SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
บ ท ที่
                      1
                                                ทฤษฎีการให้บริการปรึกษา
	       ทฤษฎีเป็นหลักส�ำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงแนวปฏิบัติและแนวความเชื่อในสิ่งนั้น ทฤษฎีเกิดขึ้นมาจาก
การรวบรวมข้อมูลที่ได้ปฏิบัติกันมา  โดยจัดแบ่งไว้อย่างมีระเบียบแบบแผนเป็นกลุ่มก้อน และมีความ
สัมพันธ์ต่อกัน ผู้ที่คิดว่าทฤษฎีเป็นสิ่งที่ไม่ส�ำคัญนั้นจะเป็นผู้เสียเปรียบ เพราะจะท�ำให้ขาดแนวทาง        
อันเป็นประโยชน์ส�ำหรับที่จะน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ และจะท�ำได้ก็เพียงแค่ใช้ความ
คิดค�ำนึงของตนเองเพียงอย่างเดียวเท่านั้นมาใช้ตัดสินใจ ย่อมจะท�ำให้มีโอกาสผิดพลาดได้มากกว่า 
เพราะทฤษฎีมิได้เกิดขึ้นจากการเดาสุ่ม หากแต่เกิดขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานส�ำคัญหลายประการ ถ้าเรา
ต้องการศึกษาเพือให้ทราบถึงสาเหตุของทฤษฎีนน ซึงแสดงหลักฐานจนเป็นทียอมรับกันอย่างแพร่หลาย
                  ่                                ั้ ่                       ่
เราจ�ำเป็นต้องทราบถึงพืนฐานทางด้านปรัชญาทีเ่ จ้าของทฤษฎีนนยึดถือ ประวัตความเป็นมาของทฤษฎี
                           ้                                       ั้           ิ
เข้าใจลักษณะทางสังคมและวิถีแห่งการด�ำเนินชีวิตของบุคคลในสังคมที่เจ้าของทฤษฎีอาศัยอยู่ใน         
ขณะนั้น นอกจากนี้เราควรจะได้ศึกษาถึงชีวประวัติ บุคลิกภาพ ทัศนคติ ความสนใจ และความ             
สามารถพิเศษอื่น ๆ ของเจ้าของทฤษฎีนั้นด้วย เพราะทฤษฎีเปรียบเสมือนแผนที่ที่สามารถบอกให้         
ผู้ใช้ทราบถึงสิ่งที่ควรสังเกต พิจารณา และคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ให้ประโยชน์หรือช่วยเหลือเรา
ได้มากน้อยเพียงใด เป็นการก�ำหนดทิศทางที่จะด�ำเนินต่อไป นอกจากนี้ปรากฏการณ์ทางพฤติกรรม
ของมนุษย์นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวเหมือนกันทุกคน ดังนั้นจึงได้มีการปลูกฝังระเบียบแบบ
แผนเพื่อสร้างและปรับพฤติกรรมของมนุษย์ให้สามารถด�ำรงชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคม       
การจัดข้อมูลของมนุษย์อย่างมีระบบเหล่านี้ก็คือ การจัดตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นมานั่นเอง

ทฤษฎีคืออะไร
	
	     ศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นวิชาชีพ ย่อมต้องมีการบันทึกความเป็นมาอย่างเป็นทางการ      
โดยมีการศึกษา วิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ “ทฤษฎี” (theory) นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญ
ประการหนึ่งที่มีส่วนกระตุ้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทั่วไปของศาสตร์แขนงต่าง ๆ อันจะเป็นแก่น       
ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบหรือยืนยันหักล้างอันเป็นการสะสมหรือต่อยอด ส�ำหรับปรับปรุงหรือ       
พัฒนาองค์ความรู้แขนงนั้นให้เจริญรุดหน้าสืบต่อไป ทฤษฎีจึงเป็นหลักส�ำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงแนวการ
ปฏิบัติและแนวความเชื่อ ท�ำให้มีผู้สนใจศึกษาทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องนั้นให้เข้าใจอย่างชัดเจน ส�ำหรับ                     
ความหมายของทฤษฎีนั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแง่มุมด้วยกัน เช่น นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า   
ทฤษฎีเป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระเบียบเป็นกลุ่มก้อน นักปรัชญากล่าวว่า  หากมนุษย์สามารถจะ
จดจ�ำทุกสิ่งทุกอย่างได้อาจไม่จ�ำเป็นต้องมีทฤษฎี เพราะเราสามารถน�ำข้อมูลดิบเหล่านั้นมาใช้อ้างอิง
ได้ทันที แต่เนื่องจากความจ�ำของมนุษย์มีจ�ำกัด เราจึงต้องจ�ำแต่กฎเกณฑ์ใหญ่ที่ได้รวบรวมกลั่นกรอง
มาจากข้อมูลดิบ โดยผ่านการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับกัน เพื่อจะได้ใช้อ้างอิงสิ่งที่สัมพันธ์กับที่เรากล่าว
ถึง และส�ำหรับในทางจิตวิทยา ค�ำว่าทฤษฎีก็คือกลุ่มหนึ่งของสมมติฐาน (assumptions) ที่เกี่ยวโยง
กัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีแบบแผน
	      ในปัจจุบนยังไม่มคำจ�ำกัดความของค�ำว่า ทฤษฎี (theory) ทีกระชับ และเป็นทียอมรับกันอย่าง
                 ั       ี�                                     ่                  ่
สากล แต่มีผู้พยายามให้ความหมายของทฤษฎีไว้หลากหลายมุมมองดังนี้
	      Brammer & Shostrom (1977) กล่าวว่า ทฤษฎีช่วยชี้แนะแนวทางการประเมินผลในรูปแบบ
เก่าด้วยการสร้างวิธีการใหม่ส�ำหรับศึกษาพฤติกรรมในขณะก�ำลังให้บริการศึกษา 
	      Burks and Stefflre (1979) ได้ให้ค�ำจัดกัดความว่า  ทฤษฎีเป็นแหล่งรวบรวมและเชื่อมโยง
ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ด้วยกันอย่างมีระบบระเบียบ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง
เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ   
	      ส�ำหรับ Lazarus (1971) เชื่อว่า  ทฤษฎีเป็นตัวแทนของความคิดรวบยอดของศาสตร์ใด ๆ ซึ่ง
สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และจัดข้อเท็จจริงที่กระจัดกระจายให้เข้า
ระบบเพื่อให้สามารถอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ธรรมชาติของทฤษฎี
	
	      ทฤษฎีมิได้เกิดมาโดยการเดาสุ่ม หากแต่เกิดขึ้นมาโดยอาศัยพื้นฐานที่ส�ำคัญหลายประการ ถ้า
ต้องการจะท�ำความเข้าใจว่า ท�ำไมทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงได้สร้างขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับกัน จ�ำเป็นจะ
ต้องเข้าใจบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านปรัชญาที่ผู้สร้างทฤษฎีได้ยึดถือเป็นหลัก เกี่ยวกับ
พื้นฐานทางด้านประวัติหรือความเป็นมาของทฤษฎีนั้น ศึกษาข้อมูลทางด้านสังคมที่ทฤษฎีนั้นได้รับ     
การพัฒนาขึนมา ซึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในด้านภาษา เจตคติชวิตของบุคคลในท้องถิ่นที่ผ้สร้าง
           ้      ่                                                  ี                          ู
ทฤษฎีนั้นอาศัยอยู่ และประการส�ำคัญสุดท้ายคือต้องรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานทางด้านบุคคล เช่น
บุคลิกภาพ ความต้องการ จุดเด่น สติปัญญา และความคิดของผู้สร้างทฤษฎีนั้น

	      แนวคิดในการสร้างทฤษฎี
	      ทฤษฎีในแต่ละสาขาต่างมีแนวคิดที่ส�ำคัญในการสร้างโดยอาศัยหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้
	      1.	 การรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์และน�ำข้อมูลนั้นมาปรับปรุง เพื่อจัดตั้งเป็นทฤษฎีขึ้น

                                                         2
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสมมติฐานที่อ้างอิงจากประสบการณ์
	      2.	 การขยายกฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่เดิม เป็นการตรวจและวิเคราะห์ทฤษฎีที่มีอยู่แล้วโดยเพิ่ม
ความคิดใหม่หรือตัดทอนสิ่งที่ไม่เห็นด้วยออกไป ด้วยการปรับปรุงใหม่และจัดเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่มี
โครงสร้างคล้ายคลึงกับของเดิมแต่มีเนื้อหาที่แตกต่างออกไป
	      3.	 การน� ำ มาเปรี ย บเที ย บกั บ ทฤษฎี ที่ มี อ ยู ่ เ ดิ ม  ส� ำ หรั บ ทฤษฎี ใ หม่ จ ะมี โ ครงสร้ า งและมี
กระบวนการที่เป็นไปในท�ำนองเดียวกัน แต่มีเนื้อหาสาระแตกต่างออกไป

