SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  12
Télécharger pour lire hors ligne
บ ท ที่

1

ประวัติชาและสถานภาพการผลิตชา
	
ชา  เป็นเครืองดืมทีคนทัวโลกรูจกและนิยมดืมกันมานานหลายพันปี  เชือกันว่าต้นก�ำเนิดของชา
่ ่ ่ ่
้ั
่
่
มาจากประเทศจีน  มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต�ำนานและที่มาของชาที่แตกต่างกันไป  ในบทที่ 1 นี้จะกล่าวถึง
ประวัตการค้นพบและความเป็นมาของชาทังในและต่างประเทศ  รวมถึงสถานภาพการผลิตชาของโลก
ิ
้
และของไทยในปัจจุบัน

1.1 การค้นพบและความเป็นมาของชา

	
	
“ชา” มีต้นก�ำเนิดมาจากประเทศจีน ค�ำว่า ชา สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษาจีนกลางจาก       
ค�ำว่า ฉา (cha)  ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีการค้นพบชา ส่วนค�ำว่า tea ในภาษาอังกฤษ
มาจากค�ำของภาษาฮกเกียน (Chinese Amoy) ในมณฑลฝูเจียน โดยพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์                    
ที่ติดต่อค้าขายกับชาวจีนในมณฑลฝูเจียนได้ส่งชาไปยังทวีปยุโรป จึงได้ใช้ค�ำนี้เผยแพร่ในยุโรป จาก         
ต้นก�ำเนิดชาในประเทศจีน ชาได้แพร่กระจายและได้รับความนิยมบริโภคในหลายประเทศของโลก        
เชื่อกันว่าชาถูกค้นพบและมีต้นก�ำเนิดมาจากประเทศจีน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต�ำนานและการค้นพบชา      
ที่แตกต่างกันไปพอจะสรุปได้ 3 ต�ำนาน ดังนี้ [1]
	
1.	 สันนิษฐานว่าชามีต้นก�ำเนิดในยุคจักรพรรดิเสิน-หนง (Shen-Nung) ของจีนเมื่อประมาณ
2737 ปีก่อนคริสตกาล ในต�ำนานได้กล่าวว่า ในระหว่างที่พระองค์ทรงต้มน�้ำอยู่ใกล้ ๆ ต้นชา ขณะที่
พระองค์ทรงก�ำลังต้มน�้ำได้มีใบชาปลิวตกลงมาในหม้อต้มน�้ำของพระองค์ จากนั้นพระองค์ทรงได้กลิ่น
หอมของชาที่ตกลงไป และพระองค์ได้ลองดื่มน�้ำต้มนั้น พระองค์พบว่าน�้ำต้มนั้นมีรสชาติดี หอม
กลมกล่อม และรู้สึกกระชุ่มกระชวยกว่าปกติ ต่อมาพระองค์ได้เผยแพร่การดื่มชาที่พระองค์ได้ค้นพบ  
จึงได้มีการดื่มชากันเรื่อยมาอย่างแพร่หลาย     
	
2.	 สันนิษฐานว่าชามีต้นก�ำเนิดในยุคจักรพรรดิถูตี่ (ประมาณ ค.ศ. 519) ต�ำนานเล่าว่า มี             
พระสงฆ์ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียเดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน จักรพรรดิ
ถูตได้เลือมใสศรัทธาในพระองค์นจงได้นมนต์ให้บำเพ็ญเพียรอยูในถ�ำแห่งหนึงในเมืองหนานจิง วันหนึง
ี่ ่
ี้ ึ ิ
�
่ ้
่
่
ขณะที่ท่านก�ำลังสวดมนต์ภาวนาอยู่ ท่านได้เผลอหลับไป ครั้นมีชาวบ้านมาเห็น ชาวบ้านกลับดูถูก       
และเยาะเย้ย ท่านจึงลงโทษตัวเองโดยการตัดหนังตาของท่านออก เมื่อหนังตาตกถึงพื้นจึงเกิดงอก
เป็นต้นชา ชาวจีนที่ได้รู้ต่างพากันมาเก็บใบชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค
	
3.	 สันนิษฐานว่าชามีต้นก�ำเนิดในยุคที่ประเทศจีนมีโรคระบาดรุนแรงท�ำให้มีผู้คนล้มตาย     
จ�ำนวนมาก โดยเกี้ยอุยซินแสพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคระบาดเนื่องจากผู้คนดื่มน�ำตามล�ำธารและ
�
้
แม่น�้ำซึ่งไม่สะอาด ท่านจึงได้แนะน�ำให้ชาวบ้านต้มน�้ำดื่ม เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อถือ ท่านได้เข้า
ไปในป่าเพื่อหาใบไม้มาอังไฟให้หอม ท่านพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมเป็นพิเศษ มีรสฝาด และ
สามารถแก้อาการท้องร่วงได้ จึงได้เผยแพร่ให้ชาวบ้านได้ดื่ม ซึ่งพืชที่ค้นพบนี้ก็คือ ชา
	
แม้ว่าต�ำนานเรื่องเล่าของชามีทั้งเรื่องจริงและไม่จริงปะปนกันไปจนไม่สามารถบอกที่มาที่ไป     
ของชาได้อย่างแน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นส�ำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษร        
เกี่ยวกับเรื่องชาที่สามารถบอกที่มาที่ไปของชาได้อย่างชัดเจนในราว ค.ศ. 750-800 หลักฐานดังกล่าว
คือ ต�ำราชา (Cha Ching) เล่มแรกของโลกทีบนทึกโดยลูอวี้ (Lu Yu) ในต�ำราได้บรรยายถึงแหล่งก�ำเนิด
่ ั
ของชา การปลูกชา การผลิตชา คุณภาพของชา วิธีการดื่มชา และขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับชา
ต�ำราชาเล่มนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาที่ส�ำคัญที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

1.2 ความเป็นมาของชาในต่างประเทศ [1]
	
จากประเทศจีนซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของชา ชาได้แพร่กระจายยังประเทศต่าง ๆ โดยในราว ค.ศ.
593 ได้มีการน�ำวัฒนธรรมการดื่มชาของจีนเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในช่วง ค.ศ. 803-804       
มีการน�ำเมล็ดชาไปปลูกในประเทศญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นชื่อ Dengyo Daishi ต่อมาใน ค.ศ. 1169
พระชาวญี่ปุ่นชื่อ Eisai ที่เดินทางมาศึกษาค�ำสอนทางพระพุทธศาสนาในประเทศจีนจึงได้น�ำเมล็ดชา
และวัฒนธรรมการดื่มชาของจีนมาเผยแพร่จนได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น จนกระทั่งใน ค.ศ.
1192 ท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving health in drinking
tea) ซึ่งเป็นหนังสือชาเล่มแรกของญี่ปุ่น ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่น พิธีชงชา
ได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่า Chado
	
