SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1
                           ระบบหายใจ The Respiratory System
                                  
                                  ระบบหายใจเป็นระบบที่มีความสำคัญในร่างกายในมนุษย์ ทำหน้าที่ใน

                           การแลกเปลี่ ย นก๊ า ซโดยนำอากาศจากภายนอกเข้ า สู่ ร่ า งกายและขั บ เอาก๊ า ซ
                           คาร์ บ อนไดออกไซด์ อ อกนอกร่ า งกาย ดั ง นั้ น เพื่ อ ช่ ว ยให้ ก ารเรี ย นเรื่ อ งระบบ

                           หายใจมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพจึ ง ควรทราบเกี่ ย วกั บ โครงสร้ า งและหน้ า ที่ ข องอวั ย วะ

                           ต่าง ๆ ในระบบหายใจ กลไกการหายใจ ความผิดปกติของการหายใจ และการ
                           แลกเปลี่ยนก๊าซ
                           วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทเรียนนี้แล้ว สามารถ
                                 1.		อธิบายความหมาย โครงสร้าง หน้าที่ ความสำคัญของอวัยวะในระบบ
                           หายใจได้ถูกต้อง
                                 2.		อธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออกได้ถูกต้อง
                                 3.		บอกความสัมพันธ์ในการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้




_12-06(001-022)P3.indd 1                                                                                               6/1/12 10:11:56 PM
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ                                           บทที่ 1

               1. ความหมายของระบบหายใจ
                      ระบบหายใจทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซโดยรับก๊าซออกซิเจนจากอากาศภายนอกร่างกาย
               ซึ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกนอกร่างกาย
               โดยระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย 
                     1.1			ระบบทางเดินหายใจส่วนบน 
                     								ประกอบด้วย รูจมูก (nasal cavity) ปาก (mouth) คอหอย (pharynx) กล่องเสียง
               (larynx) 
                     1.2			ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง 
                     								ประกอบด้ ว ย หลอดลม (trachea) หลอดลมเล็ ก (bronchi) หลอดลมฝอย
               (bronchiole) หลอดลมฝอยส่วนปลาย (terminal bronchiole) ท่อถุงลม (alveolar duct) ถุงลม
               (alveolar sac) ถุงลมเล็ก (alveoli)

               2. การกำจัดสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ
                      2.1			ผนังทางผ่านเคลือบด้วยเมือก 
                      								สิ่งแปลกปลอมที่ปนมาในอากาศจะเกาะติดที่เมือกนี้ ซีเลีย (celia) จะโบกพัด

               ให้เคลื่อนสู่ลำคอ โดยอนุภาค 10 ไมครอนจับกับขนจมูก คอหอย กล่องเสียง อนุภาค 2-10
               ไมครอนจับกับเมือกที่เคลือบผนังหลอดลมและแขนงหลอดลม อนุภาค 0.3-2 ไมครอนจับไว้

               ที่ผนังท่อถุงลม (alveoli duct) และถุงลมเล็ก (alveoli) ซึ่งเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนก๊าซ และ
               อนุภาคน้อยกว่า 0.3 ไมครอนถูกขับออกมาจากลมหายใจ
                           
                    Tips:	 มนุษย์มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจเพื่อกำจัด
                    สิ่งระคายเคืองซึ่งเกิดจากฮีสตามีนเป็นตัวกระตุ้น เรียกว่า การไอ เริ่มต้นจากการหายใจ
                    เข้าลึกและยาวทำให้อากาศเข้าเต็มปอด ต่อมาฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ปิดและ
                    หายใจออกอย่างแรงจะดันให้ epiglottis เปิดเป็นพัก ๆ ส่วนการจามนั้นเป็นกลไก

                    การป้องกันตนเองของร่างกายเมื่อหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย ร่างกาย

                    จึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกายโดยการหายใจเข้าลึกแล้ว
                    หายใจออกทันที 




_12-06(001-022)P3.indd 2                                                                                    6/1/12 10:11:56 PM
บทที่ 1                                                                                   ระบบหายใจ       
                                


                                                                                                                                        1
                                
                                




                                                                                                                                           
                                
                                
                      
                                                                                                                    

                                                                           
                            รูปที่ 1		กายวิภาคศาสตร์ของระบบทางเดินหายใจ (ที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/

                            											main/advcourse/presentstu/course/bk521/006 suthisa/_3.html)

                      3. อวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของระบบหายใจ
                             3.1			โพรงจมูก (nasal cavity) 
                             								โพรงจมูกถูกแบ่งด้วยผนังกั้นจมูก (nasal septum) รูเปิดของโพรงจมูกทางด้าน
                      หน้าเรียกว่า รูจมูก รูเปิดทางด้านหลังของโพรงจมูกติดกับคอหอย (pharynx) จมูกเป็นทางที่
                      อากาศภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ เมือกบุโพรงจมูกทำให้เกิด
                      ความชื้นและเป็นตัวกรองอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศก่อนที่จะผ่านเข้าไปยังปอด รูจมูกทำหน้าที่
                      เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย (ดังแสดงในรูปที่ 1)
                                
                                

                      

                       

                        
                                
                                                                           

                                                                                                                
                                      รูปที่ 2		แสดงโครงสร้างของคอหอย เพดานอ่อน และฝาปิดกล่องเสียง 
                                      											(ที่มา : http://www.oncologychannel.com/onc/Images/pharynx.gif)




_12-06(001-022)P3.indd 3                                                                                                      6/1/12 10:11:57 PM
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ                                                              บทที่ 1

