SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
บทนำ	           




                                              1

                            บทนำ




_11-09(001-072)P2.indd 1            11/13/11 10:15:54 PM
กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท
                                                           ่

               บทนำ
                      หนังสือนี้ได้นำเสนอถึงมาตรการทางแพ่งในการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม 	
               ซึ่งในปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่าง
               ประเทศ ในการนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง	
               ที่นำมาปรับใช้ในการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ได้อธิบายและวิเคราะห์ถึง
               กฎหมายเหล่านั้นโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามแนวคิดและทฤษฎีที่อ้างถึง โดยกฎหมายที่ได้นำเสนอ
               ไว้ในหนังสือนี้มี ดังนี้

               1.
สนธิสัญญาและอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

                      สนธิสัญญาและอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม
               ระหว่ า งประเทศที่ ไ ด้ น ำเสนอไว้ ใ นหนั ง สื อ นี้ สามารถแบ่ ง ออกตามประเภทของกิ จ กรรมที่
               เกี่ยวข้องได้ ดังนี้
                           1.1

กิจกรรมทางนิวเคลียร์
                              
                      อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
               ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมนิวเคลียร์ ดังนี้
                      (1) อนุสัญญาโออีซีดีว่าด้วยความรับผิดของบุคคลที่สามจากพลังงานนิวเคลียร์ ค.ศ.
               1960	(Paris	Convention,	1960)	
                      (2) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากนิวเคลียร์ ค.ศ. 1963
               (Vienna Convention, 1963)
                      (3) พิธีสารร่วมอันเนื่องมาจากอนุสัญญากรุงเวียนนาและอนุสัญญากรุงปารีสในความ	
               เสียหายจากนิวเคลียร์ ค.ศ. 1988 (Joint Protocol, 1988) ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้
                           1.2

การขนส่งสินค้าและวัตถุอันตราย
                              
                      อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
               ทางสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าและวัตถุอันตราย ดังนี้
                      (1) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากการขนส่งวัตถุนิวเคลียร์	
               ทางทะเล ค.ศ. 1971 (Brussels Convention, 1971)




_11-09(001-072)P2.indd 2                                                                                                    11/13/11 10:15:55 PM
บทนำ	                                                                            
                         (2) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้าอันตราย
                    โดยทางถนน ทางรถไฟ และทางน้ำ ค.ศ. 1989 (CRTD, 1989)
                           1.3		กิจกรรมในอวกาศ	
                              	
                           อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
                    ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในอวกาศ ดังนี้
                           (1) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศในความเสียหายจากวัตถุในอวกาศ ค.ศ.
                    1972 (Space Liability Convention, 1972)
                                                                                                              1
                           1.4		มลพิษจากน้ำมัน
                           อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
                    ทางสิ่งแวดล้อมจากมลพิษของน้ำมัน ดังนี้
                           (1) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากมลพิษของ
                    น้ำมัน ค.ศ. 1969 (Brussels Convention, 1969)
                           (2) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากมลพิษของน้ำมันจากการ
                    สำรวจและขุ ด ค้ น ทรั พ ยากรแร่ ใ ต้ ท้ อ งทะเล ค.ศ. 1977 (Seabed Mineral Resources
                    Convention, 1977) ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้
                           (3) อนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการชดเชยสำหรับความเสีย
                    หายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ. 1971 (Oil Pollution Fund Convention, 1971)
                           1.5		การขนส่งของเสียอันตราย	
                           อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
                    ทางสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าและวัตถุอันตราย ดังนี้
                           (1) อนุสัญญาว่าด้วยการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนและการกำจัด ค.ศ. 1989
                    (Basel Convention, 1989)
                           (2) พิธีสารบาเซิลว่าด้วยความรับผิดและการชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากการ
                    เคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด ค.ศ. 1999 (Basel Liability Protocol,
                    1999)




_11-09(001-072)P3.indd 3                                                                             11/22/11 5:17:09 PM
กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท
                                                           ่

