SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
องค์ประกอบที่สำ�คัญ
ของคุณภาพน้ำ�
ส่วนที่ 1
บทที่
บทนำ�
1
1.1	 ประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�
เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำส่วนใหญ่ มักอ้างว่าการเลี้ยงสัตว์น�้ำ
เกิดขึ้นในโลกมานานแล้วโดยมีจุดเริ่มต้นในทวีปเอเชีย อียิปต์โบราณ และในบริเวณตอนกลางของ
ทวีปยุโรปในช่วงยุคกลาง และเชื่อว่า “The Classic of Fish Culture” ซึ่งถูกเขียนเมื่อประมาณ
500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวจีนชื่อ Fan Li เป็นหลักฐานชิ้นส�ำคัญที่พิสูจน์ว่ามีการเลี้ยงปลาเชิง
พาณิชย์ในประเทศจีนในช่วงดังกล่าว เนื่องจาก Fan Li อ้างว่าบ่อเลี้ยงปลาสร้างความมั่งคั่งให้กับเขา
(Ling, 1977) ต่อมามีงานเขียนของ Chow Mit แห่งราชวงศ์ Sung ชื่อ Kwei Sin Chak Shik ใน พ.ศ.
1786 และงานเขียนของ Heu เรื่อง A Complete Book of Agriculture ใน พ.ศ. 2182 งานเขียน
เหล่านี้ได้บรรยายรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับการรวบรวมลูกปลาคาร์ปจากแม่น�้ำ โดยในหนังสือ
เรื่อง “A Complete Book of Agriculture” ยังได้บรรยายวิธีการเลี้ยงปลาที่ถูกรวบรวมจากแม่น�้ำ
เหล่านั้นในบ่อด้วย นอกจากนี้ยังค้นพบบ่อที่ใช้ส�ำหรับขังปลาไหลและปลาชนิดอื่น ๆ ภายในที่พัก
ของนักบวชยุคโรมันเมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังเชื่อด้วยว่าในประเทศอียิปต์มี
การเลี้ยงปลานิลไว้ในบ่อเพื่อดูเล่นส�ำหรับการผ่อนคลาย
4 บทที่ 1 บทนำ�
ส่วนการเลี้ยงปลาในรูปแบบที่จริงจังมากกว่าที่กล่าวมาแล้ว น่าจะเป็นการเลี้ยงปลาไน
(Cyprinus carpio) ปลาไนเป็นน�้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีถิ่นก�ำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนอพยพได้น�ำปลา
ไนเข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในทวีปเอเชียและเอเชียตะวันออกไกล นอกจากนี้ปลาไนยังถูกน�ำ
เข้าไปยังยุโรปในยุคกลางและถูกน�ำไปเลี้ยงในบ่อของนักบวช และหลังจากนั้นปลาไนยังแพร่กระจาย
ไปยังหลาย ๆ ประเทศ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 6 การเลี้ยงปลาไนในประเทศจีนถูกลดความส�ำคัญ
ลง เนื่องจากชื่อของปลาไนในภาษาจีน คือ “Lee” ซึ่งไปเหมือนกับพระนามของจักรพรรดิ “Lee” แห่ง
ราชวงศ์ถัง (Ling, 1977) ดังนั้น ชาวจีนจึงหันไปเลี้ยงปลาชนิดอื่น เช่น ปลาเฉา (grass carp) ปลาเล่ง
(silver carp) ปลาซ่ง (bighead carp) และปลากินหอย (mud carp) แทน โดยเรียกปลากลุ่มนี้ว่า
“ปลาคาร์ปจีน (Chinese carps)” และจะด้วยความตั้งใจหรือเพราะความยากล�ำบากในการแยกแยะ
ชนิดของลูกปลาที่รวบรวมจากแม่น�้ำ ท�ำให้มีการเลี้ยงลูกปลาเหล่านั้นรวมกันในบ่อเดียวกัน ซึ่งกลาย
เป็นจุดเริ่มต้นของระบบการเลี้ยงปลาแบบหลายชนิดรวมกันในบ่อเดียวกัน (polyculture) ที่สืบทอด
มาจนถึงปัจจุบัน โดยในปัจจุบันยังมีการเพิ่มปลาชนิดอื่น ๆ ลงไปเลี้ยงร่วมกับปลาคาร์ปจีนเพื่อเพิ่ม
ผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นด้วย
ชาวจีนที่อพยพไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลาง
ของการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในภูมิภาคนี้จนกระทั่งศตวรรษที่ 11 จึงได้เกิดระบบการเลี้ยงปลา
ในกลุ่มปลาคาร์ปชนิดหลักของอินเดีย (Indian major carps) ขึ้นในบริเวณตะวันออกของคาบสมุทร
อินเดีย และหลังจากการเลี้ยงปลาในคาบสมุทรอินโดจีนได้ด�ำเนินมาอีกหลายศตวรรษ จึงเกิดรูปแบบการ
เลี้ยงปลาในกลุ่มปลาหนัง (catfishes) ในคอก (pen) และในกระชัง (cage) ในประเทศกัมพูชา โดยการ
เลี้ยงปลาในกระชังอาจมีจุดก�ำเนิดมาจากการขังปลาที่ชาวประมงจับได้เพื่อรอการจ�ำหน่าย จนกระทั่ง
พัฒนามาเป็นการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ลูกปลาจนกระทั่งปลาเจริญเติบโตได้ขนาดตรง
ตามความต้องการของผู้บริโภคด้วยอาหารส�ำเร็จรูป มีการน�ำการเลี้ยงปลาในกระชังไปพัฒนาเพื่อเลี้ยง
ปลาคาร์ปในประเทศอินโดนีเซียและเลี้ยงปลาสวายในประเทศไทย
ส่วนการท�ำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำกร่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเริ่มต้นในประเทศ
อินโดนีเซียในเกาะชวาระหว่างศตวรรษที่ 15 โดยเริ่มจากการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล (Chanos
chanos) ในบ่อที่สร้างโดยการตั้งคันดินล้อมบริเวณใดบริเวณหนึ่งบริเวณชายฝั่งทะเล และเรียกบ่อแบบ
นี้ว่า “tambaks” โดยเชื่อว่าการเลี้ยงปลารูปแบบดังกล่าวเกิดจากอิทธิพลของลัทธิฮินดู จากศตวรรษ
ที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 18 มีบ่อแบบดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่
5หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�และการจัดการคุณภาพน้ำ�
ประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในทวีปยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงยุคกลาง (middle ages) โดยถือว่าปลา
ไนเป็นปลาที่มีความส�ำคัญทั้งด้านสังคมและศาสนา เป็นปลาที่จะถูกน�ำไปบริโภคในโอกาสพิเศษ เช่น
ช่วงคริสต์มาส อย่างไรก็ตาม บางประเทศในยุโรปก็มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อปลาไนและไม่นิยมบริโภคปลาไน
นอกจากนี้ปลาไนยังเป็นปลาที่ไปรบกวนแหล่งน�้ำ เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหารของปลาไน ท�ำให้
ดินพังทลายและท�ำให้น�้ำขุ่น เป็นปัญหากับแหล่งน�้ำที่ใช้ส�ำหรับกีฬาตกปลา อย่างไรก็ตาม การเพาะ
เลี้ยงปลาไนยังด�ำเนินต่อไปและขยายตัวในประเทศที่อยู่ในยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ จากยุโรปปลาไน
ได้ถูกน�ำเข้าไปเลี้ยงในประเทศอิสราเอล ซึ่งนอกจากปลาไนแล้วการเลี้ยงปลาจีนหลายชนิดร่วมกันใน
บ่อเดียวกัน (Chinese carp polyculture) ก็มีการขยายตัวในประเทศเหล่านี้
การเพาะขยายพันธุ์ปลาเริ่มจากการเพาะพันธุ์ปลาเทร้า โดยจุดเริ่มต้นอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
โดยมีการยอมรับว่าผู้ที่คิดค้นวิธีการผสมเทียมไข่ปลาเทร้า คือ บาทหลวง Dom Pinchot ซึ่งมีชีวิต
อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (Davis, 1956) ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาเทร้า คือ
ปลาเทร้าเป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากบรรดานักตกปลาและมีผู้นิยมบริโภคอย่างกว้างขวาง ท�ำให้การ
เลี้ยงปลาเทร้าขยายตัวไปเกือบทั่วทุกทวีป อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักในการเพาะเลี้ยงปลาเทร้าช่วง
ระยะเริ่มต้น คือ ผลิตปลาเพื่อปล่อยในแหล่งน�้ำธรรมชาติ ทดแทนประชากรปลาเทร้าที่ถูกจับจากกีฬา
ตกปลา ต่อมาจึงมีการพัฒนาการเลี้ยงปลาเทร้าในบ่อและการเลี้ยงปลาเทร้าแบบประณีตอื่น ๆ เพื่อผลิต
ปลาเทร้าส�ำหรับการบริโภค ส่วนการเลี้ยงปลาเทร้าในน�้ำจืดเชิงพาณิชย์ในฟาร์มขนาดใหญ่ ได้รับการ
พัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอิตาลีและประเทศนอร์เว ตาม
ล�ำดับ และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ การเลี้ยงปลาแอตแลนติกแซลมอนเชิงพาณิชย์ ก็ประสบความส�ำเร็จ
และจากการพัฒนาการเลี้ยงปลาเทร้าและปลาแซลมอนในกระชังในอ่าวแคบ ๆ ที่อยู่ระหว่างหน้าผาใน
ประเทศนอร์เวย์ ท�ำให้การเลี้ยงปลากลุ่มนี้ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง
ชาวอังกฤษได้น�ำปลาเทร้าเข้าไปในประเทศซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศใน
อาณานิคมของประเทศอังกฤษ เพื่อใช้เป็นปลาส�ำหรับกีฬาตกปลา การพัฒนาการเลี้ยงปลาช่วงเริ่มต้น
ของอเมริกาเหนือ เริ่มขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 18 โดยมุ่งไปที่การเพาะขยายพันธุ์ปลาแซลมอน ปลาเทร้าและ
ปลากะพงด�ำ (black bass) มีการสร้างโรงเพาะฟักปลาเทร้าของทางราชการ เพื่อผลิตปลาเทร้าปล่อย
ในแหล่งน�้ำสาธารณะ จนระยะต่อมาฟาร์มของเอกชนเริ่มผลิตปลาเพื่อใช้ส�ำหรับการบริโภคเชิงพาณิชย์
ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงปลาเทร้าเพื่อปล่อยลงแหล่งน�้ำสาธารณะค่อย ๆ ชะลอตัวลง ขณะที่การท�ำฟาร์ม