                      3.2			คอหอย (pharynx) 
                      								เป็ น ทางผ่ า นของอาหารและอากาศเชื่ อ มระหว่ า งฐานกะโหลกศี ร ษะถึ ง

               กระดูกสันหลังคอที่ 6 ติดกับรูเปิดด้านหลังของโพรงจมูกเรียกว่า เนโซฟาริงซ์ (nasopharynx)
               ติดต่อกับช่องปากเรียก ออโรฟาริงซ์ (oropharynx) ส่วนล่างสุดติดต่อกับกล่องเสียงเรียกว่า 

               ลาริงโกฟาริงซ์ (laryngopharynx) มีโครงสร้างคล้ายในโพรงจมูกเต็มไปด้วยเซลล์เยื่อบุชนิด
               คอร์ลัมนาร์ที่มีซีเลีย (celia) ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น (mucus-secreting) เชื่อมต่อระหว่าง
               ระบบทางเดินหายใจกับระบบทางเดินอาหารจึงมีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง
               (epiglottis) ปิดช่องท่อลมเมื่อมีการกลืนอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและมีส่วนช่วยในการออก
               เสียงด้วย (ดังแสดงในรูปที่ 2)                         
                           

               

                
                           
                                                                      

                                                                       
                                                                      
                                                                      
                                                                                                     
                                                      รูปที่ 3  กล่องเสียงทางด้านหน้า
                                                                       
                      3.3			กล่องเสียง (larynx) 
                      								เป็ น อวั ย วะที่ อ ยู่ ร ะหว่ า งคอหอยกั บ หลอดลม ตั้ ง แต่ ก ระดู ก สั น หลั ง ส่ ว นคอที่ 3 

               ถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 6 ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศและป้องกันสิ่งแปลกปลอม
                              
               ไม่ให้เข้าสู่ทางเดินอากาศ และที่สำคัญทำให้เกิดเสียง (phonation) ทั้งเสียงแหลมสูงหรือ

               ทุ้มต่ำตามการเคลื่อนไหวของกระดูกอ่อน กล่องเสียงของผู้หญิงและเด็กมักจะสั้นจึงไม่ยื่น

               ออกมาเหมือนในเพศชายซึ่งมีกระดูกอ่อนไทรอยด์ที่อยู่ในกล่องเสียงเป็นส่วนยื่นออกมาชัดเจน

               เรียกว่า ลูกกระเดือก (thyroid prominence; adam’s apple) (ดังแสดงในรูปที่ 3) โครงสร้าง
               ของกล่องเสียงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 



_12-06(001-022)P3.indd 4                                                                                                          6/1/12 10:11:58 PM
บทที่ 1                                                                                 ระบบหายใจ        
                                        	 3.3.1			กระดูกอ่อน
                                        		3.3.2			กล้ามเนื้อ
                                          3.3.3			เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
                                                                                                                                    1




                                                                                                                                       
                               หน้าที่สำคัญของกล่องเสียง คือ เป็นทางเชื่อมต่อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
                      ป้องกันการสำลัก การไอ และออกเสียง
                                	   
                                
                                
                                

                      
                                
                                
                                
                                                                                                                 
                                                                รูปที่ 4  หลอดลมและหลอดลมใหญ่
                                                                              
                             3.4			หลอดลม (trachea) 
                             								หลอดลมเป็ น อวั ย วะที่ ต่ อ จากกล่ อ งเสี ย งตรงกั บ กระดู ก สั น หลั ง คอที่ 6 (sixth
                      cervical vertebra, C6 ปลายสุดอยู่ที่ T4 –T6) อยู่หน้าหลอดอาหาร (esophagus) มีรูปร่าง
                      เป็นท่อกลวงอยู่ในบริเวณคอและทรวงอก ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน ตัว U shape
                      หรือ C shape จำนวน 16-20 ชิ้น แทรกตลอดความยาวของหลอดลม โดยหันส่วนโค้งของ

                      รูปตัว U ออกทางด้านหน้า ด้านหลังจึงถูกดันด้วยหลอดอาหาร ที่ปลายสุดของหลอดลมบริเวณ
                      ทรวงอกมีการแตกแขนงย่อยออกเป็นหลอดลมใหญ่เรียกว่า bronchus เข้าสู่ปอดซ้ายและ

                      ขวา หลอดลมสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามการหายใจเข้าและออก ขนาดของหลอดลม

                      มีความแตกต่างกัน ทำหน้าที่นำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยน

                      ก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย เริ่มตั้งแต่ส่วนที่

                      ต่อจากกล่องเสียง (larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม (ดังแสดงในรูปที่ 4)



_12-06(001-022)P3.indd 5                                                                                                  6/1/12 10:11:58 PM
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ                                                             บทที่ 1

                     ขนาดหลอดลมของเด็กจะเล็กกว่าหลอดลมของผู้ใหญ่ ส่วนขนาดหลอดลมในเพศหญิง
               จะเล็กกว่าเพศชาย
                                               เด็ก  ผู้ใหญ่          เพศหญิง  เพศชาย

                           
                           
                           
                            
                                                                        
                                                                        
                                                                                                            
                                                          รูปที่ 5  ปอดและเยื่อหุ้มปอด
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        

                                                                                                                
                                  รูปที่ 6		กลีบปอดซ้ายและขวา 
                                  											(ที่มา : http://vet.kku.ac.th/physio/rs/structure/lung.htm)




_12-06(001-022)P3.indd 6                                                                                                      6/1/12 10:12:00 PM
บทที่ 1                                                                                    ระบบหายใจ     
                             3.5			หลอดลมใหญ่ (bronchus) 
                             								ปลายสุดของหลอดลมแตกแขนงเป็นหลอดลมใหญ่ซ้าย (left main bronchus)
                      และหลอดลมใหญ่ขวา (right main bronchus) การแตกแขนงของหลอดลมใหญ่มีลักษณะ                                           1