ในราว ค.ศ. 1560 ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เริ่มค้าชากับจีน โดยชาวโปรตุเกสได้น�ำเข้าชา      
จากจีนและส่งขายต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ ชาวดัตช์ได้ส่งชาขายชาให้ประเทศในกลุ่ม
ทะเลบอลติก ใน ค.ศ. 1602 โปรตุเกสและฮอลแลนด์เกิดปัญหากัน ฮอลแลนด์จึงเปิดท�ำการค้าชา        
กับจีนโดยตรง ใน ค.ศ. 1650 ชาได้เข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเข้าสู่เกาะอังกฤษในราว ค.ศ.  
1652-1654 ในช่วง ค.ศ. 1657-1833 อังกฤษโดยบริษัท East India จ�ำกัด ได้ผูกขาดการน�ำเข้าชา
จากจีนสู่เกาะอังกฤษ ใน ค.ศ. 1662 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโปรตุเกส               
2
เจ้าหญิงทรงเสิร์ฟชาแก่เพื่อนในราชวงศ์และสังคมชั้นสูง  ท�ำให้ชามีชื่อเสียงและมีการดื่มชากัน                   
แพร่หลายมากขึ้นในแวดวงสังคมชั้นสูง ต่อมาได้พัฒนาเป็นประเพณีการดื่มชาตอนบ่าย (afternoon
tea) ท�ำให้มีการดื่มชากันแพร่หลายมากขึ้น และมีความต้องการบริโภคชาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการ                
น�ำเข้าชาจากจีนเพิ่มมากขึ้น เป็นช่วงที่ชาเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการมาก ใน ค.ศ. 1776
อังกฤษโดยบริษัท East India จ�ำกัด จึงแก้ปัญหาราคาชาโดยส่งขายฝิ่นที่ปลูกในอินเดียซึ่งเป็น
อาณานิคมของอังกฤษให้กับจีนแล้วน�ำเงินที่ได้จากการขายฝิ่นมาซื้อชาจากจีน แม้ว่ารัฐบาลจีนได้           
ออกกฎหมายห้ามการน�ำเข้าฝิ่น อย่างไรก็ตาม ยังมีการลักลอบน�ำเข้าฝิ่นจากบริษัท East India ของ
อังกฤษอย่างต่อเนื่อง ต่อมาใน ค.ศ. 1839 อังกฤษและจีนเกิดปัญหากันขึ้นจึงได้ประกาศสงครามกัน
(opium war) จากปัญหาการค้าและสงครามระหว่างจีนและอังกฤษ ท�ำให้อังกฤษพยายามหา              
แหล่งชาทดแทน โดยใน ค.ศ. 1835 บริษัท East India ของอังกฤษได้ทดลองปลูกชาที่รัฐอัสสัม        
(Assam) ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และขยายไปยังดาร์จีลิง (Darjeeling) และเขตอื่น ๆ ทั้ง
ทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของอินเดีย ต่อมาใน ค.ศ. 1857 ได้มการปลูกชาในศรีลงกาจนได้ผลผลิต
ี
ั
และเริ่มส่งออกได้ใน ค.ศ. 1870 ในราว ค.ศ. 1872 บริษัท East India จ�ำกัด ของอังกฤษ ได้ทดลอง
ปลูกชาในประเทศอินโดนีเซีย โดยน�ำชาพันธุ์อัสสัมจากอินเดียเข้ามาทดลองปลูก ในประเทศเวียดนาม            
ชาวฝรั่งเศสได้เริ่มท�ำสวนชาเป็นครั้งแรกแต่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะมีปัญหาความ             
ขัดแย้งภายในประเทศ ภายหลังสงครามเวียดนามจึงมีการฟื้นฟูและส่งเสริมการปลูกชามากยิ่งขึ้น             
ในประเทศแถบแอฟริกา ชาได้แพร่หลายเข้าไปครั้งแรกในประเทศมาลาวีในราว ค.ศ. 1878 ต่อมา          
ได้มีการน�ำพันธุ์ชามาปลูกที่ประเทศเคนยาใน ค.ศ. 1903 และได้พัฒนาการปลูกและผลิตชาในเชิง
อุตสาหกรรม จากนั้นชาเริ่มแพร่หลายและปลูกกันต่อเรื่อยมาในประเทศแทนซาเนีย ยูกันดา และ           
แคเมอรูน

1.3 ความเป็นมาของชาในไทย [1]
	
ชาเป็นพืชพื้นเมืองของไทย สามารถพบกระจายทั่วไปตามภูเขาในแถบภาคเหนือ ในจังหวัด
เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน อย่างไรก็ตาม การปลูกและผลิตชาของไทยเริ่มขึ้น             
ครั้งแรกในราว พ.ศ. 2480 โดยคุณประสิทธิ์ และคุณประธาน พุ่มชูศรี ทั้งสองได้จัดตั้งโรงงานชา       
ขนาดเล็กขึ้นที่อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ปลูกและท�ำเมี่ยง          
(ชาอัสสัม) อยู่แล้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2482 ได้เริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง และขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม        
มากขึ้น
	
การส่งเสริมและพัฒนาชาของไทยเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (หม่อมหลวง
เพชร สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตร ศิลปากร) และหัวหน้ากองพืชสวน (หม่อมเจ้า
ลักษณากร เกษมสันต์) ได้ส�ำรวจหาพื้นที่เพื่อท�ำการปลูกชาที่อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้      
3
เลือกบริเวณโป่งน�้ำร้อนเป็นสถานีทดลองปลูกชา และได้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝาง โดยใน
ระยะแรกน�ำเมล็ดพันธุ์ชาจากต�ำบลม่อนปิ่นและดอยขุนสวยมาปลูก ต่อมาได้มีการศึกษาค้นคว้าและ
วิจัยชาในสถานีทดลองหลายแห่ง ได้แก่ สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลอง      
เกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่
	
ใน พ.ศ. 2517 ฝ่ายรักษาความมั่นคงของชาติได้เริ่มโครงการปลูกชาในแปลงสาธิต ต่อมา            
ใน พ.ศ. 2518 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มอบพันธุ์ชาจากไต้หวันแก่นายพลต้วน ซี เหวิน เพื่อ      
น�ำมาปลูกที่ดอยแม่สลอง อ�ำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ใน พ.ศ. 2522 คณะกรรมการหมู่บ้าน
น�ำโดยนายพลต้วน ซี เหวิน อดีตผู้น�ำกองพล 93 ได้รวมหุ้นจัดตั้งเป็นสหกรณ์หมู่บ้าน และมีการ                 
ส่งเสริมการปลูกชาอย่างจริงจัง ต่อมามีการขยายพันธุ์ชาและน�ำชาจีนหลากหลายพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่
ต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ยังมีการน�ำชาที่ได้มีการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์จากไต้หวันมา     
ปลูกเพิ่มมากขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ท�ำให้การปลูกชาขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีการปลูกและผลิตชากันมากในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 80-90
ของการปลูกและผลิตชาของประเทศไทย

