SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  14
Télécharger pour lire hors ligne
1 ่อสาร การพัฒนา
การสื
และการเปลี่ยนแปลงของสังคม

                บทโหมโรง :
                  การสื่อสาร
                   การพัฒนา
           การสื่อสารเพื่อการพัฒนา
           การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
โลกในยุคสมัยใหม่นั้น	ผู้คนในสังคมมีความจ�าเป็นต้องพึ่งพาระบบและ
เครือข่ายของการสื่อสาร	เนื่องจากข่าวสารข้อมูลต่าง	ๆ	ได้เข้ามามีบทบาทส�าคัญ
ในการกาหนดความคด	วสยทศน	ทศนคต	และพฤตกรรมตาง	ๆ	ของคนเรามากขน
          �          ิ ิั ั ์ ั          ิ        ิ     ่                 ึ้
ทุกวัน	จึงจ�าเป็นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการติดต่อประสานสัมพันธ์
และรวมกลุ่มก้อนกันทางสังคม	การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เข้ามามีบทบาท
ส�าคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่ต่างใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ	การด�าเนินชีวิต	และการประกอบอาชีพให้
ประสบความส�าเร็จ	การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับของการพัฒนาใน
ทุกด้าน	ดังนั้น	บุคคล	องค์กร	ชุมชน	สังคม	หรือประเทศที่สามารถน�าประโยชน์
ของการสื่อสารไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือส�าคัญในการพัฒนา	เพื่อการพัฒนา
ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก	นักการสื่อสารจึงมีความจ�าเป็นที่จะ
ต้องด�าเนินการพัฒนาสื่อหรือช่องทางที่จะน�าไปใช้ในกระบวนการพัฒนาทั้ง
ระดับท้องถิ่น	และระดับประเทศต่อไป

การสื่อสาร (Communication)

          การสื่อสารเป็นศาสตร์ที่มีความหมายและความส�าคัญกว้างขวางครอบ
คลุมอยู่ในชีวิตประจ�าวันของมนุษย์	 ถือเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์	
เพราะมนุษย์นั้นไม่อาจหลีกเลี่ยงการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น	ๆ	ได้	 ซึ่งมนุษย์
ใช้การสื่อสารในการถ่ายทอดความคิด	ความต้องการ	และความรู้สึก	พร้อมทั้ง
เรื่องราวต่าง	ๆ	ของตนไปสู่บุคคลอื่น	และสามารถด�ารงอยู่ในสังคม
	        เมื่อมีการสื่อสารก็หมายถึงว่า	มีการกระท�าร่วมกันในบางสิ่งบางอย่าง	
นั่นคือ	การถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสาร	ความรู้	 ความคิดซึ่งกันและ
กันของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม	อย่างไรก็ตาม	ความหมายของการสื่อสารที่แท้
                                     2
จริงนั้น	มีความหมายกว้างและครอบคลุมเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมมนุษย์ใน
ทุก	ๆ	เรื่อง
	      นักวิชาการด้านการสื่อสารได้ให้ความหมายไว้ต่าง	ๆ	กัน	ตามแง่มุมที่
แต่ละคนพิจารณาให้ความส�าคัญ	ดังตัวอย่างต่อไปนี้	(ปรมะ	สตะเวทิน,	2533)
	       วิลเบอร์	ชแรมม์	(Wilber	Schramm)	ให้ความหมายว่า	การสื่อสาร	คือ	
การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่ใช้แสดงข่าวสาร	
	        ชาร์ล	อี	 ออสกูด	(Charl	E.	Osgood)	ให้ความหมายโดยทั่วไปว่า	การ
สื่อสารเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่งคือ	ผู้ส่งสารมีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่งคือ	ผู้รับสาร	
โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง	ๆ	ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมต่อสองฝ่ายเข้าด้วยกัน
	        วอร์เรน	ดับเบิลยู	 วีเวอร์	 (Worren	W.	Weaver)	กล่าวว่า	การสื่อสาร
มีความหมายกว้าง	ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่าง	ที่จิตใจของคน	ๆ	หนึ่ง
อาจมีผลต่อจิตใจของอีกคนหนึ่ง	ไม่ใช่เพียงการพูดและการเขียนเท่านั้น	แต่
รวมถึงสัญลักษณ์อื่น	ๆ	เช่น	ดนตรี	 ภาพ	การแสดง	และพฤติกรรมอื่น	ๆ	ของ
มนุษย์ด้วย
	         การสื่อสารเป็นการกระท�าที่มีสิ่งเร้าและมีการโต้ตอบต่อสิ่งเร้า	โดย
บุคคลหนึ่งตั้งใจหรืออาจไม่ตั้งใจส่งสิ่งเร้าเพื่อกระตุ้นการตอบสนองจากอีก
ฝ่ายหนึ่ง	(Nilsen,	1957)
	        การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ความคิดหรือข่าวสารถูกส่งจากแหล่ง
สารไปยังผู้รับสาร	 โดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสาร	
(Roger,	1995)
	      ปรมะ	สตะเวทิน	(2533)	ให้ความหมายว่า	การสื่อสารเป็นกระบวนการ
ถ่ายทอดสาร	(Message)	จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า	ผู้ส่งสาร	(Source)	ไป

