SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1




_12-13(001-024)P2.indd 1    9/16/12 10:53:52 PM
การตลาดระดับโลก


                 1.1 บทนำ
                           ความต้องการสิ่งจำเป็นเป็นพื้นฐานของมนุษย์เป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนา
                 ความเจริญก้าวหน้าของสังคมในด้านต่าง ๆ ติดตามมาอย่างมากมายนับตั้งแต่การที่มนุษย์

                 เริ่มรู้จักดัดแปลงเครื่องมือใช้ ในการล่าสัตว์เป็นอาหารเพื่อประทังความหิวโหย การสร้าง

                 ที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกเลี่ยงความทารุณจากภัยธรรมชาติ การใช้วัสดุจากธรรมชาติมาดัดแปลง
                 เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อห่อหุ้มร่างกาย ตลอดจนการค้นหาวิธีการเพื่อบรรเทาหรือระงับความ

                 เจ็ บ ป่ ว ยของมนุ ษ ย์ สิ่ ง เหล่ า นี้ ก็ คื อ ความพยายามของมนุ ษ ย์ ที่ จ ะตอบสนองความจำเป็ น

                 พื้ น ฐานที่ เ รี ย กว่ า ปั จ จั ย 4 ได้ แ ก่ อาหาร ที่ อ ยู่ อ าศั ย เครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม และยารั ก ษาโรค
                 วิ วั ฒ นาการของมนุ ษ ย์ ใ นแต่ ล ะยุ ค สมั ย จะสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความพยายามที่ จ ะเอาชนะ
                 ธรรมชาติ โดยการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ อันเป็นผลให้เกิดความอยู่ดีกินดี ในสังคม อัตรา
                 การเพิ่มขึ้นของมนุษย์และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดกระแส

                 แห่งความเปลี่ยนแปลงติดตามมา ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ ความอยู่รอดและความมั่นคง
                 ในการดำเนินชีวิต
                        แนวความคิ ด ทางด้ า นการตลาดเริ่ ม มี บ ทบาทสำคั ญ มากขึ้ น โดยเป็ น ผลสื บ เนื่ อ ง

                 มาจากการมุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในชุมชนเดียวกันหรือต่างชุมชนกัน ใน

                 อดีตมนุษย์เริ่มรู้จักการสร้างผลผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง ครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก สามารถ
                 ดำรงชีวิตอยู่ ได้ โดยไม่เดือดร้อน แต่เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของมนุษย์

                 ในแต่ละชุมชน จึงทำให้มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันควบคู่กับการเจริญเติบโตของ
                 ชุมชน ความแตกต่างกันในความเป็นมนุษย์ทั้งทางด้านความรู้ความสามารถและสติปัญญา
                 ทำให้มนุษย์เริ่มรู้จักคำว่าการแลกเปลี่ยน (Barter) สิ่งที่ต้องการของแต่ละครอบครัวหรือ
                 ชุมชน หรือการแบ่งขีดความสามารถในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่
                 ชุมชน จนกระทั่งกลายเป็นความต้องการของผู้ ให้และผู้รับหรือในยุคต่อมาที่เรียกว่าผู้ซื้อและ

                 ผู้ขายขึ้นในสังคม
                         	การตอบสนองความต้องการของมนุษย์แต่ละคนมีผลต่อเนื่องกันถึงประเทศชาติโดย
                 ส่วนรวมเริ่มตั้งแต่การที่บุคคลแต่ละคนหรือปัจเจกชน (Individual) พยายามประกอบอาชีพ
                 เพื่อหารายได้ (Income) ให้แก่ตนเองซึ่งส่งผลทำให้ครอบครัว (Family) มีฐานะและมีคุณภาพ
                 ชีวิตที่ดี (Quality of Life) ครอบครัวแต่ละครอบครัวที่รวมเข้าเป็นชุมชนทำให้ชุมชนนั้น

                 เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ (Economic Strength) และจะส่งผลต่อสังคมให้มีความอยู่ดี




_12-13(001-024)P2.indd 2                                                                                                      9/16/12 10:53:52 PM
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก                                          

                      กินดี (Well-being) และท้ายที่สุดก็จะทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าและมีความมั่งคั่ง
                      (Wealth) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าบุคคลแต่ละคนมีบทบาทกับการพัฒนาประเทศ
                                                               แผนภูมิที่ 1.1

                                                                                                                        1
                                                      บทบาทของบุคคลกับการพัฒนาประเทศ
                                 
                                 
                          ประเทศชาติ –– ความมั่นคง
                                 
                                                              สังคม –– ความอยู่ดีกินดี
                                 
                                 
                    ชุมชน –– ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
                                 
                                 
                           ครอบครัว –– คุณภาพชีวิต

                                 
                                  ปัจเจกชน –– รายได้
                                                                                           


                      1.2 ความหมาย
                      	      1.2.1			ความหมายของการตลาด
                             											ได้มีผู้ ให้คำนิยามหรือความหมายของการตลาดที่น่าสนใจดังนี้
                             											การตลาด หมายถึ ง กระบวนการวางแผนและปฏิ บั ติ ก ารเกี่ ย วกั บ แนวคิ ด

                      ในการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาดและการกระจายสินค้า บริการ รวมถึงความคิดสู่กลุ่ม
                      ลูกค้าเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรในขณะเดียวกัน
                      (Kotler, 1999: 13)
                           											การตลาด หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและดำเนินการในเรื่อง
                      ของราคา การส่งเสริมการตลาด และการกระจายสินค้าและบริการ ซึ่งไม่เพียงแต่ตอบสนอง
                      ความพอใจของลูกค้า ณ ขณะนั้นแต่ยังต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่อาจจะเกิดขึ้น
                      ในอนาคตอีกด้วย (Kotabe, 2001: 10) 




_12-13(001-024)P2.indd 3                                                                                    9/16/12 10:53:54 PM
การตลาดระดับโลก


                       											การตลาด หมายถึ ง ชุ ด ของกิ จ กรรมซึ่ ง นำไปสู่ ก ระบวนการแลกเปลี่ ย น

                                                                                                        	
                 ผลิตภัณฑ์และบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และต้องสามารถตอบสนองความต้องการของ
                 ลูกค้าจนให้เกิดความพอใจได้ โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาด อันประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์
                 ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดเป็นเครื่องมือพื้นฐาน (Keegan,
                 2009: 2)
                      											การตลาด หมายถึง การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการ
              	
                 นำผลิตภัณฑ์หรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ ใช้บริการนั้น ๆ ให้ ได้รับความพอใจ 
          	