1.4 สถานภาพการผลิตชาของโลก
	
ในบรรดาการผลิตและบริโภคชาทั่วโลก ชาด�ำมีปริมาณการผลิตและบริโภคมากที่สุด (คิดเป็น
ร้อยละ 78 ของชาทั้งหมด) ชาด�ำนิยมบริโภคในประเทศแถบตะวันตก อินเดีย ศรีลังกา แอฟริกา และ
อินโดนีเซีย  การผลิตชาเขียวคิดเป็นร้อยละ 20 ของชาทั้งหมด นิยมผลิตและบริโภคกันมากในประเทศ
ญี่ปุ่นและจีน ส่วนอีกร้อยละ 2 ที่เหลือเป็นชาอู่หลงซึ่งผลิตและบริโภคกันมากในจีนตอนใต้และ       
ไต้หวัน[2] มูลค่าการค้าและปริมาณการส่งออกชาของโลกใน พ.ศ. 2550-2555 ของ 20 ประเทศแรก
ของโลก แสดงดังตารางที่ 1.1 และ 1.2[3]

4
ตารางที่ 1.1 มูลค่าการส่งออกชาของโลก[3]
	ล�ำดับที่	

ประเทศ

		
	 1	
	 2	
	 3	
	 4	
	 5	
	 6	
	 7	
	 8	
	 9	
	 10	
	 11	
	 12	
	 13	
	 14	
	 15	
	 16	
	 17	
	 18	
	 19	
	 20	

		 ลค่าการส่งออกชาของโลก (US Dollar thousand)
มู
	 2550	
2551	
2552	
2553	
2554

World	

4,501,832	 5,482,230	 5,440,722	 6,389,160	 6,707,760
Sri Lanka	
1,017,027	 1,258,557	 1,175,677	 1,366,815	 1,475,038
Kenya	
698,213	 931,582	 893,984	 1,163,630	 1,176,308
China	
604,033	 682,248	 704,947	 784,145	 965,080
India	
433,340	 560,493	 554,326	 694,852	 865,427	
United Kingdom	
306,938	 323,912	 278,427	 327,752	 261,780
Germany	
173,245	 206,782	 186,318	 194,433	 227,114
Indonesia	
126,615	 158,959	 171,628	 178,549	 166,717
Poland	
44,098	 64,752	 60,002	
75,225	 141,864
Viet Nam	
133,497	 147,326	 180,219	 200,536	 124,833
Argentina	
55,923	 63,567	 72,560	
94,537	 105,247
Belgium	
69,959	 77,940	 73,861	
83,836	 100,834
Malawi	
55,415	 36,861	 78,298	
80,776	 86,273
United States of America	
46,547	 57,081	 53,427	
68,357	 73,651
Uganda	
47,629	 47,222	 59,761	
68,263	 72,126
United Arab Emirates	
95,711	 114,805	 176,549	 272,519	 61,808
Japan	
29,203	 33,284	 37,338	
50,289	 60,353
Rwanda	
30,344	 125,454	 75,643	 no data	 52,762
Russian Federation	
60,188	 77,275	 62,964	
55,949	 50,500
France	
45,439	 52,095	 51,315	
51,204	 49,660
United Repubic of Tanzania	 39,146	 42,545	 68,140	
47,324	 46,938

5
ตารางที่ 1.2 ปริมาณการส่งออกชาของโลก[3]
	ล�ำดับที่	

ประเทศ

		
	 1	
	 2	
	 3	
	 4	
	 5	
	 6	
	 7	
	 8	
	 9	
	 10	
	 11	
	 12	
	 13	
	 14	
	 15	
	 16	
	 17	
	 18	
	 19	
	 20	

	
	 2550	

ปริมาณการส่งออกชาของโลก (Tons)
2551	
2552	
2553	

World	

2554

1,825,995	 1,905,949	 1,823,154	 1,992,936	 1,993,729
Kenya	
374,329	 390,283	 331,594	 417,661	 388,344
China	
289,623	 296,946	 302,952	 302,525	 322,580
India	
181,142	 201,498	 198,113	 218,793	 322,548
Sri Lanka	
310,293	 318,490	 288,427	 312,931	 321,074
Argentina	
75,767	 77,498	 69,863	
85,744	 86,650	
Viet Nam	
115,725	 104,728	 134,532	 136,709	 83,660
Indonesia	
83,689	 96,210	 92,304	
87,101	 75,450
Uganda	
44,015	 45,914	 47,928	
55,079	 55,256
Malawi	
54,397	 30,435	 47,356	
49,999	 46,007
Germany	
24,035	 26,990	 25,373	
25,946	 28,624
United Repubic of Tanzania	 30,506	 28,103	 30,438	
26,172	 27,114
United Kingdom	
25,267	 27,739	 27,482	
30,675	 26,435
Rwanda	
20,083	 20,042	 16,478	 no data	 23,207
Belgium	
8,123	
8,261	
7,862	
10,148	 15,423
Poland	
5,816	
7,387	
8,546	
10,132	 14,147
Iran (Islamic Republic of)	
no data	 no data	 no data	
24,611	 12,950
United States of America	
8,071	
9,091	
8,530	
10,835	 11,326
United Arab Emirates	
37,218	 45,872	 44,750	
53,849	 11,205
Zimbawe	
3,575	
7,153	
7,874	
10,023	
9,760
Burundi	
6,712	
6,149	
6,454	
7,769	
9,406

1.5 สถานภาพการผลิตชาของไทย
	
ปัจจุบัน ชาถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องตามความ        
ต้องการบริโภคชาที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยมีการปลูกและผลิตชาเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก โดยใน พ.ศ. 2541
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชาทั้งสิ้น 77,067 ไร่ ให้ผลผลิตใบชาสด 27,282 ตัน จากการส่งเสริมให้มี        
การปลูกชาเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ใน พ.ศ. 2554 ไทยมีพื้นที่ปลูกชาเพิ่มขึ้นเป็น 123,211 ไร่ มีผลผลิต           
6
ใบชาสดรวม 68,892 ตัน[4] แหล่งปลูกชาที่ส�ำคัญของไทยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน             
ล�ำปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่ โดยจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่มีการปลูกและผลิตชามากที่สุดของ
ประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ปลูกและผลิตชาของทั้งประเทศ[5]
ตารางที่ 1.3 พื้นที่ให้ผลผลิตและผลผลิตใบชาสดของไทย[4]
	

พ.ศ.	