เลี้ยงปลาเทร้าเริ่มขยายตัวไปยังบริเวณที่มีอากาศค่อนข้างอบอุ่นทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
6 บทที่ 1 บทนำ�
อย่างไรก็ตาม เมื่อจัดล�ำดับประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแล้ว พบว่าการเพาะขยายพันธุ์และการ
เลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาทองของชาวญี่ปุ่นและชาวจีน มีประวัติที่ค่อนข้างยาวนานกว่า
การเลี้ยงปลาเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ส่วนการแพร่กระจายของปลานิลซึ่งเป็นปลาประจ�ำถิ่นของทวีป
แอฟริกาไปยังหลายประเทศทั่วโลก เป็นปรากฏการณ์ที่น่าตั้งข้อสังเกต แม้ว่าจะมีการต่อต้านการน�ำ
เข้าของปลานิลในหลายประเทศ เนื่องจากปลานิลถูกมองว่าเป็นปลาต่างถิ่นที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อม แต่การเพาะเลี้ยงปลานิลก็ขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในประเทศก�ำลังพัฒนาที่อยู่
บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากการเลี้ยงปลานิลจัดเป็นวิธีการผลิตโปรตีนที่มีราคาถูกและ
ได้ปริมาณมากโดยไม่ยุ่งยาก จากการวิจัยและการทดลองท�ำให้พบวิธีการการแก้ปัญหาบางประการใน
การเลี้ยงปลานิลอย่างได้ผล จนสามารถพัฒนาการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ได้
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชายฝั่งที่มีประวัติยาวนานที่สุด คือ การท�ำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม โดย
เชื่อว่าพวกแรกที่เลี้ยงหอยนางรม คือ ชาวโรมัน ชาวกรีซ และชาวญี่ปุ่น การท�ำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม
บริเวณชายฝั่งทะเลในเขตน�้ำขึ้นลงของชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นเมื่อ 2,000 ปี ก่อนคริสศักราช ก่อนการเลี้ยง
หอยชนิดอื่น ๆ เช่น หอยแครงและหอยแมลงภู่ที่ใช้วิธีการคล้ายกับการเลี้ยงหอยนางรม เกิดขึ้นหลัง
จากการเลี้ยงหอยนางรมนานมาก
ระบบการเลี้ยงสิ่งมีชีวิตในน�้ำชนิดอื่นที่น่าจะกล่าวถึง คือ การเลี้ยงสาหร่ายทะเลในฟาร์มขนาด
ใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หนังสือว่าด้วยการเลี้ยงสาหร่ายทะเลได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในประเทศ
ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2495 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง การเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพื่อบริโภคได้รับการพัฒนา
และขยายไปสู่ประเทศเกาหลี ประเทศไต้หวัน และประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ (Bostock และคณะ, 2010)
1.2	 สัตว์น้ำ�และความสำ�คัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�
คุณสมบัติที่ส�ำคัญประการหนึ่งที่ท�ำให้สัตว์น�้ำเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง คือสัตว์น�้ำมีอัตรา
การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (feed conversion ratio, FCR) ต�่ำกว่าสัตว์อื่น ๆ (ตารางที่ 1.1) อย่างไร
ก็ตาม สัตว์น�้ำที่จะน�ำมาเลี้ยงควรมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงเพิ่มเติมอีก เช่น Huet
(1972) ได้สรุปคุณสมบัติของปลาที่เหมะสมส�ำหรับการเพาะเลี้ยงไว้ดังนี้
1)	ทนต่อการถูกจับหรือสัมผัส
	 การจับหรือสัมผัสสัตว์น�้ำอาจท�ำให้สัตว์น�้ำได้รับอันตราย เช่น อาจท�ำให้สัตว์น�้ำเกิดความ
พิการหรือก่อให้เกิดความเครียด จนเป็นสาเหตุส�ำคัญของการติดเชื้อ ความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการจับหรือ
7หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�และการจัดการคุณภาพน้ำ�
สัมผัสตัวปลาอาจเกิดขึ้นได้หลายขั้นตอนในระหว่างการเลี้ยง ตั้งแต่การลากอวนเพื่อจับลูกปลาจากบ่อ
อนุบาล อย่างไรก็ตาม ปลาแต่ละชนิดมีความอดทนต่อการสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ปลาคาร์ปจะอดทนต่อ
การถูกสัมผัสต�่ำกว่าปลานิล หรือแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันแต่มีอายุต่างกันก็มีความอดทนแตกต่างกัน โดย
ปลาที่อายุน้อยจะมีความอดทนมากกว่า เนื่องจากปลาเล็กมีสัดส่วนของพื้นที่ผิวของเหงือกเมื่อเทียบกับ
น�้ำหนักตัวสูงกว่าปลาใหญ่ ปลาลูกผสมมักจะมีความอดทนน้อยกว่าปลาพันธุ์แท้ เช่น ปลานิลแดงหลาย
ชนิดจะมีความอดทนน้อยกว่าปลานิล (Oreochromis niloticus) วิธีการลดความเครียดของปลาจาก
การสัมผัสสามารถท�ำได้โดยการเติมเกลือเพื่อรักษาสมดุลของเกลือในร่างกายปลา เนื่องจากเลือดของ
ปลาน�้ำจืดจะมีความเค็มประมาณ 8 ส่วนในพันส่วน (ppt) ความเครียดที่เกิดจากการสัมผัสกระตุ้นให้
เกิดการสูญเสียไอออนและรบกวนการรักษาสมดุล การเติมเกลือ 3 ส่วนในพันส่วน หรือ 0.2-0.5 ส่วน
ในพันส่วน หรืออาจใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต แคลเซียมซัลเฟต และโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.2 ส่วนใน
พันส่วน แทนโซเดียมคลอไรด์ จะช่วยลดความเครียดดังกล่าวได้ (Parker, 1995)
2)	ทนต่อสภาพการอยู่อย่างหนาแน่น
	 การเลี้ยงสัตว์น�้ำในบ่อจ�ำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น�้ำหนาแน่นกว่าสภาพตามธรรมชาติของสัตว์
น�้ำแต่ละชนิดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงสัตว์น�้ำส่วนหนึ่งมา
จากค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการขุดบ่อ ดังนั้นปลาชนิดที่เหมาะสมที่จะน�ำมาเลี้ยง จะต้องสามารถปรับ
ตัวเพื่ออาศัยอยู่ได้และเติบโตได้ดีในสภาพที่อยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าในธรรมชาติ ปลาที่นิยมเลี้ยงใน
บ่อส่วนใหญ่มักจะเป็นปลากินพืช (herbivorous fish) หรือกินทั้งพืชและสัตว์ (omnivorous fish) ซึ่ง
สามารถอยู่ร่วมกันในบ่อเดียวกันได้
3) มีความต้านทานต่อโรคสูง
	 การติดโรคของปลาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นหลังจากปลาเกิดความเครียดเนื่องมาจากสาเหตุ
ต่าง ๆ เช่น หลังการปล่อยปลาลงเลี้ยงหรือหลังการสุ่มตัวอย่าง หรือการที่ปลาอาศัยอยู่ในสภาพที่มี
ปริมาณออกซิเจนละลายในน�้ำต�่ำหรือในน�้ำที่มีสารประกอบที่เป็นพิษ เช่น แอมโมเนีย การระบาดของ
โรคมักเกิดขึ้นในกรณีของการเลี้ยงสัตว์น�้ำอย่างหนาแน่นและคุณภาพน�้ำไม่เหมาะสม
4)	สามารถอาศัยในน้ำ�ที่มีคุณภาพต่ำ�ได้
	 สัตว์น�้ำได้รับออกซิเจนและอาหารจากน�้ำ ขณะเดียวกันสัตว์น�้ำจะขับถ่ายของเสียลงใน
น�้ำเช่นกัน ดังนั้น ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเลี้ยงสัตว์น�้ำ คือ ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน�้ำ เนื่องจาก
8 บทที่ 1 บทนำ�
การควบคุมคุณภาพน�้ำให้อยู่ในสภาพเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยงท�ำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น สัตว์น�้ำ
ที่อดทนต่อสภาพน�้ำเสียได้ดี จึงเป็นสัตว์น�้ำที่เหมาะสมกับการเลี้ยงในบ่อ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อ
ปัญหาคุณภาพน�้ำต�่ำกว่าปลาที่ไม่อดทน
5)	สามารถเปลี่ยนอาหารธรรมชาติและอาหารเสริมเป็นเนื้อได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
	 หลักการเบื้องต้นในการเพิ่มผลผลิตของสัตว์น�้ำ คือ การเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ
(natural foods) ด้วยการใส่ปุ๋ยและการให้อาหารเสริม (supplementary feeds) ดังนั้น สัตว์น�้ำชนิด
ใดก็ตามที่สามารถเปลี่ยนอาหารเหล่านี้ไปเป็นเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะถือว่าได้เปรียบกว่าการเลี้ยง
สัตว์น�้ำที่มีประสิทธิภาพต�่ำกว่า เนื่องจากต้นทุนค่าอาหารเป็นต้นทุนที่มีความส�ำคัญที่สุดในการเลี้ยงสัตว์
น�้ำ ปลาที่สามารถเปลี่ยนอาหารไปเป็นเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพชนิดหนึ่ง คือ ปลานิล เนื่องจากปลา
นิลเป็นปลาที่มีล�ำไส้ยาว ช่วยให้สามารถย่อยเซลล์พืชและดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่ง
ไปกว่านั้น ของเหลวในกระเพาะของปลานิลมีค่าสภาพกรดหรือด่าง (pH) ต�่ำมาก (มีค่าประมาณ 1.25)
ปลานิลจึงสามารถย่อยสาหร่ายสีเขียวแกมน�้ำเงิน (blue-green algae) ได้ ท�ำให้ปลานิลมีความสามารถ
