SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  16
Télécharger pour lire hors ligne
s)
                      ทที่ 1้มวลชีวภาพ (Biom
                                                                                 e
                                                                      ass Residu
                    บ               ช
                             ือใ
                    วัสดุเหล
                             การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ หรือกากทางการเกษตร (agricultural residues) รวมทั้ง
                    ของเสีย (wastes) และผลิตผลพลอยได้ (by-product) จากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตเป็น
                    ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยกระบวนการทางชีวภาพ เช่น เอทานอล กรดอินทรีย์ สารให้ความหวาน และ
                    ตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันเป็นวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้
                    เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางชนิดแต่เดิมสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี (มีกระบวนการผลิต
                    ที่ใช้ต้นทุนต่ำ และใช้เวลาในการผลิตสั้น) โดยใช้วัตถุดิบหรือสารตั้งต้นจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
                    แต่ปัจจุบันนี้โลกประสบปัญหาการขาดแคลนปิโตรเลียมทำให้ต้นทุนในการผลิตโดยกระบวนการ
                    ทางเคมีสูงขึ้น นอกจากนี้กระบวนการผลิตทางเคมียังก่อให้เกิดสารพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                    เช่น ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาแก๊สเรือนกระจก
                    (greenhouse gases) ในบรรยากาศ เป็นผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น (global warming) ซึ่งสภาวะที่
                    เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิต




_10-038 (001-016)P3.indd 1                                                                                       5/5/11 9:23:04 PM
การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ

                         ดังนั้น การผลิตโดยกระบวนการหมักทางชีวภาพ (biological fermentation) จึงเข้ามา
                 มีบทบาท โดยในระยะแรกใช้วัตถุดิบเป็นน้ำตาลที่ได้จากพืชซึ่งมีน้ำตาลสูง เช่น อ้อย หัวบีท และ
                 ข้าวฟ่างหวาน แต่ปัจจุบันน้ำตาลที่ได้จากพืชมีราคาสูงมาก ดังนั้น จึงมีการเปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบ
                 ที่ใช้ในกระบวนการหมักมาเป็นน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งชนิดต่าง ๆ เช่น แป้งมันสำปะหลัง
                 แป้งข้าวโพด และแป้งมันฝรั่ง เป็นต้น และน้ำตาลที่ได้จากทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
                 ได้ (renewable resources) ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบทดแทน โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
                 รวมกับกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้กระบวนการผลิตมีต้นทุนต่ำ ได้ผลคุ้มค่าทาง
                 เศรษฐศาสตร์ใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ นำไปสู่ความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว (green
                 technology) เพื่ อ ผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ สี เ ขี ย ว (green feedstock) ใช้ ใ นกระบวนการหมั ก ให้ ไ ด้
                 ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภค (green product) ซึ่งคาดว่ากระบวนการผลิตทาง
                 ชีวภาพจะมีบทบาทสูงมากในอนาคตอันใกล้นี้ รูปที่ 1.1 แสดงสารเคมีวัตถุดิบที่สำคัญ (key
                 feedstock chemical) โดยกระบวนการทางชีวภาพ




_10-038 (001-016)P3.indd 2                                                                                            5/5/11 9:23:04 PM
es)
                                        ีวภาพ	(Biomass	Residu                                                          	
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	
                       	

                       	 	 	 	 	 รูปที่	1.1		 สารเคมีวัตถุดิบที่สำคัญซึ่งผลิตจากทรัพยากรทดแทนโดยกระบวนการทางชีวภาพ		
                       	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 (ที่มา	:	ดัดแปลงจาก	Glazer	และ	Nikaido,	2007	:	78)	
                       




_10-038 (001-016)P5.indd 3                                                                                                  5/23/11 9:36:38 PM
การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ

                        วัตถุดิบที่มีราคาถูก เช่น วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร ฟาร์มปศุสัตว์
                 ป่าไม้ ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตบ้านเรือนต่าง ๆ รวมทั้งกระดาษและของเสีย
                 จากอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษซึ่งเป็นขยะที่ถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อม ส่วนมากเป็นสารอินทรีย์ไม่มีพิษ
                 และสามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ในดิน ของเสียเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อผลิต
                 พลังงาน และผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ได้ เช่น ในประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ
                 ผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาล โดยแหล่งที่ผลิตของเสียและชนิดของของเสียรวมทั้งวัสดุเหลือใช้
                 ทางการเกษตรแสดงดังตารางที่ 1.1
                 ตารางที่ 1.1 แหล่งที่ผลิตของเสียและชนิดของวัสดุเหลือใช้รวมทั้งของเสีย
                       แหล่งที่ผลิตของเสีย                ชนิดของเสีย                     สถานะของเสีย
                     (source producing                 (type of wastes)                 (nature of waste)
                            wastes)
                   กระดาษและอุตสาหกรรม       เซลลูโลส, เฮมิเซลลูโลส,                  ของแข็ง, ของเหลว และ
                   เยื่อกระดาษ               ลิกโนซัลโฟเนต และไบซัลเฟต                ส่วนมากเป็นสารอินทรีย์
                   (paper and pulp
                   industry)
                   ของเสียเทศบาล           ขยะบ้านเรือน, ขยะกระดาษ, ผลไม้             ของแข็ง, ของเหลว และ
                   (municipal wastes)      และเปลือกผัก, ของเสียโรงงานฆ่าสัตว์,       ส่วนมากเป็นสารอินทรีย์
                                           หนังสัตว์, น้ำเสีย และพลาสติก
                   โรงงานน้ำตาล และโรงกลัน ชานอ้อย และกากน้ำตาล
                                         ่                                            ของแข็ง และของเหลว
                   (sugar mills and
                   distilleries)
                   ผลิตภัณฑ์นม และสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ใช้, มูลวัว, เปลือกไข่    ของแข็ ง และเป็ น สาร
                   (dairy and poultry)     และมูลนก                                   อินทรีย์
                   การเกษตร                ฟางข้าว, ข้าวเปลือก, พืชหัว, ข้าว          ของแข็ ง และเป็ น สาร
                   (agriculture)           โพด, เมล็ดพืช, ใบไม้, เส้นใยและก้าน        อินทรีย์
                                           ต้นฝ้าย, เปลือกถั่ว, เปลือกมะพร้าว
                                           และรำข้าว
                   อุตสาหกรรมอาหาร         เปลือกผลไม้และส่วนเยื่อ, กระดูก และ        ของแข็ ง และเป็ น สาร
                   (food industry)         หนังสัตว์                                  อินทรีย์
                   ป่าไม้                  เศษไม้, ใบไม้, ขี้เลื่อย, ฟืน, เมล็ด       ของแข็ ง และเป็ น สาร
                   (forestry)              และเปลือกไม้ เป็นต้น                       อินทรีย์
                 ที่มา : ดัดแปลงจาก Rastogi, 2007 : 36.2.




_10-038 (001-016)P3.indd 4                                                                                          5/5/11 9:23:05 PM
s)
                                        ีวภาพ (Biomass Residue                                                           
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                              วัตถุดิบที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีองค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลส (lignocellulose) เป็น
                       องค์ประกอบหลัก ซึ่งลิกโนเซลลูโลสประกอบด้วยพอลิเมอร์ 3 ชนิด คือ เซลลูโลส (cellulose)
                       เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และลิกนิน (lignin) ตารางที่ 1.2 แสดงปริมาณของเซลลูโลส
                       เฮมิเซลลูโลส และลิกนินในวัสดุเหลือใช้หรือกากทางการเกษตร
                       ตารางที่ 1.2 ปริ ม าณของเซลลู โ ลส เฮมิ เ ซลลู โ ลส และลิ ก นิ น ในวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ห รื อ กากทาง
                                    การเกษตร
                                                                      เซลลูโลส         เฮมิเซลลูโลส           ลิกนิน
                                  วัสดุลิกโนเซลลูโลส
                                                                        (%)                 (%)                (%)
                         ลำต้นไม้เนื้อแข็ง                             40-55              24-40              18-25
                         ลำต้นไม้เนื้ออ่อน                             45-50              25-35              25-35
                         เปลือกถั่ว                                    25-30              25-30              30-40
                         แกนฝักข้าวโพด                                   45                 35                 15
                         หญ้า                                          25-40              35-50              10-30
                         กระดาษ                                        85-99                 0                0-15
                         ฟางข้าวสาลี                                     30                 50                 15
                         ขยะ หรือเศษของที่ใช้แล้วแยกประเภท               60                 20                 20
                         ใบไม้                                         15-20              80-85                 0
                         ใยเมล็ดฝ้าย                                   80-95               5-20                 0
                         กระดาษหนังสือพิมพ์                            40-55              25-40              18-30
                         เศษกระดาษจากหนังสือ                           60-70              10-20               5-10
                         ของแข็งจากน้ำเสียขั้นแรก                       8-15                NA               24-29
                         ของเสียจากโรงเลี้ยงหมู (มูลหมู)                 6.0                28                 NA
                         มูลวัว ควาย ปศุสัตว์                          1.6-4.7            1.4-3.3            2.7-5.7
                         หญ้าพันธุ์ Coastal Bermuda                      25                35.7                6.4
                         หญ้าพันธุ์ Switch                               45                31.4               12.0
                       NA : ไม่มี
                       ที่มา : ดัดแปลงจาก Sun และ Cheng, 2002 : 2.