                                                                                                                                          
                      คล้ายการแตกแขนงย่อยของต้นไม้ (bronchial tree) กล่าวคือมีการแตกแขนงย่อยออกเป็น
                      ลำดับเข้าไปเป็นหลอดลมย่อย (bronchioles) และปลายสุดคือถุงลมปอด (alveoli) แทรก
                      เข้าไปในเนื้อปอดโดยหลอดลมใหญ่ข้างขวาแตกแขนงเข้าไปในกลีบปอด 3 กลีบ ส่วนหลอดลม
                      ใหญ่ข้างซ้ายแตกแขนงเข้าไปในกลีบบนและกลีบล่างของปอดข้างซ้าย จากนั้นจึงแบ่งออก
                      เป็ น กลีบปอด (lobar bronchus) ซึ่ ง ด้ า นซ้ า ยมี 2 กลี บ และด้ า นขวามี 3 กลี บ (ดั ง แสดง

                      ในรูปที่ 6)
                                

                      
                                 
                                
                                
                                
                                
                                
                                
                                
                                                                                                         
                                     รูปที่ 7 ช่องเยื่อหุ้มปอด (ที่มา : http://thaifittips.com/health/?p=250)
                                                                         
                               3.6			ปอด (lungs) 
                               								ปอดเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างอากาศภายนอกกับการไหล
                      เวียนเลือด มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำมีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นได้ดี ปอดยึดติดกับ

                      หัวใจ และหลอดลมรอบ ๆ ปอดจะมีเยื่อหุ้มปอดชั้นใน (visceral pleura) และเยื่อหุ้มปอด

                      ชั้นนอก (parietal pleura) ระหว่างเยื่อหุ้มปอดทั้งสองนี้มีช่องว่าง (pleural space) ซึ่งภายใน
                      บรรจุของเหลว (pleural fluid) มีอยู่ประมาณ 3-5 ซีซี ของเหลวนี้ทำหน้าที่ลดแรงเสียดสีระหว่าง

                      เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นในขณะที่ปอดขยายหรือหดตัว (ดังแสดงในรูปที่ 7)



_12-06(001-022)P3.indd 7                                                                                                     6/1/12 10:12:01 PM
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ                                                   บทที่ 1

                     								3.6.1			หลอดเลือดแดงที่มายังปอด (artery of lungs) ประกอบด้วยหลอดเลือด

               แดงพัลโมนารี (pulmonary artery) ทำหน้าที่นำเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาซึ่งมีออกซิเจนต่ำ

               มาฟอกที่ปอด และหลอดเลือดแดงที่แตกแขนงมาจากเอออร์ตา (aorta) ทำหน้าที่ในการนำ
               เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (ดังแสดงในรูปที่ 8)
                        			3.6.2			หลอดเลือดดำภายในปอด (vein of lungs) มี 2 ส่วน คือ หลอดเลือดดำ
               พัลโมนารีทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการฟอกแล้วกลับเข้ามาสู่หัวใจห้องบนซ้าย และหลอดเลือด
               ดำบรองเคียล ทำหน้าที่นำเลือดดำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมาฟอกที่ปอด
                       			3.6.3			หน้าที่ของปอด คือ การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด และนำ
               ก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่และมีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
                     3.7			เยื่อหุ้มปอด (pleura)
                     								เยื่อหุ้มปอดมี 2 ชั้นระหว่าง 2 ชั้นนี้มีของเหลวเพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้ม

               มีโพรงว่าง เรียกว่า ช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด (ดังแสดงในรูปที่ 7)
               	                                                 
                                                                
                                                                

                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                                                      
                                          รูปที่ 8  หลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงภายในปอด
                           
                     3.8			ถุงลมเล็ก ๆ ในปอด (alveolus) 
                     								ที่ผนังของถุงลมเล็ก ๆ ในปอดจะมีเส้นเลือดฝอยล้อมรอบอยู่มากมาย จึงเป็นแหล่ง
               ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ภายในปอดของคนมีอัลวิโอลัส (ถุงลมเล็ก ๆ) ประมาณ 300 ล้านถุง 

               (ดังแสดงในรูปที่ 9) 




_12-06(001-022)P3.indd 8                                                                                            6/1/12 10:12:03 PM
บทที่ 1                                                                                     ระบบหายใจ     
                                

                      

                       
                                                                            
                                                           1




                                                                                                                                           
                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                                                                          
                                                                                  
                                     รูปที่ 9		การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างถุงลมและหลอดเลือดฝอย
                                     											(ที่มา : http://school.obec.go.th/padad/scien32101/BODY/testbody.html)
                                     
                                     
                           Tips:	 อวัยวะที่ต่ำกว่าหลอดลมลงมา เรียกว่า ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่วน
                           อวัยวะที่เหนือหลอดลมขึ้นไป เรียกว่า ระบบทางเดินหายใจส่วนบน

                                

                      4. ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง มี 2 ส่วนคือ
                           4.1			ส่วน medulla มีเซลล์ dorsal respiratory group ทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจเข้า
                      และ ventral respiratory group ทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจออก
                              4.2			ส่วน ponds ทำหน้าที่รับคำสั่งจากเซลล์ dorsal respiratory group ในการหายใจ
                      เข้าซึ่งภายในสมองส่วนนี้จะมี pneumotaxic ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมปริมาตรของอากาศในการ
                      หายใจเข้า-ออกแต่ละครั้งเรียกว่า Tidal Volume 
                            สมองทั้ ง สองส่ ว นนี้ ถู ก ควบคุ ม โดยเส้ น ประสาทสมองคู่ ที่ 10 หรื อ เส้ น ประสาทเวกั ส
                      (vagus nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง ส่วน
               
