SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  85
Télécharger pour lire hors ligne
คู่มือ
สําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป
สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แห่งประเทศไทย
ผู้เรียบเรียง
ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์
นพ.สมชาย กาญจนสุต
1 สารบัญผังหลัก
คํานํา
การช่วยเหลือผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น หากมีความล่าช้าหรือให้
การดูแลรักษาไม่ถูกต้อง อาจทําให้ผู้เจ็บป่วยเสียชีวิตหรือพิการโดยไม่
สมควร ในทางตรงกันข้าม หากผู้ช่วยเหลือสามารถตรวจพบภาวะ
ฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตได้รวดเร็ว และสามารถดําเนินการช่วยเหลือได้
อย่างเหมาะสมตามระดับความสามารถ และมีวิธีการช่วยเหลือที่ต่อเนื่อง
ไปจนกระทั่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นได้รับการดูแลรักษาโดยสถานพยาบาล
ที่เหมาะสม จะทําให้ผู้เจ็บป่วยนั้นมีโอกาสในการรอดชีวิตและลดความ
พิการได้สูง
โดยทั่วไป การช่วยเหลือที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ไม่อาจ
เกิดขึ้นโดยผู้ที่มีหน้าที่มีความเชี่ยวชาญจําเพาะ เช่นแพทย์ พยาบาล
หรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพได้เสมอไป เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่ได้อยู่ใน
เหตุการณ์โดยตรง ฉะนั้น การที่จะทําให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการ
ช่วยเหลือที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จําเป็นต้องพึ่งพาผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
หรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ แต่เป็น
ประชาชนธรรมดาหรือผู้มีจิตอาสาให้การช่วยเหลือขั้นต้น ก่อนที่จะมี
ผู้รับผิดชอบมาถึงและรับดําเนินการต่อ
หลักการช่วยเหลือของประชาชนโดยทั่วไปเป็นที่รู้จักกันในนาม
“การปฐมพยาบาล” เป็นวิธีการช่วยเหลือทั่วไปในขอบเขตของประชาชน
ธรรมดา หลักสูตรหรือคู่มือการปฐมพยาบาลมักจะไม่ได้เน้นถึงการ
2 สารบัญผังหลัก
ตรวจให้พบภาวะคุกคามชีวิต การพิเคราะห์ทางเลือก ปฏิบัติการ
ช่วยชีวิตและการนําส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ ทําให้ผู้
ปฏิบัติการปฐมพยาบาล อาจไม่สามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะฉุกเฉินที่
คุกคามชีวิตที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินกําลังเป็นอยู่เฉพาะหน้า และอาจ
ดําเนินการช่วยเหลือภาวะอื่นที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตก่อน ทํา
ภาวะฉุกเฉินวิกฤตได้รับการดูแลล่าช้า โอกาสรอดชีวิตหรือโอกาสพ้น
จากความพิการของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินจะลดลงอย่างไม่สมควร
“การกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชน” เป็นชุด
ความรู้และปฏิบัติการที่จะให้ความรู้และความสามารถในการตรวจพบ
การพิเคราะห์ ปฏิบัติการ และการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน อย่างชัดเจน โดย
จัดขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติเมื่อแรกพบกับผู้เจ็บป่วย ที่ต้องการความ
ช่วยเหลือ เพื่อตรวจหาภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตและดําเนินการตาม
ขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตที่อยู่ในขอบเขตที่ประชาชนทั่วไปสามารถกระทํา
ได้ ตลอดจนการส่งต่อให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการต่อ อันจะทํา
ให้ลูกโซ่ของกระบวนการช่วยชีวิตเชื่อมต่อกัน ในทางตรงกันข้าม เมื่อ
ตรวจไม่พบภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตก็สามารถให้การช่วยเหลือตาม
แนวทาง “การปฐมพยาบาล” ได้ตามปกติ
สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยหวังว่าคู่มือ หลักสูตร
“การกู้ชีพองค์รวม สําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป” จะทําให้
ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินระยะแรกที่ต้องพึ่งพาอาสาสมัคร
3 สารบัญผังหลัก
และประชาชนทั่วไป มีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้
เจ็บป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตได้เป็นอย่างดี
สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสํานักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ ที่ได้สนับสนุนการจัดทําคู่มือกู้ชีพ
องค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไปนี้เป็นอย่างยิ่ง
4 สารบัญผังหลัก
สารบัญ
คํานํา....................................................................................1
หลักการกู้ชีพองค์รวม....................................................6
ความปลอดภัย ...............................................................10
ผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์รวม..............................................14
ขั้นตอนการตรวจหาและช่วยเหลือภาวะคุกคามชีวิต.........15
1. เลือดออกภายนอกจํานวนมาก ..........................16
2. หัวใจหยุดเต้น...................................................18
3. ทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน..........................20
4. บาดแผลทะลุ ....................................................23
5. ภาวะคุกคามอื่น................................................26
ภาคปฏิบัติ ......................................................................29
1. การห้ามเลือดภายนอก......................................30
2. การปั๊มหัวใจ และการกระตุกหัวใจอัตโนมัติ........37
3. การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันที................44
4. การจัดท่าสําหรับผู้ป่วยหมดสติ .........................49
5 สารบัญผังหลัก
5. การช่วยเหลือบาดแผลปักคา.............................54
6. การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ....................57
7. การปิดบาดแผลอวัยวะภายในทะลัก..................59
8. การลําเลียงขนย้าย............................................60
ภาคผนวก.......................................................................67
1. ภาวะหายใจไม่สะดวก.......................................68
2. หายใจผิดปกติ..................................................70
3. ช็อก .................................................................74
4. ภาวะ “หมดสติ” ................................................75
5. ชัก....................................................................76
6. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน...................77
7. โรคเส้นเลือดสมองตีบตัน/แตก...........................80
8. การติดเชื้อในกระแสเลือด..................................81
9. การบาดเจ็บรุนแรง/หลายระบบ.........................82
6 สารบัญผังหลัก
หลักการกู้ชีพองค์รวม
โดยทั่วไป ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ต้องการความช่วยเหลือเร็วช้า
ต่างกัน ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามชีวิต
จะต้องให้การช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นจะเสียชีวิตภายในระยะเวลา
อันสั้น ในขณะที่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไม่มีภาวะคุกคามชีวิต จะมีความเร่งด่วน
ในการช่วยเหลือลดน้อยลง หรือสามารถรอได้
การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามชีวิต จะต้องทํา
โดยด่วนที่สุด และถูกต้องด้วย ในประเทศและพื้นที่ที่มีระบบการแพทย์
ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ เมื่อมีเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นและมีการแจ้ง
เหตุขอหน่วยกู้ชีพ จะมีหน่วยกู้ชีพมาถึงในระยะเวลาอันสั้นแต่ก็ยังต้อง
รอ อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอ หากไม่มีการช่วยเหลือ อาจทําให้ผู้
เจ็บป่วยนั้นเสียชีวิต หรือทรุดหนักลงได้ ในทางตรงกันข้าม หากผู้ที่อยู่
ในบริเวณใกล้เคียงสามารถให้การช่วยเหลือ ก็จะเพิ่มโอกาสการรอด
ชีวิตขึ้นได้มาก
ในประเทศไทย อาสาสมัครและประชาชนทั่วไปซึ่งมีจิตอาสาที่
จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มีอยู่มาก หากได้เรียนรู้ทักษะการกู้ชีพที่เข้าใจ
ง่ายและปฏิบัติได้ง่ายเพียงไม่กี่ประการ ก็จะสามารถช่วยผู้เจ็บป่วย
ฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามชีวิตให้รอดชีวิตได้ในเบื้องต้น และช่วยประสาน
กับระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อการดูแลรักษาต่อ แล้วนําส่งโรงพยาบาล
ได้อย่างถูกต้อง
7 สารบัญผังหลัก
“การกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป” จึง
ได้ถูกรวบรวมขึ้นโดยสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เพื่อทํา
ให้เกิดแนวทาง “ตรวจหา พิจารณา ปฏิบัติการ และส่งต่อ” ที่สามารถ
ปฏิบัติได้ง่ายโดยอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป โดยมีขั้นตอนหลักใน
การปฏิบัติ ตามลําดับ ดังนี้
1. เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น และ ผู้ช่วยเหลือได้ประสบเหตุ หากพบเห็น
ผู้บาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน ให้รีบแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือไปที่
หมายเลข “1669” และเรียกผู้อยู่ข้างเคียงเข้ามาร่วมช่วยเหลือ
2. ตรวจดูความปลอดภัยของเหตุการณ์ ก่อนจะเข้าช่วยเหลือ เมื่อ
แน่ใจว่าปลอดภัย ทั้งต่อผู้ช่วยเหลือและต่อผู้เจ็บป่วยจึงจะเข้า
ไปช่วย หากไม่แน่ใจ ไม่ควรเข้าไป แต่ควรแจ้งเหตุให้ผู้ที่มี
ความสามารถมาช่วยเหลือ
3. ตรวจหาภาวะคุกคามชีวิตตามลําดับในคู่มือนี้ แล้วพิจารณา
ช่วยเหลือตามภาคปฏิบัติของคู่มือเล่มนี้ แล้วส่งต่อให้กับหน่วย
กู้ชีพที่มาถึงในภายหลัง หรือ นําส่งโรงพยาบาลในกรณีที่ไม่มี
หน่วยกู้ชีพในพื้นที่
หากไม่พบภาวะคุกคามชีวิตลําดับแรก ก็ให้ตรวจหาภาวะ
คุกคามชีวิตในลําดับที่ 2-5 ต่อไป โดยใช้เวลาในการตรวจหาให้
สั้นที่สุด
8 สารบัญผังหลัก
เจ็บป่วยฉุกเฉิน
“1669”
ปลอดภัยไว้ก่อน
ปฐมพยาบาล
โรงพยาบาล
ประชาชน
นําส่งเอง
ไม่มี
มี
ไม่ปลอดภัย รอ
หน่วยงาน
ปลอดภัย
นําส่งได้
นําส่งยังไม่ได้
ระบบการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่พึงประสงค์
ส่งมอบให้ “1669”
ดูแลต่อ และนําส่ง
หากไม่มี “1669” ให้
นําส่งเอง
9 สารบัญผังหลัก
4. ในกรณีที่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจนพ้นจากภาวะคุกคามชีวิต
แล้ว ให้หน่วยกู้ชีพดําเนินการนําส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ใน
ระหว่างรอหน่วยกู้ชีพ ให้ปฐมพยาบาลเท่าที่จําเป็นจนกว่าจะนํา
ผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้
10 สารบัญผังหลัก
ความปลอดภัย
เมื่อประสบเหตุการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน สิ่งแรกที่ต้องทําคือ “ตั้ง
สติ” พิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้น ตนจะช่วยผู้เจ็บป่วยด้วยตนเองได้หรือไม่
หรือจะเรียกคนอื่นมาช่วยจะดีกว่าหรือถูกต้องกว่า เป็นต้น การตั้งสติจะ
ทําให้เราไม่ผลีผลามเข้าไปช่วยผู้เจ็บป่วย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง
ต่อผู้ป่วย และหรือผู้อื่นได้
นั่นคือ ขั้นตอนแรกในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน คือการ
คํานึงถึงความปลอดภัย ซึ่งอาจแบ่งเป็น
ความปลอดภัยของสถานที่ ถ้าสถานที่เกิดเหตุมีอันตรายหรือ
เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น
• ไฟไหม้ที่รุนแรงหรือมีควันมากหรือมีเสียงระเบิด (ซึ่งรู้ได้ เพราะ
ได้เห็น ได้ยิน หรือได้กลิ่น)
• นํ้าลึก/นํ้าเชี่ยว/นํ้าเย็นจัดหรือร้อนจัด เช่น นํ้าพุร้อน (ซึ่งรู้ได้
เพราะได้เห็นหรือได้สัมผัส)
• ถนนที่มืด/เปลี่ยว/รถวิ่งด้วยความเร็วสูง (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็น)
• จลาจล/การต่อสู้กันด้วยอาวุธ (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้ยิน)
• ไฟฟ้าช็อต/รั่ว (ซึ่งรู้ได้ เพราะเห็นสายไฟ/โทรศัพท์มือถือ/เครื่อง
ไฟฟ้าอื่นๆอยู่ใกล้หรือติดกับตัวผู้ป่วย หรือ ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่
เปียกนํ้าที่มีไฟฟ้ารั่วได้ เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะเป็นต้น)
11 สารบัญผังหลัก
• หลุมลึก/บ่อลึก ที่อาจมีสารพิษ หรือออกซิเจนน้อย (ซึ่งรู้ได้
เพราะผู้ที่ลงไปหมดแรงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถตะโกนเรียก
คนช่วยได้ทันท่วงที)
• สัตว์มีพิษ/มีอันตราย (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้ยิน)
• สารพิษ (ซึ่งรู้ได้ เพราะสถานที่หรือยานพาหนะที่เกิดเหตุมี
เครื่องหมายสารพิษติดอยู่ หรือมีกลิ่นฉุน หรือเห็นฝุ่นผงกระจาย
และระคายเคืองตา/จมูก/ผิวหนัง หรือได้รับคําแจ้งเตือนให้อยู่
ห่างๆ) เป็นต้น
อันตรายจากผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น
• ผู้ป่วยเมา/คลั่ง/อาละวาด/มีอาวุธ (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้
ยิน)
• ผู้ป่วยถูกทําร้าย (ซึ่งรู้ได้ เพราะเห็นบาดแผล/เลือดออก) อาจ
เป็นอันตรายจากศัตรูของผู้ป่วยที่อาจกลับมาทําร้ายผู้ป่วยอีก
• ผู้ป่วยมีโรคติดต่อร้ายแรง (ซึ่งรู้ได้ จากอาการและประวัติหรือ
ข่าวโรคระบาดร้ายแรง)
• ผู้ป่วยที่เปรอะเปื้อนสารพิษที่อาจแพร่กระจายสู่ผู้อื่น (ซึ่งรู้ได้
เพราะผู้ป่วยมาจากสถานที่ๆมีการแพร่กระจายของสารพิษ และ
หรือมีฝุ่นผงหรือคราบของสารพิษติดตัวอยู่)
• ผู้ป่วยที่หมดสติจากการบาดเจ็บ เช่น ตกจากที่สูง ถูกตีที่ศีรษะ/
คอ อุบัติเหตุ เป็นต้น ห้ามขยับเขยื้อนผู้ป่วย เพราะกระดูกคอ/
หลังอาจหัก ทําให้ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือเป็นอัมพาตได้
12 สารบัญผังหลัก
ความปลอดภัยของผู้ช่วยเหลือ
ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้ ควรมีสภาพกายและใจที่
เข้มแข็ง และต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตนมีความสามารถพอที่จะช่วยเหลือ
ผู้ป่วยในสถานการณ์เช่นนั้นด้วยตนเองได้หรือไม่ เช่น
• การกระโดดลงไปช่วยคนจมนํ้า แม้นํ้าจะไม่ลึก/ไม่เชี่ยว/ไม่เย็น
จัดหรือร้อนจัด ผู้ช่วยเหลือจะต้องว่ายนํ้าเก่ง และรู้จักวิธีการ
ช่วยเหลือคนที่กําลังจะจมนํ้า มิฉะนั้น อาจถูกคนที่กําลังจะจมนํ้า
กอดรัดจนจมนํ้าตายไปด้วยกันได้
• วิธีช่วยที่ปลอดภัยกว่า น่าจะเป็นการโยนเชือกหรือสิ่งที่ลอยนํ้า
ได้ลงไปให้ผู้ที่กําลังจะจมนํ้าจับ/เกาะ แต่ถ้าผู้ช่วยเหลือสวมเสื้อ
ชูชีพอยู่และมีเชือกที่ยาวพอจนสามารถผูกปลายข้างหนึ่งกับเอว
ของตนเองและปลายอีกข้างหนึ่งผูกไว้กับต้นไม่ริมฝั่ง ก็อาจจะ
กระโดดลงไปช่วยคนที่กําลังจะจมนํ้าได้
• การจะช่วยห้ามเลือดให้ผู้ที่มีบาดแผลเลือดออก ผู้ช่วยเหลือ
จะต้องไม่มีบาดแผลโดยเฉพาะที่มือ แขน และส่วนที่จะเปรอะ
เปื้อนด้วยเลือดของผู้ป่วยได้
• ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมากหรือเลือดพุ่งแรง ผู้ช่วยเหลือควร
สวมถุงมือยาง(อาจใช้ถุงพลาสติกแทน) ใส่แว่นตา หรือหน้ากาก
พลาสติกใส (เพื่อป้องกันเลือดผู้ป่วยกระเด็นเข้าตา) และใส่เสื้อ
กันฝนพลาสติก (เพื่อป้องกันเลือดผู้ป่วยเปรอะเปื้อนร่างกาย)
เป็นต้น
13 สารบัญผังหลัก
• การจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่เปรอะเปื้อนสารพิษ ผู้ช่วยเหลือควร
สวมหน้ากากป้องกันสารพิษหรือก๊าซพิษ และหรือชุดป้องกัน
สารพิษ เป็นต้น
การตัดสินใจและวิธีการช่วยเหลือ
• หากสถานที่เกิดเหตุและหรือผู้ป่วย น่าจะ หรือ อาจจะ เป็น
อันตรายต่อผู้ช่วยเหลือ หรือ ผู้ช่วยเหลือคิดว่าตนไม่สามารถ
ช่วยผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง ควรช่วยโดยโทรศัพท์แจ้ง “1669” ให้
ส่งคนมาช่วย และควรรออยู่ในที่ๆ ปลอดภัย (ไม่ไกลจากผู้ป่วย)
เพื่อคอยประสานงานกับ “1669” และทีมงานที่ “1669” ส่งมา
ช่วยผู้ป่วย
• หากสถานที่เกิดเหตุและผู้ป่วย ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้
ช่วยเหลือ และผู้ช่วยเหลือคิดว่า ตนน่าจะช่วยผู้ป่วยไปก่อนได้
หลังจากโทรศัพท์แจ้ง “1669” แล้ว ให้ดําเนินการตามขั้นตอน
“การตรวจหาภาวะคุกคามชีวิต” ตามผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์
รวม ต่อไป
14 สารบัญผังหลัก
ผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์รวม
ผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป
ปลอดภัย
เลือดออก
ปั๊มหัวใจ-กระตุกหัวใจ
ภาวะคุกคามอื่น
• หายใจผิดปกติ
• ช็อก
• ชัก
• เจ็บหน้าอก
• บาดเจ็บหลายแห่ง
