Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

Praajarn suchart

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Prochain SlideShare
Luangpoo thon
Luangpoo thon
Chargement dans…3
×

Consultez-les par la suite

1 sur 18 Publicité

Plus De Contenu Connexe

Plus par MI (20)

Publicité

Praajarn suchart

  1. 1. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
  2. 2. ทุกครั้งที่เราวิ่งเข้าหาความสุข เราก็วิ่งเข้าหาความทุกข์กัน พอเจอความทุกข์ เราก็วิ่งหนีความทุกข์เพื่อจะไปหาความสุขใหม่ ก็วิ่งเข้าไปหาความทุกข์ใหม่อีก เพราะความสุขที่เราเข้าใจว่าเป็นความสุขนั้น ความจริงแล้ว."เป็นความทุกข์"ที่เป็นความทุกข์ก็เพราะว่า"ไม่เที่ยงแท้แน่นอน" ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับของเรา เวลาเราได้มา เราก็ไม่สามารถที่จะสั่ง ให้สิ่งที่เราได้มา ความสุขที่เราได้มานั้นอยู่กับเราไปตลอด ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
  3. 3. คนที่จะก้าวหน้าในธรรมนี้อยู่ที่สติเป็ นหลัก ใครมีสติแล้วนี้จะหลุดพ้นได้อย่างง่ายและรวดเร็ว แต่ถ้าไม่มีสตินี้ จะไม่มีวันที่จะหลุดพ้นได้เลย ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงจาเป็ นจะต้องหมั่นเจริญสติอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนจะทาอะไร อย่ามาเจริญสติเฉพาะเวลาที่นั่งสมาธิ เพราะถ้าทาอย่างนั้นจะไม่มีกาลังที่ๆจะหยุดความคิดปรุงเเต่งได้..
  4. 4. พระอรหันต์บางรูป เช่น หลวงปู่มั่นนี้ ท่านก็มีเทวดามาฟังเทศน์ฟังธรรมกับท่าน ท่านสามารถติดต่อกับเทวดาได้ แต่พระอรหันต์ไม่ทุกรูปที่มีพลังจิตสามารถติดต่อกับกายทิพย์ได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรกับการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นเพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะการจะบรรลุหลุดพ้นให้เป็นพระอรหันต์นี้ไม่จาเป็นที่จะต้องมีพลังจิต ติดต่อกับกายทิพย์ได้ เพียงแต่มีพลังที่จะหยุดความอยากได้เท่านั้นเอง ทาให้จิตรวมเป็นอุเบกขาได้เท่านั้นก็พอ
  5. 5. เพื่อนของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นศัตรูในคราบของเพื่อนโดยที่เราไม่รู้สึกตัว เขาจะชวนเราไปทางลาภ ยศ สรรเสริญ ไปหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเราเองก็มีความยินดีอยู่แล้ว พอมีใครมาชวนไปในทางนี้ก็เลยมีข้ออ้างทันทีว่ากลัวจะเสียเพื่อน ยินดีที่จะเสียมรรค ผล นิพพาน มรรค ผล นิพพาน นี้ถ้าได้มาแล้วมันจะเป็นของที่อยู่กับเราอย่างถาวร แต่เพื่อนที่เรากลัวจะเสียนี้ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องตายจากกันอยู่ดี แล้วก็ไม่มีประโยชน์อะไรในทางธรรมเลย
  6. 6. ร่างกายของเราก็เป็นการรวมตัวของธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้้า ลม ไฟ แล้ววันหนึ่งร่างกายนี้ก็จะละลายไปเหมือนน้้าแข็ง.. เราจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งเหล่านี้ว่า เป็นตัวเราเป็นของเรา เพราะถ้าเรายึดแล้ว มันจะท้าให้เราอยากให้มันอยู่กับเรา แล้วพอเราอยากแล้ว มันจะท้าให้เราทุกข์..ร่างกายคนอื่นจะตาย เราทุกข์หรือเปล่า.. ตายก็ตายไปสิเรื่องของเขา ใช่ไหม ร่างกายที่เราคิดว่าเป็นตัวเราของเรา ก็เหมือนกันกับร่างกายของคนอื่น ไม่ได้เป็นของเรา แต่เราไม่มีปัญญา มองไม่เห็น เราเลยหลงกัน ไปยึดไปติดกับร่างกาย แล้วก็อยากให้มันไม่ตาย ก็เลยทุกข์กัน
  7. 7. สุขของพระนิพพาน สุขของจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ปราศจากกิเลสความโลภ ความโกรธ ความหลงแล้ว เป็นสุขที่ไม่มีความทุกข์เจือปนอยู่เลย มีความสุขตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตลอดไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่า “ตลอดอนันตกาล” นี่แหละคือสิ่งที่วิเศษที่พระศาสนา จะมอบให้แก่เราได้
  8. 8. สุดยอดของเครื่องมือในการรักษาใจก็คือปัญญา คือต้องรู้ต้องเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ที่ใจมาสัมผัส มารับรู้ มาเกี่ยวข้องด้วย ล้วนไม่ใช่ของที่เป็นของใจ ใจไม่มีอ้านาจที่จะไปครอบครอง ที่จะไปบังคับให้เขาเป็นไปตามความต้องการของใจได้
