SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  120
Télécharger pour lire hors ligne
สงครามเศรษฐกิจและการเงินยุคใหม่
ระหว่างสองประเทศมหาอ�ำนาจ
การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล
ราคา 175 บาท
ISBN :
พิมพ์ ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2558
จ�านวนหน้า 120 หน้า รวมปก
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ห้ามลอกเลียนแบบส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ 2558 บริษัท อินโนเวชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จ�ากัด
บรรณาธิการกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น
กุลวดี 	 ธ�ำรงค์ธนกิจ
นุชสราวดี	 แวดอุดม
พรทิพย์	 ก๊วยสินทรัพย์
บรรณาธิการที่ปรึกษา
	 ศศิพิมพ์ จิรศักดิ์
คอมพิวเตอร์กราฟิก ธงชัย กมลรัตน์
พิมพ์ที่ บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จ�ำกัด
ค�ำน�ำผู้เขียน
	 เพื่อน ๆ คงจะแปลกใจที่เห็นหนังสือ “การเมือง เศรษฐกิจ และ
การเงิน” แหวกแนวจากหนังสือที่ผมเคยเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี หลังจากจบหนังสือ “โลกของยาง” ผมตั้งใจไว้ว่าจะเขียนหนังสือ
แนวเทคโนโลยีอีกเรื่องโดยไปสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ที่ประสบความส�ำเร็จจาก
การบุกเบิกธุรกิจโดยการใช้ความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีจนสามารถสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโต เป็นแบบอย่างให้
พวกเราศึกษา แต่ยังไม่ได้ลงมือเพราะมีงานเร่งด่วนเข้ามาตลอดเวลา
ยิ่งเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศชะลอตัวลง งานยิ่งมากขึ้น เลยไม่มี
เวลาไปสัมภาษณ์นักธุรกิจตามที่ได้นัดหมายไว้สักที
	 ในช่วงเกือบ10 ปี ที่ผ่านมา ผลจากการออกQE ของสหรัฐอเมริกา
ประเทศไทยได้รับผลจากการออก QE ท�ำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน
และอัตราดอกเบี้ยก็ลดลง อัตราแลกเปลี่ยนไทย(เงินบาท) แข็งค่าขึ้นตาม
ประเทศเพื่อนบ้าน อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนอยู่ตลอดเวลาตามการเข้า
ออกของเงินที่เข้ามาเป็นระลอก ๆ โดยทั่วไป ประเทศในแถบเอเชียยังมี
อัตราการเติบโตร้อยละ3-9 แล้วแต่ประเทศ เพราะผลพวงจากการเติบโต
ของเศรษฐกิจในประเทศจีนที่ยังไปได้ดี รายได้มวลรวมประชาชาติของจีน
ยังเติบโตได้เกินร้อยละ 10 มาตลอด แม้ในประเทศไทยจะเกิดเหตุการณ์
ทางการเมืองวุ่น ๆ มาตลอด 10 ปี กิจการของกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นยัง
ไปได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับการชะลอตัวในเศรษฐกิจโลกและในเมืองไทย
ทั้งนี้เพราะเราเร่งหาธุรกิจและตลาดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาความผันผวนของ
อัตราแลกเปลี่ยนมีผลกับผลประกอบการขององค์กรนี้ อัตราแลกเปลี่ยน
ผันผวนไปบางวัน 20-30 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจของเรามี
การน�ำเข้าและส่งออกสินค้าจ�ำนวนมาก การก�ำหนดต้นทุนทั้งน�ำเข้าและ
ส่งออกขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมาก ความผิดพลาดจากการดูแล
อัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลต่อผลประกอบการอย่างยิ่ง เราเคยเสียหาย
จากอัตราแลกเปลี่ยนครั้งละหลายสิบล้านบาท ทั้งนี้เพราะความ
ด้อยประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่การเงินของเราที่หลงเชื่อในวิธีการดูแล
อัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้ options แปลก ๆ ที่ธนาคารเสนอมา ผมจึงต้องมา
ดูแลการเงินขององค์กรอย่างใกล้ชิด
	 หลังจากที่สหรัฐอเมริกายกเลิกQEหลังกลางปีพ.ศ.2557และประเทศ
จีนเจอปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมาก อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
มากยิ่งขึ้น ท�ำให้ต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
จากที่ต้องกลับมาดูการเงินใหม่ท�ำให้ต้องติดตามทั้งการเมือง เศรษฐกิจ
และการเงินอย่างใกล้ชิด ผมเริ่มเขียนบทความทางการเงิน และเศรษฐกิจ
ให้พนักงานภายในองค์กรอ่านเป็นประจ�ำ คุณกุลวดี ธ�ำรงค์ธนกิจ ผู้บริหาร
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และจัดการของกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นเสนอให้รวบรวม
เป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ เพื่อแจกให้เพื่อน ๆ ในสิ้นปีนี้ นี่คือที่มาของหนังสือ
“การเมือง เศรษฐกิจและการเงิน” ที่ท่านถืออยู่นี้
	 จ�ำได้ดีว่า สมัยเรียน “การเงินระหว่างประเทศ”กับ อาจารย์ เอกกมล
คีรีวัฒน์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในตอนนั้น ท่านสอน
อยู่ค�ำหนึ่งตอนจบวิชานี้ว่า “จ�ำไว้ คุณรู้เรื่องการเงิน แต่คุณอย่าเสี่ยงกับ
อัตราแลกเปลี่ยน อนุรักษ์นิยมไว้ ป้องกันความเสี่ยงอันจะเกิดจากความ
ผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน เท่านี้คุณก็เป็นผู้บริหารการเงินที่ใช้ได้แล้ว”
นี่คือค�ำสอนที่ผมน�ำมาใช้ตลอดครับ
	 สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณ คุณปณิธาน ชุณหสวัสดิกุล ที่ช่วยอ่าน
บทความและให้ค�ำแนะน�ำอันเป็นประโยชน์ในการเขียนมาโดยตลอด
อีกทั้งคอยสนับสนุนและเป็นก�ำลังใจให้ผู้เขียนกล้าน�ำเสนอบทความ
ที่เป็นข้อคิดเห็นของตนเอง และขอขอบคุณทีมงานกองบรรณาธิการ
กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นตลอดจนทีมงานทุกคนที่ช่วยสนับสนุนการจัดท�ำ
หนังสือในครั้งนี้
	 				 ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล
นานาประเทศล้วนตกอยู่ในอุ้งเล็บพญาอินทรี..........................................................หน้า 9
	 •	สงครามเย็น
	 •	ฉันทามติวอชิงตัน
	 •	การค้าเสรี
	 •	Quantitative Easing
	 •	กองทุน Hedge Fund
วิกฤตเศรษฐกิจ.........................................................................................................................................หน้า 29
	 •	วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงปี ค.ศ. 1929
	 •	วิกฤต “ต้มย�ำกุ้ง”
	 •	วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา (ปี ค.ศ. 2008)
การพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น................................................................................................หน้า 47	
	 •	การเกิดฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในประเทศญี่ปุ่น
“นโยบายประชานิยม” อันน�ำมาซึ่งความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ.
...หน้า 55	
	 •	วิกฤตเศรษฐกิจในลาตินอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1980-2000
	 •	วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในกรีซ
สารบัญ
การพัฒนาเศรษฐกิจของจีน.
......................................................................................................หน้า 65
	 •	เมื่อมังกรขึ้นผงาดฟ้า
	 •	เงามืดที่คืบคลานเข้ามา
	 •	จีนก�ำลังเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
	 •	มังกรเซ ทั่วโลกผวา
สถานการณ์เศรษฐกิจโลก.............................................................................................................หน้า 83	
	 •	ผลกระทบจากราคาน�้ำมันที่ลดลง
	 •	สงครามเย็นครั้งที่ 2
	 •	สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี ค.ศ. 2015-16
	 •	ส่องกล้องมองเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า
	 •	ประเทศไทยต้องการผู้น�ำที่เข้มแข็งมาเยียวยาเศรษฐกิจไทย
เกี่ยวกับผู้เขียน......................................................................................................................................หน้า 115
แหล่งข้อมูลอ้างอิง.............................................................................................................................หน้า 116
8 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 9
	 ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากสนธิสัญญาสงบศึกที่ญี่ปุ่นท�ำไว้
กับสหรัฐฯ และอีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจของ
ญี่ปุ่นเติบโตได้ด้วยการพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ
มาตลอด เมื่อถึงเวลาที่สหรัฐฯ จะปิดล้อมจีน ญี่ปุ่นจึงต้องรีบ
ออกหน้าแสดงตัวเป็นพันธมิตรที่แสนดีของสหรัฐฯ โดยการหัน
มาเป็นคู่อริกับจีน ยอมเสี่ยงที่จะสูญเสียตลาดจีนบางส่วนไป
นานาประเทศล้วนตกอยู่ในอุ้งเล็บ
พญาอินทรี
1
ภาคที่
ผู้เขียนได้เคยกล่าวไว้ในหลายบทความถึงเงาทะมึนแห่งพญาอินทรี
ที่มีอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเงินในประเทศต่าง ๆ
เกือบทั่วโลก และยังได้เปรียบเทียบรัฐบาลญี่ปุ่นว่า เหมือนงูใหญ่ที่
ผงาดขึ้นโดยการด�ำเนินนโยบายธุรกิจเชิงรุกในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา ทว่า
งูใหญ่ตัวนี้กลับถูกผูกไว้ด้วยเชือกกล้วยของสหรัฐอเมริกาตลอดเวลา
งูใหญ่ตัวนี้จะสงบนิ่ง รอฟังเสียงเพียงค�ำบัญชาจากพญาอินทรี
10 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
แม้แต่ประเทศไทยเราเอง มองอย่างผิวเผินก็ไม่รู้ตัวว่าได้ตกอยู่ภายใต้
อิทธิพลของสหรัฐฯ มาโดยตลอดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 ผู้เขียน
จึงอยากอธิบายให้เห็นว่าสหรัฐฯ มีบทบาททางการเงินเหนือประเทศอื่น ๆ
ได้อย่างไร และด้วยอ�ำนาจทางการเงินนี่เองที่ท�ำให้สหรัฐฯ มีอิทธิพลใน
ระบบเศรษฐกิจการเงิน และยังมีบทบาททางการเมืองเหนือประเทศต่าง ๆ
ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว
	 นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป
และเอเชียต่างตกอยู่ในสภาวะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยสงคราม มีเพียง
สหรัฐฯ เท่านั้นที่ภายในประเทศได้รับความบอบช�้ำจากภัยสงคราม
น้อยมาก พอสิ้นสุดสงคราม สหรัฐฯ มีทองค�ำซึ่งเป็นวัตถุหลักแทนเงินตรา
ที่ใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศ จ�ำนวนร้อยละ 65 ของทองค�ำทั่วโลก
(คิดเป็นเงิน 26 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งอยู่ใน Fort Knox ของ
สหรัฐอเมริกา เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกได้มีการประชุมพันธมิตร 44
ประเทศผู้ชนะสงครามที่ Mount Washington, Bretton Woods
รัฐ New Hampshire ในวันที่ 7-22 กรกฎาคม ค.ศ.1944 เพื่อหารือถึง
มาตรการทางการเงินที่จะเป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐานทางการค้า
ระหว่างประเทศต่อไป
	 นี่คือที่มาของ The Bretton Woods System หรือบางท่าน
อาจรู้จักในชื่อ “ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่” โดยยึดค่าทองค�ำซึ่ง
มีค่าเท่ากับ 35 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อทองค�ำหนัก 1 Troy ounce
ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ได้ตั้งค่าอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินตัวเองให้
เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ วิธีการนี้ อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศต่าง ๆ จึง
ผันแปรขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจและเงินส�ำรองภายในประเทศของประเทศใน
ขณะนั้น แต่ค่าดอลลาร์สหรัฐจะผันแปรไม่ได้เพราะผูกติดกับค่าทองค�ำ
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 11
นั่นเอง ในการประชุมครั้งนั้นท�ำให้มีการก่อตั้ง กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศหรือInternationalMonetaryFund(IMF)ดูแลระบบการเงินทั่วโลก
ขึ้นเมื่อ 27ธันวาคมค.ศ.1945และ International Bank for Reconstruction
and Development (IBRD) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือการเงิน
ประเทศสมาชิก
	 ด้วยเหตุนี้ พญาอินทรีจึงได้เข้ามาดูแลและบริหารการเงินประเทศ
ต่าง ๆ แทนสหราชอาณาจักรอังกฤษนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
	 ในช่วงปี ค.ศ.1950-1970 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประเทศต่าง ๆ
ได้เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของตนเอง เงินดอลลาร์สหรัฐ
ถือเป็นพระเจ้า สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือนานาประเทศในยุโรปให้
ผ่านพ้นวิกฤตด้วย แผน Marshall Plan (สหรัฐฯ เองก็มองว่าหากขาด
ตลาดยุโรป สหรัฐฯ คงไม่อาจสร้างเศรษฐกิจของตนให้เติบโตได้ จึงต้องให้
ความช่วยเหลือบรรดาประเทศในแถบยุโรป) สหรัฐฯ ต้องยอมขาดดุลการ
ช�ำระเงินแก่ประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เงินสกุลดอลลาร์แพร่เข้าไปยังประเทศ
เหล่านั้น ประเทศในแถบยุโรปและญี่ปุ่นต่างใช้นโยบายประหยัด และ
ความขยัน มุมานะในการสร้างประเทศ เงินออมที่ได้มานั้น ได้เอามา
แลกเปลี่ยนเป็นทองค�ำ (ราคาทองค�ำในตลาดเสรีสูงกว่าราคาทองค�ำที่
IMF ก�ำหนดไว้) จนทองค�ำในสหรัฐฯ ร่อยหรอลง สหรัฐฯ ต้องก�ำหนด
ภาษีร้อยละ 10 ส�ำหรับการน�ำเงินสหรัฐฯ มาแลกเป็นทองค�ำ ในเวลานั้น
ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามปรับอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินของตัวเอง
ให้อ่อนลงเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการส่งออก มีแต่เงินสกุลดอลลาร์
เท่านั้นที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไปผูกติดไว้กับค่าทองค�ำ
12 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
	 ในช่วงปี ค.ศ.1963-1975 สินค้าต่าง ๆ ได้ทะลักจากยุโรปและญี่ปุ่น
เข้าสหรัฐฯ ในเวลานั้น สหรัฐฯ แสดงบทบาทเป็นพี่ใหญ่เพื่อต่อต้านสหภาพ
โซเวียตและจีน และสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามกับประเทศเกาหลีและต่อด้วย
สงครามเวียดนามซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่มีรัสเซียและจีน
หนุนหลังอยู่ สหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายในสงครามสองครั้งนี้สูงมากจนท�ำให้
เกิดภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอยภายในประเทศ ในปี ค.ศ.1958
ประธานาธิบดี Eisenhower จึงจ�ำต้องตั้งนโยบายโควตาจ�ำกัดการน�ำ
สินค้าจากต่างประเทศเข้าสหรัฐฯ
	 ในปี ค.ศ.1971 ประธานาธิบดี Richard Nixon ประกาศยกเลิก
ระบบเงินดอลลาร์สหรัฐที่ได้ผูกติดกับทองค�ำ ซึ่งถือเป็นการยกเลิกระบบ
Fixed Foreign Exchange Rate และเข้าสู่ ระบบ Floating Rates
ซึ่งประเทศต่าง ๆ ก็ต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเองใหม่เพื่อให้เข้ากับ
ดอลลาร์สหรัฐ ประธานาธิบดีNixon เริ่มด�ำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า
โดยตั้งระบบภาษีศุลกากร และระบบโควตาการน�ำเข้าสินค้าจากประเทศ
ต่าง ๆ ซึ่งเรียกขานกันในประเทศญี่ปุ่นว่า Nixon Shock เนื่องจากญี่ปุ่น
ต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนตัวเองให้แข็งค่าขึ้นจาก 380 เยนต่อดอลลาร์
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 13
สหรัฐ มาอยู่ที่ 254 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้สินค้าน�ำเข้าจากญี่ปุ่น
มีราคาสูงขึ้นในสหรัฐฯ เป็นเหตุให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอยเป็นเวลาหลายปี
	 ในแถบยุโรปประเทศใหญ่ ๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม
เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ได้รวมกลุ่มกันภายใต้ สนธิสัญญา
Treaty of Rome 1957 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ European Economic
Community (EEC) เริ่มต้นจากการรวมตัวของ Coal and Steel Union
จากประเทศสมาชิกเหล่านี้ ประเทศในกลุ่ม EEC เริ่มหารือกันถึงการ
ค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอันน�ำไปสู่ Common Market และการ
รวมตัวเพื่อสร้างเศรษฐกิจร่วมกันในหมู่สมาชิก ประเทศเหล่านี้ได้หัน
มาตั้งอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกเป็นเวลาหลายปี นี่คือ
จุดเริ่มต้นของสหภาพยุโรป (European Union) ในช่วงเวลาต่อมา
สงครามเย็น (Cold War)
	 การเงิน เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งสามปัจจัยนี้เกี่ยวโยงและเกี่ยว
เนื่องกันอยู่ตลอดเวลา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดระบบด้าน
เศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันอยู่2 ขั้วอย่างเด่นชัด คือ ระบบสังคมนิยม
หรือคอมมิวนิสต์ ซึ่งน�ำโดยรัสเซียและจีนเป็นพี่ใหญ่ และระบบทุนนิยม
ซึ่งเป็นอีกขั้วอ�ำนาจที่น�ำโดยสหรัฐฯอังกฤษเยอรมนีฝรั่งเศสอิตาลีและญี่ปุ่น
ทั้งนี้เพราะความเชื่อด้านเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน หลัง
สงครามโลกครั้งที่2 มีการแบ่งประเทศเยอรมนีออกเป็น เยอรมนีตะวันออก
และเยอรมนีตะวันตก การแบ่งประเทศในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อมีการประชุม
ระหว่างประธานาธิบดีRoosevelt ของสหรัฐฯ กับนายกรัฐมนตรีChurchill
ของอังกฤษ และ ประธานาธิบดี Joseph Stalin ผู้น�ำของรัสเซีย ที่เมือง
14 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
Yalta ท�ำให้มีการแบ่งเยอรมนีออกเป็นสองฝั่งดังกล่าว ประเทศเล็ก ๆ
ทางฟากตะวันออกของยุโรปก็ได้เข้าร่วมกับรัสเซีย ท�ำให้ยุโรปถูกแบ่งเป็น
2 ฝ่าย ทางด้านเอเชียหลังจากที่จีนขับไล่รัฐบาลก๊กมินตั๋งของ เจียง ไคเช็ก
ออกจากแผ่นดินใหญ่ จีนได้เข้าไปช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลี
เพื่อรวมเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ให้เป็นประเทศเดียวกัน รวมถึง
เวียดนาม ให้กอบกู้อิสรภาพจากการปกครองของฝรั่งเศสและรวม
ประเทศเวียดนาม น�ำมาซึ่งสงครามในสองประเทศนี้อย่างต่อเนื่องและ
ยาวนาน สงครามเกาหลีและเวียดนามในครั้งนี้เป็นดั่งสัญลักษณ์แห่ง
สงครามระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์และประเทศประชาธิปไตยอย่าง
สหรัฐอเมริกา
	 สหรัฐฯพยายามปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศต่างๆในยุโรป
ในปี ค.ศ.1961 สหรัฐฯ ได้ตั้งฐานจรวดขีปนาวุธ (American Jupiter
Ballistic Missiles) ที่อิตาลีและตุรกี ซึ่งมีระยะท�ำการถึง Moscow เมือง
หลวงของรัสเซีย ท�ำให้ประธานาธิบดี Nikita Khrushchev ไม่พอใจเป็น
อย่างมาก รัสเซียจึงได้เจรจากับคิวบาเพื่อติดตั้งขีปนาวุธที่ปากประตู
บ้านของสหรัฐฯ ครั้งนั้นเรือบรรทุกขีปนาวุธจากรัสเซียได้แล่นเข้าสู่อ่าว
เม็กซิโก เรือรบสหรัฐฯ พร้อมทั้งเครื่องบินรบได้ตามติดเรือรบรัสเซียบังคับ
ให้หันหัวเรือกลับ และยังนับถอยหลังเพื่อเข้าโจมตีทันที ในที่สุดเรือรบ
รัสเซียก็ต้องหันเรือกลับ นี่ถือว่าเป็นจุดตึงเครียดที่สุดระหว่างสองมหาอ�ำนาจ
และคิวบาก็นับเป็นหนามยอกอกของสหรัฐฯ มาเป็นเวลา 30 ปี
	 สงครามเย็นที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 30 ปี เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น
มากมาย นอกจากความขัดแย้งอย่างหนักที่เกิดขึ้นในเวทีโลกอย่างการ
ประชุมของสหประชาชาติแล้ว ประเทศสมาชิกในกลุ่มNATO(ซึ่งปัจจุบัน
มี28 ประเทศ) รวมตัวกันเพื่อปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป และใน
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 15
เอเชียสหรัฐฯ ยังได้ก่อตั้งองค์กร SEATO ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย
ตะวันตกเฉียงใต้ ปิดล้อมจีนทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านเหนือของ
เอเชีย สหรัฐฯ คงฐานทัพเรือที่7 ที่โอกินาวาและกองทัพทหารที่เกาหลีใต้
เพื่อปิดล้อมจีนในเอเชียด้านเหนือ สงครามเย็นน�ำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
และเหตุการณ์ทางการเมืองและการเงินมากมาย การเปลี่ยนแปลง
อย่างหนึ่งทางการเงินก็คือ การเกิดของตลาดเงินดอลลาร์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ใต้
การควบคุมของสหรัฐฯคือตลาดทุน Euro-dollarต่อมาตลาดทุนนี้เติบโตขึ้น
อย่างรวดเร็ว เพราะประเทศผู้ส่งออกน�้ำมัน (OPEC) ซึ่งมีเงินดอลลาร์
อยู่มากมาย ได้น�ำเงินของประเทศตนไปฝากในตลาดทุนนี้ที่ไม่อยู่ในการ
ควบคุมของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเงินทุนนี้เริ่มต้นตลาดทุนนี้เกิดขึ้นเพราะ
รัฐบาลรัสเซียย้ายเงินฝาก (ดอลลาร์) ออกจากธนาคารในสหรัฐฯ เพราะ
เกรงว่าหากเกิดวิกฤตทางการเมือง เงินที่ฝากไว้ในสหรัฐฯ จะมีปัญหา
จึงมีการโยกย้ายเงินฝากจากธนาคารในสหรัฐฯ มาเปิดบัญชีใหม่ในสกุล
ดอลลาร์ในยุโรป นี่คือที่มาของกองทุนขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายอย่างเสรี
ในตลาดเงินทั่วโลก และท�ำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการเงินสู่เอเชียและ
ลาตินอเมริกาในช่วง Easy Credit ในช่วงปี ค.ศ.1990
ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)
	 นี่คือสิ่งที่สหรัฐฯ จัดท�ำขึ้นมาเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกที่สาม
เดินตามเส้นทางที่ก�ำหนดไว้ โดยมาพร้อมกับค�ำเชิญชวนและโฆษณา
อันสวยหรูถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม หากประเทศใด
น�ำไปปฏิบัติ ประเทศนั้นก็จะบรรลุเป้าหมายทางด้านความมั่งคั่งและมี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ฉันทามติวอชิงตันนี้เป็นที่มาของ “โลกาภิวัตน์”
หรือ “Globalization” ในเวลาต่อมา
16 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
	 ความเป็นมาของฉันทามติฯ นี้เกิดขึ้นจากการน�ำเสนอ หลักปฏิบัติการ
10 ข้อ โดย John Williamson นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่ท�ำงานที่
The Institute for International Economics ใน Washington, D.C.
จุดมุ่งหมายของการน�ำเสนอฉันทามติฯ 10 ข้อนี้คือ เพื่อแก้ปัญหา
เศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศลาตินอเมริกาทั้งหลายช่วงปลาย
ปี ค.ศ.1970 ต่อเนื่องไปถึงปี ค.ศ.1980
หลักปฏิบัติการ 10 ข้อที่น�ำเสนอโดย Williamson มีดังนี้
	 1)	 ให้มีความเข้มงวดทางการเงิน โดยเน้นให้การขาดดุลการเงิน
		 สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้มวลรวมประชาชาติ
		 ของประเทศ
	 2)	 ให้เร่งลดการใช้จ่ายสาธารณะ (Public Spending) ที่เร่งการ
		 เติบโตทางเศรษฐกิจ ลดเงินอุดหนุนทางสังคม สาธารณสุขและ
		 การสาธารณูปโภค
	 3)	 ให้ปรับปรุงระบบภาษีให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายภายในประเทศ
	 4)	 ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของตลาด
	 5)	 ให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถกระตุ้นการส่งออก เพื่อเกิดการ
		 แข่งขันได้ในตลาดสากล
	 6)	 ให้มีนโยบายการค้าเสรี ลดการกีดกันทางการค้าและมีระบบ
		 พิกัดภาษีศุลกากรที่เป็นสากล
	 7)	 ให้มีนโยบายการลงทุนจากต่างประเทศโดยเสรี
	 8)	 ให้แปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน
	 9)	 ให้ลดและยกเลิกกฎข้อห้ามของสินค้าน�ำเข้ายกเว้นสินค้าที่อาจ
		 มีปัญหาทางความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและต่อการคุ้มครอง
		 ผู้บริโภค หรือสถาบันการเงิน
	 10)	ให้มีกฎหมายสิทธิบัตร
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 17
	 วิกฤตน�้ำมันเกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ.1970-1980 เพราะประเทศ
ผู้ผลิตและส่งออกน�้ำมัน(OPEC) ร่วมมือกันจ�ำกัดจ�ำนวนน�้ำมันให้ผลิตใน
ประเทศผู้ผลิตและก�ำหนดราคาน�้ำมันร่วมกัน ท�ำให้ราคาน�้ำมันจากราคา
ต�่ำกว่า 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ พุ่งสูงถึง 35 เหรียญดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ในปี ค.ศ. 1979 ท�ำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อในประเทศ
ต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งการน�ำเข้าน�้ำมันดิบ ประเทศก�ำลังพัฒนาในแถบเอเชีย
และลาตินอเมริกาต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน�้ำมันที่สูง
ขึ้น ประเทศเหล่านี้ก�ำลังอยู่ในระยะพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ
โดยอุตสาหกรรมเริ่มต้นเป็นอุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้า เพื่อปกป้อง
อุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้าที่มีขนาดเล็กและต้นทุนการผลิตที่สูง
แต่ละประเทศต่างก็อาศัยวิธีการปกป้องอุตสาหกรรมของตนเองโดยการ
ตั้งก�ำแพงภาษีน�ำเข้าหรือห้ามน�ำเข้าสินค้าบางประเภท โดยรัฐบาลจะเป็น
ผู้ลงทุนในสาธารณูปโภคของประเทศ
	 ประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้นก็ได้รับผลกระทบจากNixonShock และ