                 ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ (สุดาดวง เรืองรุจิระ, 2543 : 2)
                      											กล่าวโดยสรุปการตลาดมีองค์ประกอบสำคัญดังนี
         ้
                      											1.			การแลกเปลี่ยนหรือการเคลื่อนย้าย (Exchange or Mobilization)
                      											2.			สินค้าหรือบริการ (Goods or Services)
                      											3.			วั ต ถุ ป ระสงค์ ร่ ว มกั น ระหว่ า งความพอใจของลู ก ค้ า และกำไรของผู้ ข าย
                 (Mutual Objectives)
                 	     1.2.2		ความหมายของการตลาดระดับโลก
                       											สำหรับการตลาดระดับโลกมีผู้ ให้คำนิยามหรือความหมายดังนี้
                       											การตลาดระดับโลก หมายถึง ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งไปจำหน่ายในประเทศ
                 ต่าง ๆ และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นประดิษฐกรรมใหม่ซึ่งอาจแตกต่างจากแบบต้นกำเนิด
                 ในประเทศแม่ โดยประดิษฐกรรมนั้นสะท้อนถึงรสนิยมและความชอบของลูกค้าส่วนใหญ่ทั่วโลก
                 (Keegan, 2009: 2)
                           
                                                                 การขยายตัวของบริษัทไก่ทอดยี่ห้อ KFC
                           
                                                                 (Kentucky Fried Chicken) จาก
                           
                                     สหรั ฐ อเมริ ก าสู่ ไทย ได้ มี ก ารพั ฒ นา
                           
                                     ดั ด แปลงอาหารบางรายการให้ ถู ก กั บ
                           
                                     รสนิ ย มของคนไทย เช่ น ชุ ด ข้ า วยำไก่
                                                                 แซบ และชุดสเต็กไก่ลูกทุ่ง เป็นต้น
                                                                                                              

                                ภาพที่ 1.1 ภาพโฆษณาดัดแปลงอาหารให้ถูกกับรสนิยมของคนไทย




_12-13(001-024)P3.indd 4                                                                                                10/6/12 8:32:20 PM
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก                                                     

                            											อีกตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่รับความนิยมสำหรับประชากรโลกไม่จำเป็น
                      จะต้องมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้นแต่อาจเป็นสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาก็ ได้ เช่น
                      สหรัฐอเมริกาเปิดตลาดสินค้าแฮมเบอร์เกอร์ ในฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนั้นมีบริษัทคู่แข่งท้องถิ่นชื่อ                    1
                      จอลลิบี (Jollibee) จำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์แต่งหน้าด้วยสับปะรด ของหวานเป็นพายสอดไส้
                      มะม่วง ซึ่งเข้ากับรสนิยมของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ ได้ดีกว่าแฮมเบอร์เกอร์แบบดั้งเดิมจาก
                      สหรัฐอเมริกา และต่อมาจอลลิบีก็ ไปเปิดตลาดที่รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น
                      ประเทศต้นแบบของแฮมเบอร์เกอร์ และประสบความสำเร็จในการจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์
                      สไตล์ชาวเกาะทะเลใต้ 
                           											การตลาดระดับโลก หมายถึง กิจกรรมการตลาดระหว่างประเทศซึ่งเกิดจากการ
                      ผสมผสานจนพั ฒ นาเป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น ไม่ ว่ า จะเป็ น คุ ณ ลั ก ษณะผลิ ต ภั ณ ฑ์ รู ป ลั ก ษณ์ 

                                                                                                                         	
                      บรรจุภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์รวมถึงกระบวนการแนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดประเทศต่าง ๆ ก็
                      กระทำในลักษณะเดียวกัน เช่น ใช้ข้อความโฆษณาคล้ายคลึงกัน ใช้แผนการขายร่วมกัน
                      (Johanasson, 2008: 8)
                            											แต่อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนั้นไม่ ได้จำเป็นว่าจะต้องใช้สำหรับทุกประเทศในโลก
                      อาจใช้ร่วมกันในประเทศที่อยู่ ในกลุ่มภูมิภาคเดียวกันก็จัดว่าเป็นการตลาดระดับโลกได้ เช่น
                      ความพยายามในการผสมผสานการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดระหว่างกลุ่มประเทศใน
                      ภูมิภาคยุโรป 
                             											การตลาดระดับโลก หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดซึ่งกระทำโดยบริษัทซึ่ง
       	
                      ให้ความสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้
                             											1.			ลดต้นทุนที่ ไม่ก่อประสิทธิภาพ 
                             											2.			แลกเปลี่ยนกิจกรรมทางการตลาดทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค เพื่อนำไป
                      ใช้ระหว่างกลุ่มบริษัทซึ่งมีสาขากระจายทั่วโลก
                             											3.			สร้างโอกาสในการหมุนเวียนสับเปลี่ยน ผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ และความ
                      คิดสร้างสรรค์ระหว่างบริษัทสาขา
                             											4.			การเกิดขึ้นของลูกค้าระดับโลก
                             											5.			ความเชื่อมโยงที่ดีของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการตลาดในระดับประเทศ
                      นำไปสูการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานทางการตลาดระดับโลก (Kotabe, 2001: 15) 
                             ่                           ้




_12-13(001-024)P3.indd 5                                                                                                  10/6/12 8:32:20 PM
การตลาดระดับโลก


                       											กล่าวโดยสรุปก็คือ การตลาดระดับโลกไม่ ใช่การสร้างความเป็นมาตรฐานเดียว
                 สำหรับผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด การกำหนดราคา และการจัดจำหน่าย แต่การตลาด
                 ระดับโลก คือ ความเต็มใจของบริษัทที่จะนำวิสัยทัศน์ระดับโลกมาใช้แทนระดับประเทศ
                 (Country-by-country) หรือระดับภูมิภาค (Region-by-region) ในการพัฒนากลยุทธ์

                 การตลาด
                        											การตลาดระดับโลก หมายถึง การสร้างกลยุทธ์หนึ่งเดียวสำหรับผลิตภัณฑ์
                 บริการ หรือบริษัทสำหรับตลาดทั่วโลก ครอบคลุมในหลายประเทศพร้อม ๆ กัน มากกว่าจะ
                 ปรับแต่งกลยุทธ์ โดยเฉพาะเพื่อตลาดแห่งหนึ่งแห่งใด บริษัทซึ่งดำเนินการตลาดระดับโลก

                 มี ค วามมุ่ ง หมายในการกำหนดกลยุ ท ธ์ ที่ ใ ช้ เ ป็ น แบบฉบั บ ทั่ ว ไปโดยสามารถประยุ ก ต์ กั บ

                 ตลาดทั่วโลก ขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่นในการปรับองค์ประกอบให้เข้ากับความต้องการ
                 ของตลาดท้องถิ่นในกรณีที่จำเป็น (Jeannet and Hennessey, 2001: 5)
                       											การตลาดระดับโลก หมายถึง กิจกรรมการตลาดที่มีความแน่นอนในด้านการ
                 ประสานงาน การประสมประสาน การควบคุมจากบริษัทโดยปฏิบัติการพร้อมกันทั้งตลาด
                 ภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้กิจการสามารถรักษายอดขายทั้งตลาดภายในและ

