SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1
การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น
10 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา


ความเป็นมาของสังคมวิทยา
	          Craig Calhoun (1994: 16) กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึนในปลายคริสต์
                                                            ้
ศตวรรษที่ 18 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะนั้นโลกมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ช่วงที่สังคมตะวันตกเรียกว่า “ยุคสมัยใหม่” (Modern Era) ในช่วงนั้นเกิดการ
ปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ท�ำให้ระบบ
ของสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดมีโรงงานขึ้นมากมาย
เกดความเปนเมองขนอยางรวดเรว คนสวนใหญจะอยในเมองมากกวาอยในชนบท
   ิ        ็ ื ึ้ ่           ็     ่      ่ ู่ ื            ่ ู่
	           ส่วน Ed Vaughan (2001: 2) กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึ้นในยุโรป
ตะวันตกในศตวรรษที่ 18 สังคมวิทยาเกิดขึ้นมาในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง
หลายอย่างในยุโรป เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติในฝรั่งเศส และ
สงครามนโปเลียน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาในขณะนั้นคือ เกิดกระบวนการการกลาย
เป็นเมืองขึ้นมา (urbanization) กระจายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว ช่วงระยะเวลา
นั้นมีนักคิดมากมายที่เริ่มคิดว่าอะไรท�ำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้นขึ้นมา และ
จ�ำเป็นต้องใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาสังคม
	         สังคมวิทยาเริมท�ำความเข้าใจกับสังคมในภาพรวมทังหมด และพยายาม
                       ่                                  ้
เขาใจถงธรรมชาตของการเปลยนแปลงทางสงคม สงคมเปนแนวคดทวไปทประกอบ
    ้ ึ          ิ          ี่           ั      ั    ็      ิ ั่ ี่
ไปด้วยโครงสร้าง และมีการจัดระเบียบทางสังคม โครงสร้างนั้นประกอบไปด้วย
สถาบันต่าง ๆ เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา ฯลฯ
ซึ่งสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องคงอยู่และอยู่ต่อไปจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่น
หนึ่ง ในระยะแรก ๆ นักสังคมวิทยามีความสนใจในการล่มสลายของสังคมเก่า
และการเกิดใหม่ของสังคมแบบใหม่ และสนใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น
มีผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลอย่างไร
การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 11


	           ในช่วงระยะเวลานันนักวิชาการหลายสาขาพยายามทีจะอธิบายปรากฏ
                            ้                            ่
การณ์ของสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ไม่สามารถกระท�ำได้ เพราะนักจิตวิทยา
ก็มุ่งแต่จะศึกษาระดับปัจเจกบุคคล นักรัฐศาสตร์ก็ศึกษาระบบการเมืองการ
ปกครอง นักมานุษยวิทยาก็ศึกษาลักษณะความหลากหลายของวัฒนธรรม
นักเศรษฐศาสตร์ก็ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและ
มหภาค มีเพียงนักสังคมวิทยาเท่านั้นที่จะศึกษาเน้นในเรื่องของพฤติกรรมของ
กลุมคนในสังคมในภาพรวมทังหมด แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เฉพาะศาสตร์ใดศาสตร์
   ่                          ้
หนงเทานนทจะศกษาหรออธบายชวงเปลยนถายของสงคมยโรปไดแตเพยงลำพง
     ึ่ ่ ั้ ี่ ึ       ื ิ      ่     ี่ ่      ั     ุ    ้ ่ ี � ั
สังคมยุโรปที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลงจากระบบศักดินาไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ
อุตสาหกรรม
	          อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบศักดินาเข้าสู่สังคม
อุตสาหกรรม ท�ำให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น ความยากจน ความไร้ระเบียบ
ความยุตธรรม รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอืน ๆ สังคมวิทยาเกิดขึนก็เพือ
       ิ                                      ่                 ้ ่
ตอบปัญหาความไม่เป็นธรรมและความไม่ยตธรรมทีตามมากับสังคมอุตสาหกรรม
                                      ุ ิ   ่
ทุนนิยมนั่นเอง
	           สุพัตรา สุภาพ (2546 : 1) กล่าวว่าสังคมวิทยาจัดเป็นแขนงวิชาหนึ่ง
ที่ถูกจัดไว้ในหมวดสังคมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาสังคมมนุษย์ วิชานี้มีอดีต
อันยาวนานแต่กลับมีประวัตความเป็นมาอันสัน โดยตังแต่แรกเริมของอารยธรรม
                           ิ               ้      ้         ่
เรองสงคมเปนเรองทมนษยใหความสนใจมานาน พอจะกลาวไดวา บทความของ
   ื่ ั       ็ ื่ ี่ ุ ์ ้                            ่ ้่
เพลโต (The Republic of Plato) เป็นข้อเขียนที่ยิ่งใหญ่อันแรกเกี่ยวกับความรู้
ทางสังคมวิทยาในเรืองประเพณีของสังคมตะวันตก ขณะเดียวกันค�ำสอนของขงจือ
                    ่                                                   ๊
ก็เป็นเรืองของความรูทางสังคมวิทยาของสังคมตะวันออก แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง
         ่            ้
12 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา


อาจจะกล่าวได้วา ได้ให้ความรูทางสังคมวิทยามานานแล้วเช่นกัน เพราะพระองค์
                ่           ้
ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในสภาพของชีวิตมนุษย์ในทุกแง่ทุกมุม โดยอาศัยการค้นคว้า
หาความเป็นจริงทางสังคม (social fact) ชีวิตต้องอธิบายโดยข้อเท็จจริงทาง
สังคมว่าอะไรดีอะไรชัว และให้ขอคิดในทางทีถกทีควรส�ำหรับสิงทีจะน�ำผลดีและ
                     ่        ้          ู่ ่               ่ ่
ผลเสียมาสูสงคม ดังนันเราจะเห็นได้วาการแสดงความคิดเห็นเกียวกับสังคมมนุษย์
           ่ั          ้          ่                       ่
มีมานานแล้วก็จริง แต่สังคมวิทยาเพิ่งมาแยกออกเป็นศาสตร์วิชาหนึ่ง ในฐานะ
เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้เอง เดิมนั้นวิทยาศาสตร์ทั้ง
หลายเป็นส่วนหนึงของปรัชญา แล้วต่างก็แยกตัวออกเป็นวิชาหนึง ๆ ดาราศาสตร์
                  ่                                          ่
กับฟิสิกส์เป็นสาขาแรก ต่อมาก็เป็นเคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยา พอในคริสต์
ศตวรรษที่ 19 มีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นใหม่สองแขนงได้แก่ จิตวิทยา ซึ่งเป็น
วิทยาศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมวิทยาซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์
ว่าด้วยสังคมมนุษย์
	            สังคมวิทยา ประกอบด้วยค�ำ  2 ค�ำ  คือ ค�ำว่า socius ซึ่งมีความ
หมายว่าเพื่อนหรือผู้คบหาสมาคม และค�ำว่า logos มีความหมายว่าค�ำพูดหรือ
ถ้อยค�ำ เมือรวมค�ำสองค�ำนีเข้าด้วยกันก็แปลว่า การพูดคุยเกียวกับสังคม อย่างไร
           ่                ้                              ่
ก็ตาม ค�ำว่า socius เป็นค�ำภาษาละติน แต่ค�ำว่า logos เป็นค�ำภาษากรีก
ศาสตร์แขนงใหม่นี้จึงเป็นการรวมค�ำที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์เพราะ
มาจากสองภาษา ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ John Stuart
Mill ได้เสนอให้ใช้ค�ำว่า ethnology (ชาติพันธุ์วิทยา) เพราะเป็นค�ำกรีกแท้ ๆ แต่
ไม่มีใครน�ำไปใช้ (John Stuart Mill อ้างในสุพัตรา สุภาพ 2546 : 1)
การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 13


ความหมายของสังคมวิทยา
	         จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นท�ำให้เกิดความสงสัยต่อมาว่าสังคมวิทยา
คืออะไร ศึกษาเกี่ยวกับอะไร และมีลักษณะต่างจากวิชาอื่นอย่างไร เป็นค�ำถามที่
เราจะต้องท�ำความเข้าใจกันก่อน ความหมายของสังคมวิทยาได้มผให้ความหมาย
                                                           ี ู้
ไว้มากมาย เช่น
	          Richard T. Schaefer (2004: 3) กล่าวว่า สังคมวิทยาคือการศึกษา
พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์และศึกษากลุ่มคน นอกจากนั้นยังมุ่งศึกษาความ
สัมพันธ์ทางสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคน
อย่างไร ความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านั้น จะมีการพัฒนาหรือ
มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไรบ้าง
	        James W. & Vander Zanden (1993: 2) กลาววา สงคมวทยาเปนการ
                                               ่ ่ ั ิ          ็
ศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการกระท�ำระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม
และการจัดระเบียบทางสังคม (social interaction and organization)
	         นอกจากนี้สุพัตรา สุภาพ (2546 : 4-5) ยังได้อ้างถึงนักสังคมวิทยา
ท่านอื่น ๆ อีกที่กล่าวถึงความหมายของสังคมวิทยา ดังนี้
	          Pitirim A. Sorokin กล่าวว่า สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไป
เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของสังคม โดยดูจากรูปทั่ว ๆ ไป ชนิดและ
ความสัมพันธ์อันซับซ้อน
	       Georg Simmel นิยามสังคมวิทยาว่า เป็นวิทยาศาสตร์ของการศึกษา
พฤติกรรมของมนุษย์
14 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา


	          Albion Small เห็นว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคม
	          Robert E. Park เห็นว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมร่วม
	          Max Weber อธิบายว่า สังคมวิทยามุ่งศึกษาเพื่อก�ำหนดแบบแนว
ความคิดต่าง ๆ และหาหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏเป็นแบบเดียวกับ
ของกระบวนการที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง สังคมวิทยาแตกต่างจาก
ประวัติศาสตร์ตรงที่ว่า ประวัติศาสตร์มุ่งศึกษาเหตุการณ์เฉพาะ ส่วนสังคมวิทยา
มุ่งวิเคราะห์หาสาเหตุและอธิบายพฤติกรรมที่ส�ำคัญของบุคคล สถาบัน และ
บุคลิกภาพพิเศษบางอย่าง
	          ผู้รู้บางพวกถือว่า แม้สังคมวิทยาจะเป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ แต่ก็
มุ่งศึกษาถึงกลุ่มทางสังคม สถาบันสังคม และแบบแผนความเกี่ยวพันต่อกันทาง
สังคม
	         โดยทวไป ความหมายทนยมหมายถง วชาการแขนงหนงททำการศกษา
                ั่            ี่ ิ     ึ ิ             ึ่ ี่ �      ึ
ระบบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์โดยทั่วไป และผลที่เกิดขึ้นจาก
ความสัมพันธ์นั้น
	         สรปแลว สงคมวทยาเปนการศกษาถงความสมพนธของมนษยในสงคม
             ุ ้ ั ิ            ็    ึ    ึ       ั ั ์        ุ ์ ั
ความสัมพันธ์เหล่านันไม่วาจะอยูในรูปแบบใดหรือเพือวัตถุประสงค์อนใด มีความ
                   ้ ่        ่                 ่            ั
ส�ำคัญต่อสังคมในการด�ำรงอยู่ต่อไปของชีวิตมนุษย์