ราคาน�้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องรีบปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ของอุตสาหกรรมภายในประเทศ และโยกย้ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไป
ยังต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
เพื่อเป็นอุตสาหกรรมส่งออกด้วยนโยบายส่งเสริมการลงทุนประเทศไทย
ในขณะนั้น ประเทศไทยได้รับอานิสงส์จากการโยกย้ายการลงทุนออกนอก
ประเทศจากทั้งญี่ปุ่นและไต้หวันเพื่อมาลงทุนในประเทศที่มีต้นทุนแรงงาน
ที่ถูก ท�ำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศ
ก�ำลังพัฒนาที่มีการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และขึ้น
มาเป็นหนึ่งในห้าเสือของเอเชียในขณะนั้น
18 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
	 ในช่วงนั้นเศรษฐกิจของประเทศในลาตินอเมริกาก็ได้รับผลกระทบ
จากราคาน�้ำมันเช่นเดียวกับประเทศก�ำลังพัฒนาอื่น ๆ ทั่วโลก รัฐบาลใน
ประเทศแถบลาตินอเมริกาต่างด�ำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทน
การน�ำเข้า และนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้าของตนเอง
รัฐให้เงินสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมสาธารณูปโภค แต่เนื่องด้วย
การปรับขึ้นราคาน�้ำมันตลอดเวลา20 ปี ประเทศเหล่านี้จึงมีหนี้สินซึ่งเกิด
จากเงินกู้ภายนอกเพิ่มขึ้นมากมาย ร่วมกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมาก
ในสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 1978 ท�ำให้ประเทศเหล่านี้มีหนี้ที่สูงขึ้น ประเทศ
เหล่านี้ไม่มีรายได้จากการส่งออกดังเช่นประเทศก�ำลังพัฒนาในเอเชีย
เพราะความอ่อนแอของอุตสาหกรรมในประเทศ เพราะมุ่งเน้นเฉพาะ
อุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้าและด้วยการปกป้องอุตสาหกรรมเหล่านี้
ท�ำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนาด้านขีดความสามารถและ
เทคโนโลยีการผลิต ประเทศในลาตินอเมริกาหลายประเทศต้องเข้าสู่
ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและเกิดสภาวะเงินเฟ้อสูงมาก ท�ำให้ประเทศ
เหล่านี้ต้องเข้าไปขอความช่วยเหลือจาก IMF ด้วยเหตุนี้ IMF จึงใช้นโยบาย
ฉันทามติวอชิงตันบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามเพื่อแลกกับ
เงินช่วยเหลือ
	 ฉันทามติฯ ถูกมองว่าเป็นนโยบายส�ำเร็จรูปที่น�ำไปใช้กับประเทศ
ต่าง ๆ ที่ขอความช่วยเหลือจาก IMF ประเทศไทยและประเทศในเอเชีย
ก็เคยขอความช่วยเหลือจากIMF ในช่วงวิกฤตเอเชีย(วิกฤต ”ต้มย�ำกุ้ง”)
และฉันทามติฯ นี้ท�ำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมกับประเทศที่ถูกบังคับให้
ใช้อย่างมาก ฉะนั้นฉันทามติฯ นี้ จึงได้รับการยอมรับลดลงเรื่อย ๆ และ
ในช่วงปี ค.ศ.1900-2000 มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง
และทางการเงินเกิดขึ้นมากมาย เกิดสภาพคล่องทางการเงินและตาม
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 19
มาด้วยวิกฤตต่าง ๆ การพัฒนาด้านการสื่อสาร การเคลื่อนย้ายของ
เงินทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา ท�ำให้ทุกอย่างเคลื่อนย้าย
จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคอื่นได้อย่างรวดเร็ว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากประเทศหนึ่งจะกระทบไปยังประเทศหรือภูมิภาค
อื่นอย่างต่อเนื่อง นี่คือที่มาของ โลกาภิวัตน์
การค้าเสรี หรือ Free Trade Agreement
	 การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย เป็นการประชุมเพื่อเจรจาหาข้อตกลง
ทางการค้าครั้งที่ 8 โดยเป็นการเจรจาของ General Agreement on
Tariffs and Trade (GATT) การเจรจานี้ใช้เวลาเจรจายาวนานตั้งแต่ปี
ค.ศ.1988-1995 โดยมีประเทศเข้าร่วมประชุม123 ประเทศ ผลของการ
ประชุมน�ำมาซึ่งการก่อตั้ง องค์การการค้าโลก หรือที่รู้จักกันว่า World
Trade Organization (WTO) โดยมี GATT (General Agreement on
TariffsandTrade) เป็นสาระส�ำคัญในข้อตกลงในWTO การเจรจาจบสิ้น
ในปี ค.ศ. 1995
	 ในการประชุมหาข้อตกลงการค้าในองค์การการค้าโลก ที่มีสมาชิก
มากกว่า140 ประเทศ การตกลงในข้อเสนอทุกครั้งเป็นไปอย่างล่าช้า ท�ำให้
ประเทศต่าง ๆ เริ่มเปิดเจรจาการค้าในกลุ่มประเทศข้างเคียงเป็นสนธิ
สัญญาการค้าระหว่างกัน อาจจะเป็นRegionalFreeTradeAgreement
เช่น North America Free Trade Agreement (NAFTA) ที่เกิดขึ้นใน
ประเทศอเมริกาเหนือ อันมีประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และ เม็กซิโก
และในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเจรจาสนธิสัญญา
มิตรภาพ และความร่วมมือของ 10 ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขณะเดียวกัน 28 ประเทศในกลุ่ม
20 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
ประเทศทางยุโรปได้รวมตัวกันก่อตั้งสหภาพยุโรป(EuropeanUnion) เพื่อ
เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกในด้านค้าขาย การลงทุน
และการบริการ
	 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญามิตรภาพ และความร่วมมือ
ระหว่าง 10 ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เกิดขึ้นเริ่มต้นจากการ
ประกาศ ปฏิญญากรุงเทพ(BangkokDeclaration) ระหว่าง5 ประเทศ
(ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์) ที่จะร่วมเป็น
พันธมิตรกันด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ในปี พ.ศ. 2510 ทั้งนี้เพราะ
ความหวั่นเกรงการแผ่อ�ำนาจของเวียดนามเข้ามาในประเทศอินโดจีนก่อน
และหลังสหรัฐฯ ถอนทหารออกจากเวียดนามในปี พ.ศ. 2516 ประเทศ
บรูไนเข้าร่วมกลุ่มเป็นประเทศที่ 6 ในปี พ.ศ. 2538 ประเทศเวียดนาม
ขอเข้าร่วมเป็นประเทศที่ 7 ตามมาด้วยประเทศลาว พม่า และ กัมพูชา
รวมเป็น 10 ประเทศ การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียนกลายเป็น
ฐานเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีประชากร 600 กว่าล้านคน เป็นร้อยละ 9
ของประชากรโลกและมีผลผลิตมวลรวมประชาชาติเกือบ 1.8 ล้านล้าน
เหรียญสหรัฐฯ และเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่สูง ท�ำให้ประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอยากมาเป็นพันธมิตรกับประเทศ
กลุ่มอาเซียนนี้ ท�ำให้เกิดสนธิสัญญาการค้า ASEAN-Japan ในปี ค.ศ.
2008 ทั้งยังเกิด ASEAN-China ASEAN-India ASEAN-Australia-New
Zealand และ ASEAN-Korea ในปี ค.ศ. 2010 รวมเรียกว่า ASEAN Plus
Five สิ่งที่ตกลงกันภายใต้สนธิสัญญาเขตการค้าเสรีอาเซียน 10 ประเทศ
จะก้าวสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community) ในปี พ.ศ.2558 มีเป้าหมายว่า ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษี
สินค้าที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศสมาชิกลงให้เหลือศูนย์ ยกเว้นสินค้าที่
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 21
มีความอ่อนไหวบางประเภท และมีเป้าหมายเพื่อท�ำให้ภูมิภาคนี้เป็น
	 1)	 เป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกันและภาคการผลิตเดียวกัน
	 2)	 เป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
	 3)	 เป็นภูมิภาคที่มีความเสมอภาคในการพัฒนาเศรษฐกิจ
	 4)	 เป็นภูมิภาคที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นภูมิภาคที่ส�ำคัญ ภายใต้
ความสามารถที่แตกต่างกันในการพัฒนาประเทศของประเทศสมาชิก
	 EuropeanUnionหรือEUเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่อีกเขตเศรษฐกิจหนึ่ง
ที่มีบทบาทมากในตลาดการค้าเสรี เพราะประกอบด้วยสมาชิก 23
ประเทศ ด้วยประชากร 500 ล้านคน และเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่และ
ส�ำคัญของการค้าโลก โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 18.5 ล้าน
ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
ทั่วโลก เป้าหมายหลักของEU คือเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ
สมาชิกให้เกิดความมีเสรีในการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน
และประชากรในประเทศที่เป็นสมาชิก (Schengen Area) เพื่อน�ำไปสู่
การเป็น “ตลาดเดียว” ในยุโรป แต่ในจ�ำนวน 23 ประเทศนี้ มีประเทศ
ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และสวิตเซอร์แลนด์ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก
“ตลาดเดียว” แต่ไม่รวมในด้านศุลกากร และระบบการเงินเดียวกัน
เหมือนอีก 19 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2002 มีการก่อตั้งสถาบันการเงินแห่ง
ยุโรปเพื่อจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ขึ้นเพื่อ
ออกเงินตราสกุลเดียวกัน เพื่อใช้ในการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
	 อย่างไรก็ตาม การเจรจาการค้าเสรีระหว่างสมาชิกก็ไม่ได้ผล
ที่ดีเสมอไปเพราะประเทศคู่เจรจาต่างก็ต้องการปกป้องอุตสาหกรรม
ในประเทศไม่ให้เสียเปรียบคู่ค้า แม้ผลเจรจาการลดภาษีออกมาส�ำเร็จ
22 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
แต่ประเทศต่าง ๆ ก็ออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร
(Non-tariffbarrier-NTB)หรือมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด(Anti-dumping)
ออกมาอยู่เสมอเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของตน
Quantitative Easing (QE)
	 เป็นมาตรการพิเศษที่ธนาคารกลางของประเทศที่มีเศรษฐกิจ
ขนาดใหญ่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตนเอง ในเมื่อการกระตุ้นด้วย
ระบบที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล ธนาคารกลางจะใช้วิธีการซื้อสินทรัพย์ทางการ
เงินจากสถาบันทางการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เป็นการกระตุ้นให้เกิด
สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างมาก เป็นวิธีที่ผิดออกไปจากการที่รัฐบาล
ออกมาขายพันธบัตรและรักษาดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร(Inter-bankrate)
ในอัตราที่ก�ำหนดไว้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยธนาคารเข้าใกล้ศูนย์ วิธีขาย
พันธบัตรรัฐบาลจะไม่ได้ผล ประเทศใหญ่ ๆ เหล่านั้นจะออกQE มาเพื่อ
ซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจากธนาคารและลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
การออก QE นี้มีมาตั้งแต่ตอนเกิดวิกฤตตลาดหุ้นในนิวยอร์ก (Great
Depression) ในปี ค.ศ.1930 และ ค.ศ.1940 ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ
FederalReserve ออกQE มาเพื่อเร่งให้เกิดสภาพคล่องในระบบการเงิน
ในสหรัฐฯ ในขณะนั้น สหรัฐฯ กลับมาใช้ QE อีกครั้งในช่วงเกิดวิกฤต
ทางอสังหาริมทรัพย์ในปี ค.ศ.2007 และ วิกฤตทางธนาคารและการเงิน
ในปี ค.ศ. 2008 และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงกลางปี ค.ศ. 2014
	 ไม่ใช่มีแต่สหรัฐฯ เป็นผู้ออกแบบ QE แต่ผู้เดียว ทั้งอังกฤษ EU
และธนาคารกลางของญี่ปุ่นก็ออกQE มาเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงิน
เพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืดที่เกิดขึ้น ธนาคารกลางยุโรปออก QE ออกมา
เสริมสภาพคล่องในปี ค.ศ.2014-2015 ท�ำให้ผ่อนคลายปัญหาการเงินอัน
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 23
เกิดจากหนี้ที่สูงขึ้นในหลายประเทศสมาชิก ญี่ปุ่นออก QE ครั้งแรกในปี
ค.ศ.2001 เพื่อเพิ่มดุลบัญชีเดินสะพัดของธนาคารต่าง ๆ ในญี่ปุ่น จาก5
ล้านล้านเยนมาถึง35 ล้านล้านเยน(ประมาณ3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ในระยะเวลา 4 ปีในสมัยนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe รัฐบาลให้ธนาคาร
กลางญี่ปุ่นออก QE หลายครั้งรวมทั้งสิ้น 80 ล้านล้านเยน เพื่อลดค่าเยน
(ให้อ่อนลง) เพื่อกระตุ้นการส่งออก และตั้งเป้าหมายเพิ่มสภาพคล่อง
ทางการเงินเพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนและการค้าเกิดขึ้นภายในประเทศ
เขาตั้งเป้าหมายที่จะลดภาวะเงินฝืดในประเทศ และตั้งเป้าหมายให้เกิด
เงินเฟ้อร้อยละ2 ต่อปี อัตราแลกเปลี่ยนของญี่ปุ่นได้อ่อนตัวลง(ผลคืออัตรา
แลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงจาก78 เยนต่อหนึ่งดอลลาร์ มาเป็น123 เยนต่อหนึ่ง
ดอลลาร์ในเวลา3 ปี) เพื่อให้สินค้าส่งออกแข่งขันกับคู่แข่งอื่น ๆ ได้มากขึ้น
ส่วนอังกฤษได้ออก QE หนึ่งแสนหกหมื่นห้าพันล้านปอนด์ในต้นปี ค.ศ.