	       ลักษณะของทฤษฎีที่ดี
	       Burks & Stefflre (1979: 9) กล่าวถึงเกณฑ์ที่จะน�ำมาใช้พิจารณาทฤษฎีที่ดี มีความเหมาะสม
ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
	       1.	 ทฤษฎีที่ดีจะต้องสร้ างขึ้นมาด้วยเหตุผล (rational) ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งเพ้อฝันและไม่ใช่          
ปรัชญา  แต่ทฤษฎีต้องเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วยความจริงอย่างสมเหตุผล บนพื้นฐานของข้อตกลง           
เบื้องต้น หรือเงื่อนไขบางประการที่ได้จากการสังเกตข้อมูลหลักฐานบางส่วนแล้วน�ำมาสรุป
	       2.	 ทฤษฎีที่ดีจะต้องกินใจความกว้างขวาง (comprehensive) กล่าวคือ จะต้องครอบคลุม
พฤติกรรมเป็นส่วนมาก สามารถอธิบายบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เกือบทุกกรณี
	       3.	 ทฤษฎีที่ดีจะต้องมีความกระจ่างชัด (explicit) สามารถท�ำให้ผู้อ่านเมื่ออ่านแล้วเข้าใจ            
ได้ชัดเจน ทฤษฎีไม่ควรจะเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อนเกินไปจนท�ำให้เข้าใจยากหรือล�ำบากแก่การยก
เหตุผลมาอธิบาย
	       4.	 ทฤษฎีที่ดีจะต้องอธิบายอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม (parsimonious) ไม่ควรอธิบาย      
เลอะเทอะชนิดน�้ำท่วมทุ่ง หรือเกินความจริงในขอบเขตของปรากฏการณ์
	       5.	 ทฤษฎีที่ดีจะต้องสามารถเป็นประโยชน์ในการวิจัย (research) บางครั้งการก�ำหนดเป็น
ทฤษฎีขึ้นมาโดยมิได้พิสูจน์ ต่อมาภายหลังที่ได้มีการพิสูจน์และพบความจริงที่แตกต่างออกไปก็อาจ
ต้องยกเลิกทฤษฎีนั้นไป ทฤษฎีที่ดีจึงจะเป็นความจริงเมื่อได้ท�ำการพิสูจน์และสามารถเป็นแนวทาง          
ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยให้ก้าวหน้าต่อไปได้
	       Seligman (2006: 3) ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของทฤษฎีซึ่งเรียกโดยย่อว่า BETA ประกอบด้วย
ความส�ำคัญที่ครอบคลุมในลักษณะ 4 ด้าน คือ
	       1.	 ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านภูมิหลัง (Background) ของบุคคล
	       2.	 ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านอารมณ์ (Emotions) ของบุคคล
	       3.	 ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านความคิด (Thoughts) ของบุคคล
	       4.	 ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านการแสดงออก (Actions) ของบุคคล
	       กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีเปรียบเสมือนแผนที่ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้องใส่เติมเต็มตลอดเวลา
และจะไม่ถามว่าเรืองนันเป็นความจริงหรือไม่ เพียงแต่ขอให้เรืองนันสามารถช่วยเหลือหรือเป็นประโยชน์
                    ่ ้                                   ่ ้

                                                        3
ได้มากน้อยเพียงใด
	
ความส�ำคัญของการให้บริการปรึกษา (Counseling)
และจิตบ�ำบัด (Psychotherapy)
	       บุคลากรที่อยู่ในวงการให้บริการปรึกษาและจิตวิทยาได้ศึกษาว่า  การให้บริการปรึกษา (coun-
seling) กับจิตบ�ำบัด (psychotherapy) มีความหมายในการช่วยขจัดความทุกข์ จึงท�ำให้เกิดการ       
สร้างความเข้าใจอันสับสนในความหมายของค�ำทั้งสองนี้ที่ยังคงมีอยู่ทั่วไป ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว
มิได้เป็นเช่นเดียวกันดังที่เข้าใจเพราะกระบวนการของการบ�ำบัดรักษา  และการให้ความช่วยเหลือใน
บริการปรึกษากับจิตบ�ำบัดนั้นต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไปส�ำหรับ
บุคคลปกติและอปกติตามระดับความรุนแรงของสภาวะอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรม
	       ความแตกต่างที่พอจะเห็นได้ โดยดูจากนิยามที่  Brammer & Shostrom (1977) ได้กล่าวไว้ว่า 
การให้บริการปรึกษา  (counseling) และการบ�ำบัดจิต (psychotherapy) เป็นทักษะทางวิชาชีพ             
ที่คาบเกี่ยวกัน โดยการให้บริการปรึกษามีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ มุ่งเกี่ยวกับการศึกษา  อาชีพ               
ปัญหาส่วนตัว พยายามสนับสนุนให้รู้จักแก้ปัญหาในสภาพจิตใจระดับของความมีสติสัมปชัญญะ
(conscious) มุ่งช่วยเหลือบุคคลที่ปกติโดยใช้ระยะเวลาที่ไม่นานนัก ส่วนการบ�ำบัดจิต (psycho-
therapy) มีลักษณะของการพยายามประคับประคองในภาวะของความผิดปกติทางจิตใจที่เบี่ยงเบน
มากกว่าปกติ เป็นการปรับสร้างพฤติกรรมขึ้นใหม่ โดยเน้นในความลึกซึ้งของอดีตด้วยจิตวิเคราะห์       
เพ่งเล็งในระดับจิตไร้ส�ำนึก (unconscious) ของบุคคลที่ป่วยเป็นโรคจิต โรคประสาท หรือมีปัญหา     
ทางอารมณ์อย่างรุนแรง และใช้ระยะเวลาอันยาวนานในการบ�ำบัดรักษา
	       ส�ำหรับ Eysenck (1961) ได้ให้ความหมายของการบ�ำบัดจิตไว้ว่า  จะต้องมีองค์ประกอบ          
เหล่านี้ คือ
	       1.	 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความลึกซึ้งและค่อนข้างยาวนาน
	       2.	 บุคลากรต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกมาอย่างดี ซึ่งอาจเป็นจิตแพทย์หรือนักบ�ำบัดจิต
	       3.	 ผู้รับการรักษาเป็นผู้มีปัญหาการปรับตนทางอารมณ์ หรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
	       4.	 การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาช่วยในการบ�ำบัดรักษา
	       5.	 การกระท�ำกิจกรรมต้องอ้างอิงทฤษฎีความผิดปกติทางจิต
	       6.	 จุดมุ่งหมายในด้านสัมพันธภาพช่วยปรับแก้ความรู้สึกไม่พึงพอใจในตนเอง
	       จะเห็นได้ว่า การให้บริการปรึกษานั้นจะเป็นการช่วยบุคคลปกติทั่วไปที่มีความทุกข์ ไม่สบายใจ
หรือเครียดในระดับปกติให้สบายใจขึ้น สามารถมองเห็นตนเองชัดเจนขึ้น รับรู้และเข้าใจบทบาทของ
ตนเอง และสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ส่วนจิตบ�ำบัดนั้นจะเป็นการช่วยเหลือคนที่         
เป็นโรคจิต โรคประสาท หรือผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์อย่างรุนแรงในการปรับตน โดยกระบวนการของ

                                                   4
จิตบ�ำบัดจะเน้นทีจตไร้สำนึกของผูรบการรักษา ซึงถ้ามองไม่เห็นถึงความแตกต่างในระดับความรุนแรง
                 ่ิ �           ้ั           ่
(degree) ของอารมณ์และพฤติกรรมแล้วก็อาจเข้าใจผิดไปได้ว่า  การให้บริการปรึกษากับจิตบ�ำบัด        
เป็นงานที่ให้ความช่วยเหลือดูแลรักษาในรูปแบบของความคล้ายคลึงกัน

	       เกณฑ์พิจารณาในความผิดปกติ
	       เมื่อผู้รับบริการปรึกษามาปรึกษาปัญหากับผู้ให้บริการปรึกษา  นับว่าเป็นการยากมากที่จะ         
ตัดสินลงไปว่าบุคคลผู้นั้นไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีพอที่จะด�ำเนินวิถีชีวิตในสังคม
อย่างปกติ การที่จะศึกษาเพื่อแยกให้เด่นชัดว่า  การปรับตัวของบุคคลนั้นอยู่ในระดับใดเป็นเรื่องที่      
กระท�ำได้ไม่ง่ายนัก แม้แต่จะให้ผู้เชี่ยวชาญทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นผู้ตัดสินใจก็ตาม เพราะการ      
ตัดสินบุคคลแต่ละคนจะต้องกระท�ำอย่างรอบคอบ ต้องศึกษาทั้งประวัติความเป็นมา  ลักษณะอาการ
ที่แสดงออก ความต้องการ และความประพฤติปกติของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นเอกัตภาพของผู้นั้น ส�ำหรับ
อาการของการปรับตัวไม่ดีในระยะแรกเริ่มพอจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาความผิดปกติได้ดังต่อไปนี้
	       1.	 กระท�ำกิจกรรมมากเกินปกติ (over activity) ได้แก่ การเดินไปเดินมา ผุดลุกผุดนั่ง ก�ำมือ
กะพริบตา เหงื่อออกมากผิดปกติ
	       2.	 กระท�ำกิจกรรมน้อยเกินไป (under activity) ได้แก่ เงียบขรึม เก็บตัว เบื่อหน่ายต่อโลก        
ลดความสนใจในตนเองและคนอื่น
	       3.	 ความรู้สึกซึมเศร้า  (depression) การเบื่อหน่ายและหมดหวังกับชีวิต ความท้อแท้และ      
สิ้นหวังต่ออนาคต ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า  ซึ่งถ้ารุนแรงมากบุคคลผู้นั้นก็อาจมีพฤติกรรมถึงกับ
ฆ่าตัวตายได้  
	       4.	 ลักษณะอาการทางกายที่เกิดจากการกระทบกระเทือนทางจิตใจ ได้แก่ ปวดหัว ท้องเดิน
อาเจียน ผมร่วง เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากผิดปกติ
	       5.	 การผันแปรของอารมณ์ที่เกินกว่าเหตุ (emotional variability) ได้แก่ การร้องไห้โดยไม่มี
เหตุผล การร้องกรีดของผู้ใหญ่ การทุบอกชกตัว การก่อการวิวาทโดยไม่มีเหตุผล
	       6.	 พฤติกรรมที่ผิดปกติ (unusual behavior) ได้แก่ ชอบซ่อนข้าวของตนเอง ตาเหม่อลอย
เป็นกิจวัตร ท�ำอะไรซ�้ำซากอย่างไม่มีความหมาย พูดจาคลุมเครือจนไม่รู้เรื่อง
	       7.	 นิสัยที่ใช้ลดความตึงเครียด (tension reducing habits) คือการกระท�ำที่ซ�้ำบ่อยเพื่อลด
ความตึงเครียด ได้แก่ การกัดเล็บ เอาหัวชนฝา ดูดนิ้วมือ การสั่นขาอยู่ตลอดเวลา และชอบแกะเกา 
ตามร่างกาย
	       8.	 การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเองและผู้อื่น (negative attitudes toward other & self)         
มองโลกในแง่ร้าย ดูถูกตนเอง ดูถูกผู้อื่น ก้าวร้าว อิจฉาริษยา เห็นแก่ตัว และชอบว่าร้ายนินทา 
	       9.	 การหมดสติ (period of unconsciousness) ได้แก่ โกรธ โมโหมากจนหมดสติ หรือดีใจ
มากจนเป็นลม และอาการหมดสติซึ่งเกิดจากอารมณ์จิตใจ