คุณลักษณะส�ำคัญของสังคมวิทยา
	        ดวยเหตทวชาสงคมวทยาเปนวชาทศกษาถงความสมพนธของมนษยใน
          ้    ุ ี่ ิ ั ิ       ็ ิ ี่ ึ     ึ       ั ั ์      ุ ์
สังคมหรือการกระท�ำระหว่างกันของมนุษย์ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 15


ดังนั้นเราอาจจะจ�ำแนกคุณลักษณะส�ำคัญของวิชานี้ได้สองประการดังนี้ ประการ
แรกคอ การศกษาวชาสงคมวทยาโดยวธการทางวทยาศาสตร์ และประการทสอง
       ื     ึ ิ ั ิ               ิี         ิ                      ี่
คือ การศึกษาสังคมวิทยาในส่วนที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการกระท�ำระหว่างกันใน
ทางสังคม
	          ประการแรก สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ ในอดีตการศึกษาสังคมมี
ลักษณะเป็นแบบ normative approach กล่าวคือ เป็นการศึกษาสังคมโดยใช้
สามัญส�ำนึก หรือน�ำเอาอคติหรือความเห็นส่วนตัว (subjective approach)
เข้ามาศึกษา โดยมีแนวความคิดมาจากขนบธรรมเนียมประเพณี บรรทัดฐานของ
สังคม ระบบความเชื่อ ศาสนา เป็นต้น แนวโน้มของการศึกษาสังคมในปัจจุบัน
จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาสังคมมากขึ้น (scientififific method) ซึ่ง
ประกอบด้วยการสังเกต การทดลอง และการเปรียบเทียบ
	              แตอยางไรกตาม ในประเดนทวา จะใชวทยาศาสตรมาศกษาสงคมนน
                 ่ ่    ็            ็ ี่ ่   ้ิ           ์ ึ       ั     ั้
ในความเป็นจริงจะเห็นได้วา วิธการทางวิทยาศาสตร์ยงไม่สามารถใช้ศกษาสังคม
                           ่ ี                    ั               ึ
ได้ทั้งหมด เช่น ในเรื่องค่านิยม ความเชื่อ ไสยศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้
ยังคงต้องอาศัยจิตส�ำนึก สามัญส�ำนึก หรือความรู้สึกส่วนตัวค่อนข้างมากทีเดียว
ฉะนัน ในการศึกษาสังคมจึงยังคงมีทงลักษณะทีเ่ ป็น normative approach และ
      ้                           ั้
scientififific method ผสมอยู่
	         อนึง ในการศึกษาสังคมโดยใช้วธการทางวิทยาศาสตร์มพนฐานส�ำคัญ
             ่                        ิี                    ี ื้
อกประการหนงกคอ การศกษาปรากฏการณตาง ๆ ในสงคมอยางเปน “วตถวสย”
  ี            ึ่ ็ ื   ึ                ์ ่         ั   ่ ็ ั ุิั
(objective approach) ซึ่งหมายถึง การไม่น�ำเอาอคติส่วนตัวเข้าไปศึกษา หรือ
ความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปศึกษาหรือตัดสินสิงต่าง ๆ ซึงประเด็นตรงนีคอนข้างที่
                                           ่       ่             ้ ่
16 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา


จะท�ำใจได้ยากล�ำบาก เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มักจะมีอคติในตัวอยู่บ้างไม่มากก็
นอย มกจะมองสงตาง ๆ แลวประเมนตามความรสกของตนเองเปนเกณฑ์ สงหนง
 ้ ั              ิ่ ่       ้      ิ             ู้ ึ     ็        ิ่ ึ่
ที่นักสังคมวิทยาพึงระวังให้มากที่สุดก็คือ พยายามลดอคติให้มากที่สุด หรือท�ำ
อย่างไรเพื่อให้มีอคติน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยยิ่งดี
	           ประการที่สอง สังคมวิทยาเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการกระท�ำ
ระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม (social interaction) หรือเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม (social relationship) หรือเป็นการศึกษา
พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม สังคมวิทยาจัดเป็นวิชาหนึ่งในสังคมศาสตร์ (So-
cial Sciences) โดยปกติทั่วไป สาขาวิชาต่าง ๆ ในสังคมศาสตร์ ล้วนแต่ศึกษา
สังคมและพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ศึกษากันคนละด้าน สาขาของ
สังคมศาสตร์ที่ส�ำคัญได้แก่ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา
และจตวทยา สาขาทงหานมความสมพนธกน มความเหมอนความแตกตางอยางไร
      ิ ิ            ั้ ้ ี้ ี   ั ั ์ั ี          ื              ่ ่
บ้าง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น (James W. & Vander Zanden, 1993: 2)
	             นอกจากนี้ Richard T. Schaefer (2004: 3) ยังได้กล่าวถึงจินตนาการ
ทางสังคมวิทยา (The Sociological Imagination) ของ C. Wright Mills ว่าเขา
ไดอธบายคำวาจนตนาการทางสงคมวทยาวา หมายถงความรความเขาใจเกยวกบ
    ้ ิ       � ่ ิ              ั ิ ่                 ึ    ู้      ้    ี่ ั
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม
นั้นไม่ใช่เรื่องปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของสังคมด้วย C. Wright Mills
ยกตัวอย่างเรื่องการหย่าร้าง การหย่าร้างไม่ใช่เรื่องเฉพาะปัจเจกบุคคลหรือเป็น
ปญหาสวนตวของใครคนใดคนหนง แตเปนปญหาทเกยวของกบสงคมดวย สงคม
  ั      ่ ั                       ึ่ ่ ็ ั         ี่ ี่ ้ ั ั        ้ ั
จะต้องรับรู้และมีความตระหนักเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน อัตราการหย่าร้างที่สูง
เพิ่มมากขึ้น มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบัน
การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 17


