ ต่างก็พบว่าการใช้ความรุนแรง ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาจึงยอมหันหน้าเจรจากันผ่านสหประชาชาติ และเป็นที่มาของการลงนามใน "ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1" ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเอง ที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า สันติภาพจึงเกิดขึ้นจากข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว และ ส่งผลให้อาราฟัต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ16 ในปี 1994 และได้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดี ปาเลสไตน์ในปี 1995ชาวปาเลสไตน์เริ่มเข้าใจว่า เสรีภาพที่ได้มาเป็นเพียงละครเพราะอาราฟัต ประธานาธิบดี ไม่มีอานาจใดๆ แม้กระทั่งจะเดินทางออกนอกประเทศก็ต้องขอวีซ่าจากรัฐบาล อิสราเอล ความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์จึงสวนทางกับแนวทางการสร้างสันติภาพ เพราะหลังจากนั้น ขบวนการใหม่ของชาวปาเลสไตน์โดยการนาของขบวนการ”ฮามาส”จึงเกิดขึ้นตามมา 16 อาราฟัต รับรางวัลร่วมกับ Yitzhak Rabin และ Shimon Peres) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลใน สมัยนั้น
  • 14. เมื่อต้นปี ค.ศ. 2006 พรรคฮามาส ชนะเลือกตั้งจนเป็นแกนนาในการจัดตั้งรัฐบาล ยังความไม่พอใจให้แก่ กลุ่มฟาตาห์ นับจากนั้นเป็นต้นมากระบวนการโค่นล้มรัฐบาลฮามาสจึงเริ่มต้นขึ้นเป็นความขัดแย้งกัน ภายในของรัฐปาเลสไตน์ เป็นความขัดแย้งทั้งจากภายในและภายนอกโดยมีสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล เป็นร่วมรับรู้ แม้รัฐบาลฮามาสจะพยายามประนีประนอม โดยยอมแบ่งสรรอานาจให้กลุ่มฟาตาห์ แต่ไม่ เป็นผล สุดท้ายเหตุการณ์จบลงด้วยสงครามกลางเมืองภายในของกลุ่มฮามาสกลุ่มฟาตาห์ อันนาไปสู่การ ยึดอานาจในฉนวนกาซาโดยพรรคฮามาส ในขณะที่กลุ่มฟาตาห์ก็หันไปยึดครองเขตเวสต์แบงค์ และจัดตั้ง รัฐบาลขึ้นใหม่ที่นั่นเมื่อช่วงกลางปี 2007 ซึ่งก็เท่ากับว่าดินแดนปาเลสไตน์ในอดีตถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือคือ รัฐชาติอิสราเอล ส่วนที่สองคือฉนวนกาซาภายใต้การนาของรัฐบาลฮามาส17 และ ส่วนที่ สามคือเขตเวสต์แบงค์ภายใต้การนาของรัฐบาลฟาตาห์ จากความขัดแย้งทางการเมืองภายในปาเลสไตน์ กลุ่มฮามาสกับกลุ่มฟาตาห์ ปะทะกันใกล้เมืองกาซา เมื่อ วันที่ 1 ม.ค 2007 มีผู้บาดเจ็บ กลุ่มฮามาส 18 คน กลุ่มฟาตาห์ 4 คน ได้ถูกลักพาตัวไป ภายหลังมีการ ปล่อยตัวบางคนออกมา การเผชิญหน้าระหว่างฮามาสกับฟาตาห์ เกิดขึ้นจากการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล เอกภาพแห่งปาเลสไตน์ร่วมกันล้มเหลวทาให้ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส ขู่จัดการเลือกตั้งเร็วขึ้น แต่ กลุ่มฮามาสปฏิเสธและกล่าวหาว่าเป็นความพยายามก่อรัฐประหาร หลังจากนั้นวันที่ 25 ม.ค. 2007 เมือง กาซามีการปะทะกันขึ้นมาสามวันต่อเนื่องจนถึงวันที่ 28 ม.ค ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิต 20 คน บาดเจ็บ 66 ราย กลุ่ม ฮามาส ในฐานะรัฐบาลปาเลสไตน์ ประกาศงดการเจรจากับกลุ่มฟาตาห์ในการจัดตั้งรัฐบาล เอกภาพเนื่องจากความรุนแรงได้ขยายตัวมากขึ้นทาให้การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพปาเลสไตน์ต้อง หยุดชะงัก ส่วนนาย Tawfiq Abu Khoussa โฆษกฟาตาห์กล่าวว่า “การเจรจาจะดาเนินไปได้อย่างไร ถ้า หากยังมีระเบิดอยู่ใต้โต๊ะ”18 ปัญหาปาเลสไตน์นับเป็นประเด็นความขัดแย้งที่สาคัญยิ่งของโลก เพราะมีมหาอานาจหลายฝ่ายเข้ามา เกี่ยวข้องด้วย แม้ที่ผ่านมาได้มีความพยายามแล้วหลายครั้งที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งผ่านกระบวนการ เจรจาแบบสันติวิธี แต่ท้ายที่สุดความพยายามเหล่านั้นก็ล้มเหลวตลอดมา เพราะดูเสมือนว่ามหาอานาจ มิได้ต้องการให้ความขัดแย้งยุติลงอย่างแท้จริง 17 ฉนวนกาซา มีดินแดนเพียง 370 ตารางกิโลเมตร ติดกับอียิปต์ เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์ในยุคที่ตกอยู่ภายใต้ปกครองของ อังกฤษ มีสถานะเป็นเขตปกครองตนเอง ถูกอิสราเอลยึดครอง ในปี1967 ทาให้ชาวปาเรสไตน์ลุกขึ้นมาใช้กาลังต่อต้าน แต่ท้ายที่สุดถูกปราบ ปราบอย่างหนัก จนต้องหยุดการต่อสู้ กระทั่ง กลุ่มฮามาส (Hamas)ก่อตั้งขึ้นปี 1987 เพื่อช่วยเหลือมุสลิมในปาเลสไตน์ต่อสู้กับอิสราเอล ฮามาส สร้างความนิยมด้วยการจัดหาความจาเป็นพื้นฐานต่างๆ ทั้งสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และศาสนสถาน เชื่อกันว่าเงินทุนในการดาเนินการของ กลุ่มฮามาส ได้มาจากการบริจาคของชาวปาเลสไตน์ทั้งใน และนอกประเทศ นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนจากประเทศอาหรับอื่น ๆ และ รัฐบาลอิหร่าน 18 เดลินิวส์3-1-2007 Aljazeera.com 28-1-2007 และ เดลินิวส์ 29-1-2007