                                      3
ยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า	ผู้รับสาร	(Receiver)	โดยผ่านสื่อ	(Channel)	ใด
สื่อหนึ่ง	
	       พัชนี	เชยจรรยา	และคณะ	(2541)	กล่าวว่า	การสื่อสารเป็นการสื่อความ
หมายในทางใดทางหนง	ซงมลกษณะของการสงและการรบสาร	ไมวาจะเปนภายใน
                     ึ่ ึ่ ี ั              ่        ั       ่่      ็
ตวเอง	ระหวางผหนงกบอกผหนง	หรอระหวางกลมกบกลม	ภายในบรบทหรอสภาพ
  ั        ่ ู้ ึ่ ั ี ู้ ึ่ ื           ่ ่ ุ ั ุ่              ิ     ื
แวดล้อมหนึ่ง	ๆ	ซึ่งการสื่อสารจะตั้งอยู่บนหลักแห่งความสัมพันธ์นี้เสมอ
	         จากความหมายของการสื่อสารที่มีนักวิชาการด้านการสื่อสารได้ให้ไว้
แตกต่างกัน	บางคนถือว่า	การสื่อสารคือ	การแสดงออกทุกอย่างที่ผู้อื่นเข้าใจได้	
ไม่ว่าการแสดงนั้นจะมีเจตนาให้ผู้อื่นเข้าใจหรือไม่ก็ตาม	จึงอาจสรุปได้ว่า	การ
สื่อสาร	คือ	การที่มนุษย์ถ่ายทอดความรู้	ความคิด	หรือประสบการณ์ของตน	ไปยัง
บุคคลอื่น	และการรับความรู้ความคิดจากบุคคลอื่นมาปรับพฤติกรรมของตนเอง	
หรืออาจกล่าวได้วา	การสือสาร	คือ	การเชือมโยงความคิด	ความรูสกต่าง	ๆ	ระหว่าง
                  ่      ่                ่                ้ึ
บุคคลที่ก�าลังท�าการสื่อสารเข้าด้วยกันนั่นเอง
	          สรุปได้ว่า	การสื่อสารเป็นกระบวนการในการสื่อความหมายโดยมี
บุคคล	2	ฝ่าย	ได้แก่	 ผู้ส่งสาร	และผู้รับสาร	โดยที่ผู้ส่งสารส่งข่าวสารใด	ๆ	ไปยัง
ผู้รับสาร	แล้วท�าให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันต่อข่าวสาร
นั้น	การสื่อสารจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีจุดส�าคัญอยู่ที่การส่งข่าวสารที่ท�าให้
ทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารเกิดความเข้าใจตรงกันต่อข่าวสารนั้น	ถ้าหากว่าบุคคล
รับรู้หรือเข้าใจความหมายของข่าวสารนั้นแตกต่างกัน	แสดงว่า	การสื่อสารยัง
ไม่เกิดขึ้น	อย่างไรก็ตาม	การสื่อสารเป็นเครื่องมือส�าคัญในการเชื่อมโยงความ
เข้าใจในหลากหลายมิติของสังคมเข้าด้วยกัน	อาจถูกมองเป็นนวัตกรรมใหม่ของ
นักการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ในภาคธุรกิจ
	        การสือสารจึงเป็นศาสตร์ทตองอาศัยทังบุคคล	วัสดุเครืองมือ	และเทคนิค
              ่                 ี่ ้       ้              ่
วิธีการในการสื่อสาร	ดังนั้น	ความส�าเร็จในการสื่อสารส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับการ
                                      4
เลือกและการใช้สื่ออย่างเหมาะสม	การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อ
ความสาเรจหรอลมเหลวในโครงการตาง	ๆ	ในการพฒนาประเทศ	เชน	บางโครงการ
      � ็ ื ้                      ่           ั           ่
ล้มเหลวเพราะขาดการให้ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง	
บางโครงการขาดกลไกการสื่อสารเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน	 บาง
โครงการขาดสื่อบุคคลที่เป็นผู้น�าการพัฒนา	เป็นต้น		
	          นอกจากนี้	 การสื่อสารยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของ
ผู้คนและสังคมได้ด้วยว่า	มีวิวัฒนาการ	มีความทันสมัยเพียงใด	จึงอาจคาดเดา
พัฒนาการของคนหรือสังคมนั้นได้ว่า	เป็นอย่างไรจากการสื่อสารของคนในสังคม
นั้น	ๆ	ทั้งนี้	 ในการสื่อสารแต่ละครั้งย่อมต้องมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารใน
ครั้งนั้น	อาจกล่าวได้ว่า	การสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากวัตถุประสงค์	 และ
การสื่อสารนั้นอาจไม่ประสบผลส�าเร็จอย่างที่คาดหวังไว้หากขาดซึ่งวัตถุประสงค์
ทีชดเจน	โดยทัวไปแล้ว	วัตถุประสงค์ของการสือสารสามารถแบ่งได้เป็น	4	ประการ	
   ่ั            ่                            ่
ได้แก่
	        1)	 เพื่อแจ้งให้ทราบ	(To	inform)
	        2)	 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ	(To	educate)
	        3)	 เพื่อโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม	(To	persuade)
	        4)	 เพื่อให้ความบันเทิง	(To	entertain)
	        อย่างไรก็ตาม	วิธีการสื่อสารจะถูกก�าหนดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ทตองการ	เชน	ในการเผยแพรขอมลขาวสารในโครงการเพอการพฒนาขององคกร
  ี่ ้      ่                ่้ ู ่                     ื่    ั            ์
ใดองค์กรหนึ่ง	ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง	ๆ	ให้กลุ่มเป้าหมาย
ได้รับทราบ	เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมอันจะน�าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของคนในสังคมตามวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น	จึงต้องเลือกใช้วิธีการสื่อสาร
ต่าง	ๆ	ที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์	 เช่น	ใช้สื่อบุคคล	จัดกิจกรรม	
เป็นต้น
                                     5
การพัฒนา (Development)
	        ความเจริญก้าวหน้าโดยทั่ว	ๆ	ไป	เช่น	การพัฒนาชุมชน	พัฒนาประเทศ	
คือ	การท�าสิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น	เจริญขึ้น	สนองความต้องการของประชาชน
ส่วนใหญ่ให้ได้ดียิ่งขึ้น	หรืออาจกล่าวได้ว่า	“การพัฒนา”	เป็นกระบวนการของ
การเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ	การพัฒนาจึงเป็น
กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
	       นักสังคมวิทยาหรือนักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ความหมายของค�าว่า	“การ
พัฒนา”	ไว้ต่างมุมมองกัน	ได้แก่	
	         การพัฒนา	เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในทุกสังคม	เมื่อเกิดแล้วมีแต่
ก้าวไปข้างหน้า	ไม่มกระบวนการย้อนกลับ	เนืองจากเป็นกระบวนการทีมเี ป้าหมาย
                   ี                    ่                     ่
เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ	(Servaes	et al.,	1996)	
	       การพัฒนาเป็นการท�าหรือแก้ไขปัญหา	(Problem	Solving)	สภาพ
ความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ดีขึ้น	(Melkote,	2001)
	           การพัฒนาเป็นการน�าความคิดใหม่เข้าสู่ระบบสังคม	เพื่อท�าให้รายได้
ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น	หรือเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการด�ารงชีวิต
ให้ดีขึ้น	(Roger	&	Svenning,	1969)
	           ตามความหมายโดยทั่วไปมักหมายถึง	การท�าให้ดีขึ้นกว่าเดิม	โดย
สรุปแล้ว	การพัฒนา	หมายถึง	กระบวนการที่ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทาง
ที่ดีขึ้นต่อคนในสังคมโดยรวมทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ	ซึ่งอาจเป็นแนวความ
คิดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น	และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีแผน
โดยผ่านเข้าไปในกลไกของรัฐ	ซึ่งรัฐจะก�าหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาจาก
ปัญหาและความต้องการของประชาชน