                                                  5
10.	ปฏิกิริยาต่อความกลัวและความกังวลใจ (anxiety and fear reaction) ได้แก่ ตัวสั่น        
เหงื่อออกมาก ร้องไห้ หายใจเร็วหรือช้าผิดปกติ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก และความจ�ำเสื่อม
	       11.	การต่อต้านและการจ�ำนนที่รุนแรงต่อกฎเกณฑ์และอ�ำนาจ (over resistance and over
submission to authority) พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม ประเพณี สถานการณ์        
และบุคคล ได้แก่ การไม่เข้าชั้นเรียนเพราะไม่ชอบอาจารย์ที่สอน หรือเรียนวิชาที่ตนเองไม่สนใจ และ
รู้ว่าจะต้องสอบตกแน่ เนื่องจากถูกอาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน
	       12.	ความยากล�ำบากในการใช้ค�ำพูด (speech difficulties) ได้แก่ การพูดตะกุกตะกัก พูด          
ไม่ได้ใจความ พูดติดอ่าง และพูดช้าหรือเร็วเกินไป
	       13.	การนอนหลับที่ไม่ปกติ (sleep disturbance) ได้แก่ นอนไม่หลับ นอนหลับน้อยกว่า         
ปกติ นอนหลับมากจนผิดปกติ และการละเมอ ฝันร้าย
	       14.	บุคลิกภาพเบี่ยงเบนซึ่งแสดงออกทั้งลักษณะอาการทางเพศด้านการแต่งกาย พฤติกรรม       
ค�ำพูด แสดงออกทางบุคลิกภาพมากไปจนถึงความต้องการในขั้นหลับนอนกับเพื่อนเพศเดียวกัน            
หรือการแสดงออกในลักษณะที่ชัดเจน คือ ประเภทกระเทย เป็นต้น
	       กล่าวโดยสรุป ลักษณะอาการ 14 ชนิดดังที่กล่าวมานี้ การจะน�ำมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาว่าเป็น
อาการที่แสดงถึงการปรับตัวไม่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความรุนแรง (degree) และความถี่ (frequency)
ของอาการนั้น จากลักษณะของความปกติในบุคคล (individual normality) รวมทั้งประวัติความ         
เป็นมาของบุคคลนั้น ซึ่งอาการต่าง ๆ ไม่จ�ำเป็นต้องเกิดอย่างเอกเทศ แต่อาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน         
หลายลักษณะ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ถ้าเมื่อไรความผิดปกติดังกล่าวได้ทวี          
ความรุนแรงอาจปรากฏเป็นลักษณะอาการผิดปกติทางจิตเวช ได้แก่ อาการของโรคประสาท โรคจิต
และบุคลิกภาพเบี่ยงเบน หรืออาการอื่น ๆ ปรากฏในระยะเวลาต่อมา 

	      ลักษณะความผิดปกติทางจิตเวช
	      บุคคลที่มีลักษณะความผิดปกติในทางจิตเวช คือมีอาการแสดงความผิดปกติในด้านการรับรู้
(perception) ความคิด (thought) อารมณ์ (affect) และพฤติกรรม (behavior) ผิดแปลกไปจาก      
ปกติจนไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพความจริงของสิ่งแวดล้อมได้นั้น ในภาษาชาวบ้านเรียกว่า       
บ้า  แต่ทางกฎหมายเรียกว่า  วิกลจริต (insane) และงานทางจิตเวชเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า  โรคจิต
(psychosis) โดยมีความแตกต่างจากบุคคลปกติที่ปรากฏความชัดเจนดังนี้
	      1.	 การไม่สามารถรับรู้ความจริง (out of reality) เป็นลักษณะของบุคคลที่ไม่ยอมรับกับ
สภาพความเป็นจริง ในที่นี้หมายถึง ในโลกความจริงของบุคคลผู้นั้นขณะป่วย ท�ำให้แสดงอาการ
พฤติกรรม และความคิดที่ดูแปลกแตกต่างไปจากบุคคลปกติ สะท้อนถึงสภาพกลุ่มชน วัฒนธรรม              
ที่เหมาะสมเป็นจริง และสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสับสน วกวน ขาดความต่อเนื่อง ทั้ง             
ด้านความคิดและการกระท�ำ นอกจากนี้ยังมีลักษณะส�ำคัญคือ ขาดการรับรู้ในเรื่องของกาลเทศะ

                                                  6
(orientation) เกี่ยวกับเวลา  สถานการณ์ และบุคคล ซึ่งจากการไม่ยอมรับความจริงของชีวิต อาจ            
มีลักษณะอาการส�ำคัญควบคู่กันด้วย ได้แก่
	      	 1)	 การหลงผิด เชื่อผิด และคิดผิด (delusion) เป็นลักษณะของบุคคลที่แสดงอาการ           
หลงผิด คิดผิดตามความเชื่อและเหตุผลที่ผิดของตน โดยมีอาการที่มักแสดงปรากฏ ได้แก่
	      	 	 •	 Delusion of grandeur หลงผิดคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่หรือเป็นผู้วิเศษเหนือมนุษย์
	      	 	 •	 Nihilistic delusion หลงผิดคิดว่าอวัยวะบางส่วนของตัวเองหายไป เช่น กระเพาะ
อาหารไม่มี หรือ หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ และแขนขาขาดหายไป
	      	 	 •	 paranoid delusion หวาดระแวงหาว่าคนอื่นจะมาท�ำร้ายหรือเอาชีวิตตน จึงท�ำ  
การด่าว่า และถึงขั้นท�ำร้ายผู้อื่น
	      	 2)	 ประสาทหลอน (hallucination) บุคคลที่เกิดมีอาการหลอนจะมีความรู้สึกเกิดขึ้นมา 
เองโดยปราศจากสิ่งเร้า (stimulus) มากระทบประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น
และผิวหนัง แต่บุคคลที่ป่วยทางจิตจะมีความสามารถมองเห็นภาพแปลก คือ อาการหลอนทางตา หู
ได้ยินเสียงสั่งเหมือนมีคนพูดสั่งอยู่ใกล้ ๆ ให้กระท�ำหรือต้องฆ่า  จมูกได้กลิ่นเหม็นเน่า  ลิ้นรู้สึกชาหรือ
แข็งท�ำให้พูดไม่ได้ และตามร่างกายรู้สึกเหมือนมีตัวเชื้อโรคมาไต่ โดยไม่สามารถบอกอาการเจ็บป่วย
ของตัวเองได้
	      	 3)	 การแปรภาพผิด (illusion) เป็นลักษณะที่บุคคลมองเห็นวัตถุแต่แปรเปลี่ยนความ      
หมายของวัตถุนั้นผิดไปจากความเป็นจริงตามแต่จิตจะคิดน�ำไปสร้างจินตนาการ เช่น เห็นซุ้มต้นไม้       
เป็นรถยนต์ หรือเห็นเชือกเป็นงู
	      2.	 การไม่เข้าใจตนเอง (Lack of insight) หมายถึง ขาดการรับรู้สภาวะของตนเองในขณะ
นั้น ไม่ยอมรับรู้สภาพของการเจ็บไข้ที่แท้จริงของตนเองว่าตนเองก�ำลังป่วยไม่ปกติ จึงต้องถูกน�ำมา        
รับการบ�ำบัดรักษาทางจิตที่โรงพยาบาล แต่กลับคิดว่ามีคนแกล้งหรือคอยท�ำร้าย ถูกจับพามาส่งรักษา
ที่โรงพยาบาล บุคคลประเภทนี้จะบอกว่าตัวเองไม่บ้า ไม่ได้เป็นอะไรและมองว่าคนอื่นบ้าหมด
	      3.	 การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ (Change of personality) หมายถึง คนไข้โรคจิตจะ
มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะที่เป็นอุปนิสัยประจ�ำตัวแตกต่างไป โดยที่ไม่สามารถจ�ำได้ใน
บุคลิกของตนเอง และบุคลิกภาพทีเ่ ปลียนแปลงไปนีมกจะเปลียนไปเป็นแบบตรงกันข้ามกับบุคลิกภาพ
                                        ่           ้ั       ่
เดิม เช่น แต่ก่อนเคยเป็นคนที่เงียบเฉย ก็จะกลายเป็นคนที่พูดมากหรือพูดเพ้อเจ้อ ขาดความสนใจ       
ในด้านความสะอาด ปล่อยสภาพร่างกายทรุดโทรมและสกปรกรุงรัง
 	 ลักษณะของคนไข้โรคจิตดังที่กล่าวมานี้จ�ำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยกระบวนการของจิต-  
บ�ำบัด (psychotherapy) โดยมีจิตแพทย์ (psychiatrist) เป็นผู้ให้การรักษา  ซึ่งกระบวนการและ             
ขั้นตอนในการรักษามีความแตกต่างไปจากการให้บริการปรึกษา (counseling) และสิ่งส�ำคัญ คือ ผู้ให้
บริการปรึกษา  (counselor) จะไม่ให้บริการปรึกษากับคนไข้โรคจิตหรือโรคประสาท แต่ผู้ให้บริการ
ปรึกษาจะจัดการส่งต่อ (refer) คนไข้โรคจิต โรคประสาทไปให้ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ คือจิตแพทย์         

                                                   7
เพื่อท�ำการบ�ำบัดรักษาต่อไป และในกรณีของบุคคลที่เป็นโรคจิต อาจไม่จ�ำเป็นต้องมีลักษณะดังกล่าว
3 ข้อที่กล่าวมา  หากมีเพียงลักษณะความผิดปกติในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ
รุนแรง (degree) ของอารมณ์ ความคิด การรับรู้ และพฤติกรรมที่แสดงออกมาในขณะที่ก�ำลังป่วย