ในการใช้อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเมื่อเปรียบเทียบกับปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ซึ่งเป็นปลาที่
ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง
6)	ควบคุมการสืบพันธุ์ได้
	 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพื่อการค้า จ�ำเป็นต้องใช้พันธุ์สัตว์น�้ำที่มีคุณภาพและมีขนาด
เท่า ๆ กัน ครั้งละเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้การใช้พันธุ์สัตว์น�้ำจากธรรมชาติเป็นข้อจ�ำกัดทั้งด้านปริมาณ
และคุณภาพ ตลอดจนช่วงเวลาที่ต้องการด้วย การที่สามารถควบคุมการสืบพันธุ์ของสัตว์น�้ำได้ ยังมี
ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น�้ำเพื่อให้มีความเหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและการจัดการ
ยิ่งขึ้น เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์ (hybridization) ระหว่างปลาดุกยักษ์ (Clarias gariepinus) กับ
ปลาดุกอุย (C. macrocephalus) ท�ำให้ได้ลูกผสมที่เจริญเติบโตเร็วให้ผลผลิตสูง ประสิทธิภาพ
ในการขยายพันธุ์ของสัตว์น�้ำแต่ละชนิดจะพิจารณาจากคุณลักษณะต่าง ๆ ของสัตว์น�้ำได้แก่ ความดกไข่
ความถี่ในการวางไข่ ประสิทธิภาพการฟักไข่และอัตราการรอดของตัวอ่อน ปกติขนาดของไข่ ขนาดของ
ตัวอ่อน อัตราการรอด จะลดลงเมื่อความดกของไข่เพิ่ม ความดกของไข่ในปลาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน
เช่น พวกในกลุ่มปลาคาร์ปจะมีความดกไข่ 100,000-300,000 ฟอง/กิโลกรัม (นน. ของแม่ปลา) ปลา
นิลมีความดกของไข่ประมาณ 2,200-13,200 ฟอง/กิโลกรัม ปลาในกลุ่มปลาคาร์ปมักวางไข่ 1 ครั้งใน
รอบปี ขณะที่ปลานิลวางไข่หลายครั้งในรอบปี
9หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�และการจัดการคุณภาพน้ำ�
7)	การตลาดและผลกำ�ไร
	 การผลิตสัตว์น�้ำในเชิงเศรษฐกิจ จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงเรื่องการตลาดและผลก�ำไรจากการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชนิดนั้น ๆ ด้วย สัตว์น�้ำชนิดหนึ่งอาจมีคุณสมบัติทางชีววิทยาเหมาะสมตามเกณฑ์
ส�ำหรับการเพาะเลี้ยง แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชนิดนั้นอาจไม่สร้างก�ำไรเนื่องจากตลาดไม่ต้องการ ขณะ
ที่สัตว์น�้ำบางชนิดอาจเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยง เนื่องจากเจริญเติบโตดีและเป็นที่ต้องการของตลาด
แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชนิดนั้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพงหรือหายาก อาจท�ำให้ความเหมาะ
สมในการเพาะเลี้ยงลดลงหรืออาจไม่เหมาะสมส�ำหรับการเพาะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเชิงธุรกิจหรือ
เพื่อยังชีพก็ตาม
	 ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำมีความส�ำคัญต่อการผลิตสัตว์น�้ำมาก และยิ่งจะมีความ
ส�ำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากปลาเป็นองค์ประกอบของอาหารของประชากรในโลกจ�ำนวนมาก
ส่งผลให้ผลผลิตสัตว์น�้ำที่จับจากแหล่งน�้ำธรรมชาติมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 100 กว่าปี
ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ซึ่งช่วยให้มีเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง
และการมีอุปกรณ์โซน่า ส่งผลให้เกิดการจับปลามากเกินควร (overfishing) ท�ำให้ประชากรปลาทั่ว
โลกลดลง ปริมาณสัตว์น�้ำที่จับจากธรรมชาติไม่เพิ่มขึ้นมานานกว่า 20 ปีมาแล้ว ดังนั้นการเพิ่มผลผลิต
สัตว์น�้ำจากการท�ำฟาร์มจึงถือว่าเป็นความส�ำคัญเร่งด่วน
ชนิดสัตว์ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR)
ปลา
ไก่เนื้อ
กระต่าย
หมูตอน
ไก่งวง
แกะ
วัวขุน
1.6
2.4
3.0
4.9
5.2
8.0
9.0
ตารางที่ 1.1	 อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของสัตว์ประเภทต่าง ๆ
ที่มา : ดัดแปลงจาก Parker (1995)
10 บทที่ 1 บทนำ�
	 “การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ” ครอบคลุมการเลี้ยงสัตว์น�้ำและพืชน�้ำทั้งในน�้ำจืด (fresh water)
น�้ำกร่อย (brackish water) และน�้ำเค็ม (sea water) ทุกรูปแบบ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ (aquaculture)
มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับการเกษตร (agriculture) คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารให้สูงกว่าระดับของ
ผลผลิตที่เกิดเองตามธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในปัจจุบันท�ำหน้าที่ผลิตสัตว์น�้ำ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการสัตว์น�้ำที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณที่จับได้จากธรรมชาติ เนื่องจากผลผลิตสัตว์น�้ำจากการ
ท�ำการประมงถึงจุดสูงสุดแล้วและไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก ขณะที่คาดว่าประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นจาก
7,000 ล้านคน เมื่อต้น พ.ศ 2555 เป็น 9.1 พันล้านคน ใน พ.ศ. 2593 หรือราว 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น
ถ้าตั้งสมมุติฐาว่ามนุษย์ต้องการบริโภคสัตว์น�้ำในอัตราเท่าเดิม แสดงว่าผลผลิตจากการประมงในแต่ละ
ปีจะต้องเพิ่มในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในช่วง 40 ปีข้างหน้า แต่เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มผลผลิตจาก
การประมงได้แล้ว ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตสัตว์น�้ำจึงต้องอาศัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเท่านั้น (Boyd และ
Tucker, 2014)
	 ผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพิ่มขึ้นจาก 3.9 เปอร์เซ็นต์ ใน พ.ศ. 2513
เป็น 31.9 เปอร์เซ็นต์ ใน พ.ศ. 2546 (FAO, 2005) โดยผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพิ่ม
ขึ้นจนถึงประมาณ 52.5 ล้านตัน (ไม่รวมพืชน�้ำ) ใน พ.ศ. 2551 ซึ่งคิดเป็นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
ของผลผลิตสัตว์น�้ำทั้งหมด ผลผลิตส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 89 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลผลิตที่มาจากทวีป
เอเชีย ซึ่งประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ผลิตได้ 32.7 ล้านตัน ใน พ.ศ. 2551 อัตราการเจริญ
เติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของโลกระหว่าง พ.ศ. 2513-2549 มีประมาณ 6.9 เปอร์เซ็นต์ ต่อ
ปี (FAO, 2009) แม้ว่าจะลดลงเหลือประมาณ 5.8 เปอร์เซ็นต์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2551 แต่อัตรา
การเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของบางประเทศที่มีผลผลิตสัตว์น�้ำต�่ำ เช่น ประเทศเลโซโท
(6,450 เปอร์เซ็นต์) ประเทศรวันดา (909.5 เปอร์เซ็นต์) และประเทศยูเครน (590.8 เปอร์เซ็นต์) จะ
มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ขณะที่ประเทศจีนมีการเติบโตเพียง 5.2
เปอร์เซ็นต์ แต่ผลิตสัตว์ได้ถึง 52.3 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตสัตว์น�้ำทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นของโลกใน พ.ศ.
2550 ประเทศที่มีความส�ำคัญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ อันดับที่สอง คือ ประเทศเวียดนามที่ผลิต
สัตว์น�้ำได้ถึง 16.7 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตในโลก โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำสูง
ถึง 30.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผลผลิตสัตว์น�้ำของบางประเทศที่เคยเป็นผู้ผลิตรายส�ำคัญ เช่น ประเทศไทย
สเปนและแคนาดาชะลอตัวลงเนื่องจากความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด โรคและปัจจัยด้านสิ่ง
แวดล้อม โดยภาพรวมผลผลิตที่ลดลงคิดเป็น 1.6 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งหมดในโลก ซึ่งไม่สามารถ
ถูกชดเชยจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากส่วนอื่น ๆ ของโลก