                 ต่างประเทศโดยไม่เสียเปรียบคู่แข่งขัน (เสาวภา มีถาวรกุล, 2537: 7)
                          											การตลาดระดับโลก หมายถึง การบริหารกิจกรรมการตลาดระหว่างประเทศ
                 แบบบูรณาการ (Integrated) นั่นคือการใช้ความพยายามจัดการทรัพยากร และวัตถุประสงค์
                 ขององค์ ก ร หาวิ ธี ก ารเข้ า สู่ ผู้ บ ริ โ ภค อาจจะด้ ว ยกิ จ กรรมทางการตลาดในรู ป แบบของ

                 การตลาดระหว่างประเทศ หรือการตลาดหลายประเทศก็ ได้ โดยจะต้องให้ผู้บริโภคได้รับ

                 คุ ณ ค่ า จากสิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารสู ง สุ ด และธุ ร กิ จ ได้ เ ปรี ย บคู่ แ ข่ ง มากที่ สุ ด มี ต้ น ทุ น ต่ ำ กว่ า มี
                 ประสบการณ์มากกว่า และให้คุณค่าต่อผู้บริโภคที่มากกว่า ตลอดจนคำนึงถึงความพอใจของ
                 พนักงาน ผู้บริหารและสังคมด้วย (ศศิวิมล สุขบท, 2550 : 2)
                        											การตลาดระดับโลกมีความหมายโดยสรุป คือ กระบวนการสร้างสรรค์กิจกรรม
                 ทางการตลาดที่เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงรูปแบบกิจกรรมนั้น
                 ในกลุ่มบริษัททั้งในประเทศแม่และประเทศสาขา โดยมีการควบคุม ประสานงาน และจัดสรร
                 ทรัพยากรระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพในอันที่จะลดต้นทุนเพื่อการสร้างความได้เปรียบ

                 ในการแข่งขันระดับโลกและสร้างคุณค่าแก่ผู้บริโภคในระดับโลก




_12-13(001-024)P2.indd 6                                                                                                                      9/16/12 10:53:56 PM
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก                                                                     

                              											วอเรน คี แ กน (Warren Keegan) นั ก วิ ช าการด้ า นการตลาดได้ ใ ห้ ทั ศ นะ

                                                                                                                  
                      เกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่าง “การตลาด” กับ “การตลาดระดับโลก” ดังนี้
                                 
                                                                                                                                                     1
                                                                    “การตลาด” เปรียบเสมือนกฎระเบียบสากลซึ่ง
                                 
                                                                    นำไปใช้ ได้ ในทุกแห่ง ขณะที่ “การตลาดระดับ
                                 
                                  โลก” จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรของ
                                 
                                  บริ ษั ท ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด โดยคำนึ ง ถึ ง
                                 
                                  โอกาสและอุ ป สรรคในตลาดโลก (Keegan,
                                                                    2009: 2)
                                                                                                                                  
                                                                                                                                  

                                                                ภาพที่ 1.2 วอเรน คีแกน

                             											การตลาดระดับโลกจำแนกออกเป็นประเด็นสำคัญดังนี
 ้
                             											ประเด็นที่หนึ่ง คือ ขอบเขตของกิจกรรมบริษัทต้องปฏิบัตินอกประเทศแม่ซึ่ง
                      เกี่ยวข้องกับการตลาดระดับโลก
                             											ประเด็นต่อมา คือ การตลาดระดับโลกต้องมีความเข้าใจในแนวคิดที่มีลักษณะ
                      เฉพาะ ข้อจำกัด และกลยุทธ์ซึ่งสามารถประยุกต์ ใช้ด้วยความชำนาญกับพื้นฐานการตลาด
                      สากลเพื่อให้แน่ใจว่าประสบความสำเร็จในตลาดโลก 

                      1.3 วิวัฒนาการของการตลาดระดับโลก
                      	       1.3.1			วิวัฒนาการของการตลาด
                              											แนวความคิ ด ทางด้ า นการตลาดมี วิ วั ฒ นาการมาตามลำดั บ แบ่ ง ได้ เ ป็ น 3 

                      ยุคดังนี
้
                              											ยุคแรก
                              											เป็นยุคที่เกิดก่อน พ.ศ. 2503 ลักษณะสำคัญก็คือ การมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มี
                      คุณภาพเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ต้องการผลกำไรทางธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์
               

                      ด้านการขายในอันที่จะโน้มน้าวจิตใจของลูกค้าให้เกิดความต้องการซื้อสินค้า กล่าวโดยสรุป
         
                      ยุคนี้จะให้ความสำคัญต่อผู้ผลิตมากกว่าลูกค้าโดยอาศัยเครื่องมือคือการขายและยังไม่ตระหนัก
                      ถึงความสำคัญด้านการตลาด




_12-13(001-024)P3.indd 7                                                                                                                  10/6/12 8:34:23 PM
การตลาดระดับโลก


                           											ยุคที่สอง
                           											อยู่ ในช่วงปลาย พ.ศ. 2503-2533 มีระยะเวลาประมาณ 30 ปี นับตั้งแต่

                 นักวิชาการด้านการตลาดที่มีชื่อเสียงคนสำคัญคือ ฟิลิปส์ คอทเลอร์ (Philip Kotler) ได้

                 เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) เป็นเครื่องมือสำคัญ

                 ที่ ไม่ ใช่การขายแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนเช่นยุคแรก ในยุคนี้แนวความคิดด้านการตลาด

                 ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมุ่งเน้นผู้ผลิตมาเป็นการให้ความสำคัญแก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม
                 วัตถุประสงค์ก็คือต้องการผลกำไรทางธุรกิจเช่นยุคแรก ยุคนี้เริ่มให้ความสำคัญกับการตลาด 

                 มีการให้ความหมายของการตลาดโดยนักคิดหลายท่าน เช่น ฟิลิปส์ คอทเลอร์ ไมเคิล อีเซล
                 บรูซ วอล์กเกอร์ และวิลเลียม สเตตัน 
                           											ยุคปัจจุบัน
                                 						นั บ ตั้ ง แต่ พ.ศ. 2533 เป็ น ต้ น มา ได้ มี นั ก คิ ด และนั ก ทฤษฎี ท างการตลาด

                 ที่มีชื่อเสียง คือ วอเรน คีแกน นำเสนอแนวความคิดทางการตลาดยุคใหม่ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 

                 2 ประการ ได้แก่ 
                        											ประการแรก การให้ ค วามสำคั ญ เกี่ ย วกั บ สภาพแวดล้ อ ม (Environment) 

                 โดยเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับลูกค้า การดำเนินการด้านการตลาด

                 จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของธุรกิจ รูปแบบของ

                 การแข่งขัน นโยบาย กฎระเบียบของรัฐบาล สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แนว
                 ความคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการวางรูปแบบวิวัฒนาการของตลาดในปัจจุบัน 
                        											ประการที่สอง ได้ปรับปรุงวัตถุประสงค์เดิมในการดำเนินธุรกิจที่เคยมุ่งเน้น

                 กำไร เปลี่ ย นเป็ น การสร้ า งผลประโยชน์ ต อบแทนให้ กั บ ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในการดำเนิ น

                 ธุรกิจ (Stakeholder Benefits) ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัท เช่น 