ครอบครัว สถาบันครอบครัวทุกวันนี้นอกจากจะมีเรื่องการหย่าร้างแล้ว ยังมีเรื่อง
อน ๆ อก เชน เรองพอเลยงแมเลยง การแตงงานใหม่ เรองเดกถกทอดทง เปนตน
 ื่   ี ่ ื่ ่ ี้ ่ ี้               ่           ื่ ็ ู         ิ้ ็ ้
	         เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ทีมผกอการร้ายโจมตีสหรัฐอเมริกาทีตก
                                        ่ ี ู้ ่                      ่ ึ
World Trade นั้น ก็เป็นตัวอย่างในเรื่องของ Sociological Imagination ด้วย
เชนกน เพราะเหตการณครงนน ชาวโลกไมไดมองวาเปนเรองสวนตวระหวางใคร
  ่ ั           ุ     ์ ั้ ั้            ่ ้ ่ ็ ื่ ่ ั            ่
กับใคร แต่ทุกคนกลับมองว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผลกระทบต่อทั่วโลกอย่างไรบ้าง
นักสังคมวิทยาบางคนกลับมองเห็นว่าเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 นั้น มีเหตุมา
จากทุกคน และเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในโลกด้วย

ขอบเขตของสังคมวิทยา
	         สังคมวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม
ฉะนั้น ขอบเขตของสังคมวิทยาจึงกว้างขวางมาก เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ไม่
ว่าจะมีรปแบบหรือลักษณะใดก็ตาม ย่อมเกียวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
        ู                                ่
และระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
ก็ตาม กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ สถาบันสังคมต่าง ๆ เช่น ครอบครัว เศรษฐกิจ
การปกครอง ศาสนา การศึกษา สื่อมวลชน นันทนาการ เป็นต้น
	            ด้วยเหตุที่สังคมวิทยามีเนื้อหาสาระที่กว้างขวางมาก จึงเป็นเหตุท�ำให้
มีเนื้อหาซ�้ำซ้อนกับศาสตร์อื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การซ�้ำซ้อนนั้นเป็นเพียงการ
ซ�ำซ้อนเฉพาะประเด็นปัญหาเท่านัน ส่วนวิธการศึกษาหรือการอธิบายปรากฏการณ์
  ้                               ้         ี
เหล่านั้น นักสังคมวิทยาก็จะมีแนวคิดหรือทฤษฎีหรือแนวการศึกษาวิเคราะห์ที่
ต่างไปจากศาสตร์อื่น ๆ
18 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา


ทฤษฎีทางสังคมวิทยาคืออะไร
	           Richard T. Schaefer (2004: 8) ไดตงคำถามไววาทฤษฎทางสงคมวทยา
                                            ้ ั้ �    ้่   ี ั ิ
คืออะไร (What is sociological theory?) เขาเลยเสนอให้ลองคิดกันดูวา ถ้าหาก
                                                                ่
ถามวา ทำไมคนจงฆาตวตาย คำตอบแบบสามญสำนกคงจะตอบวาคนฆาตวตาย
        ่ �        ึ ่ ั       �                ั � ึ       ่     ่ ั
เพราะเขาต้องการฆ่าตัวตายเอง ในแง่มุมของนักสังคมวิทยาไม่ได้สนใจว่าท�ำไม
ปัจเจกชนจึงฆ่าตัวตาย แต่นักสังคมวิทยากลับมองว่าอะไรคือปัจจัยหรือสาเหตุ
ทางสงคมททำใหคนฆาตวตาย นกสงคมวทยาตองคดอยางเปนระบบ และทำการ
      ั      ี่ � ้ ่ ั          ั ั ิ           ้ ิ ่ ็              �
วิจัย ต้องอาศัยทฤษฎีทางสังคมวิทยามาอธิบายเรื่องพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
	         ทฤษฎี คือ ค�ำอธิบายปัญหา การกระท�ำ หรือพฤติกรรมของคนในสังคม
อย่างเป็นระบบ ทฤษฎีสามารถใช้ในการอธิบายและท�ำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ
ในสังคมได้
	          Durkheim ใช้ทฤษฎีในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการฆ่าตัวตาย
กบความเปนจรงทางสงคม Durkheim ไมไดสนใจเรองบคลกภาพของปจเจกบคคล
    ั      ็ ิ        ั              ่ ้       ื่ ุ ิ       ั      ุ
เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย แต่เขาสนใจอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ เช่น
ประเทศอังกฤษ อัตราการฆ่าตัวตายเพียง 67 คนต่อล้านคน ประเทศฝรั่งเศส
อตราการฆาตวตายคอ 135 คนตอลานคน ประเทศเดนมารกอตราการฆาตวตาย
  ั         ่ ั     ื          ่ ้                    ์ ั     ่ ั
คือ 277 คนต่อล้านคน มีค�ำถามเกิดขึ้นว่า ท�ำไมประเทศเดนมาร์กเมื่อเปรียบ
เทียบกับประเทศอื่นแล้วจึงมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงมากกว่า
	           Durkheim ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Suicide ใน ค.ศ. 1897 หนังสือเล่ม
นี้เป็นผลงานชิ้นส�ำคัญของเขา ที่เขาพยายามจะเน้นให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายนั้น
มีความสัมพันธ์กับความเป็นจริงทางสังคม เช่น ความผูกพันหรือการขาดความ
ผูกพันที่มีต่อศาสนา สังคม และกลุ่มอาชีพ

Contenu connexe

Tendances

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องKittichai Pinlert
 
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นPaew Tongpanya
 
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการkrupeem
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมWatcharapol Wiboolyasarin
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์โทโต๊ะ บินไกล
 
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.Prachyanun Nilsook
 
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับบุญรักษา ของฉัน
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกChainarong Maharak
 
การวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจkhuwawa2513
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดSani Satjachaliao
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศmaerimwittayakom school
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานSAKANAN ANANTASOOK
 
ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อsukanya5729
 

Tendances (20)

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
 
ปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้นปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้น
 
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยและนวัตกรรมให้ได้ทุนวิจัยจากสำนักงาน วช.
 