2009 และอีกหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นห้าพันล้านปอนด์ในสิ้นปี และออกอีก 2
งวดในปี ค.ศ.2010 และ ค.ศ.2012 จ�ำนวน5 หมื่นล้านปอนด์ และ สาม
แสนเจ็ดหมื่นห้าพันล้านปอนด์ตามล�ำดับ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินโลก จนถึงขณะนั้นธนาคารกลางอังกฤษออก
QE ทั้งสิ้น 1.1 ล้านล้านปอนด์
	 เจ้าแห่งต�ำรา QE คือสหรัฐอเมริกา Federal Reserve ออก QE
7-8 แสนล้านดอลลาร์เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางอสังหาริมทรัพย์ใน
ปี ค.ศ. 2008 และออก QE ทั้งสิ้น 2.35 ล้านล้านดอลลาร์ในท่ามกลาง
วิกฤตทางธนาคารปี ค.ศ. 2009 และออกอีก 2.1 ล้านล้านดอลลาร์
เมื่อเห็นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในปี ค.ศ. 2010 และซื้อคืนพันธบัตร
อายุ 2-10 ปี จ�ำนวน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ทุก ๆ เดือน ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.2010
ถึงกลางปี ค.ศ. 2011 สหรัฐฯ ออก QE 2 ในช่วงปี ค.ศ. 2012-2015
24 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
ในอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ศูนย์ Federal Reserve ออก QE 2 ออกมา
อย่างต่อเนื่องในช่วงปี ค.ศ. 2012-2014 โดยออกเดือนละ 4 หมื่นล้าน
ดอลลาร์ทุก ๆ เดือน จนถึงกลางปี ค.ศ. 2014 Ben Bernanke ออกมา
ประกาศจบสิ้นการออก QE เมื่อเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณการฟื้น
ตัวอย่างต่อเนื่องและสภาพการว่างงานในประเทศลดลงมาถึงร้อยละ 6
หลังออก QE 2 มา 4.5 ล้านล้านดอลลาร์
	 ผลที่ได้จากการออกQE จากสหรัฐฯ เงินจากQE ได้ไหลเข้าสู่สถาบัน
การเงินของประเทศนอกสหรัฐฯ เงินQE ออกมามากมายใน7 ปีที่ผ่านมา
ได้ไปช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับหลายๆ ประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ย
ที่ต�่ำ ท�ำให้ช่วงวิกฤตที่เกิดจากสหรัฐฯ หลังปี ค.ศ. 2009 ประเทศก�ำลัง
พัฒนาทั้งหลายต่างมีสภาพคล่องทางการเงินและสามารถรักษาอัตรา
การเติบโตได้ดี แต่ QE ก็มีผลเสียกับประเทศพัฒนาเหล่านั้น ช่วงที่
เกิดสภาพคล่องมากกับดอกเบี้ยที่ถูกลง ท�ำให้เกิดการลงทุนทั้งด้านการ
ผลิต และในด้านที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิต เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์และ
ตลาดหุ้น ท�ำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น
ในหลายประเทศ เงินสกุลดอลลาร์ที่ไหลเข้าในแต่ละประเทศจะท�ำให้
ค่าเงิน (อัตราแลกเปลี่ยน) ของประเทศนั้น ๆ แข็งค่าขึ้น หลังยุติ QE
หลายประเทศที่กู้เงินมามากมายจะเจอสภาพการเงินที่เคยคล่องตัวต้อง
หยุดชะงักลง บางประเทศอาจเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตก ซึ่งจะเห็นเงิน
ไหลออกจากประเทศที่มีปัญหาฟองสบู่ เช่น ประเทศจีนที่เจอทั้งภาค
อสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และการเงินที่ก�ำลังไหลออก อีกทั้งบริษัทใหญ่ ๆ
ในบางประเทศที่กู้เงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์เข้ามามาก ๆ ในช่วงเงินมี
สภาพคล่องก�ำลังเผชิญปัญหาที่จะต้องจ่ายเงินคืนมากขึ้นเพราะอัตรา
แลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลง
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 25
	 ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ยกมาให้เห็น
ถึงอ�ำนาจหรืออิทธิพลของพญาอินทรีที่ทรงพลังและอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์
ทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน ที่เกิดขึ้นกับเกือบทุกประเทศ
กองทุน Hedge Fund
	 ถ้าพูดถึงการเงิน เราต้องมารู้จัก กองทุน Hedge Fund เพราะ
กองทุนนี้มีเงินหมุนเวียนอยู่ 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณการ
ในประเทศ ปี ค.ศ. 2013) เป็นกองทุนที่ลงทุนอย่างอิสระโดยอยู่เหนือ
การควบคุมของรัฐบาลประเทศใด ๆ กองทุนเหล่านี้เป็นการลงทุนจาก
ผู้ลงทุนกลุ่มเล็ก ๆ และไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ใด ๆ กองทุนเหล่านี้มี
GeorgeSoros “พ่อมดแห่งการเงิน”
26 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผู้จัดการกองทุน
เหล่านี้คือผู้ช�ำนาญการที่ยอดเยี่ยมในเศรษฐกิจมหภาค รายได้ผู้จัดการ
กองทุนคือเงินจ�ำนวนมหาศาล George Soros เจ้าของฉายา “พ่อมด
การเงิน” ถูกจัดโดย Fortune ว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่มีรายได้สูงสุดใน
ประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ด้วยเงิน 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ พ่อมดการ
เงินคนนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้คว�่ำ Bank of England ใน Black Wednesday
เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1992 ด้วยการโจมตีค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง โดย
การท�ำ Short Sale ปอนด์สเตอร์ลิงเมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจของอังกฤษก�ำลัง
ประสบปัญหา และค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงแข็งเกินกว่าค่าที่เป็นจริง ท�ำให้
อังกฤษต้องถอนตัวจาก European Exchange Rate Mechanism และ
เสียหาย3.4 พันล้านปอนด์Soros คนนี้อีกที่เชื่อว่าเป็นผู้โจมตีค่าเงินบาท
(และริงกิตของมาเลเซียในปี ค.ศ.1997) อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของการ
ล่มสลายของเศรษฐกิจไทยและเอเชีย
	 กองทุนHedgeFund นี้เกิดขึ้นเพราะสภาพคล่องของการเงินในช่วง
ปี ค.ศ.1920 ท�ำให้ตลาดหลักทรัพย์ในนิวยอร์กเติบโตอย่างมาก ท�ำให้เกิด
กองทุนขึ้นมาปั่นราคาหุ้น อาศัยความหวือหวาในตลาดหลักทรัพย์ กองทุน
เหล่านี้เงียบหายไปและกลับมาอีกครั้งในช่วงเกิดสภาพคล่องทางการเงิน
จากเงินมากมายที่ได้จากการขายน�้ำมันดิบของ OPEC กองทุน Hedge
Fund กลับมามีบทบาทอีกครั้ง กองทุนเหล่านี้มีความคล่องตัวในการลงทุน
สูงเพราะไม่อยู่ในการควบคุมของกฎเกณฑ์ทางการเงินของประเทศใด
ผู้จัดการกองทุนมีความรู้ความสามารถในเศรษฐศาสตร์มหภาค และ
รายได้ผู้จัดการเหล่านี้ขึ้นกับผลงาน กองทุนต่างมีความช�ำนาญในแต่ละทาง
และแต่ละทวีปแตกต่างกัน แต่ละคนมองหาช่องว่างจากความแปรปรวน
ในด้านเศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 27
และสินค้าอุปโภคและวัตถุดิบการผลิต(Commodities) ต่าง ๆ เช่น น�้ำมัน
ทองค�ำ สินค้าเกษตร กองทุนเหล่านี้จะลงทุนในสิ่งที่เห็นผลตอบแทน
ที่สูง (High Risk, High Return) เมื่อสบโอกาสกองทุนเหล่านี้จะเข้าโจมตี
ทันที บางครั้งจะเข้าซื้อบริษัทที่เกิดปัญหาการเงิน มาแต่งตัวใหม่แล้ว
ออกขายในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันนี้ตลาดทองค�ำและตลาดการซื้อขาย
สินค้าเกษตรล่วงหน้า น�้ำมันดิบ ต่างอยู่ในการปั่นราคาขึ้นลงโดยกองทุน
Hedge Fund เพื่อหาช่องว่างในการท�ำก�ำไร
	 ตัวอย่างกองทุนHedgeFund ใหญ่ ๆ อับดับแรก ๆ ตัวอย่างเช่น
Bridgewater Pure Alpha, JP Morgan Asset Management, Och-Ziff
CapitalManagementGroup,BrevanHowardAssetManagement,
Paulson&Co,GoldmanSachsAssetManagement ร้อยละ70ของกองทุน
เหล่านี้จะอยู่ในสหรัฐอเมริกาที่เหลือจะอยู่ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ
28 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 29
	 ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวิกฤตเศรษฐกิจไว้เป็นระยะ ๆ
ในอดีตส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ บางครั้งเกิดเพราะ
สงครามที่มนุษย์สร้างขึ้น สงครามทุกครั้งก่อเกิดวิกฤตและ
ความยากจนให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน ในอดีตวิกฤตที่เกิดขึ้น
จะจ�ำกัดในวงแคบ เช่น วิกฤตน�้ำท่วมจากแม่น�้ำฮวงโห หรือ
ภัยแล้งในจีน ท�ำให้ประชาชนจีนหนีความอดอยากอพยพออก
วิกฤตเศรษฐกิจ
2
ภาคที่
มีผู้กล่าวไว้ว่าทุก ๆ 8 ปีจะมีวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในโลกนี้หนึ่งครั้ง
บางครั้งวิกฤตจะจ�ำกัดอยู่ในวงแคบ แต่บางครั้งจะลุกลามไปเป็น
วงกว้างโดยเฉพาะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก
ประเทศหนึ่งอาจจะขยายวงไปสู่ระดับภูมิภาค หรือลามไปยังประเทศ
มากมายทั่วโลก อย่างวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากราคาน�้ำมัน
ในปี ค.ศ. 1970-1980 วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจที่เกิดที่
สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008 มีผลกระทบในวงกว้างไปยังประเทศ
ต่าง ๆ ในยุโรปและประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ
30 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
นอกประเทศมาตั้งถิ่นฐานยังประเทศไทย แถบมลายู และประเทศสิงคโปร์
เป็นจ�ำนวนมาก วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นจากประเทศหนึ่งและ
ลามไปอีกหลาย ๆ ประเทศ น่าจะเริ่มเห็นชัดจาก Black Tuesday หรือ
GreatDepression ของตลาดหุ้นนิวยอร์กในปี ค.ศ.1929 ซึ่งเป็นผลพวง
จากนโยบายทางการเมือง การคลังในสหรัฐฯ และแผ่ขยายปัญหาไป
ประเทศต่าง ๆ ทั้งอเมริกาและยุโรป วิกฤตนี้ยุติลงเพราะเกิดสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ขึ้น
	 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาท�ำตัวเป็นพี่ใหญ่เข้ามา
จัดการการเงิน(และการเมือง) ของประเทศต่าง ๆ ถ้าวิเคราะห์ให้ดี ๆ จะ
เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและลามไปทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลก
ครั้งที่2 ล้วนมีสหรัฐฯ เป็นส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างเช่น
วิกฤตที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายอย่างมหาศาลของรัฐบาลสหรัฐฯ ในสงคราม
เวียดนาม ท�ำให้ประธานาธิบดี Richard Nixon ออกมาประกาศยกเลิก
BrettonWoodSystem ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว และประกาศขึ้น
ภาษีน�ำเข้าสินค้าเข้าประเทศสหรัฐฯ อีกร้อยละ10 เหตุการณ์ครั้งนั้นชาว
ญี่ปุ่นเรียกว่าNixonShock เกิดความโกลาหลทั่วตลาดการเงินในประเทศ
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนจาก 380 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
มาจบลงสุดท้ายที่ 254 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้สินค้าญี่ปุ่นที่ส่งเข้า
สหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น และรัฐบาลญี่ปุ่นก็ถูกบีบต่อให้แข็งค่าเงินขึ้นจนใน
ที่สุดมาจบที่143 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ.1989 เมื่อประสบปัญหา
ทางเศรษฐกิจจากอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลญี่ปุ่นต้องออกมาตรการ
สร้างสภาพคล่องทางการเงินและลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อรักษาอัตรา
แลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งตัวไปกว่านี้ และรีบเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน
ประเทศด้วยการลงทุนมหาศาลทั้งด้านสาธารณูปโภคและการคมนาคม
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 31
ญี่ปุ่นด�ำเนินนโยบายดอกเบี้ยต�่ำและเพิ่มสภาพคล่องให้เกิดขึ้นในตลาด
เงิน สภาพคล่องและดอกเบี้ยต�่ำนี้น�ำมาซึ่งวิกฤตฟองสบู่ในประเทศภายใน
10 ปีให้หลัง ประเทศอื่น ๆ ทางยุโรปก็ต้องตั้งค่าเงินของตัวเองใหม่
เทียบกับเงินดอลลาร์ หลายประเทศต่างต้องปรับค่าเงินของตัวเองให้
แข็งขึ้น ตามมาด้วยราคาน�้ำมันที่สูงขึ้นในสงคราม Gulf War ท�ำให้เกิด
วิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปและญี่ปุ่น รวมถึง
ประเทศที่ก�ำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย
	 วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือ OilCrisis หรือวิกฤต
พลังงาน เหตุการณ์ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1973-1974 และตามมาใน
ปี ค.ศ. 1979 วิกฤตพลังงานนี้กระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นใน
อังกฤษลดลงร้อยละ 73 ในนิวยอร์กตลาดหุ้นลดลงร้อยละ 45 เศรษฐกิจ
ประเทศที่พึ่งพาการน�ำเข้าน�้ำมันจากตะวันออกกลางต่างหยุดชะงักลง
ต่างต้องรีบปรับตัวให้เข้ากับราคาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและตามมา
อีกครั้งในสงคราม Gulf War ในปี ค.ศ. 1990
	 สาเหตุที่เกิดวิกฤตพลังงาน ทั้งนี้เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการเพิ่มปริมาณการใช้รถยนต์ ท�ำให้
ความต้องการน�้ำมันเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ในช่วงปี ค.ศ. 1960-1970
สหรัฐฯ แคนาดา และเวเนซุเอลา เป็นผู้ผลิตน�้ำมันรายใหญ่ ความต้องการ
ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วท�ำให้การผลิตใน 3 ประเทศมาถึงจุดสูงสุด หลัง
ปี ค.ศ. 1970 หลายประเทศจ�ำต้องพึ่งแหล่งผลิตอื่น เช่น ประเทศใน
ตะวันออกกลาง ในช่วงนั้นเกิดความขัดแย้งอย่างมากระหว่างอิสราเอล
(ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นผู้หนุนหลังอยู่) กับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นมุสลิม
ในตะวันออกกลาง สงครามYamKipper ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ใน
ที่ราบสูง Golan เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1974 องค์กร Arab
32 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
Petroleum Exporting Countries (APEC) ประกาศงดส่งน�้ำมันดิบไปยัง
ประเทศที่สนับสนุนอิสราเอลที่เข้าสู่สงคราม ราคาน�้ำมันดิบดีดตัวสูงขึ้น
จาก50 เซนต์ต่อบาร์เรล มาที่15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ท�ำให้เกิดOilShock
ไปทั่วโลก ตามมาด้วยวิกฤตในตลาดหุ้นใหญ่ ๆ ทั่วโลก สถานการณ์ด้าน
น�้ำมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี ค.ศ.1975 ภายหลังจากที่สหรัฐฯ พยายาม
สร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง
	 วิกฤตน�้ำมันเกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ.1979 เมื่อเกิดการปฏิวัติโค่นล้ม
พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน AyatollahKhomeini ก็ขึ้นมาเป็นผู้น�ำ อิหร่านหยุด
ส่งน�้ำมันให้ประเทศตะวันตก ราคาน�้ำมันดิบสูงขึ้น แต่ประเทศอื่น ๆ ใน
OPEC รีบเร่งการผลิตชดเชยจากที่ขาดหายไปจากอิหร่าน ด้วยการหนุน
หลังของสหรัฐฯ อิรักท�ำสงครามกับอิหร่าน ผลของสงครามท�ำให้การผลิต
น�้ำมันทั้งสองประเทศหยุดชะงักลง ราคาน�้ำมันดิบขยับมาสูงถึง35 ดอลลาร์
ต่อบาร์เรล เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปทั่วโลกตามมาอีกครั้งหนึ่ง
	 วิกฤตน�้ำมันเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในปี ค.ศ. 1990 อิรักบุกเข้ายึด
ประเทศคูเวต (Gulf War) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990 ช่วง 9 เดือน
ของการท�ำสงครามที่สหรัฐฯ เป็นผู้น�ำในการท�ำสงครามกับอิรัก ราคา
น�้ำมันขยับจาก 17 ดอลลาร์ฯ ในช่วงก่อนสงครามมาที่ 36 ดอลลาร์ต่อ
บาร์เรล หลังจากนั้นมีอีกหลาย ๆ ครั้งของการขยับราคาน�้ำมันขึ้นสูง ซึ่ง
ส่วนใหญ่ในระยะหลังเกิดขึ้นจากความต้องการน�้ำมันที่สูงขึ้นและการปั่น
ราคาจากกองทุนHedgeFund เช่น ในปี ค.ศ.2004 ราคามาสู่จุดสูงสุด
ที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 มาสูงสุดที่ 75
ดอลลาร์และสูงสุดที่ 99 ดอลลาร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 แต่แล้ว
ราคาน�้ำมันก็กลับลดลงมาที่ 70 ดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014
(จากที่สูงสุด 110 ดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้านี้) และแล้วราคาน�้ำมัน
ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 33
ก็กลับตกลงมาที่ 45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015
เนื่องจากความต้องการใช้น�้ำมันลดลงเพราะเศรษฐกิจทั่วโลกก�ำลังถดถอย
อีกทั้งปริมาณของ Shale Gas ที่ผลิตได้จากสหรัฐฯ ทะลักเข้าสู่ตลาด
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงปี ค.ศ. 1929
(Great Depression)
	 วิกฤตครั้งร้ายแรงนี้เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1929 (Great Depression)
ในสมัยของประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt และต่อเนื่องมา
ตลอดจนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 วิกฤตนี้เกิดขึ้นที่ตลาดทุนของ
สหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม ค.ศ.1929 ซึ่งเรียกกันว่า “BlackTuesday”
และวิกฤตที่เกิดขึ้นท�ำให้ตลาดทุนของสหรัฐอเมริกาถูกกระทบอย่างรุนแรง
และแผ่ขยายไปทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ หยุดชะงัก หลายธุรกิจ
ต้องล้มละลาย การค้าระหว่างประเทศลดลงกว่าครึ่ง เกิดคนว่างงาน 25
เปอร์เซ็นต์ในตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกา
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน
การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน

Contenu connexe

En vedette

How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
ThinkNow
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Kurio // The Social Media Age(ncy)
 

En vedette (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

การเมือง เศรษฐกิจ การเงิน

  • 1.