พื้นที่ให้ผลผลิต (ไร่)	

ผลผลิตใบชาสด (ตัน)

	
	
	
	
	
	
	
	
	
	
	
	
	
	

2541	
2542	
2543	
2544	
2545	
2546	
2547	
2548	
2549	
2550	
2551	
2552	
2553	
2554	

77,067	
78,443	
84,158	
87,972	
89,754	
95,326	
93,702	
95,555	
100,152	
105,989	
113,364	
116,466	
121,621	
123,211	

27,282
38,538
50,354
32,290
33,384
33,961	
51,763
51,573
53,782
57,362
61,557
63,707
67,241
68,892	

	
กลุ่มพันธุ์ชาที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มพันธุ์ใหญ่ ๆ คือ กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม  
(Camellia sinensis var. assamica) และกลุ่มพันธุ์ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) ชา      
อัสสัมเป็นชาพื้นเมืองดั้งเดิมของไทยที่พบได้ตามภูเขาสูงในแถบภาคเหนือ ส่วนชาจีนเป็นชาที่มีถิ่น
ก�ำเนิดในประเทศจีน เป็นกลุ่มพันธุ์ชาที่มีการปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธ์ุดีและน�ำเข้ามาปลูกในประเทศ
ไทย กลุ่มพันธุ์ชาจีนที่นิยมปลูกในไทย ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 (อู่หลงก้านอ่อน) อู่หลงเบอร์ 12         
(ชิงซิงอู่หลง) พันธุ์สี่ฤดู และพันธุ์ถิกวนอิม    

7
ใบชาสดที่นิยมน�ำมาผลิตชาเพื่อให้ได้ชาคุณภาพดีจะใช้ยอดชาที่ประกอบด้วยยอดตูมและ           
ใบที่อยู่ต�่ำลงมา 2 ใบ (1 ยอดตูม 2 ใบบาน) น�ำมาเข้ากระบวนการผึ่ง คั่ว นวด และอบที่แตกต่างกัน  
ท�ำให้ได้ชาที่มีสี กลิ่น และรสชาติของน�้ำชาที่แตกต่างกันไป ขั้นตอนการผลิตที่หลากหลาย ซับซ้อน
ประกอบกับความช�ำนาญของผู้ผลิตชา รวมทั้งชนิดของพันธุ์ชา และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูก
จะเป็นตัวก�ำหนดคุณภาพและลักษณะของชาประเภทต่าง ๆ เมื่อจัดแบ่งประเภทชาตามระดับของ        
การหมักสามารถแบ่งชาได้ 3 ประเภท คือ ชาเขียว (ชาไม่หมัก) ชาอู่หลง (ชากึ่งหมัก) และชาด�ำ  (ชา
หมัก) นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีชาชนิดอื่น ๆ ได้แก่ เมี่ยง และชาผงปรุงแต่ง สายพันธุ์ชาแต่ละ      
สายพันธุ์นิยมน�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาที่ไม่เหมือนกัน โดยชาอัสสัมส่วนใหญ่นิยมน�ำมาแปรรูป
เป็นชาด�ำ  (ชาหมัก) ชาแดง ชาผงปรุงแต่ง (ชาไทยและชาเขียวนม) ชาเขียว (ชาไม่หมัก) และเมี่ยง       
ส่วนชาจีนนิยมน�ำมาผลิตเป็นชาอู่หลง (ชากึ่งหมัก) และชาเขียว โดยทั่วไปแล้วชาที่ผลิตจากกลุ่ม            
พันธุ์ชาจีนมีราคาสูงกว่าชากลุ่มพันธุ์อัสสัม
	
ใน พ.ศ. 2544 ไทยมีปริมาณการส่งออกชารวมทั้งสิ้น 1,249 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,935 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2552 ปริมาณการส่งออกชาของ
ไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกชาของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง       
โดยใน พ.ศ. 2555 ไทยมีมูลค่าการส่งออกชารวมทั้งสิ้น 5,737 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศคู่ค้า      
ส�ำคัญที่น�ำเข้าชาจากไทยคือ ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา จีน กัมพูชา และลาว[6]
	
ปริมาณการน�ำเข้าชาของไทยในช่วง พ.ศ. 2544-2555 มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยใน พ.ศ. 2555       
ไทยน�ำเข้าชาเป็นปริมาณทั้งสิ้น 7,742 ตัน คิดเป็นมูลค่า 11,660 พันล้านเหรียญสหรัฐ ชาที่น�ำเข้า       
ส่วนใหญ่น�ำเข้าจากศรีลังกา อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าส่วนใหญ่ไทยน�ำเข้า
ชาด�ำมูลค่าสูงจากประเทศอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย น�ำเข้าชาเขียวมูลค่าสูงจากจีนและ           
ญี่ปุ่น[6]

8
รูปที่ 1.1 ปริมาณ (A) และมูลค่าการส่งออกชาของไทย (B)

9
รูปที่ 1.2 ปริมาณ (A) และมูลค่าการน�ำเข้าชาของไทย (B)

10
เอกสารอ้างอิง
1.	
	
2.	
	
	
3.	
	
4.	
5.	
	
	
6.	
	

ธีรพงษ์ เทพกรณ์. (2553). เปิดต�ำนานแห่งชา. Coffee, tea & ice cream magazine ฉบับที่
	
17, กรกฎาคม-สิงหาคม หน้า 26-27.
FAO. (2008). Internationally coordinated action for the promotion of tea consump	
tion. Committee on Commodity Problems–Intergovernmental Group on Tea,
	
18th Session. Hangzhou, China, 14–16 May 2008
Market Analysis and Research, International Trade Centre (ITC) [Online]. Available
	
from: http://www.trademap.org/Index.aspx  Retrieved on March 18, 2013.
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, ธีรพงษ์ เทพกรณ์, พนม วิญญายอง และประภัสสร อึ้งวณิชยพันธ์
	
(2551). โครงการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย. รายงานการวิจัยฉบับ	
	
สมบูรณ์ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 216 หน้า.
ธี ร พงษ์ เทพกรณ์ . (2554). สถานภาพปั จ จุ บั น ของชาไทย. จดหมายข่ า วชา มหาวิ ท ยาลั ย
	
แม่ฟ้าหลวง ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เมษายน-มิถุนายน หน้า 2-3.

11
ชา

Contenu connexe

Tendances

Chapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningChapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningTeetut Tresirichod
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายเรียงความเรื่อง    ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายMim Papatchaya
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)Nattakorn Sunkdon
 
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำMine Pantip
 
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...ssuserbe60cf
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานBest Naklai
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4parkpoom11z
 
แบบสอบถามละครเวที
แบบสอบถามละครเวทีแบบสอบถามละครเวที
แบบสอบถามละครเวทีPhattira Klinlakhar
 
โครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาดโครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาดtumetr1
 
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพรายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพZnackiie Rn
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าวข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าวPostharvest Technology Innovation Center
 
เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3arsad20
 
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพร
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพรสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพร
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพรminmint
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Nattha Namm
 
สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...
สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...
สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...นายจักราวุธ คำทวี
 

Tendances (20)

Chapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningChapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planning
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายเรียงความเรื่อง    ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dial...
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำน้ำดื่ม(Water)
 
America
AmericaAmerica
America
 
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
 
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบ...
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
แบบสอบถามละครเวที
แบบสอบถามละครเวทีแบบสอบถามละครเวที
แบบสอบถามละครเวที
 
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
 
โครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาดโครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาด
 
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพรายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าวข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะพร้าว
 
เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3
 
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพร
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพรสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพร
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสมุนไพร
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...
สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...
สันติ สามัคคี ปรองดอง ค่านิยม ๑๒ ประการ เนื้อหาช่วยสอน และจัดกิจกรรมเพื่อนครู...
 