                      เส้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตาไปยังกล้ามเนื้อลำคอ กล่องเสียง อวัยวะ
                      ภายใน ช่องปาก และช่องท้อง




_12-06(001-022)P3.indd 9                                                                                                      6/1/12 10:12:03 PM
10          การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ                                                             บทที่ 1

               5. กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ
                    กล้ามเนื้อกะบังลมมีการหดตัวยุบลงในช่วงหายใจเข้าทำให้กระดูกซี่โครงขยายตัวเพิ่ม
               ปริมาตรในช่องอก ส่วนในช่วงหายใจออกกะบังลมยกตัวสูงขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องช่วยใน

               การหายใจออกอย่างแรง 
                     5.1			กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเข้า 	
                     								5.1.1			กล้ า มเนื้ อ กะบั ง ลม (diaphragm) ลั ก ษณะเป็ น รู ป โดมโดยกล้ า มเนื้ อ

               กะบังลมด้านซ้ายจะอยู่เหนือต่อกระเพาะอาหารและด้านขวาจะอยู่เหนือต่อตับ เป็นกล้ามเนื้อ
               สำคัญในการหายใจเข้า โดยอากาศประมาณ 2 ใน 3 ของอากาศที่หายใจเข้าในแต่ละครั้ง

               เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลม 
                      								5.1.2			กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านนอก (intercostal muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่
               ระหว่างซี่โครง 11 ช่องทั้งด้านซ้ายและขวา เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัวทำให้กระดูกซี่โครงด้านหน้า
               เคลื่อนที่ขึ้นบนและอกขยายไปด้านหน้า ทำให้เพิ่มพื้นที่ในทรวงอก การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้
               จะได้ปริมาตรของอากาศที่หายใจประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาตรอากาศที่เข้าในแต่ละครั้ง 
                       								5.1.3			กล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยในการหายใจเข้า เช่น กล้ามเนื้อด้านหลังคอ (ster-

               nocleidomastoid) จะทำงานเมื่อมีการหายใจเพิ่มขึ้น เช่น ขณะออกกำลัง ไอ จาม หรือมี

               โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น
                        5.2			กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจออก 	
                           			ปกติการหายใจออกจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อใด ๆ เป็นกระบวนการ

               คลายตั ว กลั บ ของกล้ า มเนื้ อ กะบั ง ลมและกล้ า มเนื้ อ ระหว่ า งซี่ โ ครงส่ ว นนอก ทำให้ ก ระดู ก

               ซี่ โ ครงเคลื่ อ นเข้ า ที่ จ ะมี ก ารหดตั ว ของกล้ า มเนื้ อ หายใจออกเมื่ อ มี ก ารหายใจเพิ่ ม ขึ้ น เช่ น 

               ขณะออกกำลัง มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น 		
                      								5.2.1			กล้ามเนื้อหน้าท้อง เป็นกล้ามเนื้อหายใจออกที่สำคัญที่สุด การหดตัวของ
               กล้ามเนื้อนี้ทำให้กระดูกซี่โครงชิดเข้าหากัน ลำตัวโค้งเข้าและทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่ม

               ขึ้นช่วยดันกล้ามเนื้อกะบังลมขึ้นบน กล้ามเนื้อนี้จะทำงานในเด็กเล็ก และเมื่อหายใจเพิ่มขึ้น
               เช่น ขณะไอ เบ่งอุจจาระ อาเจียน หรือมีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น 		
                       								5.2.2			กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านใน การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้ทำให้กระดูก
               ซี่โครงเคลื่อนต่ำและเข้าด้านใน




_12-06(001-022)P3.indd 10                                                                                                       6/1/12 10:12:04 PM

Contenu connexe

Tendances

ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
Wan Ngamwongwan
 
โครงการปันรัก
โครงการปันรักโครงการปันรัก
โครงการปันรัก
kessara61977
 
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อบทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ
ฟลุ๊ค ลำพูน
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
พัน พัน
 
การขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคนการขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคน
Wan Ngamwongwan
 
ระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลือง
Wan Ngamwongwan
 
การสลายสารอาหารระดับเซลล์
การสลายสารอาหารระดับเซลล์การสลายสารอาหารระดับเซลล์
การสลายสารอาหารระดับเซลล์
พัน พัน
 
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
Mew' Cifer
 

Tendances (20)

ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
 
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
 
โครงการปันรัก
โครงการปันรักโครงการปันรัก
โครงการปันรัก
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
 
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อบทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ
บทที่ 9 ระบบต่อมไร้ท่อ
 
ระบบหายใจ (Respiratory System)
ระบบหายใจ (Respiratory System)ระบบหายใจ (Respiratory System)
ระบบหายใจ (Respiratory System)
 
skeletal system
skeletal systemskeletal system
skeletal system
 
ต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ ต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
Ppt digestive system
Ppt digestive systemPpt digestive system
Ppt digestive system
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
 
การขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคนการขับถ่ายของคน
การขับถ่ายของคน
 
ระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลือง
 
การสลายสารอาหารระดับเซลล์
การสลายสารอาหารระดับเซลล์การสลายสารอาหารระดับเซลล์
การสลายสารอาหารระดับเซลล์
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกลชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
 
กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
 

En vedette

Spontaneous pneumothorax
Spontaneous pneumothoraxSpontaneous pneumothorax
Spontaneous pneumothorax
maprangrape
 
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
Wan Ngamwongwan
 
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
sarun_ss
 
มะเร็งปอด
มะเร็งปอดมะเร็งปอด
มะเร็งปอด
Wan Ngamwongwan
 
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกการดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
Patamaporn Seajoho
 
Pneumothorax powerpoint
Pneumothorax powerpointPneumothorax powerpoint
Pneumothorax powerpoint
Dwika Marbun
 

En vedette (20)

Spontaneous pneumothorax
Spontaneous pneumothoraxSpontaneous pneumothorax
Spontaneous pneumothorax
 
Good medicine
Good medicineGood medicine
Good medicine
 
Respiratory System
Respiratory SystemRespiratory System
Respiratory System
 
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
 
Arrythmia
ArrythmiaArrythmia
Arrythmia
 
Abdominal Trauma (Thai)
Abdominal Trauma (Thai)Abdominal Trauma (Thai)
Abdominal Trauma (Thai)
 
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
 
9789740335597
97897403355979789740335597
9789740335597
 
มะเร็งปอด
มะเร็งปอดมะเร็งปอด
มะเร็งปอด
 
Thai hypertension guideline 2015
Thai hypertension guideline 2015Thai hypertension guideline 2015
Thai hypertension guideline 2015
 
แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557
แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557
แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2557
 
EKG in ACLS
EKG in ACLSEKG in ACLS
EKG in ACLS
 
Chest drain systems
Chest drain systemsChest drain systems
Chest drain systems
 
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกการดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
 
Pneumothorax
PneumothoraxPneumothorax
Pneumothorax
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 
Pneumothorax powerpoint
Pneumothorax powerpointPneumothorax powerpoint
Pneumothorax powerpoint
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
 
Abdominal trauma
Abdominal traumaAbdominal trauma
Abdominal trauma
 

Similaire à 9789740329831

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Thanyalux Kanthong
 
บทที่3 Basic Of Physiological
บทที่3  Basic Of  Physiologicalบทที่3  Basic Of  Physiological
บทที่3 Basic Of Physiological
Tuk Diving
 
ระบบหายใจ (Respiration)
ระบบหายใจ (Respiration)ระบบหายใจ (Respiration)
ระบบหายใจ (Respiration)
joongka3332
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Thanyalux Kanthong
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Thanyalux Kanthong
 
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
Amporn Ponlana
 
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
Amporn Ponlana
 
ชุดการสอนที่1
ชุดการสอนที่1ชุดการสอนที่1
ชุดการสอนที่1
juriyaporn
 
โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
Wan Ngamwongwan
 

Similaire à 9789740329831 (20)

G2
G2G2
G2
 
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
บทที่3 Basic Of Physiological
บทที่3  Basic Of  Physiologicalบทที่3  Basic Of  Physiological
บทที่3 Basic Of Physiological
 
ระบบหายใจ (Respiration)
ระบบหายใจ (Respiration)ระบบหายใจ (Respiration)
ระบบหายใจ (Respiration)
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ระบบหายใจ
ระบบหายใจ ระบบหายใจ
ระบบหายใจ
 
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8
 
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 8
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
9789740332572
97897403325729789740332572
9789740332572
 
บท1ประสาท
บท1ประสาทบท1ประสาท
บท1ประสาท
 
บท1ประสาท
บท1ประสาทบท1ประสาท
บท1ประสาท
 
การรักษาดุลยภาพของร่างกาย
การรักษาดุลยภาพของร่างกายการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
การรักษาดุลยภาพของร่างกาย
 
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
 
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์บทที่ 4  การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
บทที่ 4 การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
 