การให้บริการปรึกษา
	       การให้บริการปรึกษา (counseling) นับว่าเป็นหัวใจส�ำคัญของงานบริการแนะแนว ดังนั้น ก่อน
ที่จะกล่าวถึงขอบข่ายและวิธีการให้บริการปรึกษา จึงใคร่ขอท�ำความเข้าใจถึงค�ำจ�ำกัดความหรือนิยาม      
ของการให้ค�ำปรึกษาเป็นอันดับแรกก่อน ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในวงการแนะแนวสามารถเข้าใจงาน         
ของตนได้ถูกต้องและท�ำงานได้ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยปกติการท�ำงานของผู้ให้บริการปรึกษา 
(counselor) มิได้จ�ำกัดอยู่เพียงแค่ค�ำจ�ำกัดความของการให้บริการปรึกษาเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ      
ความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติของผู้ให้บริการปรึกษาแต่ละคนด้วยว่าจะมองเห็นคุณค่าของความเป็น
มนุษย์เพียงใด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนปรุงแต่งที่จะช่วยในการมองหาเป้าหมายของการให้บริการ
ปรึกษาและคิดค้นหาวิธีการที่เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป จากสิ่งดังกล่าวนี้ท�ำให้ผู้ให้บริการปรึกษามีความ
เชื่อในเรื่องเป้าหมายและกระบวนการในการให้บริการปรึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป ซึ่ง        
ส่งผลสะท้อนท�ำให้ค�ำจ�ำกัดความของการให้บริการปรึกษามีความเป็นไปได้ในหลายแง่มุม ดังนั้น      
นิยามของค�ำว่า  การให้บริการปรึกษา  ที่ทุกคนยอมรับเป็นหนึ่งเดียวนั้นจึงยังไม่มี สาเหตุที่เป็นเช่นนี้
เพราะแต่ละท่านที่ให้ค�ำจ�ำกัดความมานั้นเขียนขึ้นจากมุมมองที่ตนสัมผัส สามารถรับรู้ได้ในความคิด
และประสบการณ์ที่ต่างสถานการณ์กันไป

	       ความหมายของการให้บริการปรึกษา
	       ผู้มีชื่อเสียงได้ให้นิยามของการให้บริการปรึกษา  (counseling) ในหลายความคิด ซึ่งความ           
แตกต่างเหล่านั้น มิใช่เนื่องมาจากทัศนะและปรัชญาของผู้เชี่ยวชาญทางการให้บริการปรึกษาเท่านั้น  
แต่ยังเนื่องมาจากกาลเวลาที่สะสมประสบการณ์อีกด้วย
	       Good, C.V. (1945) ผู้สร้างพจนานุกรมการศึกษา  ได้ให้ความหมายของค�ำว่าการให้บริการ
ปรึกษา  เป็นการให้ความช่วยเหลือในรายบุคคล ด้านปัญหาส่วนตัว การศึกษา  และอาชีพ ซึ่งข้อเท็จ
จริงทั้งหมดที่จ�ำเป็นได้ถูกน�ำมาศึกษาและวิเคราะห์พร้อมทั้งหาวิธีที่จะแก้ปัญหานั้น โดยผู้เชี่ยวชาญ        
ทีได้จากการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว เกียวกับแหล่งทรัพยากรของโรงเรียนและสังคม จะท�ำให้ผรบบริการ
  ่                                  ่                                                    ู้ ั
ปรึกษาได้รับการชี้แนะให้รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง
	       Carl R. Rogers (1951) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปรึกษาที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ค�ำนิยาม
ของการให้บริการปรึกษา  โดยเน้นถึงสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการปรึกษาและผู้รับบริการปรึกษา       
ว่า  การให้บริการปรึกษาจะมีประสิทธิภาพได้นั้น จ�ำเป็นต้องมีการก�ำหนดอัตตา (self) เป็นศูนย์กลาง

                                                   8
ของโครงสร้างบุคลิกภาพอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษาสามารถเข้าใจตนเองถึงระดับที่
บุคคลจะสามารถน�ำตนเองก้าวไปในทิศทางที่เหมาะสมกว่าเดิมตามประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมา
	       Wrenn (1951) กล่าวไว้วา การให้บริการปรึกษาเป็นสัมพันธภาพทีมการเคลือนไหว (dynamic)
                                  ่                                   ่ี       ่
และมีจุดมุ่งหมาย (purpose) ระหว่างบุคคลสองคน ซึ่งกระบวนการที่ใช้นั้นมีความแตกต่างกันไป         
แล้วแต่ความต้องการของผู้รับบริการปรึกษา กล่าวคือ เป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการปรึกษา
และผู้รับบริการปรึกษา  ที่จะท�ำให้ผู้รับบริการปรึกษารู้จักกระจ่างชัดในตนเองและสามารถตัดสินใจ         
ได้ด้วยตนเอง (self clarification and self determination)
	       ค�ำนิยามของ Brammer & Shostrom (1952) ได้กล่าวไว้ว่า  การให้บริการปรึกษา  เป็น
สัมพันธภาพที่มีจุดมุ่งหมายระหว่างบุคคลสองคน ซึ่งคนหนึ่งได้รับการฝึกฝนและได้ท�ำการช่วยเหลือ
อีกคนหนึ่งให้เปลี่ยนแปลงตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมของเขา
	       นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการปรึกษาบางท่านได้เลือกเน้นความหมายของการให้บริการปรึกษา          
ว่าเป็นกระบวนการแห่งความสัมพันธ์ เช่น Gustad (1953) ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้อย่างชัดเจนว่า             
การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เป็นอย่างธรรมดาของบุคคลต่อบุคคลในสภาพ
แวดล้อมแห่งสังคม ซึ่งผู้แนะน�ำต้องประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องด้านทักษะทางจิตวิทยา  และมีความรู้
ทางด้านนี้ได้พยายามแสวงหาวิธีช่วยเหลือผู้รับบริการปรึกษา  เพื่อให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ              
วิธีการมองโลกอย่างชัดเจนขึ้น ก�ำหนดเป้าหมายแห่งชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาพของความเป็นจริงที่         
น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษามีความสุขมากขึ้น และเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าในสังคม
	       ส�ำหรับ Pepinsky & Pepinsky (1954) ได้กล่าวถึงการให้บริการปรึกษาดังนี้
	       1.	 การวินิจฉัย (diagnosis) และการบ�ำบัดรักษา (treatment) ในเรื่องการปรับตัวที่ผิดปกติ
ของผู้รับบริการปรึกษา
	       2.	 การสร้างสัมพันธภาพ ในขณะให้บริการปรึกษาแบบตัวต่อตัว (face to face) ระหว่าง            
ผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา
	       English & English (1963) ได้ให้ความหมายว่า  การให้บริการปรึกษาเป็นสัมพันธภาพที่ผู้ให้
บริการปรึกษาช่วยผู้รับบริการปรึกษาให้เข้าใจตนเอง และสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่าง             
มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถปรับตัวเองได้ดียิ่งขึ้น และการให้บริการปรึกษามีขอบข่ายครอบคลุมทั้ง        
ทางด้านการศึกษา อาชีพ และด้านส่วนตัวสังคม
	       Krumboltz (1965) กล่าวว่า การให้บริการปรึกษามุงความส�ำคัญในการเปลียนแปลงพฤติกรรม
                                                          ่                  ่
ของผู้รับบริการปรึกษา และช่วยให้แก้ไขปัญหาของบุคคลนั้นได้
	       ส�ำหรับ Truax (1967) ได้กล่าวว่า  งานของผู้ให้ค�ำปรึกษาก็คือ การช่วยนักเรียนให้รู้จักตรวจ
สอบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง และรู้จักหาวิธีแก้ปัญหาที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะปรับปรุง          
แก้ไขสิ่งแวดล้อมหรือแก้ไขความเดือดร้อน


                                                    9
Wolberg (1967) มีความเห็นว่าการให้บริการปรึกษาเป็นแบบหนึ่งของการสัมภาษณ์ ซึ่งผู้รับ
การสัมภาษณ์ได้รับการช่วยเหลือให้เข้าใจตัวเองอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรู้จักเลือกและลองแก้ปัญหา        
ที่คิดว่าจะได้ผลดีที่สุด
	        Steffler (1968) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปรึกษาอีกท่านหนึ่งที่เน้นถึงสัมพันธภาพในการให้บริการ
ปรึกษา  โดยให้นิยามไว้ว่า  การให้บริการปรึกษา  เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านวิชาชีพ
ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา  สัมพันธภาพนี้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลกับบุคคล ซึ่ง         
บางครั้งอาจเกี่ยวโยงไปถึงบุคคลอื่นนอกเหนือจากนี้ได้อีก ซึ่งผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องพยายามช่วย
ผู้รับบริการปรึกษาได้เข้าใจถึงช่วงเหตุการณ์ของชีวิตที่เกิดขึ้นในระยะนั้นได้ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้             
ช่วยกันมองหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามโอกาสที่พึงมี
	        ค�ำนิยามของ Tyler (1969) ได้ให้ค�ำนิยามที่มีผู้ชอบยกขึ้นมาอ้างอิงอยู่เสมอเช่นกัน การให้       
บริการปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการปรึกษา เพื่อผู้รับบริการปรึกษา
ได้ใช้ความสามารถและคุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับชีวิตตนเองได้ เช่น สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
ได้และรู้จักแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางอารมณ์ของตน
	        Patterson (1973) กล่าวว่า  การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการเกี่ยวกับสัมพันธภาพ        
ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษาตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้น โดยผู้ให้บริการ
ปรึกษาใช้วิธีการทางจิตวิทยาและพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพเพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการ
ปรึกษาให้มีสุขภาพจิตดี
	        ปัจจุบันค�ำนิยามของค�ำว่า  การให้บริการปรึกษาในระยะหลังที่ใช้กันนี้ มักจะมีจุดมุ่งหมาย            
ในการช่วยบุคคลให้รู้จักเลือกและสามารถตอบค�ำถามตนเองได้ว่า เขาควรจะท�ำอย่างไรกับการด�ำเนิน
ชีวิตต่อไป อย่างไรก็ตาม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษาที่ส่งผล
ให้ความหมายของการให้บริการปรึกษาแตกต่างกันไปนัน เป็นเพราะผูให้บริการปรึกษาบางท่านได้เน้น
                                                      ้               ้
ถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา ในขณะที่ผู้ให้บริการ
ปรึกษาท่านอื่นอาจเน้นถึงกระบวนการที่ผู้รับบริการปรึกษาเริ่มจะมีความเปลี่ยนแปลง

ขอบข่ายของการให้บริการปรึกษา
	     การให้บริการปรึกษา  เป็นกระบวนการของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับ
บริการปรึกษา  ในอันที่จะพยายามหาช่องทางเพื่อลดความทุกข์ให้เบาบางลง หรือขจัดความทุกข์ให้   
หมดสิ้นไป ซึ่งมีข้อควรสังเกต คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้ยังมิได้ท�ำให้ผู้มารับบริการปรึกษามีพฤติกรรม
แปรปรวนไปจนเป็นโรคจิต โรคประสาท ดังนั้น การให้บริการปรึกษาจะกระท�ำกับบุคคลปกติที่มี          
ความทุกข์ในลักษณะปกติ


                                                    10

Contenu connexe

Tendances

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
Anchalee BuddhaBucha
 
แนวคิดเรื่องการบูชา
แนวคิดเรื่องการบูชาแนวคิดเรื่องการบูชา
แนวคิดเรื่องการบูชา
Tongsamut vorasan
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
Anchalee BuddhaBucha
 
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
pentanino
 

Tendances (20)

จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 
แนวคิดเรื่องการบูชา
แนวคิดเรื่องการบูชาแนวคิดเรื่องการบูชา
แนวคิดเรื่องการบูชา
 
9789740335146
97897403351469789740335146
9789740335146
 
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
 
ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่111 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่111 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่111 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่111 3-ปี
 
รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...
รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...
รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...
 