• อัมพาต
• ติดเชื้อในกระแสโลหิต
“1669”
/นําส่ง
รพ.
ใช่
ใช่ แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไขได้
ไม่ใช่
หัวใจหยุดเต้น
ห้ามเลือด
ไม่ใช่
หายใจอุดกั้น
ใช่
แก้ไขได้
บาดแผลทะลุ
อัดท้อง/หน้าอก
ทําแผล
จัดท่า
ปฐมพยาบาล
แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไข
ไม่ได้
ไม่ใช่
ไม่ใช่
ใช่
ใช่
ใช่
ไม่ใช่
แก้ไขได้
แก้ไขได้
หมดสติ
ไม่ใช่
ใช่
ช่วยเหลือตามสาเหตุ
15 สารบัญผังหลัก
ขั้นตอนการตรวจหาและช่วยเหลือภาวะคุกคามชีวิต
ตรวจหาภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิต โดยอาศัยสิ่งที่ตรวจพบ
เป็นหลัก โดยเรียงตามลําดับก่อนหลังตามหัวข้อด้านล่างนี้ หากไม่พบ
ภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิต หรือ จัดการแก้ไขภาวะที่พบแล้วได้สําเร็จ จึง
จะตรวจหาภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตในลําดับต่อไป หากไม่สามารถ
แก้ไขได้ ให้รีบแจ้งขอความช่วยเหลือจาก “1669” ส่วนในพื้นที่ที่ไม่
สามารถแจ้งเหตุได้ หรือไม่มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ให้พิจารณา
นําส่ง โดยหาบุคคลที่สามารถยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ถูกต้องเพื่อนํา
ขึ้นยานพาหนะในท้องถิ่นที่ลําเลียงนําส่งได้ โดยจะต้องมีวิธีการ อันจะ
ไม่ทําอันตรายเพิ่มเติมให้กับผู้ป่วย (ดูวิธีการลําเลียงขนย้าย หน้า58)
เพื่อนําไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
ในระหว่างการช่วยเหลือ หากมีบุคคลใดแสดงตนว่า มีความรู้
ความสามารถในการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นที่ประจักษ์ เช่น
แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กู้ชีพ หรือ ผู้ที่ผ่านการอบรมมาแล้วในระดับที่
สูงกว่า ให้ผู้นั้นเป็นผู้นําในการช่วยเหลือแทน โดยควรเสนอตนเป็น
ผู้ช่วยต่อไป
ภาวะต่างๆที่จะต้องตรวจหาและช่วยเหลือ มีดังต่อไปนี้
16 สารบัญผังหลัก
1. เลือดออกภายนอกจํานวนมาก
ภาวะเลือดออกภายนอกจํานวนมาก เป็นภาวะที่อาจทําให้ผู้เจ็บป่วย
เสียชีวิตหรือพิการได้การเสียเลือดจํานวนมากถึงร้อยละ 40 ของเลือดใน
ร่างกายจะทําให้เสียชีวิตได้ การเสียเลือดจนคุกคามชีวิตที่อาจช่วยเหลือ
ได้โดยอาสาสมัครหรือประชาชนทั่วไป มีลักษณะที่ตรวจพบได้ ดังนี้
• เลือดออกในภาวะแขนหรือขาขาดหรือเกือบขาด
• เลือดไหลพุ่งออกมาเป็นจังหวะ
• เลือดไหลออกตลอดเวลาในความเร็ว/แรงคงที่
เลือดออกภายนอกจํานวนมาก
ปลอดภัย
เลือดออกภายนอก
•แขนขาขาดหรือเกือบ
ขาด
•เลือดพุ่งเป็นจังหวะ
•ไหลแรงไม่หยุด
ห้ามเลือด
หัวใจหยุดเต้น
“1669”/
นําส่ง
รพ.
ใช่
ใช่ แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไขได้
ไม่ใช่
17 สารบัญผังหลัก
หากตรวจพบลักษณะข้างต้น ให้รีบห้ามเลือดตามวิธีการห้าม
เลือด หน้า 30
การตรวจหาภาวะเสียเลือดภายนอกจํานวนมากนี้ไม่ควรใช้เวลา
เกิน 10 วินาที หากแก้ไขได้สําเร็จให้ดําเนินการต่อตามขั้นตอนต่อไป คือ
ภาวะหัวใจหยุดเต้น
หากแก้ไขไม่สําเร็จ หรือเป็นการเสียเลือดจากส่วนที่ไม่สามารถ
ห้ามเลือดได้ ให้ขอ/ระดมความช่วยเหลือ และ นําส่งสถานพยาบาลที่ใกล้
ที่สุดโดยด่วน
18 สารบัญผังหลัก
2. หัวใจหยุดเต้น
ภาวะหัวใจหยุดเต้น เป็นภาวะที่แสดงถึงการสิ้นสุดของชีวิต
ภาวะนี้ หากได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที และถูกต้อง จะทําให้มีโอกาส
รอดชีวิตได้ ความสําเร็จของการช่วยเหลือ ขึ้นอยู่กับการตรวจพบ และ
การช่วยเหลือของผู้อยู่ใกล้เคียง ที่มีความรู้ความสามารถในการปั๊มหัวใจ
และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจเป็นหลัก
ภาวะหัวใจหยุดเต้น มีลักษณะที่ตรวจพบได้ คือ
เมื่อพบผู้หมดสติ ให้ดําเนินการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้
• ตบไหล่ หรือหยิกแขนของผู้ป่วย พร้อมกับเรียกผู้ป่วย เช่น
“คุณๆ เป็นอะไร เจ็บไหม” ถ้าผู้ป่วยไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเลย
ให้ถือว่าผู้ป่วยหมดสติ ในขณะเดียวกันให้สังเกตการเคลื่อนไหว
ของหน้าอกและหน้าท้อง ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ให้ถือว่า
หยุดหายใจ (การตรวจทั้งหมดไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 วินาที)
• การหมดสติกะทันหันและหยุดหายใจ (หรือหายใจเฮือก) ให้ถือ
ว่าเป็น “ภาวะหัวใจหยุดเต้น” รีบโทรศัพท์แจ้ง “1669” เพื่อขอ
หน่วยการแพทย์ฉุกเฉินมาให้การดูแลรักษาต่อ
• หมดสติทันทีแม้ถูกกระตุ้น และไม่หายใจ
19 สารบัญผังหลัก
• ดําเนินการปั๊มหัวใจ ตามวิธีการปั๊มหัวใจและการกระตุกหัวใจ
อัตโนมัติ หน้า 37
• หากการตรวจในขั้นตอนนี้ ไม่พบว่าผู้ป่วยหมดสติ หรือหมดสติ
แต่หายใจได้ (ควรใช้เวลาไม่ควรเกิน 10 วินาที) ให้ดําเนินการ
ตามขั้นตอนต่อไปทันที
หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
เลือดออกภายนอก
หัวใจหยุดเต้น
•หมดสติ
•แน่นิ่งแม้ถูกกระตุ้น
•ไม่หายใจ
ปั๊มหัวใจ-กระตุกหัวใจ
หายใจอุดกั้น
“1669”/
นําส่ง
รพ.
ไม่ใช่
ใช่ แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไขได้
ไม่ใช่
20 สารบัญผังหลัก
3. ทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน
ทางเดินหายใจอุดกั้นที่เกิดขึ้นแบบกะทันหัน จากอาหาร ขนม
หรือสิ่งอื่น ทําให้ผู้ป่วยหายใจไม่ได้ ร่างกายขาดออกซิเจนจนเสียชีวิตได้
การช่วยเหลือ อาจกระทําโดยผู้อยู่ข้างเคียงหรือตนเองได้
ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน มีลักษณะที่ตรวจพบได้
คือ
• การสําลักอาหาร หายใจอุดกั้นทันที พูดไม่ได้ ไอไม่ได้
• มักเอามือกุมคอและตาเหลือก
21 สารบัญผังหลัก
สาเหตุ เกิดจากการสําลักอาหาร/ขนม/สิ่งอื่นๆ เข้าไปอุดคอ
หอย/กล่องเสียง จนหายใจเข้าและออกไม่ได้ ไอไม่ได้ พูดไม่ได้ (ไม่มี
เสียง) ผู้ป่วยมีสีหน้าตื่นตกใจ ใช้มือกุมคอ หรือใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปใน
ปาก ถ้าไม่รีบแก้ไขในเวลา 2-4 นาที ผู้ป่วยจะขาดอากาศหายใจ หมดสติ
ล้มลง แล้วหัวใจหยุดเต้น
เหตุการณ์เช่นนี้ มักเกิดในขณะที่ ผู้ป่วยกําลังกิน/เคี้ยวอาหาร
หรือขนมชิ้นใหญ่ แล้วหัวเราะ หรือสําลัก ทําให้อาหาร/ขนม หลุดเข้าไป
อุดคอหอยหรือกล่องเสียง ที่พบน้อยคือ การนําปลา หรือสิ่งมีชีวิต มา
กัดไว้ในปาก แล้วสิ่งมีชีวิตนั้นหลุดเข้าไปอุดคอหอยหรือกล่องเสียง เป็น
ต้น
การป้องกัน สําคัญกว่า เพราะการ “อัดท้อง” “อัดอก” อาจทํา
ให้เกิดการบาดเจ็บแก่อวัยวะที่ถูกกระแทก ดังนั้น การป้องกันการสําลัก
จนอุดตันทางเดินหายใจ ทําได้ง่าย และปลอดภัยกว่ามาก โดย ไม่กิน
อาหาร หรือขนมชิ้นใหญ่ ไม่พูดคุยหรือหัวเราะ ในขณะที่มีอาหารอยู่ใน
ปาก ไม่เอาสิ่งมีชีวิตใส่ปาก เป็นต้น
การช่วยเหลือ ปฏิบัติตามวิธีการช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้น
ทันที หน้า 44
22 สารบัญผังหลัก
ทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน
หัวใจหยุดเต้น
หายใจอุดกั้น
• สําลักอาหารแล้ว
หายใจอุดกั้นทันที
• พูดไม่ได้ ไอไม่ได้
• มักเอามือกุมคอ
ตาเหลือก
อัดท้อง/อัดอก
บาดแผลทะลุ
“1669”/
นําส่ง
รพ.
ไม่ใช่
ใช่ แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไขได้
ไม่ใช่
23 สารบัญผังหลัก
4. บาดแผลทะลุ
บาดแผลทะลุ หมายถึง บาดแผลที่ทะลุผ่านผิวหนังเข้าสู่อวัยวะ
ภายใน เช่น
ถูกยิงด้วยปืน บาดแผลที่เห็นด้านนอกอาจจะเป็นเพียงรูเล็กๆ
แต่ลูกกระสุนปืนอาจทะลุผิวหนัง เข้าไปทําลายอวัยวะภายในใต้ผิวหน้ง
นั้น และอาจจะทะลุออกไปอีกด้านหนึ่ง รูที่ลูกกระสุนปืนทะลุออกไป
มักจะใหญ่กว่ารูที่กระสุนปืนเข้า
ถูกแทงด้วยมีดหรือสิ่งอื่น บาดแผลด้านนอกจะมีลักษณะ
เหมือนใบมีดหรือสิ่งของที่แทงผ่านผิวหนังนั้น
24 สารบัญผังหลัก
โดยทั่วไปจะรู้ว่า
เป็น “บาดแผลทะลุ”
เพราะผู้ป่วยมี
อาการจากการ
บาดเจ็บของอวัยวะ
ภายในใต้บาดแผล
นั้น หรือเห็นอวัยวะ
ภายในโผล่ออกมา
ให้เห็นตรงบาดแผลนั้น หรือมีสิ่งของปักคาแผลนั้น เป็นต้น เช่น
ภาวะบาดแผลทะลุ มีลักษณะที่ตรวจพบได้ คือ
ถูกแทงด้วยมีดปักที่หน้าอก บาดแผลด้านนอกอาจมีลักษณะ
เป็นรอยแผลเล็กๆ ถ้าถูกแทงด้วยมีดพับเล็กๆ แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการ
หายใจลําบาก หน้าอกด้านที่ถูกแทงเคลื่อนไหวตามการหายใจน้อยกว่า
ด้านที่ไม่ถูกแทง แสดงว่ามีดแทงทะลุเข้าไปถึงปอด ทําให้ลมรั่วออกจาก
ปอด ทําให้ปอดด้านนั้นแฟบลง จึงหายใจลําบาก
• บาดแผลเปิ ดมีเลือด นํ้า หรือลมรั่วเข้าออก
• สิ่งของปักคา
• อวัยวะภายในทะลักออกมา
25 สารบัญผังหลัก
ถูกแทงด้วยมีดที่ท้อง แล้วเห็นลําไส้ส่วนหนึ่งโผล่อยู่ตรงแผล
นั้น หรือโผล่ออกมานอกแผลนั้น
หกล้มทับสิ่งของปลายแหลมที่ตั้งอยู่ แล้วสิ่งของนั้นปักคาอยู่
กับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ให้สงสัยว่าสิ่งของนั้นน่าจะทะลุชั้น
ผิวหนังเข้าไปถึงอวัยวะภายใน เพราะถ้ามันไม่ทะลุเข้าภายใน (คืออยู่
เพียงชั้นผิวหนัง) มันจะไม่ปักคาอยู่และจะหลุดออกจากผิวหนังได้ง่าย
เป็นต้น
การช่วยเหลือ ให้ปฏิบัติตามการช่วยเหลือบาดแผลปักคา หน้า
54 การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ หน้า 57 และการปิดบาดแผล
อวัยวะภายในทะลัก หน้า 59
บาดแผลทะลุ
หายใจอุดกั้น
บาดแผลทะลุ
• แผลเปิ ด มีเลือด/นํ้า/ลม รั่ว
• สิ่งของปักคา
• อวัยวะภายในทะลัก
ทําแผล วัตถุปักคา/ลมรั่ว
ภาวะคุกคามอื่น
“1669”/
นําส่ง
รพ.
ไม่ใช่
ใช่ แก้ไข
ไม่ได้
แก้ไขได้
ไม่ใช่
26 สารบัญผังหลัก
5. ภาวะคุกคามอื่น
ภาวะฉุกเฉินต่อไปนี้ อาจไม่รุนแรงพอที่จะทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ได้ทันที แต่อาจเสียชีวิตหรือพิการได้ในเวลาต่อมาถ้าไม่ได้รับการรักษา
โดยแพทย์ในเวลาอันรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปสามารถช่วยให้ผู้ป่วย
ได้รับการช่วยเหลือเพื่อรักษาชีวิตและป้องกันความพิการได้ โดยขอ
คําแนะนําการช่วยเหลือเบื้องต้นและขอหน่วยกู้ชีพ จาก “1669”
ในระหว่างที่รอหน่วยกู้ชีพมาช่วยเหลือ อาจให้การดูแลด้วยการ
ปฐมพยาบาลตามภาคผนวก และ การจัดท่าในผู้ป่วยหมดสติ (ตาม
วิธีการจัดท่าผู้ป่วยหมดสติ หน้า 49)
ในกรณีที่ไม่มีหน่วยกู้ชีพมาช่วยและต้องนําส่งโรงพยาบาลเอง
จําเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ในการยกและเคลื่อนย้ายอย่าง
ถูกวิธี (การลําเลียงขนย้าย หน้า 60) ภาวะคุกคามอื่น ที่สําคัญ ได้แก่
• ภาวะหายใจไม่สะดวก(หน้า 68)
• ภาวะหายใจผิดปกติ (หน้า 66)
• ภาวะช็อก (หน้า 70)
• ภาวะหมดสติ (หน้า 75)
• ภาวะชัก (หน้า 76)
• ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หน้า 7)
• โรคเส้นเลือดสมองตีบ/ตัน/แตก (หน้า 80)
• ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (หน้า 81)
27 สารบัญผังหลัก
• ภาวะบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ (หน้า 82)
ภาวะคุกคามอื่น มีลักษณะที่ตรวจพบได้คือ
เมื่อพบภาวะเหล่านี้ ให้สันนิษฐานว่า เป็นภาวะคุกคามอื่น ให้รีบ
แจ้ง “1669” เพื่อขอความช่วยเหลือ และลําเลียงส่งโรงพยาบาล ในกรณี
ที่ผู้ป่วยหมดสติ และไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บ ให้จัดท่าตามวิธีการจัด
ท่าผู้ป่วยหมดสติ (หน้า 49) หากในพื้นที่ ที่ไม่มีหน่วยบริการการแพทย์
ฉุกเฉินหรือหมายเลข “1669” อาจต้องลําเลียงนําส่งเอง ในรายที่เป็นการ
• หายใจมีเสียงดังผิดปกติ
• หายใจช้า เร็วหรือหยุดหายใจ
• ซึมลง ตัวเย็น เหงื่อออก ฟุบ
• หมดสติปลุกไม่ตื่น
• อัมพาตกะทันหัน
• ชักกระตุก
• เจ็บหน้าอกรุนแรง
• ไข้สูงมาก
• มีประวัติการบาดเจ็บรุนแรง บาดแผลฉกรรจ์ รอยชํ้า
รอยบุบ/ยุบเข้าไปในร่างกายและอวัยวะต่างๆ
28 สารบัญผังหลัก
บาดเจ็บรุนแรง ให้ทําการยก และเคลื่อนย้าย อย่างถูกวิธี ตามวิธีการ
ลําเลียงขนย้าย (หน้า 60)
รายละเอียดของภาวะเหล่านี้สามารถอ่านได้จากภาคผนวก
หน้า 67-82
ภาวะคุกคามอื่น
บาดแผลทะลุ
ภาวะคุกคามอื่น
• หายใจดังผิดปกติ
• หายใจช้า/เร็ว/หยุด
• ซึมลง/ตัวเย็น/เหงื่อออก/ฟุบ
• อัมพาตกะทันหัน
• ชักกระตุก
• เจ็บหน้าอกรุนแรง
• ไข้สูงมาก
• บาดเจ็บรุนแรงหลายอวัยวะ
จัดท่า
ปฐมพยาบาล
“1669”/
นําส่ง
รพ.
ไม่ใช่
ใช่
ไม่ใช่
หมดสติ
ไม่ใช่
ช่วยเหลือตามสาเหตุ
ใช่
29 สารบัญผังหลัก
ภาคปฏิบัติ
30 สารบัญผังหลัก
1. การห้ามเลือดภายนอก
เมื่อตรวจพบภาวะเลือดออกภายนอกที่คุกคามชีวิต ให้รีบ
พิจารณา ดังนี้
1. แจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือที่ “1669”
2. ป้องกันตนเองจากการเปื้อนเลือดผู้ป่วย
3. ให้ตรวจดูว่าเกิดจากแขนหรือขาขาดหรือไม่
4. ถ้าไม่ใช่ ให้ห้ามเลือดด้วยการกดโดยตรงที่จุดเลือดออก จน
เลือดหยุด แล้วพันแผลให้แน่นเพื่อให้เกิดแรงกด แล้วนําส่ง
โรงพยาบาล
5. ถ้าไม่ได้ผล ให้พิจารณากดเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงบริเวณ
นั้นจนเลือดหยุด แล้วพันแผลให้แน่นเพื่อให้เกิดแรงกด แล้ว
นําส่งโรงพยาบาล
6. ถ้ากดที่เส้นเลือดแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดจากแขนหรือขาขาด
ให้ทําการขันชะเนาะ เมื่อทําการขันชะเนาะแล้ว ห้ามคลาย
หรือแก้ออก เพราะจะเกิดอันตรายถึงตายได้ ให้แพทย์ที่
รักษาต่อเป็นผู้ที่แก้ชะเนาะเท่านั้น
31 สารบัญผังหลัก
วิธีการห้ามเลือดภายนอกด้วยการใช้แรงกดโดยตรง
ใช้ส้นมือ (ที่อยู่ในถุงมือยางหรือถุงพลาสติก) กดลงตรงจุด
เลือดออก จนเลือดหยุดไหล ถ้ามีผ้าสะอาด ให้พับผ้านั้น เป็นชิ้นหนา
วางบนจุดเลือดออก แล้วใช้ส้นมือ กดลงบนผ้านั้นจนเลือดหยุดไหล แล้ว
เรียกให้ผู้อื่นมาช่วยกดไว้นานประมาณ 15-20 นาที ขณะที่ตนเอง
ตรวจหาภาวะคุกคามชีวิตอื่นตามลําดับ หรือจนกว่าหน่วยกู้ชีพจาก
“1669” จะมาช่วยเหลือและนําส่งโรงพยาบาลที่ถูกต้องต่อไป
เลือดออกภายนอกจํานวนมาก
ใช้แรงกดโดยตรง
ใช้แรงกดที่เส้นเลือดแดง
แขน/ขา ขาด
ไม่ใช่
ได้ผลดี
ได้ผลดีไม่ได้ผล
ไม่ได้ผล
ห้ามคลายชะเนาะ
ใช่
ขันชะเนาะ
พันแผลให้แน่น
ส่งต่อ/
ขั้นตอน
ต่อไป
32 สารบัญผังหลัก
การห้ามเลือดออกภายนอกด้วยการใช้แรงกดโดยตรง
เมื่อเลือดหยุดแล้วใช้พลาสเตอร์พันให้แน่น
33 สารบัญผังหลัก
วิธีการห้ามเลือดภายนอกด้วยการใช้แรงกดเส้นเลือดแดง
ในกรณีที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้ด้วยการกดจุดที่เลือดออก
โดยตรง หรือมีเลือดออกที่แขน/ขาเป็นจํานวนมากหรือหลายจุดจนไม่
สามารถกดจุดที่เลือดออกได้อย่างทั่วถึง ให้ใช้วิธีกดที่เส้นเลือดแดง ที่มา
เลี้ยงบริเวณแขนหรือขา ตามรูป
การกดเส้นเลือดแดงกลางแขน
พับ ด้วยหัวนิ้วแม่มือเพื่อห้าม
เลือดบริเวณแขนท่อนล่าง
ทั้งหมด
การกดเส้นเลือดแดงที่กลางขา
หนีบ ด้วยส้นมือ เพื่อห้ามเลือด
บริเวณขาทั้งหมด
34 สารบัญผังหลัก
วิธีการห้ามเลือดภายนอกด้วยการขันชะเนาะ
ในกรณีที่แขนหรือขาขาดและเสียเลือดมาก หรือในกรณีที่ไม่
สามารถห้ามเลือดออกภายนอกจํานวนมากด้วยการกดเส้นเลือดแดง ให้
ใช้วิธีขันชะเนาะ โดยใช้ผ้า เช่นผ้าขาวม้าหรือผ้าพันคอ หรือถุงพลาสติก
ชนิดเหนียว ผูกต่อกันให้มีความยาวพอที่จะพันรอบต้นแขนหรือต้นขา
แล้วผูกรัดให้เหนือต่อบริเวณที่เลือดออกพอสมควรโดยให้ใกล้จุดที่
เลือดออกมากที่สุด โดยพับผ้าหรือถุงพลาสติกเป็นหมอนเล็กๆ เพื่อ
รองรับจุดที่จะขันชะเนาะ แล้วผูกปมให้ห่างจากจุดที่จะขันชะเนาะ
ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต่อจากนั้นสอดใส่แท่งไม้ ตะเกียบ ปากกา ดินสอ หรือ
ด้ามช้อนส้อม เข้าในช่องว่างนั้น แล้วหมุนไขให้เป็นเกลียวเพื่อให้
ถุงพลาสติกหรือผ้ารัดต้นแขนหรือต้นขาจนกระทั่งเลือดหยุดไหล แล้ว
คลายออกเล็กน้อยจนมีเลือดเริ่มซึมออกเล็กน้อย ต่อจากนั้นจึงผูกตรึงให้
สิ่งที่ใช้หมุนนั้นอยู่กับที่
เมื่อขันชะเนาะจนเลือดหยุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้รีบนําส่ง
โรงพยาบาล โดย ห้ามคลายชะเนาะอย่างเด็ดขาด ให้เป็นหน้าที่ของ
แพทย์ที่ดูแลต่อ
35 สารบัญผังหลัก
การผูกชะเนาะให้เหลือ
ช่องว่างเป็น “บ่วง”
สําหรับขันชะเนาะ
เมื่อขันชะเนาะจนเลือด
หยุดพอดีแล้วให้ตรึงสิ่ง
ที่ใช้ขันให้อยู่กับที่
36 สารบัญผังหลัก
หมายเหตุ
1. วิธีการห้ามเลือด อาจใช้เวลานาน ทําให้การตรวจหาภาวะคุกคาม
ชีวิตอื่นในขั้นตอนต่อไปล่าช้า หากมีเลือดออกมาก ควรมีผู้ช่วยคน
หนึ่งรับผิดชอบเรื่องการห้ามเลือด โดยให้ผู้ช่วยหลักได้ตรวจหาภาวะ
คุกคามชีวิตอื่นในลําดับต่อๆไป และถ้าแก้ไขได้ ให้แก้ไขไปพร้อมกับ
การห้ามเลือด
2. หากห้ามเลือดไม่สําเร็จหรือได้ผลไม่ดี ให้รีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
37 สารบัญผังหลัก
2. การปั๊มหัวใจ และการกระตุกหัวใจ
อัตโนมัติ
เมื่อตรวจพบผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจ ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ปลุกและเรียกผู้ป่วยเพื่อยืนยันว่าหมดสติ
38 สารบัญผังหลัก
2. สังเกตดูหน้าอกของผู้ป่วยว่าหยุดหายใจ
3. แจ้งเหตุขอความช่วยเหลือจาก “1669” หากยังไม่ได้แจ้ง
39 สารบัญผังหลัก
4. เปิดเสื้อด้านหน้าของผู้ป่วยออก