  • 2.
  • 4. การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ราคา 175 บาท ISBN : พิมพ์ ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2558 จ�านวนหน้า 120 หน้า รวมปก สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ห้ามลอกเลียนแบบส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ 2558 บริษัท อินโนเวชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จ�ากัด บรรณาธิการกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น กุลวดี ธ�ำรงค์ธนกิจ นุชสราวดี แวดอุดม พรทิพย์ ก๊วยสินทรัพย์ บรรณาธิการที่ปรึกษา ศศิพิมพ์ จิรศักดิ์ คอมพิวเตอร์กราฟิก ธงชัย กมลรัตน์ พิมพ์ที่ บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จ�ำกัด
  • 5. ค�ำน�ำผู้เขียน เพื่อน ๆ คงจะแปลกใจที่เห็นหนังสือ “การเมือง เศรษฐกิจ และ การเงิน” แหวกแนวจากหนังสือที่ผมเคยเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี หลังจากจบหนังสือ “โลกของยาง” ผมตั้งใจไว้ว่าจะเขียนหนังสือ แนวเทคโนโลยีอีกเรื่องโดยไปสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ที่ประสบความส�ำเร็จจาก การบุกเบิกธุรกิจโดยการใช้ความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจนสามารถสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโต เป็นแบบอย่างให้ พวกเราศึกษา แต่ยังไม่ได้ลงมือเพราะมีงานเร่งด่วนเข้ามาตลอดเวลา ยิ่งเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศชะลอตัวลง งานยิ่งมากขึ้น เลยไม่มี เวลาไปสัมภาษณ์นักธุรกิจตามที่ได้นัดหมายไว้สักที ในช่วงเกือบ10 ปี ที่ผ่านมา ผลจากการออกQE ของสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยได้รับผลจากการออก QE ท�ำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยก็ลดลง อัตราแลกเปลี่ยนไทย(เงินบาท) แข็งค่าขึ้นตาม ประเทศเพื่อนบ้าน อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนอยู่ตลอดเวลาตามการเข้า ออกของเงินที่เข้ามาเป็นระลอก ๆ โดยทั่วไป ประเทศในแถบเอเชียยังมี อัตราการเติบโตร้อยละ3-9 แล้วแต่ประเทศ เพราะผลพวงจากการเติบโต ของเศรษฐกิจในประเทศจีนที่ยังไปได้ดี รายได้มวลรวมประชาชาติของจีน ยังเติบโตได้เกินร้อยละ 10 มาตลอด แม้ในประเทศไทยจะเกิดเหตุการณ์ ทางการเมืองวุ่น ๆ มาตลอด 10 ปี กิจการของกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นยัง ไปได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับการชะลอตัวในเศรษฐกิจโลกและในเมืองไทย ทั้งนี้เพราะเราเร่งหาธุรกิจและตลาดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาความผันผวนของ
  • 6. อัตราแลกเปลี่ยนมีผลกับผลประกอบการขององค์กรนี้ อัตราแลกเปลี่ยน ผันผวนไปบางวัน 20-30 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจของเรามี การน�ำเข้าและส่งออกสินค้าจ�ำนวนมาก การก�ำหนดต้นทุนทั้งน�ำเข้าและ ส่งออกขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมาก ความผิดพลาดจากการดูแล อัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลต่อผลประกอบการอย่างยิ่ง เราเคยเสียหาย จากอัตราแลกเปลี่ยนครั้งละหลายสิบล้านบาท ทั้งนี้เพราะความ ด้อยประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่การเงินของเราที่หลงเชื่อในวิธีการดูแล อัตราแลกเปลี่ยนโดยใช้ options แปลก ๆ ที่ธนาคารเสนอมา ผมจึงต้องมา ดูแลการเงินขององค์กรอย่างใกล้ชิด หลังจากที่สหรัฐอเมริกายกเลิกQEหลังกลางปีพ.ศ.2557และประเทศ จีนเจอปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมาก อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน มากยิ่งขึ้น ท�ำให้ต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด จากที่ต้องกลับมาดูการเงินใหม่ท�ำให้ต้องติดตามทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และการเงินอย่างใกล้ชิด ผมเริ่มเขียนบทความทางการเงิน และเศรษฐกิจ ให้พนักงานภายในองค์กรอ่านเป็นประจ�ำ คุณกุลวดี ธ�ำรงค์ธนกิจ ผู้บริหาร ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และจัดการของกลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นเสนอให้รวบรวม เป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ เพื่อแจกให้เพื่อน ๆ ในสิ้นปีนี้ นี่คือที่มาของหนังสือ “การเมือง เศรษฐกิจและการเงิน” ที่ท่านถืออยู่นี้ จ�ำได้ดีว่า สมัยเรียน “การเงินระหว่างประเทศ”กับ อาจารย์ เอกกมล คีรีวัฒน์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในตอนนั้น ท่านสอน อยู่ค�ำหนึ่งตอนจบวิชานี้ว่า “จ�ำไว้ คุณรู้เรื่องการเงิน แต่คุณอย่าเสี่ยงกับ อัตราแลกเปลี่ยน อนุรักษ์นิยมไว้ ป้องกันความเสี่ยงอันจะเกิดจากความ
  • 7. ผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน เท่านี้คุณก็เป็นผู้บริหารการเงินที่ใช้ได้แล้ว” นี่คือค�ำสอนที่ผมน�ำมาใช้ตลอดครับ สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณ คุณปณิธาน ชุณหสวัสดิกุล ที่ช่วยอ่าน บทความและให้ค�ำแนะน�ำอันเป็นประโยชน์ในการเขียนมาโดยตลอด อีกทั้งคอยสนับสนุนและเป็นก�ำลังใจให้ผู้เขียนกล้าน�ำเสนอบทความ ที่เป็นข้อคิดเห็นของตนเอง และขอขอบคุณทีมงานกองบรรณาธิการ กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นตลอดจนทีมงานทุกคนที่ช่วยสนับสนุนการจัดท�ำ หนังสือในครั้งนี้ ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล
  • 8. นานาประเทศล้วนตกอยู่ในอุ้งเล็บพญาอินทรี..........................................................หน้า 9 • สงครามเย็น • ฉันทามติวอชิงตัน • การค้าเสรี • Quantitative Easing • กองทุน Hedge Fund วิกฤตเศรษฐกิจ.........................................................................................................................................หน้า 29 • วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงปี ค.ศ. 1929 • วิกฤต “ต้มย�ำกุ้ง” • วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา (ปี ค.ศ. 2008) การพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น................................................................................................หน้า 47 • การเกิดฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นในประเทศญี่ปุ่น “นโยบายประชานิยม” อันน�ำมาซึ่งความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ. ...หน้า 55 • วิกฤตเศรษฐกิจในลาตินอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1980-2000 • วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในกรีซ สารบัญ
  • 9. การพัฒนาเศรษฐกิจของจีน. ......................................................................................................หน้า 65 • เมื่อมังกรขึ้นผงาดฟ้า • เงามืดที่คืบคลานเข้ามา • จีนก�ำลังเผชิญกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ • มังกรเซ ทั่วโลกผวา สถานการณ์เศรษฐกิจโลก.............................................................................................................หน้า 83 • ผลกระทบจากราคาน�้ำมันที่ลดลง • สงครามเย็นครั้งที่ 2 • สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี ค.ศ. 2015-16 • ส่องกล้องมองเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า • ประเทศไทยต้องการผู้น�ำที่เข้มแข็งมาเยียวยาเศรษฐกิจไทย เกี่ยวกับผู้เขียน......................................................................................................................................หน้า 115 แหล่งข้อมูลอ้างอิง.............................................................................................................................หน้า 116
  • 10. 8 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
  • 11. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 9 ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากสนธิสัญญาสงบศึกที่ญี่ปุ่นท�ำไว้ กับสหรัฐฯ และอีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจของ ญี่ปุ่นเติบโตได้ด้วยการพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ มาตลอด เมื่อถึงเวลาที่สหรัฐฯ จะปิดล้อมจีน ญี่ปุ่นจึงต้องรีบ ออกหน้าแสดงตัวเป็นพันธมิตรที่แสนดีของสหรัฐฯ โดยการหัน มาเป็นคู่อริกับจีน ยอมเสี่ยงที่จะสูญเสียตลาดจีนบางส่วนไป นานาประเทศล้วนตกอยู่ในอุ้งเล็บ พญาอินทรี 1 ภาคที่ ผู้เขียนได้เคยกล่าวไว้ในหลายบทความถึงเงาทะมึนแห่งพญาอินทรี ที่มีอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเงินในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก และยังได้เปรียบเทียบรัฐบาลญี่ปุ่นว่า เหมือนงูใหญ่ที่ ผงาดขึ้นโดยการด�ำเนินนโยบายธุรกิจเชิงรุกในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา ทว่า งูใหญ่ตัวนี้กลับถูกผูกไว้ด้วยเชือกกล้วยของสหรัฐอเมริกาตลอดเวลา งูใหญ่ตัวนี้จะสงบนิ่ง รอฟังเสียงเพียงค�ำบัญชาจากพญาอินทรี
  • 12. 10 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” แม้แต่ประเทศไทยเราเอง มองอย่างผิวเผินก็ไม่รู้ตัวว่าได้ตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลของสหรัฐฯ มาโดยตลอดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 ผู้เขียน จึงอยากอธิบายให้เห็นว่าสหรัฐฯ มีบทบาททางการเงินเหนือประเทศอื่น ๆ ได้อย่างไร และด้วยอ�ำนาจทางการเงินนี่เองที่ท�ำให้สหรัฐฯ มีอิทธิพลใน ระบบเศรษฐกิจการเงิน และยังมีบทบาททางการเมืองเหนือประเทศต่าง ๆ ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป และเอเชียต่างตกอยู่ในสภาวะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยสงคราม มีเพียง สหรัฐฯ เท่านั้นที่ภายในประเทศได้รับความบอบช�้ำจากภัยสงคราม น้อยมาก พอสิ้นสุดสงคราม สหรัฐฯ มีทองค�ำซึ่งเป็นวัตถุหลักแทนเงินตรา ที่ใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศ จ�ำนวนร้อยละ 65 ของทองค�ำทั่วโลก (คิดเป็นเงิน 26 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งอยู่ใน Fort Knox ของ สหรัฐอเมริกา เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกได้มีการประชุมพันธมิตร 44 ประเทศผู้ชนะสงครามที่ Mount Washington, Bretton Woods รัฐ New Hampshire ในวันที่ 7-22 กรกฎาคม ค.ศ.1944 เพื่อหารือถึง มาตรการทางการเงินที่จะเป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐานทางการค้า ระหว่างประเทศต่อไป นี่คือที่มาของ The Bretton Woods System หรือบางท่าน อาจรู้จักในชื่อ “ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่” โดยยึดค่าทองค�ำซึ่ง มีค่าเท่ากับ 35 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อทองค�ำหนัก 1 Troy ounce ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ได้ตั้งค่าอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินตัวเองให้ เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ วิธีการนี้ อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศต่าง ๆ จึง ผันแปรขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจและเงินส�ำรองภายในประเทศของประเทศใน ขณะนั้น แต่ค่าดอลลาร์สหรัฐจะผันแปรไม่ได้เพราะผูกติดกับค่าทองค�ำ
  • 13. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 11 นั่นเอง ในการประชุมครั้งนั้นท�ำให้มีการก่อตั้ง กองทุนการเงินระหว่าง ประเทศหรือInternationalMonetaryFund(IMF)ดูแลระบบการเงินทั่วโลก ขึ้นเมื่อ 27ธันวาคมค.ศ.1945และ International Bank for Reconstruction and Development (IBRD) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือการเงิน ประเทศสมาชิก ด้วยเหตุนี้ พญาอินทรีจึงได้เข้ามาดูแลและบริหารการเงินประเทศ ต่าง ๆ แทนสหราชอาณาจักรอังกฤษนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในช่วงปี ค.ศ.1950-1970 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประเทศต่าง ๆ ได้เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของตนเอง เงินดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นพระเจ้า สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือนานาประเทศในยุโรปให้ ผ่านพ้นวิกฤตด้วย แผน Marshall Plan (สหรัฐฯ เองก็มองว่าหากขาด ตลาดยุโรป สหรัฐฯ คงไม่อาจสร้างเศรษฐกิจของตนให้เติบโตได้ จึงต้องให้ ความช่วยเหลือบรรดาประเทศในแถบยุโรป) สหรัฐฯ ต้องยอมขาดดุลการ ช�ำระเงินแก่ประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เงินสกุลดอลลาร์แพร่เข้าไปยังประเทศ เหล่านั้น ประเทศในแถบยุโรปและญี่ปุ่นต่างใช้นโยบายประหยัด และ ความขยัน มุมานะในการสร้างประเทศ เงินออมที่ได้มานั้น ได้เอามา แลกเปลี่ยนเป็นทองค�ำ (ราคาทองค�ำในตลาดเสรีสูงกว่าราคาทองค�ำที่ IMF ก�ำหนดไว้) จนทองค�ำในสหรัฐฯ ร่อยหรอลง สหรัฐฯ ต้องก�ำหนด ภาษีร้อยละ 10 ส�ำหรับการน�ำเงินสหรัฐฯ มาแลกเป็นทองค�ำ ในเวลานั้น ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามปรับอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินของตัวเอง ให้อ่อนลงเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการส่งออก มีแต่เงินสกุลดอลลาร์ เท่านั้นที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไปผูกติดไว้กับค่าทองค�ำ