Similaire à ชา

ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศ
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศ
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
กาแฟใครๆก็กินได้
กาแฟใครๆก็กินได้กาแฟใครๆก็กินได้
กาแฟใครๆก็กินได้artaphs
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กPraew Pizz
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีKKloveyou
 
ความรู้ทางพุทธศาสนา
ความรู้ทางพุทธศาสนาความรู้ทางพุทธศาสนา
ความรู้ทางพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555Carzanova
 
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammaScript พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammablcdhamma
 
ประวั้ติหมอ
ประวั้ติหมอประวั้ติหมอ
ประวั้ติหมอKunnawut Rueangsom
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราnungruthai2513
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่งtie_weeraphon
 
ประเพณีของจีน
ประเพณีของจีนประเพณีของจีน
ประเพณีของจีนThammasat University
 

Similaire à ชา (18)

ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศ
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศ
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาประเทศ
 
กาแฟใครๆก็กินได้
กาแฟใครๆก็กินได้กาแฟใครๆก็กินได้
กาแฟใครๆก็กินได้
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
 
พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ
พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษพระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ
พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ
 
บทที่ 1.docx
บทที่ 1.docxบทที่ 1.docx
บทที่ 1.docx
 
ความรู้ทางพุทธศาสนา
ความรู้ทางพุทธศาสนาความรู้ทางพุทธศาสนา
ความรู้ทางพุทธศาสนา
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammaScript พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
 
ประวั้ติหมอ
ประวั้ติหมอประวั้ติหมอ
ประวั้ติหมอ
 
Buddhajayanti2,600
Buddhajayanti2,600Buddhajayanti2,600
Buddhajayanti2,600
 
Wisdom1
Wisdom1Wisdom1
Wisdom1
 
ศาสนาซิกส์
ศาสนาซิกส์ศาสนาซิกส์
ศาสนาซิกส์
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
7
77
7
 
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
 
ประเพณีของจีน
ประเพณีของจีนประเพณีของจีน
ประเพณีของจีน
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