อวัยวะรับความรู้สึก
อวัยวะรับความรู้สึกอวัยวะรับความรู้สึก
อวัยวะรับความรู้สึก
 
ชุดการสอนที่1
ชุดการสอนที่1ชุดการสอนที่1
ชุดการสอนที่1
 
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร
 
โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329831

  • 1. 1 ระบบหายใจ The Respiratory System ระบบหายใจเป็นระบบที่มีความสำคัญในร่างกายในมนุษย์ ทำหน้าที่ใน การแลกเปลี่ ย นก๊ า ซโดยนำอากาศจากภายนอกเข้ า สู่ ร่ า งกายและขั บ เอาก๊ า ซ คาร์ บ อนไดออกไซด์ อ อกนอกร่ า งกาย ดั ง นั้ น เพื่ อ ช่ ว ยให้ ก ารเรี ย นเรื่ อ งระบบ หายใจมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพจึ ง ควรทราบเกี่ ย วกั บ โครงสร้ า งและหน้ า ที่ ข องอวั ย วะ ต่าง ๆ ในระบบหายใจ กลไกการหายใจ ความผิดปกติของการหายใจ และการ แลกเปลี่ยนก๊าซ วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาบทเรียนนี้แล้ว สามารถ 1. อธิบายความหมาย โครงสร้าง หน้าที่ ความสำคัญของอวัยวะในระบบ หายใจได้ถูกต้อง 2. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออกได้ถูกต้อง 3. บอกความสัมพันธ์ในการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้ _12-06(001-022)P3.indd 1 6/1/12 10:11:56 PM
  • 2. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ บทที่ 1 1. ความหมายของระบบหายใจ ระบบหายใจทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซโดยรับก๊าซออกซิเจนจากอากาศภายนอกร่างกาย ซึ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกนอกร่างกาย โดยระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย 1.1 ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ประกอบด้วย รูจมูก (nasal cavity) ปาก (mouth) คอหอย (pharynx) กล่องเสียง (larynx) 1.2 ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ประกอบด้ ว ย หลอดลม (trachea) หลอดลมเล็ ก (bronchi) หลอดลมฝอย (bronchiole) หลอดลมฝอยส่วนปลาย (terminal bronchiole) ท่อถุงลม (alveolar duct) ถุงลม (alveolar sac) ถุงลมเล็ก (alveoli) 2. การกำจัดสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ 2.1 ผนังทางผ่านเคลือบด้วยเมือก สิ่งแปลกปลอมที่ปนมาในอากาศจะเกาะติดที่เมือกนี้ ซีเลีย (celia) จะโบกพัด ให้เคลื่อนสู่ลำคอ โดยอนุภาค 10 ไมครอนจับกับขนจมูก คอหอย กล่องเสียง อนุภาค 2-10 ไมครอนจับกับเมือกที่เคลือบผนังหลอดลมและแขนงหลอดลม อนุภาค 0.3-2 ไมครอนจับไว้ ที่ผนังท่อถุงลม (alveoli duct) และถุงลมเล็ก (alveoli) ซึ่งเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนก๊าซ และ อนุภาคน้อยกว่า 0.3 ไมครอนถูกขับออกมาจากลมหายใจ Tips: มนุษย์มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจเพื่อกำจัด สิ่งระคายเคืองซึ่งเกิดจากฮีสตามีนเป็นตัวกระตุ้น เรียกว่า การไอ เริ่มต้นจากการหายใจ เข้าลึกและยาวทำให้อากาศเข้าเต็มปอด ต่อมาฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ปิดและ หายใจออกอย่างแรงจะดันให้ epiglottis เปิดเป็นพัก ๆ ส่วนการจามนั้นเป็นกลไก การป้องกันตนเองของร่างกายเมื่อหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย ร่างกาย จึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกายโดยการหายใจเข้าลึกแล้ว หายใจออกทันที _12-06(001-022)P3.indd 2 6/1/12 10:11:56 PM
  • 3. บทที่ 1 ระบบหายใจ 1 รูปที่ 1 กายวิภาคศาสตร์ของระบบทางเดินหายใจ (ที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/ main/advcourse/presentstu/course/bk521/006 suthisa/_3.html) 3. อวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของระบบหายใจ 3.1 โพรงจมูก (nasal cavity) โพรงจมูกถูกแบ่งด้วยผนังกั้นจมูก (nasal septum) รูเปิดของโพรงจมูกทางด้าน หน้าเรียกว่า รูจมูก รูเปิดทางด้านหลังของโพรงจมูกติดกับคอหอย (pharynx) จมูกเป็นทางที่ อากาศภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ เมือกบุโพรงจมูกทำให้เกิด ความชื้นและเป็นตัวกรองอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศก่อนที่จะผ่านเข้าไปยังปอด รูจมูกทำหน้าที่ เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย (ดังแสดงในรูปที่ 1) รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างของคอหอย เพดานอ่อน และฝาปิดกล่องเสียง (ที่มา : http://www.oncologychannel.com/onc/Images/pharynx.gif) _12-06(001-022)P3.indd 3 6/1/12 10:11:57 PM