  • 14. 12 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” ในช่วงปี ค.ศ.1963-1975 สินค้าต่าง ๆ ได้ทะลักจากยุโรปและญี่ปุ่น เข้าสหรัฐฯ ในเวลานั้น สหรัฐฯ แสดงบทบาทเป็นพี่ใหญ่เพื่อต่อต้านสหภาพ โซเวียตและจีน และสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามกับประเทศเกาหลีและต่อด้วย สงครามเวียดนามซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่มีรัสเซียและจีน หนุนหลังอยู่ สหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายในสงครามสองครั้งนี้สูงมากจนท�ำให้ เกิดภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอยภายในประเทศ ในปี ค.ศ.1958 ประธานาธิบดี Eisenhower จึงจ�ำต้องตั้งนโยบายโควตาจ�ำกัดการน�ำ สินค้าจากต่างประเทศเข้าสหรัฐฯ ในปี ค.ศ.1971 ประธานาธิบดี Richard Nixon ประกาศยกเลิก ระบบเงินดอลลาร์สหรัฐที่ได้ผูกติดกับทองค�ำ ซึ่งถือเป็นการยกเลิกระบบ Fixed Foreign Exchange Rate และเข้าสู่ ระบบ Floating Rates ซึ่งประเทศต่าง ๆ ก็ต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเองใหม่เพื่อให้เข้ากับ ดอลลาร์สหรัฐ ประธานาธิบดีNixon เริ่มด�ำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า โดยตั้งระบบภาษีศุลกากร และระบบโควตาการน�ำเข้าสินค้าจากประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งเรียกขานกันในประเทศญี่ปุ่นว่า Nixon Shock เนื่องจากญี่ปุ่น ต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนตัวเองให้แข็งค่าขึ้นจาก 380 เยนต่อดอลลาร์
  • 15. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 13 สหรัฐ มาอยู่ที่ 254 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้สินค้าน�ำเข้าจากญี่ปุ่น มีราคาสูงขึ้นในสหรัฐฯ เป็นเหตุให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยเป็นเวลาหลายปี ในแถบยุโรปประเทศใหญ่ ๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ได้รวมกลุ่มกันภายใต้ สนธิสัญญา Treaty of Rome 1957 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ European Economic Community (EEC) เริ่มต้นจากการรวมตัวของ Coal and Steel Union จากประเทศสมาชิกเหล่านี้ ประเทศในกลุ่ม EEC เริ่มหารือกันถึงการ ค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอันน�ำไปสู่ Common Market และการ รวมตัวเพื่อสร้างเศรษฐกิจร่วมกันในหมู่สมาชิก ประเทศเหล่านี้ได้หัน มาตั้งอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกเป็นเวลาหลายปี นี่คือ จุดเริ่มต้นของสหภาพยุโรป (European Union) ในช่วงเวลาต่อมา สงครามเย็น (Cold War) การเงิน เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งสามปัจจัยนี้เกี่ยวโยงและเกี่ยว เนื่องกันอยู่ตลอดเวลา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดระบบด้าน เศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันอยู่2 ขั้วอย่างเด่นชัด คือ ระบบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ ซึ่งน�ำโดยรัสเซียและจีนเป็นพี่ใหญ่ และระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นอีกขั้วอ�ำนาจที่น�ำโดยสหรัฐฯอังกฤษเยอรมนีฝรั่งเศสอิตาลีและญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะความเชื่อด้านเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน หลัง สงครามโลกครั้งที่2 มีการแบ่งประเทศเยอรมนีออกเป็น เยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก การแบ่งประเทศในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อมีการประชุม ระหว่างประธานาธิบดีRoosevelt ของสหรัฐฯ กับนายกรัฐมนตรีChurchill ของอังกฤษ และ ประธานาธิบดี Joseph Stalin ผู้น�ำของรัสเซีย ที่เมือง
  • 16. 14 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” Yalta ท�ำให้มีการแบ่งเยอรมนีออกเป็นสองฝั่งดังกล่าว ประเทศเล็ก ๆ ทางฟากตะวันออกของยุโรปก็ได้เข้าร่วมกับรัสเซีย ท�ำให้ยุโรปถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ทางด้านเอเชียหลังจากที่จีนขับไล่รัฐบาลก๊กมินตั๋งของ เจียง ไคเช็ก ออกจากแผ่นดินใหญ่ จีนได้เข้าไปช่วยเหลือประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลี เพื่อรวมเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ให้เป็นประเทศเดียวกัน รวมถึง เวียดนาม ให้กอบกู้อิสรภาพจากการปกครองของฝรั่งเศสและรวม ประเทศเวียดนาม น�ำมาซึ่งสงครามในสองประเทศนี้อย่างต่อเนื่องและ ยาวนาน สงครามเกาหลีและเวียดนามในครั้งนี้เป็นดั่งสัญลักษณ์แห่ง สงครามระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์และประเทศประชาธิปไตยอย่าง สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯพยายามปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศต่างๆในยุโรป ในปี ค.ศ.1961 สหรัฐฯ ได้ตั้งฐานจรวดขีปนาวุธ (American Jupiter Ballistic Missiles) ที่อิตาลีและตุรกี ซึ่งมีระยะท�ำการถึง Moscow เมือง หลวงของรัสเซีย ท�ำให้ประธานาธิบดี Nikita Khrushchev ไม่พอใจเป็น อย่างมาก รัสเซียจึงได้เจรจากับคิวบาเพื่อติดตั้งขีปนาวุธที่ปากประตู บ้านของสหรัฐฯ ครั้งนั้นเรือบรรทุกขีปนาวุธจากรัสเซียได้แล่นเข้าสู่อ่าว เม็กซิโก เรือรบสหรัฐฯ พร้อมทั้งเครื่องบินรบได้ตามติดเรือรบรัสเซียบังคับ ให้หันหัวเรือกลับ และยังนับถอยหลังเพื่อเข้าโจมตีทันที ในที่สุดเรือรบ รัสเซียก็ต้องหันเรือกลับ นี่ถือว่าเป็นจุดตึงเครียดที่สุดระหว่างสองมหาอ�ำนาจ และคิวบาก็นับเป็นหนามยอกอกของสหรัฐฯ มาเป็นเวลา 30 ปี สงครามเย็นที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 30 ปี เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น มากมาย นอกจากความขัดแย้งอย่างหนักที่เกิดขึ้นในเวทีโลกอย่างการ ประชุมของสหประชาชาติแล้ว ประเทศสมาชิกในกลุ่มNATO(ซึ่งปัจจุบัน มี28 ประเทศ) รวมตัวกันเพื่อปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป และใน
  • 17. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 15 เอเชียสหรัฐฯ ยังได้ก่อตั้งองค์กร SEATO ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้ ปิดล้อมจีนทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านเหนือของ เอเชีย สหรัฐฯ คงฐานทัพเรือที่7 ที่โอกินาวาและกองทัพทหารที่เกาหลีใต้ เพื่อปิดล้อมจีนในเอเชียด้านเหนือ สงครามเย็นน�ำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์ทางการเมืองและการเงินมากมาย การเปลี่ยนแปลง อย่างหนึ่งทางการเงินก็คือ การเกิดของตลาดเงินดอลลาร์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ใต้ การควบคุมของสหรัฐฯคือตลาดทุน Euro-dollarต่อมาตลาดทุนนี้เติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว เพราะประเทศผู้ส่งออกน�้ำมัน (OPEC) ซึ่งมีเงินดอลลาร์ อยู่มากมาย ได้น�ำเงินของประเทศตนไปฝากในตลาดทุนนี้ที่ไม่อยู่ในการ ควบคุมของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเงินทุนนี้เริ่มต้นตลาดทุนนี้เกิดขึ้นเพราะ รัฐบาลรัสเซียย้ายเงินฝาก (ดอลลาร์) ออกจากธนาคารในสหรัฐฯ เพราะ เกรงว่าหากเกิดวิกฤตทางการเมือง เงินที่ฝากไว้ในสหรัฐฯ จะมีปัญหา จึงมีการโยกย้ายเงินฝากจากธนาคารในสหรัฐฯ มาเปิดบัญชีใหม่ในสกุล ดอลลาร์ในยุโรป นี่คือที่มาของกองทุนขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายอย่างเสรี ในตลาดเงินทั่วโลก และท�ำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการเงินสู่เอเชียและ ลาตินอเมริกาในช่วง Easy Credit ในช่วงปี ค.ศ.1990 ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) นี่คือสิ่งที่สหรัฐฯ จัดท�ำขึ้นมาเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกที่สาม เดินตามเส้นทางที่ก�ำหนดไว้ โดยมาพร้อมกับค�ำเชิญชวนและโฆษณา อันสวยหรูถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม หากประเทศใด น�ำไปปฏิบัติ ประเทศนั้นก็จะบรรลุเป้าหมายทางด้านความมั่งคั่งและมี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ฉันทามติวอชิงตันนี้เป็นที่มาของ “โลกาภิวัตน์” หรือ “Globalization” ในเวลาต่อมา
  • 18. 16 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” ความเป็นมาของฉันทามติฯ นี้เกิดขึ้นจากการน�ำเสนอ หลักปฏิบัติการ 10 ข้อ โดย John Williamson นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษที่ท�ำงานที่ The Institute for International Economics ใน Washington, D.C. จุดมุ่งหมายของการน�ำเสนอฉันทามติฯ 10 ข้อนี้คือ เพื่อแก้ปัญหา เศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศลาตินอเมริกาทั้งหลายช่วงปลาย ปี ค.ศ.1970 ต่อเนื่องไปถึงปี ค.ศ.1980 หลักปฏิบัติการ 10 ข้อที่น�ำเสนอโดย Williamson มีดังนี้ 1) ให้มีความเข้มงวดทางการเงิน โดยเน้นให้การขาดดุลการเงิน สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้มวลรวมประชาชาติ ของประเทศ 2) ให้เร่งลดการใช้จ่ายสาธารณะ (Public Spending) ที่เร่งการ เติบโตทางเศรษฐกิจ ลดเงินอุดหนุนทางสังคม สาธารณสุขและ การสาธารณูปโภค 3) ให้ปรับปรุงระบบภาษีให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายภายในประเทศ 4) ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของตลาด 5) ให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถกระตุ้นการส่งออก เพื่อเกิดการ แข่งขันได้ในตลาดสากล 6) ให้มีนโยบายการค้าเสรี ลดการกีดกันทางการค้าและมีระบบ พิกัดภาษีศุลกากรที่เป็นสากล 7) ให้มีนโยบายการลงทุนจากต่างประเทศโดยเสรี 8) ให้แปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน 9) ให้ลดและยกเลิกกฎข้อห้ามของสินค้าน�ำเข้ายกเว้นสินค้าที่อาจ มีปัญหาทางความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและต่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค หรือสถาบันการเงิน 10) ให้มีกฎหมายสิทธิบัตร
  • 19. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 17 วิกฤตน�้ำมันเกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ.1970-1980 เพราะประเทศ ผู้ผลิตและส่งออกน�้ำมัน(OPEC) ร่วมมือกันจ�ำกัดจ�ำนวนน�้ำมันให้ผลิตใน ประเทศผู้ผลิตและก�ำหนดราคาน�้ำมันร่วมกัน ท�ำให้ราคาน�้ำมันจากราคา ต�่ำกว่า 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ พุ่งสูงถึง 35 เหรียญดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี ค.ศ. 1979 ท�ำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อในประเทศ ต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งการน�ำเข้าน�้ำมันดิบ ประเทศก�ำลังพัฒนาในแถบเอเชีย และลาตินอเมริกาต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน�้ำมันที่สูง ขึ้น ประเทศเหล่านี้ก�ำลังอยู่ในระยะพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยอุตสาหกรรมเริ่มต้นเป็นอุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้า เพื่อปกป้อง อุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้าที่มีขนาดเล็กและต้นทุนการผลิตที่สูง แต่ละประเทศต่างก็อาศัยวิธีการปกป้องอุตสาหกรรมของตนเองโดยการ ตั้งก�ำแพงภาษีน�ำเข้าหรือห้ามน�ำเข้าสินค้าบางประเภท โดยรัฐบาลจะเป็น ผู้ลงทุนในสาธารณูปโภคของประเทศ ประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้นก็ได้รับผลกระทบจากNixonShock และ ราคาน�้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องรีบปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ของอุตสาหกรรมภายในประเทศ และโยกย้ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไป ยังต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เพื่อเป็นอุตสาหกรรมส่งออกด้วยนโยบายส่งเสริมการลงทุนประเทศไทย ในขณะนั้น ประเทศไทยได้รับอานิสงส์จากการโยกย้ายการลงทุนออกนอก ประเทศจากทั้งญี่ปุ่นและไต้หวันเพื่อมาลงทุนในประเทศที่มีต้นทุนแรงงาน ที่ถูก ท�ำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศ ก�ำลังพัฒนาที่มีการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และขึ้น มาเป็นหนึ่งในห้าเสือของเอเชียในขณะนั้น
  • 20. 18 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” ในช่วงนั้นเศรษฐกิจของประเทศในลาตินอเมริกาก็ได้รับผลกระทบ จากราคาน�้ำมันเช่นเดียวกับประเทศก�ำลังพัฒนาอื่น ๆ ทั่วโลก รัฐบาลใน ประเทศแถบลาตินอเมริกาต่างด�ำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทน การน�ำเข้า และนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้าของตนเอง รัฐให้เงินสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมสาธารณูปโภค แต่เนื่องด้วย การปรับขึ้นราคาน�้ำมันตลอดเวลา20 ปี ประเทศเหล่านี้จึงมีหนี้สินซึ่งเกิด จากเงินกู้ภายนอกเพิ่มขึ้นมากมาย ร่วมกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมาก ในสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 1978 ท�ำให้ประเทศเหล่านี้มีหนี้ที่สูงขึ้น ประเทศ เหล่านี้ไม่มีรายได้จากการส่งออกดังเช่นประเทศก�ำลังพัฒนาในเอเชีย เพราะความอ่อนแอของอุตสาหกรรมในประเทศ เพราะมุ่งเน้นเฉพาะ อุตสาหกรรมทดแทนการน�ำเข้าและด้วยการปกป้องอุตสาหกรรมเหล่านี้ ท�ำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนาด้านขีดความสามารถและ เทคโนโลยีการผลิต ประเทศในลาตินอเมริกาหลายประเทศต้องเข้าสู่ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและเกิดสภาวะเงินเฟ้อสูงมาก ท�ำให้ประเทศ เหล่านี้ต้องเข้าไปขอความช่วยเหลือจาก IMF ด้วยเหตุนี้ IMF จึงใช้นโยบาย ฉันทามติวอชิงตันบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามเพื่อแลกกับ เงินช่วยเหลือ ฉันทามติฯ ถูกมองว่าเป็นนโยบายส�ำเร็จรูปที่น�ำไปใช้กับประเทศ ต่าง ๆ ที่ขอความช่วยเหลือจาก IMF ประเทศไทยและประเทศในเอเชีย ก็เคยขอความช่วยเหลือจากIMF ในช่วงวิกฤตเอเชีย(วิกฤต ”ต้มย�ำกุ้ง”) และฉันทามติฯ นี้ท�ำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมกับประเทศที่ถูกบังคับให้ ใช้อย่างมาก ฉะนั้นฉันทามติฯ นี้ จึงได้รับการยอมรับลดลงเรื่อย ๆ และ ในช่วงปี ค.ศ.1900-2000 มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง และทางการเงินเกิดขึ้นมากมาย เกิดสภาพคล่องทางการเงินและตาม