ชา

  • 1. บ ท ที่ 1 ประวัติชาและสถานภาพการผลิตชา ชา เป็นเครืองดืมทีคนทัวโลกรูจกและนิยมดืมกันมานานหลายพันปี เชือกันว่าต้นก�ำเนิดของชา ่ ่ ่ ่ ้ั ่ ่ มาจากประเทศจีน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต�ำนานและที่มาของชาที่แตกต่างกันไป ในบทที่ 1 นี้จะกล่าวถึง ประวัตการค้นพบและความเป็นมาของชาทังในและต่างประเทศ รวมถึงสถานภาพการผลิตชาของโลก ิ ้ และของไทยในปัจจุบัน 1.1 การค้นพบและความเป็นมาของชา “ชา” มีต้นก�ำเนิดมาจากประเทศจีน ค�ำว่า ชา สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษาจีนกลางจาก ค�ำว่า ฉา (cha) ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีการค้นพบชา ส่วนค�ำว่า tea ในภาษาอังกฤษ มาจากค�ำของภาษาฮกเกียน (Chinese Amoy) ในมณฑลฝูเจียน โดยพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ติดต่อค้าขายกับชาวจีนในมณฑลฝูเจียนได้ส่งชาไปยังทวีปยุโรป จึงได้ใช้ค�ำนี้เผยแพร่ในยุโรป จาก ต้นก�ำเนิดชาในประเทศจีน ชาได้แพร่กระจายและได้รับความนิยมบริโภคในหลายประเทศของโลก เชื่อกันว่าชาถูกค้นพบและมีต้นก�ำเนิดมาจากประเทศจีน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต�ำนานและการค้นพบชา ที่แตกต่างกันไปพอจะสรุปได้ 3 ต�ำนาน ดังนี้ [1] 1. สันนิษฐานว่าชามีต้นก�ำเนิดในยุคจักรพรรดิเสิน-หนง (Shen-Nung) ของจีนเมื่อประมาณ 2737 ปีก่อนคริสตกาล ในต�ำนานได้กล่าวว่า ในระหว่างที่พระองค์ทรงต้มน�้ำอยู่ใกล้ ๆ ต้นชา ขณะที่ พระองค์ทรงก�ำลังต้มน�้ำได้มีใบชาปลิวตกลงมาในหม้อต้มน�้ำของพระองค์ จากนั้นพระองค์ทรงได้กลิ่น หอมของชาที่ตกลงไป และพระองค์ได้ลองดื่มน�้ำต้มนั้น พระองค์พบว่าน�้ำต้มนั้นมีรสชาติดี หอม กลมกล่อม และรู้สึกกระชุ่มกระชวยกว่าปกติ ต่อมาพระองค์ได้เผยแพร่การดื่มชาที่พระองค์ได้ค้นพบ จึงได้มีการดื่มชากันเรื่อยมาอย่างแพร่หลาย 2. สันนิษฐานว่าชามีต้นก�ำเนิดในยุคจักรพรรดิถูตี่ (ประมาณ ค.ศ. 519) ต�ำนานเล่าว่า มี พระสงฆ์ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียเดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน จักรพรรดิ
  • 2. ถูตได้เลือมใสศรัทธาในพระองค์นจงได้นมนต์ให้บำเพ็ญเพียรอยูในถ�ำแห่งหนึงในเมืองหนานจิง วันหนึง ี่ ่ ี้ ึ ิ � ่ ้ ่ ่ ขณะที่ท่านก�ำลังสวดมนต์ภาวนาอยู่ ท่านได้เผลอหลับไป ครั้นมีชาวบ้านมาเห็น ชาวบ้านกลับดูถูก และเยาะเย้ย ท่านจึงลงโทษตัวเองโดยการตัดหนังตาของท่านออก เมื่อหนังตาตกถึงพื้นจึงเกิดงอก เป็นต้นชา ชาวจีนที่ได้รู้ต่างพากันมาเก็บใบชามาชงดื่มเพื่อรักษาโรค 3. สันนิษฐานว่าชามีต้นก�ำเนิดในยุคที่ประเทศจีนมีโรคระบาดรุนแรงท�ำให้มีผู้คนล้มตาย จ�ำนวนมาก โดยเกี้ยอุยซินแสพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคระบาดเนื่องจากผู้คนดื่มน�ำตามล�ำธารและ � ้ แม่น�้ำซึ่งไม่สะอาด ท่านจึงได้แนะน�ำให้ชาวบ้านต้มน�้ำดื่ม เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อถือ ท่านได้เข้า ไปในป่าเพื่อหาใบไม้มาอังไฟให้หอม ท่านพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมเป็นพิเศษ มีรสฝาด และ สามารถแก้อาการท้องร่วงได้ จึงได้เผยแพร่ให้ชาวบ้านได้ดื่ม ซึ่งพืชที่ค้นพบนี้ก็คือ ชา แม้ว่าต�ำนานเรื่องเล่าของชามีทั้งเรื่องจริงและไม่จริงปะปนกันไปจนไม่สามารถบอกที่มาที่ไป ของชาได้อย่างแน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นส�ำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับเรื่องชาที่สามารถบอกที่มาที่ไปของชาได้อย่างชัดเจนในราว ค.ศ. 750-800 หลักฐานดังกล่าว คือ ต�ำราชา (Cha Ching) เล่มแรกของโลกทีบนทึกโดยลูอวี้ (Lu Yu) ในต�ำราได้บรรยายถึงแหล่งก�ำเนิด ่ ั ของชา การปลูกชา การผลิตชา คุณภาพของชา วิธีการดื่มชา และขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับชา ต�ำราชาเล่มนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาที่ส�ำคัญที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน 1.2 ความเป็นมาของชาในต่างประเทศ [1] จากประเทศจีนซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของชา ชาได้แพร่กระจายยังประเทศต่าง ๆ โดยในราว ค.ศ. 593 ได้มีการน�ำวัฒนธรรมการดื่มชาของจีนเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในช่วง ค.ศ. 803-804 มีการน�ำเมล็ดชาไปปลูกในประเทศญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นชื่อ Dengyo Daishi ต่อมาใน ค.ศ. 1169 พระชาวญี่ปุ่นชื่อ Eisai ที่เดินทางมาศึกษาค�ำสอนทางพระพุทธศาสนาในประเทศจีนจึงได้น�ำเมล็ดชา และวัฒนธรรมการดื่มชาของจีนมาเผยแพร่จนได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น จนกระทั่งใน ค.ศ. 1192 ท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา (Preserving health in drinking tea) ซึ่งเป็นหนังสือชาเล่มแรกของญี่ปุ่น ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่น พิธีชงชา ได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่า Chado ในราว ค.ศ. 1560 ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เริ่มค้าชากับจีน โดยชาวโปรตุเกสได้น�ำเข้าชา จากจีนและส่งขายต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ ชาวดัตช์ได้ส่งชาขายชาให้ประเทศในกลุ่ม ทะเลบอลติก ใน ค.ศ. 1602 โปรตุเกสและฮอลแลนด์เกิดปัญหากัน ฮอลแลนด์จึงเปิดท�ำการค้าชา กับจีนโดยตรง ใน ค.ศ. 1650 ชาได้เข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเข้าสู่เกาะอังกฤษในราว ค.ศ. 1652-1654 ในช่วง ค.ศ. 1657-1833 อังกฤษโดยบริษัท East India จ�ำกัด ได้ผูกขาดการน�ำเข้าชา จากจีนสู่เกาะอังกฤษ ใน ค.ศ. 1662 พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงโปรตุเกส 2