Contenu connexe

Tendances

Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm
Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm
Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm NATS
 
Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018
Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018
Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018I Putu Hariyadi
 
5 Lely Milking Robot Configurations
5 Lely Milking Robot Configurations5 Lely Milking Robot Configurations
5 Lely Milking Robot ConfigurationsLely North America
 
Intel DPDK Step by Step instructions
Intel DPDK Step by Step instructionsIntel DPDK Step by Step instructions
Intel DPDK Step by Step instructionsHisaki Ohara
 
Tutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASE
Tutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASETutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASE
Tutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASEThomas Gregory
 
Docker Networking with New Ipvlan and Macvlan Drivers
Docker Networking with New Ipvlan and Macvlan DriversDocker Networking with New Ipvlan and Macvlan Drivers
Docker Networking with New Ipvlan and Macvlan DriversBrent Salisbury
 
Android crash debugging
Android crash debuggingAndroid crash debugging
Android crash debuggingAshish Agrawal
 
Embedded Rust on ESP2 - Rust Linz
Embedded Rust on ESP2 - Rust LinzEmbedded Rust on ESP2 - Rust Linz
Embedded Rust on ESP2 - Rust LinzJuraj Michálek
 
Trace kernel code tips
Trace kernel code tipsTrace kernel code tips
Trace kernel code tipsViller Hsiao
 
RNUG - HCL Notes V11 Performance Boost
RNUG - HCL Notes V11 Performance BoostRNUG - HCL Notes V11 Performance Boost
RNUG - HCL Notes V11 Performance BoostChristoph Adler
 
GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...
GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...
GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...La French Team
 
Compromising Linux Virtual Machines with Debugging Mechanisms
Compromising Linux Virtual Machines with Debugging MechanismsCompromising Linux Virtual Machines with Debugging Mechanisms
Compromising Linux Virtual Machines with Debugging MechanismsRussell Sanford
 
Android IPC Mechanism
Android IPC MechanismAndroid IPC Mechanism
Android IPC MechanismLihan Chen
 
IPTABLES Introduction
IPTABLES IntroductionIPTABLES Introduction
IPTABLES IntroductionHungWei Chiu
 
INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...
INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...
INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...Heiko Voigt
 
Understanding Open vSwitch
Understanding Open vSwitch Understanding Open vSwitch
Understanding Open vSwitch YongKi Kim
 

Tendances (20)

Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm
Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm
Simple and Scalable Microservices: Using NATS with Docker Compose and Swarm
 
Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018
Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018
Pembahasan Solusi Soal UKK SMK TKJ Paket 2 Tahun 2018
 
5 Lely Milking Robot Configurations
5 Lely Milking Robot Configurations5 Lely Milking Robot Configurations
5 Lely Milking Robot Configurations
 
Intel DPDK Step by Step instructions
Intel DPDK Step by Step instructionsIntel DPDK Step by Step instructions
Intel DPDK Step by Step instructions
 
Tutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASE
Tutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASETutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASE
Tutorial Membangun SNORT Integrasi Terhadap MySQL dan BASE
 
Docker Networking with New Ipvlan and Macvlan Drivers
Docker Networking with New Ipvlan and Macvlan DriversDocker Networking with New Ipvlan and Macvlan Drivers
Docker Networking with New Ipvlan and Macvlan Drivers
 
Linux Internals - Interview essentials - 1.0
Linux Internals - Interview essentials - 1.0Linux Internals - Interview essentials - 1.0
Linux Internals - Interview essentials - 1.0
 
Android crash debugging
Android crash debuggingAndroid crash debugging
Android crash debugging
 
Embedded Rust on ESP2 - Rust Linz
Embedded Rust on ESP2 - Rust LinzEmbedded Rust on ESP2 - Rust Linz
Embedded Rust on ESP2 - Rust Linz
 
Trace kernel code tips
Trace kernel code tipsTrace kernel code tips
Trace kernel code tips
 
RNUG - HCL Notes V11 Performance Boost
RNUG - HCL Notes V11 Performance BoostRNUG - HCL Notes V11 Performance Boost
RNUG - HCL Notes V11 Performance Boost
 
GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...
GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...
GUIDE PRATIQUE POUR METTRE EN ŒUVRE L'ARTICLE 103 DE LA LOI NOTRE APPELANT RE...
 
Compromising Linux Virtual Machines with Debugging Mechanisms
Compromising Linux Virtual Machines with Debugging MechanismsCompromising Linux Virtual Machines with Debugging Mechanisms
Compromising Linux Virtual Machines with Debugging Mechanisms
 
Browser wars
Browser warsBrowser wars
Browser wars
 
Android IPC Mechanism
Android IPC MechanismAndroid IPC Mechanism
Android IPC Mechanism
 
IPTABLES Introduction
IPTABLES IntroductionIPTABLES Introduction
IPTABLES Introduction
 
INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...
INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...
INF104 - HCL Domino AppDev Pack – The Future of Domino App Dev Nobody Knows A...
 
Understanding Open vSwitch
Understanding Open vSwitch Understanding Open vSwitch
Understanding Open vSwitch
 
Vpn site to site
Vpn site to siteVpn site to site
Vpn site to site
 
Deep Dive AdminP Process - Admin and Infrastructure Track at UKLUG 2012
Deep Dive AdminP Process - Admin and Infrastructure Track at UKLUG 2012Deep Dive AdminP Process - Admin and Infrastructure Track at UKLUG 2012
Deep Dive AdminP Process - Admin and Infrastructure Track at UKLUG 2012
 

Similaire à 9789740337478

โครงการ การประมง
โครงการ การประมงโครงการ การประมง
โครงการ การประมงmoemon12
 
Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040i_cavalry
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
บึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ดบึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ดLook Fa
 
ปลาทอง
ปลาทองปลาทอง
ปลาทองsittichart
 

Similaire à 9789740337478 (6)

โครงการ การประมง
โครงการ การประมงโครงการ การประมง
โครงการ การประมง
 
Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040Chaipat apr p036 040
Chaipat apr p036 040
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
 
บึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ดบึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ด
 