                                    6
การสื่อสารเพื่อการพัฒนา (Development Communication)
	         ในขณะที่สังคมก�าลังอยู่ในกระบวนการพัฒนานั้น	การสื่อสารจะถูกน�า
มาใช้เพื่อส่งเสริมและขยายกระบวนการพัฒนานั้น	ๆ	กล่าวได้ว่า	การสื่อสารจะ
ท�าหน้าที่ผลักดันให้สังคมพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้	 ซึ่งการที่สังคมหรือ
ประเทศจะพัฒนาไปได้นั้น	จ�าเป็นต้องมีการให้ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ
และพฤติกรรมของประชาชน	เมื่อคนในสังคมมีการสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์
ซึงกันและกัน	ไม่วาจะผ่านช่องทางการสือสารมวลชนหรือการสือสารระหว่างบุคคล	
  ่               ่                  ่                  ่
ก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง	ๆ	ในตัวบุคคลและสังคม	เช่น	ทัศนคติ	
พฤติกรรม	ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป
	        ยุคปัจจุบันนี้	 “การพัฒนา”	มิใช่เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น	แต่จะต้องน�า
ไปสู่การน�าไปปฏิบัติ	 ดังนั้น	การสื่อสารในรูปแบบต่าง	ๆ	ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร
ระหว่างบุคคล	หรือการสื่อสารมวลชน	จึงมีบทบาทในฐานะเป็นกลไกส�าคัญ	นอก
จากนั้นได้ค�านึงถึงประเด็นของ	“การมีส่วนร่วม”	ของกลุ่มเป้าหมาย	การสื่อสาร
จึงเป็นแบบ	Bottom-Up	Communication	และแบบ	Two	Way	Commu-
nication	คือ	ทั้งรัฐบาล	ราชการ	และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย	ต่างก็สวมทั้ง
บทบาทของผู้ส่งสารและผู้รับสาร	มี	 feed	back	ผ่านช่องทางการสื่อสาร	โดย
เนื้อหาสารเป็นไปตามความต้องการของประชาชน
	        กลาวอกนยหนงวา	การพฒนาประเทศในดานตาง	ๆ	ไมวาจะเปนเศรษฐกจ	
           ่ ี ั ึ่ ่         ั                ้ ่       ่่    ็        ิ
สังคม	การเมือง	ฯลฯ	จะไม่สามารถด�าเนินต่อไปได้หากไม่ได้รับการสนับสนุน
อย่างเพียงพอจากเครือข่ายการสื่อสาร	ด้วยเหตุนี้	 หากมีการน�าการสื่อสารมาใช้
ให้ถูกต้องแล้ว	ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้	 อาจกล่าวได้ว่า	
การสื่อสารเป็นกระบวนทัศน์ของการพัฒนา	และเป็นเครื่องมือหรือวิธีการของ
การพัฒนา
                                     7
ดังนั้น	การสื่อสารเพื่อการพัฒนา	จึงหมายถึง	การน�าเอาสื่อทุกรูปแบบ
มาช่วยสนับสนุนกระบวนการพัฒนาประเทศ	ได้แก่	 การพัฒนาเศรษฐกิจ
การเมือง	สังคมและวัฒนธรรม	ทั้งนี้เพราะในประเทศที่ก�าลังพัฒนามีความ
จ�าเป็นเร่งด่วนจะต้องกระตุ้นกระบวนการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมาย
ตามต้องการ	การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยส�าคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้
กระบวนการพัฒนาประเทศส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี	(สุรสิทธิ์	วิทยารัฐ,	2549)
	          นอกจากนี้	 ยังเป็นแนวคิดที่มีวิธีการน�าไปสู่การปฏิบัติ	 ซึ่งต้องมีการ
น�าเอาการสื่อสารทุกรูปแบบมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนา
ประเทศ	ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือการสื่อสารมวลชน	ในยุค
แรกของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา	กล่าวได้ว่า	เป็นลักษณะหนึ่งของการสื่อสาร
ที่ใช้กลยุทธ์สื่อมวลชนแทนที่สื่อประเภทอื่น	ๆ	เพื่อสร้างความทันสมัย	อัน
สอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนา	ต่อมาได้เริ่มเน้นเรื่องของการสื่อสารแบบ
มีส่วนร่วม	(Participatory	Communication)	ของคนในชุมชน	(Commu-
nity–based)	และท้องถิ่น	(Local-based)	ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารที่
ยึดถือการตอบสนองความต้องการของชุมชนเป็นเป้าหมายหลัก	จึงมีการผสมผสาน
การใช้สื่อในรูปแบบต่าง	ๆ	มากขึ้น	เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงและเป็น
ที่เข้าใจ	ยอมรับจากคนในชุมชนและท้องถิ่น	(กาญจนา	แก้วเทพ,	2548)	การ
สื่อสารเป็นปัจจัยส�าคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้กระบวนการพัฒนาประเทศ
ส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
	         การเปลี่ยนแปลง	หมายถึง	สภาวะของการเคลื่อนไหวในสถานการณ์
ใดสถานการณ์หนึ่ง	จากเวลาหนึ่งถึงอีกเวลาหนึ่ง	การเปลี่ยนแปลงไม่ได้สะท้อน
ให้เห็นถึงผลทางด้านบวกแต่อย่างเดียว	แต่สะท้อนให้เห็นถึงผลทางด้านลบ	
(เสถียร	เชยประทับ,	2531)
                                       8
ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสังคม	ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการ
เปลี่ยนแปลงทัศนคติ	 หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม	ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์
เพื่อการพัฒนาสังคมหรือประเทศทั้งสิ้น	ซึ่งมีหลากหลายแนวความคิดที่
ถูกน�ามาใช้ในการพัฒนาดังกล่าว	อย่างไรก็ตาม	สิ่งจ�าเป็นที่สุดส�าหรับการ
เปลี่ยนแปลงในแต่ละสังคม	คือ	การที่ประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง
	        การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมิใช่เป็นการเปลี่ยนด้านใดด้านหนึ่งโดย
เฉพาะ	แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของทุก	ๆ	ด้าน	การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอาจ
ส่งผลสะท้อนต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่และผลสรุปก็คือ 	เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม	และการเปลี่ยนแปลงที่สังคมก�าลังต้องการก็คือ	การเปลี่ยนแปลงที่
เรียกว่า	“การพัฒนา”	(Development)	ทั้งนี้ก็เพราะว่า	การพัฒนาเป็นการ
เปลี่ยนแปลงที่ได้ก�าหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายไว้ตามระยะเวลาที่ก�าหนด
	           โดยทั่วไป	การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้น	มีสาเหตุที่ส�าคัญ
มาจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติประการหนึ่ง	กับการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้กระท�าอีกประการหนึ่ง	การเปลี่ยนแปลงทางสังคมท�าให้
ทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง	
ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมจากสังคม
เกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม
	         Rogers	(1995)	ได้ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม	
(Social	Change)	ว่า	หมายถึง	กระบวนการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง
และหน้าที่ของระบบสังคม	เมื่อมีความคิดใหม่	 ๆ	ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา	มีการ
แพร่กระจายออกไป	และได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ	จนน�าไปสู่ผลกระทบต่อ
สังคม	นั่นหมายถึงว่า	การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เกิดขึ้นแล้ว
	      การเปลี่ยนแปลงทางสังคม	หมายถึง	การที่ระบบสังคม	กระบวนการ	
แบบอย่าง	หรือรูปแบบทางสังคม	เช่น	ขนบธรรมเนียมประเพณี	ระบบครอบครัว	
                                     9
ระบบการปกครอง	ได้เปลี่ยนแปลงไป	ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม	การเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย	 เป็นไปได้อย่างถาวร
หรือชั่วคราว	โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง	และที่เป็นประโยชน์หรือให้
โทษก็ได้ทั้งสิ้น	(ราชบัณฑิตยสถาน,	2524)
	          นอกจากนี้	 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม	ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงใน
ระดับโครงสร้างของสังคม	(Social	Structure)	และบทบาทหน้าที่ที่เกิดขึ้น
ภายในระบบสังคม	(Social	System)	ตลอดจนเป็นการเปลี่ยนแปลงใน
องค์ประกอบต่าง	ๆ	ของสังคม	ได้แก่	 ประชากร	วัฒนธรรม	การจัดระเบียบ
ทางสังคม	เทคโนโลยี	 อาจกล่าวได้ว่า	การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นกระบวน
การที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม	ซึ่งระบบ
สังคม	คือ	การรวมกันของหน่วยต่าง	ๆ	ในสังคมซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน	แต่มี
หน้าที่ร่วมกันในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
	       ลกษณะของการเปลยนแปลงทางสงคม	สามารถแบงไดเปน	3	ชวง	ไดแก่
         ั            ี่        ั           ่ ้ ็ ่ ้
	       1)		 โลกยุคที่	1	สังคมเกษตรกรรม
	         	 มนุษย์ได้ค้นพบการท�าเกษตรกรรม	รู้จักการเพาะปลูกและการ
เลี้ยงสัตว์	 เพื่อเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจของตน	สังคมเกษตรกรรมท�าให้เกิด
การอยู่รวมกัน	มีการครอบครองที่ดิน	และสะสมสัตว์เลี้ยงตามมา	สังคมเกิด
ความไม่เท่าเทียมกัน	มีการแบ่งชั้นของคนในสังคมตามความร�่ารวย	สังคมต้อง
สร้างระบบควบคุมสังคมเพื่อจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อย	มีองค์กรที่ท�า
หน้าที่ปกครองสังคม	และเนื่องจากสังคมพื้นฐานเป็นเกษตรกรรมนี้เอง	มนุษย์
จึงได้พัฒนาให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
	       2)		โลกยุคที่	2	สังคมอุตสาหกรรม
	       	 ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึนอย่างต่อเนือง	มีการประดิษฐ์
                                             ้           ่
                                  10
สิ่งใหม่เพื่อใช้ในการด�ารงชีพเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง	การด�ารงชีพของมนุษย์
จึงเปลี่ยนจากการใช้แรงงานสัตว์และคนไปใช้แรงงานเครื่องจักร	มีการผลิตเป็น
จ�านวนมากเพื่อการค้า	วัถตุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ได้จ�ากัดอยู่แต่เฉพาะผลผลิต
ทางการเกษตรเทานน	แตรวมถงทรพยากรธรรมชาตอน	ๆ	ทสามารถนามาแปรรป
                   ่ ั้ ่ ึ ั                    ิ ื่    ี่       �     ู
เป็นสินค้าตามที่ตลาดต้องการ	เกิดชุมชนเมืองที่มีคนอยู่กันอย่างหนาแน่น
	        3)		โลกยุคที่	3	สังคมข่าวสาร	
	          	 เนื่องจากโลกาภิวัตน์ที่โลกเชื่อมต่อถึงกัน	จึงท�าให้สังคมโลกเข้า
สู่ยุคสังคมข่าวสารที่ข่าวสารเป็นสิ่งส�าคัญ	ใครมีข้อมูลข่าวสารมากย่อมได้เปรียบ	
และต้องรู้จักเลือกน�ามาประมวลให้เกิดประโยชน์	 นอกจากนี้	 ยังต้องพิจารณาว่า	
ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากน้อยเพียงใด	ถ้าส่วนใหญ่ยังไม่สามารถ
เข้าถึงแหล่งข้อมูล	ส่วนใหญ่ยังไม่ได้น�าข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์	 ก็ไม่จัดว่า
อยู่ในยุคสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร
	        4)		โลกยุคที่	4	สังคมความรู้
	        	 เป็นการผลิตฐานความรู้ใหม่	 และกระบวนโลกาภิวัตน์ต่างขับ
เคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว	ทั้งนี้มีเทคโนโลยีข่าวสารและ
การสื่อสารเป็นพื้นฐานซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
	        แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันมีหลายประการ	เช่น
สังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น	มีความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้นภายในสังคมและระหว่าง
สังคมเพิ่มขึ้น	มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนถาวรและชุมชนเมืองมากขึ้น	มีสิ่ง
ประดิษฐ์ใหม่เพิ่มขึ้น	ตลอดจนมีผลผลิตทางวัฒนธรรม	เช่น	ข่าวสาร	ความรู้
เพิ่มมากขึ้น	แต่โดยทั่วไปแล้ว	สามารถแบ่งลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมได้เป็น	2	ประเภทใหญ่	ๆ	ได้แก่
                                        11
1)	 การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายในของระบบสังคม
	          	 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกภายในระบบสังคม
นั้นเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่	 ๆ	และเผยแพร่เอง	เช่น	การเปลี่ยนแปลงของ
สภาพอากาศ	ท�าให้คนในชุมชนต้องประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มชนิดใหม่ขึ้น	และเผย
แพร่ให้มีการใช้ในชุมชนนั้น
	       2)	 การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอกของระบบสังคม
	       	 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลภายนอกมีอิทธิพลท�าให้
เกิดการเปลี่ยนแปลง	เช่น	คนในชุมชนเลียนแบบการแต่งกายจากคนในเมือง	
หรือโครงการต่าง	ๆ	ที่รัฐหรือหน่วยงานเอกชนจัดขึ้นเพื่อการพัฒนาด้านต่าง	ๆ	
ในชุมชน	หรือโดยการรับสิ่งใหม่จากสังคมอื่นเข้ามา	ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมได้	โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีใหม่ทางการผลิต	เช่น	การใช้เครื่องจักร
กลในการเกษตรแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์	 ท�าให้เกิดการท�าไร่นาขนาดใหญ่	
และลดการใช้แรงงาน	เป็นต้น
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
	       การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการตอบสนอง
ความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น	 ซึ่งสามารถสรุป
สาเหตุหลัก	ๆ	ของการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
	        1)	 ความต้องการปรุงแต่งวัฒนธรรมและสังคมให้เจริญงอกงามขึ้น	
มีการปรับวัฒนธรรมให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน	จึงท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางวัฒนธรรม	เช่น	การแต่งกาย	การรับประทานอาหาร	เป็นต้น
	       2)	 การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่น	 ซึ่งเกิดจากความเจริญ
ในด้านการสื่อสารที่อ�านวยให้เกิดการติดต่อถึงกันอย่างสะดวกรวดเร็ว	การแลก