  • 21. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 19 มาด้วยวิกฤตต่าง ๆ การพัฒนาด้านการสื่อสาร การเคลื่อนย้ายของ เงินทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา ท�ำให้ทุกอย่างเคลื่อนย้าย จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคอื่นได้อย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากประเทศหนึ่งจะกระทบไปยังประเทศหรือภูมิภาค อื่นอย่างต่อเนื่อง นี่คือที่มาของ โลกาภิวัตน์ การค้าเสรี หรือ Free Trade Agreement การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย เป็นการประชุมเพื่อเจรจาหาข้อตกลง ทางการค้าครั้งที่ 8 โดยเป็นการเจรจาของ General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) การเจรจานี้ใช้เวลาเจรจายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ.1988-1995 โดยมีประเทศเข้าร่วมประชุม123 ประเทศ ผลของการ ประชุมน�ำมาซึ่งการก่อตั้ง องค์การการค้าโลก หรือที่รู้จักกันว่า World Trade Organization (WTO) โดยมี GATT (General Agreement on TariffsandTrade) เป็นสาระส�ำคัญในข้อตกลงในWTO การเจรจาจบสิ้น ในปี ค.ศ. 1995 ในการประชุมหาข้อตกลงการค้าในองค์การการค้าโลก ที่มีสมาชิก มากกว่า140 ประเทศ การตกลงในข้อเสนอทุกครั้งเป็นไปอย่างล่าช้า ท�ำให้ ประเทศต่าง ๆ เริ่มเปิดเจรจาการค้าในกลุ่มประเทศข้างเคียงเป็นสนธิ สัญญาการค้าระหว่างกัน อาจจะเป็นRegionalFreeTradeAgreement เช่น North America Free Trade Agreement (NAFTA) ที่เกิดขึ้นใน ประเทศอเมริกาเหนือ อันมีประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และ เม็กซิโก และในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเจรจาสนธิสัญญา มิตรภาพ และความร่วมมือของ 10 ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขณะเดียวกัน 28 ประเทศในกลุ่ม
  • 22. 20 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” ประเทศทางยุโรปได้รวมตัวกันก่อตั้งสหภาพยุโรป(EuropeanUnion) เพื่อ เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกในด้านค้าขาย การลงทุน และการบริการ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญามิตรภาพ และความร่วมมือ ระหว่าง 10 ประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เกิดขึ้นเริ่มต้นจากการ ประกาศ ปฏิญญากรุงเทพ(BangkokDeclaration) ระหว่าง5 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์) ที่จะร่วมเป็น พันธมิตรกันด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ในปี พ.ศ. 2510 ทั้งนี้เพราะ ความหวั่นเกรงการแผ่อ�ำนาจของเวียดนามเข้ามาในประเทศอินโดจีนก่อน และหลังสหรัฐฯ ถอนทหารออกจากเวียดนามในปี พ.ศ. 2516 ประเทศ บรูไนเข้าร่วมกลุ่มเป็นประเทศที่ 6 ในปี พ.ศ. 2538 ประเทศเวียดนาม ขอเข้าร่วมเป็นประเทศที่ 7 ตามมาด้วยประเทศลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียนกลายเป็น ฐานเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีประชากร 600 กว่าล้านคน เป็นร้อยละ 9 ของประชากรโลกและมีผลผลิตมวลรวมประชาชาติเกือบ 1.8 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯ และเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่สูง ท�ำให้ประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอยากมาเป็นพันธมิตรกับประเทศ กลุ่มอาเซียนนี้ ท�ำให้เกิดสนธิสัญญาการค้า ASEAN-Japan ในปี ค.ศ. 2008 ทั้งยังเกิด ASEAN-China ASEAN-India ASEAN-Australia-New Zealand และ ASEAN-Korea ในปี ค.ศ. 2010 รวมเรียกว่า ASEAN Plus Five สิ่งที่ตกลงกันภายใต้สนธิสัญญาเขตการค้าเสรีอาเซียน 10 ประเทศ จะก้าวสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี พ.ศ.2558 มีเป้าหมายว่า ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษี สินค้าที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศสมาชิกลงให้เหลือศูนย์ ยกเว้นสินค้าที่
  • 23. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 21 มีความอ่อนไหวบางประเภท และมีเป้าหมายเพื่อท�ำให้ภูมิภาคนี้เป็น 1) เป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกันและภาคการผลิตเดียวกัน 2) เป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก 3) เป็นภูมิภาคที่มีความเสมอภาคในการพัฒนาเศรษฐกิจ 4) เป็นภูมิภาคที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นภูมิภาคที่ส�ำคัญ ภายใต้ ความสามารถที่แตกต่างกันในการพัฒนาประเทศของประเทศสมาชิก EuropeanUnionหรือEUเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่อีกเขตเศรษฐกิจหนึ่ง ที่มีบทบาทมากในตลาดการค้าเสรี เพราะประกอบด้วยสมาชิก 23 ประเทศ ด้วยประชากร 500 ล้านคน และเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่และ ส�ำคัญของการค้าโลก โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 18.5 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ทั่วโลก เป้าหมายหลักของEU คือเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ สมาชิกให้เกิดความมีเสรีในการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน และประชากรในประเทศที่เป็นสมาชิก (Schengen Area) เพื่อน�ำไปสู่ การเป็น “ตลาดเดียว” ในยุโรป แต่ในจ�ำนวน 23 ประเทศนี้ มีประเทศ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และสวิตเซอร์แลนด์ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก “ตลาดเดียว” แต่ไม่รวมในด้านศุลกากร และระบบการเงินเดียวกัน เหมือนอีก 19 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2002 มีการก่อตั้งสถาบันการเงินแห่ง ยุโรปเพื่อจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ขึ้นเพื่อ ออกเงินตราสกุลเดียวกัน เพื่อใช้ในการค้าระหว่างประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม การเจรจาการค้าเสรีระหว่างสมาชิกก็ไม่ได้ผล ที่ดีเสมอไปเพราะประเทศคู่เจรจาต่างก็ต้องการปกป้องอุตสาหกรรม ในประเทศไม่ให้เสียเปรียบคู่ค้า แม้ผลเจรจาการลดภาษีออกมาส�ำเร็จ
  • 24. 22 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” แต่ประเทศต่าง ๆ ก็ออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-tariffbarrier-NTB)หรือมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด(Anti-dumping) ออกมาอยู่เสมอเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศของตน Quantitative Easing (QE) เป็นมาตรการพิเศษที่ธนาคารกลางของประเทศที่มีเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตนเอง ในเมื่อการกระตุ้นด้วย ระบบที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล ธนาคารกลางจะใช้วิธีการซื้อสินทรัพย์ทางการ เงินจากสถาบันทางการเงินหรือธนาคารพาณิชย์เป็นการกระตุ้นให้เกิด สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างมาก เป็นวิธีที่ผิดออกไปจากการที่รัฐบาล ออกมาขายพันธบัตรและรักษาดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร(Inter-bankrate) ในอัตราที่ก�ำหนดไว้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยธนาคารเข้าใกล้ศูนย์ วิธีขาย พันธบัตรรัฐบาลจะไม่ได้ผล ประเทศใหญ่ ๆ เหล่านั้นจะออกQE มาเพื่อ ซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจากธนาคารและลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว การออก QE นี้มีมาตั้งแต่ตอนเกิดวิกฤตตลาดหุ้นในนิวยอร์ก (Great Depression) ในปี ค.ศ.1930 และ ค.ศ.1940 ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FederalReserve ออกQE มาเพื่อเร่งให้เกิดสภาพคล่องในระบบการเงิน ในสหรัฐฯ ในขณะนั้น สหรัฐฯ กลับมาใช้ QE อีกครั้งในช่วงเกิดวิกฤต ทางอสังหาริมทรัพย์ในปี ค.ศ.2007 และ วิกฤตทางธนาคารและการเงิน ในปี ค.ศ. 2008 และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงกลางปี ค.ศ. 2014 ไม่ใช่มีแต่สหรัฐฯ เป็นผู้ออกแบบ QE แต่ผู้เดียว ทั้งอังกฤษ EU และธนาคารกลางของญี่ปุ่นก็ออกQE มาเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืดที่เกิดขึ้น ธนาคารกลางยุโรปออก QE ออกมา เสริมสภาพคล่องในปี ค.ศ.2014-2015 ท�ำให้ผ่อนคลายปัญหาการเงินอัน
  • 25. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 23 เกิดจากหนี้ที่สูงขึ้นในหลายประเทศสมาชิก ญี่ปุ่นออก QE ครั้งแรกในปี ค.ศ.2001 เพื่อเพิ่มดุลบัญชีเดินสะพัดของธนาคารต่าง ๆ ในญี่ปุ่น จาก5 ล้านล้านเยนมาถึง35 ล้านล้านเยน(ประมาณ3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในระยะเวลา 4 ปีในสมัยนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe รัฐบาลให้ธนาคาร กลางญี่ปุ่นออก QE หลายครั้งรวมทั้งสิ้น 80 ล้านล้านเยน เพื่อลดค่าเยน (ให้อ่อนลง) เพื่อกระตุ้นการส่งออก และตั้งเป้าหมายเพิ่มสภาพคล่อง ทางการเงินเพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนและการค้าเกิดขึ้นภายในประเทศ เขาตั้งเป้าหมายที่จะลดภาวะเงินฝืดในประเทศ และตั้งเป้าหมายให้เกิด เงินเฟ้อร้อยละ2 ต่อปี อัตราแลกเปลี่ยนของญี่ปุ่นได้อ่อนตัวลง(ผลคืออัตรา แลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงจาก78 เยนต่อหนึ่งดอลลาร์ มาเป็น123 เยนต่อหนึ่ง ดอลลาร์ในเวลา3 ปี) เพื่อให้สินค้าส่งออกแข่งขันกับคู่แข่งอื่น ๆ ได้มากขึ้น ส่วนอังกฤษได้ออก QE หนึ่งแสนหกหมื่นห้าพันล้านปอนด์ในต้นปี ค.ศ. 2009 และอีกหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นห้าพันล้านปอนด์ในสิ้นปี และออกอีก 2 งวดในปี ค.ศ.2010 และ ค.ศ.2012 จ�ำนวน5 หมื่นล้านปอนด์ และ สาม แสนเจ็ดหมื่นห้าพันล้านปอนด์ตามล�ำดับ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินโลก จนถึงขณะนั้นธนาคารกลางอังกฤษออก QE ทั้งสิ้น 1.1 ล้านล้านปอนด์ เจ้าแห่งต�ำรา QE คือสหรัฐอเมริกา Federal Reserve ออก QE 7-8 แสนล้านดอลลาร์เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางอสังหาริมทรัพย์ใน ปี ค.ศ. 2008 และออก QE ทั้งสิ้น 2.35 ล้านล้านดอลลาร์ในท่ามกลาง วิกฤตทางธนาคารปี ค.ศ. 2009 และออกอีก 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเห็นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในปี ค.ศ. 2010 และซื้อคืนพันธบัตร อายุ 2-10 ปี จ�ำนวน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ทุก ๆ เดือน ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.2010 ถึงกลางปี ค.ศ. 2011 สหรัฐฯ ออก QE 2 ในช่วงปี ค.ศ. 2012-2015
  • 26. 24 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” ในอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ศูนย์ Federal Reserve ออก QE 2 ออกมา อย่างต่อเนื่องในช่วงปี ค.ศ. 2012-2014 โดยออกเดือนละ 4 หมื่นล้าน ดอลลาร์ทุก ๆ เดือน จนถึงกลางปี ค.ศ. 2014 Ben Bernanke ออกมา ประกาศจบสิ้นการออก QE เมื่อเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณการฟื้น ตัวอย่างต่อเนื่องและสภาพการว่างงานในประเทศลดลงมาถึงร้อยละ 6 หลังออก QE 2 มา 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ผลที่ได้จากการออกQE จากสหรัฐฯ เงินจากQE ได้ไหลเข้าสู่สถาบัน การเงินของประเทศนอกสหรัฐฯ เงินQE ออกมามากมายใน7 ปีที่ผ่านมา ได้ไปช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับหลายๆ ประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ย ที่ต�่ำ ท�ำให้ช่วงวิกฤตที่เกิดจากสหรัฐฯ หลังปี ค.ศ. 2009 ประเทศก�ำลัง พัฒนาทั้งหลายต่างมีสภาพคล่องทางการเงินและสามารถรักษาอัตรา การเติบโตได้ดี แต่ QE ก็มีผลเสียกับประเทศพัฒนาเหล่านั้น ช่วงที่ เกิดสภาพคล่องมากกับดอกเบี้ยที่ถูกลง ท�ำให้เกิดการลงทุนทั้งด้านการ ผลิต และในด้านที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิต เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์และ ตลาดหุ้น ท�ำให้เกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ในหลายประเทศ เงินสกุลดอลลาร์ที่ไหลเข้าในแต่ละประเทศจะท�ำให้ ค่าเงิน (อัตราแลกเปลี่ยน) ของประเทศนั้น ๆ แข็งค่าขึ้น หลังยุติ QE หลายประเทศที่กู้เงินมามากมายจะเจอสภาพการเงินที่เคยคล่องตัวต้อง หยุดชะงักลง บางประเทศอาจเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตก ซึ่งจะเห็นเงิน ไหลออกจากประเทศที่มีปัญหาฟองสบู่ เช่น ประเทศจีนที่เจอทั้งภาค อสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และการเงินที่ก�ำลังไหลออก อีกทั้งบริษัทใหญ่ ๆ ในบางประเทศที่กู้เงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์เข้ามามาก ๆ ในช่วงเงินมี สภาพคล่องก�ำลังเผชิญปัญหาที่จะต้องจ่ายเงินคืนมากขึ้นเพราะอัตรา แลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลง
  • 27. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 25 ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ยกมาให้เห็น ถึงอ�ำนาจหรืออิทธิพลของพญาอินทรีที่ทรงพลังและอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ ทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน ที่เกิดขึ้นกับเกือบทุกประเทศ กองทุน Hedge Fund ถ้าพูดถึงการเงิน เราต้องมารู้จัก กองทุน Hedge Fund เพราะ กองทุนนี้มีเงินหมุนเวียนอยู่ 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณการ ในประเทศ ปี ค.ศ. 2013) เป็นกองทุนที่ลงทุนอย่างอิสระโดยอยู่เหนือ การควบคุมของรัฐบาลประเทศใด ๆ กองทุนเหล่านี้เป็นการลงทุนจาก ผู้ลงทุนกลุ่มเล็ก ๆ และไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ใด ๆ กองทุนเหล่านี้มี GeorgeSoros “พ่อมดแห่งการเงิน”
  • 28. 26 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแลการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผู้จัดการกองทุน เหล่านี้คือผู้ช�ำนาญการที่ยอดเยี่ยมในเศรษฐกิจมหภาค รายได้ผู้จัดการ กองทุนคือเงินจ�ำนวนมหาศาล George Soros เจ้าของฉายา “พ่อมด การเงิน” ถูกจัดโดย Fortune ว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่มีรายได้สูงสุดใน ประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 2011 ด้วยเงิน 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ พ่อมดการ เงินคนนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้คว�่ำ Bank of England ใน Black Wednesday เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1992 ด้วยการโจมตีค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง โดย การท�ำ Short Sale ปอนด์สเตอร์ลิงเมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจของอังกฤษก�ำลัง ประสบปัญหา และค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงแข็งเกินกว่าค่าที่เป็นจริง ท�ำให้ อังกฤษต้องถอนตัวจาก European Exchange Rate Mechanism และ เสียหาย3.4 พันล้านปอนด์Soros คนนี้อีกที่เชื่อว่าเป็นผู้โจมตีค่าเงินบาท (และริงกิตของมาเลเซียในปี ค.ศ.1997) อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของการ ล่มสลายของเศรษฐกิจไทยและเอเชีย กองทุนHedgeFund นี้เกิดขึ้นเพราะสภาพคล่องของการเงินในช่วง ปี ค.ศ.1920 ท�ำให้ตลาดหลักทรัพย์ในนิวยอร์กเติบโตอย่างมาก ท�ำให้เกิด กองทุนขึ้นมาปั่นราคาหุ้น อาศัยความหวือหวาในตลาดหลักทรัพย์ กองทุน เหล่านี้เงียบหายไปและกลับมาอีกครั้งในช่วงเกิดสภาพคล่องทางการเงิน จากเงินมากมายที่ได้จากการขายน�้ำมันดิบของ OPEC กองทุน Hedge Fund กลับมามีบทบาทอีกครั้ง กองทุนเหล่านี้มีความคล่องตัวในการลงทุน สูงเพราะไม่อยู่ในการควบคุมของกฎเกณฑ์ทางการเงินของประเทศใด ผู้จัดการกองทุนมีความรู้ความสามารถในเศรษฐศาสตร์มหภาค และ รายได้ผู้จัดการเหล่านี้ขึ้นกับผลงาน กองทุนต่างมีความช�ำนาญในแต่ละทาง และแต่ละทวีปแตกต่างกัน แต่ละคนมองหาช่องว่างจากความแปรปรวน ในด้านเศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน
  • 29. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 27 และสินค้าอุปโภคและวัตถุดิบการผลิต(Commodities) ต่าง ๆ เช่น น�้ำมัน ทองค�ำ สินค้าเกษตร กองทุนเหล่านี้จะลงทุนในสิ่งที่เห็นผลตอบแทน ที่สูง (High Risk, High Return) เมื่อสบโอกาสกองทุนเหล่านี้จะเข้าโจมตี ทันที บางครั้งจะเข้าซื้อบริษัทที่เกิดปัญหาการเงิน มาแต่งตัวใหม่แล้ว ออกขายในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันนี้ตลาดทองค�ำและตลาดการซื้อขาย สินค้าเกษตรล่วงหน้า น�้ำมันดิบ ต่างอยู่ในการปั่นราคาขึ้นลงโดยกองทุน Hedge Fund เพื่อหาช่องว่างในการท�ำก�ำไร ตัวอย่างกองทุนHedgeFund ใหญ่ ๆ อับดับแรก ๆ ตัวอย่างเช่น Bridgewater Pure Alpha, JP Morgan Asset Management, Och-Ziff CapitalManagementGroup,BrevanHowardAssetManagement, Paulson&Co,GoldmanSachsAssetManagement ร้อยละ70ของกองทุน เหล่านี้จะอยู่ในสหรัฐอเมริกาที่เหลือจะอยู่ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ
  • 30. 28 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน”
  • 31. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 29 ประวัติศาสตร์ได้บันทึกวิกฤตเศรษฐกิจไว้เป็นระยะ ๆ ในอดีตส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ บางครั้งเกิดเพราะ สงครามที่มนุษย์สร้างขึ้น สงครามทุกครั้งก่อเกิดวิกฤตและ ความยากจนให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน ในอดีตวิกฤตที่เกิดขึ้น จะจ�ำกัดในวงแคบ เช่น วิกฤตน�้ำท่วมจากแม่น�้ำฮวงโห หรือ ภัยแล้งในจีน ท�ำให้ประชาชนจีนหนีความอดอยากอพยพออก วิกฤตเศรษฐกิจ 2 ภาคที่ มีผู้กล่าวไว้ว่าทุก ๆ 8 ปีจะมีวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในโลกนี้หนึ่งครั้ง บางครั้งวิกฤตจะจ�ำกัดอยู่ในวงแคบ แต่บางครั้งจะลุกลามไปเป็น วงกว้างโดยเฉพาะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก ประเทศหนึ่งอาจจะขยายวงไปสู่ระดับภูมิภาค หรือลามไปยังประเทศ มากมายทั่วโลก อย่างวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากราคาน�้ำมัน ในปี ค.ศ. 1970-1980 วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจที่เกิดที่ สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008 มีผลกระทบในวงกว้างไปยังประเทศ ต่าง ๆ ในยุโรปและประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ
  • 32. 30 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” นอกประเทศมาตั้งถิ่นฐานยังประเทศไทย แถบมลายู และประเทศสิงคโปร์ เป็นจ�ำนวนมาก วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นจากประเทศหนึ่งและ ลามไปอีกหลาย ๆ ประเทศ น่าจะเริ่มเห็นชัดจาก Black Tuesday หรือ GreatDepression ของตลาดหุ้นนิวยอร์กในปี ค.ศ.1929 ซึ่งเป็นผลพวง จากนโยบายทางการเมือง การคลังในสหรัฐฯ และแผ่ขยายปัญหาไป ประเทศต่าง ๆ ทั้งอเมริกาและยุโรป วิกฤตนี้ยุติลงเพราะเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาท�ำตัวเป็นพี่ใหญ่เข้ามา จัดการการเงิน(และการเมือง) ของประเทศต่าง ๆ ถ้าวิเคราะห์ให้ดี ๆ จะ เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและลามไปทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่2 ล้วนมีสหรัฐฯ เป็นส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างเช่น วิกฤตที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายอย่างมหาศาลของรัฐบาลสหรัฐฯ ในสงคราม เวียดนาม ท�ำให้ประธานาธิบดี Richard Nixon ออกมาประกาศยกเลิก BrettonWoodSystem ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว และประกาศขึ้น ภาษีน�ำเข้าสินค้าเข้าประเทศสหรัฐฯ อีกร้อยละ10 เหตุการณ์ครั้งนั้นชาว ญี่ปุ่นเรียกว่าNixonShock เกิดความโกลาหลทั่วตลาดการเงินในประเทศ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนจาก 380 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ มาจบลงสุดท้ายที่ 254 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ท�ำให้สินค้าญี่ปุ่นที่ส่งเข้า สหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น และรัฐบาลญี่ปุ่นก็ถูกบีบต่อให้แข็งค่าเงินขึ้นจนใน ที่สุดมาจบที่143 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ.1989 เมื่อประสบปัญหา ทางเศรษฐกิจจากอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลญี่ปุ่นต้องออกมาตรการ สร้างสภาพคล่องทางการเงินและลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อรักษาอัตรา แลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งตัวไปกว่านี้ และรีบเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน ประเทศด้วยการลงทุนมหาศาลทั้งด้านสาธารณูปโภคและการคมนาคม
  • 33. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 31 ญี่ปุ่นด�ำเนินนโยบายดอกเบี้ยต�่ำและเพิ่มสภาพคล่องให้เกิดขึ้นในตลาด เงิน สภาพคล่องและดอกเบี้ยต�่ำนี้น�ำมาซึ่งวิกฤตฟองสบู่ในประเทศภายใน 10 ปีให้หลัง ประเทศอื่น ๆ ทางยุโรปก็ต้องตั้งค่าเงินของตัวเองใหม่ เทียบกับเงินดอลลาร์ หลายประเทศต่างต้องปรับค่าเงินของตัวเองให้ แข็งขึ้น ตามมาด้วยราคาน�้ำมันที่สูงขึ้นในสงคราม Gulf War ท�ำให้เกิด วิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปและญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศที่ก�ำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลกคือ OilCrisis หรือวิกฤต พลังงาน เหตุการณ์ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1973-1974 และตามมาใน ปี ค.ศ. 1979 วิกฤตพลังงานนี้กระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นใน อังกฤษลดลงร้อยละ 73 ในนิวยอร์กตลาดหุ้นลดลงร้อยละ 45 เศรษฐกิจ ประเทศที่พึ่งพาการน�ำเข้าน�้ำมันจากตะวันออกกลางต่างหยุดชะงักลง ต่างต้องรีบปรับตัวให้เข้ากับราคาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและตามมา อีกครั้งในสงคราม Gulf War ในปี ค.ศ. 1990 สาเหตุที่เกิดวิกฤตพลังงาน ทั้งนี้เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการเพิ่มปริมาณการใช้รถยนต์ ท�ำให้ ความต้องการน�้ำมันเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ในช่วงปี ค.ศ. 1960-1970 สหรัฐฯ แคนาดา และเวเนซุเอลา เป็นผู้ผลิตน�้ำมันรายใหญ่ ความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วท�ำให้การผลิตใน 3 ประเทศมาถึงจุดสูงสุด หลัง ปี ค.ศ. 1970 หลายประเทศจ�ำต้องพึ่งแหล่งผลิตอื่น เช่น ประเทศใน ตะวันออกกลาง ในช่วงนั้นเกิดความขัดแย้งอย่างมากระหว่างอิสราเอล (ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นผู้หนุนหลังอยู่) กับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นมุสลิม ในตะวันออกกลาง สงครามYamKipper ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ใน ที่ราบสูง Golan เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1974 องค์กร Arab
  • 34. 32 “การเมือง เศรษฐกิจ และการเงิน” Petroleum Exporting Countries (APEC) ประกาศงดส่งน�้ำมันดิบไปยัง ประเทศที่สนับสนุนอิสราเอลที่เข้าสู่สงคราม ราคาน�้ำมันดิบดีดตัวสูงขึ้น จาก50 เซนต์ต่อบาร์เรล มาที่15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ท�ำให้เกิดOilShock ไปทั่วโลก ตามมาด้วยวิกฤตในตลาดหุ้นใหญ่ ๆ ทั่วโลก สถานการณ์ด้าน น�้ำมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี ค.ศ.1975 ภายหลังจากที่สหรัฐฯ พยายาม สร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง วิกฤตน�้ำมันเกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ.1979 เมื่อเกิดการปฏิวัติโค่นล้ม พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน AyatollahKhomeini ก็ขึ้นมาเป็นผู้น�ำ อิหร่านหยุด ส่งน�้ำมันให้ประเทศตะวันตก ราคาน�้ำมันดิบสูงขึ้น แต่ประเทศอื่น ๆ ใน OPEC รีบเร่งการผลิตชดเชยจากที่ขาดหายไปจากอิหร่าน ด้วยการหนุน หลังของสหรัฐฯ อิรักท�ำสงครามกับอิหร่าน ผลของสงครามท�ำให้การผลิต น�้ำมันทั้งสองประเทศหยุดชะงักลง ราคาน�้ำมันดิบขยับมาสูงถึง35 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปทั่วโลกตามมาอีกครั้งหนึ่ง วิกฤตน�้ำมันเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในปี ค.ศ. 1990 อิรักบุกเข้ายึด ประเทศคูเวต (Gulf War) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990 ช่วง 9 เดือน ของการท�ำสงครามที่สหรัฐฯ เป็นผู้น�ำในการท�ำสงครามกับอิรัก ราคา น�้ำมันขยับจาก 17 ดอลลาร์ฯ ในช่วงก่อนสงครามมาที่ 36 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล หลังจากนั้นมีอีกหลาย ๆ ครั้งของการขยับราคาน�้ำมันขึ้นสูง ซึ่ง ส่วนใหญ่ในระยะหลังเกิดขึ้นจากความต้องการน�้ำมันที่สูงขึ้นและการปั่น ราคาจากกองทุนHedgeFund เช่น ในปี ค.ศ.2004 ราคามาสู่จุดสูงสุด ที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 มาสูงสุดที่ 75 ดอลลาร์และสูงสุดที่ 99 ดอลลาร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 แต่แล้ว ราคาน�้ำมันก็กลับลดลงมาที่ 70 ดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 (จากที่สูงสุด 110 ดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้านี้) และแล้วราคาน�้ำมัน
  • 35. ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล 33 ก็กลับตกลงมาที่ 45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 เนื่องจากความต้องการใช้น�้ำมันลดลงเพราะเศรษฐกิจทั่วโลกก�ำลังถดถอย อีกทั้งปริมาณของ Shale Gas ที่ผลิตได้จากสหรัฐฯ ทะลักเข้าสู่ตลาด วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงปี ค.ศ. 1929 (Great Depression) วิกฤตครั้งร้ายแรงนี้เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1929 (Great Depression) ในสมัยของประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt และต่อเนื่องมา ตลอดจนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 วิกฤตนี้เกิดขึ้นที่ตลาดทุนของ สหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม ค.ศ.1929 ซึ่งเรียกกันว่า “BlackTuesday” และวิกฤตที่เกิดขึ้นท�ำให้ตลาดทุนของสหรัฐอเมริกาถูกกระทบอย่างรุนแรง และแผ่ขยายไปทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ หยุดชะงัก หลายธุรกิจ ต้องล้มละลาย การค้าระหว่างประเทศลดลงกว่าครึ่ง เกิดคนว่างงาน 25 เปอร์เซ็นต์ในตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกา