SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
1
	 พลังงานเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตทุกชีวิตบนโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้
พลังงานของมนุษย์ในปัจจุบันแตกต่างไปจากในอดีตมาก พลังงานที่มนุษย์เคยใช้เป็นพลังงานตาม
ธรรมชาติ เป็นพลังงานหมุนเวียนไม่ได้แปรรูป แต่ปัจจุบันมนุษย์ใช้พลังงานในรูปแบบที่ต่างไปจาก      
สภาพที่พบตามธรรมชาติ โดยมนุษย์น�ำพลังงานมาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่      
เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ไฟฟ้า แกโซลีน ความร้อน ซึ่งพลังงานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นพลังงาน      
สังเคราะห์ การใช้ประโยชน์จากพลังงานสังเคราะห์เหล่านี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเจริญ      
ทางเศรษฐกิจ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้กับมนุษย์ในสังคมยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม                
ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 การใช้พลังงานสังเคราะห์เหล่านี้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ของเสียจาก
กระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่นกัน มนุษย์เริ่มเห็นสัญญาณของปัญหาซึ่ง
เกิดจากการใช้พลังงานสังเคราะห์เหล่านี้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ปัญหามีความชัดเจนมากขึ้น เป็นต้น     
ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การหมดไปของทรัพยากรธรรมชาติ การสูญพันธ์ุของพืชและ       
สัตว์จ�ำนวนมาก ดังนั้นค�ำถามที่ตามมาคือ ในเมื่อมนุษย์ปัจจุบันพึ่งพาพลังงานสังเคราะห์มากขึ้น        
มนุษย์ต้องท�ำอย่างไรที่จะยังคงด�ำเนินกิจกรรมของตนได้ ในขณะเดียวกันรักษาความยั่งยืนต่อโลก        
และระบบนิเวศไว้ได้
1.1 พลังงาน
	 พลังงานเป็นแนวคิดที่พัฒนาโดยอิงฐานคิดของค�ำว่า “งาน (Work)” ซึ่งมีค�ำจ�ำกัดความว่า        
งาน เป็นการใช้แรง หรือ (Force) เพื่อการเคลื่อนย้ายสิ่งของ ดังนั้น ปริมาณของงานจึงขึ้นกับขนาด
ของแรงที่ใช้ และระยะทางที่สิ่งของเคลื่อนที่ไปในทิศทางของแรง ในขณะที่พลังงานถูกให้ค�ำจ�ำกัด       
ความว่า เป็นความสามารถของระบบระบบหนึ่งในการท�ำงาน หรือในมุมมองที่กว้างขึ้น พลังงานคือ      
บทน�ำ
2
ความสามารถในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความดัน ความเร็ว  
หรือ ต�ำแหน่ง ฯลฯ ในระบบหนึ่ง ๆ โดยพลังงานและงานมีหน่วยในระบบ SI (International          
system of units) เป็น จูล (Joule) หรือ นิวตัน.เมตร นอกจากนี้ยังมีค�ำจ�ำกัดความอีกค�ำที่เกี่ยวข้อง
คือ ก�ำลัง (Power) หมายถึงอัตราการใช้หรือการให้พลังงาน มีหน่วยเป็นพลังงานต่อเวลา เช่น จูลต่อ
วินาที (Joule/s) หรือ วัตต์ (Watt) ฯลฯ
	 ความรู้เกี่ยวกับพลังงานพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่ ค.ศ. 1820 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์
และวิศวกรยุคบุกเบิกความรู้เกี่ยวกับพลังงานและการเปลี่ยนรูปพลังงานที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ James
Watt, Sadi Carnot, James Joule, Rudolf Clausius และ Lord Kelvin ต่อมารู้จักกันในหมวด
ความรู้ของอุณหพลศาสตร์หรือเทอร์โมไดนามิกส์นั่นเอง กฎทางเทอร์โมไดนามิกส์ข้อหนึ่งและข้อสอง          
ถูกน�ำมาใช้อย่างแพร่หลายในการค�ำนวณเพื่อการวิเคราะห์หรือออกแบบระบบพลังงาน โดยกฎข้อ         
ที่หนึ่ง กล่าวถึงพลังงานในเชิงปริมาณว่า ในระบบเอกเทศ (Isolated system) ปริมาณพลังงานใน
ระบบจะคงที่ หมายความว่าพลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือถูกท�ำลายไปได้ เพียงแต่จะเปลี่ยน       
รูปไปเท่านั้น ส�ำหรับกฎข้อที่สองเป็นกฎที่กล่าวถึงพลังงานในเชิงคุณภาพว่าโดยทั่วไปพลังงานจะ       
เปลี่ยนรูปจากพลังงานที่มีคุณภาพสูงหรือพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ไปเป็นพลังงานคุณภาพตํ่าหรือ
พลังงานที่ไม่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยคุณภาพของพลังงานอธิบายได้โดยค่าเอนโทรปี  
(Entropy) และใช้เอนโทรปีเป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของพลังงาน
	 แหล่งพลังงานของเรามาจากพลังงานที่เก็บสะสมไว้หรือเป็นพลังงานในธรรมชาติ ส�ำหรับ
พลังงานก่อนผ่านกระบวนการแปรรูปที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยมนุษย์เรียกว่าพลังงานปฐมภูมิ แหล่ง   
พลังงานปฐมภูมิจ�ำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ แหล่งพลังงานที่มีลักษณะเป็นการเก็บสะสม (Storing)
กับแหล่งพลังงานที่มีการเคลื่อนย้ายไหลเวียน (Flowing) แหล่งพลังงานที่ได้จากการเก็บสะสม ได้แก่
เชื้อเพลิงฟอสซิล ชีวมวล แร่กัมมันตรังสี เป็นต้น ส�ำหรับแหล่งพลังงานที่เคลื่อนย้ายไหลเวียน ได้แก่
พลังลม แสงอาทิตย์ คลื่น กระแสนํ้า เป็นต้น ทุกวันนี้มนุษย์น�ำพลังงานปฐมภูมิมาแปรรูปเพื่อใช้  
ประโยชน์ใน 3 ลักษณะคือ ใช้ในรูปไฟฟ้า ความร้อน และนํ้ามันเชื้อเพลิง โดยนํ้ามันเชื้อเพลิงเป็น        
รูปแบบของแหล่งพลังงานที่สะดวกต่อการเก็บรักษา เก็บได้ยาวนาน ขนส่งและใช้งานสะดวก ใน           
ขณะที่ไฟฟ้าและความร้อนเก็บรักษาได้ยากกว่า ช่วงเวลาที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้สั้นกว่าหรือผลิต        
แล้วต้องใช้ประโยชน์เลย นอกจากนี้ยังมีแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการท�ำบัญชีการใช้พลังงาน กล่าวคือ           
การท�ำบัญชีเพื่อรวบรวมพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ถูกใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์
กิจกรรมหรือบริการต่าง ๆ โดยถือว่าพลังงานเหล่านี้ฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมและสามารถส่ง
ผ่านพลังงานเหล่านี้ไปยังกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ปลายทางได้ การท�ำบัญชีพลังงานท�ำโดยคิดจาก
กระบวนการ ขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การสกัดพลังงานปฐมภูมิจนถึงขั้นตอนการก�ำจัดหรือน�ำผลิตภัณฑ์
นั้น ๆ กลับมาใช้ใหม่ พลังงานดังกล่าวเรียกว่า พลังงานพาณิชย์ฝังตัว (Embodied energy) (Odum,
1996)อย่างไรก็ตามวิธีประเมินพลังงานในลักษณะนี้ยังไม่เป็นวิธีที่ถูกน�ำมาใช้อย่างกว้างขวางเนื่องจาก
3
ยังมีประเด็นที่นักวิเคราะห์พลังงานจากกลุ่มต่าง ๆ ยังไม่เห็นพ้องกันทั้งหมด
1.2 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีและการใช้พลังงาน
	 โลกของเราในปัจจุบันแตกต่างไปจากเมื่อ 150-250 ปีที่แล้วโดยสิ้นเชิง มีพัฒนาการทาง
เทคโนโลยีมากมายดังแสดงในรูปที่ 1.1 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงสอง            
ศตวรรษครึ่งที่ผ่านมาสร้างผลกระทบต่อวิถีการด�ำเนินชีวิต ซึ่งมีผลต่อการใช้ทรัพยากรและการใช้
พลังงาน เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวมีมากมาย ที่ส�ำคัญได้แก่ การสร้าง
เครื่องจักรเครื่องยนต์ โดยเฉพาะการพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานความร้อนแบบต่าง ๆ (Heat engine)
อาทิ วัฏจักรดีเซล วัฏจักรออตโต วัฏจักรเบรตัน เป็นต้น ซึ่งถูกน�ำมาใช้ในยานยนต์ประเภทต่าง ๆ           
อันได้แก่ รถไฟ เรือยนต์ รถยนต์ เครื่องบิน ตลอดจนถึงยานอวกาศ ความรู้และเทคโนโลยีถัดมา               
คือความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้า หลังจากที่มนุษย์เข้าใจถึงความสัมพันธ์
ระหว่างแม่เหล็กกับไฟฟ้าแล้ว จึงได้น�ำความสามารถในเรื่องการพัฒนาเครื่องยนต์มาใช้ร่วมกันความรู้
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กกับไฟฟ้าในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการใช้วัฏจักรแรงคินและ
วัฏจักรเบรตันเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้แหล่งพลังงานธรรมชาติมาขับเคลื่อนวัฏจักรเหล่านี้ ความสามารถ
ในการผลิตไฟฟ้าส่งผลให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ที่เคยมีแต่กิจกรรมในช่วงเวลากลาง
วันสามารถจัดกิจกรรมให้มีได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไฟฟ้าและ
มีความเข้าใจในเรื่องคลื่นต่าง ๆ มากขึ้น ท�ำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสื่อสารและโทรคมนาคม
อาทิ การประดิษฐ์โทรเลข วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ ดาวเทียม การพัฒนาเทคโนโลยีด้านสื่อสาร                 
ส่งผลให้มนุษย์สามารถรับทราบข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาเกิด        
การพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเมื่อมนุษย์สามารถย่อวงจรต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลงและ          
มีความจุวงจรสูงขึ้น ท�ำให้เกิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การผนวกรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับ
เทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ อาทิ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา หรือ PDA
(Personal Digital Assistance) เป็นต้น สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ท�ำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อ           
สื่อสารรับทราบข่าวสารค้นหาข้อมูลช่วยย่อโลกให้เล็กลงและเพิ่มความเร็วในการรับรู้และตอบสนอง
ต่อข้อมูลข่าวสาร ส�ำหรับพัฒนาการในศตวรรษที่ 21 จะมีการผนวกรวมของศาสตร์อีกมาก เช่น การ        
เชื่อมต่อของความรู้ทางวิทยาศาสตร์กายภาพกับชีวภาพ อาทิ ชีวฟิสิกส์ ชีวสารสนเทศ ชีววิทยาเชิง      
การค�ำนวณ การพัฒนาทางวิศวกรรมชีวภาพและวิศวกรรมชีวเวช เป็นต้น ศาสตร์เหล่านี้จะก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อการด�ำรงชีวิตในอนาคตอย่างแน่นอน แต่ยากจะคาดเดาได้ว่าผลที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิด      
ผลดีต่อคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงไร แต่ผลกระทบที่แน่นอนจากพัฒนาการดังกล่าวคือ ความต้องการ
ใช้พลังงานที่มากขึ้น เนื่องจากระบบที่ซับซ้อนมีแนวโน้มต้องการพลังงานมากกว่าระบบที่เรียบง่าย
4
	 ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องบิน โทรศัพท์มือถือ
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์พกพา สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ
ด�ำรงชีวิตและรูปแบบของสังคมไปจากเดิม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ต้องการ
พลังงานรูปแบบใหม่หรือพลังงานสังเคราะห์ (พลังงานที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติ) มาขับเคลื่อนเครื่องมือ
อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ยานยนต์ต้องการน�้ำมันแกโซลีน น�้ำมันดีเซล หรือน�้ำมันเครื่องบินเป็น        
เชื้อเพลิง อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ต้องการไฟฟ้ามาขับเคลื่อน กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังแสงอาทิตย์
ลับขอบฟ้าไปแล้วมีไฟฟ้ามาช่วยให้แสงสว่าง ตลอด 150 ปีที่ผ่านมานี้การใช้พลังงานจึงเพิ่มขึ้นมาเป็น
ล�ำดับทั้งในภาพระดับมหภาค (ระดับโลกหรือประเทศ) และในภาพระดับจุลภาคหรือระดับบุคคล         
(การใช้พลังงานต่อประชากร 1 คน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกึ่ง
อุตสาหกรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้ในระดับปัจเจกบุคคล
	 ความต้องการพลังงานยังคงเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ต่อไป เนื่องจากในศตวรรษที่ 21 นี้
ประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ประเทศจีนและอินเดีย (ทั้งสองประเทศมี
ประชากรรวมประมาณ 1/3 ของประชากรโลก) จะมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและสามารถเข้าถึง
เทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ความต้องการพลังงานยังเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจ�ำนวนของ
พัฒนาการของเทคโนโลยีหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม
60 ปี
55 ปี 50 ปี 40 ปี
เครือข่าย
ดิจิทัล
ซอฟต์แวร์
สื่อรูปแบบ
ใหม่
เทคโนโลยี
ยุคที่ 1
เทคโนโลยี
ยุคที่ 2
เทคโนโลยี
ยุคที่ 3
เทคโนโลยี
ยุคที่ 4
เทคโนโลยี
ยุคที่ 5-6
รถยนต์
เครื่องบิน
อุตสาหกรรม
  • ปิโตรเคมี
  • อิเล็กทรอนิกส์
ไบโอเทค
อินโฟสเฟียร์
ระบบโลก
เชิงวิศวกรรม
พลังน�้ำ
อุตสาหกรรม
  • สิ่งทอ
  • เหล็ก
ไอน�้ำ
รถไฟ
อุตสาหกรรม
  • เหล็กกล้า
ไฟฟ้า
เครื่องยนต์
เผาไหม้ภายใน
อุตสาหกรรม
   • เคมี
30 ปี
1785 1845 1900 1950 1990 1999 2020
รูปที่ 1.1 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในยุคต่าง ๆ
(ที่มา : Graedel และ Allenby, 2010)
5
ประชากรโลก จากการคาดการณ์ขั้นสูงของสหประชาชาติระบุว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ
2.5 เท่าเมื่อสิ้นศตวรรษนี้ นั่นคือประชากรโลกจะเพิ่มจาก 6,000 ล้านคนเป็น 14,000 ล้านคน                    
ดังแสดงในรูปที่ 1.2 ดังนั้น ถ้าตลอดหนึ่งร้อยปีนี้คนทุกคนในโลกใช้พลังงานเท่าเดิม ก็หมายความว่า
จะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่าจากปริมาณที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว ปัญหาที่คาดว่าจะเกิด
ขึ้นในอนาคตอันใกล้คือ น�้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติที่มนุษย์เราใช้เป็นแหล่งพลังงานหลัก           
อาจมีเพียงพอถึงปลายศตวรรษนี้หรือต้นศตวรรษหน้าเท่านั้น (Niele, 2005) ดังนั้นจึงเกิดค�ำถามว่า
หลังศตวรรษนี้ไปแล้ว แหล่งพลังงานที่จะน�ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนให้กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ยังคง       
เดินหน้าต่อไปได้ จะได้มาจากที่ใด ?
รูปที่ 1.2 ประมาณการจ�ำนวนประชากรโลก ช่วง ค.ศ. 1800-2100
(ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/File:World-Population-1800-2100.png)
6
1.3 ความเชื่อมโยงระหว่างพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
	 การที่มนุษย์น�ำพลังงานฟอสซิล (ถ่านหิน น�้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ) ขึ้นมาใช้อย่างมาก
ในศตวรรษที่ผ่านมา สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม (โดยจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
ภายหลัง) ประเด็นปัญหาหลักประเด็นหนึ่งก็คือ ปัญหาเรื่องโลกร้อนอันเนื่องจากปริมาณแก๊สเรือน
กระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ ดังแสดงในรูปที่ 1.3 เมื่อพิจารณาเฉพาะแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากเป็นแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้ พบว่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาความเข้มข้น
ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจาก 315 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) มาเป็น 365 พีพีเอ็ม หรือ        
เพิ่มขึ้นประมาณ 50 พีพีเอ็ม ในขณะที่ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนการปฏิวัติ
อุตสาหกรรมมีค่าค่อนข้างคงที่ การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ             
บนผิวโลกจากรายงานของ IPCC(Intergovernmental PanelonClimateChange)พบว่าอุณหภูมิ
เฉลี่ยบนผิวโลกเพิ่มขึ้น 0.25 องศาเซลเซียส ระหว่าง ค.ศ. 1880-1940 ใน ค.ศ. 1970 นักวิทยาศาสตร์
กลุ่มหนึ่งได้ท�ำการวิเคราะห์อากาศที่ถูกกักอยู่ในแท่งน�้ำแข็งตัวอย่างจากแอนตาร์กติก และได้ข้อมูล
เกี่ยวกับความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศย้อนหลังไป 1000 ปี ซึ่งเป็นที่มาของรูป         
ที่ 1.3  
รูปที่ 1.3 ความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศส�ำหรับช่วง 2000 ปีที่ผ่านมา
(ที่มา : http://www.ipcc.ch/publications_and_data/ar4/wg1/en/faq-2-1-figure-1.htm)
	 โลกของเรารับพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ โดยแสงอาทิตย์ที่มาถึงยังโลกบางส่วนจะสะท้อน         
กลับออกไปสู่อวกาศโดยเมฆ บรรยากาศ และทะเล มีเพียงร้อยละ 49 ที่โลกดูดซับไว้ พลังงานนี้
7
จ�ำนวนหนึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นความร้อนในบรรยากาศ บางส่วนถูกใช้เพื่อระเหยน�้ำ ส่วนที่เหลือแผ่ออก
มาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดและถูกดูดซับโดยบรรยากาศดังแสดงในรูปที่ 1.4 ดังนั้น บรรยากาศ
ที่ห่อหุ้มโลกจึงท�ำหน้าที่กักเก็บความร้อนที่มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไว้ ส่งผลให้อุณหภูมิ         
เฉลี่ยบนผิวโลกอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มโลกอุณหภูมิของผิวโลกจากการ
ค�ำนวณจะต�่ำถึง -19 องศาเซลเซียส ผลของบรรยากาศต่อการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกเรียกว่า
“ผลของภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect)” ซึ่งปัจจัยส�ำคัญที่มีบทบาทต่อการรักษาความ       
ร้อนนี้ไว้บนผิวโลกมาจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน�้ำในบรรยากาศที่มีโครงสร้างของโมเลกุล
เหมาะสมต่อการดูดซับรังสีความร้อนที่สะท้อนจากผิวโลก (รังสีสะท้อนมีความยาวคลื่น 4-100
ไมโครเมตร) โดยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ดูดซับรังสีความยาวคลื่นในช่วง 13-19 ไมโครเมตร และ            
ไอน�้ำดูดซับรังสีความยาวคลื่นในช่วง 4-7 ไมโครเมตร ความเข้มข้นปกติของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  
ที่ระดับหนึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการดูดซับรังสีความร้อนเหล่านี้ค่าหนึ่งซึ่งมีผลต่อดุลพลังงาน
ของชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นจาก
กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น(การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลการลดลงของพื้นป่าไม้)ท�ำให้มีการกักรังสีความร้อน
ไว้ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น อุณหภูมิของผิวโลกจึงสูงขึ้น ส่งผลท�ำให้มีน�้ำระเหยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ        
มากขึ้นไอน�้ำก็มีศักยภาพในการดูดซับรังสีความร้อนเหล่านี้เช่นกันการมีไอน�้ำมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ
จึงยิ่งเป็นปัจจัยช่วยเสริมวงจรป้อนกลับของกลไกการเกิดสภาพเรือนกระจก ทั้งหมดนี้มีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
รูปที่ 1.4 ดุลพลังงานจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ที่มายังบนพื้นผิวโลก
(ที่มา : IPCC 1995, “Climate change 1995, Working Group I”)
8
	 นอกจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน�้ำที่มีบทบาทต่อการดูดซับรังสีความร้อนแล้ว ใน
บรรยากาศของเรายังมีแก๊สอื่นๆ อีกที่มีความสามารถในการดูดซับรังสีความร้อนเหล่านี้ อันได้แก่           
แก๊สมีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) โอโซน (O3) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ฟลูออโร-          
คาร์บอน (CFs) แก๊สเหล่านี้สามารถดูดซับรังสีที่มีความยาวคลื่นในช่วง 7-13 ไมโครเมตร ตาราง           
ที่ 1.1 แสดงปริมาณและอายุของแก๊สเรือนกระจกหลัก ๆ ในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นรายงานที่จัดท�ำ          
โดยคณะท�ำงานระหว่างประเทศเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศใน ค.ศ. 1995 (Halmann และ
Steinberg, 1999) ตารางที่ 1.1 แสดงให้เห็นว่าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ช่วงหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม อัตราการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นไป
อย่างรวดเร็วและการที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีช่วงชีวิตที่ยาวในบรรยากาศส่งผลให้การสะสม             
ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศยิ่งมากขึ้นไป เพราะทุกโมเลกุลที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้น
บรรยากาศจะเสถียรอยู่ไปอีก 50-200 ปี
ความเข้มข้นก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม, ppmv	 @ 280	 @ 720 × 10-3	
@ 275 × 10-3	
0
ความเข้มข้นใน ค.ศ. 1994,  ppmv	 358	 1720 × 10-3	
312 × 10-3	
268 × 10-6
อัตราการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น, ppmv ต่อปี	 1.5	 10 × 10-3	
0.8 × 10-3	
0
อายุในชั้นบรรยากาศ, ปี	 50-200	 12	 120	 50
ตารางที่ 1.1	 แก๊สเรือนกระจก ความเข้มข้น การเพิ่มขึ้นและอายุในชั้นบรรยากาศ
	 (ที่มา : Halmann และ Steinberg, 1999)
	 CO2	
CH4	
N2
O	 CFC-11
ppmv หมายถึง หนึ่งในล้านส่วนเชิงปริมาตร
	 อันที่จริงแล้วประเด็นภาวะโลกร้อนถูกกล่าวถึงครั้งแรก โดย Svante Arrhenius ใน ค.ศ.        
1896 Arrhenius ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะมีส่วนอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะ
เรือนกระจก แต่ประเด็นนี้ไม่ได้รับความสนใจจนกระทั่งใน ค.ศ. 1957 มีผู้ตีพิมพ์บทความทาง
วิทยาศาสตร์ที่ดึงประเด็นภาวะเรือนกระจกและความห่วงใยสู่สาธารณะอีกครั้ง หนึ่งปีหลังจากนั้น           
ได้เริ่มมีการตรวจวัดความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่ Mauna Loa เพื่อ            
ตรวจสอบความเป็นไปได้ของการเกิดภาวะโลกร้อน แต่ประเด็นดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับความสนใจจาก
สาธารณชน จนกระทั่งช่วงทศวรรษของปี 1980  ในปี 1988 สหประชาชาติตั้งคณะท�ำงานซึ่งเป็น        
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อท�ำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ       
ภูมิอากาศ โดยคณะท�ำงานกลุ่มนี้คือ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ใน
ช่วงเวลาที่ผ่านมาคณะท�ำงานกลุ่มนี้ได้จัดท�ำรายงานขึ้นมา 4 ฉบับโดยรายงานดังกล่าวเขียนขึ้นจาก
9
การทบทวนวรรณกรรมและผลงานตีพิมพ์ที่มีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งไม่ได้เป็นผู้ท�ำวิจัยเอง        
ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 งานของ IPCC จะได้รับการทบทวนโดยสภานักวิชาการระหว่างประเทศ รายงาน
ฉบับล่าสุดของ IPCC ใน ค.ศ. 2007 รายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นบนพื้นผิวโลกเมื่อถึง ค.ศ.          
2100 จะอยู่ในช่วง 2.0-4.5 องศาเซลเซียส หรือค่าที่น่าจะเป็นคืออุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3  
องศาเซลเซียส จากประมาณการนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์คิดว่าการประมาณการนี้สูงเกินไป จึงมีค�ำถาม
ตามมาว่า ปริมาณความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศควรเป็นเท่าไร จึงจะไม่
ท�ำให้อุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นบนพื้นผิวโลกสูงเกินไป (Armaroli และ Balzani, 2011)
	 ในการพิจารณาความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ก่อนอื่นต้องเข้าใจ
ก่อนว่ากิจกรรมบนโลกมีทั้งส่วนการผลิตและการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กิจกรรมดังกล่าวมีทั้งที่
เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างให้เกิดขึ้น ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจึงต้องทราบถึงการเคลื่อนย้ายของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกก่อน รูปที่ 1.5 เป็นภาพวัฏจักรคาร์บอนของโลก ที่น�ำเสนอในรายงาน
ของ IPCC ค.ศ. 1995 เพื่ออธิบายถึงการเคลื่อนย้ายของคาร์บอนและการเสนอดุลคาร์บอนบนโลก
รูปที่ 1.5 วัฏจักรคาร์บอนของโลก แสดงแหล่งเก็บ การเคลื่อนย้ายเข้า-ออกของคาร์บอนจากระบบนิเวศ
ทางบก ทางน�้ำและทางอากาศ และกิจกรรมของมนุษย์
(ที่มา : http://cdiac.ornl.gov/pns/graphics/c_cycle.htm)
10
ตัวเลขในภาพคือปริมาณคาร์บอนที่สะสม (GTC, 109
ตันคาร์บอน/ปี) หรือปริมาณการเคลื่อนย้าย
คาร์บอนตามกระแสต่าง ๆ (GTC/yr, 109
ตันคาร์บอน/ปี) ในรูป 1.5 แสดงว่าในบรรยากาศของโลกมี
คาร์บอนสะสมอยู่ 775 กิกะตัน (GTC, 109
ton) อยู่ในพืช ในดินและซากอินทรีย์ 550 และ 1,500   
กิกะตันตามล�ำดับ ละลายในทะเลที่บริเวณผิวหน้าประมาณ 1,020 กิกะตัน อยู่ในสิ่งมีชีวิตในทะเล         
3 กิกะตัน ละลายในคาร์บอนอินทรีย์ละลายน�้ำได้ < 700 กิกะตัน และเก็บอยู่ใต้ทะเลช่วงกลางและ
ทะเลลึกถึง 38,100 กิกะตัน และอยู่ในตะกอนก้นทะเลอีก 150 กิกะตัน
	 จากรูปจะเห็นว่า กระบวนการหายใจของพืชจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ
ประมาณ 50 กิกะตันคาร์บอนต่อปี ในขณะที่พืชดึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเข้าไปใช้       
ในการสังเคราะห์แสงปีละ 101.5 กิกะตันคาร์บอน หมายความว่า พืชช่วยลดปริมาณแก๊สคาร์บอนได-
ออกไซด์ในบรรยากาศโดยดึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศปีละ 51.5 กิกะตันคาร์บอน
เพื่อใช้ในการสร้างความเจริญเติบโต แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินของมนุษย์ส่งผล       
ให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ปล่อยออกสู่บรรยากาศปีละ 1.5 กิกะตันคาร์บอน และมีการปล่อย      
คาร์บอนออกสู่บรรยากาศอันเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายของสารอินทรีย์ต่าง ๆ อีก 50 กิกะตัน
คาร์บอน จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าระบบนิเวศทางบกไม่ได้ช่วยลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศ
ส�ำหรับระบบนิเวศทางน�้ำ ทะเลท�ำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนสุทธิได้ปีละ 1.6 กิกะตันคาร์บอน นอกจากนี้
ยังมีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอันเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ (การใช้              
เชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมซีเมนต์) อีกปีละ 6.2 กิกะตันคาร์บอน ดังนั้น เมื่อน�ำข้อมูลจากทั้ง
ระบบนิเวศทางบก ทางน�้ำ ทางอากาศและกิจกรรมของมนุษย์มาพิจารณา พบว่าปริมาณคาร์บอนใน
บรรยากาศจะเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอันเนื่องจาก
กิจกรรมของมนุษย์มากกว่าความสามารถในการดูดซับของระบบนิเวศทางบกและทางน�้ำ 
	 ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ผิวโลก (1) ระดับน�้ำทะเลสูงขึ้น
เนื่องจากการหลอมละลายของธารน�้ำแข็งและน�้ำแข็งในแอนตาร์กติกจากการค�ำนวณประมาณการว่า
เมื่อถึง ค.ศ. 2100 ระดับน�้ำอาจสูงขึ้นได้ไปอยู่ระหว่าง 15-90 เซนติเมตร โดยค่าที่น่าจะเป็นคือ 48
เซนติเมตร และ (2) เกิดทะเลทรายเพิ่มขึ้นในบริเวณเขตร้อนและการขยายพื้นที่การเจริญเติบโตของ
พืชการเกษตรเข้าสู่ด้านเหนือของเขตอบอุ่นมากขึ้น  (Halmann และ Steinberg, 1999) ผลกระทบ
จากอุณหภูมิผิวโลกที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดการถกเถียงกันทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และการวางนโยบายว่า         
ค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศควรเป็นเท่าใด แนวคิดจากการถกเถียง
ในรอบแรก ๆ ยอมรับให้ค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเป็นสองเท่า         
ของค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งคือ
ประมาณ 550 พีพีเอ็มปริมาตร (ppmv) จากรายงานของ IPCC แสดงว่าค่าความเข้มข้นของแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์นี้จะท�ำให้อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นบนพื้นผิวโลกจะอยู่ในช่วง 2.0-4.5 องศาเซลเซียส
และค่าที่น่าจะเป็นคืออุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มี

Contenu connexe

Similaire à 9789740331216

วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
anantragool1735
 
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
anantragool1735
 
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
anantragool1735
 
il-pornprasert
il-pornprasertil-pornprasert
il-pornprasert
0846054411
 
il-pornprasert
il-pornprasertil-pornprasert
il-pornprasert
0846054411
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
Kru NoOk
 
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตการวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
Tor Jt
 
ใบความรู้
ใบความรู้ใบความรู้
ใบความรู้
a1o1b1
 
ระบบนิเวศประเทศไทย
ระบบนิเวศประเทศไทยระบบนิเวศประเทศไทย
ระบบนิเวศประเทศไทย
ninjynoppy39
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
KawinTheSinestron
 
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
Keatisak TAtanarua
 
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
Rattanathon Phetthom
 

Similaire à 9789740331216 (20)

วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
 
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
 
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
 
il-pornprasert
il-pornprasertil-pornprasert
il-pornprasert
 
il-pornprasert
il-pornprasertil-pornprasert
il-pornprasert
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
 
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตการวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
 
Hydroelectric power
Hydroelectric powerHydroelectric power
Hydroelectric power
 
ใบความรู้
ใบความรู้ใบความรู้
ใบความรู้
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
ระบบนิเวศประเทศไทย
ระบบนิเวศประเทศไทยระบบนิเวศประเทศไทย
ระบบนิเวศประเทศไทย
 
บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศบริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
 
นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านนิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้าน
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
 
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
 
Thailand gogreen cavaw_ts
Thailand gogreen cavaw_tsThailand gogreen cavaw_ts
Thailand gogreen cavaw_ts
 
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
 
ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3ระบบนิเวศ3
ระบบนิเวศ3
 
ระบบนิเวศในประเทศไทย
ระบบนิเวศในประเทศไทยระบบนิเวศในประเทศไทย
ระบบนิเวศในประเทศไทย
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331216

  • 1. 1 พลังงานเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตทุกชีวิตบนโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้ พลังงานของมนุษย์ในปัจจุบันแตกต่างไปจากในอดีตมาก พลังงานที่มนุษย์เคยใช้เป็นพลังงานตาม ธรรมชาติ เป็นพลังงานหมุนเวียนไม่ได้แปรรูป แต่ปัจจุบันมนุษย์ใช้พลังงานในรูปแบบที่ต่างไปจาก สภาพที่พบตามธรรมชาติ โดยมนุษย์น�ำพลังงานมาผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ไฟฟ้า แกโซลีน ความร้อน ซึ่งพลังงานเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นพลังงาน สังเคราะห์ การใช้ประโยชน์จากพลังงานสังเคราะห์เหล่านี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเจริญ ทางเศรษฐกิจ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้กับมนุษย์ในสังคมยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 การใช้พลังงานสังเคราะห์เหล่านี้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ของเสียจาก กระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่นกัน มนุษย์เริ่มเห็นสัญญาณของปัญหาซึ่ง เกิดจากการใช้พลังงานสังเคราะห์เหล่านี้ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ปัญหามีความชัดเจนมากขึ้น เป็นต้น ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การหมดไปของทรัพยากรธรรมชาติ การสูญพันธ์ุของพืชและ สัตว์จ�ำนวนมาก ดังนั้นค�ำถามที่ตามมาคือ ในเมื่อมนุษย์ปัจจุบันพึ่งพาพลังงานสังเคราะห์มากขึ้น มนุษย์ต้องท�ำอย่างไรที่จะยังคงด�ำเนินกิจกรรมของตนได้ ในขณะเดียวกันรักษาความยั่งยืนต่อโลก และระบบนิเวศไว้ได้ 1.1 พลังงาน พลังงานเป็นแนวคิดที่พัฒนาโดยอิงฐานคิดของค�ำว่า “งาน (Work)” ซึ่งมีค�ำจ�ำกัดความว่า งาน เป็นการใช้แรง หรือ (Force) เพื่อการเคลื่อนย้ายสิ่งของ ดังนั้น ปริมาณของงานจึงขึ้นกับขนาด ของแรงที่ใช้ และระยะทางที่สิ่งของเคลื่อนที่ไปในทิศทางของแรง ในขณะที่พลังงานถูกให้ค�ำจ�ำกัด ความว่า เป็นความสามารถของระบบระบบหนึ่งในการท�ำงาน หรือในมุมมองที่กว้างขึ้น พลังงานคือ บทน�ำ
  • 2. 2 ความสามารถในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความดัน ความเร็ว หรือ ต�ำแหน่ง ฯลฯ ในระบบหนึ่ง ๆ โดยพลังงานและงานมีหน่วยในระบบ SI (International system of units) เป็น จูล (Joule) หรือ นิวตัน.เมตร นอกจากนี้ยังมีค�ำจ�ำกัดความอีกค�ำที่เกี่ยวข้อง คือ ก�ำลัง (Power) หมายถึงอัตราการใช้หรือการให้พลังงาน มีหน่วยเป็นพลังงานต่อเวลา เช่น จูลต่อ วินาที (Joule/s) หรือ วัตต์ (Watt) ฯลฯ ความรู้เกี่ยวกับพลังงานพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่ ค.ศ. 1820 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรยุคบุกเบิกความรู้เกี่ยวกับพลังงานและการเปลี่ยนรูปพลังงานที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ James Watt, Sadi Carnot, James Joule, Rudolf Clausius และ Lord Kelvin ต่อมารู้จักกันในหมวด ความรู้ของอุณหพลศาสตร์หรือเทอร์โมไดนามิกส์นั่นเอง กฎทางเทอร์โมไดนามิกส์ข้อหนึ่งและข้อสอง ถูกน�ำมาใช้อย่างแพร่หลายในการค�ำนวณเพื่อการวิเคราะห์หรือออกแบบระบบพลังงาน โดยกฎข้อ ที่หนึ่ง กล่าวถึงพลังงานในเชิงปริมาณว่า ในระบบเอกเทศ (Isolated system) ปริมาณพลังงานใน ระบบจะคงที่ หมายความว่าพลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือถูกท�ำลายไปได้ เพียงแต่จะเปลี่ยน รูปไปเท่านั้น ส�ำหรับกฎข้อที่สองเป็นกฎที่กล่าวถึงพลังงานในเชิงคุณภาพว่าโดยทั่วไปพลังงานจะ เปลี่ยนรูปจากพลังงานที่มีคุณภาพสูงหรือพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ไปเป็นพลังงานคุณภาพตํ่าหรือ พลังงานที่ไม่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยคุณภาพของพลังงานอธิบายได้โดยค่าเอนโทรปี (Entropy) และใช้เอนโทรปีเป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของพลังงาน แหล่งพลังงานของเรามาจากพลังงานที่เก็บสะสมไว้หรือเป็นพลังงานในธรรมชาติ ส�ำหรับ พลังงานก่อนผ่านกระบวนการแปรรูปที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยมนุษย์เรียกว่าพลังงานปฐมภูมิ แหล่ง พลังงานปฐมภูมิจ�ำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ แหล่งพลังงานที่มีลักษณะเป็นการเก็บสะสม (Storing) กับแหล่งพลังงานที่มีการเคลื่อนย้ายไหลเวียน (Flowing) แหล่งพลังงานที่ได้จากการเก็บสะสม ได้แก่ เชื้อเพลิงฟอสซิล ชีวมวล แร่กัมมันตรังสี เป็นต้น ส�ำหรับแหล่งพลังงานที่เคลื่อนย้ายไหลเวียน ได้แก่ พลังลม แสงอาทิตย์ คลื่น กระแสนํ้า เป็นต้น ทุกวันนี้มนุษย์น�ำพลังงานปฐมภูมิมาแปรรูปเพื่อใช้ ประโยชน์ใน 3 ลักษณะคือ ใช้ในรูปไฟฟ้า ความร้อน และนํ้ามันเชื้อเพลิง โดยนํ้ามันเชื้อเพลิงเป็น รูปแบบของแหล่งพลังงานที่สะดวกต่อการเก็บรักษา เก็บได้ยาวนาน ขนส่งและใช้งานสะดวก ใน ขณะที่ไฟฟ้าและความร้อนเก็บรักษาได้ยากกว่า ช่วงเวลาที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้สั้นกว่าหรือผลิต แล้วต้องใช้ประโยชน์เลย นอกจากนี้ยังมีแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการท�ำบัญชีการใช้พลังงาน กล่าวคือ การท�ำบัญชีเพื่อรวบรวมพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ถูกใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์ กิจกรรมหรือบริการต่าง ๆ โดยถือว่าพลังงานเหล่านี้ฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมและสามารถส่ง ผ่านพลังงานเหล่านี้ไปยังกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ปลายทางได้ การท�ำบัญชีพลังงานท�ำโดยคิดจาก กระบวนการ ขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การสกัดพลังงานปฐมภูมิจนถึงขั้นตอนการก�ำจัดหรือน�ำผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ กลับมาใช้ใหม่ พลังงานดังกล่าวเรียกว่า พลังงานพาณิชย์ฝังตัว (Embodied energy) (Odum, 1996)อย่างไรก็ตามวิธีประเมินพลังงานในลักษณะนี้ยังไม่เป็นวิธีที่ถูกน�ำมาใช้อย่างกว้างขวางเนื่องจาก
  • 3. 3 ยังมีประเด็นที่นักวิเคราะห์พลังงานจากกลุ่มต่าง ๆ ยังไม่เห็นพ้องกันทั้งหมด 1.2 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีและการใช้พลังงาน โลกของเราในปัจจุบันแตกต่างไปจากเมื่อ 150-250 ปีที่แล้วโดยสิ้นเชิง มีพัฒนาการทาง เทคโนโลยีมากมายดังแสดงในรูปที่ 1.1 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงสอง ศตวรรษครึ่งที่ผ่านมาสร้างผลกระทบต่อวิถีการด�ำเนินชีวิต ซึ่งมีผลต่อการใช้ทรัพยากรและการใช้ พลังงาน เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวมีมากมาย ที่ส�ำคัญได้แก่ การสร้าง เครื่องจักรเครื่องยนต์ โดยเฉพาะการพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานความร้อนแบบต่าง ๆ (Heat engine) อาทิ วัฏจักรดีเซล วัฏจักรออตโต วัฏจักรเบรตัน เป็นต้น ซึ่งถูกน�ำมาใช้ในยานยนต์ประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ รถไฟ เรือยนต์ รถยนต์ เครื่องบิน ตลอดจนถึงยานอวกาศ ความรู้และเทคโนโลยีถัดมา คือความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้า หลังจากที่มนุษย์เข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างแม่เหล็กกับไฟฟ้าแล้ว จึงได้น�ำความสามารถในเรื่องการพัฒนาเครื่องยนต์มาใช้ร่วมกันความรู้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กกับไฟฟ้าในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการใช้วัฏจักรแรงคินและ วัฏจักรเบรตันเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้แหล่งพลังงานธรรมชาติมาขับเคลื่อนวัฏจักรเหล่านี้ ความสามารถ ในการผลิตไฟฟ้าส่งผลให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ที่เคยมีแต่กิจกรรมในช่วงเวลากลาง วันสามารถจัดกิจกรรมให้มีได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไฟฟ้าและ มีความเข้าใจในเรื่องคลื่นต่าง ๆ มากขึ้น ท�ำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสื่อสารและโทรคมนาคม อาทิ การประดิษฐ์โทรเลข วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ ดาวเทียม การพัฒนาเทคโนโลยีด้านสื่อสาร ส่งผลให้มนุษย์สามารถรับทราบข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาเกิด การพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเมื่อมนุษย์สามารถย่อวงจรต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลงและ มีความจุวงจรสูงขึ้น ท�ำให้เกิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การผนวกรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับ เทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ อาทิ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา หรือ PDA (Personal Digital Assistance) เป็นต้น สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ท�ำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อ สื่อสารรับทราบข่าวสารค้นหาข้อมูลช่วยย่อโลกให้เล็กลงและเพิ่มความเร็วในการรับรู้และตอบสนอง ต่อข้อมูลข่าวสาร ส�ำหรับพัฒนาการในศตวรรษที่ 21 จะมีการผนวกรวมของศาสตร์อีกมาก เช่น การ เชื่อมต่อของความรู้ทางวิทยาศาสตร์กายภาพกับชีวภาพ อาทิ ชีวฟิสิกส์ ชีวสารสนเทศ ชีววิทยาเชิง การค�ำนวณ การพัฒนาทางวิศวกรรมชีวภาพและวิศวกรรมชีวเวช เป็นต้น ศาสตร์เหล่านี้จะก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการด�ำรงชีวิตในอนาคตอย่างแน่นอน แต่ยากจะคาดเดาได้ว่าผลที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิด ผลดีต่อคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงไร แต่ผลกระทบที่แน่นอนจากพัฒนาการดังกล่าวคือ ความต้องการ ใช้พลังงานที่มากขึ้น เนื่องจากระบบที่ซับซ้อนมีแนวโน้มต้องการพลังงานมากกว่าระบบที่เรียบง่าย
  • 4. 4 ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องบิน โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์พกพา สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ด�ำรงชีวิตและรูปแบบของสังคมไปจากเดิม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ต้องการ พลังงานรูปแบบใหม่หรือพลังงานสังเคราะห์ (พลังงานที่ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติ) มาขับเคลื่อนเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ยานยนต์ต้องการน�้ำมันแกโซลีน น�้ำมันดีเซล หรือน�้ำมันเครื่องบินเป็น เชื้อเพลิง อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ต้องการไฟฟ้ามาขับเคลื่อน กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังแสงอาทิตย์ ลับขอบฟ้าไปแล้วมีไฟฟ้ามาช่วยให้แสงสว่าง ตลอด 150 ปีที่ผ่านมานี้การใช้พลังงานจึงเพิ่มขึ้นมาเป็น ล�ำดับทั้งในภาพระดับมหภาค (ระดับโลกหรือประเทศ) และในภาพระดับจุลภาคหรือระดับบุคคล (การใช้พลังงานต่อประชากร 1 คน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกึ่ง อุตสาหกรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้ในระดับปัจเจกบุคคล ความต้องการพลังงานยังคงเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ต่อไป เนื่องจากในศตวรรษที่ 21 นี้ ประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ประเทศจีนและอินเดีย (ทั้งสองประเทศมี ประชากรรวมประมาณ 1/3 ของประชากรโลก) จะมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและสามารถเข้าถึง เทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ความต้องการพลังงานยังเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจ�ำนวนของ พัฒนาการของเทคโนโลยีหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม 60 ปี 55 ปี 50 ปี 40 ปี เครือข่าย ดิจิทัล ซอฟต์แวร์ สื่อรูปแบบ ใหม่ เทคโนโลยี ยุคที่ 1 เทคโนโลยี ยุคที่ 2 เทคโนโลยี ยุคที่ 3 เทคโนโลยี ยุคที่ 4 เทคโนโลยี ยุคที่ 5-6 รถยนต์ เครื่องบิน อุตสาหกรรม • ปิโตรเคมี • อิเล็กทรอนิกส์ ไบโอเทค อินโฟสเฟียร์ ระบบโลก เชิงวิศวกรรม พลังน�้ำ อุตสาหกรรม • สิ่งทอ • เหล็ก ไอน�้ำ รถไฟ อุตสาหกรรม • เหล็กกล้า ไฟฟ้า เครื่องยนต์ เผาไหม้ภายใน อุตสาหกรรม • เคมี 30 ปี 1785 1845 1900 1950 1990 1999 2020 รูปที่ 1.1 วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในยุคต่าง ๆ (ที่มา : Graedel และ Allenby, 2010)
  • 5. 5 ประชากรโลก จากการคาดการณ์ขั้นสูงของสหประชาชาติระบุว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 เท่าเมื่อสิ้นศตวรรษนี้ นั่นคือประชากรโลกจะเพิ่มจาก 6,000 ล้านคนเป็น 14,000 ล้านคน ดังแสดงในรูปที่ 1.2 ดังนั้น ถ้าตลอดหนึ่งร้อยปีนี้คนทุกคนในโลกใช้พลังงานเท่าเดิม ก็หมายความว่า จะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่าจากปริมาณที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว ปัญหาที่คาดว่าจะเกิด ขึ้นในอนาคตอันใกล้คือ น�้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติที่มนุษย์เราใช้เป็นแหล่งพลังงานหลัก อาจมีเพียงพอถึงปลายศตวรรษนี้หรือต้นศตวรรษหน้าเท่านั้น (Niele, 2005) ดังนั้นจึงเกิดค�ำถามว่า หลังศตวรรษนี้ไปแล้ว แหล่งพลังงานที่จะน�ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนให้กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ยังคง เดินหน้าต่อไปได้ จะได้มาจากที่ใด ? รูปที่ 1.2 ประมาณการจ�ำนวนประชากรโลก ช่วง ค.ศ. 1800-2100 (ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/File:World-Population-1800-2100.png)
  • 6. 6 1.3 ความเชื่อมโยงระหว่างพลังงานกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การที่มนุษย์น�ำพลังงานฟอสซิล (ถ่านหิน น�้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ) ขึ้นมาใช้อย่างมาก ในศตวรรษที่ผ่านมา สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม (โดยจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป ภายหลัง) ประเด็นปัญหาหลักประเด็นหนึ่งก็คือ ปัญหาเรื่องโลกร้อนอันเนื่องจากปริมาณแก๊สเรือน กระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญ ดังแสดงในรูปที่ 1.3 เมื่อพิจารณาเฉพาะแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากเป็นแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้ พบว่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาความเข้มข้น ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจาก 315 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) มาเป็น 365 พีพีเอ็ม หรือ เพิ่มขึ้นประมาณ 50 พีพีเอ็ม ในขณะที่ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนการปฏิวัติ อุตสาหกรรมมีค่าค่อนข้างคงที่ การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ บนผิวโลกจากรายงานของ IPCC(Intergovernmental PanelonClimateChange)พบว่าอุณหภูมิ เฉลี่ยบนผิวโลกเพิ่มขึ้น 0.25 องศาเซลเซียส ระหว่าง ค.ศ. 1880-1940 ใน ค.ศ. 1970 นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มหนึ่งได้ท�ำการวิเคราะห์อากาศที่ถูกกักอยู่ในแท่งน�้ำแข็งตัวอย่างจากแอนตาร์กติก และได้ข้อมูล เกี่ยวกับความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศย้อนหลังไป 1000 ปี ซึ่งเป็นที่มาของรูป ที่ 1.3 รูปที่ 1.3 ความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศส�ำหรับช่วง 2000 ปีที่ผ่านมา (ที่มา : http://www.ipcc.ch/publications_and_data/ar4/wg1/en/faq-2-1-figure-1.htm) โลกของเรารับพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ โดยแสงอาทิตย์ที่มาถึงยังโลกบางส่วนจะสะท้อน กลับออกไปสู่อวกาศโดยเมฆ บรรยากาศ และทะเล มีเพียงร้อยละ 49 ที่โลกดูดซับไว้ พลังงานนี้
  • 7. 7 จ�ำนวนหนึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นความร้อนในบรรยากาศ บางส่วนถูกใช้เพื่อระเหยน�้ำ ส่วนที่เหลือแผ่ออก มาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดและถูกดูดซับโดยบรรยากาศดังแสดงในรูปที่ 1.4 ดังนั้น บรรยากาศ ที่ห่อหุ้มโลกจึงท�ำหน้าที่กักเก็บความร้อนที่มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไว้ ส่งผลให้อุณหภูมิ เฉลี่ยบนผิวโลกอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มโลกอุณหภูมิของผิวโลกจากการ ค�ำนวณจะต�่ำถึง -19 องศาเซลเซียส ผลของบรรยากาศต่อการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกเรียกว่า “ผลของภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect)” ซึ่งปัจจัยส�ำคัญที่มีบทบาทต่อการรักษาความ ร้อนนี้ไว้บนผิวโลกมาจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน�้ำในบรรยากาศที่มีโครงสร้างของโมเลกุล เหมาะสมต่อการดูดซับรังสีความร้อนที่สะท้อนจากผิวโลก (รังสีสะท้อนมีความยาวคลื่น 4-100 ไมโครเมตร) โดยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ดูดซับรังสีความยาวคลื่นในช่วง 13-19 ไมโครเมตร และ ไอน�้ำดูดซับรังสีความยาวคลื่นในช่วง 4-7 ไมโครเมตร ความเข้มข้นปกติของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ระดับหนึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการดูดซับรังสีความร้อนเหล่านี้ค่าหนึ่งซึ่งมีผลต่อดุลพลังงาน ของชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นจาก กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น(การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลการลดลงของพื้นป่าไม้)ท�ำให้มีการกักรังสีความร้อน ไว้ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น อุณหภูมิของผิวโลกจึงสูงขึ้น ส่งผลท�ำให้มีน�้ำระเหยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ มากขึ้นไอน�้ำก็มีศักยภาพในการดูดซับรังสีความร้อนเหล่านี้เช่นกันการมีไอน�้ำมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ จึงยิ่งเป็นปัจจัยช่วยเสริมวงจรป้อนกลับของกลไกการเกิดสภาพเรือนกระจก ทั้งหมดนี้มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน รูปที่ 1.4 ดุลพลังงานจากการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ที่มายังบนพื้นผิวโลก (ที่มา : IPCC 1995, “Climate change 1995, Working Group I”)
  • 8. 8 นอกจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน�้ำที่มีบทบาทต่อการดูดซับรังสีความร้อนแล้ว ใน บรรยากาศของเรายังมีแก๊สอื่นๆ อีกที่มีความสามารถในการดูดซับรังสีความร้อนเหล่านี้ อันได้แก่ แก๊สมีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) โอโซน (O3) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ฟลูออโร- คาร์บอน (CFs) แก๊สเหล่านี้สามารถดูดซับรังสีที่มีความยาวคลื่นในช่วง 7-13 ไมโครเมตร ตาราง ที่ 1.1 แสดงปริมาณและอายุของแก๊สเรือนกระจกหลัก ๆ ในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นรายงานที่จัดท�ำ โดยคณะท�ำงานระหว่างประเทศเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศใน ค.ศ. 1995 (Halmann และ Steinberg, 1999) ตารางที่ 1.1 แสดงให้เห็นว่าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ช่วงหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม อัตราการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นไป อย่างรวดเร็วและการที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีช่วงชีวิตที่ยาวในบรรยากาศส่งผลให้การสะสม ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศยิ่งมากขึ้นไป เพราะทุกโมเลกุลที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้น บรรยากาศจะเสถียรอยู่ไปอีก 50-200 ปี ความเข้มข้นก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม, ppmv @ 280 @ 720 × 10-3 @ 275 × 10-3 0 ความเข้มข้นใน ค.ศ. 1994, ppmv 358 1720 × 10-3 312 × 10-3 268 × 10-6 อัตราการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น, ppmv ต่อปี 1.5 10 × 10-3 0.8 × 10-3 0 อายุในชั้นบรรยากาศ, ปี 50-200 12 120 50 ตารางที่ 1.1 แก๊สเรือนกระจก ความเข้มข้น การเพิ่มขึ้นและอายุในชั้นบรรยากาศ (ที่มา : Halmann และ Steinberg, 1999) CO2 CH4 N2 O CFC-11 ppmv หมายถึง หนึ่งในล้านส่วนเชิงปริมาตร อันที่จริงแล้วประเด็นภาวะโลกร้อนถูกกล่าวถึงครั้งแรก โดย Svante Arrhenius ใน ค.ศ. 1896 Arrhenius ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะมีส่วนอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะ เรือนกระจก แต่ประเด็นนี้ไม่ได้รับความสนใจจนกระทั่งใน ค.ศ. 1957 มีผู้ตีพิมพ์บทความทาง วิทยาศาสตร์ที่ดึงประเด็นภาวะเรือนกระจกและความห่วงใยสู่สาธารณะอีกครั้ง หนึ่งปีหลังจากนั้น ได้เริ่มมีการตรวจวัดความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่ Mauna Loa เพื่อ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของการเกิดภาวะโลกร้อน แต่ประเด็นดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับความสนใจจาก สาธารณชน จนกระทั่งช่วงทศวรรษของปี 1980 ในปี 1988 สหประชาชาติตั้งคณะท�ำงานซึ่งเป็น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อท�ำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศ โดยคณะท�ำงานกลุ่มนี้คือ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ใน ช่วงเวลาที่ผ่านมาคณะท�ำงานกลุ่มนี้ได้จัดท�ำรายงานขึ้นมา 4 ฉบับโดยรายงานดังกล่าวเขียนขึ้นจาก
  • 9. 9 การทบทวนวรรณกรรมและผลงานตีพิมพ์ที่มีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งไม่ได้เป็นผู้ท�ำวิจัยเอง ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 งานของ IPCC จะได้รับการทบทวนโดยสภานักวิชาการระหว่างประเทศ รายงาน ฉบับล่าสุดของ IPCC ใน ค.ศ. 2007 รายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นบนพื้นผิวโลกเมื่อถึง ค.ศ. 2100 จะอยู่ในช่วง 2.0-4.5 องศาเซลเซียส หรือค่าที่น่าจะเป็นคืออุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียส จากประมาณการนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์คิดว่าการประมาณการนี้สูงเกินไป จึงมีค�ำถาม ตามมาว่า ปริมาณความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศควรเป็นเท่าไร จึงจะไม่ ท�ำให้อุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นบนพื้นผิวโลกสูงเกินไป (Armaroli และ Balzani, 2011) ในการพิจารณาความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ก่อนอื่นต้องเข้าใจ ก่อนว่ากิจกรรมบนโลกมีทั้งส่วนการผลิตและการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กิจกรรมดังกล่าวมีทั้งที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างให้เกิดขึ้น ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจึงต้องทราบถึงการเคลื่อนย้ายของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกก่อน รูปที่ 1.5 เป็นภาพวัฏจักรคาร์บอนของโลก ที่น�ำเสนอในรายงาน ของ IPCC ค.ศ. 1995 เพื่ออธิบายถึงการเคลื่อนย้ายของคาร์บอนและการเสนอดุลคาร์บอนบนโลก รูปที่ 1.5 วัฏจักรคาร์บอนของโลก แสดงแหล่งเก็บ การเคลื่อนย้ายเข้า-ออกของคาร์บอนจากระบบนิเวศ ทางบก ทางน�้ำและทางอากาศ และกิจกรรมของมนุษย์ (ที่มา : http://cdiac.ornl.gov/pns/graphics/c_cycle.htm)
  • 10. 10 ตัวเลขในภาพคือปริมาณคาร์บอนที่สะสม (GTC, 109 ตันคาร์บอน/ปี) หรือปริมาณการเคลื่อนย้าย คาร์บอนตามกระแสต่าง ๆ (GTC/yr, 109 ตันคาร์บอน/ปี) ในรูป 1.5 แสดงว่าในบรรยากาศของโลกมี คาร์บอนสะสมอยู่ 775 กิกะตัน (GTC, 109 ton) อยู่ในพืช ในดินและซากอินทรีย์ 550 และ 1,500 กิกะตันตามล�ำดับ ละลายในทะเลที่บริเวณผิวหน้าประมาณ 1,020 กิกะตัน อยู่ในสิ่งมีชีวิตในทะเล 3 กิกะตัน ละลายในคาร์บอนอินทรีย์ละลายน�้ำได้ < 700 กิกะตัน และเก็บอยู่ใต้ทะเลช่วงกลางและ ทะเลลึกถึง 38,100 กิกะตัน และอยู่ในตะกอนก้นทะเลอีก 150 กิกะตัน จากรูปจะเห็นว่า กระบวนการหายใจของพืชจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ประมาณ 50 กิกะตันคาร์บอนต่อปี ในขณะที่พืชดึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเข้าไปใช้ ในการสังเคราะห์แสงปีละ 101.5 กิกะตันคาร์บอน หมายความว่า พืชช่วยลดปริมาณแก๊สคาร์บอนได- ออกไซด์ในบรรยากาศโดยดึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศปีละ 51.5 กิกะตันคาร์บอน เพื่อใช้ในการสร้างความเจริญเติบโต แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินของมนุษย์ส่งผล ให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ปล่อยออกสู่บรรยากาศปีละ 1.5 กิกะตันคาร์บอน และมีการปล่อย คาร์บอนออกสู่บรรยากาศอันเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายของสารอินทรีย์ต่าง ๆ อีก 50 กิกะตัน คาร์บอน จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าระบบนิเวศทางบกไม่ได้ช่วยลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศ ส�ำหรับระบบนิเวศทางน�้ำ ทะเลท�ำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนสุทธิได้ปีละ 1.6 กิกะตันคาร์บอน นอกจากนี้ ยังมีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอันเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ (การใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมซีเมนต์) อีกปีละ 6.2 กิกะตันคาร์บอน ดังนั้น เมื่อน�ำข้อมูลจากทั้ง ระบบนิเวศทางบก ทางน�้ำ ทางอากาศและกิจกรรมของมนุษย์มาพิจารณา พบว่าปริมาณคาร์บอนใน บรรยากาศจะเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศอันเนื่องจาก กิจกรรมของมนุษย์มากกว่าความสามารถในการดูดซับของระบบนิเวศทางบกและทางน�้ำ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ผิวโลก (1) ระดับน�้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการหลอมละลายของธารน�้ำแข็งและน�้ำแข็งในแอนตาร์กติกจากการค�ำนวณประมาณการว่า เมื่อถึง ค.ศ. 2100 ระดับน�้ำอาจสูงขึ้นได้ไปอยู่ระหว่าง 15-90 เซนติเมตร โดยค่าที่น่าจะเป็นคือ 48 เซนติเมตร และ (2) เกิดทะเลทรายเพิ่มขึ้นในบริเวณเขตร้อนและการขยายพื้นที่การเจริญเติบโตของ พืชการเกษตรเข้าสู่ด้านเหนือของเขตอบอุ่นมากขึ้น (Halmann และ Steinberg, 1999) ผลกระทบ จากอุณหภูมิผิวโลกที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดการถกเถียงกันทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และการวางนโยบายว่า ค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศควรเป็นเท่าใด แนวคิดจากการถกเถียง ในรอบแรก ๆ ยอมรับให้ค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเป็นสองเท่า ของค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งคือ ประมาณ 550 พีพีเอ็มปริมาตร (ppmv) จากรายงานของ IPCC แสดงว่าค่าความเข้มข้นของแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์นี้จะท�ำให้อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นบนพื้นผิวโลกจะอยู่ในช่วง 2.0-4.5 องศาเซลเซียส และค่าที่น่าจะเป็นคืออุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มี