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
 
58210401110 งาน1 ss ครับ
58210401110 งาน1 ss ครับ58210401110 งาน1 ss ครับ
58210401110 งาน1 ss ครับ
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
 
การวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจ
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
 
ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อ
 

Similaire à 9789740329817

สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteSani Satjachaliao
 
ความดี
ความดีความดี
ความดีroh1109
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่T Ton Ton
 
วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02Jaji Biwty
 
วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002Jaji Biwty
 
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้าPol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้าประพันธ์ เวารัมย์
 
9789740330479
97897403304799789740330479
9789740330479CUPress
 
9789740330479
97897403304799789740330479
9789740330479CUPress
 
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาSani Satjachaliao
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปีPa'rig Prig
 

Similaire à 9789740329817 (20)

เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด a
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด aเนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด a
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด a
 
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
 
ธรรมชาติ
ธรรมชาติธรรมชาติ
ธรรมชาติ
 
387442 1
387442 1387442 1
387442 1
 
ความดี
ความดีความดี
ความดี
 
123456
123456123456
123456
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษาปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
 
วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02วิชาสังคมวิทยา02
วิชาสังคมวิทยา02
 
วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002วิชาสังคมวิทยา 002
วิชาสังคมวิทยา 002
 
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้าPol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
 
9789740330479
97897403304799789740330479
9789740330479
 
9789740330479
97897403304799789740330479
9789740330479
 
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
thesis 1
thesis 1thesis 1
thesis 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 