                 พนักงาน ลูกจ้าง ผู้บริหาร ลูกค้า ชุมชนและสังคม โดยการสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าใหม่
                 (Innovation) เข้าสู่ตลาดและมีผลต่อการรักษาหรือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ ใช้
                 พลังงานจากแสงอาทิตย์ ภาชนะโฟมที่ ใช้วัสดุจากถั่วเหลือง การผลิตถ่านไฟฉายที่ ไม่ทำลาย
                 มลภาวะ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ตู้เย็นที่ ไม่ ใช้สารทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ เครื่อง
                 สุขภัณฑ์ที่ประหยัดน้ำ หลอดประหยัดไฟ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมเพื่อ
                 ป้องกันมิให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ฟุ่มเฟือยหรือผลิตสินค้าที่บั่นทอนสุขภาพของลูกค้า
                 ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม




_12-13(001-024)P2.indd 8                                                                                                    9/16/12 10:53:56 PM
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก                                                    

                      ตารางที่ 1.1			วิวัฒนาการแนวความคิดด้านการตลาด
                               ระยะเวลา
                            ลักษณะสำคัญ
                     นักคิด/ทฤษฎี
                                                                                                                                   1
                           ยุคแรก
           1.		เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
                     เฟเดอริค ดับบลิว
                           (ก่อน พ.ศ. 2503)
 2.		วัตถุประสงค์หลักเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ
                  เทเลอร์
                                             3.		เครื่องมือสำคัญ คือ การขาย
                          (Frederick 

                                             4.		ให้ความสำคัญต่อผู้ผลิตมากกว่าลูกค้า
                 W. Taylor)

                           ยุคที่สอง
        1.		แ นวความคิ ด ส่ ว นผสมทางการตลาด (Marketing 

                           (พ.ศ. 2503-2533)
 				Mix)
                                         ฟิลิปส์ คอทเลอร์
                                             2.		วัตถุประสงค์หลักเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ
         (Philip Kotler)
                                             3.		ให้ความสำคัญต่อลูกค้ามากกว่าผู้ผลิต

                           ยุคปัจจุบัน
          1.		ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
                           (พ.ศ. 2533 ถึง        2.		วัตถุประสงค์หลักเปลี่ยนจากมุ่งเน้นกำไรมาเป็นการ
 วอเรน คีแกน
                           ปัจจุบัน)
            				สร้างผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                (Warren
                                                 3.		เครืองมือสำคัญ คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic 
 Keegan)
                                                         ่
                                                 				Management)

                            เครื่องมือสำคัญของแนวความคิดด้านการตลาดในยุคปัจจุบันก็คือ การจัดการเชิง

                      กลยุทธ์ (Strategic Management) ซึ่งแจ๊ค เวลส์ (Jack Welch) ผู้บริหารระดับสูงของ
                      บริษัทเยนเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) ที่มียอดขายติดอันดับต้น ๆ ของโลกได้ ให้

                      คำนิยามสำหรับการจัดการเชิงกลยุทธ์ว่าเป็น ลักษณะของการผสมผสานหรือบูรณาการ
                      (Integration) องค์ประกอบของการบริหารการจัดการเข้าด้วยกัน และก้าวเข้าสู่การไม่มี
                      ขอบเขตของกิจกรรมการตลาดหรือการตลาดไร้พรมแดน (Globalization or Boundary-less
                      Marketing)




_12-13(001-024)P2.indd 9                                                                                               9/16/12 10:53:57 PM
10                                                                                     การตลาดระดับโลก


                                                         แผนภูมิที่ 1.1

                                วงจรการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ (Marketing Strategic Management)
                            
                            
                               1 การสำรวจ
                                                        ความตองการของลูกคา
                                                
                                                                                            
                       5 
การสรางคุณคาแกลูกคา                                           2 การวิจัยและพัฒนา

                            
                 			                   4 การผลิต                          3 การผลิตดานวิศวกรรม
                                                                                                                          

                 	      1.3.2			ลำดับขั้นการพัฒนาการตลาดระดับโลก
                        											ลำดับขั้นการพัฒนาการตลาดที่จะก้าวสู่ระดับโลกมี 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
                        											ระดับที่หนึ่ง การตลาดภายในประเทศ (Domestic Marketing) 
                        											การตลาดภายในประเทศ คือ การพัฒนากลยุทธ์ โดยอาศัยฐานข้อมูลภายใน
                 ประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านลูกค้า แนวโน้มอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง รวม

                 ถึ ง การแข่ ง ขั น ซึ่ ง ในสภาวะปั จ จุ บั น คู่ แ ข่ ง ขั น ตลาดภายในประเทศไม่ ใ ช่ เ พี ย งแค่ บ ริ ษั ท

                 ท้องถิ่นเท่านั้นแต่ยังรวมถึงบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศนั้น ๆ อีกด้วย
                 นักการตลาดที่ ให้ความสำคัญกับการตลาดระดับนี้จะมีแนวคิดยึดประเทศแม่เป็นศูนย์กลาง
                 (Ethnocentric) และไม่ค่อยให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดโลกเท่าใดนัก
                 ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตของเพศที่สาม การแข่งขันรูปแบบใหม่ ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง
                 ได้ว่า แนวคิดนี้ยึดประเทศแม่เป็นศูนย์กลางและปรับแต่งกลยุทธ์เพียงเพื่อตอบสนองความ
                 ต้องการของลูกค้าภายในประเทศนั้น ๆ
                       											ระดับที่สอง การตลาดเพื่อการส่งออก (Export Marketing)
                       											การตลาดเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่มีจุดกำเนิดจากการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า

                 ต่างประเทศ บริษัทก็ดำเนินการส่งสินค้าตามนั้น แต่ในระยะเริ่มต้นบริษัทยังขาดประสบการณ์
                 และความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับกิจกรรมการส่งออกระหว่างประเทศ บริษัทจึงผลักภาระด้านนี้



_12-13(001-024)P2.indd 10                                                                                                      9/16/12 10:53:57 PM

Contenu connexe

Tendances

ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนังตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนังNattakorn Sunkdon
 
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์Utai Sukviwatsirikul
 
ทิปโก้
ทิปโก้ทิปโก้
ทิปโก้rmutk
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)กมลรรณ ดิษฐ์ขำ
 
แผนธุรกิจ กระบะกระดาษ
แผนธุรกิจ กระบะกระดาษแผนธุรกิจ กระบะกระดาษ
แผนธุรกิจ กระบะกระดาษTeerapon Chamket
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยวchickyshare
 
AIM3304 Advertising Value
AIM3304 Advertising ValueAIM3304 Advertising Value
AIM3304 Advertising ValueGetZii1
 
Scribe book ของกลุ่มที่ 4
Scribe book ของกลุ่มที่ 4Scribe book ของกลุ่มที่ 4
Scribe book ของกลุ่มที่ 4Sanwis Natthanicha
 
บทที่6
บทที่6บทที่6
บทที่6praphol
 
Brand value, brand equity
Brand value, brand equity Brand value, brand equity
Brand value, brand equity PümPüy Ża
 
การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)
การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)
การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)tra thailand
 

Tendances (20)

Bdc 412 Global brand strategy
Bdc 412 Global brand strategyBdc 412 Global brand strategy
Bdc 412 Global brand strategy
 
Week 7
Week 7Week 7
Week 7
 
Niche market.
Niche market.Niche market.
Niche market.
 