                           1.6		กิจกรรมบริเวณขั้วโลก	
                      อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
               ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมบริเวณขั้วโลก ดังนี้
                   (1) อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยการกำหนดหลั ก เกณฑ์ ใ นกิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ ทรั พ ยากรแร่ บ ริ เ วณ
               แอนตาร์กติกา ค.ศ. 1988 (CRAMRA, 1988)
                     (2) พิธีสารว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณแอนตาร์กติกา ค.ศ. 1991 (CRAMRA
               Protocol, 1991)
                           1.7		กิจกรรมที่เป็นอันตราย
                      อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย
               ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่เป็นอันตราย ดังนี้
                      (1) อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยความรั บ ผิ ด ทางแพ่ ง ในความเสี ย หายอั น เกิ ด จากกิ จ กรรมที่ เ ป็ น
               อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 1993 (Lugano Convention, 1993)
                           1.8		กิจกรรมอื่น	ๆ	
                     กฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายทั่วไปที่สามารถนำ
               มาปรับใช้ในการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้
                           (1) คำสั่งคณะมนตรียุโรปเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ ค.ศ. 1985

               2.	กฎหมายต่างประเทศ
                     กฎหมายต่างประเทศที่ได้นำเสนอไว้ในหนังสือนี้ โดยได้อ้างอิงและเทียบเคียงเข้าไว้ใน
               ประเด็นที่ได้กล่าวถึง ดังนี้
                     (1) Draft Article on State Responsibility
                     (2) Draft Articles on International Liability for Injurious Consequences
               Arising out of Acts Not Prohibited by International Law
                     (3) Resource Conservation and Recovery Act, 1976
                     (4) The New Zealand Environment Act, 1986
                     (5) The Comprehensive Environmental Responses, Compensation, Liability
               Act, 1980



_11-09(001-072)P3.indd 4                                                                                                    11/22/11 5:17:10 PM
บทนำ	                                                                              
                    3.	กฎหมายของไทย
                           กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่ได้
                    นำเสนอไว้ในหนังสือนี้ ดังนี้
                           (1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                           (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                           (3) พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
                           (4) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
                           (5) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522                                         1
                           (6) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
                           (7) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
                           (8) พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
                           (9) ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544
                    และที่แก้ไขเพิ่มเติม	




_11-09(001-072)P3.indd 5                                                                               11/22/11 5:17:11 PM
_11-09(001-072)P3.indd 6   11/22/11 5:17:11 PM
บทนำ	                             




                                                                1

                            1
                            แนวคิดและหลักการพื้นฐาน
                            ของกฎหมายสิ่งแวดล้อม




_11-09(001-072)P2.indd 7                              11/13/11 10:15:59 PM
กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท
                                                        ่


               1.
ความเบื้องต้น
                 
                       ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการถูกท้าทายจากสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นผล	
               มาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภค
               แบบวัตถุนิยม ทำให้เกิดการสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติและปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อม	
               อย่างต่อเนื่อง สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ได้แก่ ความ
               เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ การเน่าเสียของแม่น้ำระหว่างประเทศ มลพิษทางทะเล 	
               การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เป็นต้น
               ซึ่งได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาดังกล่าว
               จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นปัญหาข้ามพรมแดนที่ผลกระทบมิใช่
               เพียงต่อประเทศที่ก่อให้เกิดปัญหาเท่านั้น แต่อาจส่งผลต่อประเทศอื่นทั้งในระดับภูมิภาคหรือ
               ระดับโลกได้ จากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้นานาประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและความเสียหาย
               ที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ จึงส่งผลให้เกิดความร่วมมือในระดับ
               นานาชาติในอันที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกร่วมกัน เนื่องจากได้ตระหนักถึงความจำเป็น
               ในอั น ที่ จ ะต้ อ งสงวนและรั ก ษาทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ หลื อ อยู่ เ พื่ อ ให้ มี ไ ว้ ใ ช้	
               ได้อย่างพอเพียงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
                        นับตั้งแต่ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นานาชาติได้ให้ความสำคัญต่อปัญหา	
               สิ่ ง แวดล้ อ มของโลกเพิ่ ม ขึ้ น ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากการจั ด ทำอนุ สั ญ ญาและสนธิ สั ญ ญาเกี่ ย วกั บ	
               การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ มาโดยลำดับ โดยในช่วงแรกอนุสัญญา
               และสนธิสัญญาเหล่านั้นมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบางชนิด1 จนกระทั่ง
               ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 แนวคิดเรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศได้มีพัฒนาการ
               อย่างชัดเจน ได้มีการประชุมของนานาชาติเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศขึ้นหลาย
               ครั้งทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง	
               สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ณ กรุงสตอกโฮล์ม ซึ่งได้ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
               ของโลกอย่างมาก ได้มีการจัดทำอนุสัญญาและสนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

                    1	
                   Treaty for the Preservation and Protection of the Fur Seals, VIII I.P.E. 3682: 29, 418; Convention
               on Nature Protection and Wildlife Preservation in the Western Hemisphere, 161 UNTS 193. 	




_11-09(001-072)P2.indd 8                                                                                                        11/13/11 10:16:00 PM
แนวคิดและหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อม	                                       
                     ครอบคลุมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมประเภทต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่
                     การคุ้มครองพืชพันธุ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การควบคุมและแก้ไข
                     ปัญหามลพิษทางทะเลจากการเดินเรือ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก
                     และการดูแลในเรื่องภูมิอากาศของโลก เป็นต้น สนธิสัญญาและอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อม
                     ระหว่างประเทศเหล่านี้ได้มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
                     โดยการสร้างกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศผ่านกลไกของกฎหมายซึ่งเป็นที่รู้จัก	
                     กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาทิ หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักการป้องกันล่วงหน้า หลัก	
                     ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หลักอธิปไตยของรัฐเหนือสิ่งแวดล้อม และหลักความรับผิดชอบของรัฐใน        1
                     อันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
                              นอกจากการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศโดยสนธิสัญญา
                     และอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศดังกล่าวแล้ว นานาประเทศยังได้ให้ความสำคัญ
                     ต่อการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปของกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์กรระหว่างประเทศ	
                     ที่ก่อตั้งขึ้นในขณะนั้น ทั้งองค์กรระหว่างประเทศในระบบของสหประชาชาติ เช่น คณะมนตรี
                     เศรษฐกิจและสังคม องค์กรระหว่างประเทศนอกระบบของสหประชาชาติ เช่น องค์การเพื่อ
                     ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) หน่วยงานย่อยของสหประชาชาติ เช่น
                     โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) และคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ
                     (ILC) รวมทั้งองค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สหภาพระหว่าง
                     ประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นต้น การแก้ไขปัญหา	
                     สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศจะไม่มีทางสัมฤทธิผลได้เลยหากปราศจากความร่วมมือขององค์กร
                     ระหว่างประเทศเหล่านี้
                            ในบทนี้ จะได้กล่าวถึงความเป็นมาและพัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ความหมาย
                     และลักษณะของกฎหมายสิ่งแวดล้อม สิทธิในสิ่งแวดล้อมในบริบทของสิทธิมนุษยชน บทบาท	
                     ขององค์กรในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และหลักการของกฎหมายอันเป็นรากฐานในการคุ้มครอง	
                     สิ่งแวดล้อม ดังนี้
                           	




_11-09(001-072)P2.indd 9                                                                                11/13/11 10:16:01 PM
แผนภูมิที่ 1.1	                                                                                     0	




_11-09(001-072)P2.indd 10
                                	
                                      	
                                             	
                                                    	
                                                           	
                                                                	
                                                                       	
                                                                              	
                                                                                      	
                                                                                             	
                                                                                                      	
                                                                                                              	
                                                                                                                    	
                                                                                                                            	
                                                                                                                                    	
                                                                                                                                            	
                                                                                                                                                  	
                                                                                                                                                         	
                                                                                                                                                                	
                                                                                                                                                                         	
                                                                                                                                                                                  	
                                                                        แนวคิดและหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อม

                                                                           แนวคิดและหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดลอม


                             ความเปนมา                ความหมายและลักษณะของ                สิทธิมนุษยชนกับ                บทบาทขององคกรในการ                 หลักการอันเปนรากฐาน
                            และพัฒนาการ                   กฎหมายสิ่งแวดลอม                   สิ่งแวดลอม                   คุมครองสิ่งแวดลอม              ในการคุมครองสิ่งแวดลอม
                                                                                                                                                                                                                        ่




                                          แนวคิดและพัฒนาการ       สิทธิมนุษยชนในบริบทของสิ่งแวดลอม      สิทธิในสิ่งแวดลอมของคนรุนตอไป     สิทธิมนุษยชนในกฎหมายสิ่งแวดลอม



                                                    UNEP            องคกรดานสิ่งแวดลอมของไทย              คณะกรรมาธิการกฎหมายระหวางประเทศ              IUCN



                                   จารีตประเพณีระหวางประเทศ     สนธิสัญญาและอนุสัญญา        คำวินิจฉัยของศาลระหวางประเทศ         หลักกฎหมายทั่วไป      ความเห็นผูทรงคุณวุฒิ



                                ความรับผิดและการชดเชยเยียวยา        ความรับผิดชอบของรัฐ           การปองกันลวงหนา           การมีสวนรวมของประชาชน            ผูกอมลพิษเปนผูจาย




                            	
                                                                                                                                                                                           กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท




11/13/11 10:16:01 PM

Contenu connexe

Plus de CUPress

9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402CUPress
 
9789740336334
97897403363349789740336334
9789740336334CUPress
 
9789740336327
97897403363279789740336327
9789740336327CUPress
 
9789740336181
97897403361819789740336181
9789740336181CUPress
 
9789740336167
97897403361679789740336167
9789740336167CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 
9789740336402
97897403364029789740336402
9789740336402
 
9789740336334
97897403363349789740336334
9789740336334
 
9789740336327
97897403363279789740336327
9789740336327
 
9789740336181
97897403361819789740336181
9789740336181
 
9789740336167
97897403361679789740336167
9789740336167
 

9789740329008

  • 1. บทนำ 1 บทนำ _11-09(001-072)P2.indd 1 11/13/11 10:15:54 PM
  • 2. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท ่ บทนำ หนังสือนี้ได้นำเสนอถึงมาตรการทางแพ่งในการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่าง ประเทศ ในการนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาปรับใช้ในการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ได้อธิบายและวิเคราะห์ถึง กฎหมายเหล่านั้นโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามแนวคิดและทฤษฎีที่อ้างถึง โดยกฎหมายที่ได้นำเสนอ ไว้ในหนังสือนี้มี ดังนี้ 1. สนธิสัญญาและอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สนธิสัญญาและอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ระหว่ า งประเทศที่ ไ ด้ น ำเสนอไว้ ใ นหนั ง สื อ นี้ สามารถแบ่ ง ออกตามประเภทของกิ จ กรรมที่ เกี่ยวข้องได้ ดังนี้ 1.1 กิจกรรมทางนิวเคลียร์ อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมนิวเคลียร์ ดังนี้ (1) อนุสัญญาโออีซีดีว่าด้วยความรับผิดของบุคคลที่สามจากพลังงานนิวเคลียร์ ค.ศ. 1960 (Paris Convention, 1960) (2) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากนิวเคลียร์ ค.ศ. 1963 (Vienna Convention, 1963) (3) พิธีสารร่วมอันเนื่องมาจากอนุสัญญากรุงเวียนนาและอนุสัญญากรุงปารีสในความ เสียหายจากนิวเคลียร์ ค.ศ. 1988 (Joint Protocol, 1988) ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ 1.2 การขนส่งสินค้าและวัตถุอันตราย อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าและวัตถุอันตราย ดังนี้ (1) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากการขนส่งวัตถุนิวเคลียร์ ทางทะเล ค.ศ. 1971 (Brussels Convention, 1971) _11-09(001-072)P2.indd 2 11/13/11 10:15:55 PM
  • 3. บทนำ (2) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้าอันตราย โดยทางถนน ทางรถไฟ และทางน้ำ ค.ศ. 1989 (CRTD, 1989) 1.3 กิจกรรมในอวกาศ อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในอวกาศ ดังนี้ (1) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศในความเสียหายจากวัตถุในอวกาศ ค.ศ. 1972 (Space Liability Convention, 1972) 1 1.4 มลพิษจากน้ำมัน อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากมลพิษของน้ำมัน ดังนี้ (1) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากมลพิษของ น้ำมัน ค.ศ. 1969 (Brussels Convention, 1969) (2) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายจากมลพิษของน้ำมันจากการ สำรวจและขุ ด ค้ น ทรั พ ยากรแร่ ใ ต้ ท้ อ งทะเล ค.ศ. 1977 (Seabed Mineral Resources Convention, 1977) ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ (3) อนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการชดเชยสำหรับความเสีย หายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ. 1971 (Oil Pollution Fund Convention, 1971) 1.5 การขนส่งของเสียอันตราย อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าและวัตถุอันตราย ดังนี้ (1) อนุสัญญาว่าด้วยการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนและการกำจัด ค.ศ. 1989 (Basel Convention, 1989) (2) พิธีสารบาเซิลว่าด้วยความรับผิดและการชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากการ เคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด ค.ศ. 1999 (Basel Liability Protocol, 1999) _11-09(001-072)P3.indd 3 11/22/11 5:17:09 PM
  • 4. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท ่ 1.6 กิจกรรมบริเวณขั้วโลก อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมบริเวณขั้วโลก ดังนี้ (1) อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยการกำหนดหลั ก เกณฑ์ ใ นกิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ ทรั พ ยากรแร่ บ ริ เ วณ แอนตาร์กติกา ค.ศ. 1988 (CRAMRA, 1988) (2) พิธีสารว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณแอนตาร์กติกา ค.ศ. 1991 (CRAMRA Protocol, 1991) 1.7 กิจกรรมที่เป็นอันตราย อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหาย ทางสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่เป็นอันตราย ดังนี้ (1) อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยความรั บ ผิ ด ทางแพ่ ง ในความเสี ย หายอั น เกิ ด จากกิ จ กรรมที่ เ ป็ น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 1993 (Lugano Convention, 1993) 1.8 กิจกรรมอื่น ๆ กฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายทั่วไปที่สามารถนำ มาปรับใช้ในการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้ (1) คำสั่งคณะมนตรียุโรปเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ ค.ศ. 1985 2. กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศที่ได้นำเสนอไว้ในหนังสือนี้ โดยได้อ้างอิงและเทียบเคียงเข้าไว้ใน ประเด็นที่ได้กล่าวถึง ดังนี้ (1) Draft Article on State Responsibility (2) Draft Articles on International Liability for Injurious Consequences Arising out of Acts Not Prohibited by International Law (3) Resource Conservation and Recovery Act, 1976 (4) The New Zealand Environment Act, 1986 (5) The Comprehensive Environmental Responses, Compensation, Liability Act, 1980 _11-09(001-072)P3.indd 4 11/22/11 5:17:10 PM
  • 5. บทนำ 3. กฎหมายของไทย กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางแพ่งในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่ได้ นำเสนอไว้ในหนังสือนี้ ดังนี้ (1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (3) พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 (4) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (5) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 1 (6) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (7) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (8) พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 (9) ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม _11-09(001-072)P3.indd 5 11/22/11 5:17:11 PM
  • 6. _11-09(001-072)P3.indd 6 11/22/11 5:17:11 PM
  • 7. บทนำ 1 1 แนวคิดและหลักการพื้นฐาน ของกฎหมายสิ่งแวดล้อม _11-09(001-072)P2.indd 7 11/13/11 10:15:59 PM
  • 8. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท ่ 1. ความเบื้องต้น ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการถูกท้าทายจากสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นผล มาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภค แบบวัตถุนิยม ทำให้เกิดการสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติและปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ได้แก่ ความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ การเน่าเสียของแม่น้ำระหว่างประเทศ มลพิษทางทะเล การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เป็นต้น ซึ่งได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นปัญหาข้ามพรมแดนที่ผลกระทบมิใช่ เพียงต่อประเทศที่ก่อให้เกิดปัญหาเท่านั้น แต่อาจส่งผลต่อประเทศอื่นทั้งในระดับภูมิภาคหรือ ระดับโลกได้ จากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้นานาประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ จึงส่งผลให้เกิดความร่วมมือในระดับ นานาชาติในอันที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกร่วมกัน เนื่องจากได้ตระหนักถึงความจำเป็น ในอั น ที่ จ ะต้ อ งสงวนและรั ก ษาทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ หลื อ อยู่ เ พื่ อ ให้ มี ไ ว้ ใ ช้ ได้อย่างพอเพียงทั้งในปัจจุบันและอนาคต นับตั้งแต่ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นานาชาติได้ให้ความสำคัญต่อปัญหา สิ่ ง แวดล้ อ มของโลกเพิ่ ม ขึ้ น ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากการจั ด ทำอนุ สั ญ ญาและสนธิ สั ญ ญาเกี่ ย วกั บ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ มาโดยลำดับ โดยในช่วงแรกอนุสัญญา และสนธิสัญญาเหล่านั้นมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบางชนิด1 จนกระทั่ง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 แนวคิดเรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศได้มีพัฒนาการ อย่างชัดเจน ได้มีการประชุมของนานาชาติเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศขึ้นหลาย ครั้งทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ณ กรุงสตอกโฮล์ม ซึ่งได้ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ของโลกอย่างมาก ได้มีการจัดทำอนุสัญญาและสนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 1 Treaty for the Preservation and Protection of the Fur Seals, VIII I.P.E. 3682: 29, 418; Convention on Nature Protection and Wildlife Preservation in the Western Hemisphere, 161 UNTS 193. _11-09(001-072)P2.indd 8 11/13/11 10:16:00 PM
  • 9. แนวคิดและหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมประเภทต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ การคุ้มครองพืชพันธุ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การควบคุมและแก้ไข ปัญหามลพิษทางทะเลจากการเดินเรือ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก และการดูแลในเรื่องภูมิอากาศของโลก เป็นต้น สนธิสัญญาและอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างประเทศเหล่านี้ได้มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยการสร้างกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศผ่านกลไกของกฎหมายซึ่งเป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาทิ หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักการป้องกันล่วงหน้า หลัก ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หลักอธิปไตยของรัฐเหนือสิ่งแวดล้อม และหลักความรับผิดชอบของรัฐใน 1 อันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศโดยสนธิสัญญา และอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศดังกล่าวแล้ว นานาประเทศยังได้ให้ความสำคัญ ต่อการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปของกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์กรระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในขณะนั้น ทั้งองค์กรระหว่างประเทศในระบบของสหประชาชาติ เช่น คณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคม องค์กรระหว่างประเทศนอกระบบของสหประชาชาติ เช่น องค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) หน่วยงานย่อยของสหประชาชาติ เช่น โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) และคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ILC) รวมทั้งองค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สหภาพระหว่าง ประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นต้น การแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศจะไม่มีทางสัมฤทธิผลได้เลยหากปราศจากความร่วมมือขององค์กร ระหว่างประเทศเหล่านี้ ในบทนี้ จะได้กล่าวถึงความเป็นมาและพัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ความหมาย และลักษณะของกฎหมายสิ่งแวดล้อม สิทธิในสิ่งแวดล้อมในบริบทของสิทธิมนุษยชน บทบาท ขององค์กรในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และหลักการของกฎหมายอันเป็นรากฐานในการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ดังนี้ _11-09(001-072)P2.indd 9 11/13/11 10:16:01 PM
  • 10. แผนภูมิที่ 1.1 0 _11-09(001-072)P2.indd 10 แนวคิดและหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อม แนวคิดและหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดลอม ความเปนมา ความหมายและลักษณะของ สิทธิมนุษยชนกับ บทบาทขององคกรในการ หลักการอันเปนรากฐาน และพัฒนาการ กฎหมายสิ่งแวดลอม สิ่งแวดลอม คุมครองสิ่งแวดลอม ในการคุมครองสิ่งแวดลอม ่ แนวคิดและพัฒนาการ สิทธิมนุษยชนในบริบทของสิ่งแวดลอม สิทธิในสิ่งแวดลอมของคนรุนตอไป สิทธิมนุษยชนในกฎหมายสิ่งแวดลอม UNEP องคกรดานสิ่งแวดลอมของไทย คณะกรรมาธิการกฎหมายระหวางประเทศ IUCN จารีตประเพณีระหวางประเทศ สนธิสัญญาและอนุสัญญา คำวินิจฉัยของศาลระหวางประเทศ หลักกฎหมายทั่วไป ความเห็นผูทรงคุณวุฒิ ความรับผิดและการชดเชยเยียวยา ความรับผิดชอบของรัฐ การปองกันลวงหนา การมีสวนรวมของประชาชน ผูกอมลพิษเปนผูจาย กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิงแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่ง การชดเชยเยียวยา และการระงับข้อพิพาท 11/13/11 10:16:01 PM