                                   12
เปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่นจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง
	       3)	 ความต้องการของมนุษย์	 ท�าให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่	 ๆ	ที่น�า
ไปสู่การเปลี่ยนแปลง	ซึ่งมนุษย์มีแนวโน้มที่ต้องแสวงหาสิ่งตอบแทนหรือ
สนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
	          4)	 การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางสังคม	เช่น	ประชากรมีจ�านวน
มากขึ้น	ท�าให้มีการแข่งขันกันสูง	เกิดความขัดแย้ง	(Conflict)	มากขึ้น	อัน
เป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องหาวิธีการสร้างระเบียบ	เพื่อแก้ไขความยุ่งยากดังกล่าว	
ดังนั้น	วัฒนธรรมของมนุษย์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย	
	      5)	 การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสาร	ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางทัศนคติและพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
	        อย่างไรก็ตาม	ความส�าเร็จของการสื่อสารในอันที่จะส่งผลต่อการ
พัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นนั้น	ขึ้นอยู่กับการวางแผน
การสื่อสารอย่างเป็นขั้นเป็นตอน	 โดยมีรากฐานมาจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ใน
สังคม	อันมีเป้าหมายส่วนใหญ่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือ
พัฒนาพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทางดีขึ้น	ซึ่งความเปลี่ยนแปลง
นี้สามารถวัดได้ด้วยยุทธวิธีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบผสมผสานกัน
	        การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอาจส่งผลสะท้อนต่อเนื่องกันไป	 และ
ผลสรุปก็คือ	เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม	แต่การเปลี่ยนแปลงที่สังคม
ต้ อ งการ	 คื อ 	 การเปลี่ ย นแปลงที่ เรี ย กว่ า 	 “การพั ฒ นา”	 ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่ า
การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้ก�าหนดทิศทางและจุดมุ่งหมาย	รวมทั้ง
มีการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาที่สามารถก�าหนดได้ไว้ด้วย



                                          13
9789740328926

Contenu connexe

Tendances

News And The Public Sphere
News And The Public SphereNews And The Public Sphere
News And The Public SphereRob Jewitt
 