Thanawat
ThanawatThanawat
Thanawat
 
ปลาทอง
ปลาทองปลาทอง
ปลาทอง
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 

9789740337478

  • 2.
  • 3. บทที่ บทนำ� 1 1.1 ประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำส่วนใหญ่ มักอ้างว่าการเลี้ยงสัตว์น�้ำ เกิดขึ้นในโลกมานานแล้วโดยมีจุดเริ่มต้นในทวีปเอเชีย อียิปต์โบราณ และในบริเวณตอนกลางของ ทวีปยุโรปในช่วงยุคกลาง และเชื่อว่า “The Classic of Fish Culture” ซึ่งถูกเขียนเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวจีนชื่อ Fan Li เป็นหลักฐานชิ้นส�ำคัญที่พิสูจน์ว่ามีการเลี้ยงปลาเชิง พาณิชย์ในประเทศจีนในช่วงดังกล่าว เนื่องจาก Fan Li อ้างว่าบ่อเลี้ยงปลาสร้างความมั่งคั่งให้กับเขา (Ling, 1977) ต่อมามีงานเขียนของ Chow Mit แห่งราชวงศ์ Sung ชื่อ Kwei Sin Chak Shik ใน พ.ศ. 1786 และงานเขียนของ Heu เรื่อง A Complete Book of Agriculture ใน พ.ศ. 2182 งานเขียน เหล่านี้ได้บรรยายรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับการรวบรวมลูกปลาคาร์ปจากแม่น�้ำ โดยในหนังสือ เรื่อง “A Complete Book of Agriculture” ยังได้บรรยายวิธีการเลี้ยงปลาที่ถูกรวบรวมจากแม่น�้ำ เหล่านั้นในบ่อด้วย นอกจากนี้ยังค้นพบบ่อที่ใช้ส�ำหรับขังปลาไหลและปลาชนิดอื่น ๆ ภายในที่พัก ของนักบวชยุคโรมันเมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังเชื่อด้วยว่าในประเทศอียิปต์มี การเลี้ยงปลานิลไว้ในบ่อเพื่อดูเล่นส�ำหรับการผ่อนคลาย
  • 4. 4 บทที่ 1 บทนำ� ส่วนการเลี้ยงปลาในรูปแบบที่จริงจังมากกว่าที่กล่าวมาแล้ว น่าจะเป็นการเลี้ยงปลาไน (Cyprinus carpio) ปลาไนเป็นน�้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีถิ่นก�ำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนอพยพได้น�ำปลา ไนเข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในทวีปเอเชียและเอเชียตะวันออกไกล นอกจากนี้ปลาไนยังถูกน�ำ เข้าไปยังยุโรปในยุคกลางและถูกน�ำไปเลี้ยงในบ่อของนักบวช และหลังจากนั้นปลาไนยังแพร่กระจาย ไปยังหลาย ๆ ประเทศ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 6 การเลี้ยงปลาไนในประเทศจีนถูกลดความส�ำคัญ ลง เนื่องจากชื่อของปลาไนในภาษาจีน คือ “Lee” ซึ่งไปเหมือนกับพระนามของจักรพรรดิ “Lee” แห่ง ราชวงศ์ถัง (Ling, 1977) ดังนั้น ชาวจีนจึงหันไปเลี้ยงปลาชนิดอื่น เช่น ปลาเฉา (grass carp) ปลาเล่ง (silver carp) ปลาซ่ง (bighead carp) และปลากินหอย (mud carp) แทน โดยเรียกปลากลุ่มนี้ว่า “ปลาคาร์ปจีน (Chinese carps)” และจะด้วยความตั้งใจหรือเพราะความยากล�ำบากในการแยกแยะ ชนิดของลูกปลาที่รวบรวมจากแม่น�้ำ ท�ำให้มีการเลี้ยงลูกปลาเหล่านั้นรวมกันในบ่อเดียวกัน ซึ่งกลาย เป็นจุดเริ่มต้นของระบบการเลี้ยงปลาแบบหลายชนิดรวมกันในบ่อเดียวกัน (polyculture) ที่สืบทอด มาจนถึงปัจจุบัน โดยในปัจจุบันยังมีการเพิ่มปลาชนิดอื่น ๆ ลงไปเลี้ยงร่วมกับปลาคาร์ปจีนเพื่อเพิ่ม ผลผลิตให้มากยิ่งขึ้นด้วย ชาวจีนที่อพยพไปอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลาง ของการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในภูมิภาคนี้จนกระทั่งศตวรรษที่ 11 จึงได้เกิดระบบการเลี้ยงปลา ในกลุ่มปลาคาร์ปชนิดหลักของอินเดีย (Indian major carps) ขึ้นในบริเวณตะวันออกของคาบสมุทร อินเดีย และหลังจากการเลี้ยงปลาในคาบสมุทรอินโดจีนได้ด�ำเนินมาอีกหลายศตวรรษ จึงเกิดรูปแบบการ เลี้ยงปลาในกลุ่มปลาหนัง (catfishes) ในคอก (pen) และในกระชัง (cage) ในประเทศกัมพูชา โดยการ เลี้ยงปลาในกระชังอาจมีจุดก�ำเนิดมาจากการขังปลาที่ชาวประมงจับได้เพื่อรอการจ�ำหน่าย จนกระทั่ง พัฒนามาเป็นการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ลูกปลาจนกระทั่งปลาเจริญเติบโตได้ขนาดตรง ตามความต้องการของผู้บริโภคด้วยอาหารส�ำเร็จรูป มีการน�ำการเลี้ยงปลาในกระชังไปพัฒนาเพื่อเลี้ยง ปลาคาร์ปในประเทศอินโดนีเซียและเลี้ยงปลาสวายในประเทศไทย ส่วนการท�ำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำกร่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเริ่มต้นในประเทศ อินโดนีเซียในเกาะชวาระหว่างศตวรรษที่ 15 โดยเริ่มจากการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล (Chanos chanos) ในบ่อที่สร้างโดยการตั้งคันดินล้อมบริเวณใดบริเวณหนึ่งบริเวณชายฝั่งทะเล และเรียกบ่อแบบ นี้ว่า “tambaks” โดยเชื่อว่าการเลี้ยงปลารูปแบบดังกล่าวเกิดจากอิทธิพลของลัทธิฮินดู จากศตวรรษ ที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 18 มีบ่อแบบดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่
  • 5. 5หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�และการจัดการคุณภาพน้ำ� ประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในทวีปยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงยุคกลาง (middle ages) โดยถือว่าปลา ไนเป็นปลาที่มีความส�ำคัญทั้งด้านสังคมและศาสนา เป็นปลาที่จะถูกน�ำไปบริโภคในโอกาสพิเศษ เช่น ช่วงคริสต์มาส อย่างไรก็ตาม บางประเทศในยุโรปก็มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อปลาไนและไม่นิยมบริโภคปลาไน นอกจากนี้ปลาไนยังเป็นปลาที่ไปรบกวนแหล่งน�้ำ เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหารของปลาไน ท�ำให้ ดินพังทลายและท�ำให้น�้ำขุ่น เป็นปัญหากับแหล่งน�้ำที่ใช้ส�ำหรับกีฬาตกปลา อย่างไรก็ตาม การเพาะ เลี้ยงปลาไนยังด�ำเนินต่อไปและขยายตัวในประเทศที่อยู่ในยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ จากยุโรปปลาไน ได้ถูกน�ำเข้าไปเลี้ยงในประเทศอิสราเอล ซึ่งนอกจากปลาไนแล้วการเลี้ยงปลาจีนหลายชนิดร่วมกันใน บ่อเดียวกัน (Chinese carp polyculture) ก็มีการขยายตัวในประเทศเหล่านี้ การเพาะขยายพันธุ์ปลาเริ่มจากการเพาะพันธุ์ปลาเทร้า โดยจุดเริ่มต้นอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมีการยอมรับว่าผู้ที่คิดค้นวิธีการผสมเทียมไข่ปลาเทร้า คือ บาทหลวง Dom Pinchot ซึ่งมีชีวิต อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (Davis, 1956) ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาเทร้า คือ ปลาเทร้าเป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากบรรดานักตกปลาและมีผู้นิยมบริโภคอย่างกว้างขวาง ท�ำให้การ เลี้ยงปลาเทร้าขยายตัวไปเกือบทั่วทุกทวีป อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักในการเพาะเลี้ยงปลาเทร้าช่วง ระยะเริ่มต้น คือ ผลิตปลาเพื่อปล่อยในแหล่งน�้ำธรรมชาติ ทดแทนประชากรปลาเทร้าที่ถูกจับจากกีฬา ตกปลา ต่อมาจึงมีการพัฒนาการเลี้ยงปลาเทร้าในบ่อและการเลี้ยงปลาเทร้าแบบประณีตอื่น ๆ เพื่อผลิต ปลาเทร้าส�ำหรับการบริโภค ส่วนการเลี้ยงปลาเทร้าในน�้ำจืดเชิงพาณิชย์ในฟาร์มขนาดใหญ่ ได้รับการ พัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอิตาลีและประเทศนอร์เว ตาม ล�ำดับ และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ การเลี้ยงปลาแอตแลนติกแซลมอนเชิงพาณิชย์ ก็ประสบความส�ำเร็จ และจากการพัฒนาการเลี้ยงปลาเทร้าและปลาแซลมอนในกระชังในอ่าวแคบ ๆ ที่อยู่ระหว่างหน้าผาใน ประเทศนอร์เวย์ ท�ำให้การเลี้ยงปลากลุ่มนี้ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง ชาวอังกฤษได้น�ำปลาเทร้าเข้าไปในประเทศซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งเป็นประเทศใน อาณานิคมของประเทศอังกฤษ เพื่อใช้เป็นปลาส�ำหรับกีฬาตกปลา การพัฒนาการเลี้ยงปลาช่วงเริ่มต้น ของอเมริกาเหนือ เริ่มขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 18 โดยมุ่งไปที่การเพาะขยายพันธุ์ปลาแซลมอน ปลาเทร้าและ ปลากะพงด�ำ (black bass) มีการสร้างโรงเพาะฟักปลาเทร้าของทางราชการ เพื่อผลิตปลาเทร้าปล่อย ในแหล่งน�้ำสาธารณะ จนระยะต่อมาฟาร์มของเอกชนเริ่มผลิตปลาเพื่อใช้ส�ำหรับการบริโภคเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงปลาเทร้าเพื่อปล่อยลงแหล่งน�้ำสาธารณะค่อย ๆ ชะลอตัวลง ขณะที่การท�ำฟาร์ม เลี้ยงปลาเทร้าเริ่มขยายตัวไปยังบริเวณที่มีอากาศค่อนข้างอบอุ่นทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
  • 6. 6 บทที่ 1 บทนำ� อย่างไรก็ตาม เมื่อจัดล�ำดับประวัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำแล้ว พบว่าการเพาะขยายพันธุ์และการ เลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาทองของชาวญี่ปุ่นและชาวจีน มีประวัติที่ค่อนข้างยาวนานกว่า การเลี้ยงปลาเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ส่วนการแพร่กระจายของปลานิลซึ่งเป็นปลาประจ�ำถิ่นของทวีป แอฟริกาไปยังหลายประเทศทั่วโลก เป็นปรากฏการณ์ที่น่าตั้งข้อสังเกต แม้ว่าจะมีการต่อต้านการน�ำ เข้าของปลานิลในหลายประเทศ เนื่องจากปลานิลถูกมองว่าเป็นปลาต่างถิ่นที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อม แต่การเพาะเลี้ยงปลานิลก็ขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในประเทศก�ำลังพัฒนาที่อยู่ บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากการเลี้ยงปลานิลจัดเป็นวิธีการผลิตโปรตีนที่มีราคาถูกและ ได้ปริมาณมากโดยไม่ยุ่งยาก จากการวิจัยและการทดลองท�ำให้พบวิธีการการแก้ปัญหาบางประการใน การเลี้ยงปลานิลอย่างได้ผล จนสามารถพัฒนาการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ได้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชายฝั่งที่มีประวัติยาวนานที่สุด คือ การท�ำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม โดย เชื่อว่าพวกแรกที่เลี้ยงหอยนางรม คือ ชาวโรมัน ชาวกรีซ และชาวญี่ปุ่น การท�ำฟาร์มเลี้ยงหอยนางรม บริเวณชายฝั่งทะเลในเขตน�้ำขึ้นลงของชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นเมื่อ 2,000 ปี ก่อนคริสศักราช ก่อนการเลี้ยง หอยชนิดอื่น ๆ เช่น หอยแครงและหอยแมลงภู่ที่ใช้วิธีการคล้ายกับการเลี้ยงหอยนางรม เกิดขึ้นหลัง จากการเลี้ยงหอยนางรมนานมาก ระบบการเลี้ยงสิ่งมีชีวิตในน�้ำชนิดอื่นที่น่าจะกล่าวถึง คือ การเลี้ยงสาหร่ายทะเลในฟาร์มขนาด ใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หนังสือว่าด้วยการเลี้ยงสาหร่ายทะเลได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในประเทศ ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2495 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง การเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพื่อบริโภคได้รับการพัฒนา และขยายไปสู่ประเทศเกาหลี ประเทศไต้หวัน และประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ (Bostock และคณะ, 2010) 1.2 สัตว์น้ำ�และความสำ�คัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� คุณสมบัติที่ส�ำคัญประการหนึ่งที่ท�ำให้สัตว์น�้ำเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง คือสัตว์น�้ำมีอัตรา การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (feed conversion ratio, FCR) ต�่ำกว่าสัตว์อื่น ๆ (ตารางที่ 1.1) อย่างไร ก็ตาม สัตว์น�้ำที่จะน�ำมาเลี้ยงควรมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงเพิ่มเติมอีก เช่น Huet (1972) ได้สรุปคุณสมบัติของปลาที่เหมะสมส�ำหรับการเพาะเลี้ยงไว้ดังนี้ 1) ทนต่อการถูกจับหรือสัมผัส การจับหรือสัมผัสสัตว์น�้ำอาจท�ำให้สัตว์น�้ำได้รับอันตราย เช่น อาจท�ำให้สัตว์น�้ำเกิดความ พิการหรือก่อให้เกิดความเครียด จนเป็นสาเหตุส�ำคัญของการติดเชื้อ ความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการจับหรือ
  • 7. 7หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�และการจัดการคุณภาพน้ำ� สัมผัสตัวปลาอาจเกิดขึ้นได้หลายขั้นตอนในระหว่างการเลี้ยง ตั้งแต่การลากอวนเพื่อจับลูกปลาจากบ่อ อนุบาล อย่างไรก็ตาม ปลาแต่ละชนิดมีความอดทนต่อการสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ปลาคาร์ปจะอดทนต่อ การถูกสัมผัสต�่ำกว่าปลานิล หรือแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันแต่มีอายุต่างกันก็มีความอดทนแตกต่างกัน โดย ปลาที่อายุน้อยจะมีความอดทนมากกว่า เนื่องจากปลาเล็กมีสัดส่วนของพื้นที่ผิวของเหงือกเมื่อเทียบกับ น�้ำหนักตัวสูงกว่าปลาใหญ่ ปลาลูกผสมมักจะมีความอดทนน้อยกว่าปลาพันธุ์แท้ เช่น ปลานิลแดงหลาย ชนิดจะมีความอดทนน้อยกว่าปลานิล (Oreochromis niloticus) วิธีการลดความเครียดของปลาจาก การสัมผัสสามารถท�ำได้โดยการเติมเกลือเพื่อรักษาสมดุลของเกลือในร่างกายปลา เนื่องจากเลือดของ ปลาน�้ำจืดจะมีความเค็มประมาณ 8 ส่วนในพันส่วน (ppt) ความเครียดที่เกิดจากการสัมผัสกระตุ้นให้ เกิดการสูญเสียไอออนและรบกวนการรักษาสมดุล การเติมเกลือ 3 ส่วนในพันส่วน หรือ 0.2-0.5 ส่วน ในพันส่วน หรืออาจใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต แคลเซียมซัลเฟต และโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.2 ส่วนใน พันส่วน แทนโซเดียมคลอไรด์ จะช่วยลดความเครียดดังกล่าวได้ (Parker, 1995) 2) ทนต่อสภาพการอยู่อย่างหนาแน่น การเลี้ยงสัตว์น�้ำในบ่อจ�ำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น�้ำหนาแน่นกว่าสภาพตามธรรมชาติของสัตว์ น�้ำแต่ละชนิดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงสัตว์น�้ำส่วนหนึ่งมา จากค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการขุดบ่อ ดังนั้นปลาชนิดที่เหมาะสมที่จะน�ำมาเลี้ยง จะต้องสามารถปรับ ตัวเพื่ออาศัยอยู่ได้และเติบโตได้ดีในสภาพที่อยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าในธรรมชาติ ปลาที่นิยมเลี้ยงใน บ่อส่วนใหญ่มักจะเป็นปลากินพืช (herbivorous fish) หรือกินทั้งพืชและสัตว์ (omnivorous fish) ซึ่ง สามารถอยู่ร่วมกันในบ่อเดียวกันได้ 3) มีความต้านทานต่อโรคสูง การติดโรคของปลาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นหลังจากปลาเกิดความเครียดเนื่องมาจากสาเหตุ ต่าง ๆ เช่น หลังการปล่อยปลาลงเลี้ยงหรือหลังการสุ่มตัวอย่าง หรือการที่ปลาอาศัยอยู่ในสภาพที่มี ปริมาณออกซิเจนละลายในน�้ำต�่ำหรือในน�้ำที่มีสารประกอบที่เป็นพิษ เช่น แอมโมเนีย การระบาดของ โรคมักเกิดขึ้นในกรณีของการเลี้ยงสัตว์น�้ำอย่างหนาแน่นและคุณภาพน�้ำไม่เหมาะสม 4) สามารถอาศัยในน้ำ�ที่มีคุณภาพต่ำ�ได้ สัตว์น�้ำได้รับออกซิเจนและอาหารจากน�้ำ ขณะเดียวกันสัตว์น�้ำจะขับถ่ายของเสียลงใน น�้ำเช่นกัน ดังนั้น ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเลี้ยงสัตว์น�้ำ คือ ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน�้ำ เนื่องจาก
  • 8. 8 บทที่ 1 บทนำ� การควบคุมคุณภาพน�้ำให้อยู่ในสภาพเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยงท�ำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น สัตว์น�้ำ ที่อดทนต่อสภาพน�้ำเสียได้ดี จึงเป็นสัตว์น�้ำที่เหมาะสมกับการเลี้ยงในบ่อ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อ ปัญหาคุณภาพน�้ำต�่ำกว่าปลาที่ไม่อดทน 5) สามารถเปลี่ยนอาหารธรรมชาติและอาหารเสริมเป็นเนื้อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หลักการเบื้องต้นในการเพิ่มผลผลิตของสัตว์น�้ำ คือ การเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ (natural foods) ด้วยการใส่ปุ๋ยและการให้อาหารเสริม (supplementary feeds) ดังนั้น สัตว์น�้ำชนิด ใดก็ตามที่สามารถเปลี่ยนอาหารเหล่านี้ไปเป็นเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะถือว่าได้เปรียบกว่าการเลี้ยง สัตว์น�้ำที่มีประสิทธิภาพต�่ำกว่า เนื่องจากต้นทุนค่าอาหารเป็นต้นทุนที่มีความส�ำคัญที่สุดในการเลี้ยงสัตว์ น�้ำ ปลาที่สามารถเปลี่ยนอาหารไปเป็นเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพชนิดหนึ่ง คือ ปลานิล เนื่องจากปลา นิลเป็นปลาที่มีล�ำไส้ยาว ช่วยให้สามารถย่อยเซลล์พืชและดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่ง ไปกว่านั้น ของเหลวในกระเพาะของปลานิลมีค่าสภาพกรดหรือด่าง (pH) ต�่ำมาก (มีค่าประมาณ 1.25) ปลานิลจึงสามารถย่อยสาหร่ายสีเขียวแกมน�้ำเงิน (blue-green algae) ได้ ท�ำให้ปลานิลมีความสามารถ ในการใช้อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเมื่อเปรียบเทียบกับปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ซึ่งเป็นปลาที่ ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง 6) ควบคุมการสืบพันธุ์ได้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพื่อการค้า จ�ำเป็นต้องใช้พันธุ์สัตว์น�้ำที่มีคุณภาพและมีขนาด เท่า ๆ กัน ครั้งละเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้การใช้พันธุ์สัตว์น�้ำจากธรรมชาติเป็นข้อจ�ำกัดทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ตลอดจนช่วงเวลาที่ต้องการด้วย การที่สามารถควบคุมการสืบพันธุ์ของสัตว์น�้ำได้ ยังมี ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น�้ำเพื่อให้มีความเหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและการจัดการ ยิ่งขึ้น เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์ (hybridization) ระหว่างปลาดุกยักษ์ (Clarias gariepinus) กับ ปลาดุกอุย (C. macrocephalus) ท�ำให้ได้ลูกผสมที่เจริญเติบโตเร็วให้ผลผลิตสูง ประสิทธิภาพ ในการขยายพันธุ์ของสัตว์น�้ำแต่ละชนิดจะพิจารณาจากคุณลักษณะต่าง ๆ ของสัตว์น�้ำได้แก่ ความดกไข่ ความถี่ในการวางไข่ ประสิทธิภาพการฟักไข่และอัตราการรอดของตัวอ่อน ปกติขนาดของไข่ ขนาดของ ตัวอ่อน อัตราการรอด จะลดลงเมื่อความดกของไข่เพิ่ม ความดกของไข่ในปลาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น พวกในกลุ่มปลาคาร์ปจะมีความดกไข่ 100,000-300,000 ฟอง/กิโลกรัม (นน. ของแม่ปลา) ปลา นิลมีความดกของไข่ประมาณ 2,200-13,200 ฟอง/กิโลกรัม ปลาในกลุ่มปลาคาร์ปมักวางไข่ 1 ครั้งใน รอบปี ขณะที่ปลานิลวางไข่หลายครั้งในรอบปี
  • 9. 9หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�และการจัดการคุณภาพน้ำ� 7) การตลาดและผลกำ�ไร การผลิตสัตว์น�้ำในเชิงเศรษฐกิจ จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงเรื่องการตลาดและผลก�ำไรจากการ เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชนิดนั้น ๆ ด้วย สัตว์น�้ำชนิดหนึ่งอาจมีคุณสมบัติทางชีววิทยาเหมาะสมตามเกณฑ์ ส�ำหรับการเพาะเลี้ยง แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชนิดนั้นอาจไม่สร้างก�ำไรเนื่องจากตลาดไม่ต้องการ ขณะ ที่สัตว์น�้ำบางชนิดอาจเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยง เนื่องจากเจริญเติบโตดีและเป็นที่ต้องการของตลาด แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชนิดนั้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาแพงหรือหายาก อาจท�ำให้ความเหมาะ สมในการเพาะเลี้ยงลดลงหรืออาจไม่เหมาะสมส�ำหรับการเพาะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเชิงธุรกิจหรือ เพื่อยังชีพก็ตาม ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำมีความส�ำคัญต่อการผลิตสัตว์น�้ำมาก และยิ่งจะมีความ ส�ำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากปลาเป็นองค์ประกอบของอาหารของประชากรในโลกจ�ำนวนมาก ส่งผลให้ผลผลิตสัตว์น�้ำที่จับจากแหล่งน�้ำธรรมชาติมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 100 กว่าปี ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ซึ่งช่วยให้มีเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง และการมีอุปกรณ์โซน่า ส่งผลให้เกิดการจับปลามากเกินควร (overfishing) ท�ำให้ประชากรปลาทั่ว โลกลดลง ปริมาณสัตว์น�้ำที่จับจากธรรมชาติไม่เพิ่มขึ้นมานานกว่า 20 ปีมาแล้ว ดังนั้นการเพิ่มผลผลิต สัตว์น�้ำจากการท�ำฟาร์มจึงถือว่าเป็นความส�ำคัญเร่งด่วน ชนิดสัตว์ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ปลา ไก่เนื้อ กระต่าย หมูตอน ไก่งวง แกะ วัวขุน 1.6 2.4 3.0 4.9 5.2 8.0 9.0 ตารางที่ 1.1 อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของสัตว์ประเภทต่าง ๆ ที่มา : ดัดแปลงจาก Parker (1995)
  • 10. 10 บทที่ 1 บทนำ� “การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ” ครอบคลุมการเลี้ยงสัตว์น�้ำและพืชน�้ำทั้งในน�้ำจืด (fresh water) น�้ำกร่อย (brackish water) และน�้ำเค็ม (sea water) ทุกรูปแบบ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ (aquaculture) มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับการเกษตร (agriculture) คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารให้สูงกว่าระดับของ ผลผลิตที่เกิดเองตามธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในปัจจุบันท�ำหน้าที่ผลิตสัตว์น�้ำ เพื่อตอบสนอง ความต้องการสัตว์น�้ำที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณที่จับได้จากธรรมชาติ เนื่องจากผลผลิตสัตว์น�้ำจากการ ท�ำการประมงถึงจุดสูงสุดแล้วและไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก ขณะที่คาดว่าประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคน เมื่อต้น พ.ศ 2555 เป็น 9.1 พันล้านคน ใน พ.ศ. 2593 หรือราว 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ถ้าตั้งสมมุติฐาว่ามนุษย์ต้องการบริโภคสัตว์น�้ำในอัตราเท่าเดิม แสดงว่าผลผลิตจากการประมงในแต่ละ ปีจะต้องเพิ่มในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในช่วง 40 ปีข้างหน้า แต่เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มผลผลิตจาก การประมงได้แล้ว ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตสัตว์น�้ำจึงต้องอาศัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเท่านั้น (Boyd และ Tucker, 2014) ผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพิ่มขึ้นจาก 3.9 เปอร์เซ็นต์ ใน พ.ศ. 2513 เป็น 31.9 เปอร์เซ็นต์ ใน พ.ศ. 2546 (FAO, 2005) โดยผลผลิตสัตว์น�้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำเพิ่ม ขึ้นจนถึงประมาณ 52.5 ล้านตัน (ไม่รวมพืชน�้ำ) ใน พ.ศ. 2551 ซึ่งคิดเป็นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตสัตว์น�้ำทั้งหมด ผลผลิตส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 89 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลผลิตที่มาจากทวีป เอเชีย ซึ่งประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ผลิตได้ 32.7 ล้านตัน ใน พ.ศ. 2551 อัตราการเจริญ เติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของโลกระหว่าง พ.ศ. 2513-2549 มีประมาณ 6.9 เปอร์เซ็นต์ ต่อ ปี (FAO, 2009) แม้ว่าจะลดลงเหลือประมาณ 5.8 เปอร์เซ็นต์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2551 แต่อัตรา การเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำของบางประเทศที่มีผลผลิตสัตว์น�้ำต�่ำ เช่น ประเทศเลโซโท (6,450 เปอร์เซ็นต์) ประเทศรวันดา (909.5 เปอร์เซ็นต์) และประเทศยูเครน (590.8 เปอร์เซ็นต์) จะ มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ขณะที่ประเทศจีนมีการเติบโตเพียง 5.2 เปอร์เซ็นต์ แต่ผลิตสัตว์ได้ถึง 52.3 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตสัตว์น�้ำทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นของโลกใน พ.ศ. 2550 ประเทศที่มีความส�ำคัญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ อันดับที่สอง คือ ประเทศเวียดนามที่ผลิต สัตว์น�้ำได้ถึง 16.7 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตในโลก โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำสูง ถึง 30.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผลผลิตสัตว์น�้ำของบางประเทศที่เคยเป็นผู้ผลิตรายส�ำคัญ เช่น ประเทศไทย สเปนและแคนาดาชะลอตัวลงเนื่องจากความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด โรคและปัจจัยด้านสิ่ง แวดล้อม โดยภาพรวมผลผลิตที่ลดลงคิดเป็น 1.6 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งหมดในโลก ซึ่งไม่สามารถ ถูกชดเชยจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากส่วนอื่น ๆ ของโลก