  • 3. เจ้าหญิงทรงเสิร์ฟชาแก่เพื่อนในราชวงศ์และสังคมชั้นสูง  ท�ำให้ชามีชื่อเสียงและมีการดื่มชากัน แพร่หลายมากขึ้นในแวดวงสังคมชั้นสูง ต่อมาได้พัฒนาเป็นประเพณีการดื่มชาตอนบ่าย (afternoon tea) ท�ำให้มีการดื่มชากันแพร่หลายมากขึ้น และมีความต้องการบริโภคชาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการ น�ำเข้าชาจากจีนเพิ่มมากขึ้น เป็นช่วงที่ชาเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการมาก ใน ค.ศ. 1776 อังกฤษโดยบริษัท East India จ�ำกัด จึงแก้ปัญหาราคาชาโดยส่งขายฝิ่นที่ปลูกในอินเดียซึ่งเป็น อาณานิคมของอังกฤษให้กับจีนแล้วน�ำเงินที่ได้จากการขายฝิ่นมาซื้อชาจากจีน แม้ว่ารัฐบาลจีนได้ ออกกฎหมายห้ามการน�ำเข้าฝิ่น อย่างไรก็ตาม ยังมีการลักลอบน�ำเข้าฝิ่นจากบริษัท East India ของ อังกฤษอย่างต่อเนื่อง ต่อมาใน ค.ศ. 1839 อังกฤษและจีนเกิดปัญหากันขึ้นจึงได้ประกาศสงครามกัน (opium war) จากปัญหาการค้าและสงครามระหว่างจีนและอังกฤษ ท�ำให้อังกฤษพยายามหา แหล่งชาทดแทน โดยใน ค.ศ. 1835 บริษัท East India ของอังกฤษได้ทดลองปลูกชาที่รัฐอัสสัม (Assam) ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และขยายไปยังดาร์จีลิง (Darjeeling) และเขตอื่น ๆ ทั้ง ทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของอินเดีย ต่อมาใน ค.ศ. 1857 ได้มการปลูกชาในศรีลงกาจนได้ผลผลิต ี ั และเริ่มส่งออกได้ใน ค.ศ. 1870 ในราว ค.ศ. 1872 บริษัท East India จ�ำกัด ของอังกฤษ ได้ทดลอง ปลูกชาในประเทศอินโดนีเซีย โดยน�ำชาพันธุ์อัสสัมจากอินเดียเข้ามาทดลองปลูก ในประเทศเวียดนาม ชาวฝรั่งเศสได้เริ่มท�ำสวนชาเป็นครั้งแรกแต่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะมีปัญหาความ ขัดแย้งภายในประเทศ ภายหลังสงครามเวียดนามจึงมีการฟื้นฟูและส่งเสริมการปลูกชามากยิ่งขึ้น ในประเทศแถบแอฟริกา ชาได้แพร่หลายเข้าไปครั้งแรกในประเทศมาลาวีในราว ค.ศ. 1878 ต่อมา ได้มีการน�ำพันธุ์ชามาปลูกที่ประเทศเคนยาใน ค.ศ. 1903 และได้พัฒนาการปลูกและผลิตชาในเชิง อุตสาหกรรม จากนั้นชาเริ่มแพร่หลายและปลูกกันต่อเรื่อยมาในประเทศแทนซาเนีย ยูกันดา และ แคเมอรูน 1.3 ความเป็นมาของชาในไทย [1] ชาเป็นพืชพื้นเมืองของไทย สามารถพบกระจายทั่วไปตามภูเขาในแถบภาคเหนือ ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน อย่างไรก็ตาม การปลูกและผลิตชาของไทยเริ่มขึ้น ครั้งแรกในราว พ.ศ. 2480 โดยคุณประสิทธิ์ และคุณประธาน พุ่มชูศรี ทั้งสองได้จัดตั้งโรงงานชา ขนาดเล็กขึ้นที่อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ปลูกและท�ำเมี่ยง (ชาอัสสัม) อยู่แล้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2482 ได้เริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง และขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม มากขึ้น การส่งเสริมและพัฒนาชาของไทยเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (หม่อมหลวง เพชร สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตร ศิลปากร) และหัวหน้ากองพืชสวน (หม่อมเจ้า ลักษณากร เกษมสันต์) ได้ส�ำรวจหาพื้นที่เพื่อท�ำการปลูกชาที่อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้ 3
  • 4. เลือกบริเวณโป่งน�้ำร้อนเป็นสถานีทดลองปลูกชา และได้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝาง โดยใน ระยะแรกน�ำเมล็ดพันธุ์ชาจากต�ำบลม่อนปิ่นและดอยขุนสวยมาปลูก ต่อมาได้มีการศึกษาค้นคว้าและ วิจัยชาในสถานีทดลองหลายแห่ง ได้แก่ สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลอง เกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2517 ฝ่ายรักษาความมั่นคงของชาติได้เริ่มโครงการปลูกชาในแปลงสาธิต ต่อมา ใน พ.ศ. 2518 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้มอบพันธุ์ชาจากไต้หวันแก่นายพลต้วน ซี เหวิน เพื่อ น�ำมาปลูกที่ดอยแม่สลอง อ�ำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ใน พ.ศ. 2522 คณะกรรมการหมู่บ้าน น�ำโดยนายพลต้วน ซี เหวิน อดีตผู้น�ำกองพล 93 ได้รวมหุ้นจัดตั้งเป็นสหกรณ์หมู่บ้าน และมีการ ส่งเสริมการปลูกชาอย่างจริงจัง ต่อมามีการขยายพันธุ์ชาและน�ำชาจีนหลากหลายพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่ ต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ยังมีการน�ำชาที่ได้มีการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์จากไต้หวันมา ปลูกเพิ่มมากขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ท�ำให้การปลูกชาขยายตัวมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการปลูกและผลิตชากันมากในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 80-90 ของการปลูกและผลิตชาของประเทศไทย 1.4 สถานภาพการผลิตชาของโลก ในบรรดาการผลิตและบริโภคชาทั่วโลก ชาด�ำมีปริมาณการผลิตและบริโภคมากที่สุด (คิดเป็น ร้อยละ 78 ของชาทั้งหมด) ชาด�ำนิยมบริโภคในประเทศแถบตะวันตก อินเดีย ศรีลังกา แอฟริกา และ อินโดนีเซีย การผลิตชาเขียวคิดเป็นร้อยละ 20 ของชาทั้งหมด นิยมผลิตและบริโภคกันมากในประเทศ ญี่ปุ่นและจีน ส่วนอีกร้อยละ 2 ที่เหลือเป็นชาอู่หลงซึ่งผลิตและบริโภคกันมากในจีนตอนใต้และ ไต้หวัน[2] มูลค่าการค้าและปริมาณการส่งออกชาของโลกใน พ.ศ. 2550-2555 ของ 20 ประเทศแรก ของโลก แสดงดังตารางที่ 1.1 และ 1.2[3] 4
  • 5. ตารางที่ 1.1 มูลค่าการส่งออกชาของโลก[3] ล�ำดับที่ ประเทศ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ลค่าการส่งออกชาของโลก (US Dollar thousand) มู 2550 2551 2552 2553 2554 World 4,501,832 5,482,230 5,440,722 6,389,160 6,707,760 Sri Lanka 1,017,027 1,258,557 1,175,677 1,366,815 1,475,038 Kenya 698,213 931,582 893,984 1,163,630 1,176,308 China 604,033 682,248 704,947 784,145 965,080 India 433,340 560,493 554,326 694,852 865,427 United Kingdom 306,938 323,912 278,427 327,752 261,780 Germany 173,245 206,782 186,318 194,433 227,114 Indonesia 126,615 158,959 171,628 178,549 166,717 Poland 44,098 64,752 60,002 75,225 141,864 Viet Nam 133,497 147,326 180,219 200,536 124,833 Argentina 55,923 63,567 72,560 94,537 105,247 Belgium 69,959 77,940 73,861 83,836 100,834 Malawi 55,415 36,861 78,298 80,776 86,273 United States of America 46,547 57,081 53,427 68,357 73,651 Uganda 47,629 47,222 59,761 68,263 72,126 United Arab Emirates 95,711 114,805 176,549 272,519 61,808 Japan 29,203 33,284 37,338 50,289 60,353 Rwanda 30,344 125,454 75,643 no data 52,762 Russian Federation 60,188 77,275 62,964 55,949 50,500 France 45,439 52,095 51,315 51,204 49,660 United Repubic of Tanzania 39,146 42,545 68,140 47,324 46,938 5