Opiniao pública e os públicos da instituição
Opiniao pública e os públicos da instituiçãoOpiniao pública e os públicos da instituição
Opiniao pública e os públicos da instituiçãoPedro Almeida
 
11 Relazioni sociali e identità in rete
11 Relazioni sociali e identità in rete11 Relazioni sociali e identità in rete
11 Relazioni sociali e identità in reteAlessio Cornia
 
C16 - Formal Controls : Laws, Rules & Regulations
C16 - Formal Controls : Laws, Rules & RegulationsC16 - Formal Controls : Laws, Rules & Regulations
C16 - Formal Controls : Laws, Rules & RegulationsFatin Nazihah Aziz
 
Aula 04 ética e legislação Jornalismo
Aula 04   ética e legislação JornalismoAula 04   ética e legislação Jornalismo
Aula 04 ética e legislação JornalismoElizeu Nascimento Silva
 
Public Diplomacy: International Communication as Strategy
Public Diplomacy: International Communication as StrategyPublic Diplomacy: International Communication as Strategy
Public Diplomacy: International Communication as StrategyJuan Manfredi
 
Jenkins y la Convergencia Cultural
Jenkins y la Convergencia CulturalJenkins y la Convergencia Cultural
Jenkins y la Convergencia Culturaladriana leiva
 
Four Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of Politics
Four Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of PoliticsFour Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of Politics
Four Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of PoliticsFrancesco Piccinelli Casagrande
 
Marketing político
Marketing políticoMarketing político
Marketing políticoJose Mora
 
Knowledge gap theory
Knowledge gap theoryKnowledge gap theory
Knowledge gap theorysabiha anam
 
Technological Determinism
Technological DeterminismTechnological Determinism
Technological DeterminismArun Jacob
 
Aula 2 o jornalismo na internet
Aula 2   o jornalismo na internetAula 2   o jornalismo na internet
Aula 2 o jornalismo na internetaulasdejornalismo
 
Feminist Film Theory Quiz
Feminist Film Theory QuizFeminist Film Theory Quiz
Feminist Film Theory QuizRachel Jones
 
Jornalismo especializado
Jornalismo especializadoJornalismo especializado
Jornalismo especializadoLaércio Góes
 
A utilização do computador e Internet por idosos
A utilização do computador e Internet por idososA utilização do computador e Internet por idosos
A utilização do computador e Internet por idososRita Brito
 
the networked public sphere.ppsx
the networked public sphere.ppsxthe networked public sphere.ppsx
the networked public sphere.ppsxsomayeh21
 

Tendances (20)

Jornalismo Participativo
Jornalismo ParticipativoJornalismo Participativo
Jornalismo Participativo
 
News And The Public Sphere
News And The Public SphereNews And The Public Sphere
News And The Public Sphere
 
Knowledge gap theory
Knowledge gap theoryKnowledge gap theory
Knowledge gap theory
 
Opiniao pública e os públicos da instituição
Opiniao pública e os públicos da instituiçãoOpiniao pública e os públicos da instituição
Opiniao pública e os públicos da instituição
 
11 Relazioni sociali e identità in rete
11 Relazioni sociali e identità in rete11 Relazioni sociali e identità in rete
11 Relazioni sociali e identità in rete
 
C16 - Formal Controls : Laws, Rules & Regulations
C16 - Formal Controls : Laws, Rules & RegulationsC16 - Formal Controls : Laws, Rules & Regulations
C16 - Formal Controls : Laws, Rules & Regulations
 
Aula 04 ética e legislação Jornalismo
Aula 04   ética e legislação JornalismoAula 04   ética e legislação Jornalismo
Aula 04 ética e legislação Jornalismo
 
Public Diplomacy: International Communication as Strategy
Public Diplomacy: International Communication as StrategyPublic Diplomacy: International Communication as Strategy
Public Diplomacy: International Communication as Strategy
 
Jenkins y la Convergencia Cultural
Jenkins y la Convergencia CulturalJenkins y la Convergencia Cultural
Jenkins y la Convergencia Cultural
 
Four Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of Politics
Four Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of PoliticsFour Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of Politics
Four Phases of Mediatization: An Analysis of the Mediatization of Politics
 
Marketing político
Marketing políticoMarketing político
Marketing político
 
Cultivation theory
Cultivation theoryCultivation theory
Cultivation theory
 
Knowledge gap theory
Knowledge gap theoryKnowledge gap theory
Knowledge gap theory
 
Technological Determinism
Technological DeterminismTechnological Determinism
Technological Determinism
 
Filmbook. final
Filmbook. finalFilmbook. final
Filmbook. final
 
Aula 2 o jornalismo na internet
Aula 2   o jornalismo na internetAula 2   o jornalismo na internet
Aula 2 o jornalismo na internet
 
Feminist Film Theory Quiz
Feminist Film Theory QuizFeminist Film Theory Quiz
Feminist Film Theory Quiz
 
Jornalismo especializado
Jornalismo especializadoJornalismo especializado
Jornalismo especializado
 
A utilização do computador e Internet por idosos
A utilização do computador e Internet por idososA utilização do computador e Internet por idosos
A utilização do computador e Internet por idosos
 
the networked public sphere.ppsx
the networked public sphere.ppsxthe networked public sphere.ppsx
the networked public sphere.ppsx
 

Similaire à 9789740328926

ความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารpeter dontoom
 
Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016LDPThailand
 
นำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตนำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตjd18122505
 
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซวิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซJirawat Fishingclub
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง daSaiiew
 
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์pui003
 
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Kan Yuenyong
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารwasamon2531
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารmontiya2530
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนthanathip
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma CommunicationPadvee Academy
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1kanwan0429
 

Similaire à 9789740328926 (20)

Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
 
Communication skill
Communication skillCommunication skill
Communication skill
 
ความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสาร
 
Media reform
Media reformMedia reform
Media reform
 
Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016Ldp workshop 4-5 Oct 2016
Ldp workshop 4-5 Oct 2016
 
นำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตนำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขต
 
Social network direct media
Social network direct mediaSocial network direct media
Social network direct media
 
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซวิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
 
Pr Community Recreation
Pr Community RecreationPr Community Recreation
Pr Community Recreation
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
 
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
News
NewsNews
News
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
 
Advertising and culture
Advertising and cultureAdvertising and culture
Advertising and culture
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740328926

  • 1. 1 ่อสาร การพัฒนา การสื และการเปลี่ยนแปลงของสังคม บทโหมโรง : การสื่อสาร การพัฒนา การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
  • 2. โลกในยุคสมัยใหม่นั้น ผู้คนในสังคมมีความจ�าเป็นต้องพึ่งพาระบบและ เครือข่ายของการสื่อสาร เนื่องจากข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทส�าคัญ ในการกาหนดความคด วสยทศน ทศนคต และพฤตกรรมตาง ๆ ของคนเรามากขน � ิ ิั ั ์ ั ิ ิ ่ ึ้ ทุกวัน จึงจ�าเป็นต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการติดต่อประสานสัมพันธ์ และรวมกลุ่มก้อนกันทางสังคม การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เข้ามามีบทบาท ส�าคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่ต่างใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ การด�าเนินชีวิต และการประกอบอาชีพให้ ประสบความส�าเร็จ การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับของการพัฒนาใน ทุกด้าน ดังนั้น บุคคล องค์กร ชุมชน สังคม หรือประเทศที่สามารถน�าประโยชน์ ของการสื่อสารไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือส�าคัญในการพัฒนา เพื่อการพัฒนา ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก นักการสื่อสารจึงมีความจ�าเป็นที่จะ ต้องด�าเนินการพัฒนาสื่อหรือช่องทางที่จะน�าไปใช้ในกระบวนการพัฒนาทั้ง ระดับท้องถิ่น และระดับประเทศต่อไป การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นศาสตร์ที่มีความหมายและความส�าคัญกว้างขวางครอบ คลุมอยู่ในชีวิตประจ�าวันของมนุษย์ ถือเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะมนุษย์นั้นไม่อาจหลีกเลี่ยงการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ได้ ซึ่งมนุษย์ ใช้การสื่อสารในการถ่ายทอดความคิด ความต้องการ และความรู้สึก พร้อมทั้ง เรื่องราวต่าง ๆ ของตนไปสู่บุคคลอื่น และสามารถด�ารงอยู่ในสังคม เมื่อมีการสื่อสารก็หมายถึงว่า มีการกระท�าร่วมกันในบางสิ่งบางอย่าง นั่นคือ การถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิดซึ่งกันและ กันของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม อย่างไรก็ตาม ความหมายของการสื่อสารที่แท้ 2
  • 3. จริงนั้น มีความหมายกว้างและครอบคลุมเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมมนุษย์ใน ทุก ๆ เรื่อง นักวิชาการด้านการสื่อสารได้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน ตามแง่มุมที่ แต่ละคนพิจารณาให้ความส�าคัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ปรมะ สตะเวทิน, 2533) วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilber Schramm) ให้ความหมายว่า การสื่อสาร คือ การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่ใช้แสดงข่าวสาร ชาร์ล อี ออสกูด (Charl E. Osgood) ให้ความหมายโดยทั่วไปว่า การ สื่อสารเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ส่งสารมีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมต่อสองฝ่ายเข้าด้วยกัน วอร์เรน ดับเบิลยู วีเวอร์ (Worren W. Weaver) กล่าวว่า การสื่อสาร มีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่าง ที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เพียงการพูดและการเขียนเท่านั้น แต่ รวมถึงสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมอื่น ๆ ของ มนุษย์ด้วย การสื่อสารเป็นการกระท�าที่มีสิ่งเร้าและมีการโต้ตอบต่อสิ่งเร้า โดย บุคคลหนึ่งตั้งใจหรืออาจไม่ตั้งใจส่งสิ่งเร้าเพื่อกระตุ้นการตอบสนองจากอีก ฝ่ายหนึ่ง (Nilsen, 1957) การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ความคิดหรือข่าวสารถูกส่งจากแหล่ง สารไปยังผู้รับสาร โดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสาร (Roger, 1995) ปรมะ สตะเวทิน (2533) ให้ความหมายว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการ ถ่ายทอดสาร (Message) จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร (Source) ไป 3
  • 4. ยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร (Receiver) โดยผ่านสื่อ (Channel) ใด สื่อหนึ่ง พัชนี เชยจรรยา และคณะ (2541) กล่าวว่า การสื่อสารเป็นการสื่อความ หมายในทางใดทางหนง ซงมลกษณะของการสงและการรบสาร ไมวาจะเปนภายใน ึ่ ึ่ ี ั ่ ั ่่ ็ ตวเอง ระหวางผหนงกบอกผหนง หรอระหวางกลมกบกลม ภายในบรบทหรอสภาพ ั ่ ู้ ึ่ ั ี ู้ ึ่ ื ่ ่ ุ ั ุ่ ิ ื แวดล้อมหนึ่ง ๆ ซึ่งการสื่อสารจะตั้งอยู่บนหลักแห่งความสัมพันธ์นี้เสมอ จากความหมายของการสื่อสารที่มีนักวิชาการด้านการสื่อสารได้ให้ไว้ แตกต่างกัน บางคนถือว่า การสื่อสารคือ การแสดงออกทุกอย่างที่ผู้อื่นเข้าใจได้ ไม่ว่าการแสดงนั้นจะมีเจตนาให้ผู้อื่นเข้าใจหรือไม่ก็ตาม จึงอาจสรุปได้ว่า การ สื่อสาร คือ การที่มนุษย์ถ่ายทอดความรู้ ความคิด หรือประสบการณ์ของตน ไปยัง บุคคลอื่น และการรับความรู้ความคิดจากบุคคลอื่นมาปรับพฤติกรรมของตนเอง หรืออาจกล่าวได้วา การสือสาร คือ การเชือมโยงความคิด ความรูสกต่าง ๆ ระหว่าง ่ ่ ่ ้ึ บุคคลที่ก�าลังท�าการสื่อสารเข้าด้วยกันนั่นเอง สรุปได้ว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการในการสื่อความหมายโดยมี บุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร โดยที่ผู้ส่งสารส่งข่าวสารใด ๆ ไปยัง ผู้รับสาร แล้วท�าให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันต่อข่าวสาร นั้น การสื่อสารจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีจุดส�าคัญอยู่ที่การส่งข่าวสารที่ท�าให้ ทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารเกิดความเข้าใจตรงกันต่อข่าวสารนั้น ถ้าหากว่าบุคคล รับรู้หรือเข้าใจความหมายของข่าวสารนั้นแตกต่างกัน แสดงว่า การสื่อสารยัง ไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเป็นเครื่องมือส�าคัญในการเชื่อมโยงความ เข้าใจในหลากหลายมิติของสังคมเข้าด้วยกัน อาจถูกมองเป็นนวัตกรรมใหม่ของ นักการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ในภาคธุรกิจ การสือสารจึงเป็นศาสตร์ทตองอาศัยทังบุคคล วัสดุเครืองมือ และเทคนิค ่ ี่ ้ ้ ่ วิธีการในการสื่อสาร ดังนั้น ความส�าเร็จในการสื่อสารส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับการ 4
  • 5. เลือกและการใช้สื่ออย่างเหมาะสม การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อ ความสาเรจหรอลมเหลวในโครงการตาง ๆ ในการพฒนาประเทศ เชน บางโครงการ � ็ ื ้ ่ ั ่ ล้มเหลวเพราะขาดการให้ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง บางโครงการขาดกลไกการสื่อสารเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน บาง โครงการขาดสื่อบุคคลที่เป็นผู้น�าการพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของ ผู้คนและสังคมได้ด้วยว่า มีวิวัฒนาการ มีความทันสมัยเพียงใด จึงอาจคาดเดา พัฒนาการของคนหรือสังคมนั้นได้ว่า เป็นอย่างไรจากการสื่อสารของคนในสังคม นั้น ๆ ทั้งนี้ ในการสื่อสารแต่ละครั้งย่อมต้องมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารใน ครั้งนั้น อาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากวัตถุประสงค์ และ การสื่อสารนั้นอาจไม่ประสบผลส�าเร็จอย่างที่คาดหวังไว้หากขาดซึ่งวัตถุประสงค์ ทีชดเจน โดยทัวไปแล้ว วัตถุประสงค์ของการสือสารสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประการ ่ั ่ ่ ได้แก่ 1) เพื่อแจ้งให้ทราบ (To inform) 2) เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ (To educate) 3) เพื่อโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม (To persuade) 4) เพื่อให้ความบันเทิง (To entertain) อย่างไรก็ตาม วิธีการสื่อสารจะถูกก�าหนดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ทตองการ เชน ในการเผยแพรขอมลขาวสารในโครงการเพอการพฒนาขององคกร ี่ ้ ่ ่้ ู ่ ื่ ั ์ ใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับทราบ เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมอันจะน�าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในสังคมตามวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น จึงต้องเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ต่าง ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เช่น ใช้สื่อบุคคล จัดกิจกรรม เป็นต้น 5
  • 6. การพัฒนา (Development) ความเจริญก้าวหน้าโดยทั่ว ๆ ไป เช่น การพัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ คือ การท�าสิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น สนองความต้องการของประชาชน ส่วนใหญ่ให้ได้ดียิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า “การพัฒนา” เป็นกระบวนการของ การเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ การพัฒนาจึงเป็น กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นักสังคมวิทยาหรือนักเศรษฐศาสตร์ได้ให้ความหมายของค�าว่า “การ พัฒนา” ไว้ต่างมุมมองกัน ได้แก่ การพัฒนา เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในทุกสังคม เมื่อเกิดแล้วมีแต่ ก้าวไปข้างหน้า ไม่มกระบวนการย้อนกลับ เนืองจากเป็นกระบวนการทีมเี ป้าหมาย ี ่ ่ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Servaes et al., 1996) การพัฒนาเป็นการท�าหรือแก้ไขปัญหา (Problem Solving) สภาพ ความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ดีขึ้น (Melkote, 2001) การพัฒนาเป็นการน�าความคิดใหม่เข้าสู่ระบบสังคม เพื่อท�าให้รายได้ ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น หรือเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการด�ารงชีวิต ให้ดีขึ้น (Roger & Svenning, 1969) ตามความหมายโดยทั่วไปมักหมายถึง การท�าให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย สรุปแล้ว การพัฒนา หมายถึง กระบวนการที่ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทาง ที่ดีขึ้นต่อคนในสังคมโดยรวมทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ ซึ่งอาจเป็นแนวความ คิดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีแผน โดยผ่านเข้าไปในกลไกของรัฐ ซึ่งรัฐจะก�าหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาจาก ปัญหาและความต้องการของประชาชน 6
  • 7. การสื่อสารเพื่อการพัฒนา (Development Communication) ในขณะที่สังคมก�าลังอยู่ในกระบวนการพัฒนานั้น การสื่อสารจะถูกน�า มาใช้เพื่อส่งเสริมและขยายกระบวนการพัฒนานั้น ๆ กล่าวได้ว่า การสื่อสารจะ ท�าหน้าที่ผลักดันให้สังคมพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการที่สังคมหรือ ประเทศจะพัฒนาไปได้นั้น จ�าเป็นต้องมีการให้ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชน เมื่อคนในสังคมมีการสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ ซึงกันและกัน ไม่วาจะผ่านช่องทางการสือสารมวลชนหรือการสือสารระหว่างบุคคล ่ ่ ่ ่ ก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในตัวบุคคลและสังคม เช่น ทัศนคติ พฤติกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป ยุคปัจจุบันนี้ “การพัฒนา” มิใช่เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น แต่จะต้องน�า ไปสู่การน�าไปปฏิบัติ ดังนั้น การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ระหว่างบุคคล หรือการสื่อสารมวลชน จึงมีบทบาทในฐานะเป็นกลไกส�าคัญ นอก จากนั้นได้ค�านึงถึงประเด็นของ “การมีส่วนร่วม” ของกลุ่มเป้าหมาย การสื่อสาร จึงเป็นแบบ Bottom-Up Communication และแบบ Two Way Commu- nication คือ ทั้งรัฐบาล ราชการ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ต่างก็สวมทั้ง บทบาทของผู้ส่งสารและผู้รับสาร มี feed back ผ่านช่องทางการสื่อสาร โดย เนื้อหาสารเป็นไปตามความต้องการของประชาชน กลาวอกนยหนงวา การพฒนาประเทศในดานตาง ๆ ไมวาจะเปนเศรษฐกจ ่ ี ั ึ่ ่ ั ้ ่ ่่ ็ ิ สังคม การเมือง ฯลฯ จะไม่สามารถด�าเนินต่อไปได้หากไม่ได้รับการสนับสนุน อย่างเพียงพอจากเครือข่ายการสื่อสาร ด้วยเหตุนี้ หากมีการน�าการสื่อสารมาใช้ ให้ถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้ อาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารเป็นกระบวนทัศน์ของการพัฒนา และเป็นเครื่องมือหรือวิธีการของ การพัฒนา 7
  • 8. ดังนั้น การสื่อสารเพื่อการพัฒนา จึงหมายถึง การน�าเอาสื่อทุกรูปแบบ มาช่วยสนับสนุนกระบวนการพัฒนาประเทศ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะในประเทศที่ก�าลังพัฒนามีความ จ�าเป็นเร่งด่วนจะต้องกระตุ้นกระบวนการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมาย ตามต้องการ การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยส�าคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้ กระบวนการพัฒนาประเทศส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี (สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ, 2549) นอกจากนี้ ยังเป็นแนวคิดที่มีวิธีการน�าไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องมีการ น�าเอาการสื่อสารทุกรูปแบบมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนา ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือการสื่อสารมวลชน ในยุค แรกของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา กล่าวได้ว่า เป็นลักษณะหนึ่งของการสื่อสาร ที่ใช้กลยุทธ์สื่อมวลชนแทนที่สื่อประเภทอื่น ๆ เพื่อสร้างความทันสมัย อัน สอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนา ต่อมาได้เริ่มเน้นเรื่องของการสื่อสารแบบ มีส่วนร่วม (Participatory Communication) ของคนในชุมชน (Commu- nity–based) และท้องถิ่น (Local-based) ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารที่ ยึดถือการตอบสนองความต้องการของชุมชนเป็นเป้าหมายหลัก จึงมีการผสมผสาน การใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงและเป็น ที่เข้าใจ ยอมรับจากคนในชุมชนและท้องถิ่น (กาญจนา แก้วเทพ, 2548) การ สื่อสารเป็นปัจจัยส�าคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้กระบวนการพัฒนาประเทศ ส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) การเปลี่ยนแปลง หมายถึง สภาวะของการเคลื่อนไหวในสถานการณ์ ใดสถานการณ์หนึ่ง จากเวลาหนึ่งถึงอีกเวลาหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงไม่ได้สะท้อน ให้เห็นถึงผลทางด้านบวกแต่อย่างเดียว แต่สะท้อนให้เห็นถึงผลทางด้านลบ (เสถียร เชยประทับ, 2531) 8
  • 9. ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสังคม ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการ เปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาสังคมหรือประเทศทั้งสิ้น ซึ่งมีหลากหลายแนวความคิดที่ ถูกน�ามาใช้ในการพัฒนาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สิ่งจ�าเป็นที่สุดส�าหรับการ เปลี่ยนแปลงในแต่ละสังคม คือ การที่ประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมิใช่เป็นการเปลี่ยนด้านใดด้านหนึ่งโดย เฉพาะ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของทุก ๆ ด้าน การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอาจ ส่งผลสะท้อนต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่และผลสรุปก็คือ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงที่สังคมก�าลังต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่ เรียกว่า “การพัฒนา” (Development) ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพัฒนาเป็นการ เปลี่ยนแปลงที่ได้ก�าหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายไว้ตามระยะเวลาที่ก�าหนด โดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุที่ส�าคัญ มาจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติประการหนึ่ง กับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้กระท�าอีกประการหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมท�าให้ ทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมจากสังคม เกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม Rogers (1995) ได้ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ว่า หมายถึง กระบวนการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบสังคม เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา มีการ แพร่กระจายออกไป และได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ จนน�าไปสู่ผลกระทบต่อ สังคม นั่นหมายถึงว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เกิดขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่าง หรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว 9
  • 10. ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลง ทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวร หรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้ โทษก็ได้ทั้งสิ้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2524) นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงใน ระดับโครงสร้างของสังคม (Social Structure) และบทบาทหน้าที่ที่เกิดขึ้น ภายในระบบสังคม (Social System) ตลอดจนเป็นการเปลี่ยนแปลงใน องค์ประกอบต่าง ๆ ของสังคม ได้แก่ ประชากร วัฒนธรรม การจัดระเบียบ ทางสังคม เทคโนโลยี อาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นกระบวน การที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม ซึ่งระบบ สังคม คือ การรวมกันของหน่วยต่าง ๆ ในสังคมซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน แต่มี หน้าที่ร่วมกันในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ลกษณะของการเปลยนแปลงทางสงคม สามารถแบงไดเปน 3 ชวง ไดแก่ ั ี่ ั ่ ้ ็ ่ ้ 1) โลกยุคที่ 1 สังคมเกษตรกรรม มนุษย์ได้ค้นพบการท�าเกษตรกรรม รู้จักการเพาะปลูกและการ เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจของตน สังคมเกษตรกรรมท�าให้เกิด การอยู่รวมกัน มีการครอบครองที่ดิน และสะสมสัตว์เลี้ยงตามมา สังคมเกิด ความไม่เท่าเทียมกัน มีการแบ่งชั้นของคนในสังคมตามความร�่ารวย สังคมต้อง สร้างระบบควบคุมสังคมเพื่อจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีองค์กรที่ท�า หน้าที่ปกครองสังคม และเนื่องจากสังคมพื้นฐานเป็นเกษตรกรรมนี้เอง มนุษย์ จึงได้พัฒนาให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน 2) โลกยุคที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึนอย่างต่อเนือง มีการประดิษฐ์ ้ ่ 10
  • 11. สิ่งใหม่เพื่อใช้ในการด�ารงชีพเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง การด�ารงชีพของมนุษย์ จึงเปลี่ยนจากการใช้แรงงานสัตว์และคนไปใช้แรงงานเครื่องจักร มีการผลิตเป็น จ�านวนมากเพื่อการค้า วัถตุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ได้จ�ากัดอยู่แต่เฉพาะผลผลิต ทางการเกษตรเทานน แตรวมถงทรพยากรธรรมชาตอน ๆ ทสามารถนามาแปรรป ่ ั้ ่ ึ ั ิ ื่ ี่ � ู เป็นสินค้าตามที่ตลาดต้องการ เกิดชุมชนเมืองที่มีคนอยู่กันอย่างหนาแน่น 3) โลกยุคที่ 3 สังคมข่าวสาร เนื่องจากโลกาภิวัตน์ที่โลกเชื่อมต่อถึงกัน จึงท�าให้สังคมโลกเข้า สู่ยุคสังคมข่าวสารที่ข่าวสารเป็นสิ่งส�าคัญ ใครมีข้อมูลข่าวสารมากย่อมได้เปรียบ และต้องรู้จักเลือกน�ามาประมวลให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากน้อยเพียงใด ถ้าส่วนใหญ่ยังไม่สามารถ เข้าถึงแหล่งข้อมูล ส่วนใหญ่ยังไม่ได้น�าข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็ไม่จัดว่า อยู่ในยุคสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร 4) โลกยุคที่ 4 สังคมความรู้ เป็นการผลิตฐานความรู้ใหม่ และกระบวนโลกาภิวัตน์ต่างขับ เคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้มีเทคโนโลยีข่าวสารและ การสื่อสารเป็นพื้นฐานซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันมีหลายประการ เช่น สังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้นภายในสังคมและระหว่าง สังคมเพิ่มขึ้น มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนถาวรและชุมชนเมืองมากขึ้น มีสิ่ง ประดิษฐ์ใหม่เพิ่มขึ้น ตลอดจนมีผลผลิตทางวัฒนธรรม เช่น ข่าวสาร ความรู้ เพิ่มมากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 11
  • 12. 1) การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายในของระบบสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกภายในระบบสังคม นั้นเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และเผยแพร่เอง เช่น การเปลี่ยนแปลงของ สภาพอากาศ ท�าให้คนในชุมชนต้องประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มชนิดใหม่ขึ้น และเผย แพร่ให้มีการใช้ในชุมชนนั้น 2) การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอกของระบบสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลภายนอกมีอิทธิพลท�าให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น คนในชุมชนเลียนแบบการแต่งกายจากคนในเมือง หรือโครงการต่าง ๆ ที่รัฐหรือหน่วยงานเอกชนจัดขึ้นเพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในชุมชน หรือโดยการรับสิ่งใหม่จากสังคมอื่นเข้ามา ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีใหม่ทางการผลิต เช่น การใช้เครื่องจักร กลในการเกษตรแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์ ท�าให้เกิดการท�าไร่นาขนาดใหญ่ และลดการใช้แรงงาน เป็นต้น สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถสรุป สาเหตุหลัก ๆ ของการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ 1) ความต้องการปรุงแต่งวัฒนธรรมและสังคมให้เจริญงอกงามขึ้น มีการปรับวัฒนธรรมให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน จึงท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรม เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น 2) การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่น ซึ่งเกิดจากความเจริญ ในด้านการสื่อสารที่อ�านวยให้เกิดการติดต่อถึงกันอย่างสะดวกรวดเร็ว การแลก 12
  • 13. เปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่นจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง 3) ความต้องการของมนุษย์ ท�าให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่น�า ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งมนุษย์มีแนวโน้มที่ต้องแสวงหาสิ่งตอบแทนหรือ สนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4) การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น ประชากรมีจ�านวน มากขึ้น ท�าให้มีการแข่งขันกันสูง เกิดความขัดแย้ง (Conflict) มากขึ้น อัน เป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องหาวิธีการสร้างระเบียบ เพื่อแก้ไขความยุ่งยากดังกล่าว ดังนั้น วัฒนธรรมของมนุษย์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย 5) การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสาร ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางทัศนคติและพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความส�าเร็จของการสื่อสารในอันที่จะส่งผลต่อการ พัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผน การสื่อสารอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีรากฐานมาจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ใน สังคม อันมีเป้าหมายส่วนใหญ่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือ พัฒนาพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทางดีขึ้น ซึ่งความเปลี่ยนแปลง นี้สามารถวัดได้ด้วยยุทธวิธีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบผสมผสานกัน การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอาจส่งผลสะท้อนต่อเนื่องกันไป และ ผลสรุปก็คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงที่สังคม ต้ อ งการ คื อ การเปลี่ ย นแปลงที่ เรี ย กว่ า “การพั ฒ นา” ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่ า การพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้ก�าหนดทิศทางและจุดมุ่งหมาย รวมทั้ง มีการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาที่สามารถก�าหนดได้ไว้ด้วย 13