_10-038 (001-016)P3.indd 5                                                                                                    5/5/11 9:23:05 PM
การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ


                 องค์ประกอบที่สำคัญของมวลชีวภาพ
                        พืชที่มีเนื้อเยื่อระบบท่อลำเลียง ในผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และ
                 ลิกนินเป็นส่วนประกอบหลัก พอลิเมอร์ทั้ง 3 ชนิดในแต่ละชนิดจะยึดกันด้วยแรงของพันธะ
                 ไฮโดรเจนและแรงแวนเดอวาลล์ (Van der Waals) เป็นต้น ทำให้ผนังเซลล์พืชมีความแข็งแรง
                 รวมกันเป็นลิกโนเซลลูโลสซึ่งมีมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งของเซลล์พืช ปริมาณ
                 ของพอลิเมอร์แต่ละชนิดจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับชนิด อายุ และส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยทั่วไป
                 ในพืชไม้เนื้ออ่อน (softwood) มีลิกนินเป็นส่วนประกอบมากกว่าไม้เนื้อแข็ง ดังแสดงในตาราง
                 ที่ 1.3 ในพืชตระกูลหญ้าพบเฮมิเซลลูโลสในปริมาณสูงที่สุด ในไม้ยืนต้นลิกโนเซลลูโลสประกอบ
                 ด้วยเซลลูโลสประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลสประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และลิกนิน
                 ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ตารางที่ 1.4 แสดงส่วนประกอบของลิกโนเซลลูโลสในไม้ชนิดต่าง ๆ
                 ตารางที่ 1.3 แสดงส่วนประกอบของลิกโนเซลลูโลสในพืชที่มีระบบท่อลำเลียง
                        แหล่งลิกโนเซลลูโลส       ลิกนิน (%)        เซลลูโลส (%)        เฮมิเซลลูโลส (%)
                   หญ้า (Grasses)                   10-30               25-40                25-50
                   ไม้เนื้ออ่อน (Softwoods)         25-35               45-50                25-35
                   ไม้เนื้อแข็ง (Hardwoods)         18-25               45-55                24-40
                 ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 434.




_10-038 (001-016)P3.indd 6                                                                                     5/5/11 9:23:05 PM
s)
                                        ีวภาพ (Biomass Residue                                                  
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                       ตารางที่ 1.4 แสดงส่วนประกอบของลิกโนเซลลูโลสในไม้ชนิดต่าง ๆa
                                                                                        กลูโคแมน    เฮมิเซลลูโลส
                                                                                              b
                                                                                เซล-      แนน     กลูคูโรโนไซแลนC
                                สปีชีส์                 ชื่อสามัญ        ลิกนิน ลูโลส (glucoman- (hemicellulose
                                                                                          nan)   glucuronoxylan)
                           ไม้เนื้ออ่อน
                           Pseudotsuga	            Douglas fir           29.3   38.8     17.5           5.4
                             menziesii	
                           Tsuga	canadensis	       Eastern hemlock 30.5         37.7     18.5           6.5
                           Juniperus	              Commom juniper 32.1          33.0     16.4          10.7
                             communis	
                           Pinus	radiata	          Monterey pine         27.2   37.4     20.4           8.5
                           Picea	abies	            Norway spruce         27.4   41.7     16.3           8.6
                           Larix	sibirica	         Siberian larch        26.8   41.4     14.1           6.8
                           ไม้เนื้อแข็ง
                           Acer	saccharum	         Sugar maple           25.2   40.7     3.7           23.6
                           Fagus	sylvatica	        Common beech          24.8   39.4     1.3           27.8
                           Betula	verrucosa	       Silver birch          22.0   41.0     2.3           27.5
                           Alnus	incana	           Gray alder            24.8   38.3     2.8           25.8
                           Eucalyptus	             Blue gum              21.9   51.3     1.4           19.9
                             globules	
                           Ochroma	lagopus	        Balsa                 21.5   47.7     3.0           21.7
                       a
                          ค่าทั้งหมดได้จากน้ำหนักแห้งของไม้ (%)
                       b
                          แทนที่ด้วยกาแล็กโทส และหมู่แอซีทิลในไม้เนื้ออ่อน
                       c
                          แทนที่ด้วยอะราบิโนส และหมู่แอซีทิลในไม้เนื้อแข็ง
                       ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 435.


                               เซลลูโลส
                            เซลลูโลส [C6(H2O)5]n คือ สารประกอบอินทรีย์ที่มีปริมาณมากที่สุดบนโลก ทุก ๆ ปีจะมี
                       การผลิตเซลลูโลสจากพืชมากกว่า 1011 เมตริกตัน พอลิเมอร์เซลลูโลสคือสายของกลูโคสที่จับ




_10-038 (001-016)P3.indd 7                                                                                          5/5/11 9:23:06 PM
การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ

                 กันด้วยพันธะ β-(1,4)-glycosidic หรือ β-(1,4) glucopyranosyl ต่อกันเป็นสายยาวตรง
                 ดังรูปที่ 1.2 มีระดับการเกิดพอลิเมอร์ (degree of polymerization; DP) ประมาณ 500-
                 10,000 ขึ้นกับชนิดของพืช โดยมีหน่วยซ้ำ ๆ เรียกว่าเซลโลไบโอส (cellobiose) ซึ่งทำหน้าที่
                 เป็นหน่วยโครงสร้าง (building block) ของเซลลูโลส และทุก ๆ หน่วยที่สองของกลูโคสที่ต่อกัน
                 ในโมเลกุลของเซลลูโลสหมุนได้ 180 องศา ทำให้สายเซลลูโลสเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่
                 ไฮดรอกซิลในโมเลกุลของกลูโคส และระหว่างสายของพอลิเมอร์ ดังรูปที่ 1.3


                                      OH        HOH2C                                      OH        HOH2C
                         HO                                       O  HO                                              O
                                               O                    O                             O HO                     O
                        O              O        HO                                         O
                        HOH2C                                    OH HOH2C                                          OH
                                       เซลโลไบโอส

                              รูปที่	1.2		โครงสร้างของเซลลูโลส	(ที่มา	:	ดัดแปลงจาก		Pu	และคณะ,	2008	:	59)	
                                                                       


                                               H                            H H
                                                                      H
                                                     H      O H              O CH2
                                 H O                                                            H O
                                  O                                        O
                                                             O            H O                                  O
                                    O              CH2 H                                   H         O H
                                     H
                                   H                                                   H              H
                                                  กลูโคส
                                               (D-glucose)

                 
 
 
 รูปที่	1.3		 แสดงหน่วยของเซลโลไบโอสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่	 หน่วยซ้ำของสายเซลลูโลส	 เกิด
            	
                 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 จากน้ำตาลกลูโคส	 (D-glucose)	 ต่อกันด้วยพันธะ	 β-(1,4)-glycosidic	 แสดงความ	            
                 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 เสถียรของการเกิดพันธะไฮโดรเจนภายในโมเลกุลในแต่ละสาย	 และพันธะไฮโดรเจน	                  
                                                                                                                               
                 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 ระหว่างโมเลกุลเพื่อทำปฏิกิริยากับสายที่อยู่ใกล้กันใน	 microfibril	 (ที่มา	 :	 ดัดแปลงจาก			
                 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 Glazer	และ	Nikaido,	2007	:	434)	




_10-038 (001-016)P3.indd 8                                                                                                         5/5/11 9:23:06 PM
s)
                                        ีวภาพ (B iomass Residue                                                                    
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                               โครงสร้ า งของสายพอลิ เ มอร์ เ ซลลู โ ลสมี ลั ก ษณะราบไม่ มี กิ่ ง ก้ า น รู ป ร่ า งคล้ า ยริ บ บิ้ น
                       (ribbon type) มีความแข็งแรงและเสถียรเกิดจากพันธะไฮโดรเจนทั้งภายใน และระหว่าง
                       โมเลกุลโดยหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ที่อยู่บนสาย พันธะไฮโดรเจนระหว่างสายที่อยู่ใกล้กันทำให้
                       มีความแข็งแรง แต่ละสายมีการเรียงตัวคู่ขนานกันจำนวนมาก ซึ่งทุกสายจะมีคุณสมบัติของ
                       ขั้วเหมือนกัน แต่ละสายเรียกว่า microfibrils ซึ่งมีความกว้าง 250 อังสตรอม และ microfibirls
                       แต่ละสายจะเชื่อมกันเพื่อสร้างเป็น fibrils ขนาดใหญ่
                               Cellulose fibrils มีส่วนที่เป็นบริเวณเกิดผลึก (crystalline region) หรือบริเวณสร้าง
                       micelles เป็นบริเวณที่มีโครงสร้างของส่วนที่เป็นระเบียบ (region of high order) และส่วนที่
                       เป็น amorphous region เป็นบริเวณที่ไม่มีระเบียบ (region of less order) การรวมกันของ
                       โครงสร้างที่เป็นผลึกเส้นใยมี 2 แบบ คือ Iα และ Iβ Iα พบในผนังเซลล์ของสาหร่ายบางชนิด
                       และในแบคทีเรีย Iβ พบในฝ้าย ไม้ และป่าน โครงสร้างของผลึกแตกต่างกันตามแหล่งหรือ
                       วิถีทางวัสดุที่นำมาสร้าง เป็นส่วนที่ไม่ละลายน้ำและทนต่อการย่อยสลายมากกว่าพอลิเมอร์ของ
                       กลูโคสชนิดอื่น ๆ เช่น แป้ง เซลลูโลสที่ได้จากธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีปริมาณ amorphous
                       cellulose ต่างกัน ซึ่ง amorphous cellulose มีความไวกับสารเคมีและเอนไซม์มากกว่า
                       ดังนั้น จึงเป็นส่วนที่ง่ายต่อการถูกย่อยด้วยปฏิกิริยาของกรด เบส หรือเอนไซม์
                              เฮมิเซลลูโลส
                                 เฮมิเซลลูโลส [C5(H2O)4]n หรือ [C6(H2O)5]n ประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีความ
                       ซั บ ซ้ อ น เป็ น โครงสร้ า งที่ เ หมื อ นกั บ เซลลู โ ลสเพราะว่ า มี ส ายโซ่ ห ลั ก ต่ อ กั น ด้ ว ยหน่ ว ยของ
                       1,4- β-D-pyranosyl แต่ มี ร ะดั บ การเกิ ด พอลิ เ มอร์ (degree of polymerization; DP)
                       ต่ำกว่าเซลลูโลส คือ ประมาณ 50-300 มีโครงสร้างที่เป็นสายกิ่งมาก ขณะที่เซลลูโลสเป็น
                       โฮโมพอลิเมอร์ (homopolymer) เส้นตรงซึ่งจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละชนิด เฮมิเซลลูโลส
                       เป็นเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ (heteropolysaccharide) ไม่เป็นผลึก (noncrystalline) โดย
                       ธรรมชาติจะมีโครงสร้างเป็นแบบ amorphous
                            น้ำตาลที่พบในเฮมิเซลลูโลสประกอบด้วยน้ำตาลเพนโทส ได้แก่ ไซโลส (D-xylose) และ
                       อะราบิโนส (L-arabinose) น้ำตาลเฮกโซส ได้แก่ กาแล็กโทส (D-galactose, L-galactose),
                       แมนโนส (D-mannose), แรมโนส (L-rhamnose) และฟิวโคส (L-fucose) และมีกรดยูโรนิก