Course Introduction - IMC
Course Introduction - IMCCourse Introduction - IMC
Course Introduction - IMC
 
Marketing plan
Marketing planMarketing plan
Marketing plan
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนังตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง
 
Tipco
TipcoTipco
Tipco
 
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
สรรสร้าง แบรนด์ สร้างสรรค์
 
Prestudy marketing plan_objective_product
Prestudy marketing plan_objective_productPrestudy marketing plan_objective_product
Prestudy marketing plan_objective_product
 
ทิปโก้
ทิปโก้ทิปโก้
ทิปโก้
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการส่งออกเครื่องหนัง(2)
 
แผนธุรกิจ กระบะกระดาษ
แผนธุรกิจ กระบะกระดาษแผนธุรกิจ กระบะกระดาษ
แผนธุรกิจ กระบะกระดาษ
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว
 
AIM3304 Advertising Value
AIM3304 Advertising ValueAIM3304 Advertising Value
AIM3304 Advertising Value
 
แผน Imc
แผน Imcแผน Imc
แผน Imc
 
Scribe book ของกลุ่มที่ 4
Scribe book ของกลุ่มที่ 4Scribe book ของกลุ่มที่ 4
Scribe book ของกลุ่มที่ 4
 
บทที่6
บทที่6บทที่6
บทที่6
 
Media IMC
Media IMCMedia IMC
Media IMC
 
Brand value, brand equity
Brand value, brand equity Brand value, brand equity
Brand value, brand equity
 
การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)
การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)
การประเมินค่าตราสินค้า(Brand)
 

Similaire à 9789740330448

Mk212powerpoint
Mk212powerpointMk212powerpoint
Mk212powerpointthanaporn
 
การจัดการตลาด
การจัดการตลาดการจัดการตลาด
การจัดการตลาดpronprom11
 
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์ออร์คิด คุง
 
การตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศการตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศNaresuan University Library
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมjirapom
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์Krumai Kjna
 
Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์
Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์
Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์Patchara Patipant
 
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์krunimsocial
 
Social Enterprise: Introduction and SROI
Social Enterprise: Introduction and SROISocial Enterprise: Introduction and SROI
Social Enterprise: Introduction and SROISarinee Achavanuntakul
 
การพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทย
การพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทยการพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทย
การพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทยDr.Choen Krainara
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนfreelance
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926CUPress
 
1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา
1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา
1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนาSaiiew
 
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์ออร์คิด คุง
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptpronprom11
 

Similaire à 9789740330448 (20)

Mk212powerpoint
Mk212powerpointMk212powerpoint
Mk212powerpoint
 
1111111111111111111
11111111111111111111111111111111111111
1111111111111111111
 
การจัดการตลาด
การจัดการตลาดการจัดการตลาด
การจัดการตลาด
 
Advertising and culture
Advertising and cultureAdvertising and culture
Advertising and culture
 
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรูณ์
 
การตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศการตลาดในงานบริการสารสนเทศ
การตลาดในงานบริการสารสนเทศ
 
Social Enterprise: World & Thailand
Social Enterprise: World & ThailandSocial Enterprise: World & Thailand
Social Enterprise: World & Thailand
 
Social media trends in 2012
Social media trends in 2012Social media trends in 2012
Social media trends in 2012
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
Social network direct media
Social network direct mediaSocial network direct media
Social network direct media
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
 
Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์
Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์
Presentation วิชาเศรษฐศาสตร์
 
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
 
Social Enterprise: Introduction and SROI
Social Enterprise: Introduction and SROISocial Enterprise: Introduction and SROI
Social Enterprise: Introduction and SROI
 
การพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทย
การพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทยการพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทย
การพัฒนาตัวชี้วัดและการติดตามและประเมินผลความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในประเทศไทย
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926
 
1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา
1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา
1ความหมายความสำคัญของการบริหารการพัฒนา
 
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานฉบับสมบรู ณ์
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330448