5. วางส้นมือซ้อนทับกันลงบนกระดูกกลางหน้าอกผู้ป่วยใน
ระดับราวนม โดยให้ปลายนิ้วทั้งหมดยกขึ้น
40 สารบัญผังหลัก
6. เหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรงและตั้งฉากกับลําตัวผู้ป่วย ใช้
นํ้าหนักตัว โถมผ่านลําแขนทั้งสองข้าง ลงไปที่ส้นมือทั้งสอง
เพื่อกดกระดูกกลางอกในผู้ใหญ่ให้ยุบลง 5-6 เซนติเมตร
แล้วผ่อนการกดเพื่อให้หน้าอกคืนกลับที่เดิม (โดยไม่ยกส้น
มือออกจากผิวหนังหน้าอก) แล้วกดใหม่/ผ่อนใหม่ สลับกัน
ไปเช่นนี้ประมาณ 100-120 ครั้ง/นาที จนกว่าผู้ป่วยจะมี
ปฏิกิริยา (ตื่น หายใจเอง เริ่มเคลื่อนไหว เป็นต้น) หรือ
จนกว่าทีมกู้ชีพจาก “1669” จะมาช่วยกู้ชีพต่อ
สําหรับผู้ช่วยเหลือที่เคยฝึก “เป่าปาก/จมูก” ช่วยหายใจมาแล้ว
และรู้ว่าผู้ป่วยไม่มีโรคติดต่อใดๆ (เพราะเป็นญาติหรือเพื่อนที่รู้จักกันดี)
ควรจะ“เป่าปาก/จมูก”ช่วยหายใจให้ผู้ป่วย(ผู้ใหญ่) 2 ครั้งหลังการ “ปั๊ม
หัวใจ” 30 ครั้ง สลับกันไปเรื่อยๆ (ส่วนทีมกู้ชีพจะใช้ “หน้ากาก-ถุงหายใจ”
แทนการ “เป่าปาก” ซึ่งได้ผลและปลอดภัยกว่า)
หลักสําคัญของการ “ปั๊มหัวใจ” คือ
• กดเร็ว(100-120 ครั้ง/นาที)
• กดลึก(5-6 เซนติเมตรในผู้ใหญ่)
• ปล่อยสุด(ให้หน้าอกคืนกลับเต็มที่)
• หยุดน้อย(อย่าหยุดกดนอกจากจําเป็นและหยุด
ไม่เกิน 10 วินาที/ครั้ง)
41 สารบัญผังหลัก
ถ้ามี “เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ” หรือเครื่อง “AED”
(automated external defibrillator) หรือเครื่อง “PAD” (public access
defibrillator) ที่อยู่ใกล้ๆและใช้เป็น การใช้เครื่องนี้จะทําให้การฟื้นคืนชีพ
ในภาวะหัวใจหยุดเต้น ประสบผลสําเร็จมากขึ้น
การต่อเครื่องกระตุก
หัวใจโดยใช้แผ่นนํา
ไฟฟ้าติดกับหน้าอก
2 จุดตามคําแนะนํา
ของเครื่องที่แผ่น
เครื่องจะวิเคราะห์
คลื่นหัวใจและหาก
พบว่าควรทําการช็อก
และจะบอกให้อยู่ห่าง
จากผู้ป่วย แล้วจึงกด
ปุ่มช็อก หากเครื่อง
ไม่บอกให้ช็อกก็ให้
ปั๊มหัวใจต่อไป
42 สารบัญผังหลัก
ภาวะหัวใจหยุดเต้นสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทัวไป
มีสัญญาณชีพ
ใช้เครื่องกระตุกหัวใจ
• เสียชีวิตนานแล้ว
• ไม่ยินยอม
ไม่ใช่
2 นาทีต่อรอบ
ได้ผลดี
ไม่ได้ผล
ใช่
ปั๊มหัวใจคุณภาพ
• กดเร็ว(100-120 ครั้ง/นาที)
• กดลึก(5-6 เซนติเมตรในผู้ใหญ่)
• ปล่อยสุด(ให้หน้าอกคืนกลับเต็มที่)
• หยุดน้อย(อย่าหยุดกดนอกจาก
จําเป็นและหยุดไม่เกิน 10 วินาที/
ครั้ง)
ไม่ต้องช่วย
ส่งต่อ/
ขั้นตอน
ต่อไป
หมดสติ ไม่หายใจ
ระดมความ
ช่วยเหลือ/”1669”
ปั๊มหัวใจคุณภาพ
ให้ออกซิเจน(ถ้ามี)
ต่อเครื่องกระตุกหัวใจ(ถ้ามี)
ใช่
ไม่ใช่
43 สารบัญผังหลัก
เมื่อหน่วยกู้ชีพ “1669” มาถึงแล้ว ย่อมดําเนินการกู้ชีพต่อ และนําผู้ป่วย
ส่งโรงพยาบาลที่สามารถรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
หากไม่พบว่าผู้ป่วยหมดสติ (ไม่ควรเกิน 5-6 วินาที) ให้ดําเนินการตาม
ขั้นตอนต่อไปทันที โดยไม่ต้องตรวจดูว่า ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือไม่
เพราะผู้ป่วยที่รู้สึกตัวย่อมหายใจได้เอง
44 สารบัญผังหลัก
3. การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันที
การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันทีจากทางเดินหายใจอุดกั้น
กะทันหัน จะต้องรีบทําโดยด่วนที่สุด ไม่ควรให้สมองขาดออกซิเจนเกิน
กว่า 4 นาที เพราะจะทําให้พิการและเสียชีวิตได้ การช่วยเหลือจะต้องทํา
ทันทีด้วยวิธีการตบหลัง/อัดท้อง/อัดอก โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
1. ถ้าผู้ป่วยยังไอได้ ให้ไอไปเรื่อยๆ จนกว่าสิ่งที่อุดอยู่จะหลุดออก
ในขณะที่ผู้ช่วยเหลือโทรศัพท์แจ้ง “1669”
2. ถ้าผู้ป่วยไอไม่ได้และพูดไม่ได้ ให้รีบช่วยเหลือดังนี้
การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันที
การตบหลัง
ท้องโต
มีผู้ช่วยเหลือ
ปั๊มหัวใจ
การอัดท้องด้วยตนเอง
การอัดท้อง การอัดอก
ไม่มี
ไม่ใช่ ใช่
ไม่สําเร็จ
ไม่สําเร็จ/หมดสติ
มี
ไม่สําเร็จ/หมดสติ
ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
ได้ผลดีได้ผลดี
สําเร็จ
สําเร็จ
หมดหวัง
ไม่สําเร็จ
45 สารบัญผังหลัก
การตบหลัง (back blow)
ทําได้โดยการใช้มือหนึ่งประคองหน้าท้องของผู้ป่วย อีกมือหนึ่ง ตบ
แรงๆ ที่บริเวณกลางระหว่างสะบักทั้งสองข้าง จนกว่าสิ่งแปลกปลอม จะ
หลุดออกมา หากไม่สําเร็จ ให้ใช้วิธีการอัดท้องต่อไป
46 สารบัญผังหลัก
การอัดท้อง (abdominal thrust) มีวิธีการปฏิบัติ 2 แบบ คือ
(1) ผู้ช่วยเหลือยืนข้างหลังผู้ป่วยที่ยังยืนได้ แล้วใช้แขน 2 ข้าง
โอบรอบเอวผู้ป่วย โดยกําหมัดข้างหนึ่งวางลงบนบริเวณ
เหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อย และอยู่ใต้กระดูกอ่อนลิ้นปี่ แล้ว
ใช้มืออีกข้างหนึ่งกุมมือที่กําหมัดไว้แล้ว หลังจากนั้นออก
แรงกระตุกรัดอัดกําหมัดนั้น เข้าไปในช่องท้องในทิศทางขึ้น
ข้างบน (เข้าไปในช่องอก) แรงๆ เร็วๆ ติดๆกัน 4-5 ครั้ง ถ้า
สิ่งที่อุดอยู่ยังไม่หลุดออกมา ให้ทําซํ้าๆกันไปเรื่อยจนกว่า
47 สารบัญผังหลัก
ผู้ป่วยจะหมดสติ เมื่อผู้ป่วยหมดสติให้ดําเนินการตาม
วิธีการปั๊มหัวใจ (หน้า 37)
(2) ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าอยู่ด้านข้างท้องของผู้ป่วยที่นอนอยู่ กํา
หมัดข้างหนึ่ง วางลงบริเวณเหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อย และ
อยู่ใต้กระดูกอ่อนลิ้นปี่ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งกุมมือที่กําหมัด
ไว้แล้ว หลังจากนั้นออกแรงกระแทกอัดกําหมัด(เข้าไปใน
ช่องอก) แรงๆ เร็วๆ ติดๆกัน 4-5 ครั้ง ถ้าสิ่งที่อุดอยู่ยังไม่
หลุดออกมา ให้ทําซํ้าๆกันจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ เมื่อ
ผู้ป่วยหมดสติให้ดําเนินการตามวิธีการปั๊มหัวใจ (หน้า 37)
การอัดอก (chest thrust) ในผู้ป่วยที่ท้องโตมาก เช่น ตั้งครรภ์
หรืออ้วนมาก ให้ใช้วิธีการอัดอก แทนการอัดท้อง โดยวางกําหมัด
ไว้บนกระดูกกลางหน้าอก(แทนหน้าท้อง) แล้วออกแรงกระตุกรัดอัด
กําหมัดให้ดันกระดูกกลางหน้าอกยุบลงไปให้มากที่สุดติดๆกัน 4-5
48 สารบัญผังหลัก
ครั้ง สําหรับผู้ป่วยที่นอนอยู่ ให้ใช้วิธีกดกระแทกกลางอกโดยคุกเข่า
อยู่ข้างอกผู้ป่วย
การอัดท้องด้วยตนเอง ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดให้การช่วยเหลือได้
ผู้ป่วยอาจช่วยตนเอง โดยกําหมัดข้างหนึ่งวางบนหน้าท้องเหนือ
สะดือ ใช้มืออีกข้างกุมกําหมัดไว้ หรือจับโต๊ะ/เก้าอี้ไว้ แล้วก้มตัวลง
แรงๆ เพื่อให้ขอบโต๊ะหรือพนักเก้าอี้กระแทกกําหมัดนั้นเข้าไปใน
ช่องท้อง ขึ้นไปทางช่องอกแรงๆ ติดๆกัน 4-5 ครั้ง
หากสิ่งที่อุดคอหอยหลุดออก และผู้ป่วยหายใจได้สะดวก
โดยไม่มีอาการเจ็บท้องหรือเจ็บอก ก็ไม่จําเป็นต้องไปตรวจต่อที่
โรงพยาบาล แต่ถ้าหากยังหายใจไม่สะดวกหรือมีอาการผิดปกติ
อื่นๆ ควรไปตรวจต่อที่โรงพยาบาล
49 สารบัญผังหลัก
4. การจัดท่าสําหรับผู้ป่วยหมดสติ
ข้อห้าม ในผู้ป่วยที่หมดสติจากการบาดเจ็บและไม่แน่ใจว่า
กระดูกคอและกระดูกหลังเคลื่อนหรือหักหรือไม่ ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกมา
อย่างดี ห้ามขยับเขยื้อนหรือจัดท่าผู้ป่วยโดยเด็ดขาด
การจัดท่าในผู้ป่วยหมดสติ
ผู้ป่วยหมดสติ
บาดเจ็บ คอ/หลัง
ภาวะคุกคามอื่น
ยกเว้นภาวะหมดสติ
การจัดท่า
ช่วยเหลือตามสาเหตุ
(ภาคผนวก))
ไม่มี
มีข้อใดข้อหนึ่ง
ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
50 สารบัญผังหลัก
เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บและไม่มีภาวะ
คุกคามชีวิตอื่น ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่หายใจได้สะดวก และไม่
สําลัก นํ้าลาย หรือสิ่งที่อาเจียนออกมาเข้าไปในปอด (ก่อนการขนย้าย)
หากไม่จัดท่าให้เหมาะสมอาจทําให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น
จากภาวะลิ้นตกและสําลักนํ้าลายหรือสิ่งที่อาเจียนออกมา การจัดท่าเพื่อ
ป้องกันภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นจากสาเหตุเหล่านี้เป็นเรื่องสําคัญ
อย่างยิ่งที่จะทําให้ผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะอันตรายเหล่านี้ได้
วิธีจัดท่าสําหรับผู้ป่วยหมดสติ ทําตามขั้นตอน ดังนี้
1. ยกขาด้านตรงข้ามกับผู้ช่วยเหลือขึ้น ให้อยู่ในท่าชันเข่า
51 สารบัญผังหลัก
2. จัดให้แขนและมือด้านผู้ช่วยเหลืออยู่ในท่าชูเหนือศีรษะ
52 สารบัญผังหลัก
3. จัดให้แขนด้านตรงข้ามพับงอทาบกับหน้าอกโดยให้มืออยู่
เหนือหัวไหล่ด้านผู้ช่วยเหลือ
4. ใช้มือข้างหนึ่งจับหัวไหล่ด้านตรงข้าม อีกข้างหนึ่งจับสะโพก
พลิกตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ช่วยเหลือ โดยจัดให้หน้าและศีรษะ
53 สารบัญผังหลัก
วางอยู่บนต้นแขนที่เหยียดอยู่ และเข่าด้านตรงข้ามจะอยู่ใน
ท่างอทับคร่อมขาด้านผู้ช่วยเหลือ
5. จัดให้หน้าของผู้ป่วยอยู่ในท่ากึ่งควํ่าลง เพื่อไม่ให้ลิ้นตกจน
อดกั้นทางเดินหายใจ และให้นํ้าลายและเศษอาหารจากการ
อาเจียนไหลออกจากปาก ทําให้ไม่สําลักจนอุดกั้นทางเดิน
หายใจได้
54 สารบัญผังหลัก
5. การช่วยเหลือบาดแผลปักคา
ข้อห้าม ห้ามดึงสิ่งของที่ปักคาออกจากตัวผู้ป่วยบาดแผลทะลุ
ที่มี่สิ่งของปักคาอยู่ หากจําเป็น อาจเลื่อยหรือตัดสิ่งของนั้นอย่างนุ่มนวล
เพื่อให้สิ่งที่ปักคาอยู่สั้นลง สะดวกแก่การนําส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
ยึดตรึงสิ่งที่ปักคาอยู่ให้อยู่นิ่งๆ (ไม่ให้แกว่งไปมา เพราะปลาย
สิ่งของนั้นอาจทําให้อวัยวะภายในบาดเจ็บมากขึ้น) โดยเอาผ้าเช็ดหน้า
หรือผ้าสะอาดอื่นๆ วางไว้รอบแผลที่มีสิ่งของปักอยู่ แล้วใช้เทปกาวหรือ
สิ่งอื่นยึดตรึงผ้านั้นไว้กับผิวหนังเพื่อช่วยตรึงสิ่งที่ปักคาไม่ให้เคลื่อนไหว
การช่วยเหลือบาดแผลปักคา
ห้ามดึงออก
ยาวเกะกะ
ทําแผล
ตัดด้วยเลื่อยหรือคีม
ไม่ใช่
ใช่
ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
55 สารบัญผังหลัก
บาดแผลทะลุที่ไม่มีสิ่งของปักคาอยู่ และไม่มีอวัยวะภายในโผล่
ให้เห็น ให้ใช้ผ้าสะอาดกดไว้ตรงบาดแผลจนเลือดหยุด แล้วใช้เทปกาว
หรือสิ่งอื่นยึดตรึงผ้านั้นกับผิวหนัง
หลังให้การช่วยเหลือข้างต้นแล้ว ให้รีบนําผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
บาดแผลทะลุหน้าท้องที่มีสิ่งของปักคา ให้ประคองสิ่งปักคานั้นด้วย
ผ้าหรือวัสดุอื่นที่พับได้จนหนาพอ(ดังภาพ) ห้ามนําสิ่งของปักคา
ออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
56 สารบัญผังหลัก
ใช้พลาสเตอร์หรือเทปกาวปะติดกับผิวหนังให้สิ่งของนั้นอยู่ในท่าเดิม
57 สารบัญผังหลัก
6. การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ
กรณีบาดแผลทะลุบริเวณอก ให้ใช้วิธีการทําแผล 3 ด้าน โดยใช้
เศษผ้าชิ้นเล็กๆ หรือเศษสําลี หรือเศษกระดาษชิ้นเล็กๆ ไปจ่อไว้ที่รูแผล
ถ้าเศษผ้าฯลฯ เหล่านั้นมีการเคลื่อนไหวเข้าและ/หรือออกจากรูแผล
แสดงว่ามีลมรั่วเข้าและ/หรือ ออกจากทรวงอก ให้ใช้ถุงพลาสติกสะอาด
ที่ยังไม่เคยใช้งาน (ที่ใช้ใส่อาหารหรือยา) ฉีกหรือตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม
จตุรัสหรือผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 4-6 นิ้ว วางให้ด้านในปะลงบนรู
แผล ให้รูแผลอยู่ตรงกลาง แล้วใช้เทปกาวปิดขอบ 3 ด้าน ปล่อยให้ด้าน
ที่อยู่ตํ่าเป็นทางระบายให้ของเหลวไหลออก ส่วนอากาศจะไม่สามารถ
ผ่านเข้าไปในรูทรวงอกได้
การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ
แผลหน้าอกทะลุ
ลมรั่ว
ทําแผลปกติ
ทําแผล 3 ด้าน
ไม่ใช่
ใช่
ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
58 สารบัญผังหลัก
1.ใช้ถุงพลาสติกใสที่ยังไม่เคยใช้งาน ตัดให้เป็นรูป 4 เหลี่ยม
จตุรัสให้มีขนาดใหญ่กว่าบาดแผลด้านละ 2 นิ้ว ใช้ด้านในที่
สะอาดและยังไม่เคยสัมผัสด้วยมือปะติดกับบาดแผล
2.ใช้พลาสเตอร์หรือเทปกาว ติดให้แผ่นพลาสติกสนิทแนบ
กับผิวหนัง 3 ด้าน โดยเว้นด้านตํ่าเพื่อให้เลือดและของ
เหลวไหลออกได้ แต่อากาศผ่านเข้าไปในแผลไม่ได้
การทําแผล 3 ด้าน
การทําแผล 3 ด้าน
59 สารบัญผังหลัก
7. การปิ ดบาดแผลอวัยวะภายในทะลัก
ในกรณีที่บาดแผลทะลุมีอวัยวะภายในโผล่ที่ปากแผล หรือโผล่
ออกมานอกบาดแผลนั้น ห้ามดึงหรือดันอวัยวะภายในที่โผล่ออกมา
เพื่อให้กลับเข้าไปใหม่อย่างเด็ดขาด ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบนํ้าสะอาดวาง
โปะลงบนบาดแผล ให้คลุมอวัยวะภายในที่โผล่ออกมานอกบาดแผล
แล้วใช้ถุงพลาสติกสะอาด(ใช้ใส่อาหารหรือยา) ที่ยังไม่เคยใช้ ตัดให้เป็น
แผ่น ใช้ด้านในของถุงพลาสติกที่ยังสะอาดอยู่ คลุมบนอวัยวะนั้น แล้วใช้
เทปกาวหรือสิ่งอื่น ยึดตรึงถุงพลาสติกกับผิวหนังทั้ง 4 ด้าน ทั้งนี้ เพื่อ
ป้องกันไม่ให้อวัยวะนั้น แห้งจนกระทั่งเนื้อตาย ไม่สามารถใช้การต่อไป
ได้
การช่วยเหลือบาดแผลอวัยวะภายในทะลัก
ห้ามจัดใส่คืน
ทําแผลแบบชื้น
ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
60 สารบัญผังหลัก
8. การลําเลียงขนย้าย
โดยทั่วไป อาสาสมัครและประชาชนทั่วไป ไม่ควรมีหน้าที่ในการ
ลําเลียงขนย้ายผู้เจ็บป่วย ยกเว้นในกรณีที่พื้นที่นั้นๆ ไม่มีหน่วยกู้ชีพ
ให้บริการ หรือไม่สามารถแจ้งเหตุที่ “1669”
อาสาสมัครและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ที่มีระบบการแพทย์
ฉุกเฉินดีแล้ว ไม่จําเป็นต้องฝึกการลําเลียงขนย้ายผู้ป่วย
การยกและเคลื่อนย้ายที่จําเป็นต้องทําโดยผู้ชํานาญ คือการยก
และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ หากกระทําโดยผู้ไม่
การยกและเคลื่อนย้าย
บาดเจ็บที่ศีรษะและคอ
มีระบบกู้ชีพ
1669 แจ้งและรอหน่วยกู้ชีพ
ไม่มี
มี
ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
ใช่
ไม่ใช่
ยกแบบ 2 คน
ยกแบบท่อนไม้
61 สารบัญผังหลัก
ชํานาญ อาจทําให้กระดูกคอซึ่งแตกหักจากการบาดเจ็บกดทับลงไปบน
ไขสันหลัง ทําให้เกิดอัมพาตของแขนและขาทั้ง 4 และหยุดหายใจได้
จําเป็นที่ผู้ช่วยเหลือ จะต้องฝึกและทําความเข้าใจให้ถ่องแท้
คู่มือการกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไปได้
บรรจุเนื้อหาการยกและเคลื่อนย้ายไว้ 2 วิธี สําหรับอาสาสมัครและ
ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ที่ระบบการกู้ชีพยังไม่สามารถเข้าถึงได้ใน
ระยะเวลาอันสั้นหรือไม่มีระบบแจ้งเหตุ “1669” ได้แก่
1. การพลิกตัวและการยกผู้ป่วยแบบท่อนไม้
2. การขนย้ายผู้ป่วยด้วยผู้ช่วยเหลือ 2 คน
62 สารบัญผังหลัก
การพลิกตัวและการยกผู้ป่วยแบบท่อนไม้ โดยผู้ช่วยเหลือ 4
คน สําหรับผู้บาดเจ็บที่ศีรษะและคอ การช่วยเหลือชนิดนี้ควรจัดใหผู้
ช่วยเหลือที่มีความสูงสุดอยู่หัวและท้าย จะทําให้สะดวกแก่การประคอง
ศีรษะไม่ทําศีรษะอยู่ในท่าเงยเกินไป
1.ผู้ช่วยเหลือคนแรกทําการตรึงศีรษะและลําคอ โดยจัดให้ศีรษะ คอและลําตัว เป็น
แนวตรง
2.ผู้ช่วยเหลืออีก 3 คน เตรียมพลิกตัวผู้ป่วย แบบเป็นแท่งตรง ด้วยท่าทางตามภาพ
63 สารบัญผังหลัก
4.ผู้ช่วยเหลือทั้งหมดยกผู้ป่วยขึ้นในท่ายืนพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปยังแผ่นกระดานรอง
หลัง ควรให้ผู้ที่สูงกว่าประคองศีรษะ เพื่อให้ลําตัวผู้ป่วยเป็นแท่งตรงเหมือน “ท่อนไม้”
3.ผู้ช่วยเหลือทั้ง4 คน ยกผู้ป่วยขึ้นพร้อมกัน โดยให้ศีรษะ คอ และลําตัวเป็นแท่งตรง
64 สารบัญผังหลัก
การขนย้ายด้วยการใช้ผู้ช่วยเหลือ 2 คน ในผู้เจ็บป่วยที่ไม่มี
ปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่ศีรษะและลําคอ อาจลําเลียงผู้ป่วยโดย
วิธีการตามภาพข้างล่างนี้
2.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 ยกเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นชันเข่า
1.ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ช่วยเหลือ 2 คน อยู่ด้านหัว (คนที่ 1)
และด้านเท้า (คนที่ 2)
65 สารบัญผังหลัก
3.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 จับแขนทั้งสองของผู้ป่วยส่งให้ผู้ช่วยเหลือคนที่
2ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 ใช้ขาท่อนล่างยันขาของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าชัน
เข่า แล้วใช้มือจับแขนทั้งสองข้างของผู้ป่วยให้แน่น
4.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ประคองหลังผู้ป่วยขึ้ ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 ดึง
แขนทั้งสองให้ผู้ป่วยลุกขึ้น
66 สารบัญผังหลัก
5.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 หันหลัง ใช้มือ 2 ข้างจับที่ข้อพับเข่าทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย
แล้วยกขึ้นพร้อมกับลุกยืนขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ใช้มือทั้งสองสอดเข้าที่รักแร้
ของผู้ป่วยเพื่อจับแขนท่อนล่างของผู้ป่วยทั้งสองข้าง มือขวาควํ่าจับแขนขวา
มือซ้ายควํ่าจับแขนซ้าย
6.ผู้ช่วยเหลือทั้งสอง ลุกขึ้นพร้อมๆ กัน และเดินไปข้างหน้า
67 สารบัญผังหลัก
ภาคผนวก
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer
Cls for volunteer