  • 6. ตารางที่ 1.2 ปริมาณการส่งออกชาของโลก[3] ล�ำดับที่ ประเทศ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 2550 ปริมาณการส่งออกชาของโลก (Tons) 2551 2552 2553 World 2554 1,825,995 1,905,949 1,823,154 1,992,936 1,993,729 Kenya 374,329 390,283 331,594 417,661 388,344 China 289,623 296,946 302,952 302,525 322,580 India 181,142 201,498 198,113 218,793 322,548 Sri Lanka 310,293 318,490 288,427 312,931 321,074 Argentina 75,767 77,498 69,863 85,744 86,650 Viet Nam 115,725 104,728 134,532 136,709 83,660 Indonesia 83,689 96,210 92,304 87,101 75,450 Uganda 44,015 45,914 47,928 55,079 55,256 Malawi 54,397 30,435 47,356 49,999 46,007 Germany 24,035 26,990 25,373 25,946 28,624 United Repubic of Tanzania 30,506 28,103 30,438 26,172 27,114 United Kingdom 25,267 27,739 27,482 30,675 26,435 Rwanda 20,083 20,042 16,478 no data 23,207 Belgium 8,123 8,261 7,862 10,148 15,423 Poland 5,816 7,387 8,546 10,132 14,147 Iran (Islamic Republic of) no data no data no data 24,611 12,950 United States of America 8,071 9,091 8,530 10,835 11,326 United Arab Emirates 37,218 45,872 44,750 53,849 11,205 Zimbawe 3,575 7,153 7,874 10,023 9,760 Burundi 6,712 6,149 6,454 7,769 9,406 1.5 สถานภาพการผลิตชาของไทย ปัจจุบัน ชาถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องตามความ ต้องการบริโภคชาที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยมีการปลูกและผลิตชาเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก โดยใน พ.ศ. 2541 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชาทั้งสิ้น 77,067 ไร่ ให้ผลผลิตใบชาสด 27,282 ตัน จากการส่งเสริมให้มี การปลูกชาเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ใน พ.ศ. 2554 ไทยมีพื้นที่ปลูกชาเพิ่มขึ้นเป็น 123,211 ไร่ มีผลผลิต 6
  • 7. ใบชาสดรวม 68,892 ตัน[4] แหล่งปลูกชาที่ส�ำคัญของไทยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน ล�ำปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่ โดยจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่มีการปลูกและผลิตชามากที่สุดของ ประเทศ คิดเป็นประมาณร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ปลูกและผลิตชาของทั้งประเทศ[5] ตารางที่ 1.3 พื้นที่ให้ผลผลิตและผลผลิตใบชาสดของไทย[4] พ.ศ. พื้นที่ให้ผลผลิต (ไร่) ผลผลิตใบชาสด (ตัน) 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 77,067 78,443 84,158 87,972 89,754 95,326 93,702 95,555 100,152 105,989 113,364 116,466 121,621 123,211 27,282 38,538 50,354 32,290 33,384 33,961 51,763 51,573 53,782 57,362 61,557 63,707 67,241 68,892 กลุ่มพันธุ์ชาที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มพันธุ์ใหญ่ ๆ คือ กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) และกลุ่มพันธุ์ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) ชา อัสสัมเป็นชาพื้นเมืองดั้งเดิมของไทยที่พบได้ตามภูเขาสูงในแถบภาคเหนือ ส่วนชาจีนเป็นชาที่มีถิ่น ก�ำเนิดในประเทศจีน เป็นกลุ่มพันธุ์ชาที่มีการปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธ์ุดีและน�ำเข้ามาปลูกในประเทศ ไทย กลุ่มพันธุ์ชาจีนที่นิยมปลูกในไทย ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 (อู่หลงก้านอ่อน) อู่หลงเบอร์ 12 (ชิงซิงอู่หลง) พันธุ์สี่ฤดู และพันธุ์ถิกวนอิม 7
  • 8. ใบชาสดที่นิยมน�ำมาผลิตชาเพื่อให้ได้ชาคุณภาพดีจะใช้ยอดชาที่ประกอบด้วยยอดตูมและ ใบที่อยู่ต�่ำลงมา 2 ใบ (1 ยอดตูม 2 ใบบาน) น�ำมาเข้ากระบวนการผึ่ง คั่ว นวด และอบที่แตกต่างกัน ท�ำให้ได้ชาที่มีสี กลิ่น และรสชาติของน�้ำชาที่แตกต่างกันไป ขั้นตอนการผลิตที่หลากหลาย ซับซ้อน ประกอบกับความช�ำนาญของผู้ผลิตชา รวมทั้งชนิดของพันธุ์ชา และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูก จะเป็นตัวก�ำหนดคุณภาพและลักษณะของชาประเภทต่าง ๆ เมื่อจัดแบ่งประเภทชาตามระดับของ การหมักสามารถแบ่งชาได้ 3 ประเภท คือ ชาเขียว (ชาไม่หมัก) ชาอู่หลง (ชากึ่งหมัก) และชาด�ำ (ชา หมัก) นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีชาชนิดอื่น ๆ ได้แก่ เมี่ยง และชาผงปรุงแต่ง สายพันธุ์ชาแต่ละ สายพันธุ์นิยมน�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาที่ไม่เหมือนกัน โดยชาอัสสัมส่วนใหญ่นิยมน�ำมาแปรรูป เป็นชาด�ำ (ชาหมัก) ชาแดง ชาผงปรุงแต่ง (ชาไทยและชาเขียวนม) ชาเขียว (ชาไม่หมัก) และเมี่ยง ส่วนชาจีนนิยมน�ำมาผลิตเป็นชาอู่หลง (ชากึ่งหมัก) และชาเขียว โดยทั่วไปแล้วชาที่ผลิตจากกลุ่ม พันธุ์ชาจีนมีราคาสูงกว่าชากลุ่มพันธุ์อัสสัม ใน พ.ศ. 2544 ไทยมีปริมาณการส่งออกชารวมทั้งสิ้น 1,249 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,935 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2552 ปริมาณการส่งออกชาของ ไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกชาของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2555 ไทยมีมูลค่าการส่งออกชารวมทั้งสิ้น 5,737 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศคู่ค้า ส�ำคัญที่น�ำเข้าชาจากไทยคือ ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา จีน กัมพูชา และลาว[6] ปริมาณการน�ำเข้าชาของไทยในช่วง พ.ศ. 2544-2555 มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยใน พ.ศ. 2555 ไทยน�ำเข้าชาเป็นปริมาณทั้งสิ้น 7,742 ตัน คิดเป็นมูลค่า 11,660 พันล้านเหรียญสหรัฐ ชาที่น�ำเข้า ส่วนใหญ่น�ำเข้าจากศรีลังกา อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าส่วนใหญ่ไทยน�ำเข้า ชาด�ำมูลค่าสูงจากประเทศอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย น�ำเข้าชาเขียวมูลค่าสูงจากจีนและ ญี่ปุ่น[6] 8
  • 9. รูปที่ 1.1 ปริมาณ (A) และมูลค่าการส่งออกชาของไทย (B) 9
  • 10. รูปที่ 1.2 ปริมาณ (A) และมูลค่าการน�ำเข้าชาของไทย (B) 10
  • 11. เอกสารอ้างอิง 1. 2. 3. 4. 5. 6. ธีรพงษ์ เทพกรณ์. (2553). เปิดต�ำนานแห่งชา. Coffee, tea & ice cream magazine ฉบับที่ 17, กรกฎาคม-สิงหาคม หน้า 26-27. FAO. (2008). Internationally coordinated action for the promotion of tea consump tion. Committee on Commodity Problems–Intergovernmental Group on Tea, 18th Session. Hangzhou, China, 14–16 May 2008 Market Analysis and Research, International Trade Centre (ITC) [Online]. Available from: http://www.trademap.org/Index.aspx Retrieved on March 18, 2013. ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, ธีรพงษ์ เทพกรณ์, พนม วิญญายอง และประภัสสร อึ้งวณิชยพันธ์ (2551). โครงการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย. รายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 216 หน้า. ธี ร พงษ์ เทพกรณ์ . (2554). สถานภาพปั จ จุ บั น ของชาไทย. จดหมายข่ า วชา มหาวิ ท ยาลั ย แม่ฟ้าหลวง ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เมษายน-มิถุนายน หน้า 2-3. 11