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
 
บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)
 
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
 
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาบทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
บทที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 

Similaire à 9789740330592

สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
Sani Satjachaliao
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5
moohmed
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการ
Supattra Rakchat
 
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
05102500
 
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
05102500
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349
CUPress
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
pentanino
 
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
Sani Satjachaliao
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
อรุณศรี
 

Similaire à 9789740330592 (20)

งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
ThinkingThinking
Thinking
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5
 
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
 
51105
5110551105
51105
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการ
 
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
 
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
ผลการใช้การศึกษากรณีตัวอย่างต่อความรับผิดชอบ
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่
 
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330592

  • 1. บ ท ที่ 1 ทฤษฎีการให้บริการปรึกษา ทฤษฎีเป็นหลักส�ำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงแนวปฏิบัติและแนวความเชื่อในสิ่งนั้น ทฤษฎีเกิดขึ้นมาจาก การรวบรวมข้อมูลที่ได้ปฏิบัติกันมา โดยจัดแบ่งไว้อย่างมีระเบียบแบบแผนเป็นกลุ่มก้อน และมีความ สัมพันธ์ต่อกัน ผู้ที่คิดว่าทฤษฎีเป็นสิ่งที่ไม่ส�ำคัญนั้นจะเป็นผู้เสียเปรียบ เพราะจะท�ำให้ขาดแนวทาง อันเป็นประโยชน์ส�ำหรับที่จะน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ และจะท�ำได้ก็เพียงแค่ใช้ความ คิดค�ำนึงของตนเองเพียงอย่างเดียวเท่านั้นมาใช้ตัดสินใจ ย่อมจะท�ำให้มีโอกาสผิดพลาดได้มากกว่า เพราะทฤษฎีมิได้เกิดขึ้นจากการเดาสุ่ม หากแต่เกิดขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานส�ำคัญหลายประการ ถ้าเรา ต้องการศึกษาเพือให้ทราบถึงสาเหตุของทฤษฎีนน ซึงแสดงหลักฐานจนเป็นทียอมรับกันอย่างแพร่หลาย ่ ั้ ่ ่ เราจ�ำเป็นต้องทราบถึงพืนฐานทางด้านปรัชญาทีเ่ จ้าของทฤษฎีนนยึดถือ ประวัตความเป็นมาของทฤษฎี ้ ั้ ิ เข้าใจลักษณะทางสังคมและวิถีแห่งการด�ำเนินชีวิตของบุคคลในสังคมที่เจ้าของทฤษฎีอาศัยอยู่ใน ขณะนั้น นอกจากนี้เราควรจะได้ศึกษาถึงชีวประวัติ บุคลิกภาพ ทัศนคติ ความสนใจ และความ สามารถพิเศษอื่น ๆ ของเจ้าของทฤษฎีนั้นด้วย เพราะทฤษฎีเปรียบเสมือนแผนที่ที่สามารถบอกให้ ผู้ใช้ทราบถึงสิ่งที่ควรสังเกต พิจารณา และคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ให้ประโยชน์หรือช่วยเหลือเรา ได้มากน้อยเพียงใด เป็นการก�ำหนดทิศทางที่จะด�ำเนินต่อไป นอกจากนี้ปรากฏการณ์ทางพฤติกรรม ของมนุษย์นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวเหมือนกันทุกคน ดังนั้นจึงได้มีการปลูกฝังระเบียบแบบ แผนเพื่อสร้างและปรับพฤติกรรมของมนุษย์ให้สามารถด�ำรงชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคม การจัดข้อมูลของมนุษย์อย่างมีระบบเหล่านี้ก็คือ การจัดตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นมานั่นเอง ทฤษฎีคืออะไร ศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นวิชาชีพ ย่อมต้องมีการบันทึกความเป็นมาอย่างเป็นทางการ โดยมีการศึกษา วิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ “ทฤษฎี” (theory) นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญ ประการหนึ่งที่มีส่วนกระตุ้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทั่วไปของศาสตร์แขนงต่าง ๆ อันจะเป็นแก่น ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบหรือยืนยันหักล้างอันเป็นการสะสมหรือต่อยอด ส�ำหรับปรับปรุงหรือ พัฒนาองค์ความรู้แขนงนั้นให้เจริญรุดหน้าสืบต่อไป ทฤษฎีจึงเป็นหลักส�ำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงแนวการ
  • 2. ปฏิบัติและแนวความเชื่อ ท�ำให้มีผู้สนใจศึกษาทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องนั้นให้เข้าใจอย่างชัดเจน ส�ำหรับ ความหมายของทฤษฎีนั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแง่มุมด้วยกัน เช่น นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ทฤษฎีเป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระเบียบเป็นกลุ่มก้อน นักปรัชญากล่าวว่า หากมนุษย์สามารถจะ จดจ�ำทุกสิ่งทุกอย่างได้อาจไม่จ�ำเป็นต้องมีทฤษฎี เพราะเราสามารถน�ำข้อมูลดิบเหล่านั้นมาใช้อ้างอิง ได้ทันที แต่เนื่องจากความจ�ำของมนุษย์มีจ�ำกัด เราจึงต้องจ�ำแต่กฎเกณฑ์ใหญ่ที่ได้รวบรวมกลั่นกรอง มาจากข้อมูลดิบ โดยผ่านการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับกัน เพื่อจะได้ใช้อ้างอิงสิ่งที่สัมพันธ์กับที่เรากล่าว ถึง และส�ำหรับในทางจิตวิทยา ค�ำว่าทฤษฎีก็คือกลุ่มหนึ่งของสมมติฐาน (assumptions) ที่เกี่ยวโยง กัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีแบบแผน ในปัจจุบนยังไม่มคำจ�ำกัดความของค�ำว่า ทฤษฎี (theory) ทีกระชับ และเป็นทียอมรับกันอย่าง ั ี� ่ ่ สากล แต่มีผู้พยายามให้ความหมายของทฤษฎีไว้หลากหลายมุมมองดังนี้ Brammer & Shostrom (1977) กล่าวว่า ทฤษฎีช่วยชี้แนะแนวทางการประเมินผลในรูปแบบ เก่าด้วยการสร้างวิธีการใหม่ส�ำหรับศึกษาพฤติกรรมในขณะก�ำลังให้บริการศึกษา Burks and Stefflre (1979) ได้ให้ค�ำจัดกัดความว่า ทฤษฎีเป็นแหล่งรวบรวมและเชื่อมโยง ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ด้วยกันอย่างมีระบบระเบียบ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ส�ำหรับ Lazarus (1971) เชื่อว่า ทฤษฎีเป็นตัวแทนของความคิดรวบยอดของศาสตร์ใด ๆ ซึ่ง สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และจัดข้อเท็จจริงที่กระจัดกระจายให้เข้า ระบบเพื่อให้สามารถอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ธรรมชาติของทฤษฎี ทฤษฎีมิได้เกิดมาโดยการเดาสุ่ม หากแต่เกิดขึ้นมาโดยอาศัยพื้นฐานที่ส�ำคัญหลายประการ ถ้า ต้องการจะท�ำความเข้าใจว่า ท�ำไมทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงได้สร้างขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับกัน จ�ำเป็นจะ ต้องเข้าใจบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านปรัชญาที่ผู้สร้างทฤษฎีได้ยึดถือเป็นหลัก เกี่ยวกับ พื้นฐานทางด้านประวัติหรือความเป็นมาของทฤษฎีนั้น ศึกษาข้อมูลทางด้านสังคมที่ทฤษฎีนั้นได้รับ การพัฒนาขึนมา ซึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในด้านภาษา เจตคติชวิตของบุคคลในท้องถิ่นที่ผ้สร้าง ้ ่ ี ู ทฤษฎีนั้นอาศัยอยู่ และประการส�ำคัญสุดท้ายคือต้องรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานทางด้านบุคคล เช่น บุคลิกภาพ ความต้องการ จุดเด่น สติปัญญา และความคิดของผู้สร้างทฤษฎีนั้น แนวคิดในการสร้างทฤษฎี ทฤษฎีในแต่ละสาขาต่างมีแนวคิดที่ส�ำคัญในการสร้างโดยอาศัยหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ 1. การรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์และน�ำข้อมูลนั้นมาปรับปรุง เพื่อจัดตั้งเป็นทฤษฎีขึ้น 2
  • 3. ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสมมติฐานที่อ้างอิงจากประสบการณ์ 2. การขยายกฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่เดิม เป็นการตรวจและวิเคราะห์ทฤษฎีที่มีอยู่แล้วโดยเพิ่ม ความคิดใหม่หรือตัดทอนสิ่งที่ไม่เห็นด้วยออกไป ด้วยการปรับปรุงใหม่และจัดเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่มี โครงสร้างคล้ายคลึงกับของเดิมแต่มีเนื้อหาที่แตกต่างออกไป 3. การน� ำ มาเปรี ย บเที ย บกั บ ทฤษฎี ที่ มี อ ยู ่ เ ดิ ม  ส� ำ หรั บ ทฤษฎี ใ หม่ จ ะมี โ ครงสร้ า งและมี กระบวนการที่เป็นไปในท�ำนองเดียวกัน แต่มีเนื้อหาสาระแตกต่างออกไป ลักษณะของทฤษฎีที่ดี Burks & Stefflre (1979: 9) กล่าวถึงเกณฑ์ที่จะน�ำมาใช้พิจารณาทฤษฎีที่ดี มีความเหมาะสม ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้ 1. ทฤษฎีที่ดีจะต้องสร้ างขึ้นมาด้วยเหตุผล (rational) ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งเพ้อฝันและไม่ใช่ ปรัชญา แต่ทฤษฎีต้องเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วยความจริงอย่างสมเหตุผล บนพื้นฐานของข้อตกลง เบื้องต้น หรือเงื่อนไขบางประการที่ได้จากการสังเกตข้อมูลหลักฐานบางส่วนแล้วน�ำมาสรุป 2. ทฤษฎีที่ดีจะต้องกินใจความกว้างขวาง (comprehensive) กล่าวคือ จะต้องครอบคลุม พฤติกรรมเป็นส่วนมาก สามารถอธิบายบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เกือบทุกกรณี 3. ทฤษฎีที่ดีจะต้องมีความกระจ่างชัด (explicit) สามารถท�ำให้ผู้อ่านเมื่ออ่านแล้วเข้าใจ ได้ชัดเจน ทฤษฎีไม่ควรจะเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อนเกินไปจนท�ำให้เข้าใจยากหรือล�ำบากแก่การยก เหตุผลมาอธิบาย 4. ทฤษฎีที่ดีจะต้องอธิบายอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม (parsimonious) ไม่ควรอธิบาย เลอะเทอะชนิดน�้ำท่วมทุ่ง หรือเกินความจริงในขอบเขตของปรากฏการณ์ 5. ทฤษฎีที่ดีจะต้องสามารถเป็นประโยชน์ในการวิจัย (research) บางครั้งการก�ำหนดเป็น ทฤษฎีขึ้นมาโดยมิได้พิสูจน์ ต่อมาภายหลังที่ได้มีการพิสูจน์และพบความจริงที่แตกต่างออกไปก็อาจ ต้องยกเลิกทฤษฎีนั้นไป ทฤษฎีที่ดีจึงจะเป็นความจริงเมื่อได้ท�ำการพิสูจน์และสามารถเป็นแนวทาง ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยให้ก้าวหน้าต่อไปได้ Seligman (2006: 3) ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของทฤษฎีซึ่งเรียกโดยย่อว่า BETA ประกอบด้วย ความส�ำคัญที่ครอบคลุมในลักษณะ 4 ด้าน คือ 1. ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านภูมิหลัง (Background) ของบุคคล 2. ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านอารมณ์ (Emotions) ของบุคคล 3. ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านความคิด (Thoughts) ของบุคคล 4. ทฤษฎีมุ่งความส�ำคัญด้านการแสดงออก (Actions) ของบุคคล กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีเปรียบเสมือนแผนที่ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้องใส่เติมเต็มตลอดเวลา และจะไม่ถามว่าเรืองนันเป็นความจริงหรือไม่ เพียงแต่ขอให้เรืองนันสามารถช่วยเหลือหรือเป็นประโยชน์ ่ ้ ่ ้ 3
  • 4. ได้มากน้อยเพียงใด ความส�ำคัญของการให้บริการปรึกษา (Counseling) และจิตบ�ำบัด (Psychotherapy) บุคลากรที่อยู่ในวงการให้บริการปรึกษาและจิตวิทยาได้ศึกษาว่า การให้บริการปรึกษา (coun- seling) กับจิตบ�ำบัด (psychotherapy) มีความหมายในการช่วยขจัดความทุกข์ จึงท�ำให้เกิดการ สร้างความเข้าใจอันสับสนในความหมายของค�ำทั้งสองนี้ที่ยังคงมีอยู่ทั่วไป ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว มิได้เป็นเช่นเดียวกันดังที่เข้าใจเพราะกระบวนการของการบ�ำบัดรักษา และการให้ความช่วยเหลือใน บริการปรึกษากับจิตบ�ำบัดนั้นต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไปส�ำหรับ บุคคลปกติและอปกติตามระดับความรุนแรงของสภาวะอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรม ความแตกต่างที่พอจะเห็นได้ โดยดูจากนิยามที่ Brammer & Shostrom (1977) ได้กล่าวไว้ว่า การให้บริการปรึกษา (counseling) และการบ�ำบัดจิต (psychotherapy) เป็นทักษะทางวิชาชีพ ที่คาบเกี่ยวกัน โดยการให้บริการปรึกษามีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ มุ่งเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ ปัญหาส่วนตัว พยายามสนับสนุนให้รู้จักแก้ปัญหาในสภาพจิตใจระดับของความมีสติสัมปชัญญะ (conscious) มุ่งช่วยเหลือบุคคลที่ปกติโดยใช้ระยะเวลาที่ไม่นานนัก ส่วนการบ�ำบัดจิต (psycho- therapy) มีลักษณะของการพยายามประคับประคองในภาวะของความผิดปกติทางจิตใจที่เบี่ยงเบน มากกว่าปกติ เป็นการปรับสร้างพฤติกรรมขึ้นใหม่ โดยเน้นในความลึกซึ้งของอดีตด้วยจิตวิเคราะห์ เพ่งเล็งในระดับจิตไร้ส�ำนึก (unconscious) ของบุคคลที่ป่วยเป็นโรคจิต โรคประสาท หรือมีปัญหา ทางอารมณ์อย่างรุนแรง และใช้ระยะเวลาอันยาวนานในการบ�ำบัดรักษา ส�ำหรับ Eysenck (1961) ได้ให้ความหมายของการบ�ำบัดจิตไว้ว่า จะต้องมีองค์ประกอบ เหล่านี้ คือ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความลึกซึ้งและค่อนข้างยาวนาน 2. บุคลากรต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกมาอย่างดี ซึ่งอาจเป็นจิตแพทย์หรือนักบ�ำบัดจิต 3. ผู้รับการรักษาเป็นผู้มีปัญหาการปรับตนทางอารมณ์ หรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4. การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาช่วยในการบ�ำบัดรักษา 5. การกระท�ำกิจกรรมต้องอ้างอิงทฤษฎีความผิดปกติทางจิต 6. จุดมุ่งหมายในด้านสัมพันธภาพช่วยปรับแก้ความรู้สึกไม่พึงพอใจในตนเอง จะเห็นได้ว่า การให้บริการปรึกษานั้นจะเป็นการช่วยบุคคลปกติทั่วไปที่มีความทุกข์ ไม่สบายใจ หรือเครียดในระดับปกติให้สบายใจขึ้น สามารถมองเห็นตนเองชัดเจนขึ้น รับรู้และเข้าใจบทบาทของ ตนเอง และสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ส่วนจิตบ�ำบัดนั้นจะเป็นการช่วยเหลือคนที่ เป็นโรคจิต โรคประสาท หรือผู้ที่มีปัญหาทางอารมณ์อย่างรุนแรงในการปรับตน โดยกระบวนการของ 4
  • 5. จิตบ�ำบัดจะเน้นทีจตไร้สำนึกของผูรบการรักษา ซึงถ้ามองไม่เห็นถึงความแตกต่างในระดับความรุนแรง ่ิ � ้ั ่ (degree) ของอารมณ์และพฤติกรรมแล้วก็อาจเข้าใจผิดไปได้ว่า การให้บริการปรึกษากับจิตบ�ำบัด เป็นงานที่ให้ความช่วยเหลือดูแลรักษาในรูปแบบของความคล้ายคลึงกัน เกณฑ์พิจารณาในความผิดปกติ เมื่อผู้รับบริการปรึกษามาปรึกษาปัญหากับผู้ให้บริการปรึกษา นับว่าเป็นการยากมากที่จะ ตัดสินลงไปว่าบุคคลผู้นั้นไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีพอที่จะด�ำเนินวิถีชีวิตในสังคม อย่างปกติ การที่จะศึกษาเพื่อแยกให้เด่นชัดว่า การปรับตัวของบุคคลนั้นอยู่ในระดับใดเป็นเรื่องที่ กระท�ำได้ไม่ง่ายนัก แม้แต่จะให้ผู้เชี่ยวชาญทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นผู้ตัดสินใจก็ตาม เพราะการ ตัดสินบุคคลแต่ละคนจะต้องกระท�ำอย่างรอบคอบ ต้องศึกษาทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะอาการ ที่แสดงออก ความต้องการ และความประพฤติปกติของแต่ละบุคคลซึ่งเป็นเอกัตภาพของผู้นั้น ส�ำหรับ อาการของการปรับตัวไม่ดีในระยะแรกเริ่มพอจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาความผิดปกติได้ดังต่อไปนี้ 1. กระท�ำกิจกรรมมากเกินปกติ (over activity) ได้แก่ การเดินไปเดินมา ผุดลุกผุดนั่ง ก�ำมือ กะพริบตา เหงื่อออกมากผิดปกติ 2. กระท�ำกิจกรรมน้อยเกินไป (under activity) ได้แก่ เงียบขรึม เก็บตัว เบื่อหน่ายต่อโลก ลดความสนใจในตนเองและคนอื่น 3. ความรู้สึกซึมเศร้า (depression) การเบื่อหน่ายและหมดหวังกับชีวิต ความท้อแท้และ สิ้นหวังต่ออนาคต ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ซึ่งถ้ารุนแรงมากบุคคลผู้นั้นก็อาจมีพฤติกรรมถึงกับ ฆ่าตัวตายได้ 4. ลักษณะอาการทางกายที่เกิดจากการกระทบกระเทือนทางจิตใจ ได้แก่ ปวดหัว ท้องเดิน อาเจียน ผมร่วง เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากผิดปกติ 5. การผันแปรของอารมณ์ที่เกินกว่าเหตุ (emotional variability) ได้แก่ การร้องไห้โดยไม่มี เหตุผล การร้องกรีดของผู้ใหญ่ การทุบอกชกตัว การก่อการวิวาทโดยไม่มีเหตุผล 6. พฤติกรรมที่ผิดปกติ (unusual behavior) ได้แก่ ชอบซ่อนข้าวของตนเอง ตาเหม่อลอย เป็นกิจวัตร ท�ำอะไรซ�้ำซากอย่างไม่มีความหมาย พูดจาคลุมเครือจนไม่รู้เรื่อง 7. นิสัยที่ใช้ลดความตึงเครียด (tension reducing habits) คือการกระท�ำที่ซ�้ำบ่อยเพื่อลด ความตึงเครียด ได้แก่ การกัดเล็บ เอาหัวชนฝา ดูดนิ้วมือ การสั่นขาอยู่ตลอดเวลา และชอบแกะเกา ตามร่างกาย 8. การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเองและผู้อื่น (negative attitudes toward other & self) มองโลกในแง่ร้าย ดูถูกตนเอง ดูถูกผู้อื่น ก้าวร้าว อิจฉาริษยา เห็นแก่ตัว และชอบว่าร้ายนินทา 9. การหมดสติ (period of unconsciousness) ได้แก่ โกรธ โมโหมากจนหมดสติ หรือดีใจ มากจนเป็นลม และอาการหมดสติซึ่งเกิดจากอารมณ์จิตใจ 5
  • 6. 10. ปฏิกิริยาต่อความกลัวและความกังวลใจ (anxiety and fear reaction) ได้แก่ ตัวสั่น เหงื่อออกมาก ร้องไห้ หายใจเร็วหรือช้าผิดปกติ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก และความจ�ำเสื่อม 11. การต่อต้านและการจ�ำนนที่รุนแรงต่อกฎเกณฑ์และอ�ำนาจ (over resistance and over submission to authority) พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม ประเพณี สถานการณ์ และบุคคล ได้แก่ การไม่เข้าชั้นเรียนเพราะไม่ชอบอาจารย์ที่สอน หรือเรียนวิชาที่ตนเองไม่สนใจ และ รู้ว่าจะต้องสอบตกแน่ เนื่องจากถูกอาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน 12. ความยากล�ำบากในการใช้ค�ำพูด (speech difficulties) ได้แก่ การพูดตะกุกตะกัก พูด ไม่ได้ใจความ พูดติดอ่าง และพูดช้าหรือเร็วเกินไป 13. การนอนหลับที่ไม่ปกติ (sleep disturbance) ได้แก่ นอนไม่หลับ นอนหลับน้อยกว่า ปกติ นอนหลับมากจนผิดปกติ และการละเมอ ฝันร้าย 14. บุคลิกภาพเบี่ยงเบนซึ่งแสดงออกทั้งลักษณะอาการทางเพศด้านการแต่งกาย พฤติกรรม ค�ำพูด แสดงออกทางบุคลิกภาพมากไปจนถึงความต้องการในขั้นหลับนอนกับเพื่อนเพศเดียวกัน หรือการแสดงออกในลักษณะที่ชัดเจน คือ ประเภทกระเทย เป็นต้น กล่าวโดยสรุป ลักษณะอาการ 14 ชนิดดังที่กล่าวมานี้ การจะน�ำมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาว่าเป็น อาการที่แสดงถึงการปรับตัวไม่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความรุนแรง (degree) และความถี่ (frequency) ของอาการนั้น จากลักษณะของความปกติในบุคคล (individual normality) รวมทั้งประวัติความ เป็นมาของบุคคลนั้น ซึ่งอาการต่าง ๆ ไม่จ�ำเป็นต้องเกิดอย่างเอกเทศ แต่อาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน หลายลักษณะ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ถ้าเมื่อไรความผิดปกติดังกล่าวได้ทวี ความรุนแรงอาจปรากฏเป็นลักษณะอาการผิดปกติทางจิตเวช ได้แก่ อาการของโรคประสาท โรคจิต และบุคลิกภาพเบี่ยงเบน หรืออาการอื่น ๆ ปรากฏในระยะเวลาต่อมา ลักษณะความผิดปกติทางจิตเวช บุคคลที่มีลักษณะความผิดปกติในทางจิตเวช คือมีอาการแสดงความผิดปกติในด้านการรับรู้ (perception) ความคิด (thought) อารมณ์ (affect) และพฤติกรรม (behavior) ผิดแปลกไปจาก ปกติจนไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพความจริงของสิ่งแวดล้อมได้นั้น ในภาษาชาวบ้านเรียกว่า บ้า แต่ทางกฎหมายเรียกว่า วิกลจริต (insane) และงานทางจิตเวชเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า โรคจิต (psychosis) โดยมีความแตกต่างจากบุคคลปกติที่ปรากฏความชัดเจนดังนี้ 1. การไม่สามารถรับรู้ความจริง (out of reality) เป็นลักษณะของบุคคลที่ไม่ยอมรับกับ สภาพความเป็นจริง ในที่นี้หมายถึง ในโลกความจริงของบุคคลผู้นั้นขณะป่วย ท�ำให้แสดงอาการ พฤติกรรม และความคิดที่ดูแปลกแตกต่างไปจากบุคคลปกติ สะท้อนถึงสภาพกลุ่มชน วัฒนธรรม ที่เหมาะสมเป็นจริง และสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสับสน วกวน ขาดความต่อเนื่อง ทั้ง ด้านความคิดและการกระท�ำ นอกจากนี้ยังมีลักษณะส�ำคัญคือ ขาดการรับรู้ในเรื่องของกาลเทศะ 6
  • 7. (orientation) เกี่ยวกับเวลา สถานการณ์ และบุคคล ซึ่งจากการไม่ยอมรับความจริงของชีวิต อาจ มีลักษณะอาการส�ำคัญควบคู่กันด้วย ได้แก่ 1) การหลงผิด เชื่อผิด และคิดผิด (delusion) เป็นลักษณะของบุคคลที่แสดงอาการ หลงผิด คิดผิดตามความเชื่อและเหตุผลที่ผิดของตน โดยมีอาการที่มักแสดงปรากฏ ได้แก่ • Delusion of grandeur หลงผิดคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่หรือเป็นผู้วิเศษเหนือมนุษย์ • Nihilistic delusion หลงผิดคิดว่าอวัยวะบางส่วนของตัวเองหายไป เช่น กระเพาะ อาหารไม่มี หรือ หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ และแขนขาขาดหายไป • paranoid delusion หวาดระแวงหาว่าคนอื่นจะมาท�ำร้ายหรือเอาชีวิตตน จึงท�ำ การด่าว่า และถึงขั้นท�ำร้ายผู้อื่น 2) ประสาทหลอน (hallucination) บุคคลที่เกิดมีอาการหลอนจะมีความรู้สึกเกิดขึ้นมา เองโดยปราศจากสิ่งเร้า (stimulus) มากระทบประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง แต่บุคคลที่ป่วยทางจิตจะมีความสามารถมองเห็นภาพแปลก คือ อาการหลอนทางตา หู ได้ยินเสียงสั่งเหมือนมีคนพูดสั่งอยู่ใกล้ ๆ ให้กระท�ำหรือต้องฆ่า จมูกได้กลิ่นเหม็นเน่า ลิ้นรู้สึกชาหรือ แข็งท�ำให้พูดไม่ได้ และตามร่างกายรู้สึกเหมือนมีตัวเชื้อโรคมาไต่ โดยไม่สามารถบอกอาการเจ็บป่วย ของตัวเองได้ 3) การแปรภาพผิด (illusion) เป็นลักษณะที่บุคคลมองเห็นวัตถุแต่แปรเปลี่ยนความ หมายของวัตถุนั้นผิดไปจากความเป็นจริงตามแต่จิตจะคิดน�ำไปสร้างจินตนาการ เช่น เห็นซุ้มต้นไม้ เป็นรถยนต์ หรือเห็นเชือกเป็นงู 2. การไม่เข้าใจตนเอง (Lack of insight) หมายถึง ขาดการรับรู้สภาวะของตนเองในขณะ นั้น ไม่ยอมรับรู้สภาพของการเจ็บไข้ที่แท้จริงของตนเองว่าตนเองก�ำลังป่วยไม่ปกติ จึงต้องถูกน�ำมา รับการบ�ำบัดรักษาทางจิตที่โรงพยาบาล แต่กลับคิดว่ามีคนแกล้งหรือคอยท�ำร้าย ถูกจับพามาส่งรักษา ที่โรงพยาบาล บุคคลประเภทนี้จะบอกว่าตัวเองไม่บ้า ไม่ได้เป็นอะไรและมองว่าคนอื่นบ้าหมด 3. การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ (Change of personality) หมายถึง คนไข้โรคจิตจะ มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะที่เป็นอุปนิสัยประจ�ำตัวแตกต่างไป โดยที่ไม่สามารถจ�ำได้ใน บุคลิกของตนเอง และบุคลิกภาพทีเ่ ปลียนแปลงไปนีมกจะเปลียนไปเป็นแบบตรงกันข้ามกับบุคลิกภาพ ่ ้ั ่ เดิม เช่น แต่ก่อนเคยเป็นคนที่เงียบเฉย ก็จะกลายเป็นคนที่พูดมากหรือพูดเพ้อเจ้อ ขาดความสนใจ ในด้านความสะอาด ปล่อยสภาพร่างกายทรุดโทรมและสกปรกรุงรัง ลักษณะของคนไข้โรคจิตดังที่กล่าวมานี้จ�ำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยกระบวนการของจิต- บ�ำบัด (psychotherapy) โดยมีจิตแพทย์ (psychiatrist) เป็นผู้ให้การรักษา ซึ่งกระบวนการและ ขั้นตอนในการรักษามีความแตกต่างไปจากการให้บริการปรึกษา (counseling) และสิ่งส�ำคัญ คือ ผู้ให้ บริการปรึกษา (counselor) จะไม่ให้บริการปรึกษากับคนไข้โรคจิตหรือโรคประสาท แต่ผู้ให้บริการ ปรึกษาจะจัดการส่งต่อ (refer) คนไข้โรคจิต โรคประสาทไปให้ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ คือจิตแพทย์ 7
  • 8. เพื่อท�ำการบ�ำบัดรักษาต่อไป และในกรณีของบุคคลที่เป็นโรคจิต อาจไม่จ�ำเป็นต้องมีลักษณะดังกล่าว 3 ข้อที่กล่าวมา หากมีเพียงลักษณะความผิดปกติในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ รุนแรง (degree) ของอารมณ์ ความคิด การรับรู้ และพฤติกรรมที่แสดงออกมาในขณะที่ก�ำลังป่วย การให้บริการปรึกษา การให้บริการปรึกษา (counseling) นับว่าเป็นหัวใจส�ำคัญของงานบริการแนะแนว ดังนั้น ก่อน ที่จะกล่าวถึงขอบข่ายและวิธีการให้บริการปรึกษา จึงใคร่ขอท�ำความเข้าใจถึงค�ำจ�ำกัดความหรือนิยาม ของการให้ค�ำปรึกษาเป็นอันดับแรกก่อน ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในวงการแนะแนวสามารถเข้าใจงาน ของตนได้ถูกต้องและท�ำงานได้ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยปกติการท�ำงานของผู้ให้บริการปรึกษา (counselor) มิได้จ�ำกัดอยู่เพียงแค่ค�ำจ�ำกัดความของการให้บริการปรึกษาเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติของผู้ให้บริการปรึกษาแต่ละคนด้วยว่าจะมองเห็นคุณค่าของความเป็น มนุษย์เพียงใด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนปรุงแต่งที่จะช่วยในการมองหาเป้าหมายของการให้บริการ ปรึกษาและคิดค้นหาวิธีการที่เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป จากสิ่งดังกล่าวนี้ท�ำให้ผู้ให้บริการปรึกษามีความ เชื่อในเรื่องเป้าหมายและกระบวนการในการให้บริการปรึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป ซึ่ง ส่งผลสะท้อนท�ำให้ค�ำจ�ำกัดความของการให้บริการปรึกษามีความเป็นไปได้ในหลายแง่มุม ดังนั้น นิยามของค�ำว่า การให้บริการปรึกษา ที่ทุกคนยอมรับเป็นหนึ่งเดียวนั้นจึงยังไม่มี สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะแต่ละท่านที่ให้ค�ำจ�ำกัดความมานั้นเขียนขึ้นจากมุมมองที่ตนสัมผัส สามารถรับรู้ได้ในความคิด และประสบการณ์ที่ต่างสถานการณ์กันไป ความหมายของการให้บริการปรึกษา ผู้มีชื่อเสียงได้ให้นิยามของการให้บริการปรึกษา (counseling) ในหลายความคิด ซึ่งความ แตกต่างเหล่านั้น มิใช่เนื่องมาจากทัศนะและปรัชญาของผู้เชี่ยวชาญทางการให้บริการปรึกษาเท่านั้น แต่ยังเนื่องมาจากกาลเวลาที่สะสมประสบการณ์อีกด้วย Good, C.V. (1945) ผู้สร้างพจนานุกรมการศึกษา ได้ให้ความหมายของค�ำว่าการให้บริการ ปรึกษา เป็นการให้ความช่วยเหลือในรายบุคคล ด้านปัญหาส่วนตัว การศึกษา และอาชีพ ซึ่งข้อเท็จ จริงทั้งหมดที่จ�ำเป็นได้ถูกน�ำมาศึกษาและวิเคราะห์พร้อมทั้งหาวิธีที่จะแก้ปัญหานั้น โดยผู้เชี่ยวชาญ ทีได้จากการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว เกียวกับแหล่งทรัพยากรของโรงเรียนและสังคม จะท�ำให้ผรบบริการ ่ ่ ู้ ั ปรึกษาได้รับการชี้แนะให้รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง Carl R. Rogers (1951) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปรึกษาที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ค�ำนิยาม ของการให้บริการปรึกษา โดยเน้นถึงสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการปรึกษาและผู้รับบริการปรึกษา ว่า การให้บริการปรึกษาจะมีประสิทธิภาพได้นั้น จ�ำเป็นต้องมีการก�ำหนดอัตตา (self) เป็นศูนย์กลาง 8
  • 9. ของโครงสร้างบุคลิกภาพอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษาสามารถเข้าใจตนเองถึงระดับที่ บุคคลจะสามารถน�ำตนเองก้าวไปในทิศทางที่เหมาะสมกว่าเดิมตามประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมา Wrenn (1951) กล่าวไว้วา การให้บริการปรึกษาเป็นสัมพันธภาพทีมการเคลือนไหว (dynamic) ่ ่ี ่ และมีจุดมุ่งหมาย (purpose) ระหว่างบุคคลสองคน ซึ่งกระบวนการที่ใช้นั้นมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่ความต้องการของผู้รับบริการปรึกษา กล่าวคือ เป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการปรึกษา และผู้รับบริการปรึกษา ที่จะท�ำให้ผู้รับบริการปรึกษารู้จักกระจ่างชัดในตนเองและสามารถตัดสินใจ ได้ด้วยตนเอง (self clarification and self determination) ค�ำนิยามของ Brammer & Shostrom (1952) ได้กล่าวไว้ว่า การให้บริการปรึกษา เป็น สัมพันธภาพที่มีจุดมุ่งหมายระหว่างบุคคลสองคน ซึ่งคนหนึ่งได้รับการฝึกฝนและได้ท�ำการช่วยเหลือ อีกคนหนึ่งให้เปลี่ยนแปลงตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมของเขา นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการปรึกษาบางท่านได้เลือกเน้นความหมายของการให้บริการปรึกษา ว่าเป็นกระบวนการแห่งความสัมพันธ์ เช่น Gustad (1953) ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้อย่างชัดเจนว่า การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เป็นอย่างธรรมดาของบุคคลต่อบุคคลในสภาพ แวดล้อมแห่งสังคม ซึ่งผู้แนะน�ำต้องประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องด้านทักษะทางจิตวิทยา และมีความรู้ ทางด้านนี้ได้พยายามแสวงหาวิธีช่วยเหลือผู้รับบริการปรึกษา เพื่อให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจ วิธีการมองโลกอย่างชัดเจนขึ้น ก�ำหนดเป้าหมายแห่งชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาพของความเป็นจริงที่ น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษามีความสุขมากขึ้น และเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าในสังคม ส�ำหรับ Pepinsky & Pepinsky (1954) ได้กล่าวถึงการให้บริการปรึกษาดังนี้ 1. การวินิจฉัย (diagnosis) และการบ�ำบัดรักษา (treatment) ในเรื่องการปรับตัวที่ผิดปกติ ของผู้รับบริการปรึกษา 2. การสร้างสัมพันธภาพ ในขณะให้บริการปรึกษาแบบตัวต่อตัว (face to face) ระหว่าง ผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา English & English (1963) ได้ให้ความหมายว่า การให้บริการปรึกษาเป็นสัมพันธภาพที่ผู้ให้ บริการปรึกษาช่วยผู้รับบริการปรึกษาให้เข้าใจตนเอง และสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถปรับตัวเองได้ดียิ่งขึ้น และการให้บริการปรึกษามีขอบข่ายครอบคลุมทั้ง ทางด้านการศึกษา อาชีพ และด้านส่วนตัวสังคม Krumboltz (1965) กล่าวว่า การให้บริการปรึกษามุงความส�ำคัญในการเปลียนแปลงพฤติกรรม ่ ่ ของผู้รับบริการปรึกษา และช่วยให้แก้ไขปัญหาของบุคคลนั้นได้ ส�ำหรับ Truax (1967) ได้กล่าวว่า งานของผู้ให้ค�ำปรึกษาก็คือ การช่วยนักเรียนให้รู้จักตรวจ สอบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง และรู้จักหาวิธีแก้ปัญหาที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะปรับปรุง แก้ไขสิ่งแวดล้อมหรือแก้ไขความเดือดร้อน 9
  • 10. Wolberg (1967) มีความเห็นว่าการให้บริการปรึกษาเป็นแบบหนึ่งของการสัมภาษณ์ ซึ่งผู้รับ การสัมภาษณ์ได้รับการช่วยเหลือให้เข้าใจตัวเองอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรู้จักเลือกและลองแก้ปัญหา ที่คิดว่าจะได้ผลดีที่สุด Steffler (1968) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปรึกษาอีกท่านหนึ่งที่เน้นถึงสัมพันธภาพในการให้บริการ ปรึกษา โดยให้นิยามไว้ว่า การให้บริการปรึกษา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านวิชาชีพ ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา สัมพันธภาพนี้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลกับบุคคล ซึ่ง บางครั้งอาจเกี่ยวโยงไปถึงบุคคลอื่นนอกเหนือจากนี้ได้อีก ซึ่งผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องพยายามช่วย ผู้รับบริการปรึกษาได้เข้าใจถึงช่วงเหตุการณ์ของชีวิตที่เกิดขึ้นในระยะนั้นได้ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้ ช่วยกันมองหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามโอกาสที่พึงมี ค�ำนิยามของ Tyler (1969) ได้ให้ค�ำนิยามที่มีผู้ชอบยกขึ้นมาอ้างอิงอยู่เสมอเช่นกัน การให้ บริการปรึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการปรึกษา เพื่อผู้รับบริการปรึกษา ได้ใช้ความสามารถและคุณสมบัติที่เขามีอยู่จัดการกับชีวิตตนเองได้ เช่น สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ได้และรู้จักแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางอารมณ์ของตน Patterson (1973) กล่าวว่า การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการเกี่ยวกับสัมพันธภาพ ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษาตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้น โดยผู้ให้บริการ ปรึกษาใช้วิธีการทางจิตวิทยาและพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพเพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการ ปรึกษาให้มีสุขภาพจิตดี ปัจจุบันค�ำนิยามของค�ำว่า การให้บริการปรึกษาในระยะหลังที่ใช้กันนี้ มักจะมีจุดมุ่งหมาย ในการช่วยบุคคลให้รู้จักเลือกและสามารถตอบค�ำถามตนเองได้ว่า เขาควรจะท�ำอย่างไรกับการด�ำเนิน ชีวิตต่อไป อย่างไรก็ตาม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษาที่ส่งผล ให้ความหมายของการให้บริการปรึกษาแตกต่างกันไปนัน เป็นเพราะผูให้บริการปรึกษาบางท่านได้เน้น ้ ้ ถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา ในขณะที่ผู้ให้บริการ ปรึกษาท่านอื่นอาจเน้นถึงกระบวนการที่ผู้รับบริการปรึกษาเริ่มจะมีความเปลี่ยนแปลง ขอบข่ายของการให้บริการปรึกษา การให้บริการปรึกษา เป็นกระบวนการของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับ บริการปรึกษา ในอันที่จะพยายามหาช่องทางเพื่อลดความทุกข์ให้เบาบางลง หรือขจัดความทุกข์ให้ หมดสิ้นไป ซึ่งมีข้อควรสังเกต คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้ยังมิได้ท�ำให้ผู้มารับบริการปรึกษามีพฤติกรรม แปรปรวนไปจนเป็นโรคจิต โรคประสาท ดังนั้น การให้บริการปรึกษาจะกระท�ำกับบุคคลปกติที่มี ความทุกข์ในลักษณะปกติ 10