  • 1. 1 _12-13(001-024)P2.indd 1 9/16/12 10:53:52 PM
  • 2. การตลาดระดับโลก 1.1 บทนำ ความต้องการสิ่งจำเป็นเป็นพื้นฐานของมนุษย์เป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนา ความเจริญก้าวหน้าของสังคมในด้านต่าง ๆ ติดตามมาอย่างมากมายนับตั้งแต่การที่มนุษย์ เริ่มรู้จักดัดแปลงเครื่องมือใช้ ในการล่าสัตว์เป็นอาหารเพื่อประทังความหิวโหย การสร้าง ที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกเลี่ยงความทารุณจากภัยธรรมชาติ การใช้วัสดุจากธรรมชาติมาดัดแปลง เป็นเครื่องนุ่งห่มเพื่อห่อหุ้มร่างกาย ตลอดจนการค้นหาวิธีการเพื่อบรรเทาหรือระงับความ เจ็ บ ป่ ว ยของมนุ ษ ย์ สิ่ ง เหล่ า นี้ ก็ คื อ ความพยายามของมนุ ษ ย์ ที่ จ ะตอบสนองความจำเป็ น พื้ น ฐานที่ เ รี ย กว่ า ปั จ จั ย 4 ได้ แ ก่ อาหาร ที่ อ ยู่ อ าศั ย เครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม และยารั ก ษาโรค วิ วั ฒ นาการของมนุ ษ ย์ ใ นแต่ ล ะยุ ค สมั ย จะสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความพยายามที่ จ ะเอาชนะ ธรรมชาติ โดยการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ อันเป็นผลให้เกิดความอยู่ดีกินดี ในสังคม อัตรา การเพิ่มขึ้นของมนุษย์และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดกระแส แห่งความเปลี่ยนแปลงติดตามมา ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ ความอยู่รอดและความมั่นคง ในการดำเนินชีวิต แนวความคิ ด ทางด้ า นการตลาดเริ่ ม มี บ ทบาทสำคั ญ มากขึ้ น โดยเป็ น ผลสื บ เนื่ อ ง มาจากการมุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในชุมชนเดียวกันหรือต่างชุมชนกัน ใน อดีตมนุษย์เริ่มรู้จักการสร้างผลผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง ครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ ได้ โดยไม่เดือดร้อน แต่เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ ในแต่ละชุมชน จึงทำให้มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันควบคู่กับการเจริญเติบโตของ ชุมชน ความแตกต่างกันในความเป็นมนุษย์ทั้งทางด้านความรู้ความสามารถและสติปัญญา ทำให้มนุษย์เริ่มรู้จักคำว่าการแลกเปลี่ยน (Barter) สิ่งที่ต้องการของแต่ละครอบครัวหรือ ชุมชน หรือการแบ่งขีดความสามารถในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ชุมชน จนกระทั่งกลายเป็นความต้องการของผู้ ให้และผู้รับหรือในยุคต่อมาที่เรียกว่าผู้ซื้อและ ผู้ขายขึ้นในสังคม การตอบสนองความต้องการของมนุษย์แต่ละคนมีผลต่อเนื่องกันถึงประเทศชาติโดย ส่วนรวมเริ่มตั้งแต่การที่บุคคลแต่ละคนหรือปัจเจกชน (Individual) พยายามประกอบอาชีพ เพื่อหารายได้ (Income) ให้แก่ตนเองซึ่งส่งผลทำให้ครอบครัว (Family) มีฐานะและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี (Quality of Life) ครอบครัวแต่ละครอบครัวที่รวมเข้าเป็นชุมชนทำให้ชุมชนนั้น เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ (Economic Strength) และจะส่งผลต่อสังคมให้มีความอยู่ดี _12-13(001-024)P2.indd 2 9/16/12 10:53:52 PM
  • 3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก กินดี (Well-being) และท้ายที่สุดก็จะทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าและมีความมั่งคั่ง (Wealth) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าบุคคลแต่ละคนมีบทบาทกับการพัฒนาประเทศ แผนภูมิที่ 1.1 1 บทบาทของบุคคลกับการพัฒนาประเทศ ประเทศชาติ –– ความมั่นคง สังคม –– ความอยู่ดีกินดี ชุมชน –– ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ครอบครัว –– คุณภาพชีวิต ปัจเจกชน –– รายได้ 1.2 ความหมาย 1.2.1 ความหมายของการตลาด ได้มีผู้ ให้คำนิยามหรือความหมายของการตลาดที่น่าสนใจดังนี้ การตลาด หมายถึ ง กระบวนการวางแผนและปฏิ บั ติ ก ารเกี่ ย วกั บ แนวคิ ด ในการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาดและการกระจายสินค้า บริการ รวมถึงความคิดสู่กลุ่ม ลูกค้าเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรในขณะเดียวกัน (Kotler, 1999: 13) การตลาด หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและดำเนินการในเรื่อง ของราคา การส่งเสริมการตลาด และการกระจายสินค้าและบริการ ซึ่งไม่เพียงแต่ตอบสนอง ความพอใจของลูกค้า ณ ขณะนั้นแต่ยังต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคตอีกด้วย (Kotabe, 2001: 10) _12-13(001-024)P2.indd 3 9/16/12 10:53:54 PM
  • 4. การตลาดระดับโลก การตลาด หมายถึ ง ชุ ด ของกิ จ กรรมซึ่ ง นำไปสู่ ก ระบวนการแลกเปลี่ ย น ผลิตภัณฑ์และบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และต้องสามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าจนให้เกิดความพอใจได้ โดยใช้ส่วนประสมทางการตลาด อันประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดเป็นเครื่องมือพื้นฐาน (Keegan, 2009: 2) การตลาด หมายถึง การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในทางธุรกิจที่มีผลให้เกิดการ นำผลิตภัณฑ์หรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ ใช้บริการนั้น ๆ ให้ ได้รับความพอใจ ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ (สุดาดวง เรืองรุจิระ, 2543 : 2) กล่าวโดยสรุปการตลาดมีองค์ประกอบสำคัญดังนี ้ 1. การแลกเปลี่ยนหรือการเคลื่อนย้าย (Exchange or Mobilization) 2. สินค้าหรือบริการ (Goods or Services) 3. วั ต ถุ ป ระสงค์ ร่ ว มกั น ระหว่ า งความพอใจของลู ก ค้ า และกำไรของผู้ ข าย (Mutual Objectives) 1.2.2 ความหมายของการตลาดระดับโลก สำหรับการตลาดระดับโลกมีผู้ ให้คำนิยามหรือความหมายดังนี้ การตลาดระดับโลก หมายถึง ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งไปจำหน่ายในประเทศ ต่าง ๆ และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นประดิษฐกรรมใหม่ซึ่งอาจแตกต่างจากแบบต้นกำเนิด ในประเทศแม่ โดยประดิษฐกรรมนั้นสะท้อนถึงรสนิยมและความชอบของลูกค้าส่วนใหญ่ทั่วโลก (Keegan, 2009: 2) การขยายตัวของบริษัทไก่ทอดยี่ห้อ KFC (Kentucky Fried Chicken) จาก สหรั ฐ อเมริ ก าสู่ ไทย ได้ มี ก ารพั ฒ นา ดั ด แปลงอาหารบางรายการให้ ถู ก กั บ รสนิ ย มของคนไทย เช่ น ชุ ด ข้ า วยำไก่ แซบ และชุดสเต็กไก่ลูกทุ่ง เป็นต้น ภาพที่ 1.1 ภาพโฆษณาดัดแปลงอาหารให้ถูกกับรสนิยมของคนไทย _12-13(001-024)P3.indd 4 10/6/12 8:32:20 PM