Contenu connexe

Tendances

บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์krunumc
 
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วยสิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วยSutthiluck Kaewboonrurn
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationSirinoot Jantharangkul
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยUtai Sukviwatsirikul
 
หน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐาน
หน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐานหน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐาน
หน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐานJanchai Pokmoonphon
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลSutthiluck Kaewboonrurn
 
Post cardiac arrest care can we make it better?
Post cardiac arrest care can we make it better?Post cardiac arrest care can we make it better?
Post cardiac arrest care can we make it better?Kanyanat Taew
 
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกการดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกPatamaporn Seajoho
 
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresentแบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresentthanapat yeekhaday
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการUtai Sukviwatsirikul
 

Tendances (20)

Checklist chest drain 1
Checklist chest drain 1Checklist chest drain 1
Checklist chest drain 1
 
โครงการบริจาคโลหิต
โครงการบริจาคโลหิตโครงการบริจาคโลหิต
โครงการบริจาคโลหิต
 
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วยสิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
สิทธิและหน้าทีของผู้ป่วย
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulation
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
 
Pptลิลิตตะเลงพ่าย
Pptลิลิตตะเลงพ่ายPptลิลิตตะเลงพ่าย
Pptลิลิตตะเลงพ่าย
 
หน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐาน
หน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐานหน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐาน
หน่วยที่ 4-เครื่องมือช่างพื้นฐาน
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
Warning sign
Warning signWarning sign
Warning sign
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาล
 
Post cardiac arrest care can we make it better?
Post cardiac arrest care can we make it better?Post cardiac arrest care can we make it better?
Post cardiac arrest care can we make it better?
 