  9. 9. ชนะผู้อื่น เขาก็คับแค้นใจ เราก็ไม่สบายใจ ผู้อื่นชนะเรา เราก็คับแค้นใจ เขาก็ไม่สบายใจ แต่ถ้า “ชนะใจ” ได้แล้ว ทุกคนสบาย เขาก็สบาย เราก็สบาย นี่แหละคือวิถีของนักปราชญ์เป็นอย่างนี้ พวกเราส่วนใหญ่ที่ยังเป็นนักปราชญ์กันไม่ได้ เพราะเราต่อสู้กับอารมณ์ของเราไม่ได้ อารมณ์ของเรามักจะมีอ้านาจครอบง้าใจเรา
  10. 10. นักปราชญ์เขาไม่ได้ดีใจกับ “วันเกิด” นะ เขาดีใจกับวันตาย คือเขาให้ความส้าคัญกับวันตายมากกว่าวันเกิด เพราะวันเกิดมันผ่านมาแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว มันไม่มีความหมายอะไร ตัวที่จะมีความหมายก็คือ “วันตาย” เป็นวันทดสอบจิตใจว่าจะสอบตกหรือจะสอบผ่าน อันนี้ต่างหากที่เราต้องให้ความส้าคัญ เราต้องเตรียมตัวท้าข้อสอบกัน
  11. 11. การปฏิบัติธรรมก็เพื่อที่จะแยกใจให้ออกจากร่างกาย ให้ต่างฝ่ายต่างอยู่กัน อยู่ตามธรรมชาติของตน ธรรมชาติของร่างกายก็คือ “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ธรรมชาติของใจก็คือ “สักแต่ว่ารู้” “อุเบกขา” นั่นคือสิ่งที่เราต้องแยกมันออกจากกัน ปล่อยให้ต่างฝ่ายต่างเป็นไปตามธรรมชาติของเขา ที่ใจไม่เป็นสักแต่ว่า ไม่เป็นอุเบกขา ก็เพราะว่า มันถูกตัณหาถูกโมหะความหลง มันหลอกให้มาจับมามัดให้ติดกับร่างกาย.. แล้วก็เกิดความอยากไม่ให้ร่างกายแก่ ไม่ให้ร่างกายเจ็บ ไม่ให้ร่างกายตาย แต่ไปห้ามมันไม่ได้..ความทุกข์ก็เกิดขึ้นภายในใจ
  12. 12. จิตสงบก็รู้ว่าจิตสงบ มันไม่สงบก็รู้ว่ามันไม่สงบ รู้ว่ามันเป็นธรรมชาติของจิตที่จะต้องขึ้นๆลงๆอย่างนี้ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอเข้าใจหลักนี้แล้ว ต่อไปเวลาจิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่วุ่นวายกับมัน ก็สักแต่ว่ารู้ไป พอไม่วุ่นวายไปกับมัน จิตก็สงบ ใจก็สงบอย่างแท้จริง เพราะไม่มีความอยากให้มันสงบหรือไม่สงบ พอไม่มีความอยาก มันกลับสงบของมันเอง แต่พอมีความอยาก มันกลับไปท้าให้มันไม่สงบ อันนี้ปริศนา ลองไปปฏิบัติดูแล้วจะเข้าใจ
  13. 13. ถ้าเรามีสติควบคุมความคิดได้ ทาใจให้สงบได้ สอนใจให้ปล่อยวางได้ เราก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆ เพราะเราจะควบคุมความอยากได้นั่นเองความอยากของเราเกิดจากความคิดของเรา เราคิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้แล้ว เราก็อยากตามมา...
  14. 14. ความตาย..มันไม่เป็นสิ่งอันตรายหรอก มันไม่ได้ท้าให้เราทุกข์หรอก แต่ความกลัวตาย ความอยากไม่ตายนี้ ท้าให้เราทุกข์ เพราะความหลง ไปคิดว่า ร่างกายเป็นเรา พออะไรเป็นเรา เราก็ไม่อยากให้มันจากเรา เรายึดติด...... ก็ต้องปล่อยมันไป ไม่ต้องไปเสียดายหรอก มันไม่ได้เป็นตัวเรา
  15. 15. ไตรลักษณ์นี้แหละ เป็นปัญญาทางพระพุทธศาสนา ไม่ต้องศึกษากว้างขวาง ศึกษาไตรลักษณ์นี้ก็พอ เวลามองอะไรให้มองว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
  16. 16. ใจต้องอยู่กับร่างกายไปตลอดเวลา ถ้าท้าอย่างนี้ได้.. “มีสติ” อย่างนี้ได้ เวลา..นั่งสมาธิ “ใจ” ก็จะเข้าสู่..ความสงบได้
  17. 17. ถ้าเห็นด้วยปัญญาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นทุกข์เป็นทุกข์ เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา ว่าไม่ใช่เป็นของเรา ถ้าเห็นตามความจริง ก็จะไม่มีความอยากให้อยู่กับเราไปนานๆ หรืออยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ... เพราะเรารู้ว่าเราไม่สามารถที่จะไปควบคุมบังคับสิ่งต่างๆให้เป็นไปตามความอยากของเราได้ นี่คือปัญญาที่จะถอนรากของกิเลสตัณหาต่างๆ คือความหลง ความไม่รู้ความจริงนี้ให้หมดไป ผู้ที่ต้องการที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างถาวร จ้าเป็นที่จะต้องเจริญปัญญาเพื่อให้เห็นความจริงของสิ่งต่างๆ
  18. 18. ให้ดูว่าดีใจกับสิ่งที่ได้มาหรือไม่ เสียใจไปกับสิ่งที่เสียไปหรือไม่ เราไม่ควรมีปฏิกิริยาทั้ง ๒ อย่าง ไม่ยินดี ไม่เสียใจ เวลาได้มาก็ไม่ดีใจ เตือนใจว่ามันมาเพื่อจากเราไป จากไปก็ดี จะได้ไม่เป็นภาระ เป้าหมายของการปฏิบัติอยู่ตรงนี้ให้ใจเป็นอุเบกขา ไม่ยินดียินร้าย

×