  • 5. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก อีกตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่รับความนิยมสำหรับประชากรโลกไม่จำเป็น จะต้องมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้นแต่อาจเป็นสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาก็ ได้ เช่น สหรัฐอเมริกาเปิดตลาดสินค้าแฮมเบอร์เกอร์ ในฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนั้นมีบริษัทคู่แข่งท้องถิ่นชื่อ 1 จอลลิบี (Jollibee) จำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์แต่งหน้าด้วยสับปะรด ของหวานเป็นพายสอดไส้ มะม่วง ซึ่งเข้ากับรสนิยมของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ ได้ดีกว่าแฮมเบอร์เกอร์แบบดั้งเดิมจาก สหรัฐอเมริกา และต่อมาจอลลิบีก็ ไปเปิดตลาดที่รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น ประเทศต้นแบบของแฮมเบอร์เกอร์ และประสบความสำเร็จในการจำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์ สไตล์ชาวเกาะทะเลใต้ การตลาดระดับโลก หมายถึง กิจกรรมการตลาดระหว่างประเทศซึ่งเกิดจากการ ผสมผสานจนพั ฒ นาเป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น ไม่ ว่ า จะเป็ น คุ ณ ลั ก ษณะผลิ ต ภั ณ ฑ์ รู ป ลั ก ษณ์ บรรจุภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์รวมถึงกระบวนการแนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดประเทศต่าง ๆ ก็ กระทำในลักษณะเดียวกัน เช่น ใช้ข้อความโฆษณาคล้ายคลึงกัน ใช้แผนการขายร่วมกัน (Johanasson, 2008: 8) แต่อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนั้นไม่ ได้จำเป็นว่าจะต้องใช้สำหรับทุกประเทศในโลก อาจใช้ร่วมกันในประเทศที่อยู่ ในกลุ่มภูมิภาคเดียวกันก็จัดว่าเป็นการตลาดระดับโลกได้ เช่น ความพยายามในการผสมผสานการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดระหว่างกลุ่มประเทศใน ภูมิภาคยุโรป การตลาดระดับโลก หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดซึ่งกระทำโดยบริษัทซึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. ลดต้นทุนที่ ไม่ก่อประสิทธิภาพ 2. แลกเปลี่ยนกิจกรรมทางการตลาดทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค เพื่อนำไป ใช้ระหว่างกลุ่มบริษัทซึ่งมีสาขากระจายทั่วโลก 3. สร้างโอกาสในการหมุนเวียนสับเปลี่ยน ผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ และความ คิดสร้างสรรค์ระหว่างบริษัทสาขา 4. การเกิดขึ้นของลูกค้าระดับโลก 5. ความเชื่อมโยงที่ดีของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการตลาดในระดับประเทศ นำไปสูการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานทางการตลาดระดับโลก (Kotabe, 2001: 15) ่ ้ _12-13(001-024)P3.indd 5 10/6/12 8:32:20 PM
  • 6. การตลาดระดับโลก กล่าวโดยสรุปก็คือ การตลาดระดับโลกไม่ ใช่การสร้างความเป็นมาตรฐานเดียว สำหรับผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด การกำหนดราคา และการจัดจำหน่าย แต่การตลาด ระดับโลก คือ ความเต็มใจของบริษัทที่จะนำวิสัยทัศน์ระดับโลกมาใช้แทนระดับประเทศ (Country-by-country) หรือระดับภูมิภาค (Region-by-region) ในการพัฒนากลยุทธ์ การตลาด การตลาดระดับโลก หมายถึง การสร้างกลยุทธ์หนึ่งเดียวสำหรับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือบริษัทสำหรับตลาดทั่วโลก ครอบคลุมในหลายประเทศพร้อม ๆ กัน มากกว่าจะ ปรับแต่งกลยุทธ์ โดยเฉพาะเพื่อตลาดแห่งหนึ่งแห่งใด บริษัทซึ่งดำเนินการตลาดระดับโลก มี ค วามมุ่ ง หมายในการกำหนดกลยุ ท ธ์ ที่ ใ ช้ เ ป็ น แบบฉบั บ ทั่ ว ไปโดยสามารถประยุ ก ต์ กั บ ตลาดทั่วโลก ขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่นในการปรับองค์ประกอบให้เข้ากับความต้องการ ของตลาดท้องถิ่นในกรณีที่จำเป็น (Jeannet and Hennessey, 2001: 5) การตลาดระดับโลก หมายถึง กิจกรรมการตลาดที่มีความแน่นอนในด้านการ ประสานงาน การประสมประสาน การควบคุมจากบริษัทโดยปฏิบัติการพร้อมกันทั้งตลาด ภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้กิจการสามารถรักษายอดขายทั้งตลาดภายในและ ต่างประเทศโดยไม่เสียเปรียบคู่แข่งขัน (เสาวภา มีถาวรกุล, 2537: 7) การตลาดระดับโลก หมายถึง การบริหารกิจกรรมการตลาดระหว่างประเทศ แบบบูรณาการ (Integrated) นั่นคือการใช้ความพยายามจัดการทรัพยากร และวัตถุประสงค์ ขององค์ ก ร หาวิ ธี ก ารเข้ า สู่ ผู้ บ ริ โ ภค อาจจะด้ ว ยกิ จ กรรมทางการตลาดในรู ป แบบของ การตลาดระหว่างประเทศ หรือการตลาดหลายประเทศก็ ได้ โดยจะต้องให้ผู้บริโภคได้รับ คุ ณ ค่ า จากสิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารสู ง สุ ด และธุ ร กิ จ ได้ เ ปรี ย บคู่ แ ข่ ง มากที่ สุ ด มี ต้ น ทุ น ต่ ำ กว่ า มี ประสบการณ์มากกว่า และให้คุณค่าต่อผู้บริโภคที่มากกว่า ตลอดจนคำนึงถึงความพอใจของ พนักงาน ผู้บริหารและสังคมด้วย (ศศิวิมล สุขบท, 2550 : 2) การตลาดระดับโลกมีความหมายโดยสรุป คือ กระบวนการสร้างสรรค์กิจกรรม ทางการตลาดที่เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงรูปแบบกิจกรรมนั้น ในกลุ่มบริษัททั้งในประเทศแม่และประเทศสาขา โดยมีการควบคุม ประสานงาน และจัดสรร ทรัพยากรระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพในอันที่จะลดต้นทุนเพื่อการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันระดับโลกและสร้างคุณค่าแก่ผู้บริโภคในระดับโลก _12-13(001-024)P2.indd 6 9/16/12 10:53:56 PM
  • 7. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก วอเรน คี แ กน (Warren Keegan) นั ก วิ ช าการด้ า นการตลาดได้ ใ ห้ ทั ศ นะ เกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่าง “การตลาด” กับ “การตลาดระดับโลก” ดังนี้ 1 “การตลาด” เปรียบเสมือนกฎระเบียบสากลซึ่ง นำไปใช้ ได้ ในทุกแห่ง ขณะที่ “การตลาดระดับ โลก” จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรของ บริ ษั ท ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด โดยคำนึ ง ถึ ง โอกาสและอุ ป สรรคในตลาดโลก (Keegan, 2009: 2) ภาพที่ 1.2 วอเรน คีแกน การตลาดระดับโลกจำแนกออกเป็นประเด็นสำคัญดังนี ้ ประเด็นที่หนึ่ง คือ ขอบเขตของกิจกรรมบริษัทต้องปฏิบัตินอกประเทศแม่ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการตลาดระดับโลก ประเด็นต่อมา คือ การตลาดระดับโลกต้องมีความเข้าใจในแนวคิดที่มีลักษณะ เฉพาะ ข้อจำกัด และกลยุทธ์ซึ่งสามารถประยุกต์ ใช้ด้วยความชำนาญกับพื้นฐานการตลาด สากลเพื่อให้แน่ใจว่าประสบความสำเร็จในตลาดโลก 1.3 วิวัฒนาการของการตลาดระดับโลก 1.3.1 วิวัฒนาการของการตลาด แนวความคิ ด ทางด้ า นการตลาดมี วิ วั ฒ นาการมาตามลำดั บ แบ่ ง ได้ เ ป็ น 3 ยุคดังนี ้ ยุคแรก เป็นยุคที่เกิดก่อน พ.ศ. 2503 ลักษณะสำคัญก็คือ การมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มี คุณภาพเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ต้องการผลกำไรทางธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ ด้านการขายในอันที่จะโน้มน้าวจิตใจของลูกค้าให้เกิดความต้องการซื้อสินค้า กล่าวโดยสรุป ยุคนี้จะให้ความสำคัญต่อผู้ผลิตมากกว่าลูกค้าโดยอาศัยเครื่องมือคือการขายและยังไม่ตระหนัก ถึงความสำคัญด้านการตลาด _12-13(001-024)P3.indd 7 10/6/12 8:34:23 PM