  • 4. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ บทที่ 1 3.2 คอหอย (pharynx) เป็ น ทางผ่ า นของอาหารและอากาศเชื่ อ มระหว่ า งฐานกะโหลกศี ร ษะถึ ง กระดูกสันหลังคอที่ 6 ติดกับรูเปิดด้านหลังของโพรงจมูกเรียกว่า เนโซฟาริงซ์ (nasopharynx) ติดต่อกับช่องปากเรียก ออโรฟาริงซ์ (oropharynx) ส่วนล่างสุดติดต่อกับกล่องเสียงเรียกว่า ลาริงโกฟาริงซ์ (laryngopharynx) มีโครงสร้างคล้ายในโพรงจมูกเต็มไปด้วยเซลล์เยื่อบุชนิด คอร์ลัมนาร์ที่มีซีเลีย (celia) ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น (mucus-secreting) เชื่อมต่อระหว่าง ระบบทางเดินหายใจกับระบบทางเดินอาหารจึงมีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ปิดช่องท่อลมเมื่อมีการกลืนอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและมีส่วนช่วยในการออก เสียงด้วย (ดังแสดงในรูปที่ 2) รูปที่ 3 กล่องเสียงทางด้านหน้า 3.3 กล่องเสียง (larynx) เป็ น อวั ย วะที่ อ ยู่ ร ะหว่ า งคอหอยกั บ หลอดลม ตั้ ง แต่ ก ระดู ก สั น หลั ง ส่ ว นคอที่ 3 ถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 6 ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศและป้องกันสิ่งแปลกปลอม ไม่ให้เข้าสู่ทางเดินอากาศ และที่สำคัญทำให้เกิดเสียง (phonation) ทั้งเสียงแหลมสูงหรือ ทุ้มต่ำตามการเคลื่อนไหวของกระดูกอ่อน กล่องเสียงของผู้หญิงและเด็กมักจะสั้นจึงไม่ยื่น ออกมาเหมือนในเพศชายซึ่งมีกระดูกอ่อนไทรอยด์ที่อยู่ในกล่องเสียงเป็นส่วนยื่นออกมาชัดเจน เรียกว่า ลูกกระเดือก (thyroid prominence; adam’s apple) (ดังแสดงในรูปที่ 3) โครงสร้าง ของกล่องเสียงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ _12-06(001-022)P3.indd 4 6/1/12 10:11:58 PM
  • 5. บทที่ 1 ระบบหายใจ 3.3.1 กระดูกอ่อน 3.3.2 กล้ามเนื้อ 3.3.3 เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน 1 หน้าที่สำคัญของกล่องเสียง คือ เป็นทางเชื่อมต่อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง ป้องกันการสำลัก การไอ และออกเสียง รูปที่ 4 หลอดลมและหลอดลมใหญ่ 3.4 หลอดลม (trachea) หลอดลมเป็ น อวั ย วะที่ ต่ อ จากกล่ อ งเสี ย งตรงกั บ กระดู ก สั น หลั ง คอที่ 6 (sixth cervical vertebra, C6 ปลายสุดอยู่ที่ T4 –T6) อยู่หน้าหลอดอาหาร (esophagus) มีรูปร่าง เป็นท่อกลวงอยู่ในบริเวณคอและทรวงอก ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน ตัว U shape หรือ C shape จำนวน 16-20 ชิ้น แทรกตลอดความยาวของหลอดลม โดยหันส่วนโค้งของ รูปตัว U ออกทางด้านหน้า ด้านหลังจึงถูกดันด้วยหลอดอาหาร ที่ปลายสุดของหลอดลมบริเวณ ทรวงอกมีการแตกแขนงย่อยออกเป็นหลอดลมใหญ่เรียกว่า bronchus เข้าสู่ปอดซ้ายและ ขวา หลอดลมสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามการหายใจเข้าและออก ขนาดของหลอดลม มีความแตกต่างกัน ทำหน้าที่นำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยน ก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ ต่อจากกล่องเสียง (larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม (ดังแสดงในรูปที่ 4) _12-06(001-022)P3.indd 5 6/1/12 10:11:58 PM
  • 6. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ บทที่ 1 ขนาดหลอดลมของเด็กจะเล็กกว่าหลอดลมของผู้ใหญ่ ส่วนขนาดหลอดลมในเพศหญิง จะเล็กกว่าเพศชาย เด็ก ผู้ใหญ่ เพศหญิง เพศชาย รูปที่ 5 ปอดและเยื่อหุ้มปอด รูปที่ 6 กลีบปอดซ้ายและขวา (ที่มา : http://vet.kku.ac.th/physio/rs/structure/lung.htm) _12-06(001-022)P3.indd 6 6/1/12 10:12:00 PM
  • 7. บทที่ 1 ระบบหายใจ 3.5 หลอดลมใหญ่ (bronchus) ปลายสุดของหลอดลมแตกแขนงเป็นหลอดลมใหญ่ซ้าย (left main bronchus) และหลอดลมใหญ่ขวา (right main bronchus) การแตกแขนงของหลอดลมใหญ่มีลักษณะ 1 คล้ายการแตกแขนงย่อยของต้นไม้ (bronchial tree) กล่าวคือมีการแตกแขนงย่อยออกเป็น ลำดับเข้าไปเป็นหลอดลมย่อย (bronchioles) และปลายสุดคือถุงลมปอด (alveoli) แทรก เข้าไปในเนื้อปอดโดยหลอดลมใหญ่ข้างขวาแตกแขนงเข้าไปในกลีบปอด 3 กลีบ ส่วนหลอดลม ใหญ่ข้างซ้ายแตกแขนงเข้าไปในกลีบบนและกลีบล่างของปอดข้างซ้าย จากนั้นจึงแบ่งออก เป็ น กลีบปอด (lobar bronchus) ซึ่ ง ด้ า นซ้ า ยมี 2 กลี บ และด้ า นขวามี 3 กลี บ (ดั ง แสดง ในรูปที่ 6) รูปที่ 7 ช่องเยื่อหุ้มปอด (ที่มา : http://thaifittips.com/health/?p=250) 3.6 ปอด (lungs) ปอดเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างอากาศภายนอกกับการไหล เวียนเลือด มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำมีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นได้ดี ปอดยึดติดกับ หัวใจ และหลอดลมรอบ ๆ ปอดจะมีเยื่อหุ้มปอดชั้นใน (visceral pleura) และเยื่อหุ้มปอด ชั้นนอก (parietal pleura) ระหว่างเยื่อหุ้มปอดทั้งสองนี้มีช่องว่าง (pleural space) ซึ่งภายใน บรรจุของเหลว (pleural fluid) มีอยู่ประมาณ 3-5 ซีซี ของเหลวนี้ทำหน้าที่ลดแรงเสียดสีระหว่าง เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นในขณะที่ปอดขยายหรือหดตัว (ดังแสดงในรูปที่ 7) _12-06(001-022)P3.indd 7 6/1/12 10:12:01 PM
  • 8. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ บทที่ 1 3.6.1 หลอดเลือดแดงที่มายังปอด (artery of lungs) ประกอบด้วยหลอดเลือด แดงพัลโมนารี (pulmonary artery) ทำหน้าที่นำเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาซึ่งมีออกซิเจนต่ำ มาฟอกที่ปอด และหลอดเลือดแดงที่แตกแขนงมาจากเอออร์ตา (aorta) ทำหน้าที่ในการนำ เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (ดังแสดงในรูปที่ 8) 3.6.2 หลอดเลือดดำภายในปอด (vein of lungs) มี 2 ส่วน คือ หลอดเลือดดำ พัลโมนารีทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการฟอกแล้วกลับเข้ามาสู่หัวใจห้องบนซ้าย และหลอดเลือด ดำบรองเคียล ทำหน้าที่นำเลือดดำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมาฟอกที่ปอด 3.6.3 หน้าที่ของปอด คือ การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด และนำ ก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่และมีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ 3.7 เยื่อหุ้มปอด (pleura) เยื่อหุ้มปอดมี 2 ชั้นระหว่าง 2 ชั้นนี้มีของเหลวเพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้ม มีโพรงว่าง เรียกว่า ช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด (ดังแสดงในรูปที่ 7) รูปที่ 8 หลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงภายในปอด 3.8 ถุงลมเล็ก ๆ ในปอด (alveolus) ที่ผนังของถุงลมเล็ก ๆ ในปอดจะมีเส้นเลือดฝอยล้อมรอบอยู่มากมาย จึงเป็นแหล่ง ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ภายในปอดของคนมีอัลวิโอลัส (ถุงลมเล็ก ๆ) ประมาณ 300 ล้านถุง (ดังแสดงในรูปที่ 9) _12-06(001-022)P3.indd 8 6/1/12 10:12:03 PM
  • 9. บทที่ 1 ระบบหายใจ 1 รูปที่ 9 การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างถุงลมและหลอดเลือดฝอย (ที่มา : http://school.obec.go.th/padad/scien32101/BODY/testbody.html) Tips: อวัยวะที่ต่ำกว่าหลอดลมลงมา เรียกว่า ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่วน อวัยวะที่เหนือหลอดลมขึ้นไป เรียกว่า ระบบทางเดินหายใจส่วนบน 4. ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง มี 2 ส่วนคือ 4.1 ส่วน medulla มีเซลล์ dorsal respiratory group ทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจเข้า และ ventral respiratory group ทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจออก 4.2 ส่วน ponds ทำหน้าที่รับคำสั่งจากเซลล์ dorsal respiratory group ในการหายใจ เข้าซึ่งภายในสมองส่วนนี้จะมี pneumotaxic ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมปริมาตรของอากาศในการ หายใจเข้า-ออกแต่ละครั้งเรียกว่า Tidal Volume สมองทั้ ง สองส่ ว นนี้ ถู ก ควบคุ ม โดยเส้ น ประสาทสมองคู่ ที่ 10 หรื อ เส้ น ประสาทเวกั ส (vagus nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง ส่วน เส้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตาไปยังกล้ามเนื้อลำคอ กล่องเสียง อวัยวะ ภายใน ช่องปาก และช่องท้อง _12-06(001-022)P3.indd 9 6/1/12 10:12:03 PM
  • 10. 10 การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ บทที่ 1 5. กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ กล้ามเนื้อกะบังลมมีการหดตัวยุบลงในช่วงหายใจเข้าทำให้กระดูกซี่โครงขยายตัวเพิ่ม ปริมาตรในช่องอก ส่วนในช่วงหายใจออกกะบังลมยกตัวสูงขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องช่วยใน การหายใจออกอย่างแรง 5.1 กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเข้า 5.1.1 กล้ า มเนื้ อ กะบั ง ลม (diaphragm) ลั ก ษณะเป็ น รู ป โดมโดยกล้ า มเนื้ อ กะบังลมด้านซ้ายจะอยู่เหนือต่อกระเพาะอาหารและด้านขวาจะอยู่เหนือต่อตับ เป็นกล้ามเนื้อ สำคัญในการหายใจเข้า โดยอากาศประมาณ 2 ใน 3 ของอากาศที่หายใจเข้าในแต่ละครั้ง เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลม 5.1.2 กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านนอก (intercostal muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ ระหว่างซี่โครง 11 ช่องทั้งด้านซ้ายและขวา เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัวทำให้กระดูกซี่โครงด้านหน้า เคลื่อนที่ขึ้นบนและอกขยายไปด้านหน้า ทำให้เพิ่มพื้นที่ในทรวงอก การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้ จะได้ปริมาตรของอากาศที่หายใจประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาตรอากาศที่เข้าในแต่ละครั้ง 5.1.3 กล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยในการหายใจเข้า เช่น กล้ามเนื้อด้านหลังคอ (ster- nocleidomastoid) จะทำงานเมื่อมีการหายใจเพิ่มขึ้น เช่น ขณะออกกำลัง ไอ จาม หรือมี โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น 5.2 กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจออก ปกติการหายใจออกจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อใด ๆ เป็นกระบวนการ คลายตั ว กลั บ ของกล้ า มเนื้ อ กะบั ง ลมและกล้ า มเนื้ อ ระหว่ า งซี่ โ ครงส่ ว นนอก ทำให้ ก ระดู ก ซี่ โ ครงเคลื่ อ นเข้ า ที่ จ ะมี ก ารหดตั ว ของกล้ า มเนื้ อ หายใจออกเมื่ อ มี ก ารหายใจเพิ่ ม ขึ้ น เช่ น ขณะออกกำลัง มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น 5.2.1 กล้ามเนื้อหน้าท้อง เป็นกล้ามเนื้อหายใจออกที่สำคัญที่สุด การหดตัวของ กล้ามเนื้อนี้ทำให้กระดูกซี่โครงชิดเข้าหากัน ลำตัวโค้งเข้าและทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่ม ขึ้นช่วยดันกล้ามเนื้อกะบังลมขึ้นบน กล้ามเนื้อนี้จะทำงานในเด็กเล็ก และเมื่อหายใจเพิ่มขึ้น เช่น ขณะไอ เบ่งอุจจาระ อาเจียน หรือมีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น 5.2.2 กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านใน การหดตัวของกล้ามเนื้อนี้ทำให้กระดูก ซี่โครงเคลื่อนต่ำและเข้าด้านใน _12-06(001-022)P3.indd 10 6/1/12 10:12:04 PM