_10-038 (001-016)P3.indd 9                                                                                                               5/5/11 9:23:06 PM
10	                                                   การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ

                 (uronic acid) ได้แก่ กรดกลูคูโรนิก (D-glucuronic acid) น้ำตาลเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงโดย
                 ปฏิกิริยาแอซีทิเลชัน (acetylation) หรือเมทิลเลชัน (methylation) องค์ประกอบที่สำคัญ
                 ของเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็งแสดงดังตารางที่ 1.5 และโครงสร้างอย่างง่ายของ
                 เฮมิเซลลูโลส 3 ชนิดแสดงในรูปที่ 1.4 และรูปที่ 1.5
                 ตารางที่ 1.5 แสดงองค์ประกอบหลักของเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็ง
                                                                              ส่วนประกอบ
                                                จำนวน
                                     ชนิด                                                               ระดับ
                   ชนิดไม้                       (%                           อัตราส่วน
                                เฮมิเซลลูโลส                   หน่วย                        พันธะ      การเกิด
                                                ของไม้)                        (โมลาร์)
                                                                                                      พอลิเมอร์
                  ไม้       กาแล็กโท-                        β-D-Manp
             4        1--4
                                                10-15
                  เนื้ออ่อน กลูโคแมนแนน                      β-D-Glcp
             1        1--4
                                                                                                         100
                            (galacto-                        β-D-Galp
            0.1       1--6
                            glucomannan)                      Acetyl               1
                              อะราบิโน-                      β-D-Xylp
            10        1--4
                                                 7-10
                              กลูคูโรโนไซแลน                4-O-Me-α-D-            2        1--2
                                                                                                         100
                              (arabino-                        GlcpA
                              glucuronoxylan)                 β-L-Araf            1.3       1--3
                  ไม้       กลูคูโรโนไซแลน                   β-D-xylp
            10
                                             15-30
                  เนื้อแข็ง (glucuronoxylan)                4-O-Me-α-D-           1         1--4
                                                                                                         200
                                                               GlcpA
             7         1--2
                                                               Acetyl
                              กลูโคแมนแนน                    β-D-Manp
            1-2       1--4
                                                 2-5                                                     200
                              (glucomannan)                  β-D-Glcp	             1        1--4
                 ที่มา : ดัดแปลงจาก Pu และคณะ, 2008 : 60.




_10-038 (001-016)P3.indd 10                                                                                          5/5/11 9:23:07 PM
es)
                                        ีวภาพ	( Biomass	Residu                                                           	11
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                               	
                               	
                               	
                               	
                                                                               	
                                                                                                                             	
                       

                       รูปที่ 1.4		 แสดงเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ของเฮมิเซลลูโลส	 กาแล็กโทกลูโคแมนแนน	 และกลูคูโรโนอะราบิโน-	     

                                                                                                                               

                       	 	 	 	 	 	 	 ไซแลนเป็นเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อน	 กลูคูโรโนไซแลนเป็นเฮมิเซลลูโลสที่สำคัญในไม้เนื้อแข็ง		
                       	 	 	 	 	 	 	 Ac:	 acetyl,	 GlcpA:	 D-glucuronopyranose,	 Araf:	 L-arabinofuranose,	 Manp:		            

                       	 	 	 	 	 	 	 D-mannopyranose,	Glcp:	D-glucopyranose,	Me:	O-methyl	และ	Xylp:	D-xylopyranose		           

                       	 	 	 	 	 	 	 (ที่มา	:	ดัดแปลงจาก	Glazer	และ	Nikaido,	2007	:	435)	

                       

                               	
                               	




                                               รูปที่ 1.5		(a)	โครงสร้างของกาแล็กโทกลูโคแมนแนนในไม้เนื้ออ่อน	
                       	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 (b)	โครงสร้างของอะราบิโนกลูคูโรโนไซแลนในไม้เนื้ออ่อน	
                       	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 	 (c)	โครงสร้างของกลูคูโรโนไซแลนในไม้เนื้อแข็ง	
                                                             (ที่มา	:	ดัดแปลงจาก	Pu	และคณะ,	2008	:	60)	




_10-038 (001-016)P4.indd 11                                                                                                      5/15/11 8:13:00 PM
1	                                                         การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ

                        ชื่ อ เฮมิ เ ซลลู โ ลส ตั้ ง โดย E. Schultze ใน ค.ศ. 1891 ได้ อ ธิ บ ายส่ ว นประกอบของ
                 พอลิแซ็กคาไรด์ของผนังเซลล์พืชที่สกัดด้วยด่างเจือจาง พอลิแซ็กคาไรด์ทั้ง 2 ชนิด คือ β-(1,4)
                 -xylan เป็นแกนหลัก และกาแล็กโทกลูโคแมนแนน ซึ่ง 2 ส่วนนี้มีความสามารถในการละลายใน
                 ด่างเจือจาง (KOH) แต่กลูโคแมนแนนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อน
                 (ดังแสดงในตารางที่ 1.4) ไม่ละลายในสภาวะนี้ และยังคงจับอยู่กับเส้นใยเซลลูโลส ดังแสดงในรูป
                 ที่ 1.6 ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า เฮมิเซลลูโลสคือพอลิแซ็กคาไรด์ที่เชื่อมกันด้วยแรงนอนโคเวเลนซ์
                 (แรงของพันธะไฮโดรเจน และแรงแวนเดอวาลล์ เป็นต้น) กับเซลลูโลส
                        	
                                                                           ไม
                 	
                 	                              การสลายลิกนินโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันดวยโซเดียมคลอไรต
                 	                           (sodium chlorite) และสกัดดวย alcoholic ethanolamine

                 	
                 	                                          โฮโลเซลลูโลส (holocellulose)
                                           เป็นสวนที่ไมละลายน้ำ ประกอบดวยเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส
                 	
                 	                                                             โพแทสเซียมไฮดรอกไซด (KOH)
                 	
                                                 ละลาย                                             ไมละลาย
                 	
                 	             อะราบิโนกลูคูโรโนไซแลน                                         เซลลูโลส, กลูโคแมนแนน
                              (arabinoglucuronoxylan)                                      (cellulose, glucomannan)
                 	              กาแล็กโทกลูโคแมนแนน
                 	             (galactoglucomannan)                                       โซเดียมไฮดรอกไซด (NaOH)
                                                                                            โซเดียมบอเรต (Na-borate)
                 	
                                                                            	                  ไมละลาย       ละลาย
                                                                                                                         	
                                                                                        เซลลูโลส             กลูโคแมนแนน
                 	
                 รูปที่	1.6		 แผนภาพแสดงการแยกส่วนประกอบพอลิแซ็กคาไรด์ของไม้เนื้ออ่อนโดยวิธีสกัดด้วยด่างเจือจาง		            
                 	 	 	 	 	 	 	 (dilute	alkali	extraction	method)	ของ	Schultze	เฮมิเซลลูโลส	กลูโคแมนแนนหลังจากสกัด
          	
                                                                                                                            
                 	 	 	 	 	 	 	 ด้วยด่างเจือจาง	 (KOH)	 จะอยู่ในส่วนที่ไม่ละลาย	 โดยจับอยู่กับเส้นใยเซลลูโลส	 สามารถแยกกลูโค-	
                 	 	 	 	 	 	 	 แมนแนนออกจากเซลลูโลสได้โดยการสกัดด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซเดียมบอเรต	
                 	 	 	 	 	 	 	 (ที่มา	:	ดัดแปลงจาก	Glazer	และ	Nikaido,	2007	:	436)	