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกการดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
 
งานช่างพื้นฐาน
งานช่างพื้นฐานงานช่างพื้นฐาน
งานช่างพื้นฐาน
 
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresentแบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 
CAD IHD and VHD
CAD IHD and VHDCAD IHD and VHD
CAD IHD and VHD
 
Abdominal Trauma (Thai)
Abdominal Trauma (Thai)Abdominal Trauma (Thai)
Abdominal Trauma (Thai)
 

Similaire à Cls for volunteer

การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์taem
 
การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล  ลิ้มสถิตย์การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล  ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์taem
 
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdfคู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว Utai Sukviwatsirikul
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ Utai Sukviwatsirikul
 
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสารภี
 
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยsoftganz
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canadasoftganz
 
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบกคู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบกUtai Sukviwatsirikul
 
Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5taem
 
สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3
สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3
สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3thaitrl
 
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วยโครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วยNook Jutima Prachachay
 
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยาศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยาUtai Sukviwatsirikul
 

Similaire à Cls for volunteer (20)

การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้องผู้ป่วยฉุกเฉิน อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
 
การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล  ลิ้มสถิตย์การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล  ลิ้มสถิตย์
การป้องกันการฟ้องร้อง..อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
 
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
 
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdfคู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
 
Ethics in Emergency Medicine
Ethics in Emergency MedicineEthics in Emergency Medicine
Ethics in Emergency Medicine
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
 
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
 
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
 
Living wills1
Living wills1Living wills1
Living wills1
 
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canada
 
Health care system 2018
Health care system 2018Health care system 2018
Health care system 2018
 
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบกคู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก  สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
คู่มือการดูแลสุขภาพจิตกำลังพลกองทัพบก สำหรับโรงพยาบาลกองทัพบก
 
Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5
 
สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3
สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3
สรุปการประชุุมกลุ่มที่ 3
 
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วยโครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย
โครงการปันน้ำใจให้ผู้ป่วย
 
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยาศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
ศาสตร์และศิลป์ การสื่อสารข้อมูลเรื่องยา
 
9816 20607-1-sm
9816 20607-1-sm9816 20607-1-sm
9816 20607-1-sm
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

Cls for volunteer

  • 3. 1 สารบัญผังหลัก คํานํา การช่วยเหลือผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น หากมีความล่าช้าหรือให้ การดูแลรักษาไม่ถูกต้อง อาจทําให้ผู้เจ็บป่วยเสียชีวิตหรือพิการโดยไม่ สมควร ในทางตรงกันข้าม หากผู้ช่วยเหลือสามารถตรวจพบภาวะ ฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตได้รวดเร็ว และสามารถดําเนินการช่วยเหลือได้ อย่างเหมาะสมตามระดับความสามารถ และมีวิธีการช่วยเหลือที่ต่อเนื่อง ไปจนกระทั่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นได้รับการดูแลรักษาโดยสถานพยาบาล ที่เหมาะสม จะทําให้ผู้เจ็บป่วยนั้นมีโอกาสในการรอดชีวิตและลดความ พิการได้สูง โดยทั่วไป การช่วยเหลือที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ไม่อาจ เกิดขึ้นโดยผู้ที่มีหน้าที่มีความเชี่ยวชาญจําเพาะ เช่นแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพได้เสมอไป เนื่องจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่ได้อยู่ใน เหตุการณ์โดยตรง ฉะนั้น การที่จะทําให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการ ช่วยเหลือที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จําเป็นต้องพึ่งพาผู้ที่อยู่ใกล้เคียง หรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ แต่เป็น ประชาชนธรรมดาหรือผู้มีจิตอาสาให้การช่วยเหลือขั้นต้น ก่อนที่จะมี ผู้รับผิดชอบมาถึงและรับดําเนินการต่อ หลักการช่วยเหลือของประชาชนโดยทั่วไปเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฐมพยาบาล” เป็นวิธีการช่วยเหลือทั่วไปในขอบเขตของประชาชน ธรรมดา หลักสูตรหรือคู่มือการปฐมพยาบาลมักจะไม่ได้เน้นถึงการ
  • 4. 2 สารบัญผังหลัก ตรวจให้พบภาวะคุกคามชีวิต การพิเคราะห์ทางเลือก ปฏิบัติการ ช่วยชีวิตและการนําส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ ทําให้ผู้ ปฏิบัติการปฐมพยาบาล อาจไม่สามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะฉุกเฉินที่ คุกคามชีวิตที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินกําลังเป็นอยู่เฉพาะหน้า และอาจ ดําเนินการช่วยเหลือภาวะอื่นที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตก่อน ทํา ภาวะฉุกเฉินวิกฤตได้รับการดูแลล่าช้า โอกาสรอดชีวิตหรือโอกาสพ้น จากความพิการของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินจะลดลงอย่างไม่สมควร “การกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชน” เป็นชุด ความรู้และปฏิบัติการที่จะให้ความรู้และความสามารถในการตรวจพบ การพิเคราะห์ ปฏิบัติการ และการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน อย่างชัดเจน โดย จัดขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติเมื่อแรกพบกับผู้เจ็บป่วย ที่ต้องการความ ช่วยเหลือ เพื่อตรวจหาภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตและดําเนินการตาม ขั้นตอนวิธีการช่วยชีวิตที่อยู่ในขอบเขตที่ประชาชนทั่วไปสามารถกระทํา ได้ ตลอดจนการส่งต่อให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการต่อ อันจะทํา ให้ลูกโซ่ของกระบวนการช่วยชีวิตเชื่อมต่อกัน ในทางตรงกันข้าม เมื่อ ตรวจไม่พบภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตก็สามารถให้การช่วยเหลือตาม แนวทาง “การปฐมพยาบาล” ได้ตามปกติ สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยหวังว่าคู่มือ หลักสูตร “การกู้ชีพองค์รวม สําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป” จะทําให้ ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินระยะแรกที่ต้องพึ่งพาอาสาสมัคร
  • 5. 3 สารบัญผังหลัก และประชาชนทั่วไป มีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ เจ็บป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตได้เป็นอย่างดี สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยขอขอบคุณสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ ที่ได้สนับสนุนการจัดทําคู่มือกู้ชีพ องค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไปนี้เป็นอย่างยิ่ง
  • 6. 4 สารบัญผังหลัก สารบัญ คํานํา....................................................................................1 หลักการกู้ชีพองค์รวม....................................................6 ความปลอดภัย ...............................................................10 ผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์รวม..............................................14 ขั้นตอนการตรวจหาและช่วยเหลือภาวะคุกคามชีวิต.........15 1. เลือดออกภายนอกจํานวนมาก ..........................16 2. หัวใจหยุดเต้น...................................................18 3. ทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน..........................20 4. บาดแผลทะลุ ....................................................23 5. ภาวะคุกคามอื่น................................................26 ภาคปฏิบัติ ......................................................................29 1. การห้ามเลือดภายนอก......................................30 2. การปั๊มหัวใจ และการกระตุกหัวใจอัตโนมัติ........37 3. การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันที................44 4. การจัดท่าสําหรับผู้ป่วยหมดสติ .........................49
  • 7. 5 สารบัญผังหลัก 5. การช่วยเหลือบาดแผลปักคา.............................54 6. การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ....................57 7. การปิดบาดแผลอวัยวะภายในทะลัก..................59 8. การลําเลียงขนย้าย............................................60 ภาคผนวก.......................................................................67 1. ภาวะหายใจไม่สะดวก.......................................68 2. หายใจผิดปกติ..................................................70 3. ช็อก .................................................................74 4. ภาวะ “หมดสติ” ................................................75 5. ชัก....................................................................76 6. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน...................77 7. โรคเส้นเลือดสมองตีบตัน/แตก...........................80 8. การติดเชื้อในกระแสเลือด..................................81 9. การบาดเจ็บรุนแรง/หลายระบบ.........................82
  • 8. 6 สารบัญผังหลัก หลักการกู้ชีพองค์รวม โดยทั่วไป ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ต้องการความช่วยเหลือเร็วช้า ต่างกัน ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามชีวิต จะต้องให้การช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นจะเสียชีวิตภายในระยะเวลา อันสั้น ในขณะที่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไม่มีภาวะคุกคามชีวิต จะมีความเร่งด่วน ในการช่วยเหลือลดน้อยลง หรือสามารถรอได้ การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามชีวิต จะต้องทํา โดยด่วนที่สุด และถูกต้องด้วย ในประเทศและพื้นที่ที่มีระบบการแพทย์ ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ เมื่อมีเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นและมีการแจ้ง เหตุขอหน่วยกู้ชีพ จะมีหน่วยกู้ชีพมาถึงในระยะเวลาอันสั้นแต่ก็ยังต้อง รอ อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอ หากไม่มีการช่วยเหลือ อาจทําให้ผู้ เจ็บป่วยนั้นเสียชีวิต หรือทรุดหนักลงได้ ในทางตรงกันข้าม หากผู้ที่อยู่ ในบริเวณใกล้เคียงสามารถให้การช่วยเหลือ ก็จะเพิ่มโอกาสการรอด ชีวิตขึ้นได้มาก ในประเทศไทย อาสาสมัครและประชาชนทั่วไปซึ่งมีจิตอาสาที่ จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มีอยู่มาก หากได้เรียนรู้ทักษะการกู้ชีพที่เข้าใจ ง่ายและปฏิบัติได้ง่ายเพียงไม่กี่ประการ ก็จะสามารถช่วยผู้เจ็บป่วย ฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามชีวิตให้รอดชีวิตได้ในเบื้องต้น และช่วยประสาน กับระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อการดูแลรักษาต่อ แล้วนําส่งโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
  • 9. 7 สารบัญผังหลัก “การกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป” จึง ได้ถูกรวบรวมขึ้นโดยสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เพื่อทํา ให้เกิดแนวทาง “ตรวจหา พิจารณา ปฏิบัติการ และส่งต่อ” ที่สามารถ ปฏิบัติได้ง่ายโดยอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป โดยมีขั้นตอนหลักใน การปฏิบัติ ตามลําดับ ดังนี้ 1. เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น และ ผู้ช่วยเหลือได้ประสบเหตุ หากพบเห็น ผู้บาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน ให้รีบแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือไปที่ หมายเลข “1669” และเรียกผู้อยู่ข้างเคียงเข้ามาร่วมช่วยเหลือ 2. ตรวจดูความปลอดภัยของเหตุการณ์ ก่อนจะเข้าช่วยเหลือ เมื่อ แน่ใจว่าปลอดภัย ทั้งต่อผู้ช่วยเหลือและต่อผู้เจ็บป่วยจึงจะเข้า ไปช่วย หากไม่แน่ใจ ไม่ควรเข้าไป แต่ควรแจ้งเหตุให้ผู้ที่มี ความสามารถมาช่วยเหลือ 3. ตรวจหาภาวะคุกคามชีวิตตามลําดับในคู่มือนี้ แล้วพิจารณา ช่วยเหลือตามภาคปฏิบัติของคู่มือเล่มนี้ แล้วส่งต่อให้กับหน่วย กู้ชีพที่มาถึงในภายหลัง หรือ นําส่งโรงพยาบาลในกรณีที่ไม่มี หน่วยกู้ชีพในพื้นที่ หากไม่พบภาวะคุกคามชีวิตลําดับแรก ก็ให้ตรวจหาภาวะ คุกคามชีวิตในลําดับที่ 2-5 ต่อไป โดยใช้เวลาในการตรวจหาให้ สั้นที่สุด
  • 11. 9 สารบัญผังหลัก 4. ในกรณีที่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจนพ้นจากภาวะคุกคามชีวิต แล้ว ให้หน่วยกู้ชีพดําเนินการนําส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ใน ระหว่างรอหน่วยกู้ชีพ ให้ปฐมพยาบาลเท่าที่จําเป็นจนกว่าจะนํา ผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้
  • 12. 10 สารบัญผังหลัก ความปลอดภัย เมื่อประสบเหตุการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน สิ่งแรกที่ต้องทําคือ “ตั้ง สติ” พิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้น ตนจะช่วยผู้เจ็บป่วยด้วยตนเองได้หรือไม่ หรือจะเรียกคนอื่นมาช่วยจะดีกว่าหรือถูกต้องกว่า เป็นต้น การตั้งสติจะ ทําให้เราไม่ผลีผลามเข้าไปช่วยผู้เจ็บป่วย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และหรือผู้อื่นได้ นั่นคือ ขั้นตอนแรกในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน คือการ คํานึงถึงความปลอดภัย ซึ่งอาจแบ่งเป็น ความปลอดภัยของสถานที่ ถ้าสถานที่เกิดเหตุมีอันตรายหรือ เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น • ไฟไหม้ที่รุนแรงหรือมีควันมากหรือมีเสียงระเบิด (ซึ่งรู้ได้ เพราะ ได้เห็น ได้ยิน หรือได้กลิ่น) • นํ้าลึก/นํ้าเชี่ยว/นํ้าเย็นจัดหรือร้อนจัด เช่น นํ้าพุร้อน (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้สัมผัส) • ถนนที่มืด/เปลี่ยว/รถวิ่งด้วยความเร็วสูง (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็น) • จลาจล/การต่อสู้กันด้วยอาวุธ (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้ยิน) • ไฟฟ้าช็อต/รั่ว (ซึ่งรู้ได้ เพราะเห็นสายไฟ/โทรศัพท์มือถือ/เครื่อง ไฟฟ้าอื่นๆอยู่ใกล้หรือติดกับตัวผู้ป่วย หรือ ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ เปียกนํ้าที่มีไฟฟ้ารั่วได้ เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะเป็นต้น)
  • 13. 11 สารบัญผังหลัก • หลุมลึก/บ่อลึก ที่อาจมีสารพิษ หรือออกซิเจนน้อย (ซึ่งรู้ได้ เพราะผู้ที่ลงไปหมดแรงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถตะโกนเรียก คนช่วยได้ทันท่วงที) • สัตว์มีพิษ/มีอันตราย (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้ยิน) • สารพิษ (ซึ่งรู้ได้ เพราะสถานที่หรือยานพาหนะที่เกิดเหตุมี เครื่องหมายสารพิษติดอยู่ หรือมีกลิ่นฉุน หรือเห็นฝุ่นผงกระจาย และระคายเคืองตา/จมูก/ผิวหนัง หรือได้รับคําแจ้งเตือนให้อยู่ ห่างๆ) เป็นต้น อันตรายจากผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น • ผู้ป่วยเมา/คลั่ง/อาละวาด/มีอาวุธ (ซึ่งรู้ได้ เพราะได้เห็นหรือได้ ยิน) • ผู้ป่วยถูกทําร้าย (ซึ่งรู้ได้ เพราะเห็นบาดแผล/เลือดออก) อาจ เป็นอันตรายจากศัตรูของผู้ป่วยที่อาจกลับมาทําร้ายผู้ป่วยอีก • ผู้ป่วยมีโรคติดต่อร้ายแรง (ซึ่งรู้ได้ จากอาการและประวัติหรือ ข่าวโรคระบาดร้ายแรง) • ผู้ป่วยที่เปรอะเปื้อนสารพิษที่อาจแพร่กระจายสู่ผู้อื่น (ซึ่งรู้ได้ เพราะผู้ป่วยมาจากสถานที่ๆมีการแพร่กระจายของสารพิษ และ หรือมีฝุ่นผงหรือคราบของสารพิษติดตัวอยู่) • ผู้ป่วยที่หมดสติจากการบาดเจ็บ เช่น ตกจากที่สูง ถูกตีที่ศีรษะ/ คอ อุบัติเหตุ เป็นต้น ห้ามขยับเขยื้อนผู้ป่วย เพราะกระดูกคอ/ หลังอาจหัก ทําให้ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือเป็นอัมพาตได้
  • 14. 12 สารบัญผังหลัก ความปลอดภัยของผู้ช่วยเหลือ ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้ ควรมีสภาพกายและใจที่ เข้มแข็ง และต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตนมีความสามารถพอที่จะช่วยเหลือ ผู้ป่วยในสถานการณ์เช่นนั้นด้วยตนเองได้หรือไม่ เช่น • การกระโดดลงไปช่วยคนจมนํ้า แม้นํ้าจะไม่ลึก/ไม่เชี่ยว/ไม่เย็น จัดหรือร้อนจัด ผู้ช่วยเหลือจะต้องว่ายนํ้าเก่ง และรู้จักวิธีการ ช่วยเหลือคนที่กําลังจะจมนํ้า มิฉะนั้น อาจถูกคนที่กําลังจะจมนํ้า กอดรัดจนจมนํ้าตายไปด้วยกันได้ • วิธีช่วยที่ปลอดภัยกว่า น่าจะเป็นการโยนเชือกหรือสิ่งที่ลอยนํ้า ได้ลงไปให้ผู้ที่กําลังจะจมนํ้าจับ/เกาะ แต่ถ้าผู้ช่วยเหลือสวมเสื้อ ชูชีพอยู่และมีเชือกที่ยาวพอจนสามารถผูกปลายข้างหนึ่งกับเอว ของตนเองและปลายอีกข้างหนึ่งผูกไว้กับต้นไม่ริมฝั่ง ก็อาจจะ กระโดดลงไปช่วยคนที่กําลังจะจมนํ้าได้ • การจะช่วยห้ามเลือดให้ผู้ที่มีบาดแผลเลือดออก ผู้ช่วยเหลือ จะต้องไม่มีบาดแผลโดยเฉพาะที่มือ แขน และส่วนที่จะเปรอะ เปื้อนด้วยเลือดของผู้ป่วยได้ • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมากหรือเลือดพุ่งแรง ผู้ช่วยเหลือควร สวมถุงมือยาง(อาจใช้ถุงพลาสติกแทน) ใส่แว่นตา หรือหน้ากาก พลาสติกใส (เพื่อป้องกันเลือดผู้ป่วยกระเด็นเข้าตา) และใส่เสื้อ กันฝนพลาสติก (เพื่อป้องกันเลือดผู้ป่วยเปรอะเปื้อนร่างกาย) เป็นต้น
  • 15. 13 สารบัญผังหลัก • การจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่เปรอะเปื้อนสารพิษ ผู้ช่วยเหลือควร สวมหน้ากากป้องกันสารพิษหรือก๊าซพิษ และหรือชุดป้องกัน สารพิษ เป็นต้น การตัดสินใจและวิธีการช่วยเหลือ • หากสถานที่เกิดเหตุและหรือผู้ป่วย น่าจะ หรือ อาจจะ เป็น อันตรายต่อผู้ช่วยเหลือ หรือ ผู้ช่วยเหลือคิดว่าตนไม่สามารถ ช่วยผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง ควรช่วยโดยโทรศัพท์แจ้ง “1669” ให้ ส่งคนมาช่วย และควรรออยู่ในที่ๆ ปลอดภัย (ไม่ไกลจากผู้ป่วย) เพื่อคอยประสานงานกับ “1669” และทีมงานที่ “1669” ส่งมา ช่วยผู้ป่วย • หากสถานที่เกิดเหตุและผู้ป่วย ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ ช่วยเหลือ และผู้ช่วยเหลือคิดว่า ตนน่าจะช่วยผู้ป่วยไปก่อนได้ หลังจากโทรศัพท์แจ้ง “1669” แล้ว ให้ดําเนินการตามขั้นตอน “การตรวจหาภาวะคุกคามชีวิต” ตามผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์ รวม ต่อไป
  • 16. 14 สารบัญผังหลัก ผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์รวม ผังปฏิบัติการกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไป ปลอดภัย เลือดออก ปั๊มหัวใจ-กระตุกหัวใจ ภาวะคุกคามอื่น • หายใจผิดปกติ • ช็อก • ชัก • เจ็บหน้าอก • บาดเจ็บหลายแห่ง • อัมพาต • ติดเชื้อในกระแสโลหิต “1669” /นําส่ง รพ. ใช่ ใช่ แก้ไข ไม่ได้ แก้ไขได้ ไม่ใช่ หัวใจหยุดเต้น ห้ามเลือด ไม่ใช่ หายใจอุดกั้น ใช่ แก้ไขได้ บาดแผลทะลุ อัดท้อง/หน้าอก ทําแผล จัดท่า ปฐมพยาบาล แก้ไข ไม่ได้ แก้ไข ไม่ได้ แก้ไข ไม่ได้ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ใช่ ใช่ ไม่ใช่ แก้ไขได้ แก้ไขได้ หมดสติ ไม่ใช่ ใช่ ช่วยเหลือตามสาเหตุ
  • 17. 15 สารบัญผังหลัก ขั้นตอนการตรวจหาและช่วยเหลือภาวะคุกคามชีวิต ตรวจหาภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิต โดยอาศัยสิ่งที่ตรวจพบ เป็นหลัก โดยเรียงตามลําดับก่อนหลังตามหัวข้อด้านล่างนี้ หากไม่พบ ภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิต หรือ จัดการแก้ไขภาวะที่พบแล้วได้สําเร็จ จึง จะตรวจหาภาวะฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตในลําดับต่อไป หากไม่สามารถ แก้ไขได้ ให้รีบแจ้งขอความช่วยเหลือจาก “1669” ส่วนในพื้นที่ที่ไม่ สามารถแจ้งเหตุได้ หรือไม่มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ให้พิจารณา นําส่ง โดยหาบุคคลที่สามารถยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ถูกต้องเพื่อนํา ขึ้นยานพาหนะในท้องถิ่นที่ลําเลียงนําส่งได้ โดยจะต้องมีวิธีการ อันจะ ไม่ทําอันตรายเพิ่มเติมให้กับผู้ป่วย (ดูวิธีการลําเลียงขนย้าย หน้า58) เพื่อนําไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ในระหว่างการช่วยเหลือ หากมีบุคคลใดแสดงตนว่า มีความรู้ ความสามารถในการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นที่ประจักษ์ เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กู้ชีพ หรือ ผู้ที่ผ่านการอบรมมาแล้วในระดับที่ สูงกว่า ให้ผู้นั้นเป็นผู้นําในการช่วยเหลือแทน โดยควรเสนอตนเป็น ผู้ช่วยต่อไป ภาวะต่างๆที่จะต้องตรวจหาและช่วยเหลือ มีดังต่อไปนี้
  • 18. 16 สารบัญผังหลัก 1. เลือดออกภายนอกจํานวนมาก ภาวะเลือดออกภายนอกจํานวนมาก เป็นภาวะที่อาจทําให้ผู้เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือพิการได้การเสียเลือดจํานวนมากถึงร้อยละ 40 ของเลือดใน ร่างกายจะทําให้เสียชีวิตได้ การเสียเลือดจนคุกคามชีวิตที่อาจช่วยเหลือ ได้โดยอาสาสมัครหรือประชาชนทั่วไป มีลักษณะที่ตรวจพบได้ ดังนี้ • เลือดออกในภาวะแขนหรือขาขาดหรือเกือบขาด • เลือดไหลพุ่งออกมาเป็นจังหวะ • เลือดไหลออกตลอดเวลาในความเร็ว/แรงคงที่ เลือดออกภายนอกจํานวนมาก ปลอดภัย เลือดออกภายนอก •แขนขาขาดหรือเกือบ ขาด •เลือดพุ่งเป็นจังหวะ •ไหลแรงไม่หยุด ห้ามเลือด หัวใจหยุดเต้น “1669”/ นําส่ง รพ. ใช่ ใช่ แก้ไข ไม่ได้ แก้ไขได้ ไม่ใช่
  • 19. 17 สารบัญผังหลัก หากตรวจพบลักษณะข้างต้น ให้รีบห้ามเลือดตามวิธีการห้าม เลือด หน้า 30 การตรวจหาภาวะเสียเลือดภายนอกจํานวนมากนี้ไม่ควรใช้เวลา เกิน 10 วินาที หากแก้ไขได้สําเร็จให้ดําเนินการต่อตามขั้นตอนต่อไป คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้น หากแก้ไขไม่สําเร็จ หรือเป็นการเสียเลือดจากส่วนที่ไม่สามารถ ห้ามเลือดได้ ให้ขอ/ระดมความช่วยเหลือ และ นําส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ ที่สุดโดยด่วน
  • 20. 18 สารบัญผังหลัก 2. หัวใจหยุดเต้น ภาวะหัวใจหยุดเต้น เป็นภาวะที่แสดงถึงการสิ้นสุดของชีวิต ภาวะนี้ หากได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที และถูกต้อง จะทําให้มีโอกาส รอดชีวิตได้ ความสําเร็จของการช่วยเหลือ ขึ้นอยู่กับการตรวจพบ และ การช่วยเหลือของผู้อยู่ใกล้เคียง ที่มีความรู้ความสามารถในการปั๊มหัวใจ และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจเป็นหลัก ภาวะหัวใจหยุดเต้น มีลักษณะที่ตรวจพบได้ คือ เมื่อพบผู้หมดสติ ให้ดําเนินการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้ • ตบไหล่ หรือหยิกแขนของผู้ป่วย พร้อมกับเรียกผู้ป่วย เช่น “คุณๆ เป็นอะไร เจ็บไหม” ถ้าผู้ป่วยไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเลย ให้ถือว่าผู้ป่วยหมดสติ ในขณะเดียวกันให้สังเกตการเคลื่อนไหว ของหน้าอกและหน้าท้อง ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ให้ถือว่า หยุดหายใจ (การตรวจทั้งหมดไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 วินาที) • การหมดสติกะทันหันและหยุดหายใจ (หรือหายใจเฮือก) ให้ถือ ว่าเป็น “ภาวะหัวใจหยุดเต้น” รีบโทรศัพท์แจ้ง “1669” เพื่อขอ หน่วยการแพทย์ฉุกเฉินมาให้การดูแลรักษาต่อ • หมดสติทันทีแม้ถูกกระตุ้น และไม่หายใจ
  • 21. 19 สารบัญผังหลัก • ดําเนินการปั๊มหัวใจ ตามวิธีการปั๊มหัวใจและการกระตุกหัวใจ อัตโนมัติ หน้า 37 • หากการตรวจในขั้นตอนนี้ ไม่พบว่าผู้ป่วยหมดสติ หรือหมดสติ แต่หายใจได้ (ควรใช้เวลาไม่ควรเกิน 10 วินาที) ให้ดําเนินการ ตามขั้นตอนต่อไปทันที หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เลือดออกภายนอก หัวใจหยุดเต้น •หมดสติ •แน่นิ่งแม้ถูกกระตุ้น •ไม่หายใจ ปั๊มหัวใจ-กระตุกหัวใจ หายใจอุดกั้น “1669”/ นําส่ง รพ. ไม่ใช่ ใช่ แก้ไข ไม่ได้ แก้ไขได้ ไม่ใช่
  • 22. 20 สารบัญผังหลัก 3. ทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน ทางเดินหายใจอุดกั้นที่เกิดขึ้นแบบกะทันหัน จากอาหาร ขนม หรือสิ่งอื่น ทําให้ผู้ป่วยหายใจไม่ได้ ร่างกายขาดออกซิเจนจนเสียชีวิตได้ การช่วยเหลือ อาจกระทําโดยผู้อยู่ข้างเคียงหรือตนเองได้ ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน มีลักษณะที่ตรวจพบได้ คือ • การสําลักอาหาร หายใจอุดกั้นทันที พูดไม่ได้ ไอไม่ได้ • มักเอามือกุมคอและตาเหลือก
  • 23. 21 สารบัญผังหลัก สาเหตุ เกิดจากการสําลักอาหาร/ขนม/สิ่งอื่นๆ เข้าไปอุดคอ หอย/กล่องเสียง จนหายใจเข้าและออกไม่ได้ ไอไม่ได้ พูดไม่ได้ (ไม่มี เสียง) ผู้ป่วยมีสีหน้าตื่นตกใจ ใช้มือกุมคอ หรือใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปใน ปาก ถ้าไม่รีบแก้ไขในเวลา 2-4 นาที ผู้ป่วยจะขาดอากาศหายใจ หมดสติ ล้มลง แล้วหัวใจหยุดเต้น เหตุการณ์เช่นนี้ มักเกิดในขณะที่ ผู้ป่วยกําลังกิน/เคี้ยวอาหาร หรือขนมชิ้นใหญ่ แล้วหัวเราะ หรือสําลัก ทําให้อาหาร/ขนม หลุดเข้าไป อุดคอหอยหรือกล่องเสียง ที่พบน้อยคือ การนําปลา หรือสิ่งมีชีวิต มา กัดไว้ในปาก แล้วสิ่งมีชีวิตนั้นหลุดเข้าไปอุดคอหอยหรือกล่องเสียง เป็น ต้น การป้องกัน สําคัญกว่า เพราะการ “อัดท้อง” “อัดอก” อาจทํา ให้เกิดการบาดเจ็บแก่อวัยวะที่ถูกกระแทก ดังนั้น การป้องกันการสําลัก จนอุดตันทางเดินหายใจ ทําได้ง่าย และปลอดภัยกว่ามาก โดย ไม่กิน อาหาร หรือขนมชิ้นใหญ่ ไม่พูดคุยหรือหัวเราะ ในขณะที่มีอาหารอยู่ใน ปาก ไม่เอาสิ่งมีชีวิตใส่ปาก เป็นต้น การช่วยเหลือ ปฏิบัติตามวิธีการช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้น ทันที หน้า 44
  • 24. 22 สารบัญผังหลัก ทางเดินหายใจอุดกั้นกะทันหัน หัวใจหยุดเต้น หายใจอุดกั้น • สําลักอาหารแล้ว หายใจอุดกั้นทันที • พูดไม่ได้ ไอไม่ได้ • มักเอามือกุมคอ ตาเหลือก อัดท้อง/อัดอก บาดแผลทะลุ “1669”/ นําส่ง รพ. ไม่ใช่ ใช่ แก้ไข ไม่ได้ แก้ไขได้ ไม่ใช่
  • 25. 23 สารบัญผังหลัก 4. บาดแผลทะลุ บาดแผลทะลุ หมายถึง บาดแผลที่ทะลุผ่านผิวหนังเข้าสู่อวัยวะ ภายใน เช่น ถูกยิงด้วยปืน บาดแผลที่เห็นด้านนอกอาจจะเป็นเพียงรูเล็กๆ แต่ลูกกระสุนปืนอาจทะลุผิวหนัง เข้าไปทําลายอวัยวะภายในใต้ผิวหน้ง นั้น และอาจจะทะลุออกไปอีกด้านหนึ่ง รูที่ลูกกระสุนปืนทะลุออกไป มักจะใหญ่กว่ารูที่กระสุนปืนเข้า ถูกแทงด้วยมีดหรือสิ่งอื่น บาดแผลด้านนอกจะมีลักษณะ เหมือนใบมีดหรือสิ่งของที่แทงผ่านผิวหนังนั้น
  • 26. 24 สารบัญผังหลัก โดยทั่วไปจะรู้ว่า เป็น “บาดแผลทะลุ” เพราะผู้ป่วยมี อาการจากการ บาดเจ็บของอวัยวะ ภายในใต้บาดแผล นั้น หรือเห็นอวัยวะ ภายในโผล่ออกมา ให้เห็นตรงบาดแผลนั้น หรือมีสิ่งของปักคาแผลนั้น เป็นต้น เช่น ภาวะบาดแผลทะลุ มีลักษณะที่ตรวจพบได้ คือ ถูกแทงด้วยมีดปักที่หน้าอก บาดแผลด้านนอกอาจมีลักษณะ เป็นรอยแผลเล็กๆ ถ้าถูกแทงด้วยมีดพับเล็กๆ แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการ หายใจลําบาก หน้าอกด้านที่ถูกแทงเคลื่อนไหวตามการหายใจน้อยกว่า ด้านที่ไม่ถูกแทง แสดงว่ามีดแทงทะลุเข้าไปถึงปอด ทําให้ลมรั่วออกจาก ปอด ทําให้ปอดด้านนั้นแฟบลง จึงหายใจลําบาก • บาดแผลเปิ ดมีเลือด นํ้า หรือลมรั่วเข้าออก • สิ่งของปักคา • อวัยวะภายในทะลักออกมา
  • 27. 25 สารบัญผังหลัก ถูกแทงด้วยมีดที่ท้อง แล้วเห็นลําไส้ส่วนหนึ่งโผล่อยู่ตรงแผล นั้น หรือโผล่ออกมานอกแผลนั้น หกล้มทับสิ่งของปลายแหลมที่ตั้งอยู่ แล้วสิ่งของนั้นปักคาอยู่ กับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ให้สงสัยว่าสิ่งของนั้นน่าจะทะลุชั้น ผิวหนังเข้าไปถึงอวัยวะภายใน เพราะถ้ามันไม่ทะลุเข้าภายใน (คืออยู่ เพียงชั้นผิวหนัง) มันจะไม่ปักคาอยู่และจะหลุดออกจากผิวหนังได้ง่าย เป็นต้น การช่วยเหลือ ให้ปฏิบัติตามการช่วยเหลือบาดแผลปักคา หน้า 54 การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ หน้า 57 และการปิดบาดแผล อวัยวะภายในทะลัก หน้า 59 บาดแผลทะลุ หายใจอุดกั้น บาดแผลทะลุ • แผลเปิ ด มีเลือด/นํ้า/ลม รั่ว • สิ่งของปักคา • อวัยวะภายในทะลัก ทําแผล วัตถุปักคา/ลมรั่ว ภาวะคุกคามอื่น “1669”/ นําส่ง รพ. ไม่ใช่ ใช่ แก้ไข ไม่ได้ แก้ไขได้ ไม่ใช่
  • 28. 26 สารบัญผังหลัก 5. ภาวะคุกคามอื่น ภาวะฉุกเฉินต่อไปนี้ อาจไม่รุนแรงพอที่จะทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ได้ทันที แต่อาจเสียชีวิตหรือพิการได้ในเวลาต่อมาถ้าไม่ได้รับการรักษา โดยแพทย์ในเวลาอันรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปสามารถช่วยให้ผู้ป่วย ได้รับการช่วยเหลือเพื่อรักษาชีวิตและป้องกันความพิการได้ โดยขอ คําแนะนําการช่วยเหลือเบื้องต้นและขอหน่วยกู้ชีพ จาก “1669” ในระหว่างที่รอหน่วยกู้ชีพมาช่วยเหลือ อาจให้การดูแลด้วยการ ปฐมพยาบาลตามภาคผนวก และ การจัดท่าในผู้ป่วยหมดสติ (ตาม วิธีการจัดท่าผู้ป่วยหมดสติ หน้า 49) ในกรณีที่ไม่มีหน่วยกู้ชีพมาช่วยและต้องนําส่งโรงพยาบาลเอง จําเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถ ในการยกและเคลื่อนย้ายอย่าง ถูกวิธี (การลําเลียงขนย้าย หน้า 60) ภาวะคุกคามอื่น ที่สําคัญ ได้แก่ • ภาวะหายใจไม่สะดวก(หน้า 68) • ภาวะหายใจผิดปกติ (หน้า 66) • ภาวะช็อก (หน้า 70) • ภาวะหมดสติ (หน้า 75) • ภาวะชัก (หน้า 76) • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หน้า 7) • โรคเส้นเลือดสมองตีบ/ตัน/แตก (หน้า 80) • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (หน้า 81)
  • 29. 27 สารบัญผังหลัก • ภาวะบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ (หน้า 82) ภาวะคุกคามอื่น มีลักษณะที่ตรวจพบได้คือ เมื่อพบภาวะเหล่านี้ ให้สันนิษฐานว่า เป็นภาวะคุกคามอื่น ให้รีบ แจ้ง “1669” เพื่อขอความช่วยเหลือ และลําเลียงส่งโรงพยาบาล ในกรณี ที่ผู้ป่วยหมดสติ และไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บ ให้จัดท่าตามวิธีการจัด ท่าผู้ป่วยหมดสติ (หน้า 49) หากในพื้นที่ ที่ไม่มีหน่วยบริการการแพทย์ ฉุกเฉินหรือหมายเลข “1669” อาจต้องลําเลียงนําส่งเอง ในรายที่เป็นการ • หายใจมีเสียงดังผิดปกติ • หายใจช้า เร็วหรือหยุดหายใจ • ซึมลง ตัวเย็น เหงื่อออก ฟุบ • หมดสติปลุกไม่ตื่น • อัมพาตกะทันหัน • ชักกระตุก • เจ็บหน้าอกรุนแรง • ไข้สูงมาก • มีประวัติการบาดเจ็บรุนแรง บาดแผลฉกรรจ์ รอยชํ้า รอยบุบ/ยุบเข้าไปในร่างกายและอวัยวะต่างๆ
  • 30. 28 สารบัญผังหลัก บาดเจ็บรุนแรง ให้ทําการยก และเคลื่อนย้าย อย่างถูกวิธี ตามวิธีการ ลําเลียงขนย้าย (หน้า 60) รายละเอียดของภาวะเหล่านี้สามารถอ่านได้จากภาคผนวก หน้า 67-82 ภาวะคุกคามอื่น บาดแผลทะลุ ภาวะคุกคามอื่น • หายใจดังผิดปกติ • หายใจช้า/เร็ว/หยุด • ซึมลง/ตัวเย็น/เหงื่อออก/ฟุบ • อัมพาตกะทันหัน • ชักกระตุก • เจ็บหน้าอกรุนแรง • ไข้สูงมาก • บาดเจ็บรุนแรงหลายอวัยวะ จัดท่า ปฐมพยาบาล “1669”/ นําส่ง รพ. ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่ หมดสติ ไม่ใช่ ช่วยเหลือตามสาเหตุ ใช่
  • 32. 30 สารบัญผังหลัก 1. การห้ามเลือดภายนอก เมื่อตรวจพบภาวะเลือดออกภายนอกที่คุกคามชีวิต ให้รีบ พิจารณา ดังนี้ 1. แจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือที่ “1669” 2. ป้องกันตนเองจากการเปื้อนเลือดผู้ป่วย 3. ให้ตรวจดูว่าเกิดจากแขนหรือขาขาดหรือไม่ 4. ถ้าไม่ใช่ ให้ห้ามเลือดด้วยการกดโดยตรงที่จุดเลือดออก จน เลือดหยุด แล้วพันแผลให้แน่นเพื่อให้เกิดแรงกด แล้วนําส่ง โรงพยาบาล 5. ถ้าไม่ได้ผล ให้พิจารณากดเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงบริเวณ นั้นจนเลือดหยุด แล้วพันแผลให้แน่นเพื่อให้เกิดแรงกด แล้ว นําส่งโรงพยาบาล 6. ถ้ากดที่เส้นเลือดแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดจากแขนหรือขาขาด ให้ทําการขันชะเนาะ เมื่อทําการขันชะเนาะแล้ว ห้ามคลาย หรือแก้ออก เพราะจะเกิดอันตรายถึงตายได้ ให้แพทย์ที่ รักษาต่อเป็นผู้ที่แก้ชะเนาะเท่านั้น
  • 33. 31 สารบัญผังหลัก วิธีการห้ามเลือดภายนอกด้วยการใช้แรงกดโดยตรง ใช้ส้นมือ (ที่อยู่ในถุงมือยางหรือถุงพลาสติก) กดลงตรงจุด เลือดออก จนเลือดหยุดไหล ถ้ามีผ้าสะอาด ให้พับผ้านั้น เป็นชิ้นหนา วางบนจุดเลือดออก แล้วใช้ส้นมือ กดลงบนผ้านั้นจนเลือดหยุดไหล แล้ว เรียกให้ผู้อื่นมาช่วยกดไว้นานประมาณ 15-20 นาที ขณะที่ตนเอง ตรวจหาภาวะคุกคามชีวิตอื่นตามลําดับ หรือจนกว่าหน่วยกู้ชีพจาก “1669” จะมาช่วยเหลือและนําส่งโรงพยาบาลที่ถูกต้องต่อไป เลือดออกภายนอกจํานวนมาก ใช้แรงกดโดยตรง ใช้แรงกดที่เส้นเลือดแดง แขน/ขา ขาด ไม่ใช่ ได้ผลดี ได้ผลดีไม่ได้ผล ไม่ได้ผล ห้ามคลายชะเนาะ ใช่ ขันชะเนาะ พันแผลให้แน่น ส่งต่อ/ ขั้นตอน ต่อไป
  • 35. 33 สารบัญผังหลัก วิธีการห้ามเลือดภายนอกด้วยการใช้แรงกดเส้นเลือดแดง ในกรณีที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้ด้วยการกดจุดที่เลือดออก โดยตรง หรือมีเลือดออกที่แขน/ขาเป็นจํานวนมากหรือหลายจุดจนไม่ สามารถกดจุดที่เลือดออกได้อย่างทั่วถึง ให้ใช้วิธีกดที่เส้นเลือดแดง ที่มา เลี้ยงบริเวณแขนหรือขา ตามรูป การกดเส้นเลือดแดงกลางแขน พับ ด้วยหัวนิ้วแม่มือเพื่อห้าม เลือดบริเวณแขนท่อนล่าง ทั้งหมด การกดเส้นเลือดแดงที่กลางขา หนีบ ด้วยส้นมือ เพื่อห้ามเลือด บริเวณขาทั้งหมด
  • 36. 34 สารบัญผังหลัก วิธีการห้ามเลือดภายนอกด้วยการขันชะเนาะ ในกรณีที่แขนหรือขาขาดและเสียเลือดมาก หรือในกรณีที่ไม่ สามารถห้ามเลือดออกภายนอกจํานวนมากด้วยการกดเส้นเลือดแดง ให้ ใช้วิธีขันชะเนาะ โดยใช้ผ้า เช่นผ้าขาวม้าหรือผ้าพันคอ หรือถุงพลาสติก ชนิดเหนียว ผูกต่อกันให้มีความยาวพอที่จะพันรอบต้นแขนหรือต้นขา แล้วผูกรัดให้เหนือต่อบริเวณที่เลือดออกพอสมควรโดยให้ใกล้จุดที่ เลือดออกมากที่สุด โดยพับผ้าหรือถุงพลาสติกเป็นหมอนเล็กๆ เพื่อ รองรับจุดที่จะขันชะเนาะ แล้วผูกปมให้ห่างจากจุดที่จะขันชะเนาะ ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต่อจากนั้นสอดใส่แท่งไม้ ตะเกียบ ปากกา ดินสอ หรือ ด้ามช้อนส้อม เข้าในช่องว่างนั้น แล้วหมุนไขให้เป็นเกลียวเพื่อให้ ถุงพลาสติกหรือผ้ารัดต้นแขนหรือต้นขาจนกระทั่งเลือดหยุดไหล แล้ว คลายออกเล็กน้อยจนมีเลือดเริ่มซึมออกเล็กน้อย ต่อจากนั้นจึงผูกตรึงให้ สิ่งที่ใช้หมุนนั้นอยู่กับที่ เมื่อขันชะเนาะจนเลือดหยุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้รีบนําส่ง โรงพยาบาล โดย ห้ามคลายชะเนาะอย่างเด็ดขาด ให้เป็นหน้าที่ของ แพทย์ที่ดูแลต่อ
  • 38. 36 สารบัญผังหลัก หมายเหตุ 1. วิธีการห้ามเลือด อาจใช้เวลานาน ทําให้การตรวจหาภาวะคุกคาม ชีวิตอื่นในขั้นตอนต่อไปล่าช้า หากมีเลือดออกมาก ควรมีผู้ช่วยคน หนึ่งรับผิดชอบเรื่องการห้ามเลือด โดยให้ผู้ช่วยหลักได้ตรวจหาภาวะ คุกคามชีวิตอื่นในลําดับต่อๆไป และถ้าแก้ไขได้ ให้แก้ไขไปพร้อมกับ การห้ามเลือด 2. หากห้ามเลือดไม่สําเร็จหรือได้ผลไม่ดี ให้รีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
  • 39. 37 สารบัญผังหลัก 2. การปั๊มหัวใจ และการกระตุกหัวใจ อัตโนมัติ เมื่อตรวจพบผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจ ให้ปฏิบัติดังนี้ 1. ปลุกและเรียกผู้ป่วยเพื่อยืนยันว่าหมดสติ
  • 40. 38 สารบัญผังหลัก 2. สังเกตดูหน้าอกของผู้ป่วยว่าหยุดหายใจ 3. แจ้งเหตุขอความช่วยเหลือจาก “1669” หากยังไม่ได้แจ้ง
  • 41. 39 สารบัญผังหลัก 4. เปิดเสื้อด้านหน้าของผู้ป่วยออก 5. วางส้นมือซ้อนทับกันลงบนกระดูกกลางหน้าอกผู้ป่วยใน ระดับราวนม โดยให้ปลายนิ้วทั้งหมดยกขึ้น
  • 42. 40 สารบัญผังหลัก 6. เหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรงและตั้งฉากกับลําตัวผู้ป่วย ใช้ นํ้าหนักตัว โถมผ่านลําแขนทั้งสองข้าง ลงไปที่ส้นมือทั้งสอง เพื่อกดกระดูกกลางอกในผู้ใหญ่ให้ยุบลง 5-6 เซนติเมตร แล้วผ่อนการกดเพื่อให้หน้าอกคืนกลับที่เดิม (โดยไม่ยกส้น มือออกจากผิวหนังหน้าอก) แล้วกดใหม่/ผ่อนใหม่ สลับกัน ไปเช่นนี้ประมาณ 100-120 ครั้ง/นาที จนกว่าผู้ป่วยจะมี ปฏิกิริยา (ตื่น หายใจเอง เริ่มเคลื่อนไหว เป็นต้น) หรือ จนกว่าทีมกู้ชีพจาก “1669” จะมาช่วยกู้ชีพต่อ สําหรับผู้ช่วยเหลือที่เคยฝึก “เป่าปาก/จมูก” ช่วยหายใจมาแล้ว และรู้ว่าผู้ป่วยไม่มีโรคติดต่อใดๆ (เพราะเป็นญาติหรือเพื่อนที่รู้จักกันดี) ควรจะ“เป่าปาก/จมูก”ช่วยหายใจให้ผู้ป่วย(ผู้ใหญ่) 2 ครั้งหลังการ “ปั๊ม หัวใจ” 30 ครั้ง สลับกันไปเรื่อยๆ (ส่วนทีมกู้ชีพจะใช้ “หน้ากาก-ถุงหายใจ” แทนการ “เป่าปาก” ซึ่งได้ผลและปลอดภัยกว่า) หลักสําคัญของการ “ปั๊มหัวใจ” คือ • กดเร็ว(100-120 ครั้ง/นาที) • กดลึก(5-6 เซนติเมตรในผู้ใหญ่) • ปล่อยสุด(ให้หน้าอกคืนกลับเต็มที่) • หยุดน้อย(อย่าหยุดกดนอกจากจําเป็นและหยุด ไม่เกิน 10 วินาที/ครั้ง)
  • 43. 41 สารบัญผังหลัก ถ้ามี “เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ” หรือเครื่อง “AED” (automated external defibrillator) หรือเครื่อง “PAD” (public access defibrillator) ที่อยู่ใกล้ๆและใช้เป็น การใช้เครื่องนี้จะทําให้การฟื้นคืนชีพ ในภาวะหัวใจหยุดเต้น ประสบผลสําเร็จมากขึ้น การต่อเครื่องกระตุก หัวใจโดยใช้แผ่นนํา ไฟฟ้าติดกับหน้าอก 2 จุดตามคําแนะนํา ของเครื่องที่แผ่น เครื่องจะวิเคราะห์ คลื่นหัวใจและหาก พบว่าควรทําการช็อก และจะบอกให้อยู่ห่าง จากผู้ป่วย แล้วจึงกด ปุ่มช็อก หากเครื่อง ไม่บอกให้ช็อกก็ให้ ปั๊มหัวใจต่อไป
  • 44. 42 สารบัญผังหลัก ภาวะหัวใจหยุดเต้นสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทัวไป มีสัญญาณชีพ ใช้เครื่องกระตุกหัวใจ • เสียชีวิตนานแล้ว • ไม่ยินยอม ไม่ใช่ 2 นาทีต่อรอบ ได้ผลดี ไม่ได้ผล ใช่ ปั๊มหัวใจคุณภาพ • กดเร็ว(100-120 ครั้ง/นาที) • กดลึก(5-6 เซนติเมตรในผู้ใหญ่) • ปล่อยสุด(ให้หน้าอกคืนกลับเต็มที่) • หยุดน้อย(อย่าหยุดกดนอกจาก จําเป็นและหยุดไม่เกิน 10 วินาที/ ครั้ง) ไม่ต้องช่วย ส่งต่อ/ ขั้นตอน ต่อไป หมดสติ ไม่หายใจ ระดมความ ช่วยเหลือ/”1669” ปั๊มหัวใจคุณภาพ ให้ออกซิเจน(ถ้ามี) ต่อเครื่องกระตุกหัวใจ(ถ้ามี) ใช่ ไม่ใช่
  • 45. 43 สารบัญผังหลัก เมื่อหน่วยกู้ชีพ “1669” มาถึงแล้ว ย่อมดําเนินการกู้ชีพต่อ และนําผู้ป่วย ส่งโรงพยาบาลที่สามารถรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ หากไม่พบว่าผู้ป่วยหมดสติ (ไม่ควรเกิน 5-6 วินาที) ให้ดําเนินการตาม ขั้นตอนต่อไปทันที โดยไม่ต้องตรวจดูว่า ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือไม่ เพราะผู้ป่วยที่รู้สึกตัวย่อมหายใจได้เอง
  • 46. 44 สารบัญผังหลัก 3. การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันที การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันทีจากทางเดินหายใจอุดกั้น กะทันหัน จะต้องรีบทําโดยด่วนที่สุด ไม่ควรให้สมองขาดออกซิเจนเกิน กว่า 4 นาที เพราะจะทําให้พิการและเสียชีวิตได้ การช่วยเหลือจะต้องทํา ทันทีด้วยวิธีการตบหลัง/อัดท้อง/อัดอก โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ 1. ถ้าผู้ป่วยยังไอได้ ให้ไอไปเรื่อยๆ จนกว่าสิ่งที่อุดอยู่จะหลุดออก ในขณะที่ผู้ช่วยเหลือโทรศัพท์แจ้ง “1669” 2. ถ้าผู้ป่วยไอไม่ได้และพูดไม่ได้ ให้รีบช่วยเหลือดังนี้ การช่วยเหลือภาวะหายใจอุดกั้นทันที การตบหลัง ท้องโต มีผู้ช่วยเหลือ ปั๊มหัวใจ การอัดท้องด้วยตนเอง การอัดท้อง การอัดอก ไม่มี ไม่ใช่ ใช่ ไม่สําเร็จ ไม่สําเร็จ/หมดสติ มี ไม่สําเร็จ/หมดสติ ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป ได้ผลดีได้ผลดี สําเร็จ สําเร็จ หมดหวัง ไม่สําเร็จ
  • 47. 45 สารบัญผังหลัก การตบหลัง (back blow) ทําได้โดยการใช้มือหนึ่งประคองหน้าท้องของผู้ป่วย อีกมือหนึ่ง ตบ แรงๆ ที่บริเวณกลางระหว่างสะบักทั้งสองข้าง จนกว่าสิ่งแปลกปลอม จะ หลุดออกมา หากไม่สําเร็จ ให้ใช้วิธีการอัดท้องต่อไป
  • 48. 46 สารบัญผังหลัก การอัดท้อง (abdominal thrust) มีวิธีการปฏิบัติ 2 แบบ คือ (1) ผู้ช่วยเหลือยืนข้างหลังผู้ป่วยที่ยังยืนได้ แล้วใช้แขน 2 ข้าง โอบรอบเอวผู้ป่วย โดยกําหมัดข้างหนึ่งวางลงบนบริเวณ เหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อย และอยู่ใต้กระดูกอ่อนลิ้นปี่ แล้ว ใช้มืออีกข้างหนึ่งกุมมือที่กําหมัดไว้แล้ว หลังจากนั้นออก แรงกระตุกรัดอัดกําหมัดนั้น เข้าไปในช่องท้องในทิศทางขึ้น ข้างบน (เข้าไปในช่องอก) แรงๆ เร็วๆ ติดๆกัน 4-5 ครั้ง ถ้า สิ่งที่อุดอยู่ยังไม่หลุดออกมา ให้ทําซํ้าๆกันไปเรื่อยจนกว่า
  • 49. 47 สารบัญผังหลัก ผู้ป่วยจะหมดสติ เมื่อผู้ป่วยหมดสติให้ดําเนินการตาม วิธีการปั๊มหัวใจ (หน้า 37) (2) ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าอยู่ด้านข้างท้องของผู้ป่วยที่นอนอยู่ กํา หมัดข้างหนึ่ง วางลงบริเวณเหนือสะดือผู้ป่วยเล็กน้อย และ อยู่ใต้กระดูกอ่อนลิ้นปี่ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งกุมมือที่กําหมัด ไว้แล้ว หลังจากนั้นออกแรงกระแทกอัดกําหมัด(เข้าไปใน ช่องอก) แรงๆ เร็วๆ ติดๆกัน 4-5 ครั้ง ถ้าสิ่งที่อุดอยู่ยังไม่ หลุดออกมา ให้ทําซํ้าๆกันจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ เมื่อ ผู้ป่วยหมดสติให้ดําเนินการตามวิธีการปั๊มหัวใจ (หน้า 37) การอัดอก (chest thrust) ในผู้ป่วยที่ท้องโตมาก เช่น ตั้งครรภ์ หรืออ้วนมาก ให้ใช้วิธีการอัดอก แทนการอัดท้อง โดยวางกําหมัด ไว้บนกระดูกกลางหน้าอก(แทนหน้าท้อง) แล้วออกแรงกระตุกรัดอัด กําหมัดให้ดันกระดูกกลางหน้าอกยุบลงไปให้มากที่สุดติดๆกัน 4-5
  • 50. 48 สารบัญผังหลัก ครั้ง สําหรับผู้ป่วยที่นอนอยู่ ให้ใช้วิธีกดกระแทกกลางอกโดยคุกเข่า อยู่ข้างอกผู้ป่วย การอัดท้องด้วยตนเอง ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดให้การช่วยเหลือได้ ผู้ป่วยอาจช่วยตนเอง โดยกําหมัดข้างหนึ่งวางบนหน้าท้องเหนือ สะดือ ใช้มืออีกข้างกุมกําหมัดไว้ หรือจับโต๊ะ/เก้าอี้ไว้ แล้วก้มตัวลง แรงๆ เพื่อให้ขอบโต๊ะหรือพนักเก้าอี้กระแทกกําหมัดนั้นเข้าไปใน ช่องท้อง ขึ้นไปทางช่องอกแรงๆ ติดๆกัน 4-5 ครั้ง หากสิ่งที่อุดคอหอยหลุดออก และผู้ป่วยหายใจได้สะดวก โดยไม่มีอาการเจ็บท้องหรือเจ็บอก ก็ไม่จําเป็นต้องไปตรวจต่อที่ โรงพยาบาล แต่ถ้าหากยังหายใจไม่สะดวกหรือมีอาการผิดปกติ อื่นๆ ควรไปตรวจต่อที่โรงพยาบาล
  • 51. 49 สารบัญผังหลัก 4. การจัดท่าสําหรับผู้ป่วยหมดสติ ข้อห้าม ในผู้ป่วยที่หมดสติจากการบาดเจ็บและไม่แน่ใจว่า กระดูกคอและกระดูกหลังเคลื่อนหรือหักหรือไม่ ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกมา อย่างดี ห้ามขยับเขยื้อนหรือจัดท่าผู้ป่วยโดยเด็ดขาด การจัดท่าในผู้ป่วยหมดสติ ผู้ป่วยหมดสติ บาดเจ็บ คอ/หลัง ภาวะคุกคามอื่น ยกเว้นภาวะหมดสติ การจัดท่า ช่วยเหลือตามสาเหตุ (ภาคผนวก)) ไม่มี มีข้อใดข้อหนึ่ง ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
  • 52. 50 สารบัญผังหลัก เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติที่ไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บและไม่มีภาวะ คุกคามชีวิตอื่น ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่หายใจได้สะดวก และไม่ สําลัก นํ้าลาย หรือสิ่งที่อาเจียนออกมาเข้าไปในปอด (ก่อนการขนย้าย) หากไม่จัดท่าให้เหมาะสมอาจทําให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น จากภาวะลิ้นตกและสําลักนํ้าลายหรือสิ่งที่อาเจียนออกมา การจัดท่าเพื่อ ป้องกันภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นจากสาเหตุเหล่านี้เป็นเรื่องสําคัญ อย่างยิ่งที่จะทําให้ผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะอันตรายเหล่านี้ได้ วิธีจัดท่าสําหรับผู้ป่วยหมดสติ ทําตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ยกขาด้านตรงข้ามกับผู้ช่วยเหลือขึ้น ให้อยู่ในท่าชันเข่า
  • 54. 52 สารบัญผังหลัก 3. จัดให้แขนด้านตรงข้ามพับงอทาบกับหน้าอกโดยให้มืออยู่ เหนือหัวไหล่ด้านผู้ช่วยเหลือ 4. ใช้มือข้างหนึ่งจับหัวไหล่ด้านตรงข้าม อีกข้างหนึ่งจับสะโพก พลิกตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ช่วยเหลือ โดยจัดให้หน้าและศีรษะ
  • 55. 53 สารบัญผังหลัก วางอยู่บนต้นแขนที่เหยียดอยู่ และเข่าด้านตรงข้ามจะอยู่ใน ท่างอทับคร่อมขาด้านผู้ช่วยเหลือ 5. จัดให้หน้าของผู้ป่วยอยู่ในท่ากึ่งควํ่าลง เพื่อไม่ให้ลิ้นตกจน อดกั้นทางเดินหายใจ และให้นํ้าลายและเศษอาหารจากการ อาเจียนไหลออกจากปาก ทําให้ไม่สําลักจนอุดกั้นทางเดิน หายใจได้
  • 56. 54 สารบัญผังหลัก 5. การช่วยเหลือบาดแผลปักคา ข้อห้าม ห้ามดึงสิ่งของที่ปักคาออกจากตัวผู้ป่วยบาดแผลทะลุ ที่มี่สิ่งของปักคาอยู่ หากจําเป็น อาจเลื่อยหรือตัดสิ่งของนั้นอย่างนุ่มนวล เพื่อให้สิ่งที่ปักคาอยู่สั้นลง สะดวกแก่การนําส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ยึดตรึงสิ่งที่ปักคาอยู่ให้อยู่นิ่งๆ (ไม่ให้แกว่งไปมา เพราะปลาย สิ่งของนั้นอาจทําให้อวัยวะภายในบาดเจ็บมากขึ้น) โดยเอาผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าสะอาดอื่นๆ วางไว้รอบแผลที่มีสิ่งของปักอยู่ แล้วใช้เทปกาวหรือ สิ่งอื่นยึดตรึงผ้านั้นไว้กับผิวหนังเพื่อช่วยตรึงสิ่งที่ปักคาไม่ให้เคลื่อนไหว การช่วยเหลือบาดแผลปักคา ห้ามดึงออก ยาวเกะกะ ทําแผล ตัดด้วยเลื่อยหรือคีม ไม่ใช่ ใช่ ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
  • 57. 55 สารบัญผังหลัก บาดแผลทะลุที่ไม่มีสิ่งของปักคาอยู่ และไม่มีอวัยวะภายในโผล่ ให้เห็น ให้ใช้ผ้าสะอาดกดไว้ตรงบาดแผลจนเลือดหยุด แล้วใช้เทปกาว หรือสิ่งอื่นยึดตรึงผ้านั้นกับผิวหนัง หลังให้การช่วยเหลือข้างต้นแล้ว ให้รีบนําผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล บาดแผลทะลุหน้าท้องที่มีสิ่งของปักคา ให้ประคองสิ่งปักคานั้นด้วย ผ้าหรือวัสดุอื่นที่พับได้จนหนาพอ(ดังภาพ) ห้ามนําสิ่งของปักคา ออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
  • 59. 57 สารบัญผังหลัก 6. การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ กรณีบาดแผลทะลุบริเวณอก ให้ใช้วิธีการทําแผล 3 ด้าน โดยใช้ เศษผ้าชิ้นเล็กๆ หรือเศษสําลี หรือเศษกระดาษชิ้นเล็กๆ ไปจ่อไว้ที่รูแผล ถ้าเศษผ้าฯลฯ เหล่านั้นมีการเคลื่อนไหวเข้าและ/หรือออกจากรูแผล แสดงว่ามีลมรั่วเข้าและ/หรือ ออกจากทรวงอก ให้ใช้ถุงพลาสติกสะอาด ที่ยังไม่เคยใช้งาน (ที่ใช้ใส่อาหารหรือยา) ฉีกหรือตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จตุรัสหรือผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 4-6 นิ้ว วางให้ด้านในปะลงบนรู แผล ให้รูแผลอยู่ตรงกลาง แล้วใช้เทปกาวปิดขอบ 3 ด้าน ปล่อยให้ด้าน ที่อยู่ตํ่าเป็นทางระบายให้ของเหลวไหลออก ส่วนอากาศจะไม่สามารถ ผ่านเข้าไปในรูทรวงอกได้ การช่วยเหลือบาดแผลหน้าอกทะลุ แผลหน้าอกทะลุ ลมรั่ว ทําแผลปกติ ทําแผล 3 ด้าน ไม่ใช่ ใช่ ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
  • 60. 58 สารบัญผังหลัก 1.ใช้ถุงพลาสติกใสที่ยังไม่เคยใช้งาน ตัดให้เป็นรูป 4 เหลี่ยม จตุรัสให้มีขนาดใหญ่กว่าบาดแผลด้านละ 2 นิ้ว ใช้ด้านในที่ สะอาดและยังไม่เคยสัมผัสด้วยมือปะติดกับบาดแผล 2.ใช้พลาสเตอร์หรือเทปกาว ติดให้แผ่นพลาสติกสนิทแนบ กับผิวหนัง 3 ด้าน โดยเว้นด้านตํ่าเพื่อให้เลือดและของ เหลวไหลออกได้ แต่อากาศผ่านเข้าไปในแผลไม่ได้ การทําแผล 3 ด้าน การทําแผล 3 ด้าน
  • 61. 59 สารบัญผังหลัก 7. การปิ ดบาดแผลอวัยวะภายในทะลัก ในกรณีที่บาดแผลทะลุมีอวัยวะภายในโผล่ที่ปากแผล หรือโผล่ ออกมานอกบาดแผลนั้น ห้ามดึงหรือดันอวัยวะภายในที่โผล่ออกมา เพื่อให้กลับเข้าไปใหม่อย่างเด็ดขาด ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบนํ้าสะอาดวาง โปะลงบนบาดแผล ให้คลุมอวัยวะภายในที่โผล่ออกมานอกบาดแผล แล้วใช้ถุงพลาสติกสะอาด(ใช้ใส่อาหารหรือยา) ที่ยังไม่เคยใช้ ตัดให้เป็น แผ่น ใช้ด้านในของถุงพลาสติกที่ยังสะอาดอยู่ คลุมบนอวัยวะนั้น แล้วใช้ เทปกาวหรือสิ่งอื่น ยึดตรึงถุงพลาสติกกับผิวหนังทั้ง 4 ด้าน ทั้งนี้ เพื่อ ป้องกันไม่ให้อวัยวะนั้น แห้งจนกระทั่งเนื้อตาย ไม่สามารถใช้การต่อไป ได้ การช่วยเหลือบาดแผลอวัยวะภายในทะลัก ห้ามจัดใส่คืน ทําแผลแบบชื้น ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป
  • 62. 60 สารบัญผังหลัก 8. การลําเลียงขนย้าย โดยทั่วไป อาสาสมัครและประชาชนทั่วไป ไม่ควรมีหน้าที่ในการ ลําเลียงขนย้ายผู้เจ็บป่วย ยกเว้นในกรณีที่พื้นที่นั้นๆ ไม่มีหน่วยกู้ชีพ ให้บริการ หรือไม่สามารถแจ้งเหตุที่ “1669” อาสาสมัครและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ที่มีระบบการแพทย์ ฉุกเฉินดีแล้ว ไม่จําเป็นต้องฝึกการลําเลียงขนย้ายผู้ป่วย การยกและเคลื่อนย้ายที่จําเป็นต้องทําโดยผู้ชํานาญ คือการยก และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ หากกระทําโดยผู้ไม่ การยกและเคลื่อนย้าย บาดเจ็บที่ศีรษะและคอ มีระบบกู้ชีพ 1669 แจ้งและรอหน่วยกู้ชีพ ไม่มี มี ส่งต่อ/ขั้นตอนต่อไป ใช่ ไม่ใช่ ยกแบบ 2 คน ยกแบบท่อนไม้
  • 63. 61 สารบัญผังหลัก ชํานาญ อาจทําให้กระดูกคอซึ่งแตกหักจากการบาดเจ็บกดทับลงไปบน ไขสันหลัง ทําให้เกิดอัมพาตของแขนและขาทั้ง 4 และหยุดหายใจได้ จําเป็นที่ผู้ช่วยเหลือ จะต้องฝึกและทําความเข้าใจให้ถ่องแท้ คู่มือการกู้ชีพองค์รวมสําหรับอาสาสมัครและประชาชนทั่วไปได้ บรรจุเนื้อหาการยกและเคลื่อนย้ายไว้ 2 วิธี สําหรับอาสาสมัครและ ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ที่ระบบการกู้ชีพยังไม่สามารถเข้าถึงได้ใน ระยะเวลาอันสั้นหรือไม่มีระบบแจ้งเหตุ “1669” ได้แก่ 1. การพลิกตัวและการยกผู้ป่วยแบบท่อนไม้ 2. การขนย้ายผู้ป่วยด้วยผู้ช่วยเหลือ 2 คน
  • 64. 62 สารบัญผังหลัก การพลิกตัวและการยกผู้ป่วยแบบท่อนไม้ โดยผู้ช่วยเหลือ 4 คน สําหรับผู้บาดเจ็บที่ศีรษะและคอ การช่วยเหลือชนิดนี้ควรจัดใหผู้ ช่วยเหลือที่มีความสูงสุดอยู่หัวและท้าย จะทําให้สะดวกแก่การประคอง ศีรษะไม่ทําศีรษะอยู่ในท่าเงยเกินไป 1.ผู้ช่วยเหลือคนแรกทําการตรึงศีรษะและลําคอ โดยจัดให้ศีรษะ คอและลําตัว เป็น แนวตรง 2.ผู้ช่วยเหลืออีก 3 คน เตรียมพลิกตัวผู้ป่วย แบบเป็นแท่งตรง ด้วยท่าทางตามภาพ
  • 65. 63 สารบัญผังหลัก 4.ผู้ช่วยเหลือทั้งหมดยกผู้ป่วยขึ้นในท่ายืนพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายไปยังแผ่นกระดานรอง หลัง ควรให้ผู้ที่สูงกว่าประคองศีรษะ เพื่อให้ลําตัวผู้ป่วยเป็นแท่งตรงเหมือน “ท่อนไม้” 3.ผู้ช่วยเหลือทั้ง4 คน ยกผู้ป่วยขึ้นพร้อมกัน โดยให้ศีรษะ คอ และลําตัวเป็นแท่งตรง
  • 66. 64 สารบัญผังหลัก การขนย้ายด้วยการใช้ผู้ช่วยเหลือ 2 คน ในผู้เจ็บป่วยที่ไม่มี ปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่ศีรษะและลําคอ อาจลําเลียงผู้ป่วยโดย วิธีการตามภาพข้างล่างนี้ 2.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 ยกเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นชันเข่า 1.ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ช่วยเหลือ 2 คน อยู่ด้านหัว (คนที่ 1) และด้านเท้า (คนที่ 2)
  • 67. 65 สารบัญผังหลัก 3.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 จับแขนทั้งสองของผู้ป่วยส่งให้ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 ใช้ขาท่อนล่างยันขาของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าชัน เข่า แล้วใช้มือจับแขนทั้งสองข้างของผู้ป่วยให้แน่น 4.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ประคองหลังผู้ป่วยขึ้ ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 ดึง แขนทั้งสองให้ผู้ป่วยลุกขึ้น
  • 68. 66 สารบัญผังหลัก 5.ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 หันหลัง ใช้มือ 2 ข้างจับที่ข้อพับเข่าทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย แล้วยกขึ้นพร้อมกับลุกยืนขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ใช้มือทั้งสองสอดเข้าที่รักแร้ ของผู้ป่วยเพื่อจับแขนท่อนล่างของผู้ป่วยทั้งสองข้าง มือขวาควํ่าจับแขนขวา มือซ้ายควํ่าจับแขนซ้าย 6.ผู้ช่วยเหลือทั้งสอง ลุกขึ้นพร้อมๆ กัน และเดินไปข้างหน้า