  • 8. การตลาดระดับโลก ยุคที่สอง อยู่ ในช่วงปลาย พ.ศ. 2503-2533 มีระยะเวลาประมาณ 30 ปี นับตั้งแต่ นักวิชาการด้านการตลาดที่มีชื่อเสียงคนสำคัญคือ ฟิลิปส์ คอทเลอร์ (Philip Kotler) ได้ เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ ไม่ ใช่การขายแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนเช่นยุคแรก ในยุคนี้แนวความคิดด้านการตลาด ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมุ่งเน้นผู้ผลิตมาเป็นการให้ความสำคัญแก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ก็คือต้องการผลกำไรทางธุรกิจเช่นยุคแรก ยุคนี้เริ่มให้ความสำคัญกับการตลาด มีการให้ความหมายของการตลาดโดยนักคิดหลายท่าน เช่น ฟิลิปส์ คอทเลอร์ ไมเคิล อีเซล บรูซ วอล์กเกอร์ และวิลเลียม สเตตัน ยุคปัจจุบัน นั บ ตั้ ง แต่ พ.ศ. 2533 เป็ น ต้ น มา ได้ มี นั ก คิ ด และนั ก ทฤษฎี ท างการตลาด ที่มีชื่อเสียง คือ วอเรน คีแกน นำเสนอแนวความคิดทางการตลาดยุคใหม่ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก การให้ ค วามสำคั ญ เกี่ ย วกั บ สภาพแวดล้ อ ม (Environment) โดยเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับลูกค้า การดำเนินการด้านการตลาด จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของธุรกิจ รูปแบบของ การแข่งขัน นโยบาย กฎระเบียบของรัฐบาล สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แนว ความคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการวางรูปแบบวิวัฒนาการของตลาดในปัจจุบัน ประการที่สอง ได้ปรับปรุงวัตถุประสงค์เดิมในการดำเนินธุรกิจที่เคยมุ่งเน้น กำไร เปลี่ ย นเป็ น การสร้ า งผลประโยชน์ ต อบแทนให้ กั บ ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในการดำเนิ น ธุรกิจ (Stakeholder Benefits) ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัท เช่น พนักงาน ลูกจ้าง ผู้บริหาร ลูกค้า ชุมชนและสังคม โดยการสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้าใหม่ (Innovation) เข้าสู่ตลาดและมีผลต่อการรักษาหรือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ ใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์ ภาชนะโฟมที่ ใช้วัสดุจากถั่วเหลือง การผลิตถ่านไฟฉายที่ ไม่ทำลาย มลภาวะ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ตู้เย็นที่ ไม่ ใช้สารทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ เครื่อง สุขภัณฑ์ที่ประหยัดน้ำ หลอดประหยัดไฟ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมเพื่อ ป้องกันมิให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ฟุ่มเฟือยหรือผลิตสินค้าที่บั่นทอนสุขภาพของลูกค้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม _12-13(001-024)P2.indd 8 9/16/12 10:53:56 PM
  • 9. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดระดับโลก ตารางที่ 1.1 วิวัฒนาการแนวความคิดด้านการตลาด ระยะเวลา ลักษณะสำคัญ นักคิด/ทฤษฎี 1 ยุคแรก 1. เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เฟเดอริค ดับบลิว (ก่อน พ.ศ. 2503) 2. วัตถุประสงค์หลักเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ เทเลอร์ 3. เครื่องมือสำคัญ คือ การขาย (Frederick 4. ให้ความสำคัญต่อผู้ผลิตมากกว่าลูกค้า W. Taylor) ยุคที่สอง 1. แ นวความคิ ด ส่ ว นผสมทางการตลาด (Marketing (พ.ศ. 2503-2533) Mix) ฟิลิปส์ คอทเลอร์ 2. วัตถุประสงค์หลักเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ (Philip Kotler) 3. ให้ความสำคัญต่อลูกค้ามากกว่าผู้ผลิต ยุคปัจจุบัน 1. ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (พ.ศ. 2533 ถึง 2. วัตถุประสงค์หลักเปลี่ยนจากมุ่งเน้นกำไรมาเป็นการ วอเรน คีแกน ปัจจุบัน) สร้างผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Warren 3. เครืองมือสำคัญ คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Keegan) ่ Management) เครื่องมือสำคัญของแนวความคิดด้านการตลาดในยุคปัจจุบันก็คือ การจัดการเชิง กลยุทธ์ (Strategic Management) ซึ่งแจ๊ค เวลส์ (Jack Welch) ผู้บริหารระดับสูงของ บริษัทเยนเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) ที่มียอดขายติดอันดับต้น ๆ ของโลกได้ ให้ คำนิยามสำหรับการจัดการเชิงกลยุทธ์ว่าเป็น ลักษณะของการผสมผสานหรือบูรณาการ (Integration) องค์ประกอบของการบริหารการจัดการเข้าด้วยกัน และก้าวเข้าสู่การไม่มี ขอบเขตของกิจกรรมการตลาดหรือการตลาดไร้พรมแดน (Globalization or Boundary-less Marketing) _12-13(001-024)P2.indd 9 9/16/12 10:53:57 PM
  • 10. 10 การตลาดระดับโลก แผนภูมิที่ 1.1 วงจรการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ (Marketing Strategic Management) 1 การสำรวจ ความตองการของลูกคา 5 การสรางคุณคาแกลูกคา 2 การวิจัยและพัฒนา 4 การผลิต 3 การผลิตดานวิศวกรรม 1.3.2 ลำดับขั้นการพัฒนาการตลาดระดับโลก ลำดับขั้นการพัฒนาการตลาดที่จะก้าวสู่ระดับโลกมี 5 ระดับ ดังต่อไปนี้ ระดับที่หนึ่ง การตลาดภายในประเทศ (Domestic Marketing) การตลาดภายในประเทศ คือ การพัฒนากลยุทธ์ โดยอาศัยฐานข้อมูลภายใน ประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านลูกค้า แนวโน้มอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง รวม ถึ ง การแข่ ง ขั น ซึ่ ง ในสภาวะปั จ จุ บั น คู่ แ ข่ ง ขั น ตลาดภายในประเทศไม่ ใ ช่ เ พี ย งแค่ บ ริ ษั ท ท้องถิ่นเท่านั้นแต่ยังรวมถึงบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศนั้น ๆ อีกด้วย นักการตลาดที่ ให้ความสำคัญกับการตลาดระดับนี้จะมีแนวคิดยึดประเทศแม่เป็นศูนย์กลาง (Ethnocentric) และไม่ค่อยให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดโลกเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตของเพศที่สาม การแข่งขันรูปแบบใหม่ ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้ว่า แนวคิดนี้ยึดประเทศแม่เป็นศูนย์กลางและปรับแต่งกลยุทธ์เพียงเพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าภายในประเทศนั้น ๆ ระดับที่สอง การตลาดเพื่อการส่งออก (Export Marketing) การตลาดเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่มีจุดกำเนิดจากการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ต่างประเทศ บริษัทก็ดำเนินการส่งสินค้าตามนั้น แต่ในระยะเริ่มต้นบริษัทยังขาดประสบการณ์ และความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับกิจกรรมการส่งออกระหว่างประเทศ บริษัทจึงผลักภาระด้านนี้ _12-13(001-024)P2.indd 10 9/16/12 10:53:57 PM