_10-038 (001-016)P3.indd 12                                                                                                      5/5/11 9:23:08 PM
es)
                                        ีวภาพ	(Biomass	Residu                                                        	13
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                              เฮมิเซลลูโลสของไม้เนื้ออ่อน มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่	 3	ชนิด	คือ	กลูโคแมนแนน	
                       กาแล็กโทกลูโคแมนแนน	และอะราบิโนกลูคูโรโนไซแลน	พอลิเมอร์ที่มีแมนโนสเป็นส่วนประกอบ	
                       2	 ชนิด	 (กลูโคแมนแนน	 และกาแล็กโทกลูโคแมนแนน)	 แตกต่างกันมากที่ส่วนประกอบของ
                       กาแล็กโทส	 ซึ่งส่วนประกอบของน้ำตาลในพอลิเมอร์ทั้ง	 2	 ชนิด	 มีสัดส่วนโดยประมาณ	 ดังนี	         ้
                       กาแล็กโทส	:	กลูโคส	:	แมนโนส	คือ	0.1	:	1	:	4	และ	1	:	1	:	3	ตามลำดับ	สายโซ่หลักประกอบด้วย
                       หน่วยของ	 1,4-β-D-glucopyranose	 และหน่วยของ	 β-D-mannopyranose	 ส่วนหน่วย	                    	
                       ของ	 α-D-galactopyranose	 เชือมต่อกับสายโซ่หลักด้วยพันธะ	 1,	 6	 น้ำตาลสายโซ่หลักถูกเติม	
                                                       ่
                       หมูแอซีทลที	C-2	หรือ	C-3	โดยหมูแอซีทล	1	หมู	จะเข้าจับทุก	ๆ	3-4		หน่วย	(รูปที	1.4)													
                          ่     ิ ่                      ่   ิ     ่                               ่
                              อะราบิโนกลูคูโรโนไซแลนมีสายโซ่หลักของหน่วย	 1,4-β-D-xylopyranose	 บางส่วน	      	
                       ที่ตำแหน่ง	 C-2	 จะจับกับ	 4-O-methyl-α-D-glucuronic	 acid	 และที่	 C-3	 จับกับหน่วยของ		
                                                                                                               	
                       α-L-arabinofuranose	ดังแสดงในรูปที่	1.4		
                             เฮมิเซลลูโลสของไม้เนื้อแข็ง มีส่วนประกอบหลัก	 คือ	 กลูคูโรโนไซแลน	 มีสายโซ่หลัก	
                       ต่อกันด้วยหน่วยของ	 1,4-β-D-xylopyranose	 ซึ่งส่วนมากจะถูกเติมหมู่แอซีทิลที่	 C-2	 หรือ			
                       C-3	 โดย	 4-O-methyl-α-D-glucuronic	 acid	 จับกับสายโซ่หลักที่	 C-2	 และพบที่น้ำตาล	   	
                       ไซโลสทุก	ๆ	10	หน่วย	ดังรูปที่	1.4					
                              ลิกนิน
                             ลิกนิน	(C10H12O4)n	พบในผนังเซลล์พืชชั้นสูง	(ทั้งพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่)	เฟิร์น	
                       และ	 club	 moss	 มี ป ริ ม าณมากในส่ ว นของเนื้ อ เยื่ อ บริ เ วณท่ อ ลำเลี ย งโดยเฉพาะส่ ว นที่ ม	
                                                                                                                         ี
                       การลำเลียงของเหลว	 ลิกนินไม่พบในมอส	 ไลเคนส์	 และสาหร่าย	 ซึ่งไม่มีเทรคีด	 (tracheids)		            	
                       ลิกนินทำให้เนื้อเยื่อไม้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นโดยกระบวนการลิกนิฟิเคชัน	 (lignifications)	 พบ	     	
                       ในต้นไม้ใหญ่ที่สูงหลายร้อยฟุต	
                             ลิกนิฟิเคชัน	 คือ	 กระบวนการเจริญเพิ่มจำนวนลิกนินเพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างเส้นใย	
                       เซลลูโลส	และสายเฮมิเซลลูโลสของผนังเซลล์พืช	
                              ลิกนินเป็น	 aromatic	 polymer	 ที่มีมากที่สุดบนพื้นโลก	 มีโมเลกุลที่ซับซ้อนมาก	 รูปร่าง
                       เป็น	 amorphous	 สร้างจากหน่วยของฟีนิลโพรเพน	 [phenylpropane	 (C9)]	 หรือ	 ฟีนิลโพร-	         	
                       พิโอนิกแอลกอฮอล์	 (phenylpropionic	 alcohol)	 เชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้าง	 3	 มิติ	 ลิกนิน	



_10-038 (001-016)P4.indd 13                                                                                                5/15/11 8:15:27 PM
14	                                                          	การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ	

                     เป็นตัวเชื่อมเพื่อยึดให้เส้นใยเซลลูโลสมารวมกัน	 ทำให้แยกลิกนินได้ยากมาก	 ลิกนินเป็นส่วน	
                                                                                                            	
                     ที่ทำให้เซลล์แข็ง	 เป็นเกราะป้องกันการทำลายจากจุลินทรีย์	 เพราะว่าโมเลกุลของลิกนินมี	
                     พันธะทางเคมีชนิดต่าง	ๆ	มากมาย	และโดยเฉพาะวิธีสกัดจะบอกถึงชนิดของลิกนิน	
                           สารตั้งต้นโดยตรงของลิกนินคือแอลกอฮอล์	 3	 ชนิด	 เรียกว่า	 mono-lignol	 ได้จาก	       	
                     กรด	 p-hydroxycinnamic	 ประกอบด้ ว ย	 coniferyl	 alcohol	 (guaiacyl	 propanol),		           	
                     p-coumaryl	 alcohol	 (p-hydroxyphenyl	 propanol)	 และ	 sinapyl	 alcohol	 (syringyl	        	
                     alcohol)	ดังรูปที่	 1.7	โดยทั่วไปในพืชสมุนไพรหรือพืชลำต้นไม้อ่อน	เช่น	หญ้า	มีลิกนินเป็นส่วน
                     ประกอบน้อยที่สุด	ขณะที่ไม้เนื้ออ่อนมีลิกนินเป็นส่วนประกอบมากที่สุด	ดังตารางที่		1.3	
                           ในไม้ เ นื้ อ อ่ อ น	 (พื ช ใบเลี้ ย งเดี่ ย ว)	 ลิ ก นิ น ประกอบด้ ว ยหน่ ว ยโครงสร้ า งหลั ก ที่ ม าจาก
                     coniferyl	alcohol	บางชนิดมาจาก	p-coumaryl	alcohol	แต่ไม่มีมาจาก	sinapyl	alcohol	
                          ในไม้เนื้อแข็ง	 (พืชใบเลี้ยงคู่)	 ลิกนินประกอบด้วยหน่วยของ	 coniferyl	 และ	 sinapyl	
                     alcohol	 แต่ ล ะส่ ว นเท่ า	 ๆ	 กั น	 ประมาณ	 46	 เปอร์ เ ซ็ น ต์	 และมี ส่ ว นย่ อ ย	 คื อ	 p-hydro-	
                                                                                                                          	
                     xyphenyl	propanol	ซึ่งได้จาก	p-coumaryl	alcohol	มีประมาณ	8	เปอร์เซ็นต์	
                           ลิกนินในพืชตระกูลหญ้าประกอบด้วยหน่วยของ	 coniferyl	 alcohol,	 sinapyl	 alcohol	
                     และ	 p-hydroxyphenyl	 propanol	 กับ	 p-coumaric	 acid	 (ประมาณ	 5-10	 เปอร์เซ็นต์	
                     ของลิกนิน)	 ส่วนใหญ่จะถูกเอสเทอริไฟด์	 (esterified)	 ด้วยหมู่ไฮดรอกซิลที่ส่วนปลายของ			
                     p-coumaryl	alcohol	ที่สายด้านข้าง	
                              	
                              						
                              	
                              						
                              	
                              						
                              	




    _10-038 (001-016)P4.indd 14                                                                                                        5/15/11 8:15:27 PM
s)
                                        ีวภาพ (Biomass Residue                                                             1
                      วัสดุเหลือใช้มวลช

                                            CH2OH                CH2OH                            CH2OH
                                            CH                   CH                               CH
                                            CH                   CH                               CH

                                                                        OCH3           CH3O              OCH3
                                           OH                 OH                                  OH
                                      p-Coumaryl          Coniferyl                            Sinapyl
                                        alcohol            alcohol                             alcohol
                                              พบในไมเนื้อออน
                                                            พบในไมเนื้อแข็งและหญา
                                                                  mono-lignol

                       	 	 	 	 	 รูปที่	1.7

 แสดงสารตั้งต้นโดยตรงของการสังเคราะห์ลิกนิน	 ประกอบด้วย	 p-hydroxycin-	   
                       
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 namyl	alcohol	3	ชนิด	(ทีมา	:	ดัดแปลงจาก	Glazer	และ	Nikaido,	2007	:	436)
                                                                       ่




                       เอกสารอ้างอิง
                       1. Glazer, A.N. and Nikaido, H. 2007. Microbial Biotechnology: Fundamentals of
                             Applied Microbiology. 2nd ed. Cambridge University Press.
                       2. Jacques, K., Lyons, T.P. and Kelsall, D.R. 1999. The Alcohol Textbook. 3rd ed.
                             Nottingham University Press.
                       3. Kumar, P., Barrett, D.M., Delwiche, M.J. and Stroeve, P. 2009. Methods for
                            pretreatment of lignocellulosic biomass for efficient hydrolysis and biofuel
                            production. Industrial and Engineering Chemistry Research 48: 3713-
                            3729.
                       4. Pu, Y., Zhang, D., Singh, P.M. and Ragauskas, J. 2008. The new forestry biofuels
                             sector. Biofuels Bioproducts and Biorefining 2: 58-73.




_10-038 (001-016)P3.indd 15                                                                                                     5/5/11 9:23:09 PM
1	                                           การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ

                 5. Rastogi, S.C. 2007. Biotechnology: Principles and Applications. Oxford, UK:
                       Alpha Science International Ltd.
                 6. Sanchez, C. 2009. Lignocellulosic residues: Biodegradation and bioconversion
                       by fungi. Biotechnology Advances 27: 185-194.
                 7. Sun, Y. and Cheng, J. 2002. Hydrolysis of lignocellulosic materials for ethanol
                       production: a review. Bioresource Technology 83: 1-11.




_10-038 (001-016)P3.indd 16                                                                                  5/5/11 9:23:09 PM

Contenu connexe

Tendances

Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Utai Sukviwatsirikul
 
9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษาWatcharin Chongkonsatit
 
ทฤษฎีระบบราชการ
ทฤษฎีระบบราชการทฤษฎีระบบราชการ
ทฤษฎีระบบราชการwiraja
 
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...Nawanan Theera-Ampornpunt
 
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยtechno UCH
 
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัยการกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัยDuangdenSandee
 
วิจัยร้านอาหารเกาะยอ New
วิจัยร้านอาหารเกาะยอ Newวิจัยร้านอาหารเกาะยอ New
วิจัยร้านอาหารเกาะยอ NewYai Chic
 
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์Nawaponch
 
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชคู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชUtai Sukviwatsirikul
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันUtai Sukviwatsirikul
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพณัฐะ หิรัญ
 
Iso50001 (Energy Management System
Iso50001 (Energy Management SystemIso50001 (Energy Management System
Iso50001 (Energy Management SystemNECTEC, NSTDA
 
NQA application report writing
NQA application report  writingNQA application report  writing
NQA application report writingChutikarn Haruthai
 
ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)
ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)
ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)Pawoot (Pom) Pongvitayapanu
 
การเขียนระเบียบวิธีวิจัย
การเขียนระเบียบวิธีวิจัยการเขียนระเบียบวิธีวิจัย
การเขียนระเบียบวิธีวิจัยDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียSupamas Trunkaew
 
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยาศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยาUtai Sukviwatsirikul
 

Tendances (20)

Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
 
เกณฑ์การวัดสมรรถนะผู้บริหาร
เกณฑ์การวัดสมรรถนะผู้บริหารเกณฑ์การวัดสมรรถนะผู้บริหาร
เกณฑ์การวัดสมรรถนะผู้บริหาร
 
9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา
 
ทฤษฎีระบบราชการ
ทฤษฎีระบบราชการทฤษฎีระบบราชการ
ทฤษฎีระบบราชการ
 
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
Relationship Between Thailand's Official Information Act and Personal Data Pr...
 
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัยการกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
 
วิจัยร้านอาหารเกาะยอ New
วิจัยร้านอาหารเกาะยอ Newวิจัยร้านอาหารเกาะยอ New
วิจัยร้านอาหารเกาะยอ New
 
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
 
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชคู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
 
Iso50001 (Energy Management System
Iso50001 (Energy Management SystemIso50001 (Energy Management System
Iso50001 (Energy Management System
 
NQA application report writing
NQA application report  writingNQA application report  writing
NQA application report writing
 
ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)
ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)
ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell by pawoot)
 
การเขียนระเบียบวิธีวิจัย
การเขียนระเบียบวิธีวิจัยการเขียนระเบียบวิธีวิจัย
การเขียนระเบียบวิธีวิจัย
 
เนื้อหาบท1
เนื้อหาบท1เนื้อหาบท1
เนื้อหาบท1
 
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
 
Guidance on Cannabis for Medical Use
Guidance on Cannabis for Medical UseGuidance on Cannabis for Medical Use
Guidance on Cannabis for Medical Use
 
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยาศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
 

En vedette

ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นครผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นครIntrapan Suwan
 
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0Pongpithak Supakitjaroenkula
 
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมักPaper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมักKanitha Panya
 
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพดงานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพดKanitha Panya
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthUtai Sukviwatsirikul
 

En vedette (6)

ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นครผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
 
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
 
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมักPaper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
 
Unit1 organism
Unit1 organismUnit1 organism
Unit1 organism
 
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพดงานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
 

Similaire à 9789740328322

ขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพัง
ขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพังขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพัง
ขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพังMooThong Chaisiri Chong
 
ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชdnavaroj
 
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...sombat nirund
 
Hazardous waste management
Hazardous waste managementHazardous waste management
Hazardous waste managementNithimar Or
 
ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3chirapa
 
บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้องBoonwiset Seaho
 
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติป๊อก เบาะ
 
Organic farming 30/06/54
Organic farming 30/06/54Organic farming 30/06/54
Organic farming 30/06/54Jitty Charming
 
มลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำมลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำssuser5709e6
 
12.ก๊าซชีวภาพ
12.ก๊าซชีวภาพ12.ก๊าซชีวภาพ
12.ก๊าซชีวภาพKobwit Piriyawat
 
ขยะและสิ่งปฏิกูล
ขยะและสิ่งปฏิกูลขยะและสิ่งปฏิกูล
ขยะและสิ่งปฏิกูลGreen Greenz
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติkasarin rodsi
 

Similaire à 9789740328322 (20)

งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
ขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพัง
ขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพังขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพัง
ขยะมูลฝอย - ชุมชนหนองสระพัง
 
ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
 
ประโยชน์ของวัสดุ
ประโยชน์ของวัสดุประโยชน์ของวัสดุ
ประโยชน์ของวัสดุ
 
13.ขยะ
13.ขยะ13.ขยะ
13.ขยะ
 
Agri present 102011
Agri present 102011Agri present 102011
Agri present 102011
 
Hazardous waste management
Hazardous waste managementHazardous waste management
Hazardous waste management
 
น้ำ (Water) m2
น้ำ (Water) m2น้ำ (Water) m2
น้ำ (Water) m2
 
ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3
 
Bioplastic new innovation
Bioplastic  new innovation Bioplastic  new innovation
Bioplastic new innovation
 
บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
 
Organic farming 30/06/54
Organic farming 30/06/54Organic farming 30/06/54
Organic farming 30/06/54
 
Biomass energy
Biomass energy Biomass energy
Biomass energy
 
มลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำมลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำ
 
12.ก๊าซชีวภาพ
12.ก๊าซชีวภาพ12.ก๊าซชีวภาพ
12.ก๊าซชีวภาพ
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
ขยะและสิ่งปฏิกูล
ขยะและสิ่งปฏิกูลขยะและสิ่งปฏิกูล
ขยะและสิ่งปฏิกูล
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740328322

  • 1. s) ทที่ 1้มวลชีวภาพ (Biom e ass Residu บ ช ือใ วัสดุเหล การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ หรือกากทางการเกษตร (agricultural residues) รวมทั้ง ของเสีย (wastes) และผลิตผลพลอยได้ (by-product) จากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยกระบวนการทางชีวภาพ เช่น เอทานอล กรดอินทรีย์ สารให้ความหวาน และ ตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันเป็นวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางชนิดแต่เดิมสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี (มีกระบวนการผลิต ที่ใช้ต้นทุนต่ำ และใช้เวลาในการผลิตสั้น) โดยใช้วัตถุดิบหรือสารตั้งต้นจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม แต่ปัจจุบันนี้โลกประสบปัญหาการขาดแคลนปิโตรเลียมทำให้ต้นทุนในการผลิตโดยกระบวนการ ทางเคมีสูงขึ้น นอกจากนี้กระบวนการผลิตทางเคมียังก่อให้เกิดสารพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาแก๊สเรือนกระจก (greenhouse gases) ในบรรยากาศ เป็นผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น (global warming) ซึ่งสภาวะที่ เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิต _10-038 (001-016)P3.indd 1 5/5/11 9:23:04 PM
  • 2. การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ ดังนั้น การผลิตโดยกระบวนการหมักทางชีวภาพ (biological fermentation) จึงเข้ามา มีบทบาท โดยในระยะแรกใช้วัตถุดิบเป็นน้ำตาลที่ได้จากพืชซึ่งมีน้ำตาลสูง เช่น อ้อย หัวบีท และ ข้าวฟ่างหวาน แต่ปัจจุบันน้ำตาลที่ได้จากพืชมีราคาสูงมาก ดังนั้น จึงมีการเปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบ ที่ใช้ในกระบวนการหมักมาเป็นน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งชนิดต่าง ๆ เช่น แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด และแป้งมันฝรั่ง เป็นต้น และน้ำตาลที่ได้จากทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ได้ (renewable resources) ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบทดแทน โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ รวมกับกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้กระบวนการผลิตมีต้นทุนต่ำ ได้ผลคุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์ใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ นำไปสู่ความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว (green technology) เพื่ อ ผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ สี เ ขี ย ว (green feedstock) ใช้ ใ นกระบวนการหมั ก ให้ ไ ด้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภค (green product) ซึ่งคาดว่ากระบวนการผลิตทาง ชีวภาพจะมีบทบาทสูงมากในอนาคตอันใกล้นี้ รูปที่ 1.1 แสดงสารเคมีวัตถุดิบที่สำคัญ (key feedstock chemical) โดยกระบวนการทางชีวภาพ _10-038 (001-016)P3.indd 2 5/5/11 9:23:04 PM
  • 3. es) ีวภาพ (Biomass Residu วัสดุเหลือใช้มวลช รูปที่ 1.1 สารเคมีวัตถุดิบที่สำคัญซึ่งผลิตจากทรัพยากรทดแทนโดยกระบวนการทางชีวภาพ (ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 78) _10-038 (001-016)P5.indd 3 5/23/11 9:36:38 PM
  • 4. การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ วัตถุดิบที่มีราคาถูก เช่น วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร ฟาร์มปศุสัตว์ ป่าไม้ ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตบ้านเรือนต่าง ๆ รวมทั้งกระดาษและของเสีย จากอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษซึ่งเป็นขยะที่ถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อม ส่วนมากเป็นสารอินทรีย์ไม่มีพิษ และสามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ในดิน ของเสียเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อผลิต พลังงาน และผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ได้ เช่น ในประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ ผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาล โดยแหล่งที่ผลิตของเสียและชนิดของของเสียรวมทั้งวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรแสดงดังตารางที่ 1.1 ตารางที่ 1.1 แหล่งที่ผลิตของเสียและชนิดของวัสดุเหลือใช้รวมทั้งของเสีย แหล่งที่ผลิตของเสีย ชนิดของเสีย สถานะของเสีย (source producing (type of wastes) (nature of waste) wastes) กระดาษและอุตสาหกรรม เซลลูโลส, เฮมิเซลลูโลส, ของแข็ง, ของเหลว และ เยื่อกระดาษ ลิกโนซัลโฟเนต และไบซัลเฟต ส่วนมากเป็นสารอินทรีย์ (paper and pulp industry) ของเสียเทศบาล ขยะบ้านเรือน, ขยะกระดาษ, ผลไม้ ของแข็ง, ของเหลว และ (municipal wastes) และเปลือกผัก, ของเสียโรงงานฆ่าสัตว์, ส่วนมากเป็นสารอินทรีย์ หนังสัตว์, น้ำเสีย และพลาสติก โรงงานน้ำตาล และโรงกลัน ชานอ้อย และกากน้ำตาล ่ ของแข็ง และของเหลว (sugar mills and distilleries) ผลิตภัณฑ์นม และสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ใช้, มูลวัว, เปลือกไข่ ของแข็ ง และเป็ น สาร (dairy and poultry) และมูลนก อินทรีย์ การเกษตร ฟางข้าว, ข้าวเปลือก, พืชหัว, ข้าว ของแข็ ง และเป็ น สาร (agriculture) โพด, เมล็ดพืช, ใบไม้, เส้นใยและก้าน อินทรีย์ ต้นฝ้าย, เปลือกถั่ว, เปลือกมะพร้าว และรำข้าว อุตสาหกรรมอาหาร เปลือกผลไม้และส่วนเยื่อ, กระดูก และ ของแข็ ง และเป็ น สาร (food industry) หนังสัตว์ อินทรีย์ ป่าไม้ เศษไม้, ใบไม้, ขี้เลื่อย, ฟืน, เมล็ด ของแข็ ง และเป็ น สาร (forestry) และเปลือกไม้ เป็นต้น อินทรีย์ ที่มา : ดัดแปลงจาก Rastogi, 2007 : 36.2. _10-038 (001-016)P3.indd 4 5/5/11 9:23:05 PM
  • 5. s) ีวภาพ (Biomass Residue วัสดุเหลือใช้มวลช วัตถุดิบที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีองค์ประกอบของลิกโนเซลลูโลส (lignocellulose) เป็น องค์ประกอบหลัก ซึ่งลิกโนเซลลูโลสประกอบด้วยพอลิเมอร์ 3 ชนิด คือ เซลลูโลส (cellulose) เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และลิกนิน (lignin) ตารางที่ 1.2 แสดงปริมาณของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินในวัสดุเหลือใช้หรือกากทางการเกษตร ตารางที่ 1.2 ปริ ม าณของเซลลู โ ลส เฮมิ เ ซลลู โ ลส และลิ ก นิ น ในวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ห รื อ กากทาง การเกษตร เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน วัสดุลิกโนเซลลูโลส (%) (%) (%) ลำต้นไม้เนื้อแข็ง 40-55 24-40 18-25 ลำต้นไม้เนื้ออ่อน 45-50 25-35 25-35 เปลือกถั่ว 25-30 25-30 30-40 แกนฝักข้าวโพด 45 35 15 หญ้า 25-40 35-50 10-30 กระดาษ 85-99 0 0-15 ฟางข้าวสาลี 30 50 15 ขยะ หรือเศษของที่ใช้แล้วแยกประเภท 60 20 20 ใบไม้ 15-20 80-85 0 ใยเมล็ดฝ้าย 80-95 5-20 0 กระดาษหนังสือพิมพ์ 40-55 25-40 18-30 เศษกระดาษจากหนังสือ 60-70 10-20 5-10 ของแข็งจากน้ำเสียขั้นแรก 8-15 NA 24-29 ของเสียจากโรงเลี้ยงหมู (มูลหมู) 6.0 28 NA มูลวัว ควาย ปศุสัตว์ 1.6-4.7 1.4-3.3 2.7-5.7 หญ้าพันธุ์ Coastal Bermuda 25 35.7 6.4 หญ้าพันธุ์ Switch 45 31.4 12.0 NA : ไม่มี ที่มา : ดัดแปลงจาก Sun และ Cheng, 2002 : 2. _10-038 (001-016)P3.indd 5 5/5/11 9:23:05 PM
  • 6. การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ องค์ประกอบที่สำคัญของมวลชีวภาพ พืชที่มีเนื้อเยื่อระบบท่อลำเลียง ในผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และ ลิกนินเป็นส่วนประกอบหลัก พอลิเมอร์ทั้ง 3 ชนิดในแต่ละชนิดจะยึดกันด้วยแรงของพันธะ ไฮโดรเจนและแรงแวนเดอวาลล์ (Van der Waals) เป็นต้น ทำให้ผนังเซลล์พืชมีความแข็งแรง รวมกันเป็นลิกโนเซลลูโลสซึ่งมีมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งของเซลล์พืช ปริมาณ ของพอลิเมอร์แต่ละชนิดจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับชนิด อายุ และส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยทั่วไป ในพืชไม้เนื้ออ่อน (softwood) มีลิกนินเป็นส่วนประกอบมากกว่าไม้เนื้อแข็ง ดังแสดงในตาราง ที่ 1.3 ในพืชตระกูลหญ้าพบเฮมิเซลลูโลสในปริมาณสูงที่สุด ในไม้ยืนต้นลิกโนเซลลูโลสประกอบ ด้วยเซลลูโลสประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลสประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และลิกนิน ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ตารางที่ 1.4 แสดงส่วนประกอบของลิกโนเซลลูโลสในไม้ชนิดต่าง ๆ ตารางที่ 1.3 แสดงส่วนประกอบของลิกโนเซลลูโลสในพืชที่มีระบบท่อลำเลียง แหล่งลิกโนเซลลูโลส ลิกนิน (%) เซลลูโลส (%) เฮมิเซลลูโลส (%) หญ้า (Grasses) 10-30 25-40 25-50 ไม้เนื้ออ่อน (Softwoods) 25-35 45-50 25-35 ไม้เนื้อแข็ง (Hardwoods) 18-25 45-55 24-40 ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 434. _10-038 (001-016)P3.indd 6 5/5/11 9:23:05 PM