9789740329817

  • 2. 10 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา ความเป็นมาของสังคมวิทยา Craig Calhoun (1994: 16) กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึนในปลายคริสต์ ้ ศตวรรษที่ 18 ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะนั้นโลกมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่วงที่สังคมตะวันตกเรียกว่า “ยุคสมัยใหม่” (Modern Era) ในช่วงนั้นเกิดการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ท�ำให้ระบบ ของสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดมีโรงงานขึ้นมากมาย เกดความเปนเมองขนอยางรวดเรว คนสวนใหญจะอยในเมองมากกวาอยในชนบท ิ ็ ื ึ้ ่ ็ ่ ่ ู่ ื ่ ู่ ส่วน Ed Vaughan (2001: 2) กล่าวว่าสังคมวิทยาเกิดขึ้นในยุโรป ตะวันตกในศตวรรษที่ 18 สังคมวิทยาเกิดขึ้นมาในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง หลายอย่างในยุโรป เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติในฝรั่งเศส และ สงครามนโปเลียน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาในขณะนั้นคือ เกิดกระบวนการการกลาย เป็นเมืองขึ้นมา (urbanization) กระจายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว ช่วงระยะเวลา นั้นมีนักคิดมากมายที่เริ่มคิดว่าอะไรท�ำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้นขึ้นมา และ จ�ำเป็นต้องใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาสังคม สังคมวิทยาเริมท�ำความเข้าใจกับสังคมในภาพรวมทังหมด และพยายาม ่ ้ เขาใจถงธรรมชาตของการเปลยนแปลงทางสงคม สงคมเปนแนวคดทวไปทประกอบ ้ ึ ิ ี่ ั ั ็ ิ ั่ ี่ ไปด้วยโครงสร้าง และมีการจัดระเบียบทางสังคม โครงสร้างนั้นประกอบไปด้วย สถาบันต่าง ๆ เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา ฯลฯ ซึ่งสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องคงอยู่และอยู่ต่อไปจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่น หนึ่ง ในระยะแรก ๆ นักสังคมวิทยามีความสนใจในการล่มสลายของสังคมเก่า และการเกิดใหม่ของสังคมแบบใหม่ และสนใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น มีผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลอย่างไร
  • 3. การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 11 ในช่วงระยะเวลานันนักวิชาการหลายสาขาพยายามทีจะอธิบายปรากฏ ้ ่ การณ์ของสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ไม่สามารถกระท�ำได้ เพราะนักจิตวิทยา ก็มุ่งแต่จะศึกษาระดับปัจเจกบุคคล นักรัฐศาสตร์ก็ศึกษาระบบการเมืองการ ปกครอง นักมานุษยวิทยาก็ศึกษาลักษณะความหลากหลายของวัฒนธรรม นักเศรษฐศาสตร์ก็ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและ มหภาค มีเพียงนักสังคมวิทยาเท่านั้นที่จะศึกษาเน้นในเรื่องของพฤติกรรมของ กลุมคนในสังคมในภาพรวมทังหมด แต่อย่างไรก็ตาม ไม่เฉพาะศาสตร์ใดศาสตร์ ่ ้ หนงเทานนทจะศกษาหรออธบายชวงเปลยนถายของสงคมยโรปไดแตเพยงลำพง ึ่ ่ ั้ ี่ ึ ื ิ ่ ี่ ่ ั ุ ้ ่ ี � ั สังคมยุโรปที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลงจากระบบศักดินาไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ อุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบศักดินาเข้าสู่สังคม อุตสาหกรรม ท�ำให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น ความยากจน ความไร้ระเบียบ ความยุตธรรม รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอืน ๆ สังคมวิทยาเกิดขึนก็เพือ ิ ่ ้ ่ ตอบปัญหาความไม่เป็นธรรมและความไม่ยตธรรมทีตามมากับสังคมอุตสาหกรรม ุ ิ ่ ทุนนิยมนั่นเอง สุพัตรา สุภาพ (2546 : 1) กล่าวว่าสังคมวิทยาจัดเป็นแขนงวิชาหนึ่ง ที่ถูกจัดไว้ในหมวดสังคมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาสังคมมนุษย์ วิชานี้มีอดีต อันยาวนานแต่กลับมีประวัตความเป็นมาอันสัน โดยตังแต่แรกเริมของอารยธรรม ิ ้ ้ ่ เรองสงคมเปนเรองทมนษยใหความสนใจมานาน พอจะกลาวไดวา บทความของ ื่ ั ็ ื่ ี่ ุ ์ ้ ่ ้่ เพลโต (The Republic of Plato) เป็นข้อเขียนที่ยิ่งใหญ่อันแรกเกี่ยวกับความรู้ ทางสังคมวิทยาในเรืองประเพณีของสังคมตะวันตก ขณะเดียวกันค�ำสอนของขงจือ ่ ๊ ก็เป็นเรืองของความรูทางสังคมวิทยาของสังคมตะวันออก แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ่ ้
  • 4. 12 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา อาจจะกล่าวได้วา ได้ให้ความรูทางสังคมวิทยามานานแล้วเช่นกัน เพราะพระองค์ ่ ้ ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในสภาพของชีวิตมนุษย์ในทุกแง่ทุกมุม โดยอาศัยการค้นคว้า หาความเป็นจริงทางสังคม (social fact) ชีวิตต้องอธิบายโดยข้อเท็จจริงทาง สังคมว่าอะไรดีอะไรชัว และให้ขอคิดในทางทีถกทีควรส�ำหรับสิงทีจะน�ำผลดีและ ่ ้ ู่ ่ ่ ่ ผลเสียมาสูสงคม ดังนันเราจะเห็นได้วาการแสดงความคิดเห็นเกียวกับสังคมมนุษย์ ่ั ้ ่ ่ มีมานานแล้วก็จริง แต่สังคมวิทยาเพิ่งมาแยกออกเป็นศาสตร์วิชาหนึ่ง ในฐานะ เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้เอง เดิมนั้นวิทยาศาสตร์ทั้ง หลายเป็นส่วนหนึงของปรัชญา แล้วต่างก็แยกตัวออกเป็นวิชาหนึง ๆ ดาราศาสตร์ ่ ่ กับฟิสิกส์เป็นสาขาแรก ต่อมาก็เป็นเคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยา พอในคริสต์ ศตวรรษที่ 19 มีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นใหม่สองแขนงได้แก่ จิตวิทยา ซึ่งเป็น วิทยาศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมวิทยาซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยสังคมมนุษย์ สังคมวิทยา ประกอบด้วยค�ำ 2 ค�ำ คือ ค�ำว่า socius ซึ่งมีความ หมายว่าเพื่อนหรือผู้คบหาสมาคม และค�ำว่า logos มีความหมายว่าค�ำพูดหรือ ถ้อยค�ำ เมือรวมค�ำสองค�ำนีเข้าด้วยกันก็แปลว่า การพูดคุยเกียวกับสังคม อย่างไร ่ ้ ่ ก็ตาม ค�ำว่า socius เป็นค�ำภาษาละติน แต่ค�ำว่า logos เป็นค�ำภาษากรีก ศาสตร์แขนงใหม่นี้จึงเป็นการรวมค�ำที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์เพราะ มาจากสองภาษา ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ John Stuart Mill ได้เสนอให้ใช้ค�ำว่า ethnology (ชาติพันธุ์วิทยา) เพราะเป็นค�ำกรีกแท้ ๆ แต่ ไม่มีใครน�ำไปใช้ (John Stuart Mill อ้างในสุพัตรา สุภาพ 2546 : 1)
  • 5. การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 13 ความหมายของสังคมวิทยา จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นท�ำให้เกิดความสงสัยต่อมาว่าสังคมวิทยา คืออะไร ศึกษาเกี่ยวกับอะไร และมีลักษณะต่างจากวิชาอื่นอย่างไร เป็นค�ำถามที่ เราจะต้องท�ำความเข้าใจกันก่อน ความหมายของสังคมวิทยาได้มผให้ความหมาย ี ู้ ไว้มากมาย เช่น Richard T. Schaefer (2004: 3) กล่าวว่า สังคมวิทยาคือการศึกษา พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์และศึกษากลุ่มคน นอกจากนั้นยังมุ่งศึกษาความ สัมพันธ์ทางสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคน อย่างไร ความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านั้น จะมีการพัฒนาหรือ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไรบ้าง James W. & Vander Zanden (1993: 2) กลาววา สงคมวทยาเปนการ ่ ่ ั ิ ็ ศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการกระท�ำระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม และการจัดระเบียบทางสังคม (social interaction and organization) นอกจากนี้สุพัตรา สุภาพ (2546 : 4-5) ยังได้อ้างถึงนักสังคมวิทยา ท่านอื่น ๆ อีกที่กล่าวถึงความหมายของสังคมวิทยา ดังนี้ Pitirim A. Sorokin กล่าวว่า สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของสังคม โดยดูจากรูปทั่ว ๆ ไป ชนิดและ ความสัมพันธ์อันซับซ้อน Georg Simmel นิยามสังคมวิทยาว่า เป็นวิทยาศาสตร์ของการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์
  • 6. 14 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา Albion Small เห็นว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคม Robert E. Park เห็นว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมร่วม Max Weber อธิบายว่า สังคมวิทยามุ่งศึกษาเพื่อก�ำหนดแบบแนว ความคิดต่าง ๆ และหาหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏเป็นแบบเดียวกับ ของกระบวนการที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง สังคมวิทยาแตกต่างจาก ประวัติศาสตร์ตรงที่ว่า ประวัติศาสตร์มุ่งศึกษาเหตุการณ์เฉพาะ ส่วนสังคมวิทยา มุ่งวิเคราะห์หาสาเหตุและอธิบายพฤติกรรมที่ส�ำคัญของบุคคล สถาบัน และ บุคลิกภาพพิเศษบางอย่าง ผู้รู้บางพวกถือว่า แม้สังคมวิทยาจะเป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ แต่ก็ มุ่งศึกษาถึงกลุ่มทางสังคม สถาบันสังคม และแบบแผนความเกี่ยวพันต่อกันทาง สังคม โดยทวไป ความหมายทนยมหมายถง วชาการแขนงหนงททำการศกษา ั่ ี่ ิ ึ ิ ึ่ ี่ � ึ ระบบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์โดยทั่วไป และผลที่เกิดขึ้นจาก ความสัมพันธ์นั้น สรปแลว สงคมวทยาเปนการศกษาถงความสมพนธของมนษยในสงคม ุ ้ ั ิ ็ ึ ึ ั ั ์ ุ ์ ั ความสัมพันธ์เหล่านันไม่วาจะอยูในรูปแบบใดหรือเพือวัตถุประสงค์อนใด มีความ ้ ่ ่ ่ ั ส�ำคัญต่อสังคมในการด�ำรงอยู่ต่อไปของชีวิตมนุษย์ คุณลักษณะส�ำคัญของสังคมวิทยา ดวยเหตทวชาสงคมวทยาเปนวชาทศกษาถงความสมพนธของมนษยใน ้ ุ ี่ ิ ั ิ ็ ิ ี่ ึ ึ ั ั ์ ุ ์ สังคมหรือการกระท�ำระหว่างกันของมนุษย์ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • 7. การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 15 ดังนั้นเราอาจจะจ�ำแนกคุณลักษณะส�ำคัญของวิชานี้ได้สองประการดังนี้ ประการ แรกคอ การศกษาวชาสงคมวทยาโดยวธการทางวทยาศาสตร์ และประการทสอง ื ึ ิ ั ิ ิี ิ ี่ คือ การศึกษาสังคมวิทยาในส่วนที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการกระท�ำระหว่างกันใน ทางสังคม ประการแรก สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ ในอดีตการศึกษาสังคมมี ลักษณะเป็นแบบ normative approach กล่าวคือ เป็นการศึกษาสังคมโดยใช้ สามัญส�ำนึก หรือน�ำเอาอคติหรือความเห็นส่วนตัว (subjective approach) เข้ามาศึกษา โดยมีแนวความคิดมาจากขนบธรรมเนียมประเพณี บรรทัดฐานของ สังคม ระบบความเชื่อ ศาสนา เป็นต้น แนวโน้มของการศึกษาสังคมในปัจจุบัน จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาสังคมมากขึ้น (scientififific method) ซึ่ง ประกอบด้วยการสังเกต การทดลอง และการเปรียบเทียบ แตอยางไรกตาม ในประเดนทวา จะใชวทยาศาสตรมาศกษาสงคมนน ่ ่ ็ ็ ี่ ่ ้ิ ์ ึ ั ั้ ในความเป็นจริงจะเห็นได้วา วิธการทางวิทยาศาสตร์ยงไม่สามารถใช้ศกษาสังคม ่ ี ั ึ ได้ทั้งหมด เช่น ในเรื่องค่านิยม ความเชื่อ ไสยศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ยังคงต้องอาศัยจิตส�ำนึก สามัญส�ำนึก หรือความรู้สึกส่วนตัวค่อนข้างมากทีเดียว ฉะนัน ในการศึกษาสังคมจึงยังคงมีทงลักษณะทีเ่ ป็น normative approach และ ้ ั้ scientififific method ผสมอยู่ อนึง ในการศึกษาสังคมโดยใช้วธการทางวิทยาศาสตร์มพนฐานส�ำคัญ ่ ิี ี ื้ อกประการหนงกคอ การศกษาปรากฏการณตาง ๆ ในสงคมอยางเปน “วตถวสย” ี ึ่ ็ ื ึ ์ ่ ั ่ ็ ั ุิั (objective approach) ซึ่งหมายถึง การไม่น�ำเอาอคติส่วนตัวเข้าไปศึกษา หรือ ความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปศึกษาหรือตัดสินสิงต่าง ๆ ซึงประเด็นตรงนีคอนข้างที่ ่ ่ ้ ่
  • 8. 16 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา จะท�ำใจได้ยากล�ำบาก เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มักจะมีอคติในตัวอยู่บ้างไม่มากก็ นอย มกจะมองสงตาง ๆ แลวประเมนตามความรสกของตนเองเปนเกณฑ์ สงหนง ้ ั ิ่ ่ ้ ิ ู้ ึ ็ ิ่ ึ่ ที่นักสังคมวิทยาพึงระวังให้มากที่สุดก็คือ พยายามลดอคติให้มากที่สุด หรือท�ำ อย่างไรเพื่อให้มีอคติน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยยิ่งดี ประการที่สอง สังคมวิทยาเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการกระท�ำ ระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม (social interaction) หรือเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม (social relationship) หรือเป็นการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม สังคมวิทยาจัดเป็นวิชาหนึ่งในสังคมศาสตร์ (So- cial Sciences) โดยปกติทั่วไป สาขาวิชาต่าง ๆ ในสังคมศาสตร์ ล้วนแต่ศึกษา สังคมและพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ศึกษากันคนละด้าน สาขาของ สังคมศาสตร์ที่ส�ำคัญได้แก่ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และจตวทยา สาขาทงหานมความสมพนธกน มความเหมอนความแตกตางอยางไร ิ ิ ั้ ้ ี้ ี ั ั ์ั ี ื ่ ่ บ้าง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น (James W. & Vander Zanden, 1993: 2) นอกจากนี้ Richard T. Schaefer (2004: 3) ยังได้กล่าวถึงจินตนาการ ทางสังคมวิทยา (The Sociological Imagination) ของ C. Wright Mills ว่าเขา ไดอธบายคำวาจนตนาการทางสงคมวทยาวา หมายถงความรความเขาใจเกยวกบ ้ ิ � ่ ิ ั ิ ่ ึ ู้ ้ ี่ ั ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม นั้นไม่ใช่เรื่องปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของสังคมด้วย C. Wright Mills ยกตัวอย่างเรื่องการหย่าร้าง การหย่าร้างไม่ใช่เรื่องเฉพาะปัจเจกบุคคลหรือเป็น ปญหาสวนตวของใครคนใดคนหนง แตเปนปญหาทเกยวของกบสงคมดวย สงคม ั ่ ั ึ่ ่ ็ ั ี่ ี่ ้ ั ั ้ ั จะต้องรับรู้และมีความตระหนักเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน อัตราการหย่าร้างที่สูง เพิ่มมากขึ้น มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบัน
  • 9. การศึกษาสังคมวิทยาเบื้องต้น 17 ครอบครัว สถาบันครอบครัวทุกวันนี้นอกจากจะมีเรื่องการหย่าร้างแล้ว ยังมีเรื่อง อน ๆ อก เชน เรองพอเลยงแมเลยง การแตงงานใหม่ เรองเดกถกทอดทง เปนตน ื่ ี ่ ื่ ่ ี้ ่ ี้ ่ ื่ ็ ู ิ้ ็ ้ เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ทีมผกอการร้ายโจมตีสหรัฐอเมริกาทีตก ่ ี ู้ ่ ่ ึ World Trade นั้น ก็เป็นตัวอย่างในเรื่องของ Sociological Imagination ด้วย เชนกน เพราะเหตการณครงนน ชาวโลกไมไดมองวาเปนเรองสวนตวระหวางใคร ่ ั ุ ์ ั้ ั้ ่ ้ ่ ็ ื่ ่ ั ่ กับใคร แต่ทุกคนกลับมองว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผลกระทบต่อทั่วโลกอย่างไรบ้าง นักสังคมวิทยาบางคนกลับมองเห็นว่าเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 นั้น มีเหตุมา จากทุกคน และเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในโลกด้วย ขอบเขตของสังคมวิทยา สังคมวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม ฉะนั้น ขอบเขตของสังคมวิทยาจึงกว้างขวางมาก เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ ว่าจะมีรปแบบหรือลักษณะใดก็ตาม ย่อมเกียวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ู ่ และระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ก็ตาม กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ สถาบันสังคมต่าง ๆ เช่น ครอบครัว เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา การศึกษา สื่อมวลชน นันทนาการ เป็นต้น ด้วยเหตุที่สังคมวิทยามีเนื้อหาสาระที่กว้างขวางมาก จึงเป็นเหตุท�ำให้ มีเนื้อหาซ�้ำซ้อนกับศาสตร์อื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การซ�้ำซ้อนนั้นเป็นเพียงการ ซ�ำซ้อนเฉพาะประเด็นปัญหาเท่านัน ส่วนวิธการศึกษาหรือการอธิบายปรากฏการณ์ ้ ้ ี เหล่านั้น นักสังคมวิทยาก็จะมีแนวคิดหรือทฤษฎีหรือแนวการศึกษาวิเคราะห์ที่ ต่างไปจากศาสตร์อื่น ๆ
  • 10. 18 ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา ทฤษฎีทางสังคมวิทยาคืออะไร Richard T. Schaefer (2004: 8) ไดตงคำถามไววาทฤษฎทางสงคมวทยา ้ ั้ � ้่ ี ั ิ คืออะไร (What is sociological theory?) เขาเลยเสนอให้ลองคิดกันดูวา ถ้าหาก ่ ถามวา ทำไมคนจงฆาตวตาย คำตอบแบบสามญสำนกคงจะตอบวาคนฆาตวตาย ่ � ึ ่ ั � ั � ึ ่ ่ ั เพราะเขาต้องการฆ่าตัวตายเอง ในแง่มุมของนักสังคมวิทยาไม่ได้สนใจว่าท�ำไม ปัจเจกชนจึงฆ่าตัวตาย แต่นักสังคมวิทยากลับมองว่าอะไรคือปัจจัยหรือสาเหตุ ทางสงคมททำใหคนฆาตวตาย นกสงคมวทยาตองคดอยางเปนระบบ และทำการ ั ี่ � ้ ่ ั ั ั ิ ้ ิ ่ ็ � วิจัย ต้องอาศัยทฤษฎีทางสังคมวิทยามาอธิบายเรื่องพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ทฤษฎี คือ ค�ำอธิบายปัญหา การกระท�ำ หรือพฤติกรรมของคนในสังคม อย่างเป็นระบบ ทฤษฎีสามารถใช้ในการอธิบายและท�ำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมได้ Durkheim ใช้ทฤษฎีในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการฆ่าตัวตาย กบความเปนจรงทางสงคม Durkheim ไมไดสนใจเรองบคลกภาพของปจเจกบคคล ั ็ ิ ั ่ ้ ื่ ุ ิ ั ุ เกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย แต่เขาสนใจอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ อัตราการฆ่าตัวตายเพียง 67 คนต่อล้านคน ประเทศฝรั่งเศส อตราการฆาตวตายคอ 135 คนตอลานคน ประเทศเดนมารกอตราการฆาตวตาย ั ่ ั ื ่ ้ ์ ั ่ ั คือ 277 คนต่อล้านคน มีค�ำถามเกิดขึ้นว่า ท�ำไมประเทศเดนมาร์กเมื่อเปรียบ เทียบกับประเทศอื่นแล้วจึงมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงมากกว่า Durkheim ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Suicide ใน ค.ศ. 1897 หนังสือเล่ม นี้เป็นผลงานชิ้นส�ำคัญของเขา ที่เขาพยายามจะเน้นให้เห็นว่าการฆ่าตัวตายนั้น มีความสัมพันธ์กับความเป็นจริงทางสังคม เช่น ความผูกพันหรือการขาดความ ผูกพันที่มีต่อศาสนา สังคม และกลุ่มอาชีพ