  • 7. s) ีวภาพ (Biomass Residue วัสดุเหลือใช้มวลช ตารางที่ 1.4 แสดงส่วนประกอบของลิกโนเซลลูโลสในไม้ชนิดต่าง ๆa กลูโคแมน เฮมิเซลลูโลส b เซล- แนน กลูคูโรโนไซแลนC สปีชีส์ ชื่อสามัญ ลิกนิน ลูโลส (glucoman- (hemicellulose nan) glucuronoxylan) ไม้เนื้ออ่อน Pseudotsuga Douglas fir 29.3 38.8 17.5 5.4 menziesii Tsuga canadensis Eastern hemlock 30.5 37.7 18.5 6.5 Juniperus Commom juniper 32.1 33.0 16.4 10.7 communis Pinus radiata Monterey pine 27.2 37.4 20.4 8.5 Picea abies Norway spruce 27.4 41.7 16.3 8.6 Larix sibirica Siberian larch 26.8 41.4 14.1 6.8 ไม้เนื้อแข็ง Acer saccharum Sugar maple 25.2 40.7 3.7 23.6 Fagus sylvatica Common beech 24.8 39.4 1.3 27.8 Betula verrucosa Silver birch 22.0 41.0 2.3 27.5 Alnus incana Gray alder 24.8 38.3 2.8 25.8 Eucalyptus Blue gum 21.9 51.3 1.4 19.9 globules Ochroma lagopus Balsa 21.5 47.7 3.0 21.7 a ค่าทั้งหมดได้จากน้ำหนักแห้งของไม้ (%) b แทนที่ด้วยกาแล็กโทส และหมู่แอซีทิลในไม้เนื้ออ่อน c แทนที่ด้วยอะราบิโนส และหมู่แอซีทิลในไม้เนื้อแข็ง ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 435. เซลลูโลส เซลลูโลส [C6(H2O)5]n คือ สารประกอบอินทรีย์ที่มีปริมาณมากที่สุดบนโลก ทุก ๆ ปีจะมี การผลิตเซลลูโลสจากพืชมากกว่า 1011 เมตริกตัน พอลิเมอร์เซลลูโลสคือสายของกลูโคสที่จับ _10-038 (001-016)P3.indd 7 5/5/11 9:23:06 PM
  • 8. การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ กันด้วยพันธะ β-(1,4)-glycosidic หรือ β-(1,4) glucopyranosyl ต่อกันเป็นสายยาวตรง ดังรูปที่ 1.2 มีระดับการเกิดพอลิเมอร์ (degree of polymerization; DP) ประมาณ 500- 10,000 ขึ้นกับชนิดของพืช โดยมีหน่วยซ้ำ ๆ เรียกว่าเซลโลไบโอส (cellobiose) ซึ่งทำหน้าที่ เป็นหน่วยโครงสร้าง (building block) ของเซลลูโลส และทุก ๆ หน่วยที่สองของกลูโคสที่ต่อกัน ในโมเลกุลของเซลลูโลสหมุนได้ 180 องศา ทำให้สายเซลลูโลสเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่ ไฮดรอกซิลในโมเลกุลของกลูโคส และระหว่างสายของพอลิเมอร์ ดังรูปที่ 1.3 OH HOH2C OH HOH2C HO O HO O O O O HO O O O HO O HOH2C OH HOH2C OH เซลโลไบโอส รูปที่ 1.2 โครงสร้างของเซลลูโลส (ที่มา : ดัดแปลงจาก Pu และคณะ, 2008 : 59) H H H H H O H O CH2 H O H O O O O H O O O CH2 H H O H H H H H กลูโคส (D-glucose) รูปที่ 1.3 แสดงหน่วยของเซลโลไบโอสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ หน่วยซ้ำของสายเซลลูโลส เกิด จากน้ำตาลกลูโคส (D-glucose) ต่อกันด้วยพันธะ β-(1,4)-glycosidic แสดงความ เสถียรของการเกิดพันธะไฮโดรเจนภายในโมเลกุลในแต่ละสาย และพันธะไฮโดรเจน ระหว่างโมเลกุลเพื่อทำปฏิกิริยากับสายที่อยู่ใกล้กันใน microfibril (ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 434) _10-038 (001-016)P3.indd 8 5/5/11 9:23:06 PM
  • 9. s) ีวภาพ (B iomass Residue วัสดุเหลือใช้มวลช โครงสร้ า งของสายพอลิ เ มอร์ เ ซลลู โ ลสมี ลั ก ษณะราบไม่ มี กิ่ ง ก้ า น รู ป ร่ า งคล้ า ยริ บ บิ้ น (ribbon type) มีความแข็งแรงและเสถียรเกิดจากพันธะไฮโดรเจนทั้งภายใน และระหว่าง โมเลกุลโดยหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ที่อยู่บนสาย พันธะไฮโดรเจนระหว่างสายที่อยู่ใกล้กันทำให้ มีความแข็งแรง แต่ละสายมีการเรียงตัวคู่ขนานกันจำนวนมาก ซึ่งทุกสายจะมีคุณสมบัติของ ขั้วเหมือนกัน แต่ละสายเรียกว่า microfibrils ซึ่งมีความกว้าง 250 อังสตรอม และ microfibirls แต่ละสายจะเชื่อมกันเพื่อสร้างเป็น fibrils ขนาดใหญ่ Cellulose fibrils มีส่วนที่เป็นบริเวณเกิดผลึก (crystalline region) หรือบริเวณสร้าง micelles เป็นบริเวณที่มีโครงสร้างของส่วนที่เป็นระเบียบ (region of high order) และส่วนที่ เป็น amorphous region เป็นบริเวณที่ไม่มีระเบียบ (region of less order) การรวมกันของ โครงสร้างที่เป็นผลึกเส้นใยมี 2 แบบ คือ Iα และ Iβ Iα พบในผนังเซลล์ของสาหร่ายบางชนิด และในแบคทีเรีย Iβ พบในฝ้าย ไม้ และป่าน โครงสร้างของผลึกแตกต่างกันตามแหล่งหรือ วิถีทางวัสดุที่นำมาสร้าง เป็นส่วนที่ไม่ละลายน้ำและทนต่อการย่อยสลายมากกว่าพอลิเมอร์ของ กลูโคสชนิดอื่น ๆ เช่น แป้ง เซลลูโลสที่ได้จากธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีปริมาณ amorphous cellulose ต่างกัน ซึ่ง amorphous cellulose มีความไวกับสารเคมีและเอนไซม์มากกว่า ดังนั้น จึงเป็นส่วนที่ง่ายต่อการถูกย่อยด้วยปฏิกิริยาของกรด เบส หรือเอนไซม์ เฮมิเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส [C5(H2O)4]n หรือ [C6(H2O)5]n ประกอบด้วยพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีความ ซั บ ซ้ อ น เป็ น โครงสร้ า งที่ เ หมื อ นกั บ เซลลู โ ลสเพราะว่ า มี ส ายโซ่ ห ลั ก ต่ อ กั น ด้ ว ยหน่ ว ยของ 1,4- β-D-pyranosyl แต่ มี ร ะดั บ การเกิ ด พอลิ เ มอร์ (degree of polymerization; DP) ต่ำกว่าเซลลูโลส คือ ประมาณ 50-300 มีโครงสร้างที่เป็นสายกิ่งมาก ขณะที่เซลลูโลสเป็น โฮโมพอลิเมอร์ (homopolymer) เส้นตรงซึ่งจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละชนิด เฮมิเซลลูโลส เป็นเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ (heteropolysaccharide) ไม่เป็นผลึก (noncrystalline) โดย ธรรมชาติจะมีโครงสร้างเป็นแบบ amorphous น้ำตาลที่พบในเฮมิเซลลูโลสประกอบด้วยน้ำตาลเพนโทส ได้แก่ ไซโลส (D-xylose) และ อะราบิโนส (L-arabinose) น้ำตาลเฮกโซส ได้แก่ กาแล็กโทส (D-galactose, L-galactose), แมนโนส (D-mannose), แรมโนส (L-rhamnose) และฟิวโคส (L-fucose) และมีกรดยูโรนิก _10-038 (001-016)P3.indd 9 5/5/11 9:23:06 PM
  • 10. 10 การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ (uronic acid) ได้แก่ กรดกลูคูโรนิก (D-glucuronic acid) น้ำตาลเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงโดย ปฏิกิริยาแอซีทิเลชัน (acetylation) หรือเมทิลเลชัน (methylation) องค์ประกอบที่สำคัญ ของเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็งแสดงดังตารางที่ 1.5 และโครงสร้างอย่างง่ายของ เฮมิเซลลูโลส 3 ชนิดแสดงในรูปที่ 1.4 และรูปที่ 1.5 ตารางที่ 1.5 แสดงองค์ประกอบหลักของเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็ง ส่วนประกอบ จำนวน ชนิด ระดับ ชนิดไม้ (% อัตราส่วน เฮมิเซลลูโลส หน่วย พันธะ การเกิด ของไม้) (โมลาร์) พอลิเมอร์ ไม้ กาแล็กโท- β-D-Manp 4 1--4 10-15 เนื้ออ่อน กลูโคแมนแนน β-D-Glcp 1 1--4 100 (galacto- β-D-Galp 0.1 1--6 glucomannan) Acetyl 1 อะราบิโน- β-D-Xylp 10 1--4 7-10 กลูคูโรโนไซแลน 4-O-Me-α-D- 2 1--2 100 (arabino- GlcpA glucuronoxylan) β-L-Araf 1.3 1--3 ไม้ กลูคูโรโนไซแลน β-D-xylp 10 15-30 เนื้อแข็ง (glucuronoxylan) 4-O-Me-α-D- 1 1--4 200 GlcpA 7 1--2 Acetyl กลูโคแมนแนน β-D-Manp 1-2 1--4 2-5 200 (glucomannan) β-D-Glcp 1 1--4 ที่มา : ดัดแปลงจาก Pu และคณะ, 2008 : 60. _10-038 (001-016)P3.indd 10 5/5/11 9:23:07 PM
  • 11. es) ีวภาพ ( Biomass Residu 11 วัสดุเหลือใช้มวลช รูปที่ 1.4 แสดงเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ของเฮมิเซลลูโลส กาแล็กโทกลูโคแมนแนน และกลูคูโรโนอะราบิโน- ไซแลนเป็นเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อน กลูคูโรโนไซแลนเป็นเฮมิเซลลูโลสที่สำคัญในไม้เนื้อแข็ง Ac: acetyl, GlcpA: D-glucuronopyranose, Araf: L-arabinofuranose, Manp: D-mannopyranose, Glcp: D-glucopyranose, Me: O-methyl และ Xylp: D-xylopyranose (ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 435) รูปที่ 1.5 (a) โครงสร้างของกาแล็กโทกลูโคแมนแนนในไม้เนื้ออ่อน (b) โครงสร้างของอะราบิโนกลูคูโรโนไซแลนในไม้เนื้ออ่อน (c) โครงสร้างของกลูคูโรโนไซแลนในไม้เนื้อแข็ง (ที่มา : ดัดแปลงจาก Pu และคณะ, 2008 : 60) _10-038 (001-016)P4.indd 11 5/15/11 8:13:00 PM
  • 12. 1 การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ ชื่ อ เฮมิ เ ซลลู โ ลส ตั้ ง โดย E. Schultze ใน ค.ศ. 1891 ได้ อ ธิ บ ายส่ ว นประกอบของ พอลิแซ็กคาไรด์ของผนังเซลล์พืชที่สกัดด้วยด่างเจือจาง พอลิแซ็กคาไรด์ทั้ง 2 ชนิด คือ β-(1,4) -xylan เป็นแกนหลัก และกาแล็กโทกลูโคแมนแนน ซึ่ง 2 ส่วนนี้มีความสามารถในการละลายใน ด่างเจือจาง (KOH) แต่กลูโคแมนแนนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเฮมิเซลลูโลสในไม้เนื้ออ่อน (ดังแสดงในตารางที่ 1.4) ไม่ละลายในสภาวะนี้ และยังคงจับอยู่กับเส้นใยเซลลูโลส ดังแสดงในรูป ที่ 1.6 ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า เฮมิเซลลูโลสคือพอลิแซ็กคาไรด์ที่เชื่อมกันด้วยแรงนอนโคเวเลนซ์ (แรงของพันธะไฮโดรเจน และแรงแวนเดอวาลล์ เป็นต้น) กับเซลลูโลส ไม การสลายลิกนินโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันดวยโซเดียมคลอไรต (sodium chlorite) และสกัดดวย alcoholic ethanolamine โฮโลเซลลูโลส (holocellulose) เป็นสวนที่ไมละลายน้ำ ประกอบดวยเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส โพแทสเซียมไฮดรอกไซด (KOH) ละลาย ไมละลาย อะราบิโนกลูคูโรโนไซแลน เซลลูโลส, กลูโคแมนแนน (arabinoglucuronoxylan) (cellulose, glucomannan) กาแล็กโทกลูโคแมนแนน (galactoglucomannan) โซเดียมไฮดรอกไซด (NaOH) โซเดียมบอเรต (Na-borate) ไมละลาย ละลาย เซลลูโลส กลูโคแมนแนน รูปที่ 1.6 แผนภาพแสดงการแยกส่วนประกอบพอลิแซ็กคาไรด์ของไม้เนื้ออ่อนโดยวิธีสกัดด้วยด่างเจือจาง (dilute alkali extraction method) ของ Schultze เฮมิเซลลูโลส กลูโคแมนแนนหลังจากสกัด ด้วยด่างเจือจาง (KOH) จะอยู่ในส่วนที่ไม่ละลาย โดยจับอยู่กับเส้นใยเซลลูโลส สามารถแยกกลูโค- แมนแนนออกจากเซลลูโลสได้โดยการสกัดด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซเดียมบอเรต (ที่มา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 436) _10-038 (001-016)P3.indd 12 5/5/11 9:23:08 PM
  • 13. es) ีวภาพ (Biomass Residu 13 วัสดุเหลือใช้มวลช เฮมิเซลลูโลสของไม้เนื้ออ่อน มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 3 ชนิด คือ กลูโคแมนแนน กาแล็กโทกลูโคแมนแนน และอะราบิโนกลูคูโรโนไซแลน พอลิเมอร์ที่มีแมนโนสเป็นส่วนประกอบ 2 ชนิด (กลูโคแมนแนน และกาแล็กโทกลูโคแมนแนน) แตกต่างกันมากที่ส่วนประกอบของ กาแล็กโทส ซึ่งส่วนประกอบของน้ำตาลในพอลิเมอร์ทั้ง 2 ชนิด มีสัดส่วนโดยประมาณ ดังนี ้ กาแล็กโทส : กลูโคส : แมนโนส คือ 0.1 : 1 : 4 และ 1 : 1 : 3 ตามลำดับ สายโซ่หลักประกอบด้วย หน่วยของ 1,4-β-D-glucopyranose และหน่วยของ β-D-mannopyranose ส่วนหน่วย ของ α-D-galactopyranose เชือมต่อกับสายโซ่หลักด้วยพันธะ 1, 6 น้ำตาลสายโซ่หลักถูกเติม ่ หมูแอซีทลที C-2 หรือ C-3 โดยหมูแอซีทล 1 หมู จะเข้าจับทุก ๆ 3-4 หน่วย (รูปที 1.4) ่ ิ ่ ่ ิ ่ ่ อะราบิโนกลูคูโรโนไซแลนมีสายโซ่หลักของหน่วย 1,4-β-D-xylopyranose บางส่วน ที่ตำแหน่ง C-2 จะจับกับ 4-O-methyl-α-D-glucuronic acid และที่ C-3 จับกับหน่วยของ α-L-arabinofuranose ดังแสดงในรูปที่ 1.4 เฮมิเซลลูโลสของไม้เนื้อแข็ง มีส่วนประกอบหลัก คือ กลูคูโรโนไซแลน มีสายโซ่หลัก ต่อกันด้วยหน่วยของ 1,4-β-D-xylopyranose ซึ่งส่วนมากจะถูกเติมหมู่แอซีทิลที่ C-2 หรือ C-3 โดย 4-O-methyl-α-D-glucuronic acid จับกับสายโซ่หลักที่ C-2 และพบที่น้ำตาล ไซโลสทุก ๆ 10 หน่วย ดังรูปที่ 1.4 ลิกนิน ลิกนิน (C10H12O4)n พบในผนังเซลล์พืชชั้นสูง (ทั้งพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่) เฟิร์น และ club moss มี ป ริ ม าณมากในส่ ว นของเนื้ อ เยื่ อ บริ เ วณท่ อ ลำเลี ย งโดยเฉพาะส่ ว นที่ ม ี การลำเลียงของเหลว ลิกนินไม่พบในมอส ไลเคนส์ และสาหร่าย ซึ่งไม่มีเทรคีด (tracheids) ลิกนินทำให้เนื้อเยื่อไม้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นโดยกระบวนการลิกนิฟิเคชัน (lignifications) พบ ในต้นไม้ใหญ่ที่สูงหลายร้อยฟุต ลิกนิฟิเคชัน คือ กระบวนการเจริญเพิ่มจำนวนลิกนินเพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างเส้นใย เซลลูโลส และสายเฮมิเซลลูโลสของผนังเซลล์พืช ลิกนินเป็น aromatic polymer ที่มีมากที่สุดบนพื้นโลก มีโมเลกุลที่ซับซ้อนมาก รูปร่าง เป็น amorphous สร้างจากหน่วยของฟีนิลโพรเพน [phenylpropane (C9)] หรือ ฟีนิลโพร- พิโอนิกแอลกอฮอล์ (phenylpropionic alcohol) เชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้าง 3 มิติ ลิกนิน _10-038 (001-016)P4.indd 13 5/15/11 8:15:27 PM
  • 14. 14 การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ เป็นตัวเชื่อมเพื่อยึดให้เส้นใยเซลลูโลสมารวมกัน ทำให้แยกลิกนินได้ยากมาก ลิกนินเป็นส่วน ที่ทำให้เซลล์แข็ง เป็นเกราะป้องกันการทำลายจากจุลินทรีย์ เพราะว่าโมเลกุลของลิกนินมี พันธะทางเคมีชนิดต่าง ๆ มากมาย และโดยเฉพาะวิธีสกัดจะบอกถึงชนิดของลิกนิน สารตั้งต้นโดยตรงของลิกนินคือแอลกอฮอล์ 3 ชนิด เรียกว่า mono-lignol ได้จาก กรด p-hydroxycinnamic ประกอบด้ ว ย coniferyl alcohol (guaiacyl propanol), p-coumaryl alcohol (p-hydroxyphenyl propanol) และ sinapyl alcohol (syringyl alcohol) ดังรูปที่ 1.7 โดยทั่วไปในพืชสมุนไพรหรือพืชลำต้นไม้อ่อน เช่น หญ้า มีลิกนินเป็นส่วน ประกอบน้อยที่สุด ขณะที่ไม้เนื้ออ่อนมีลิกนินเป็นส่วนประกอบมากที่สุด ดังตารางที่ 1.3 ในไม้ เ นื้ อ อ่ อ น (พื ช ใบเลี้ ย งเดี่ ย ว) ลิ ก นิ น ประกอบด้ ว ยหน่ ว ยโครงสร้ า งหลั ก ที่ ม าจาก coniferyl alcohol บางชนิดมาจาก p-coumaryl alcohol แต่ไม่มีมาจาก sinapyl alcohol ในไม้เนื้อแข็ง (พืชใบเลี้ยงคู่) ลิกนินประกอบด้วยหน่วยของ coniferyl และ sinapyl alcohol แต่ ล ะส่ ว นเท่ า ๆ กั น ประมาณ 46 เปอร์ เ ซ็ น ต์ และมี ส่ ว นย่ อ ย คื อ p-hydro- xyphenyl propanol ซึ่งได้จาก p-coumaryl alcohol มีประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ลิกนินในพืชตระกูลหญ้าประกอบด้วยหน่วยของ coniferyl alcohol, sinapyl alcohol และ p-hydroxyphenyl propanol กับ p-coumaric acid (ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของลิกนิน) ส่วนใหญ่จะถูกเอสเทอริไฟด์ (esterified) ด้วยหมู่ไฮดรอกซิลที่ส่วนปลายของ p-coumaryl alcohol ที่สายด้านข้าง _10-038 (001-016)P4.indd 14 5/15/11 8:15:27 PM
  • 15. s) ีวภาพ (Biomass Residue 1 วัสดุเหลือใช้มวลช CH2OH CH2OH CH2OH CH CH CH CH CH CH OCH3 CH3O OCH3 OH OH OH p-Coumaryl Coniferyl Sinapyl alcohol alcohol alcohol พบในไมเนื้อออน พบในไมเนื้อแข็งและหญา mono-lignol รูปที่ 1.7 แสดงสารตั้งต้นโดยตรงของการสังเคราะห์ลิกนิน ประกอบด้วย p-hydroxycin- namyl alcohol 3 ชนิด (ทีมา : ดัดแปลงจาก Glazer และ Nikaido, 2007 : 436) ่ เอกสารอ้างอิง 1. Glazer, A.N. and Nikaido, H. 2007. Microbial Biotechnology: Fundamentals of Applied Microbiology. 2nd ed. Cambridge University Press. 2. Jacques, K., Lyons, T.P. and Kelsall, D.R. 1999. The Alcohol Textbook. 3rd ed. Nottingham University Press. 3. Kumar, P., Barrett, D.M., Delwiche, M.J. and Stroeve, P. 2009. Methods for pretreatment of lignocellulosic biomass for efficient hydrolysis and biofuel production. Industrial and Engineering Chemistry Research 48: 3713- 3729. 4. Pu, Y., Zhang, D., Singh, P.M. and Ragauskas, J. 2008. The new forestry biofuels sector. Biofuels Bioproducts and Biorefining 2: 58-73. _10-038 (001-016)P3.indd 15 5/5/11 9:23:09 PM
  • 16. 1 การผลิตกรดอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้มวลชีวภาพ 5. Rastogi, S.C. 2007. Biotechnology: Principles and Applications. Oxford, UK: Alpha Science International Ltd. 6. Sanchez, C. 2009. Lignocellulosic residues: Biodegradation and bioconversion by fungi. Biotechnology Advances 27: 185-194. 7. Sun, Y. and Cheng, J. 2002. Hydrolysis of lignocellulosic materials for ethanol production: a review. Bioresource Technology 83: 1-11. _10-038 (001-016)P3.indd 16 5/5/11 9:23:09 PM